Return to Video

สมองมนุษย์มีความพิเศษอย่างไร

  • 0:01 - 0:03
    สมองมนุษย์นั้นมีความพิเศษอย่างไร
  • 0:03 - 0:06
    ทำไมเราจึงศึกษาสัตว์อื่น
  • 0:06 - 0:08
    แทนที่จะเป็นพวกมันมาศึกษาเรา
  • 0:08 - 0:09
    สมองคนเรามีอะไร
  • 0:09 - 0:11
    ที่สมองสัตว์อื่นไม่มี
  • 0:11 - 0:14
    ราวสิบปีก่อน เมื่อดิฉันเริ่มสนใจในคำถามเหล่านี้
  • 0:14 - 0:17
    นักวิทยาศาสตร์คิดว่าตัวเองรู้
    ว่าสมองมีองค์ประกอบอย่างไร
  • 0:17 - 0:19
    ถึงแม้ขณะนั้นหลักฐานมีเพียงน้อยนิด
  • 0:19 - 0:21
    นักวิทยาศาสตร์หลายคนต่างคิดว่า
    สมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด
  • 0:21 - 0:23
    รวมถึงสมองคนเรา
  • 0:23 - 0:24
    มีองค์ประกอบเหมือนกันหมด
  • 0:24 - 0:25
    ต่างกันก็เพียงแต่จำนวนเซลล์ประสาท
  • 0:25 - 0:28
    ที่มากน้อยตามสัดส่วนขนาดของสมอง
  • 0:28 - 0:30
    ซึ่งก็หมายความว่า สมองสองก้อน ที่ขนาดเท่ากัน
  • 0:30 - 0:33
    อย่างเช่นสองก้อนนี้ ซึ่งมีขนาดประมาณ 400 กรัม
  • 0:33 - 0:36
    ก็น่าจะมีจำนวนเซลล์ประสาทเท่ากัน
  • 0:36 - 0:38
    ทีนี้ ถ้าเราคิดว่าเซลล์ประสาท
  • 0:38 - 0:41
    คือตัวประมวลผลข้อมูลของสมอง
  • 0:41 - 0:42
    ถ้าเป็นเช่นนั้น เจ้าของสมองสองก้อนนี้
  • 0:42 - 0:45
    ก็น่าจะมีความสามารถในการเรียนรู้
    และเข้าใจเท่าเทียมกัน
  • 0:45 - 0:47
    แต่ที่จริงแล้ว นี่เป็นสมองของชิมแปนซี
  • 0:47 - 0:50
    ส่วนอีกอันเป็นสมองวัว
  • 0:50 - 0:52
    บางทีวัวอาจจะมีความคิดอ่าน
  • 0:52 - 0:54
    ฉลาดล้ำลึกอยู่ภายใน
  • 0:54 - 0:58
    ที่มันไม่อยากแสดงออกมาให้เรารู้
  • 0:58 - 1:00
    แต่เราก็กินวัวอยู่ดี
  • 1:00 - 1:01
    ดิฉันคิดว่าคนส่วนใหญ่น่าจะเห็นด้วย
  • 1:01 - 1:03
    ว่าชิมแปนซีนั้นมีสติปัญญา
  • 1:03 - 1:06
    และพฤติกรรมที่ละเอียดซับซ้อนกว่าวัวมาก
  • 1:06 - 1:08
    ดังนั้น นี่คือหลักฐานแรกที่ชี้นำว่า
  • 1:08 - 1:10
    แนวความติดที่ว่า "สมองทุกก้อนมีองค์ประกอบเหมือนกัน"
  • 1:10 - 1:12
    นั้นเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก
  • 1:12 - 1:13
    แต่เราจะทำเป็นไม่สนใจไปก่อน
  • 1:13 - 1:15
    ทีนี้ถ้าสมมติว่าสมองมีองค์ประกอบเหมือนกัน
  • 1:15 - 1:18
    เวลาเราเปรียบเทียบสมองสัตว์ขนาดต่างๆ กัน
  • 1:18 - 1:20
    สมองที่ใหญ่กว่าก็น่าจะมีเซลล์ประสาทมากกว่า
  • 1:20 - 1:23
    ยิ่งสมองใหญ่ขึ้น
  • 1:23 - 1:26
    ความคิดอ่านของสัตว์นั้นๆ ก็น่าจะดีกว่า
  • 1:26 - 1:28
    ดังนั้น สัตว์ที่มีสมองใหญ่ที่สุด
  • 1:28 - 1:30
    ก็น่าจะฉลาดที่สุด
  • 1:30 - 1:32
    แต่ข่าวร้ายก็คือ
  • 1:32 - 1:34
    สมองคนเรา ขนาดไม่ได้ใหญ่โตเลย
  • 1:34 - 1:36
    น่าประหลาดใจมิใช่น้อย
  • 1:36 - 1:39
    สมองคนเราหนักประมาณ 1.2 ถึง 1.5 กิโลกรัม
  • 1:39 - 1:42
    แต่สมองช้างหนักถึงสี่ห้ากิโลกรัม
  • 1:42 - 1:45
    สมองวาฬก็หนักได้ถึงเก้ากิโลกรัม
  • 1:45 - 1:49
    เหตุผลนี่เอง นักวิทยาศาสตร์จึงอ้างได้ว่า
  • 1:49 - 1:52
    สมองคนเรานี่ช่างพิเศษ
  • 1:52 - 1:54
    เพราะเรามีความรู้สึกนึกคิด
  • 1:54 - 1:57
    สมองคนนี้ช่างเลิศเลอ
  • 1:57 - 1:59
    จนถือเป็นข้อยกเว้นจากกฎที่เราเพิ่งพูดถึง
  • 1:59 - 2:03
    สมองสัตว์อื่นอาจใหญ่กว่า แต่สมองเราดีกว่า
  • 2:03 - 2:04
    อาจจะดีกว่าที่เรามองเห็นด้วยซ้ำ ตัวอย่างเช่น
  • 2:04 - 2:07
    สมองคนเราใหญ่กว่าที่เราคิด
  • 2:07 - 2:09
    เพราะคนเรามีสมองชั้นนอกขนาดใหญ่มาก
  • 2:09 - 2:11
    เมื่อเทียบกับขนาดร่างกายเรา
  • 2:11 - 2:12
    ซึ่งสมองชั้นนอกนี้แหละ
  • 2:12 - 2:15
    ที่ทำให้เราทำอะไรได้มากกว่าการควบคุมร่างกาย
  • 2:15 - 2:17
    นั่นเป็นเพราะขนาดของสมอง
  • 2:17 - 2:19
    มักแปรผันตามขนาดร่างกาย
  • 2:19 - 2:22
    ดังนั้นเวลาคนพูดว่า
  • 2:22 - 2:24
    สมองคนเราใหญ่กว่าที่ควรจะเป็น
  • 2:24 - 2:26
    จึงดูเหมือนเป็นการเปรียบเทียบตัวเรา
  • 2:26 - 2:27
    กับลิงขนาดใหญ่
  • 2:27 - 2:30
    กอริลลาขนาดใหญ่ว่าคนเราสองถึงสามเท่า
  • 2:30 - 2:32
    จึงควรที่จะมีสมองใหญ่กว่าเรา
  • 2:32 - 2:34
    แต่ในความเป็นจริง กลับตรงกันข้าม
  • 2:34 - 2:37
    สมองคนเราใหญ่กว่ากอริลลาถึงสามเท่า
  • 2:37 - 2:39
    สมองคนเรานั้นยังมีข้อพิเศษ
  • 2:39 - 2:42
    ในแง่การใช้พลังงาน
  • 2:42 - 2:44
    ถึงแม้น้ำหนักสมองจะเป็นเพียงสองเปอร์เซ็นต์ของร่างกาย
  • 2:44 - 2:48
    แต่ใช้พลังงานคิดเป็น 25 เปอร์เซนต์
  • 2:48 - 2:50
    ของพลังงานที่ร่างกายใช้ในแต่ละวัน
  • 2:50 - 2:54
    คิดเป็น 500 แคลอรี จากทั้งหมด 2000 แคลอรี
  • 2:54 - 2:56
    เพียงเพื่อให้สมองทำงานได้ตามปกติ
  • 2:56 - 2:59
    สรุปว่า สมองคนเราใหญ่กว่าที่ควรจะเป็น
  • 2:59 - 3:01
    ใช้พลังงานมากกว่าที่ควรจะเป็น
  • 3:01 - 3:02
    จึงมีความพิเศษเลิศเลอ
  • 3:02 - 3:05
    จุดนี้เองที่ทำให้ดิฉันหงุดหงิด
  • 3:05 - 3:07
    ทางชีววิทยา เราพยายามค้นหากฎ
  • 3:07 - 3:09
    ที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ในสัตว์ทุกชนิด
  • 3:09 - 3:11
    แต่ทำไมมนุษย์จึงได้รับการยกเว้น
  • 3:11 - 3:15
    จากกฎของวิวัฒนาการ
  • 3:15 - 3:17
    บางทีปัญหาอาจเริ่มมาจากการคิดเหมา
  • 3:17 - 3:19
    ว่าสมองทุกชนิดมีองค์ประกอบเหมือนกัน
  • 3:19 - 3:21
    บางทีสมองขนาดเท่ากัน
  • 3:21 - 3:23
    อาจจะมีจำนวนเซลล์ประสาทต่างกันมากก็ได้
  • 3:23 - 3:25
    บางทีสมองขนาดใหญ่
  • 3:25 - 3:27
    อาจไม่ได้มีเซลล์ประสาท
  • 3:27 - 3:29
    ไปมากกว่าสมองขนาดกลางๆ
  • 3:29 - 3:32
    บางทีสมองมนุษย์อาจมีจำนวนเซลล์มากที่สุด
  • 3:32 - 3:34
    ในบรรดาสมองทั้งหมด ไม่ว่าขนาดจะเล็กหรือใหญ่
  • 3:34 - 3:37
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมองชั้นนอก
  • 3:37 - 3:38
    ดังนั้น คำถามสำคัญ
  • 3:38 - 3:40
    ที่เราต้องหาคำตอบก็คือ
  • 3:40 - 3:42
    สมองคนเรามีเซลล์ประสาทจำนวนเท่าไร
  • 3:42 - 3:45
    และเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์อื่นแล้วเป็นอย่างไร
  • 3:45 - 3:47
    ทีนี้ คุณอาจเคยได้ยินหรืออ่านมา
  • 3:47 - 3:49
    ว่าคนเรามีเซลล์ประสาท 1 แสนล้านเซลล์
  • 3:49 - 3:51
    เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ดิฉันถามเพื่อนร่วมงาน
  • 3:51 - 3:53
    ว่ามีใครทราบหรือเปล่าว่าตัวเลขนี้มาจากไหน
  • 3:53 - 3:55
    แต่ไม่มีใครรู้
  • 3:55 - 3:56
    ดิฉันเองก็พยายามค้นหาบทความ
  • 3:56 - 3:58
    ที่กล่าวถึงตัวเลขดังกล่าว
  • 3:58 - 4:00
    แต่ก็หาไม่เจอ
  • 4:00 - 4:03
    ดูเหมือนว่า จริงๆ แล้วไม่มีใครเคยนับ
  • 4:03 - 4:04
    จำนวนเซลล์ในสมองมนุษย์
  • 4:04 - 4:07
    หรือสมองสัตว์อื่นมาก่อน
  • 4:07 - 4:10
    ดังนั้น ดิฉันจึงคิดค้นวิธีการนับเซลล์สมอง
  • 4:10 - 4:12
    ซึ่งจริงๆ แล้ว
  • 4:12 - 4:16
    ทำได้โดยละลายสมองให้เป็นน้ำซุป
  • 4:16 - 4:18
    หลักการเป็นเช่นนี้
  • 4:18 - 4:21
    เอาสมอง หรือส่วนหนึ่งของสมองมา
  • 4:21 - 4:22
    แล้วละลายในสารซักฟอก
  • 4:22 - 4:24
    ซึ่งจะทำลายเยื้อหุ้มเซลล์
  • 4:24 - 4:26
    แต่นิวเคลียสจะยังคงสภาพอยู่
  • 4:26 - 4:30
    เราก็จะได้สารแขวนลอยที่ประกอบไปด้วยนิวเคลียส
  • 4:30 - 4:31
    หน้าตาเป็นแบบนี้
  • 4:31 - 4:33
    เหมือนน้ำซุปใส
  • 4:33 - 4:35
    แต่ซุปนี้ประกอบไปด้วยนิวเคลียส
  • 4:35 - 4:37
    ซึ่งครั้งหนึ่ง มันคือสมองหนู
  • 4:37 - 4:40
    ทีนี้ ข้อดีของน้ำซุปนี้ก็คือ ด้วยความที่เป็นของเหลว
  • 4:40 - 4:43
    เราสามารถเขย่ามันได้ และทำให้นิวเคลียส
  • 4:43 - 4:44
    กระจายตัวอย่างทั่วถึงในของเหลวนั้น
  • 4:44 - 4:46
    จากนั้นก็ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูตัวอย่างของเหลว
  • 4:46 - 4:51
    แล้วนับจำนวนนิวเคลียส
  • 4:51 - 4:53
    สักสี่ห้าตัวอย่างแล้วเฉลี่ยดู
  • 4:53 - 4:55
    ก็จะทราบว่าสมองนั้นมีเซลล์กี่เซลล์
  • 4:55 - 4:56
    วิธีนี้ง่าย ตรงไปตรงมา
  • 4:56 - 4:58
    และรวดเร็วมาก
  • 4:58 - 5:00
    เราใช้วิธีนี้นับจำนวนเซลล์ประสาท
  • 5:00 - 5:02
    ในสัตว์หลายๆ สายพันธุ์
  • 5:02 - 5:04
    และพบว่าสมองจากสัตว์แต่ละชนิด
  • 5:04 - 5:06
    มีองค์ประกอบต่างกัน
  • 5:06 - 5:09
    อย่างเช่นในสัตว์ฟันแทะและวานร
  • 5:09 - 5:11
    ในสัตว์ฟันแทะขนาดใหญ่
  • 5:11 - 5:13
    เซลล์ประสาทเพิ่มจำนวน
  • 5:13 - 5:15
    ดังนั้น สมองจึงใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • 5:15 - 5:18
    ในอัตราที่สูงกว่า
    จำนวนเซลล์ประสาทที่เพิ่มขึ้น
  • 5:18 - 5:20
    แต่เซลล์สมองสัตว์ในอันดับวานร
  • 5:20 - 5:22
    เพิ่มจำนวนโดยไม่ทำให้ขนาดสมองโตขึ้น
  • 5:22 - 5:24
    ซึ่งเป็นการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์
  • 5:24 - 5:26
    เพื่อเพิ่มปริมาณเซลล์
  • 5:26 - 5:27
    ผลลัพธ์ก็คือ สมองวานร
  • 5:27 - 5:31
    มีจำนวนเซลล์มากกว่าสมองสัตว์กัดแทะที่มีขนาดเท่ากัน
  • 5:31 - 5:32
    และยิ่งสมองขนาดใหญ่ขึ้น
  • 5:32 - 5:34
    ความแตกต่างนี้ก็จะเพิ่มขึ้น
  • 5:34 - 5:36
    ทีนี้ แล้วสมองของเราเองล่ะ
  • 5:36 - 5:38
    เราพบว่า สมองคนเรามี
  • 5:38 - 5:40
    เซลล์ประสาท แปดหมื่นหกพันล้านเซลล์
  • 5:40 - 5:43
    หนึ่งหมื่นหกพันอยู่ในสมองชั้นนอก
  • 5:43 - 5:45
    และถ้าเราคิดว่า สมองชั้นนอก
  • 5:45 - 5:48
    มีหน้าที่สำคัญ เช่น
  • 5:48 - 5:51
    การสติสัมปชัญญะ การคิดทั้งในเชิงตรรกะและนามธรรม
  • 5:51 - 5:54
    และจำนวนเซลล์ในสมองชั้นนอกของมนุษย์
  • 5:54 - 5:57
    มีจำนวนมากที่สุดเปรียบเทียบกับสัตว์อื่น
  • 5:57 - 5:58
    ดิฉันก็คิดว่า นี่แหละคือคำอธิบายที่ง่ายที่สุด
  • 5:58 - 6:02
    ว่าทำไมคนเราถึงมีความสามารถในการรับรู้มากขนาดนี้
  • 6:02 - 6:05
    การที่เราทราบว่า สมองคนเรามีเซลล์ประสาท
    แปดหมื่นหกพันล้านเซลล์
  • 6:05 - 6:06
    ก็มีความสำคัญ เพราะจากความสัมพันธ์
  • 6:06 - 6:09
    ระหว่างขนาดสมองและจำนวนเซลล์ประสาท
  • 6:09 - 6:10
    เราสามารถคำนวณได้ว่า
  • 6:10 - 6:13
    หากสมองคนเราประกอบไปด้วยเซลล์ที่ขนาด
  • 6:13 - 6:15
    เท่ากับเซลล์ประสาทหนู จะหน้าตาเป็นอย่างไร
  • 6:15 - 6:19
    สมองสัตว์กัดแทะที่มีเซลล์แปดหมื่นหกพันล้านเซลล์
  • 6:19 - 6:22
    จะหนักถึง 36 กิโลกรัม
  • 6:22 - 6:24
    หนักอย่างนี้ก็ไม่ไหว
  • 6:24 - 6:25
    สมองขนาดใหญ่เช่นนี้ หนักพอที่จะ
  • 6:25 - 6:27
    บดขยี้ตัวเองได้
  • 6:27 - 6:28
    และร่างกายที่มีสัดส่วนรับกับน้ำหนักสมองนี้
  • 6:28 - 6:32
    ต้องหนักถึง 89 ตัน
  • 6:32 - 6:34
    ดิฉันว่านี่หน้าตาไม่เหมือนเราเท่าไหร่
  • 6:34 - 6:37
    ดังนั้น เราจึงได้ข้อสรุปสำคัญ
  • 6:37 - 6:39
    ที่ว่าเราไม่ใช่สัตว์กัดแทะ
  • 6:39 - 6:43
    สมองคนไม่ใช่สมองหนูขนาดใหญ่
  • 6:43 - 6:45
    เมื่อเทียบกับหนูแล้ว สมองเราใหญ่กว่าก็จริง
  • 6:45 - 6:47
    แต่นี่เป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ถูกต้อง
  • 6:47 - 6:50
    เพราะว่าเราไม่ใช่สัตว์กัดแทะ
  • 6:50 - 6:51
    เราเป็นสัตว์อันดับวานร
  • 6:51 - 6:54
    ดังนั้นเราต้องเปรียบเทียบกับพวกเดียวกัน
  • 6:54 - 6:55
    ดังนั้น หากเราคำนวนดูอีกครั้ง
  • 6:55 - 6:58
    เราก็จะทราบว่า ในสัตว์อันดับวานร
  • 6:58 - 7:00
    ที่มีเซลล์ประสาท แปดหมื่นหกพันล้านเซลล์
  • 7:00 - 7:03
    ควรมีสมองหนักประมาณ 1.2 กิโลกรัม
  • 7:03 - 7:05
    ซึ่งก็ดูตรงกับความเป็นจริง
  • 7:05 - 7:07
    รับกับร่างกายที่หนักประมาณ 66 กิโลกรัม
  • 7:07 - 7:09
    ซึ่งในกรณีดิฉัน น้ำหนักนี้ตรงเป๊ะ
  • 7:09 - 7:12
    ทั้งหมดนี้ทำให้เราได้ข้อสรุป
  • 7:12 - 7:15
    ที่ไม่น่าแปลกใจ แต่ก็มีความสำคัญ
  • 7:15 - 7:16
    ว่า ดิฉัน เป็นสัตว์อันดับวานร
  • 7:16 - 7:19
    คุณทุกคน ก็เป็นสัตว์อันดับวานร
  • 7:19 - 7:21
    ดาร์วินก็เช่นเดียวกัน
  • 7:21 - 7:24
    ดิฉันนึกอยู่เสมอว่า ถ้าดาร์วินได้ทราบ คงจะพอใจมาก
  • 7:24 - 7:26
    สมองของเขา
  • 7:26 - 7:29
    มีองค์ประกอบเหมือนในสัตว์อันดับวานรอื่นๆ
    เช่นเดียวกับเรา
  • 7:29 - 7:31
    สมองมนุษย์อาจมีความพิเศษก็จริง
  • 7:31 - 7:34
    แต่ไม่ใช่เพราะมีจำนวนเซลล์มาก
  • 7:34 - 7:36
    สมองเราเป็นแค่สมองสัตว์อันดับวานรที่ขนาดใหญ่
  • 7:36 - 7:39
    จุดนี้เอง ที่ทำให้เราได้รู้สึกเจียมเนื้อเจียมตัว
  • 7:39 - 7:42
    ว่าตำแหน่งของเราในธรรมชาตินั้นอยู่ที่ใด
  • 7:42 - 7:45
    แล้วทำไมสมองเราถึงใช้พลังงานมากนัก
  • 7:45 - 7:46
    นักวิจัยอื่นๆ ได้ค้นพบว่า
  • 7:46 - 7:48
    สมองคนเราและสมองสัตว์อื่นๆ
  • 7:48 - 7:49
    ใช้พลังงานเท่าไร
  • 7:49 - 7:51
    ในเมื่อเราทราบจำนวนเซลล์สมองแล้ว
  • 7:51 - 7:53
    เราก็สามารถคำนวณได้ว่า
    อัตราการใช้พลังงานเป็นเท่าไร
  • 7:53 - 7:55
    ผลออกมาว่าสมองมนุษย์
  • 7:55 - 7:58
    กับสมองสัตว์อื่นใช้พลังงานเท่าๆ กัน
  • 7:58 - 8:01
    คือประมาณหกแคลอรี
    ต่อหนึ่งพันล้านเซลล์ประสาทต่อวัน
  • 8:01 - 8:03
    ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างการใฃ้พลังงาน
  • 8:03 - 8:05
    กับจำนวนเซลล์สมอง
  • 8:05 - 8:07
    จึงแปรผันเป็นเส้นตรง
  • 8:07 - 8:09
    และสมองคนเรา ก็ใช้พลังงาน
  • 8:09 - 8:13
    พอๆ กับเราคิดว่าควรจะเป็น
  • 8:13 - 8:15
    เพราะฉะนั้น การที่สมองคนเรา
  • 8:15 - 8:17
    ใช้พลังงานมาก ก็เป็นเพียงเพราะ
  • 8:17 - 8:19
    มีจำนวนเซลล์มาก เท่านั้นเอง
  • 8:19 - 8:20
    และเพราะเราเป็นสัตว์อันดับวานร
  • 8:20 - 8:23
    ที่มีจำนวนเซลล์ประสาทมากกว่า
  • 8:23 - 8:24
    สัตว์อื่นที่มีขนาดเดียวกัน
  • 8:24 - 8:28
    ต้นทุนพลังงานของสมองเราจึงสูงกว่า
  • 8:28 - 8:31
    เพียงเพราะเราเป็นสัตว์อันดับวานร
    ไม่ใช่เพราะเราวิเศษมาจากไหน
  • 8:31 - 8:32
    คำถามสุดท้ายก็คือ
  • 8:32 - 8:35
    ทำไมเราจึงมีเซลล์ประสาทมากมายขนาดนี้
  • 8:35 - 8:37
    และทำไม ลิงขนาดใหญ่
  • 8:37 - 8:39
    ที่ตัวใหญ่กว่าเรามาก
  • 8:39 - 8:42
    จึงมีสมองเล็กกว่าเรา และมีเซลล์ประสาทน้อยกว่า
  • 8:42 - 8:45
    พอเราได้รู้ว่า สมองที่มีเซลล์มากนั้น
  • 8:45 - 8:47
    ใช้ต้นทุนพลังงานมากขนาดไหน
  • 8:47 - 8:49
    ดิฉันก็คิดว่า คำตอบอาจง่ายกว่าที่คิด
  • 8:49 - 8:51
    บางทีลิงเหล่านั้น อาจไม่สามารถสร้างพลังงาน
  • 8:51 - 8:54
    ให้เพียงพอกับทั้งขนาดร่างกายที่ใหญ่
    และจำนวนเซลล์ประสาทที่มาก
  • 8:54 - 8:55
    เราจึงคำนวณดู
  • 8:55 - 8:57
    โดยคิดปริมาณพลังงาน
  • 8:57 - 8:59
    ที่สัตว์อันดับวานรได้รับในแต่ละวัน
  • 8:59 - 9:00
    จากการกินอาหารดิบ
  • 9:00 - 9:02
    แล้วเปรียบเทียบกับพลังงาน
  • 9:02 - 9:04
    ที่ร่างกายขนาดต่างๆ ต้องใช้
  • 9:04 - 9:07
    แล้วก็เปรียบเทียบกับพลังงาน
    ที่สมองขนาดต่างๆ ต้องใช้
  • 9:07 - 9:09
    จากนั้นเราก็นำตัวเลขมาประกอบกัน
  • 9:09 - 9:11
    เพื่อหาว่า สัตว์อันดับวานร
    สามารถมีร่างกายและจำนวนเซลล์สมอง
  • 9:11 - 9:12
    ได้มากเพียงใด
  • 9:12 - 9:15
    ถ้าสัตว์ชนิดหนึ่ง
    ใช้เวลาตายตัวในการกินอาหารต่อหนึ่งวัน
  • 9:15 - 9:17
    เราพบว่า
  • 9:17 - 9:18
    เนื่องจากเซลล์สมองใช้พลังงานมาก
  • 9:18 - 9:22
    ร่างกายจึงต้องเลือกระหว่าง
    ขนาดร่างกายกับจำนวนเซลล์สมอง
  • 9:22 - 9:25
    ถ้าสัตว์อันดับวานรกินอาหารวันละแปดชั่วโมง
  • 9:25 - 9:28
    จะสามารถมีเซลล์สมองได้อย่างมาก
    ห้าหมื่นสามพันล้านเซลล์
  • 9:28 - 9:29
    แต่ร่างกายของสัตว์นี้ จะหนักได้มากที่สุด
  • 9:29 - 9:31
    แค่ 25 กิโลกรัม เท่านั้น
  • 9:31 - 9:33
    ถ้าหนักกว่านี้
  • 9:33 - 9:35
    ก็ต้องยอมเสียจำนวนเซลล์ประสาท
  • 9:35 - 9:37
    ดังนั้น เราจึงต้องเลือกระหว่างขนาดร่างกายใหญ่
  • 9:37 - 9:39
    หรือเซลล์ประสาทจำนวนมาก
  • 9:39 - 9:40
    ถ้าเรากินอาหารแบบสัตว์อันดับวานร
  • 9:40 - 9:43
    จะรักพี่เสียดายน้องไม่ได้
  • 9:43 - 9:45
    หนทางออกจากข้อจำกัดนี้ทางหนึ่ง
  • 9:45 - 9:48
    ก็คือกินให้นานขึ้น
  • 9:48 - 9:49
    แต่ก็อันตราย
  • 9:49 - 9:52
    เพราะจะให้กินตลอดก็ไม่ได้
  • 9:52 - 9:54
    ตัวอย่างเช่น กอริลล่าหรืออุรังอุตัง
  • 9:54 - 9:55
    สร้างพลังงานเพียงพอ
    สำหรับเซลล์ประสาทสามหมื่นล้านเซลล์
  • 9:55 - 9:58
    โดยใช้เวลากินประมาณวันละแปดชั่วโมงครึ่ง
  • 9:58 - 10:02
    ซึ่งก็มากที่สุดที่จะทำได้แล้ว
  • 10:02 - 10:03
    การที่ต้องกินวันละเกือบเก้าชั่วโมงต่อวัน
  • 10:03 - 10:07
    เป็นข้อจำกัดสำหรับสัตว์อันดับวานร
  • 10:07 - 10:08
    แล้วเราล่ะ
  • 10:08 - 10:10
    เรามีเซลล์ประสาท แปดหมื่นหกพันล้านเซลล์
  • 10:10 - 10:13
    กับน้ำหนักตัวประมาณ 60 ถึง 70 กิโลกรัม
  • 10:13 - 10:17
    เราควรต้องใช้เวลากิน
  • 10:17 - 10:20
    มากกว่าวันละ 9 ชั่วโมง
  • 10:20 - 10:22
    ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย
  • 10:22 - 10:24
    ถ้าเรากินแบบสัตว์อันดับวานรอื่นๆ
  • 10:24 - 10:26
    เราคงมีชีวิตอยู่ไม่ได้
  • 10:26 - 10:28
    แล้วเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
  • 10:28 - 10:31
    ถ้าสมองเราใช้พลังงานมากขนาดนั้น
  • 10:31 - 10:33
    แต่เราไม่ได้ใช้เวลาทั้งวัน
  • 10:33 - 10:37
    นั่งกินอาหารเพื่อสร้างพลังงาน
  • 10:37 - 10:38
    หนทางออกทางเดียวก็คือ
  • 10:38 - 10:40
    ต้องหาทางเก็บเกี่ยวพลังงานให้มากขึ้น
  • 10:40 - 10:42
    จากอาหารชนิดเดียวกัน
  • 10:42 - 10:46
    ซึ่งจุดที่น่าสนใจก็คือ
  • 10:46 - 10:49
    บรรพบุรุษของเรา ได้คิดค้นวิธีดังกล่าว
  • 10:49 - 10:51
    มากว่า หนึ่งล้านห้าแสนปีก่อน
  • 10:51 - 10:54
    ซึ่งก็คือการทำอาหารให้สุก
  • 10:54 - 10:56
    การทำอาหารให้สุก ต้องใช้ไฟ
  • 10:56 - 11:00
    เพื่อย่อยอาหารล่วงหน้า ภายนอกร่างกาย
  • 11:00 - 11:02
    อาหารที่สุก จะอ่อนนุ่มกว่า ทำให้เคี้ยวง่าย
  • 11:02 - 11:05
    เป็นของเหลวเละๆ ในปาก
  • 11:05 - 11:07
    ซึ่งทำให้ร่างกายดูดซึมได้ทั้งหมด
  • 11:07 - 11:08
    ในระบบทางเดินอาหาร
  • 11:08 - 11:12
    ทำให้เราสร้างพลังงานได้มากขึ้นในเวลาที่น้อยลง
  • 11:12 - 11:15
    ดังนั้น การปรุงอาหารให้สุก ทำให้เรา
  • 11:15 - 11:17
    เอาเวลาไปทำอย่างอื่นได้
  • 11:17 - 11:18
    และใช้ประโยชน์จากเซลล์สมองที่เรามี
  • 11:18 - 11:20
    แทนที่จะต้องคิดเรื่องอาหาร
  • 11:20 - 11:22
    และคอยหาอาหาร และกินอาหาร
  • 11:22 - 11:23
    ตลอดทั้งวัน
  • 11:23 - 11:25
    เพราะการปรุงอาหารให้สุกนี่เอง ที่ทำให้สมองของเรา
  • 11:25 - 11:28
    ซึ่งใหญ่โต ประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทมากมาย
  • 11:28 - 11:31
    และใช้พลังงานสูงจนเข้าขั้นอันตราย
    ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงสูงสุด
  • 11:31 - 11:33
    กลับกลายเป็นทรัพย์สินที่คุ้มค่า
  • 11:33 - 11:36
    เมื่อเราหาพลังงานได้มากพอที่จะหล่อเลี้ยง
    เซลล์ประสาทจำนวนมาก
  • 11:36 - 11:39
    และมีเวลาเหลือพอที่จะใช้มันให้เป็นประโยชน์
  • 11:39 - 11:41
    ดังนั้น ดิฉันคิดว่า นี่คือเหตุผลที่ทำให้สมองมนุษย์
  • 11:41 - 11:44
    เติบโตได้อย่างรวดเร็วในวิวัฒนาการ
  • 11:44 - 11:48
    ทั้งๆ ที่จริงแล้วสมองคนก็เป็นเพียงสมองสัตว์อันดับวานร
  • 11:48 - 11:50
    จากการปรุงอาหาร ทำให้เราใช้สมองขนาดใหญ่นี้
  • 11:50 - 11:53
    เปลี่ยนจาการกินอาหารดิบ มาเป็นการเพาะปลูก
  • 11:53 - 11:56
    เกษตรกรรม อารยธรรม ร้านขายของชำ
  • 11:56 - 11:58
    กระแสไฟฟ้า ตู้เย็น
  • 11:58 - 11:59
    ทุกสิ่งที่กล่าวมา ทำให้เรา
  • 11:59 - 12:01
    สามารถเก็บเกี่ยวพลังงานที่เราต้องการทั้งวัน
  • 12:01 - 12:04
    ได้จากการกินอาหารเพียงมื้อเดียว
  • 12:04 - 12:07
    ในร้านอาหารฟาสต์ฟูดร้านโปรดของคุณ
  • 12:07 - 12:09
    ดังนั้น สิ่งที่เคยเป็นทางออกของปัญหา
  • 12:09 - 12:11
    กลับกลายมาเป็นปัญหาเสียเอง
  • 12:11 - 12:17
    จนตอนนี้ มันน่าขันที่เราต้องย้อนกลับมา
    พิจารณาการกินอาหารดิบอีกครั้ง
  • 12:17 - 12:19
    ทั้งนี้ มนุษย์เรามีข้อได้เปรียบอย่างไร
  • 12:19 - 12:21
    เรามีอะไร
  • 12:21 - 12:23
    ที่สัตว์อื่นไม่มี
  • 12:23 - 12:26
    คำตอบจากดิฉัน ก็คือเรามีจำนวนเซลล์ประสาท
  • 12:26 - 12:27
    มากที่สุดในสมองชั้นนอก
  • 12:27 - 12:29
    และดิฉันคิดว่า นี่คือคำอธิบายที่ง่ายที่สุด
  • 12:29 - 12:31
    สำหรับความสามารถในการเรียนรู้ของคนเรา
  • 12:31 - 12:34
    และสิ่งใดเล่าที่เราทำได้ แต่สัตว์อื่นทำไม่ได้
  • 12:34 - 12:36
    ที่กลายมาเป็นองค์ประกอบสำคัญ
  • 12:36 - 12:39
    ที่ทำให้เราสามารถมีเซลล์ประสาท
  • 12:39 - 12:41
    ในสมองชั้นนอกได้มากที่สุด
  • 12:41 - 12:44
    คำตอบก็คือ เราปรุงอาหารให้สุก
  • 12:44 - 12:47
    สัตว์อื่นปรุงอาหารให้สุกไม่ได้
    มีแต่คนเราเท่านั้นที่ทำได้
  • 12:47 - 12:50
    และดิฉันคิดว่านั่นทำให้เรากลายมาเป็นมนุษย์ได้
  • 12:50 - 12:53
    การศึกษาสมองมนุษย์
    ทำให้มุมมองต่ออาหารของดิฉันเปลี่ยนไป
  • 12:53 - 12:54
    ดิฉันมองครัวของดิฉัน
  • 12:54 - 12:56
    และค้อมคำนับ
  • 12:56 - 12:57
    และดิฉันก็รู้สึกซาบซึ้งที่บรรพบุรุษของเรา
  • 12:57 - 12:59
    คิดค้นวิธีการที่ทำให้เราวิวัฒนาการเป็นมนุษย์ได้
  • 12:59 - 13:01
    ขอบคุณมากค่ะ
  • 13:01 - 13:08
    (เสียงปรบมือ)
Title:
สมองมนุษย์มีความพิเศษอย่างไร
Speaker:
ซูซาน่า เฮอร์คิวลาโน-ฮูเซล
Description:

สมองมนุษย์นั้นช่างน่าฉงน เนื่องด้วยขนาดที่ใหญ่ และอัตราการใช้พลังงานที่สูงเมื่อเทียบกับน้ำหนัก ประกอบกับเซลล์ประสาทในสมองชั้นนอกที่หนาแน่น เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น นักวิจัยทางประสาท ซูซาน่า เฮอร์คิวลาโน-ฮูเซล ค้นพบคำตอบที่น่าประหลาดใจ โดยอาศัยกระบวนการแปลงร่างสมองให้กลายเป็นซุป ในวิดีโอนี้ เธอสวมบทบาทนักสืบและพาเราไปค้นหาคำตอบของปัญหานี้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
13:31
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for What is so special about the human brain?
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for What is so special about the human brain?
Unnawut Leepaisalsuwanna commented on Thai subtitles for What is so special about the human brain?
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for What is so special about the human brain?
Kanawat Senanan accepted Thai subtitles for What is so special about the human brain?
Kanawat Senanan commented on Thai subtitles for What is so special about the human brain?
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for What is so special about the human brain?
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for What is so special about the human brain?
Show all
  • great translation krab. I break a long line into two and correct correct frequent misspell of แคลอรี. please allow me to submit it for approval krab.

  • I made mostly corrections to typo mistakes na krub. Many thanks for the translation and review! :)

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 7 Edited (legacy editor)
    Unnawut Leepaisalsuwanna