Return to Video

การฝึกจนเชี่ยวชาญแต่เนิ่น ๆ ไม่ได้ช่วยให้การงานก้าวหน้าเสมอไป

  • 0:02 - 0:05
    ผมอยากจะพูดถึงการพัฒนา
    ศักยภาพของมนุษย์
  • 0:05 - 0:10
    และผมขอเริ่มจากเรื่องราว
    ที่มีอิทธิพลมากที่สุดของยุคสมัยใหม่
  • 0:10 - 0:14
    หลายท่านในที่นี้คงจะเคยได้ยินเรื่องของ
    กฎ 10,000 ชั่วโมง
  • 0:14 - 0:16
    หรือบางทีก็กำลังใช้วิธีคิดนี้กับตัวเอง
  • 0:16 - 0:18
    ง่าย ๆ คือ กฎนี้บอกว่า การที่จะเชี่ยวชาญ
    ในเรื่องอะไรก็ตาม
  • 0:18 - 0:21
    จะต้องใช้เวลาฝึกฝนอย่างจดจ่อ
    ถึง 10,000 ชั่วโมง
  • 0:21 - 0:24
    เพราะฉะนั้นคุณควรเริ่ม
    ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • 0:24 - 0:28
    เช่นคนดังอย่าง ไทเกอร์ วูดส์
  • 0:28 - 0:31
    พ่อของเขาได้มอบไม้พัตเตอร์ให้กับเขา
    เมื่อตอนอายุ 7 เดือน
  • 0:31 - 0:35
    ภายใน 10 เดือน เขาก็เริ่มที่จะเลียนแบบ
    การเหวี่ยงไม้ของพ่อ
  • 0:35 - 0:38
    เมื่ออายุ 2 ขวบ คุณเข้าไปดูในยูทูบได้เลย
    ที่เขาออกรายการโทรทัศน์
  • 0:38 - 0:40
    เมื่ออายุ 21
  • 0:40 - 0:42
    เขาเป็นโปรกอล์ฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
  • 0:42 - 0:44
    นี่คือผลของกฎ 10,000 ชั่วโมง
  • 0:44 - 0:46
    อีกด้านหนึ่ง
    ในบรรดาหนังสือที่ขายดีที่สุด
  • 0:46 - 0:48
    คือเรื่องของพี่น้องครอบครัวโพลการ์
  • 0:48 - 0:51
    ที่พ่อของพวกเธอตัดสินใจสอน
    การเล่นหมากรุกอย่างจริงจัง
  • 0:51 - 0:52
    ตั้งแต่ยังอายุไม่มาก
  • 0:52 - 0:54
    จริง ๆ เขาอยากแสดงให้เห็นว่า
  • 0:54 - 0:56
    ด้วยการออกตัวเร็วในการฝึกฝนอย่างจดจ่อ
  • 0:56 - 0:58
    เด็กทุกคนก็สามารถเป็น
    อัจฉริยะในเรื่องอะไรก็ได้
  • 0:58 - 1:00
    และอันที่จริง
  • 1:00 - 1:03
    ลูกสาวสองคนจากสาม
    กลายมาเป็นปรมาจารย์ด้านหมากรุก
  • 1:03 - 1:06
    เมื่อผมได้เป็นนักเขียนแนววิทยาศาสตร์
    ให้กับนิตยสาร Sport Illustrated
  • 1:06 - 1:07
    ผมเริ่มสงสัย
  • 1:07 - 1:09
    เพราะหากกฎ 10,000 ชั่วโมงนี้เป็นจริง
  • 1:09 - 1:12
    เราก็น่าจะเห็นนักกีฬาเก่ง ๆ
    นำหน้าไปแล้ว
  • 1:12 - 1:14
    จากการ "ฝึกฝนแบบเจาะจง"
  • 1:14 - 1:16
    นี่คือการฝึกฝน
    ที่เน้นการแก้จุดบกพร่อง
  • 1:16 - 1:18
    ไม่ใช่แค่เล่นเฉย ๆ
  • 1:18 - 1:20
    อันที่จริงนักวิทยาศาสตร์
    ได้ศึกษานักกีฬาแนวหน้า
  • 1:20 - 1:23
    และพบว่านักกีฬาแนวหน้า
    ใช้เวลาไปกับการฝึกแบบเจาะจงมากกว่า
  • 1:23 - 1:24
    ก็ไม่หน้าแปลกใจอะไร
  • 1:24 - 1:28
    แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์ติดตาม
    ความก้าวหน้าของการพัฒนา
  • 1:28 - 1:29
    พวกเขาพบรูปแบบดังนี้
  • 1:29 - 1:32
    จริง ๆ แล้วนักกีฬาแนวหน้า
    ใช้เวลาน้อยกว่า
  • 1:32 - 1:35
    ในการฝึกแบบเจาะจง
    ในกีฬาประเภทสุดท้าย
  • 1:35 - 1:38
    และมักจะมีช่วงที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า
    "ช่วงทดลอง"
  • 1:38 - 1:40
    ที่นักกีฬาจะทดลอง
    กิจกรรมกีฬาหลากหลายประเภท
  • 1:40 - 1:42
    จนมีทักษะทัวไปและรอบด้าน
  • 1:42 - 1:44
    ได้เรียนรู้ความชอบและทักษะของตัวเอง
  • 1:44 - 1:48
    และชะลอการฝึกให้เชี่ยวชาญ
    เมื่อเทียบกับคนรอบข้างที่ใช้เวลามากกว่า
  • 1:49 - 1:51
    เมื่อผมเห็นข้อเท็จจริงนี้
    ผมพูดออกมาว่า
  • 1:51 - 1:54
    "เฮ้ย นี่มันขัดแย้งกับ
    กฎ 10,000 ชั่วโมงไม่ใช่เหรอ"
  • 1:54 - 1:56
    ผมจึงเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับสาขาอื่น ๆ
  • 1:56 - 2:00
    ที่เกี่ยวโยงกับความจำเป็น
    ในการฝึกให้เชี่ยวชาญตั้งแต่แรกเริ่ม
  • 2:00 - 2:01
    อย่างดนตรี
  • 2:01 - 2:03
    ผลออกมากลับพบว่ามีรูปแบบที่คล้ายกัน
  • 2:03 - 2:05
    นี่คืองานวิจัยจากสถาบันดนตรีระดับโลก
  • 2:05 - 2:08
    และสิ่งที่ผมอยากให้ทุกท่านให้ความสนใจ
    คือเรื่องนี้
  • 2:08 - 2:12
    นักดนตรีชั้นยอดไม่ได้เริ่ม
    โดยการใช้เวลาฝึกฝนอย่างเจาะจง
  • 2:12 - 2:13
    มากกว่านักดนตรีทั่วไป
  • 2:13 - 2:14
    จนกว่าจะถึงเครื่องดนตรีที่ 3
  • 2:14 - 2:16
    พวกเขาก็เหมือนกัน
    ที่มีแนวโนมจะมีช่วงทดลอง
  • 2:16 - 2:19
    ไม่เว้นนักดนตรีที่เราคิดว่า
    เก่งตั้งแต่ยังเล็ก
  • 2:19 - 2:20
    อย่าง โหยว โหยว หม่า
  • 2:20 - 2:21
    เขาก็มีช่วงทดลองเหมือนกัน
  • 2:21 - 2:24
    เขาเพียงแค่ผ่านช่วงทดลองนั้น
    เร็วกว่านักดนตรีทั่ว ๆ ไป
  • 2:24 - 2:27
    อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้
    ก็แทบไม่ได้รับความสนใจ
  • 2:27 - 2:29
    และสิ่งที่สำคัญไปกว่านั้น
  • 2:29 - 2:32
    คือหน้าแรกของหนังสือ
    "แม่เสือสอนลูก"
  • 2:32 - 2:35
    ที่ผู้เขียนเล่าถึง
    การให้ลูกสาวไปเรียนไวโอลิน
  • 2:35 - 2:37
    มักไม่มีใครจำได้ว่า
    ในตอนหลัง ๆ ของหนังสือ
  • 2:37 - 2:40
    ที่ลูกสาวเธอมาหาเธอแล้วบอกว่า
    "แม่เลือกเอง ไม่ใช่หนู"
  • 2:40 - 2:42
    และก็เลิกเล่นไปเลย
  • 2:42 - 2:45
    การที่ได้เห็นรูปแบบที่คล้ายกัน
    อย่างหน้าประหลาดใจ ของกีฬาและดนตรี
  • 2:45 - 2:48
    ผมเริ่มสงสัยเกี่ยวกับแวดวง
    ที่ส่งผลต่อคนจำนวนมาก
  • 2:48 - 2:49
    อย่างการศึกษา
  • 2:49 - 2:51
    นักเศรษฐศาสตร์ได้ทำการทดลองแบบธรรมชาติ
  • 2:51 - 2:53
    ในสถาบันอุดมศึกษาที่อังกฤษและสก็อตแลนด์
  • 2:53 - 2:56
    ระหว่างที่เขาศึกษา
    ระบบการศึกษาของทั้งสองแห่งคล้ายกัน
  • 2:56 - 2:59
    เว้นแต่ว่าในอังกฤษ นักเรียนจะต้อง
    ฝึกเฉพาะทางในช่วงกลางวัยรุ่น
  • 2:59 - 3:01
    โดยเลือกเรียนวิชาเฉพาะ
  • 3:01 - 3:05
    และในสก็อตแลนด์ นักเรียนสามารถ
    ทดลองเรียนได้จนถึงระดับมหาวิทยาลัย
  • 3:05 - 3:06
    หากพวกเขาต้องการ
  • 3:06 - 3:07
    คำถามของเขาคือ
  • 3:07 - 3:10
    ระหว่างการฝึกเฉพาะทางแต่เนิ่น ๆ
    หรือชะลอไปก่อน ดีกว่ากัน
  • 3:10 - 3:13
    และเขาก็พบว่าคนที่ฝึกเฉพาะทางแต่เนิ่น ๆ
    มีรายได้ที่สูงกว่า
  • 3:13 - 3:16
    เพราะว่ามีทักษะเฉพาะ และตรงสาขา
  • 3:16 - 3:18
    คนที่ฝึกเฉพาะทางทีหลัง
    ได้โอกาสทดลองหลาย ๆ สิ่ง
  • 3:18 - 3:20
    และพวกเขาก็เลือกสิ่งที่เหมาะกับตัวเอง
  • 3:20 - 3:22
    หรือที่เรียกว่า
    "การจับคู่ที่ตรงกัน"
  • 3:22 - 3:25
    เพราะฉะนั้น อัตราการเติบโตจึงเร็วกว่า
  • 3:25 - 3:26
    และใน 6 ปี
  • 3:26 - 3:28
    พวกเขาก็มีรายได้มากกว่า
  • 3:28 - 3:31
    ในขณะเดียวกัน คนที่ฝึกฝนเฉพาะทาง
    แต่เนิ่นเริ่มออกจากสายงานที่ทำ
  • 3:31 - 3:32
    ในตัวเลขที่ค่อนข้างสูง
  • 3:32 - 3:35
    เหตุผลสำคัญคือ พวกเขา
    ถูกบีบให้เลือกเร็วเกินไป
  • 3:35 - 3:37
    พวกเขาจึงเลือกตัวเลือกที่ไม่ดี
  • 3:37 - 3:39
    คนที่ฝึกฝนเฉพาะทางทีหลัง
    จึงเสียเปรียบในระยะแรก
  • 3:39 - 3:40
    แต่ได้เปรียบในระยะยาว
  • 3:40 - 3:43
    ผมคิดว่า หากเรามองการเลือกงาน
    เหมือนการออกเดท
  • 3:43 - 3:46
    เราคงจะไม่บีบบำคับให้ผู้คน
    รีบตัดสินใจเร็วเกินไป
  • 3:46 - 3:48
    การพบรูปแบบดังกล่าวอีกครั้ง
    ทำให้ผมเริ่มสนใจ
  • 3:48 - 3:52
    ที่จะศึกษาพื้นฐานการพัฒนา
    ของผู้คนที่ผมนับถือ
  • 3:52 - 3:55
    อย่าง ดุค เอลลิงตัน
    ผู้ที่ขยาดการเรียนดนตรี
  • 3:55 - 3:57
    แต่หันมาสนใจเบสบอล
    และการวาดภาพระบายสี
  • 3:57 - 4:00
    หรือ มาเรียม มีร์ซาคานี
    ผู้ที่ตอนเด็ก ๆ ไม่เคยสนใจคณิตศาสตร์เลย
  • 4:00 - 4:02
    ใฝ่ฝันที่จะเป็นนักเขียนนวนิยาย
  • 4:02 - 4:04
    แต่กลับได้กลายเป็น
    ผู้หญิงคนเดียว
  • 4:04 - 4:05
    ที่ได้รับเหรียญฟิลด์ส์
  • 4:05 - 4:08
    รางวัลที่ทรงเกียรติที่สุด
    ในโลกของคณิตศาสตร์
  • 4:08 - 4:10
    หรือ วินเซนต์ แวน โก
    ที่มี 5 อาชีพที่แตกต่างกัน
  • 4:10 - 4:13
    และเขาก็คิดว่าเป็นงานในฝันของตัวเอง
    ก่อนที่เขาจะเปล่งประกาย
  • 4:13 - 4:18
    และในช่วง 20 ปลาย ๆ เขาได้หยิบ
    หนังสือชื่อ "คู่มือวาดเขียนเบื้องต้น"
  • 4:18 - 4:19
    และผลก็ออกมาอย่างที่เห็น
  • 4:20 - 4:23
    คล้อด แชนนอน วิศวกรไฟฟ้า
    ที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน
  • 4:23 - 4:26
    เขาได้ลงเรียนวิชาปรัชญา
    เพื่อที่จะเรียนให้ครบตามหลักสูตร
  • 4:26 - 4:30
    และในชั้นเรียนนั้นเขาได้เรียนเรื่องตรรกะ
    ที่มีมานานเกือบศตวรรษ
  • 4:30 - 4:33
    ว่าประโยคที่เป็นจริงหรือเท็จนั้น
    สามารถแทนด้วย 1 หรือ 0
  • 4:33 - 4:35
    เหมือนการแก้โจทย์คณิตศาสตร์
  • 4:35 - 4:37
    สิ่งนี่นำไปสู่การพัฒนาระบบเลขฐานสอง
  • 4:37 - 4:40
    ที่เป็นพื้นฐานของ
    คอมพิวเตอร์ในทุกวันนี้
  • 4:40 - 4:43
    คนสุดท้าย แบบอย่างของผม
    ฟรานเซส แฮสเซิลไบน์
  • 4:43 - 4:44
    นี่รูปผมกับเธอ
  • 4:44 - 4:47
    เธอเริ่มทำงานอย่างมืออาชีพ
    ตอนอายุ 54
  • 4:47 - 4:50
    และได้เติบโตเป็นซีอีโอ
    ขององค์กรลูกเสือหญิง
  • 4:50 - 4:51
    ที่เธอได้ให้การช่วยเหลือ
  • 4:51 - 4:53
    เธอเพิ่มสมาชิก
    ที่เป็นคนกลุ่มน้อย
  • 4:53 - 4:55
    อาสาสมัครกว่า 130,000 คน
  • 4:55 - 4:59
    และนี่คือเครื่องหมายวิชาพิเศษ
    ขณะที่เธอดำรงตำแหน่ง
  • 4:59 - 5:02
    ตราระบบเลขฐานสอง
    สำหรับลูกเสือหญิงที่เรียนวิชาคอมพิวเตอร์
  • 5:02 - 5:04
    ทุกวันนี้ ฟรานเซสบริหารองค์กรพัฒนาผู้นำ
  • 5:04 - 5:06
    ที่เธอทำงานทุก ๆ วันธรรมดา
    ในแมนแฮตตัน
  • 5:06 - 5:07
    และเธอก็อายุเพียง 104 ปี
  • 5:07 - 5:09
    ใครจะรู้ว่า ต่อไปเธอจะทำอะไร
  • 5:09 - 5:10
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:11 - 5:14
    เราไม่ค่อยจะได้ยินเรื่องราว
    ของการพัฒนาแบบนี้ใช่ไหมครับ
  • 5:14 - 5:15
    เรามักไม่ค่อยได้ยินงานวิจัย
  • 5:15 - 5:18
    ที่พบว่านักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล
    มีความเป็นไปได้กว่า 22 เท่า
  • 5:18 - 5:20
    ที่จะมีงานอดิเรกนอกเหนือจากงาน
  • 5:20 - 5:21
    เหมือนนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • 5:21 - 5:22
    เราไม่เคยได้ยินเลย
  • 5:22 - 5:25
    แม้นักดนตรีที่มีชื่อเสียง
    หรือผลงานที่โด่งดัง
  • 5:25 - 5:27
    เราก็มักจะไม่ได้ยิน
    เกี่ยวกับการพัฒนา
  • 5:27 - 5:29
    ยกตัวอย่างเช่น
    นักกีฬาคนนี้ ที่ผมติดตาม
  • 5:29 - 5:31
    นี่คือตอนที่เขาอายุ 6 ขวบ
    ใส่ชุดรักบี้ทีมสก็อตติช
  • 5:31 - 5:34
    เขาลองทั้งเทนนิส
    สกี มวยปล้ำ
  • 5:34 - 5:37
    แม่ของเขาจริง ๆ แล้วเป็นผู้ฝึกสอนเทนนิส
    แต่เธอปฏิเสธที่จะสอนเขา
  • 5:37 - 5:39
    เพราะเขามักจะไม่ยอม
    เขวี้ยงลูกบอลกลับมาดี ๆ
  • 5:39 - 5:41
    เขาเล่นบาสเกตบอล
    ปิงปอง ว่ายน้ำ
  • 5:41 - 5:43
    เมื่อผู้ฝึกสอนต้องการให้เขา
    เข้าพัฒนามากขึ้น
  • 5:44 - 5:45
    เพื่อจะได้เล่นกับเด็กโต
  • 5:45 - 5:48
    เขาปฏิเสธ เพราะเขาต้องการ
    พูดคุยเล่นเรื่องนักมวยปล้ำมือโปร
  • 5:48 - 5:49
    กับเพื่อน ๆ หลังการฝึกซ้อม
  • 5:49 - 5:51
    และเขาก็ยังคงลองเล่นกีฬาอื่น ๆ
  • 5:51 - 5:54
    แฮนด์บอล วอลเล่บอล ฟุตบอล
    แบตมินตัน สเกตบอร์ด
  • 5:54 - 5:56
    เด็กที่ไม่จริงจังอะไรคนนี้เป็นใครกัน
  • 5:57 - 5:59
    นี่คือ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์
  • 5:59 - 6:02
    ที่โด่งดังในทุก ๆ ด้าน
    เหมือนกับไทเกอร์ วูดส์
  • 6:02 - 6:05
    แม้แต่แฟนเทนนิสก็ไม่ค่อยรู้
  • 6:05 - 6:07
    เรื่องราวการพัฒนาของเขาหรอก
  • 6:07 - 6:09
    ทำไมล่ะ ถึงแม้มันจะเป็นเรื่องธรรมดาก็เถอะ
  • 6:09 - 6:12
    ผมคิดว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะ
    เรื่องของไทเกอร์นั้นซับซ้อน
  • 6:12 - 6:15
    แต่ก็เป็นเพราะมันดูเป็นเรื่องที่
    เล่าแล้วเข้าใจง่าย
  • 6:15 - 6:18
    และเราสามารถนำไปใช้กับอะไรก็ได้
    ที่เราอยากพัฒนา
  • 6:18 - 6:19
    ในชีวิตของเรา
  • 6:19 - 6:21
    แต่ผมคิดว่าความคิดแบบนี้มีปัญหา
  • 6:21 - 6:24
    เพราะปรากฏว่าจากหลายแง่มุม
    กอล์ฟเป็นแบบอย่างที่แย่มาก
  • 6:24 - 6:27
    สำหรับอะไรก็ตามที่มนุษย์ต้องการเรียนรู้
  • 6:27 - 6:28
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:28 - 6:29
    กอล์ฟเป็นตัวอย่างที่ดี
  • 6:29 - 6:33
    ของ "สภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบอ่อนโยน"
    ตามที่นักจิตวิทยาโรบิน โฮกาธ เรียก
  • 6:33 - 6:36
    สภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบอ่อนโยน
    จะมีขั้นตอนและเป้าหมายที่ชัดเจน
  • 6:36 - 6:38
    กฎที่ชัดเจนและไม่เปลี่ยนแปลง
  • 6:38 - 6:41
    เมื่อคุณทำอะไรคุณจะได้ผลตอบรับ
    ที่เร็ว และตรงไปตรงมา
  • 6:41 - 6:43
    หากคุณทำอีกในปีหน้า
    ก็เหมือนที่คุณทำปีที่แล้ว
  • 6:43 - 6:46
    หมากรุก ก็เป็น
    สภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบอ่อนโยน
  • 6:46 - 6:47
    ขอได้เปรียบของปรมาจารย์
  • 6:47 - 6:50
    คือการการใช้ความรู้
    ของรูปแบบที่เกิดซ้ำ ๆ
  • 6:50 - 6:52
    นั้นก็เป็นเหตุผลว่า
    ทำไมหุ่นยนต์ถึงเล่นได้
  • 6:52 - 6:55
    ที่ขั้วตรงข้าม คือ
    สภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบบิดเบี้ยว
  • 6:55 - 6:57
    ที่ขั้นตอนและเป้าหมาย
    อาจจะไม่ชัดเจน
  • 6:57 - 6:59
    กฎอาจเปลี่ยน
  • 6:59 - 7:01
    คุณอาจได้หรือไม่ได้รับผลตอบรับ
    เมื่อคุณทำอะไร
  • 7:01 - 7:03
    มันอาจจะถูกเลื่อน หรือไม่ถูกต้องแม่นยำ
  • 7:03 - 7:06
    งานในปีหน้า อาจจะไม่เหมือนปีที่แล้ว
  • 7:06 - 7:10
    แล้วสภาพแบบไหนกัน
    ที่ดูเหมือนโลกที่เรากำลังอยู่ตอนนี้
  • 7:10 - 7:13
    อันที่จริง ความจำเป็นในการคิด
    เพื่อที่จะปรับตัวได้
  • 7:13 - 7:15
    และการเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ
    เข้าด้วยกัน
  • 7:15 - 7:17
    เป็นพื้นฐานที่เปลี่ยนแปลง
    รูปแบบการคิดของเรา
  • 7:17 - 7:19
    เมื่อคุณมองที่แผนภาพนี้
  • 7:19 - 7:23
    วงกลมตรงกลางด้านขวา
    อาจดูใหญ่สำหรับคุณ
  • 7:23 - 7:24
    และสมองของคุณถูกถึงดูด
  • 7:24 - 7:26
    ไปที่ความสัมพันธ์
    ระหว่างองค์ประกอบและภาพรวม
  • 7:26 - 7:29
    ในขณะที่คนที่ไม่เคยเห็นภาพ
    ของยุคสมัยใหม่
  • 7:29 - 7:32
    ที่ต้องใช้ความสามารถในการปรับตัว
    ทางความคิด
  • 7:32 - 7:35
    ก็จะสามารถมองเห็นได้ทันทีว่า
    วงกลมตรงกลางทั้งสองมีขนาดเท่ากัน
  • 7:35 - 7:38
    เราอยู่ในโลกที่มีสภาพบิดเบี้ยว
  • 7:38 - 7:42
    และการมุ่งพัฒนาความเชี่ยวชาญ
    อาจะไม่เป็นอย่างที่คาดไว้
  • 7:42 - 7:44
    ยกตัวเอย่างเช่น
    งานวิจัยในหลายประเทศ
  • 7:44 - 7:47
    ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
    จำนวนปีของพ่อแม่ในการศึกษา
  • 7:47 - 7:48
    คะแนนสอบของตัวเอง
  • 7:48 - 7:49
    และจำนวนปีในการศึกษา
    ของตัวเอง
  • 7:50 - 7:52
    ความแตกต่างคือ
    บางคนเรียนโดยมุ่งอาชีพเฉพาะทาง
  • 7:52 - 7:54
    บางคนเรียนแบบกว้างไม่เจาะจง
  • 7:54 - 7:57
    รูปแบบที่พบคือ คนที่เรียนมาตรงกับสายงาน
  • 7:57 - 8:00
    มักจะได้งานหลังเรียนจบ
  • 8:00 - 8:02
    และจะทำเงินได้มากกว่าในทันที
  • 8:02 - 8:04
    แต่ไม่สามารถปรับตัวได้
    กับโลกที่เปลี่ยนแปลง
  • 8:04 - 8:07
    พวกเขาเลยใช้เวลาน้อยกว่า
    ในการทำงานโดยภาพรวม
  • 8:07 - 8:10
    ทำให้พวกเขาชนะในช่วงสั้น ๆ
    แต่ต้องแพ้ในระยะยาว
  • 8:10 - 8:13
    ลองพิจารณาการศึกษา
    ที่ใช้เวลา 20 ปี ที่ผู้เชี่ยวชาญ
  • 8:13 - 8:16
    ทำนายเรื่องภูมิรัฐศาสตร์
    และเศรษฐศาสตร์
  • 8:16 - 8:20
    คนที่ทำนายสิ่งต่าง ๆ ได้แย่ที่สุด
    คือพวกผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย
  • 8:20 - 8:23
    ผู้ที่ใช้เวลาทั้งชีวิต ไปกับการแก้ปัญหา
    เพียงหนึ่งหรือสองปัญหา
  • 8:23 - 8:26
    และมองโลกทั้งโลก
    ด้วยตาข้างเดียว หรือติ๊ต่างเอา
  • 8:26 - 8:28
    บางคนคือแย่จริง ๆ
  • 8:28 - 8:30
    แม้ว่าจะสั่งสมประสบการณ์และคุณวุฒิมามาก
  • 8:30 - 8:35
    คนที่ทำนายได้ดีที่สุด คือคนที่มี
    ความคิดใหม่ ๆ และมีความสนใจรอบด้าน
  • 8:36 - 8:38
    ในบางสาขาอย่างการแพทย์
  • 8:38 - 8:41
    การพัฒนาความเชี่ยวชาญ
    เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้และจำเป็น
  • 8:41 - 8:42
    ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร
  • 8:42 - 8:44
    ที่ถึงอย่างนั้น มันก็เป็นดาบสองคม
  • 8:44 - 8:48
    ไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการผ่าตัด
    เพื่อแก้ไขอาการปวดเข่า
  • 8:48 - 8:50
    และมีการศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก
  • 8:50 - 8:52
    มีคนไข้บางรายถูก "ผ่าตัดแบบหลอก ๆ"
  • 8:52 - 8:54
    นั่นหมายความว่า แพทย์ลงมีดแล้ว
  • 8:54 - 8:56
    ทำเสียงนั่นนี่ให้เหมือนว่ากำลังผ่าตัด
  • 8:56 - 8:58
    และก็เย็บปิดเหมือนเดิม
  • 8:58 - 8:59
    และก็ได้ผลดีทีเดียว
  • 8:59 - 9:02
    แม้ว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
    ก็ยังคงทำแบบเดิมต่อไป
  • 9:02 - 9:03
    เป็นล้าน ๆ
  • 9:04 - 9:08
    หากการฝึกให้เชี่ยวชาญ
    ไม่ใช่กลเม็ดในโลกที่บิดเบี้ยว แล้วอะไรล่ะ
  • 9:08 - 9:10
    นี่เป็นเรื่องที่ยากที่จะพูดถึง
  • 9:10 - 9:12
    เพราะมันไม่ได้เป็นเส้นตรงแบบนี้
  • 9:12 - 9:15
    บางครั้งมันก็ดูคดเคี้ยว วนไปวนมา
  • 9:15 - 9:16
    หรือมองเห็นเป็นภาพกว้าง ๆ
  • 9:16 - 9:18
    มันอาจจะดูเหมือนว่าอยู่รั้งท้าย
  • 9:18 - 9:20
    แต่ผมอยากจะพูดถึงกลเม็ดที่ได้ผล
  • 9:20 - 9:24
    หากเราดูงานวิจัยทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม
    จะพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของจำนวน
  • 9:24 - 9:27
    สิทธิบัตรที่มีผลในวงกว้าง
    ไม่ได้ถือครองโดยบุคคล
  • 9:27 - 9:30
    ที่มีความสามารถแบบลึกมาก ๆ
    ในด้านใดด้านหนึ่งของเทคโนโลยี
  • 9:30 - 9:32
    ที่สำนักงานสิทธิบัตรอเมริกา
    จัดประเภท
  • 9:32 - 9:35
    และถือโดยกลุ่มบุคคล หรือบุคคล
  • 9:35 - 9:38
    ที่ทำงานข้ามสาขาทางเทคโนโลยี
  • 9:38 - 9:40
    และมักจะผสานหลาย ๆ สิ่ง
    จากหลายแวดวงเข้าด้วยกัน
  • 9:40 - 9:44
    บุคคลหนึ่งที่ผมชื่นชมผลงานของเขา
    เป็นคนที่อยู่แถวหน้าของวงการ
  • 9:44 - 9:46
    คือชายญี่ปุ่นนาม กุนเป โยโคอิ
  • 9:46 - 9:48
    โยโคอิ ทำคะแนนได้ไม่ดี
    ในการสอบวิชาอิเล็กทรอนิกส์
  • 9:48 - 9:52
    เขาจึงต้องหันไปทำงานที่ไม่ยากมาก
    อย่างการเป็นช่างซ่อมบำรุง
  • 9:52 - 9:54
    ที่บริษัทเกมไพ่ในเกียวโต
  • 9:54 - 9:57
    เขารู้ตัวดีว่าตัวเอง
    ไม่มีทักษะการทำงานที่ทันสมัย
  • 9:57 - 10:00
    แต่ก็มีข้อมูลบางอย่าง
    ที่เขาสามารถเข้าถึงได้
  • 10:00 - 10:03
    ที่ทำให้เขาสามารถผสมผสานบางสิ่ง
    ที่มีอยู่แล้วเข้ากัน
  • 10:03 - 10:05
    ในแบบที่ผู้เชี่ยวชาญ
    มองไม่ได้จากมุมมองแคบ ๆ นั้น
  • 10:05 - 10:09
    เขาจึงผสานเทคโนโลยีที่เด่น ๆ
    จากอุตสาหกรรมเครื่องคิดเลข
  • 10:09 - 10:12
    เข้ากับเทคโนโลยีจากอุตสาหกรรม
    การผลิตนามบัตร
  • 10:12 - 10:13
    และเขาก็ได้พัฒนาเกมพกพา
  • 10:13 - 10:14
    และมันได้สะเทือนวงการ
  • 10:14 - 10:17
    จนได้เปลี่ยนบริษัทเกมไพ่
  • 10:17 - 10:20
    ที่ก่อตั้งบนอาคารไม้ชั้นล่าง
    ในศตวรรษที่ 19
  • 10:20 - 10:22
    สู่องค์กรที่ผลิตของเล่นและเกม
  • 10:22 - 10:24
    คุณคงจะเคยได้ยินชื่อของบริษัทนี้
    บริษัทนินเทนโด
  • 10:24 - 10:26
    ปรัชญาการสร้างสรรค์
    ของเขา
  • 10:26 - 10:29
    คือ "การมองรอบ ๆ
    กับเทคโนโลยีที่คนทิ้งแล้ว"
  • 10:29 - 10:32
    ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว
    และใช้มันในรูปแบบใหม่
  • 10:32 - 10:34
    ผลงานที่โดงดังที่สุดของเขาคือ
  • 10:34 - 10:35
    เกมบอย
  • 10:35 - 10:37
    เทคโนโลยีที่ถูกล้อเลียนอยู่บ่อย ๆ
  • 10:37 - 10:41
    ที่ปล่อยออกมาพร้อมกับคู่แข่งที่มีสี
    อย่าง ซากา และ อาตาริ
  • 10:41 - 10:43
    และก็ชนะขาดลอย
  • 10:43 - 10:46
    เพราะโยโคอิรู้ดีว่า
    ลูกค้าต้องการอะไร
  • 10:46 - 10:47
    ไม่ใช่สี
  • 10:47 - 10:51
    แต่คือ ความทนทาน สะดวกพกพา
    ราคาไม่แพง แบตเตอรี่อึด
  • 10:51 - 10:52
    การมีเกมให้เลือก
  • 10:52 - 10:55
    นี่คือเกมบอยของผม
    ที่ผมเจอในห้องเก็บของ
  • 10:55 - 10:56
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:56 - 10:57
    คิดถึงวันวานเหมือนกัน
  • 10:57 - 10:59
    แต่คุณก็เห็นหนิ ว่าไฟยังติด
  • 10:59 - 11:01
    ผมลองเปิดและเล่นเกมเตอตริส
  • 11:01 - 11:03
    ซึ่งผมประทับใจมาก
  • 11:03 - 11:06
    เพราะถ่านหมดอายุไปแล้ว
    ในปี 2007 และ 2013
  • 11:06 - 11:07
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:07 - 11:11
    ข้อได้เปรียบนี้ ก็เอาไปใช้ได้
    กับวงการอื่น ๆ เหมือนกัน
  • 11:11 - 11:15
    ในการศึกษาที่น่าประหลาดใจ
    เกี่ยวกับเหตุผลที่นักเขียนการ์ตูน
  • 11:15 - 11:17
    สามารถสร้างการ์ตูน
    ที่ดังกระฉ่อนได้
  • 11:17 - 11:19
    มีงานวิจัยสองชิ้นที่พบว่า
  • 11:19 - 11:22
    มันไม่เกี่ยวกับจำนวนปีของประสบการณ์
  • 11:22 - 11:25
    ไม่เกี่ยวกับทรัพยากรของสำนักพิมพ์
  • 11:25 - 11:27
    ไม่เกี่ยวกับจำนวนการ์ตูนที่เคยตีพิมพ์
  • 11:27 - 11:32
    แต่เป็นจำนวนประเภทของหนังสือ
    ที่ผู้สร้างได้ทำงานมา
  • 11:32 - 11:33
    และสิ่งที่น่าสนใจคือ
  • 11:33 - 11:37
    บุคคลที่มีความสนใจรอบด้าน
    ไม่สามารถแทนที่ได้
  • 11:37 - 11:39
    ด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
  • 11:39 - 11:42
    เราอาจไม่สามารถทำแบบนั้นได้
  • 11:42 - 11:45
    เพราะก่อนหน้านี้
    พวกเขาดูเหมือนรั้งท้าย
  • 11:45 - 11:49
    และเรามักไม่สนับสนุน
    คนที่ไม่น่าจะก้าวหน้าได้เร็ว
  • 11:49 - 11:50
    หรือไม่มีความเชี่ยวชาญ
  • 11:50 - 11:53
    อันที่จริงเจตนาดี
    ของการสนับสนุนคนที่หัวไว
  • 11:53 - 11:56
    เรามักจะลดขั้นตอน
    ซึ่งกลับทำให้ได้ผลที่ตรงข้าม
  • 11:56 - 11:57
    รวมถึงวิธีการเรียนสิ่งใหม่
  • 11:57 - 11:59
    ในระดับพื้นฐาน
  • 11:59 - 12:02
    ในงานวิจัยเมื่อปีที่แล้ว
    นักเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เกรด 7 ในสหรัฐฯ
  • 12:02 - 12:05
    ได้ถูกสุ่ม และให้เรียนรู้
    ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน
  • 12:05 - 12:08
    บางคนก็ได้เรียนด้วย "การฝึกที่ละประเภท"
  • 12:08 - 12:10
    เหมือนกับเวลาคุณได้โจทย์ประเภท A
  • 12:10 - 12:13
    คุณจะได้ AAAA BBBB ไปเรื่อย ๆ
  • 12:13 - 12:14
    การพัฒนาเร็วมาก
  • 12:14 - 12:15
    เด็ก ๆ มีความสุข
  • 12:15 - 12:16
    ทุกอย่างเรียบร้อยดี
  • 12:16 - 12:20
    แต่เด็กอีกกลุ่มได้เรียนแบบ
    "การฝึกเว้นช่วง"
  • 12:21 - 12:24
    นั่นหมายถึง คุณจะได้
    โจทย์ทุกรูปแบบในคราวเดียว
  • 12:24 - 12:25
    และมาจากการสุ่ม
  • 12:25 - 12:28
    การพัฒนาเกิดขึ้นช้า
    เด็ก ๆ หงุดหงิด
  • 12:28 - 12:31
    แต่แทนที่จะเรียนรู้
    แค่กระบวนการทำงาน
  • 12:31 - 12:35
    เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การใช้กลวิธี
    เพื่อจัดการโจทย์ประเภทต่าง ๆ
  • 12:35 - 12:36
    และเมื่อถึงเวลาสอบ
  • 12:36 - 12:40
    กลุ่มที่เรียนแบบเว้นช่วง
    นำโด่งกลุ่มที่เรียนแบบฝึกที่ละประเภท
  • 12:40 - 12:41
    ไม่ได้ใกล้กันเลย
  • 12:42 - 12:45
    ผมมองว่าผลงานวิจัยนี้
    นั้นขัดต่อความเข้าใจ
  • 12:45 - 12:47
    แนวคิดของการเริ่มได้เร็วในช่วงแรก
  • 12:47 - 12:49
    ไม่ว่าจะทำงานอะไรหรือเรียนอะไร
  • 12:49 - 12:51
    หรือแต่เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
  • 12:51 - 12:53
    บางที่ก็สามารถส่งผลเสียในระยะยาวได้เช่นกัน
  • 12:54 - 12:56
    และโดยธรรมชาติแล้ว
    มีวิธีการมากมายที่จะประสบความสำเร็จ
  • 12:56 - 12:58
    เพราะยังมีผู้คน
  • 12:58 - 13:02
    และผมคิดว่าเรายังคงมักจะสนับสนุน
    แต่คนที่จะเดินไปตามเส้นทางแบบไทเกอร์
  • 13:02 - 13:04
    ในขณะที่โลกก็บิดเบี้ยวมากขึ้น
  • 13:04 - 13:07
    และเราต้องการคนที่จะเดินไปในเส้นทาง
    แบบโรเจอร์เหมือนกัน
  • 13:07 - 13:09
    หรือนักฟิสิกส์หรือนักคณิตศาสตร์
    ที่มีชื่อเสียง
  • 13:09 - 13:13
    และนักเขียนที่เก่งกาจอย่าง
    ฟรีแมน ไดสันกล่าวไว้
  • 13:13 - 13:16
    และไดสันได้เสียชีวิตลงเมื่อวานนี้
  • 13:16 - 13:18
    และผมหวังว่าจะพูดเพื่อให้เกียรติเขา
  • 13:18 - 13:23
    เขากล่าวว่า สำหรับระบบนิเวศที่สมดุล
    เราต้องการทั้งนกและกบ
  • 13:23 - 13:24
    กบที่อยู่ข้างล่างในโคลน
  • 13:24 - 13:26
    มองเห็นสิ่งเล็ก ๆ
  • 13:26 - 13:29
    นกที่บินสูงอยู่ข้างบน
    มองไม่เห็นรายละเอียดเหล่านั้น
  • 13:29 - 13:31
    แต่ด้วยการผสานความรู้จากกบ
  • 13:31 - 13:32
    เราต้องการทั้งคู่
  • 13:33 - 13:34
    ไดสันกล่าวว่า ปัญหาอยู่ที่
  • 13:34 - 13:37
    เราเอาแต่พร่ำบอกให้ทุกคนเป็นกบ
  • 13:37 - 13:38
    และผมคิดว่า
  • 13:38 - 13:40
    ในโลกที่บิดเบี้ยวนี้
  • 13:40 - 13:42
    หลายสิ่งก็เริ่มไม่ชัดเจน
  • 13:42 - 13:43
    ขอบคุณมากครับ
  • 13:43 - 13:46
    (เสียงปรบมือ)
Title:
การฝึกจนเชี่ยวชาญแต่เนิ่น ๆ ไม่ได้ช่วยให้การงานก้าวหน้าเสมอไป
Speaker:
เดวิด เอ็ปสไตน์
Description:

การที่หัวไวไม่ได้หมายความว่า...แบบ ทำให้คุณไปเร็วกว่าคนอื่น ด้วยตัวอย่างจากกีฬา เทคโนโลยี และเศรษฐศาสตร์ เดวิด เอปสไตน์ นักข่าว ได้แบ่งปันความรู้ที่ว่า การฝึกให้เชี่ยวชาญในทักษะใดทักษะหนึ่งเร็วเกินไปในช่วงชีวิต อาจส่งผลเสียต่อการพัฒนาในระยะยาว และได้อธิบายประโยชน์ของ "ช่วงทดลอง" ที่คุณสามารถทดลองสิ่งต่าง ๆ และมุ่งพัฒนาทักษะหลาย ๆ ด้าน มาเรียนรู้ว่า ความคิดที่ขัดแย้งกับความรู้สึก (และเส้นทางชีวิตที่ดีกว่า) จะทำไปสู่ชีวิตที่เติมเต็มมากขึ้น ทั้งในเรื่องส่วนตัวและเรื่องการงาน

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:00

Thai subtitles

Revisions Compare revisions