Return to Video

แจ็ค แอนดราคา (Jack Andraka): อุปกรณ์ตรวจหามะเร็งตับอ่อนที่แสนจะเข้าท่า จากเด็กวัยทีน

  • 0:01 - 0:04
    เคยไหมครับที่เสี้ยวหนึ่งของชีวิตคุณ
  • 0:04 - 0:08
    ที่มันแสนจะเจ็บปวดและสับสน
  • 0:08 - 0:10
    และทั้งหมดที่คุณอยากจะทำ
  • 0:10 - 0:14
    คืออยากที่จะรู้ให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้
    เพื่อที่จะเข้าใจสิ่งที่มันเกิดขึ้น
  • 0:14 - 0:17
    เมื่อผมอายุได้สิบสามปี เพื่อนที่สนิทกับครอบครัว
  • 0:17 - 0:18
    ผู้ซึ่งเปรียบเสมือนคุณลุงของผม
  • 0:18 - 0:21
    ได้จากไปด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน
  • 0:21 - 0:24
    เมื่อโรคนี้เกิดขึ้นใกล้ตัวเหลือเกิน
  • 0:24 - 0:26
    ผมรู้ว่าผมต้องเรียนรู้ให้มากขึ้น
  • 0:26 - 0:28
    ดังนั้น ผมจึงเข้าสู่โลกออนไลน์พื่อหาคำตอบ
  • 0:28 - 0:32
    โดยการใช้อินเตอร์เน็ต ผมได้พบกับสถิติมากมาย
  • 0:32 - 0:33
    เกี่ยวกับโรคมะเร็งตับอ่อน
  • 0:33 - 0:36
    และสิ่งที่ผมได้พบนั้นทำให้ผมตกใจมาก
  • 0:36 - 0:40
    กว่าร้อยละ 85 ของมะเร็งตับอ่อน
  • 0:40 - 0:41
    ได้รับการวินิจฉัยเมื่อสายไปเสียแล้ว
  • 0:41 - 0:46
    เมื่อใครสักคนมีโอกาสน้อยกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ที่จะมีชีวิตรอด
  • 0:46 - 0:50
    ทำไมเราถึงแย่ในการตรวจโรคมะเร็งตับอ่อนแบบนี้
  • 0:50 - 0:53
    เหตุผลหรอครับ ทุกวันนี้ การแพทย์สมัยใหม่ในปัจจุบัน
  • 0:53 - 0:55
    ยังคงใช้เทคนิคที่มีอายุ 60 ปี
  • 0:55 - 0:58
    นั่นแก่กว่าพ่อผมอีกครับ
  • 0:58 - 1:01
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:01 - 1:04
    นอกจากนั้น มันยังแพงเอามากๆอีกด้วย
  • 1:04 - 1:07
    การทดสอบครั้งหนึ่งต้องสิ้นเงินถึง 800 ดอลล่าร์
  • 1:07 - 1:10
    และก็ไม่ได้แม่นยำอะไรเลย
  • 1:10 - 1:13
    มันตรวจมะเร็งตับอ่อนพลาดถึง 30 เปอร์เซ็นต์
  • 1:13 - 1:16
    คุณหมอของคุณจะต้องมีความเคลือบแคลงสงสัย
    ระดับไม่ปกติ
  • 1:16 - 1:20
    ว่าคุณมีมะเร็ง เพื่อที่จะทำการตรวจคุณ
  • 1:20 - 1:23
    เมื่อได้เรียนรู้สิ่งนี้ ผมรู้ว่า มันจะต้องมีหาทางที่ดีกว่า
  • 1:23 - 1:26
    ดังนั้น ผมกำหนดเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์
  • 1:26 - 1:28
    ว่า ตัวตรวจจับนั้นควรจะมีหน้าตาเป็นเช่นไร
  • 1:28 - 1:31
    เพื่อที่จะมีประสิทธิภาพในการวินิจฉัยมะเร็งตับอ่อน
  • 1:31 - 1:35
    ตัวตรวจจับควรที่จะ มีราคาไม่แพง ทำงานรวดเร็ว
  • 1:35 - 1:39
    เรียบง่าย ไวต่อสิ่งตรวจจับ จำเพาะเจาะจง
  • 1:39 - 1:42
    และ ลดระดับการแพร่ระบาดที่อาจเกิดขึ้น
  • 1:42 - 1:44
    เอาล่ะครับ มันมีเหตุผลว่าทำไมการทดสอบนี้
  • 1:44 - 1:47
    ไม่ได้รับการปรับปรุงในช่วงกว่าหกทศวรรษ
  • 1:47 - 1:50
    และนั่นเป็นเพราะว่าเมื่อเรากำลังมองหามะเร็งตับอ่อน
  • 1:50 - 1:52
    พวกเรากำลังมองไปที่กระแสโลหิตของคุณ
  • 1:52 - 1:57
    ที่มีโปรตีนต่างๆอยู่แล้วเต็มไปหมด
  • 1:57 - 1:59
    และคุณกำลังมองหาความแตกต่างเพียงเล็กน้อย
  • 1:59 - 2:01
    ในโปรตีนปริมาณเล็กน้อย
  • 2:01 - 2:02
    แค่โปรตีนนี้ ตัวเดียว
  • 2:02 - 2:04
    มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
  • 2:04 - 2:07
    แต่อย่างไรก็ดี
    ความไม่ย่อท้อจากการมองโลกในแง่ดีแบบเด็กวัยรุ่นอย่างผม
  • 2:07 - 2:13
    (เสียงปรบมือ) -
  • 2:13 - 2:17
    ผมออนไลน์หาเพื่อนรู้ใจสองรายของวัยรุ่น ชื่อว่า
  • 2:17 - 2:19
    กูเกิล และ วิกิพีเดีย
  • 2:19 - 2:23
    ผมได้ทุกอย่างสำหรับการบ้านจากสองแหล่งนั้นน่ะครับ
  • 2:23 - 2:25
    และสิ่งที่ผมได้พบก็คือบทความ
  • 2:25 - 2:29
    ที่ให้รายการฐานข้อมูล โปรตีนต่างๆกว่า 8,000 ชนิด
  • 2:29 - 2:32
    ที่พบได้เมื่อคุณเป็นมะเร็งตับอ่อน
  • 2:32 - 2:35
    ดังนั้น ผมตัดสินใจที่จะลงมือและสร้างภาระกิจของผม
  • 2:35 - 2:38
    ในการศึกษาโปรตีนทั้งหมดเหล่านี้และดูว่าโปรตีนตัวไหน
  • 2:38 - 2:41
    จะสามารถใช้เป็นตัวบ่งเชิงชีวภาพ (biomarker)
    สำหรับมะเร็งตับอ่อนได้
  • 2:41 - 2:43
    และเพื่อที่จะทำให้มันง่ายขึ้นสักหน่อยสำหรับผม
  • 2:43 - 2:47
    ผมตัดสินใจที่จะวาดแผนผังกำหมดเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์
    ซึ่งมีหน้าตาเช่นนี้
  • 2:47 - 2:50
    ที่สำคัญประการแรกเลย โปรตีนนั้นต้องสามารถพบได้
  • 2:50 - 2:53
    ในมะเร็งตับอ่อนทุกชนิด ในระดับที่เข้มข้นในกระแสโลหิต
  • 2:53 - 2:57
    ในระยะแรกที่สุด แต่ต้องพบได้แต่ในมะเร็งเท่านั้น
  • 2:57 - 3:00
    ผมทั้งพยายามฉุดกระชากลากถูภาระกิจระดับยักษ์นี้
  • 3:00 - 3:04
    และในที่สุด เมื่อได้ลองมาถึงความพยายามที่ 4,000
  • 3:04 - 3:05
    ซึ่งเป็นตอนที่ผมเข้าขั้นใกล้เสียสติแล้ว
  • 3:05 - 3:07
    ผมก็ได้พบโปรตีน
  • 3:07 - 3:10
    และชื่อของโปรตีนที่ผมต้องการ
  • 3:10 - 3:11
    ก็คือ มีโซทีลิน (mesothelin)
  • 3:11 - 3:14
    และมันก็เป็นแค่โปรตีนธรรมดาๆบ้านๆทั่วไปชนิดหนึ่ง
  • 3:14 - 3:16
    เว้นเสียแต่ว่า ถ้าคุณเป็นมะเร็งตับอ่อน
  • 3:16 - 3:18
    มะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งปอด
  • 3:18 - 3:21
    ซึ่งในกรณีนั้น มันจะถูกพบในระดับสูงมากในกระแสโลหิต
  • 3:21 - 3:22
    และนอกจากนั้น หัวใจสำคัญก็คือ
  • 3:22 - 3:25
    มันถูกพบได้ในระยะแรกที่สุดเมื่อเกิดโรคนี้
  • 3:25 - 3:28
    เมื่อใครสักคนมีโอกาสเกือบจะ 100 เปอร์เซ็นต์
  • 3:28 - 3:29
    ที่จะมีชีวิตรอด
  • 3:29 - 3:32
    ในเมื่อตอนนี้ผมได้พบกับโปรตีนที่น่าจะเชื่อได้ว่า
    ผมจะตรวจมันพบ
  • 3:32 - 3:35
    ผมก็เบี่ยงความสนใจของผมไปยังการตรวจจับโปรตีนที่ว่า
  • 3:35 - 3:38
    และนัยหนึ่ง มันก็คือการตรวจจับมะเร็งตับอ่อน
  • 3:38 - 3:41
    ทีนี้ การค้นพบของผมนั้นเกิดขึ้นในสถานที่ซึ่งไม่น่าเกิดขึ้น
  • 3:41 - 3:44
    บางที เป็นที่ซึ่งไม่ได้คู่ควรกับนวัตกรรมเลย
  • 3:44 - 3:46
    ห้องเรียนชีววิทยาที่โรงเรียนมัธยมของผมนั่นเอง
  • 3:46 - 3:48
    สถานที่ซึ่งนวัตกรรมหยุดนิ่งไม่ไหวติง
  • 3:48 - 3:53
    (เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
  • 3:53 - 3:57
    และผมก็ได้แอบอ่านบทความ เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกกว่า
  • 3:57 - 4:00
    คาร์บอน นาโนทิวบ์ (carbon nanotube)
    ซึ่งมันก็คือท่อยาวๆบางๆที่ทำจากคาร์บอน
  • 4:00 - 4:01
    ความหนาเพียงแค่อะตอมเดียว
  • 4:01 - 4:04
    และมีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็น 1 ใน 5 หมื่นของเส้นผมของคุณ
  • 4:04 - 4:06
    และแม้ว่าพวกมันจะมีขนาดที่เล็กมากๆ
  • 4:06 - 4:08
    พวกมันมีคุณสมบัติที่น่าทึ่ง
  • 4:08 - 4:11
    พวกมันเป็นเหมือนกับยอดมนุษย์แห่งวัสดุศาสตร์ก็ว่าได้
  • 4:11 - 4:13
    และในขณะที่ผมแอบอ่านบทความนึ้
  • 4:13 - 4:15
    ใต้โต๊ะเรียนในคาบวิชาชีววิทยา
  • 4:15 - 4:17
    ที่เราควรที่จะตั้งใจเรียน ให้ความสนใจกับ
  • 4:17 - 4:21
    เจ้าโมเลกุลเจ๋งๆที่เรียกว่า แอนติบอดีส์ (Antibodies)
  • 4:21 - 4:23
    และพวกมันก็ค่อนข้างเจ๋งทีเดียวเพราะพวกมันตอบสนอง
  • 4:23 - 4:24
    ต่อโปรตีนจำเพาะเพียงชนิดเดียว
  • 4:24 - 4:27
    แต่พวกมันไม่ได้น่าสนใจไปมากกว่าคาร์บอน นาโนทิวบ์
  • 4:27 - 4:30
    และนั่น ผมกำลังนั่งอยู่ในห้องเรียนนั้น
  • 4:30 - 4:33
    และทันใดนั้นเอง มันก็พุ่งเข้าใส่ผม
  • 4:33 - 4:35
    ผมสามารถที่จะผนวกสิ่งที่ผมกำลังอ่านอยู่เกี่ยวกับ
  • 4:35 - 4:37
    คาร์บอน นาโนทิวบ์
  • 4:37 - 4:40
    เข้ากับสิ่งที่ผมควรครุ่นคิด ซึ่งก็คือ แอนติบอดี
  • 4:40 - 4:42
    ที่สำคัญ ผมสามารถที่จะทอแอนติบอดีเหล่านี้
  • 4:42 - 4:44
    เข้าไปในเครือข่ายของคาร์บอน นาโนทิวบ์
  • 4:44 - 4:46
    ทำให้คุณมีเครือข่าย
  • 4:46 - 4:48
    ที่จะตอบสนองต่อโปรตีนเพียงชนิดเดียว
  • 4:48 - 4:52
    และนอกจากนั้น ด้วยคุณสมบัติของนาโนทิวบ์พวกนี้
  • 4:52 - 4:54
    มันจะเปลี่ยนคุณสมบัติทางไฟฟ้าของมัน
  • 4:54 - 4:56
    ตามปริมาณโปรตีนที่ปรากฎอยู่
  • 4:56 - 4:58
    อย่างไรก็ดี นี่เป็นส่วนสำคัญครับ
  • 4:58 - 5:02
    เครือข่ายของคาร์บอน นาโนทิวบ์เหล่านี้
    บางและฉีกขาดได้ง่ายมาก
  • 5:02 - 5:05
    และเมื่อมันเปราะบางมาก มันต้องได้รับการค้ำจุน
  • 5:05 - 5:07
    นั่นเป็นเหตุว่าทำไมผมถึงเลือกใช้กระดาษ
  • 5:07 - 5:10
    ทำที่ตรวจจับมะเร็งจากกระดาษนั้น
  • 5:10 - 5:12
    มันง่ายพอๆกับทำคุ๊กกี้ช๊อกโกแลต
  • 5:12 - 5:15
    ซึ่งผมชอบนะครับ
  • 5:15 - 5:19
    คุณเริ่มด้วยน้ำนิดหน่อย เทนาโนทิวบ์ลงไป
  • 5:19 - 5:21
    เติมแอนติบอดี ผสมเข้าด้วยกัน
  • 5:21 - 5:24
    เอากระดาษมา จุ่มลงไป ตากให้แห้ง
  • 5:24 - 5:27
    แค่นี้คุณก็ได้ที่ตรวจจับมะเร็งแล้ว
  • 5:27 - 5:33
    (เสียงปรบมือ)
  • 5:33 - 5:37
    แต่ในทันใดนั้นเอง ความคิดผุดขึ้น
  • 5:37 - 5:41
    ซึ่งน้ำเอาความขุ่นหมองมาให้กับแผนการอันน่าตื่นเต้นของผม
  • 5:41 - 5:43
    เป็นไปไม่ได้ที่ ผมจะทำงานวิจัยมะเร็งแบบจริงจัง
  • 5:43 - 5:44
    ในครัวของผม
  • 5:44 - 5:46
    แม่ผมต้องไม่ชอบใจแน่ๆ
  • 5:46 - 5:50
    ฉะนั้น แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ผมตัดสินใจที่จะไปห้องทดลอง
  • 5:50 - 5:52
    ผมพิมพ์ต้นทุน รายการอุปกรณ์
  • 5:52 - 5:54
    ระยะเวลาของโครงการ และวิธีการทดลอง
  • 5:54 - 5:57
    และผมก็ส่งอีเมล์ไปหาศาสตราจารย์ถึง 200 ท่าน
  • 5:57 - 5:58
    ที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์
    (Johns Hopkins University)
  • 5:58 - 6:00
    และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข (NIH)
  • 6:00 - 6:03
    หลักๆแล้ว ทุกคนที่มีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งตับอ่อน
  • 6:03 - 6:06
    และผมก็นั่งเอนหลัง รอคอยอีเมล์ตอบรับ
    ที่จะหลังไหลพรั่งพรูเข้ามา
  • 6:06 - 6:08
    เพื่อจะบอกว่า "แกนี่มันอัจฉริยะจริงๆ
  • 6:08 - 6:09
    พวกเรารอดตายแล้วทีนี้"
  • 6:09 - 6:14
    และ - (เสียงหัวเราะ)
  • 6:14 - 6:15
    จากนั้น ความเป็นจริงก็เข้ามา
  • 6:15 - 6:17
    และในช่วงเวลาเดือนกว่า
  • 6:17 - 6:22
    ผมได้รับการปฎิเสธ 199 จาก 200 อีเมล์
  • 6:22 - 6:24
    ศาสตราจารย์ท่านหนึ่ง ถึงกับอ่านวิธีการของผมทั้งหมด
  • 6:24 - 6:27
    พยายามเหลือเกิน
    -- ผมก็ไม่รู้ว่าแกไปเอาเวลามาจากไหนนะครับ--
  • 6:27 - 6:31
    และท่านก็อ่านทั้งหมดและบอกว่าทำไมในขั้นตอนแต่ละขั้น
  • 6:31 - 6:34
    เป็นดั่งความผิดพลาดที่แย่ที่สุดที่ผมจะสามารถทำได้
  • 6:34 - 6:37
    แน่ชัดว่า เหล่าศาสตร์จารย์นั้นไม่ได้มีความคิดเห็น
  • 6:37 - 6:40
    เป็นบวกต่องานของผมเท่าตัวผมเอง
  • 6:40 - 6:42
    แต่อย่างไรก็ดี แสงแห่งความหวังก็เข้ามา
  • 6:42 - 6:45
    ศาสตราจารย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า
    "เจ้าหนู บางทีผมอาจช่วยได้นะ"
  • 6:45 - 6:48
    ผมก็วิ่งรี่ไปทางนั้นเลยครับ
  • 6:48 - 6:52
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:52 - 6:54
    เหมือนที่เขาว่าไว้ว่า คุณปฎิเสธเด็กไม่ลงหรอก
  • 6:54 - 6:57
    และจากนั้น สามเดือนถัดมา
  • 6:57 - 7:00
    ในที่สุดผมก็ได้กำหนดนัดแบบจริงจังจากชายผู้นี้
  • 7:00 - 7:01
    และไปยังห้องทดลองของเขา
  • 7:01 - 7:03
    ผมตื่นเต้นมากๆ และจากนั้นผมก็นั่งลง
  • 7:03 - 7:05
    ผมเริ่มจะเปิดปาก และพูด
  • 7:05 - 7:08
    และห้าวินาทีต่อมา เขาก็เรียกด็อกเตอร์เข้ามาอีกคน
  • 7:08 - 7:11
    เหล่าด็อกเตอร์ก็เข้ามาชุมนุมกันในห้องเล็กๆของเขา
  • 7:11 - 7:14
    และพวกเขาก็ยิงคำถามใส่ผม
  • 7:14 - 7:16
    และสุดท้าย ผมรู้สึกเหมือนกับอยู่ในรถตัวตลก
  • 7:16 - 7:18
    มีด็อกเตอร์ 20 คน รวมผมกับศาสตราจารย์ท่านนั้น
  • 7:18 - 7:20
    อัดกันอยู่ในห้องทำงานเล็กจิ๋วนี้
  • 7:20 - 7:23
    และพวกเขาก็ยิงคำถามเข้ามายังผมไม่หยุด
  • 7:23 - 7:26
    พยายามที่จะล้มวิธีการของผม
  • 7:26 - 7:28
    จะไปสำเร็จได้ยังไงกัน แบบว่า ชิ
  • 7:28 - 7:32
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:32 - 7:35
    อย่างไรก็ตาม ในฐานะจำเลยในห้องสอบสวนนั้น
  • 7:35 - 7:37
    ผมตอบคำถามของพวกเขาทั้งหมด
  • 7:37 - 7:39
    และผมเดาไปบ้างเหมือนกัน แต่คงจะตอบถูก
  • 7:39 - 7:43
    และในที่สุดผมก็ได้พื้นที่ในห้องทดลองที่ต้องการ
  • 7:43 - 7:46
    แต่มันก็เพียงไม่นานหลังจากนั้น ที่ผมค้นพบว่า
  • 7:46 - 7:48
    กระบวนการที่เคยจะแสนเลิศเลอของผมนั้น
  • 7:48 - 7:50
    มีช่องโหว่อยู่เป็นล้าน
  • 7:50 - 7:51
    และในช่วงเวลากว่าเจ็ดเดือน
  • 7:51 - 7:55
    ผมพยายามอย่างยิ่งยวดในการปิดช่องโหว่พวกนั้นทีละอันๆ
  • 7:55 - 7:58
    ผลหรือครับ เป็นกระดาษเล็กๆที่ใช้ในการตรวจจับ
  • 7:58 - 8:01
    ที่ต้นทุนเพียงสามเซ็นต์ และใช้เวลาในการตรวจแค่ห้านาที
  • 8:01 - 8:04
    แปลว่าตรวจได้เร็วขึ้น 168 เท่า
  • 8:04 - 8:07
    ราคาถูกลงกว่า 26,000 เท่า
  • 8:07 - 8:10
    และไวต่อสิ่งตรวจจับมากขึ้น 400 เท่า
  • 8:10 - 8:13
    เมื่อเทียบกับการตรวจมะเร็งตับอ่อนแบบมาตรฐาน
    ที่ใช้กันในปัจจุบัน
  • 8:13 - 8:22
    (เสียงปรบมือ)
  • 8:22 - 8:25
    สิ่งที่ยอดเยี่ยมที่สุดสำหรับอุปกรณ์ตรวจจับนี้
  • 8:25 - 8:27
    คือมันมีความแม่นยำเกือบจะ 100 เปอร์เซ็นต์
  • 8:27 - 8:30
    และสามารถที่จะตรวจมะเร็งได้ในระยะแรกๆ
  • 8:30 - 8:33
    เมื่อใครสักคนนั้นมีโอกาสที่จะรอดชีวิต
    เกือบจะ 100 เปอร์เซ็นต์
  • 8:33 - 8:35
    และจากนี้อีกสองถึงห้าปี
  • 8:35 - 8:39
    ตัวตรวจจับนี้จะมีศักยภาพในเพิ่มอัตราผู้รอดชีวิต
    จากมะเร็งตับอ่อน
  • 8:39 - 8:41
    จาก 5.5 เปอร์เซ็นต์ที่ฟังดูหดหู่สิ้นหวัง
  • 8:41 - 8:43
    ให้เข้าใกล้ 100 เปอร์เซ็นต์
  • 8:43 - 8:46
    และมันจะยังทำสิ่งเดียวกันให้เกิดขึ้น
    กับมะเร็งรังไข่และมะเร็งปอด
  • 8:46 - 8:48
    แต่มันจะไม่ได้จบอยู่แค่นั้น
  • 8:48 - 8:50
    โดยการเปลี่ยนแอนติบอดี
  • 8:50 - 8:52
    คุณสามารถที่จะมองหาโปรตีนอื่นๆ
  • 8:52 - 8:53
    ดังนั้น นั่นหมายถึงโรคอื่นๆ
  • 8:53 - 8:57
    เป็นไปได้ว่า ไม่ว่าโรคใดๆก็ตามในโลกนี้
  • 8:57 - 8:59
    เรื่อยไปจากโรคหัวใจ
  • 8:59 - 9:01
    ไปจนถึงมาลาเรีย เอชไอวี เอดส์
  • 9:01 - 9:04
    แล้วก็ยังมะเร็งในรูปแบบอื่นๆ -- อะไรก็ได้เลย
  • 9:04 - 9:06
    และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสักวัน
  • 9:06 - 9:09
    พวกเราทุกคนจะมีคุณลุงอีกคนหนึ่ง
  • 9:09 - 9:12
    คุณแม่อีกคนหนึ่ง พี่น้องหญิงชายอีกคนหนึ่ง
  • 9:12 - 9:15
    พวกเราจะสามารถมีสมาชิกในครอบครัวอีกคนหนี่ง
    ที่เราจะได้รักนานขึ้น
  • 9:15 - 9:20
    และหัวใจของพวกเรานั้นจะได้รับการปลดภาระ
    ความวิตกต่อโรคหนึ่ง
  • 9:20 - 9:23
    ที่มาจากมะเร็งตับอ่อน มะเร็งรังไข่ และมะเร็งปอด
  • 9:23 - 9:25
    และเป็นไปได้ว่า ไม่่ว่าจะเป็นโรคใดๆ
  • 9:25 - 9:27
    ด้วยอินเตอร์เน็ตแล้ว ไม่ว่าอะไรก็เป็นไปได้
  • 9:27 - 9:29
    ทฤษฎีต่างๆสามารถนำมาแบ่งปันกันได้
  • 9:29 - 9:30
    และคุณก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นศาสตราจารย์
  • 9:30 - 9:33
    ที่มีวุฒิปริญญามากมาย เพื่อที่จะได้มาซึ่งความคิดที่ทรงค่า
  • 9:33 - 9:34
    มันเป็นพื้นที่อันเป็นกลาง
  • 9:34 - 9:37
    สถานที่ซึ่ง ไม่ว่าคุณจะน่าตา อายุ เพศ เป็นเช่นไรนั้น
  • 9:37 - 9:38
    มันไม่ได้มีความสำคัญ
  • 9:38 - 9:41
    แค่เพียงความคิดของคุณเท่านั้นที่สำคัญ
  • 9:41 - 9:44
    สำหรับผมแล้ว ทั้งหมดนี้เป็นการมองอินเตอร์เน็ต
  • 9:44 - 9:46
    ในทรรศนะใหม่
  • 9:46 - 9:48
    เพื่อที่จะตระหนักว่า มันยังมีอะไรอีกมากมาย
  • 9:48 - 9:53
    มากกว่าการโพสรูปออนไลน์ ที่คุณทำหน้าแอ๊บแบ๊ว
  • 9:53 - 9:56
    คุณสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงโลกนี้ได้
  • 9:56 - 9:58
    ดังนั้น ถ้าเด็กสิบห้าขวบ
  • 9:58 - 10:01
    ผู้ซึ่งไม่ได้รู้เลยว่าตับอ่อนคืออะไร
  • 10:01 - 10:05
    สามารถหาวิธีการใหม่ในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งตับอ่อนได้
  • 10:05 - 10:07
    ลองจินตนาการสิครับ ว่าคุณสามารถทำอะไรได้บ้าง
  • 10:07 - 10:09
    ขอบคุณครับ
  • 10:09 - 10:14
    (เสียงปรบมือ)
Title:
แจ็ค แอนดราคา (Jack Andraka): อุปกรณ์ตรวจหามะเร็งตับอ่อนที่แสนจะเข้าท่า จากเด็กวัยทีน
Speaker:
Jack Andraka
Description:

กว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของมะเร็งตับอ่อนถูกตรวจพบช้าเกินไปคือเมื่อใครสักคนนั้นมีโอกาสรอดชีวิตเหลืออยู่เพียง 2 เปอร์เซ็นต์
มันเป็นเช่นนั้นไปได้อย่างไรกัน?
แจ๊ค แอนดราคา พูดถึงว่าเขาทำอย่างไรในการพัฒนาอุปกรณ์วินิจฉัยมะเร็งตับอ่อนในระยะแรกที่เข้าท่า ถูกแสนถูก มีประสิทธิภาพ และไม่ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของโรค -- ทั้งหมดนี้ ก่อนเขาจะฉลองวันเกิดครบ 16 ปี

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
10:49
  • Internet อินเตอร์เน็ต

    "one 50 thousandth the diameter of your hair"
    1/50,000 ป่าวครับพี่โน๊ต? พี่เขียนไว้ห้าแสนของผมคุณ

    would like to add that the question mark can be used Thai krab, my mom is a Thai teacher and it's called "เครื่องหมายปรัศนี" in Thai keyboard, it's located above 'ท' key krab^^ but i agree to omit if needed to shorten the sentence krub

  • Thanks for your corrections ja. I made some chang a little bit. Although, it's plural in the speech, I tempted to use "Antibody (แอนติบอดี)" in singular for searching propose. What do you think ka? Could you please check this new draft and let me know, so I can click approve :)

    Also, thanks for the fact about "?" ka. I always have "?" in my head when it comes to using this in Thai. Thanks to your mom too ^^

    Take care ja.

  • I've just gone through it again. Now it's approved na ka. Please further suggest me anytime if you found something you wish to amend ka :)
    Best.

Thai subtitles

Revisions Compare revisions

  • Revision 8 Edited (legacy editor)
    Unnawut Leepaisalsuwanna
  • Revision 7 Edited (legacy editor)
    Kelwalin Dhanasarnsombut