Return to Video

ความจริงอีกอย่างที่ไม่มีใครอยากฟัง

  • 0:01 - 0:03
    คืนนี้ ผมอยากจะมาพูดถึง
  • 0:03 - 0:05
    ประเด็นสำคัญนี้
  • 0:05 - 0:09
    ที่เกี่ยวพันกับการใช้ทรัพยากรที่ดิน
    อาหาร และสิ่งแวดล้อม
  • 0:09 - 0:11
    สิ่งที่เกี่ยวข้องกับพวกเราทุกคน
  • 0:11 - 0:14
    ผมเรียกมันว่า
    ความจริงอีกอย่างที่ไม่มีใครอยากฟัง
  • 0:14 - 0:17
    แต่ก่อนอื่น ผมอยากจะขอพาคุณออกเดินทาง
  • 0:17 - 0:20
    เราจะไปเยือนโลกของเราในยามวิกาลด้วยกัน
  • 0:20 - 0:21
    โดยมองจากอวกาศ
  • 0:21 - 0:24
    นี่คือโลกของเรา
    เมื่อคุณมองจากอวกาศในเวลากลางคืน
  • 0:24 - 0:26
    หากคุณเดินทางโดยดาวเทียม
  • 0:26 - 0:29
    ที่โคจรรอบโลก
    สิ่งที่คุณจะสังเกตเห็นเป็นอย่างแรก
  • 0:29 - 0:32
    ก็คือ การมีอยู่ของมนุษย์นั้นมีอิทธิพล
  • 0:32 - 0:34
    ต่อโลกของเราแค่ไหน
  • 0:34 - 0:37
    เราเห็นเมือง
    เรามองเห็นพื้นที่ขุดเจาะน้ำมัน
  • 0:37 - 0:40
    หรือแม้แต่เรือประมงในทะเล
  • 0:40 - 0:43
    เรามองเห็นว่ามนุษย์มีอิทธิพลต่อโลก
  • 0:43 - 0:45
    และเกือบทั้งหมดโดยการใช้พลังงาน
  • 0:45 - 0:46
    ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดในยามวิกาล
  • 0:46 - 0:49
    เอาล่ะ ทีนี้กลับมามองให้ลึกลงไปอีกนิด
  • 0:49 - 0:51
    ในเวลากลางวัน
  • 0:51 - 0:54
    สิ่งที่เราเห็นตอนกลางวัน
    คือภูมิประเทศของเรา
  • 0:54 - 0:58
    ภาพนี้คือ ส่วนหนึ่งของลุ่มน้ำแอมะซอน
    ที่เรียกว่า รอนโดเนีย
  • 0:58 - 1:02
    ตั้งอยู่ทางใต้ตอนกลางของป่าแอมะซอน
    ของประเทศบราซิล
  • 1:02 - 1:04
    ถ้าคุณลองสังเกตมุมขวาบนของภาพ
  • 1:04 - 1:07
    คุณจะเห็นเส้นขาว ๆ บาง ๆ
  • 1:07 - 1:10
    ซึ่งก็คือถนนที่ถูกสร้างขึ้นในยุค 70
  • 1:10 - 1:14
    ถ้าเรากลับมาที่นี่อีกครั้งในปี ค.ศ. 2001
  • 1:14 - 1:16
    เราจะพบว่าถนนเหล่านี้
  • 1:16 - 1:20
    ถูกตัดแยกขยายออกไปมากขึ้นเรี่อย ๆ
  • 1:20 - 1:23
    ปลายสุดของถนน
    ก็คือพื้นที่ป่าฝนเล็ก ๆ ที่ถูกแผ้วถาง
  • 1:23 - 1:25
    เป็นเขตที่มีการเลี้ยงวัวอยู่บ้าง
  • 1:25 - 1:28
    วัวพวกนี้เป็นวัวเนื้อ ซึ่งจะกลายมาเป็นอาหาร
  • 1:28 - 1:31
    และวัวเหล่านี้กลายเป็นอาหารในอเมริกาใต้
  • 1:31 - 1:34
    ที่บราซิลและอาร์เจนตินา
    พวกมันไม่ได้จะถูกส่งมาที่นี่
  • 1:34 - 1:37
    แต่รูปแบบก้างปลาของการตัดไม้ทำลายป่านี้
  • 1:37 - 1:39
    เป็นสิ่งที่เราสังเกตเห็นมาก
    ในประเทศแถบภูมิอากาศร้อนชื้น
  • 1:39 - 1:41
    โดยเฉพาะในส่วนนี้ของโลก
  • 1:41 - 1:45
    หากเราออกเดินทางลงไปทางใต้อีกหน่อย
  • 1:45 - 1:47
    เราจะมาถึงขอบของประเทศโบลิเวีย
    ในเขตป่าแอมะซอน
  • 1:47 - 1:51
    ตรงนี้ในปี ค.ศ. 1975 และหากคุณตั้งใจมองดี ๆ
  • 1:51 - 1:55
    คุณจะเห็นเส้นสีขาวบางคล้ายตะเข็บพาดผ่าน
  • 1:55 - 1:56
    ที่นั่นมีชาวนาตั้งรกรากอยู่
  • 1:56 - 1:59
    ในใจกลางป่าดงดิบดั้งเดิม
  • 1:59 - 2:03
    คราวนี้เรากลับมาที่นี่อีกครั้งในปี ค.ศ. 2003
  • 2:03 - 2:06
    เราจะพบว่าภูมิประเทศในขณะนี้
  • 2:06 - 2:09
    ดูคล้ายมลรัฐไอโอวามากกว่าจะเป็นป่าฝน
  • 2:09 - 2:12
    อันที่จริงภาพที่คุณกำลังมองอยู่
    คือไร่ถั่วเหลือง
  • 2:12 - 2:15
    ถั่วเหลืองเหล่านี้จะถูกส่งออกไปยังยุโรปและจีน
  • 2:15 - 2:19
    เพื่อเป็นอาหารสัตว์
    โดยเฉพาะหลังจากที่มีการระบาดของโรควัวบ้า
  • 2:19 - 2:21
    เมื่อประมาณสิบปีก่อน
    ตอนที่เราไม่ต้องการเลี้ยงสัตว์
  • 2:21 - 2:25
    ด้วยโปรตีนจากสัตว์อีกต่อไป
    เพราะมันทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคได้
  • 2:25 - 2:27
    เราจึงหันมาเลี้ยงสัตว์ด้วยโปรตีนจากพืชมากขึ้น
  • 2:27 - 2:29
    ถั่วเหลืองจึงเป็นที่นิยมอย่างสูง
  • 2:29 - 2:33
    สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าการค้าและโลกาภิวัตน์นั้น
  • 2:33 - 2:36
    มีส่วนอย่างยิ่งต่อการเชื่อมต่อไปยังเขตป่าฝน
  • 2:36 - 2:38
    และเขตแอมะซอน
    ความสัมพันธ์ที่แปลกอย่างเหลือเชื่อ
  • 2:38 - 2:40
    และโลกที่เชื่อมต่อกันที่เรามีทุกวันนี้
  • 2:40 - 2:43
    ครับ สิ่งที่เราพบไปทั่วโลก
    ครั้งแล้วครั้งเล่า
  • 2:43 - 2:45
    เมื่อเราเดินทางสั้น ๆ ของเราครั้งนี้
  • 2:45 - 2:49
    คือภูมิประเทศแห่งแล้วแห่งเล่า
  • 2:49 - 2:51
    ที่ถูกแผ้วถางและปรับสภาพ
    เพื่อใช้ในการเพาะปลูกอาหาร
  • 2:51 - 2:54
    และพืชอื่น ๆ
  • 2:54 - 2:56
    คำถามหนึ่งที่พวกเราถามกันก็คือ
  • 2:56 - 2:59
    เราต้องใช้พื้นที่บนโลกมากแค่ไหน
    ในการเพาะปลูกอาหาร
  • 2:59 - 3:01
    ที่ไหนบ้าง แล้วเราจะสามารถเปลี่ยนแปลงมัน
  • 3:01 - 3:03
    ได้อย่างไรในอนาคต
    และมันหมายความว่าอะไร
  • 3:03 - 3:06
    ครับ ทีมของเรามองคำถามเหล่านี้ในระดับโลก
  • 3:06 - 3:09
    โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมและจากภาคพื้นดิน
  • 3:09 - 3:11
    เพื่อติดตามพื้นที่เพาะปลูกในระดับโลก
  • 3:11 - 3:15
    และนี่คือสิ่งที่เราพบ มันน่าตกใจ
  • 3:15 - 3:18
    แผนที่นี้แสดงพื้นที่ทางการเกษตร
  • 3:18 - 3:20
    ในโลก
  • 3:20 - 3:23
    สีเขียวในภาพคือบริเวณที่มีการปลูกพืช
  • 3:23 - 3:26
    จำพวกข้าวสาลี ถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าว
    หรืออะไรก็ตามแต่
  • 3:26 - 3:30
    พื้นที่เหล่านั้นคิดเป็น 16 ล้านตารางกิโลเมตร
  • 3:30 - 3:33
    ถ้าคุณเอาพื้นที่เหล่านี้มารวมกันในที่เดียว
  • 3:33 - 3:35
    มันจะมีขนาดเท่ากับอเมริกาใต้
  • 3:35 - 3:38
    พื้นที่ถัดมาที่มีสีน้ำตาลคือทุ่งปศุสัตว์
  • 3:38 - 3:40
    และพื้นที่โล่งที่มีสัตว์อาศัยอยู่
  • 3:40 - 3:43
    ขนาดของมันเท่ากับ 30 ล้านตารางกิโลเมตร
  • 3:43 - 3:45
    หรือขนาดพอ ๆ กับแอฟริกา
  • 3:45 - 3:48
    พื้นที่ที่กว้างใหญ่มาก
    แล้วมันก็เป็นพื้นที่ที่ดีที่สุดนี้
  • 3:48 - 3:50
    เป็นพื้นที่ที่คุณเห็น และพื้นที่ที่เหลืออยู่ก็เช่น
  • 3:50 - 3:52
    กลางทะเลทรายซาฮารา หรือไซบีเรีย
  • 3:52 - 3:54
    หรือไม่ก็ใจกลางของป่าฝน
  • 3:54 - 3:58
    เราใช้พื้นที่บนโลกไปมากมายแล้ว
  • 3:58 - 4:01
    ถ้าเรามองดี ๆ เราจะพบว่า
    พื้นที่ประมาณร้อยละ 40
  • 4:01 - 4:03
    ของพื้นผิวโลกไปถูกใช้กับเกษตรกรรม
  • 4:03 - 4:06
    และนั่นก็มีขนาดใหญ่กว่า 60 เท่า
  • 4:06 - 4:08
    ของพื้นที่ทั้งหมดที่เราต่างบ่นถึงกัน
  • 4:08 - 4:12
    ซึ่งก็คือ การขยายตัวของชานเมือง
    และเมืองใหญ่ที่มีประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่
  • 4:12 - 4:15
    ในปัจจุบัน ครึ่งหนึ่งของประชาการอาศัยอยู่ในเมือง
  • 4:15 - 4:18
    แต่พื้นที่ที่ใหญ่เป็น 60 เท่า
    ถูกใช้ในการเพาะปลูกอาหาร
  • 4:18 - 4:20
    ดังนั้น นี่เป็นผลลัพธ์ที่แปลก
  • 4:20 - 4:23
    และพวกเราก็ตกใจอย่างยิ่งเมื่อเราดูผลนี้
  • 4:23 - 4:25
    เรากำลังใช้พื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลเพื่อการเกษตร
  • 4:25 - 4:28
    และเราก็ยังใช้น้ำปริมาณมากอีกด้วย
  • 4:28 - 4:30
    นี่คือภาพถ่ายของมลรัฐอาริโซน่าจากเครื่องบิน
  • 4:30 - 4:31
    เมื่อคุณเห็น คุณอาจจะถามว่า
  • 4:31 - 4:32
    "พวกเขาปลูกอะไรกันที่นี่" คำตอบก็คือ
  • 4:32 - 4:35
    พวกเขากำลังปลูกผักกาดกลางทะเลทราย
  • 4:35 - 4:38
    โดยพ่นน้ำลงไปบนดิน
  • 4:38 - 4:39
    เอาล่ะ ที่มันเป็นตลกร้ายเลยก็คือ
    พวกมันอาจจะถูกวางขาย
  • 4:39 - 4:42
    บนชั้นวางในร้านขายของในเมืองทวินซิตี้
  • 4:42 - 4:44
    แต่ที่น่าสนใจจริง ๆ ก็คือ น้ำนี้จะต้องถูกนำมา
  • 4:44 - 4:47
    จากสิ่งแห่งหนึ่ง และมันก็มาจากที่นี่
  • 4:47 - 4:49
    แม่น้ำโคโลราโด ในอเมริกาเหนือ
  • 4:49 - 4:52
    ครับ แม่น้ำโคโลราโด
    ในวันปกติในช่วงยุค 1950
  • 4:52 - 4:54
    นี่มันไม่ใช่น้ำท่วมหรือความแล้ง
  • 4:54 - 4:57
    มันเป็นวันธรรมดาทั่ว ๆ ไป
    มันมีหน้าตาแบบนี้
  • 4:57 - 5:00
    แต่ถ้าเรากลับมาดูแม่น้ำวันนี้
    ในสถานการณ์ปกติ
  • 5:00 - 5:04
    ที่ตำแหน่งเดียวกัน นี่คือสิ่งที่หลงเหลืออยู่
  • 5:04 - 5:07
    ความแตกต่างหลัก ๆ คือ
    การทำชลประทานในทะเลทรายเพื่ออาหาร
  • 5:07 - 5:10
    หรืออาจจะเป็นสนามกอล์ฟที่เมืองสกอตส์เดลก็ได้
    แล้วแต่คุณจะคิด
  • 5:10 - 5:13
    น้ำนั้นไม่น้อยเลย และอีกครั้ง
    เรากำลังสูบน้ำ
  • 5:13 - 5:15
    เพื่อใช้เพาะปลูกอาหาร
  • 5:15 - 5:18
    และวันนี้
    ถ้าคุณเดินตามแม่น้ำโคโรลาโดลงใต้
  • 5:18 - 5:21
    คุณจะพบว่ามันแห้งสนิทและ
    ไม่เพียงพอที่จะไหลออกสู่มหาสมุทรเลย
  • 5:21 - 5:24
    เราได้ใช้แม่น้ำทั้งสายในทวีปอเมริกาเหนือ
  • 5:24 - 5:27
    เพื่อการชลประทาน
  • 5:27 - 5:28
    แต่นั่นยังไม่ใช่ตัวอย่างที่เลวร้ายที่สุด
  • 5:28 - 5:31
    แต่นี่อาจจะใช่ ทะเลอารัล
  • 5:31 - 5:34
    ตอนนี้ พวกคุณหลายคนอาจจะจำได้
    จากคาบเรียนวิชาภูมิศาสตร์
  • 5:34 - 5:36
    นี่คือพื้นที่ของอดีตสหภาพโซเวียต
  • 5:36 - 5:39
    ระหว่างประเทศคาซัสถานและอุซเบกิสถาน
  • 5:39 - 5:41
    มันคือทะเลในแผ่นดิน
    ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
  • 5:41 - 5:43
    แต่อาจจะฟังดูขัดแย้งนิดหน่อย
    เพราะอาจดูเหมือนว่า
  • 5:43 - 5:47
    มันถูกล้อมไปด้วยทะเลทราย
    ทำไมถึงมีทะเลอยู่ที่นี่ได้
  • 5:47 - 5:49
    เหตุผลก็คือ ทางด้านขวามือ
  • 5:49 - 5:51
    คุณจะเห็นแม่น้ำสองสายไหลลงมา
  • 5:51 - 5:55
    ผ่านทราย หล่อเลี้ยงแอ่งนี้ด้วยน้ำ
  • 5:55 - 5:58
    แม่น้ำนี้คือหิมะที่ละลายจากภูเขา
  • 5:58 - 6:00
    จากทางทิศตะวันออก ที่ซึ่งหิมะละลาย
    แล้วมันก็เดินทางลงมายังแม่น้ำ
  • 6:00 - 6:04
    ผ่านทะเลทราย และเกิดเป็นทะเลอารัล
  • 6:04 - 6:08
    ในช่วงยุค 1950
    สหภาพโซเวียตตัดสินใจที่จะผันน้ำ
  • 6:08 - 6:10
    เชื่อหรือไม่ครับ
    เพื่อใช้ในการชลประทานสำหรับการปลูกฝ้าย
  • 6:10 - 6:14
    ในคาซัคสถาน เพื่อขายในตลาดโลก
  • 6:14 - 6:16
    เพื่อนำเงินต่างประเทศเข้าสู่สหภาพโซเวียต
  • 6:16 - 6:18
    พวกเขาจำเป็นต้องใช้เงินจริง ๆ
  • 6:18 - 6:20
    ที่นี้ คุณก็คาดเดาได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
  • 6:20 - 6:23
    คุณปิดแหล่งน้ำของทะเลอารัล
    แล้วจะเกิดอะไรขึ้น
  • 6:23 - 6:25
    นี่คือทะเลในปี ค.ศ. 1973
  • 6:25 - 6:27
    1986
  • 6:27 - 6:30
    1999
  • 6:30 - 6:33
    2004
  • 6:33 - 6:38
    และเมื่อ 11 เดือนก่อน
  • 6:38 - 6:40
    มันต่างจากเดิมมากทีเดียว
  • 6:40 - 6:43
    หลายคนในนี้อาจจะอาศัยอยู่
    ในเขตมิดเวสท์
  • 6:43 - 6:46
    ลองนึกภาพทะเลสาบสุพีเรีย
  • 6:46 - 6:49
    ลองนึกภาพทะเลสาบฮูรอน
  • 6:49 - 6:51
    มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผิดธรรมดา
  • 6:51 - 6:53
    ไม่เพียงแต่การเปลี่ยนของน้ำและ
  • 6:53 - 6:55
    ที่ตั้งของขอบชายฝั่ง
    นี่เป็นความเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน
  • 6:55 - 6:58
    ของสภาพแวดล้อมในภูมิภาคนี้ด้วย
  • 6:58 - 6:59
    เราลองเริ่มจากตรงนี้ดู
  • 6:59 - 7:01
    สหภาพโซเวียตไม่ได้มีซิเอราคลับ
  • 7:01 - 7:03
    พูดอย่างนี้ดีกว่า
  • 7:03 - 7:06
    สิ่งที่คุณพบที่ก้นทะเลอารัลนั้น
    ไม่น่าพิศมัยเท่าไหร่
  • 7:06 - 7:08
    มีขยะมีพิษมากมาย หลายสิ่งหลายอย่าง
  • 7:08 - 7:10
    ที่ถูกทิ้งลงไป
    ที่ตอนนี้กำลังถูกส่งขึ้นมาสู่อากาศ
  • 7:10 - 7:13
    เกาะเล็ก ๆ ที่อยู่ห่างไกล
  • 7:13 - 7:14
    และเป็นไปไม่ได้ที่จะไปถึงนี้เคยเป็น
  • 7:14 - 7:17
    สถานที่ทดลองอาวุธชีวภาพของสหภาพโซเวียต
  • 7:17 - 7:18
    ในปัจจุบัน คุณสามารถเดินไปได้
  • 7:18 - 7:20
    สภาพอากาศได้เปลี่ยนไป
  • 7:20 - 7:23
    ปลา 19 จาก 20 ชนิด
    ที่เคยพบได้เฉพาะที่ทะเลอารัล
  • 7:23 - 7:26
    หมดสิ้นไปจากโลกนี้เรียบร้อยแล้ว
  • 7:26 - 7:29
    นี่นับเป็นหายนะทางสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง
  • 7:29 - 7:30
    แต่ตอนนี้ เรากลับมาที่นี่กัน
  • 7:30 - 7:33
    นี่คือภาพที่ อัล กอร์ ให้ผมเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา
  • 7:33 - 7:35
    เขาถ่ายเมื่อตอนไปเยือนสหภาพโซเวียต
  • 7:35 - 7:36
    เมื่อนานมาแล้ว
  • 7:36 - 7:39
    มันเป็นภาพของเรือประมงในทะเลอารัล
  • 7:39 - 7:41
    คุณเห็นคลองที่พวกเขาขุดไหมครับ
  • 7:41 - 7:44
    พวกเขาพยายามอย่างมาก
    ประมาณนั้น ที่จะนำเรือไปยัง
  • 7:44 - 7:46
    ส่วนที่ยังมีน้ำเหลืออยู่
    แต่ท้ายสุดพวกเขาก็ต้องตัดใจ
  • 7:46 - 7:48
    เพราะท่าน้ำและที่จอดเรือไม่สามารถ
  • 7:48 - 7:51
    ตามทันกับชายหาดที่ถดถอยเรื่อย ๆ ได้อีกแล้ว
  • 7:51 - 7:53
    ผมไม่รู้ว่าคุณคิดอย่างไร
    แต่ผมเกรงว่าในอนาคต
  • 7:53 - 7:55
    นักโบราณคดีจะขุดพบซากนี้
    แล้วเขียนเรื่องราว
  • 7:55 - 7:58
    ถึงยุคของเราและสงสัยว่า
    "พวกคุณคิดอะไรกันเนี่ย"
  • 7:58 - 8:01
    นั่นคืออนาคตที่เราต้องตั้งตาคอย
  • 8:01 - 8:04
    เราได้ใช้น้ำสะอาดในโลกไปแล้วร้อยละ 50%
  • 8:04 - 8:06
    นั่นสามารถทนแทนได้
    และเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว
  • 8:06 - 8:08
    ก็คิดเป็นร้อยละ 70 จากจำนวนนั้น
  • 8:08 - 8:11
    เราใช้น้ำจำนวนมาก
    พื้นที่จำนวนมากเพื่อการเกษตร
  • 8:11 - 8:15
    เรายังใช้ชั้นบรรยากาศจำนวนมาก
    เพื่อการเกษตรเช่นกัน
  • 8:15 - 8:17
    ปกติเวลาที่เรานึกถึงชั้นบรรยากาศ
  • 8:17 - 8:20
    เรานึกถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    และก๊าซเรือนกระจก
  • 8:20 - 8:22
    ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับพลังงาน
  • 8:22 - 8:24
    แต่ปรากฎว่าเกษตรกรรมเป็นหนึ่งในเหตุหลัก
  • 8:24 - 8:27
    ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน
  • 8:27 - 8:29
    หากเรามองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • 8:29 - 8:31
    ที่มาจากการเผาป่าฝนเขตร้อน
  • 8:31 - 8:33
    หรือก๊าซมีเธนที่มาจากวัวหรือข้าว
  • 8:33 - 8:36
    หรือก๊าซไนตรัสออกไซด์
    ที่มาจากการใช้ปุ๋ยที่เกินขนาด
  • 8:36 - 8:39
    เราจะพบว่าร้อยละ 30 ของก๊าซเรือนกระจก
  • 8:39 - 8:42
    ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์นั้น
    มาจากภาคเกษตรกรรม
  • 8:42 - 8:44
    นั่นมันมากกว่าการคมนาคมของเราทั้งหมด
  • 8:44 - 8:46
    มากกว่าพลังงานไฟฟ้าของเราทั้งหมด
  • 8:46 - 8:48
    อันที่จริงแล้ว มันมากกว่า
    ภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ของเราทั้งหมด
  • 8:48 - 8:51
    มันเป็นตัวปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุด
  • 8:51 - 8:54
    ในบรรดากิจกรรมใด ๆ ของมนุษย์บนโลก
  • 8:54 - 8:56
    แต่ทว่า เรากลับไม่ได้พูดถึงมันมากนัก
  • 8:56 - 8:59
    ในวันนี้ เราจึงมีเกษตรกรรมที่มากเหลือเชื่อ
  • 8:59 - 9:01
    ที่กำลังครอบคลุมโลก
  • 9:01 - 9:04
    ไม่ว่ามันจะคิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 40
    ของพื้นผิวโลก
  • 9:04 - 9:06
    ร้อยละ 70 ของน้ำที่เราใช้
  • 9:06 - 9:09
    ร้อยละ 30 ของก๊าซเรือนกระจก
  • 9:09 - 9:12
    เราเพิ่มปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัส
  • 9:12 - 9:14
    ที่มีในโลกเป็นสองเท่าเพียงแค่จากการใช้ปุ๋ย
  • 9:14 - 9:17
    ทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมลง ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ
  • 9:17 - 9:19
    ทะเลสาบ หรือแม้แต่มหาสมุทร
    และมันยังเป็นตัวผลักดันหนึ่ง
  • 9:19 - 9:22
    ที่ใหญ่ที่สุดต่อการสูญเสีย
    ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • 9:22 - 9:24
    ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า เกษตรกรรม
  • 9:24 - 9:28
    เป็นสิ่งที่ทรงพลังที่สุด
    ที่ถูกปล่อยออกมายังโลก
  • 9:28 - 9:31
    ตั้งแต่ยุคน้ำแข็งเป็นต้นมา ไม่ต้องสงสัยเลย
  • 9:31 - 9:34
    มันมีความสำคัญทัดเทียมกับ
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • 9:34 - 9:36
    มันกำลังเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน
  • 9:36 - 9:39
    แต่สิ่งที่สำคัญจริง ๆ ที่ต้องระลึกไว้ก็คือ
  • 9:39 - 9:42
    มันไม่ได้แย่ไปทั้งหมด
    ไม่ใช่ว่าเกษตรกรรมเป็นสิ่งไม่ดี
  • 9:42 - 9:44
    จริง ๆ แล้ว เราพึ่งพาเกษตรกรรมโดยสมบูรณ์
  • 9:44 - 9:49
    มันไม่ใช่ทางเลือก ไม่ใช่ความหรูหรา
    แต่เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
  • 9:49 - 9:51
    เราต้องผลิตอาหาร และเลี้ยง และ ครับ
  • 9:51 - 9:55
    เส้นใยหรือแม้แต่เชื้อเพลิงชีวภาพ
    เพื่อสนองคนราวเจ็ดพันล้านคน
  • 9:55 - 9:57
    บนโลกทุกวันนี้ และอย่างไรก็ตาม
  • 9:57 - 9:59
    เราจะยังคงต้องการเกษตรกรรม
  • 9:59 - 10:02
    มากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต
    มันจะไม่ไปไหน
  • 10:02 - 10:04
    มันจะโตขึ้นเรื่อย ๆ หลัก ๆ เป็นเพราะ
  • 10:04 - 10:07
    จำนวนประชาการที่เพิ่มขึ้น
    วันนี้เรามีประชากรเจ็ดพันล้านคน
  • 10:07 - 10:09
    ไปสู่เก้าพันล้านเป็นอย่างน้อย
  • 10:09 - 10:12
    และอาจจะกลายเก้าพันห้าร้อย
    ก่อนที่โลกของเราจะสิ้นสุดลง
  • 10:12 - 10:15
    ที่สำคัญกว่านั้น อาหารการกินจะเปลี่ยนไป
  • 10:15 - 10:18
    เมื่อประชากรบนโลกมีฐานะสูงขึ้น
    และมีจำนวนมากขึ้น
  • 10:18 - 10:21
    เราจะพบว่าผู้คนจะบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้น
  • 10:21 - 10:24
    ซึ่งใช้ทรัพยากรมากกว่าการกินมังสวิรัติอย่างมาก
  • 10:24 - 10:28
    ดังนั้น คนมากขึ้น กินอาหารมากขึ้น
    และร่ำรวยขึ้น
  • 10:28 - 10:31
    และแน่นอนว่าจะมีวิกฤติพลังงานในเวลาเดียวกัน
  • 10:31 - 10:35
    ที่เราต้องทดแทนน้ำมันด้วยแหล่งพลังงานอื่น ๆ
  • 10:35 - 10:37
    ซึ่งในที่สุดจะต้องมีเชื้อเพลิงชีวภาพสักอย่าง
  • 10:37 - 10:39
    และแหล่งพลังงานชีวภาพ
  • 10:39 - 10:42
    ดังนั้นหากคุณเอาทั้งหมดมารวมกัน
    มันยากที่จะเห็นว่า
  • 10:42 - 10:44
    เราจะผ่านศตวรรษนี้ไปได้อย่างไร
  • 10:44 - 10:49
    โดยไม่เพิ่มการผลิตทางเกษตรกรรมในโลก
    ขึ้นอีกเท่าตัวเป็นอย่างน้อย
  • 10:49 - 10:51
    แล้วเราจะทำอย่างไรกัน
  • 10:51 - 10:53
    เราจะเพิ่มการผลิตทางการเกษตรทั่วโลก
    อีกเท่าตัวได้อย่างไร
  • 10:53 - 10:56
    เราอาจจะเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรม
  • 10:56 - 10:59
    นี่คือการวิเคราะห์ของเรา ทางด้านซ้ายมือ
  • 10:59 - 11:02
    คือที่ที่ใช้เพาะปลูกอยู่แล้วในปัจจุบัน
    ส่วนทางด้านขวามือคือที่ที่สามารถเพาะปลูกได้
  • 11:02 - 11:05
    โดยพิจารณาจากคุณภาพดินและสภาพอากาศ
    โดยตั้งสมมุติฐานว่า
  • 11:05 - 11:07
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    จะไม่แทรกแซงมากจนเกินไป
  • 11:07 - 11:09
    ซึ่งก็ไม่ใช่สมมุติฐานที่ดี
  • 11:09 - 11:11
    เราอาจจะใช้พื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น แต่ปัญหาคือ
  • 11:11 - 11:14
    พื้นที่ทีเหลือเป็นพื้นที่ละเอียดอ่อน
  • 11:14 - 11:16
    มีความหลากหลายทางชีวภาพและคาร์บอนมากมาย
  • 11:16 - 11:19
    ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเราต้องการปกป้อง
  • 11:19 - 11:21
    เราสามารถเพาะปลูกอาหารเพิ่มขึ้น
    ด้วยการขยายพื้นที่ทางการเกษตร
  • 11:21 - 11:23
    แต่จะดีกว่าหากเราไม่ทำ
  • 11:23 - 11:26
    เพราะว่าในทางนิเวศวิทยา
    มันเป็นสิ่งที่อันตรายมาก ๆ
  • 11:26 - 11:29
    ในทางกลับกัน
    เราอาจจะต้องการระงับการขยายตัว
  • 11:29 - 11:33
    ของร่องรอยทางเกษตรกรรม
    และใช้ที่ดินที่มีอยู่ในแล้วผลิตอาหารให้ดีขึ้น
  • 11:33 - 11:35
    สิ่งที่เราต้องทำคือการหาพื้นที่ในโลก
  • 11:35 - 11:38
    ที่เราจะสามารถพัฒนาผลผลิตให้สูงขึ้น
  • 11:38 - 11:40
    โดยไม่ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • 11:40 - 11:42
    พื้นที่สีเขียวตรงนี้คือที่ที่ข้าวโพดให้ผลผลิต
  • 11:42 - 11:44
    เราใช้ข้าวโพดเป็นตัวอย่างเท่านั้น
  • 11:44 - 11:47
    ที่สูงมาก ๆ อยู่แล้ว
    และอาจจะเป็นระดับสูงสุดเท่าที่คุณจะสามารถ
  • 11:47 - 11:50
    พบได้ในโลกวันนี้
    ภาพใต้สภาพอากาศและดินที่มี
  • 11:50 - 11:52
    ส่วนพื้นที่สีน้ำตาลและสีเหลืองคือบริเวณ
  • 11:52 - 11:55
    ที่เราได้ผลผลิตเพียงร้อยละ 20 หรือ 30
  • 11:55 - 11:56
    ของจำนวนที่เราสามารถจะทำได้
  • 11:56 - 11:58
    เราจะพบพื้นที่แบบนี้ได้มากในแอฟริกา
    แม้แต่ละตินอเมริกา
  • 11:58 - 12:01
    แต่ที่น่าสนใจ ในยุโรปตะวันออก
    ซึ่งเป็นบริเวณที่สหภาพโซเวียต
  • 12:01 - 12:03
    และกลุ่มประเทศค่ายตะวันออกตั้งอยู่
  • 12:03 - 12:06
    เกษตรกรรมยังคงย่ำแย่
  • 12:06 - 12:08
    พื้นที่เหล่านี้ต้องการสารอาหารและน้ำ
  • 12:08 - 12:10
    อาจจะเป็นแบบอินทรีย์หรือแบบทั่วไป
  • 12:10 - 12:12
    หรือผสมผสานทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน
    เพื่อให้ได้ผลนั้น
  • 12:12 - 12:14
    พืชต้องการน้ำและสารอาหาร
  • 12:14 - 12:18
    แต่เราสามารถทำได้
    และเราก็มีโอกาสที่จะทำให้มันได้ผล
  • 12:18 - 12:20
    แต่เราต้องทำด้วยวิธีที่ละเอียดอ่อน
  • 12:20 - 12:23
    เพื่อตอบสนองความต้องการ
    ด้านความมั่นคงทางอาหารในอนาคต
  • 12:23 - 12:26
    และความต้องการด้านความมั่นคง
    ทางสิ่งแวดล้อมในอนาคต
  • 12:26 - 12:29
    เราต้องค้นหาว่า
    จะทำให้ภาวะได้อย่างเสียอย่าง
  • 12:29 - 12:33
    ระหว่างการผลิตอาหารและมีสิ่งแวดล้อมที่ดีนั้น
    ดีขึ้นได้อย่างไร
  • 12:33 - 12:35
    ตอนนี้ นี่ดูจะเป็นข้อเสนอ
    แบบถ้าจะทำก็ทำไม่ทำก็ไม่ต้องทำเลย
  • 12:35 - 12:37
    เราสามารถเพาะปลูกอาหารเป็นพื้นหลัง --
  • 12:37 - 12:38
    นั้นก็คือไร่ถั่วเหลือง --
  • 12:38 - 12:42
    และในแผนผังดอกไม้นี้
    มันแสดงให้เห็นว่าเราผลิตอาหารมากมาย
  • 12:42 - 12:44
    แต่เราไม่มีน้ำสะอาดจำนวนมาก
    เราไม่ได้เก็บกักคาร์บอนจำนวนมาก
  • 12:44 - 12:47
    เราไม่มีความหลากหลายทางชีวภาพจำนวนมาก
  • 12:47 - 12:49
    สิ่งที่อยู่พื้นหน้า เรามีทุ่งหญ้านี้
  • 12:49 - 12:51
    ซึ่งเป็นสิ่งที่วิเศษมากสำหรับสิ่งแวดล้อม
  • 12:51 - 12:54
    แต่เรากินอะไรไม่ได้เลย มีอะไรให้กินบ้าง
  • 12:54 - 12:56
    เราจะต้องหาจุดที่นำสองสิ่งนี้มาอยู่ด้วยกัน
  • 12:56 - 13:01
    ให้กลายเป็นรูปแบบการเกษตรแบบใหม่
    ที่นำทั้งหมดมารวมกัน
  • 13:01 - 13:03
    เวลาที่ผมพูดเรื่องนี้ คนมักจะบอกผมว่า
  • 13:03 - 13:06
    "คำตอบคือ จุดจุดจุด ใช่ไหม" --
    อาหารอินทรีย์
  • 13:06 - 13:11
    อาหารท้องถิ่น การดัดแปลงพันธุกรรม
    การอุดหนุนทางการค้าใหม่ กฎหมายการเกษตรใหม่
  • 13:11 - 13:14
    และครับ เรามีความคิดดี ๆ มากมายตรงนี้
  • 13:14 - 13:17
    แต่ยังไม่มีคำตอบไหนที่ยิงพุ่งตรงเป้าเลย
  • 13:17 - 13:20
    ในความเป็นจริง
    ผมคิดว่ามันเหมือนการขว้างใส่เป้ามากกว่า
  • 13:20 - 13:22
    ผมชอบการขว้างใส่เป้า
    เวลาที่เรานำหลายความคิดมารวมกัน
  • 13:22 - 13:24
    แล้วเราได้บางสิ่งที่มีพลังเอามาก ๆ
  • 13:24 - 13:27
    แต่ก่อนอื่น เราต้องนำมันมารวมกันก่อน
  • 13:27 - 13:29
    ดังนั้น สิ่งที่เราต้องทำคือคิดค้น
  • 13:29 - 13:32
    เกษตรกรรมที่รวมเอาความคิด
    ที่ดีที่สุดเข้าไว้ด้วยกัน
  • 13:32 - 13:35
    ระหว่างเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์
    กับการปฏิวัติสีเขียว
  • 13:35 - 13:39
    กับความคิดที่ดีที่สุด
    ของเกษตรอินทรีย์ อาหารพื้นถิ่น
  • 13:39 - 13:42
    และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • 13:42 - 13:44
    โดยไม่ทำให้สิ่งเหล่านี้ขัดแย้งกันเอง
    แต่ทำให้มัน
  • 13:44 - 13:48
    ร่วมงานกันเพื่อสร้างเกษตรกรรมรูปแบบใหม่
  • 13:48 - 13:52
    บางอย่างที่ผมจะเรียกว่า
    "เกษตรกรรมเพื่อโลก"
  • 13:52 - 13:55
    เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยากมากเวลาต้องพูดถึงมัน
  • 13:55 - 13:57
    และเราก็ได้พยายามอย่างหนัก
    ในการนำประเด็นหลัก ๆ เหล่านี้
  • 13:57 - 14:00
    มาเสนอสู่ประชาชนเพื่อลดความขัดแย้ง
  • 14:00 - 14:01
    เพื่อเพิ่มพูนการทำงานร่วมกันกัน
  • 14:01 - 14:04
    ผมอยากแสดงวีดีโอสั้น ๆ ที่แสดงให้เห็น
  • 14:04 - 14:06
    ความพยายามของเราที่จะนำฝ่ายต่าง ๆ เหล่านี้
    มาไว้ด้วยกัน
  • 14:06 - 14:10
    ให้การเป็นการสนทนาเดียว
    ขอผมเปิดให้คุณชมนะครับ
  • 14:10 - 14:13
    (ดนตรี)
  • 14:13 - 14:17
    ("สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย
    แห่งมลรัฐมินิโซต้า:ผลักดันเพื่อค้นพบ")
  • 14:17 - 14:19
    (ดนตรี)
  • 14:19 - 14:20
    ("จำนวนประชากรบนโลกเพิ่มขึ้น
  • 14:20 - 14:23
    75 ล้านคนในแต่ละปี
  • 14:23 - 14:26
    เกือบจะเท่ากับประชากรของเยอรมันนี
  • 14:26 - 14:29
    วันนี้ เรามีประชากรทั้งหมดเกือบ 7 พันล้านคน
  • 14:29 - 14:31
    ด้วยอัตรานี้ เราจะแตะระดับ 9 พันล้านคน
    ภายในปี ค.ศ. 2040
  • 14:31 - 14:33
    และเราทุกคนต้องการอาหาร
  • 14:33 - 14:34
    แต่ว่า
  • 14:34 - 14:37
    เราจะเลี้ยงปากท้องทุกคนบนโลกอย่างไร
    โดยไม่ทำลายโลก
  • 14:37 - 14:41
    เราทราบกันแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    นั้นเป็นปัญหาใหญ่
  • 14:41 - 14:42
    แต่นั้นไม่ใช่ปัญหาเดียว
  • 14:42 - 14:45
    เราจำเป็นจะต้องเผชิญหน้ากับ
    'ความจริงอีกอย่างที่ไม่มีใครอยากฟัง'
  • 14:45 - 14:47
    วิกฤติระดับโลกในภาคเกษตรกรรม
  • 14:47 - 14:54
    การเพิ่มของจำนวนประชากร + การบริโภคเนื้อสัตว์ + การบริโภคผลิตภัณฑ์นม + ต้นทุนด้านพลังงาน + การผลิตพลังงานชีวภาพ = ความตึงเครียดของทรัพยากรธรรมชาติ
  • 14:54 - 14:57
    พื้นที่มากกว่าร้อยละ 40 ของผิวโลก
    ถูกแผ้วถางเพื่อการเกษตร
  • 14:57 - 14:59
    พื้นที่เพาะปลูกครอบคลุม 16 ล้านตารางกิโลเมตร
  • 14:59 - 15:02
    เกือบจะเท่ากับขนาดของอเมริกาใต้
  • 15:02 - 15:04
    พื้นที่เลี้ยงสัตว์ครอบคลุม 30 ล้านตารางกิโลเมตร
  • 15:04 - 15:06
    นั่นเป็นขนาดของแอฟริกา
  • 15:06 - 15:11
    เกษตรกรรมใช้พื้นที่มากกว่าเมือง
    และชานเมืองรวมกันถึง 60 เท่าตัว
  • 15:11 - 15:14
    การชลประทานใช้น้ำมากที่สุด
  • 15:14 - 15:19
    เราใช้น้ำ 2,800 ลูกบากศ์กิโลเมตร
    เพื่อปลูกพืชทุกปี
  • 15:19 - 15:23
    นั้นเพียงพอที่จะเติมตึกเอ็มไพร์สเตท
    ทั้งหมด 7,305 ตึก เต็มทุกวัน
  • 15:23 - 15:26
    วันนี้ น้ำในแม่น้ำใหญ่จำนวนน้อยลง
  • 15:26 - 15:28
    บางสายแห้งเหือดไปเลย
  • 15:28 - 15:32
    ลองดูทะเลอารัล ที่เวลานี้กลายเป็นทะเลทราย
  • 15:32 - 15:35
    หรือแม่น้ำโคโรลาโด
    ที่ตอนนี้ไม่ไหลลงสู่มหาสมุทรอีกแล้ว
  • 15:35 - 15:39
    การใช้ปุ๋ยเพิ่มปริมาณฟอสฟอรัสและไนโตรเจน
    ในสิ่งแวดล้อมมากกว่าเท่าตัว
  • 15:39 - 15:40
    แล้วผลกระทบคือ
  • 15:40 - 15:42
    มลพิษทางน้ำที่แพร่กระจาย
  • 15:42 - 15:45
    ความเสื่อมถอยของคุณภาพทะเลสาบและแม่น้ำ
  • 15:45 - 15:49
    มันน่าตกใจ ที่เกษตกรรรมเป็นปัจจัยใหญ่ที่สุด
    ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • 15:49 - 15:51
    มันปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึงร้อยละ 30
  • 15:51 - 15:54
    นั่นมากกว่าการปล่อยจากไฟฟ้า
    และอุตสาหกรรมทั้งหมด
  • 15:54 - 15:57
    หรือจากเครื่องบิน รถไฟ
    และรถยนต์ทั้งหมดรวมกัน
  • 15:57 - 15:59
    การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรกรรม
    เกือบทั้งหมดมาจากการทำลายป่าเขตร้อนชื้น
  • 15:59 - 16:01
    มีเธนจากสัตว์และนาข้าว
  • 16:01 - 16:03
    และไนตรัสออกไซด์จากการใช้ปุ๋ยเกินขนาด
  • 16:03 - 16:06
    ไม่มีสิ่งอื่นใดที่ส่งผลกระทบต่อโลก
    มากเท่ากับเกษตรกรรม
  • 16:06 - 16:09
    และไม่มีสิ่งใดที่จำเป็นมากไปกว่า
    ความอยู่รอดของพวกเรา
  • 16:09 - 16:11
    ทางสองแพร่งอยู่ตรงนี้...
  • 16:11 - 16:15
    เมื่อประชากรบนโลกเพิ่มขึ้นอีกหลายพันล้านคน
  • 16:15 - 16:20
    เราจะต้องเพิ่มศักยภาพการผลิตอาหารในโลก
    อีก 2 หรือ 3 เท่าตัว
  • 16:20 - 16:21
    แล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป
  • 16:21 - 16:24
    เราต้องการการอนุรักษ์ที่ใหญ่ขึ้น
    การพูดคุยระหว่างประเทศ
  • 16:24 - 16:26
    เราต้องลงทุนในทางแก้ปัญหาที่แท้จริง
  • 16:26 - 16:30
    แรงจูงใจของเกษตรกร เกษตรกรรมที่แม่นยำ
    ความหลากหลายของพืช การทำชลประทานแบบน้ำหยด
  • 16:30 - 16:34
    การรีไซเคิลน้ำทิ้ง การเตรียมดินที่ดีกว่า
    การบริโภคอาหารอย่างฉลาด
  • 16:34 - 16:36
    เราต้องให้ทุกคนมาจับเข่าคุยกัน
  • 16:36 - 16:38
    ตัวแทนจากภาคพาณิชย์การเกษตร
  • 16:38 - 16:39
    ภาคการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • 16:39 - 16:41
    ภาคเกษตรอินทรีย์...
  • 16:41 - 16:43
    จำเป็นต้องทำงานร่วมกัน
  • 16:43 - 16:44
    คำตอบไม่ได้มีเพียงอย่างเดียว
  • 16:44 - 16:46
    เราต้องการการทำงานร่วมกัน
  • 16:46 - 16:47
    จิตนาการ
  • 16:47 - 16:48
    ความตั้งใจมั่น
  • 16:48 - 16:52
    เพราะความผิดพลาดไม่ใช่ทางเลือก
  • 16:52 - 16:55
    เราจะเลี้ยงโลกโดยไม่ทำลายมันได้อย่างไร
  • 16:55 - 16:58
    ใช่ เรากำลังเผชิญกับความท้าทายใหญ่หลวง
    ที่ใหญ่ที่สุด
  • 16:58 - 17:00
    ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
  • 17:00 - 17:03
    ความจำเป็นที่จะเลี้ยงปากท้องคนเก้าพันล้าน
  • 17:03 - 17:07
    และทำอย่างยั่งยืน เท่าเทียม และยุติธรรม
  • 17:07 - 17:08
    และปกป้องโลกของเราในเวลาเดียวกัน
  • 17:08 - 17:11
    สำหรับคนรุ่นนี้และต่อ ๆ ไป
  • 17:11 - 17:13
    นีจะเป็นหนึ่งในสิ่งที่ยากที่สุด
  • 17:13 - 17:15
    ที่เราจะทำในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
  • 17:15 - 17:18
    แล้วเราต้องทำให้ถูกต้อง
  • 17:18 - 17:22
    ทำให้ถูกต้องในครั้งแรกและครั้งเดียว
  • 17:22 - 17:26
    ขอบคุณมากครับ
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ความจริงอีกอย่างที่ไม่มีใครอยากฟัง
Speaker:
โจนาธาน โฟลีย์ (Jonathan Foley)
Description:

ความต้องการอาหารที่พุ่งทะยานสูงขึ้นหมายถึงเกษตรกรรมได้กลายเป็นตัวผลักดันหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการทำลายสิ่งแวดล้อม ในงาน TEDxTC โจนาธาน โฟลีย์ แสดงให้เราเห็นว่าทำไมเราถึงต้องการที่จะเริ่มต้น "เกษตรกรรมเพื่อโลก" อย่างเร่งด่วน ซึ่งมันคือการเพาะปลูกเพื่อโลกทั้งใบ (บันทึกที่ TEDxTC)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
17:46
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The other inconvenient truth
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for The other inconvenient truth
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The other inconvenient truth
Paded Chotikunchon edited Thai subtitles for The other inconvenient truth
Paded Chotikunchon edited Thai subtitles for The other inconvenient truth
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for The other inconvenient truth
Kelwalin Dhanasarnsombut rejected Thai subtitles for The other inconvenient truth
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The other inconvenient truth
Show all

Thai subtitles

Revisions