Subtitles translated from English
Showing Revision 7 created 01/19/2014 by Unnawut Leepaisalsuwanna.
-
Title:
สมองมนุษย์มีความพิเศษอย่างไร
-
Description:
สมองมนุษย์นั้นช่างน่าฉงน เนื่องด้วยขนาดที่ใหญ่ และอัตราการใช้พลังงานที่สูงเมื่อเทียบกับน้ำหนัก ประกอบกับเซลล์ประสาทในสมองชั้นนอกที่หนาแน่น เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น นักวิจัยทางประสาท ซูซาน่า เฮอร์คิวลาโน-ฮูเซล ค้นพบคำตอบที่น่าประหลาดใจ โดยอาศัยกระบวนการแปลงร่างสมองให้กลายเป็นซุป ในวิดีโอนี้ เธอสวมบทบาทนักสืบและพาเราไปค้นหาคำตอบของปัญหานี้
-
Speaker:
ซูซาน่า เฮอร์คิวลาโน-ฮูเซล
-
สมองมนุษย์นั้นมีความพิเศษอย่างไร
-
ทำไมเราจึงศึกษาสัตว์อื่น
-
แทนที่จะเป็นพวกมันมาศึกษาเรา
-
สมองคนเรามีอะไร
-
ที่สมองสัตว์อื่นไม่มี
-
ราวสิบปีก่อน เมื่อดิฉันเริ่มสนใจในคำถามเหล่านี้
-
นักวิทยาศาสตร์คิดว่าตัวเองรู้
ว่าสมองมีองค์ประกอบอย่างไร
-
ถึงแม้ขณะนั้นหลักฐานมีเพียงน้อยนิด
-
นักวิทยาศาสตร์หลายคนต่างคิดว่า
สมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด
-
รวมถึงสมองคนเรา
-
มีองค์ประกอบเหมือนกันหมด
-
ต่างกันก็เพียงแต่จำนวนเซลล์ประสาท
-
ที่มากน้อยตามสัดส่วนขนาดของสมอง
-
ซึ่งก็หมายความว่า สมองสองก้อน ที่ขนาดเท่ากัน
-
อย่างเช่นสองก้อนนี้ ซึ่งมีขนาดประมาณ 400 กรัม
-
ก็น่าจะมีจำนวนเซลล์ประสาทเท่ากัน
-
ทีนี้ ถ้าเราคิดว่าเซลล์ประสาท
-
คือตัวประมวลผลข้อมูลของสมอง
-
ถ้าเป็นเช่นนั้น เจ้าของสมองสองก้อนนี้
-
ก็น่าจะมีความสามารถในการเรียนรู้
และเข้าใจเท่าเทียมกัน
-
แต่ที่จริงแล้ว นี่เป็นสมองของชิมแปนซี
-
ส่วนอีกอันเป็นสมองวัว
-
บางทีวัวอาจจะมีความคิดอ่าน
-
ฉลาดล้ำลึกอยู่ภายใน
-
ที่มันไม่อยากแสดงออกมาให้เรารู้
-
แต่เราก็กินวัวอยู่ดี
-
ดิฉันคิดว่าคนส่วนใหญ่น่าจะเห็นด้วย
-
ว่าชิมแปนซีนั้นมีสติปัญญา
-
และพฤติกรรมที่ละเอียดซับซ้อนกว่าวัวมาก
-
ดังนั้น นี่คือหลักฐานแรกที่ชี้นำว่า
-
แนวความติดที่ว่า "สมองทุกก้อนมีองค์ประกอบเหมือนกัน"
-
นั้นเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก
-
แต่เราจะทำเป็นไม่สนใจไปก่อน
¶
-
ทีนี้ถ้าสมมติว่าสมองมีองค์ประกอบเหมือนกัน
-
เวลาเราเปรียบเทียบสมองสัตว์ขนาดต่างๆ กัน
-
สมองที่ใหญ่กว่าก็น่าจะมีเซลล์ประสาทมากกว่า
-
ยิ่งสมองใหญ่ขึ้น
-
ความคิดอ่านของสัตว์นั้นๆ ก็น่าจะดีกว่า
-
ดังนั้น สัตว์ที่มีสมองใหญ่ที่สุด
-
ก็น่าจะฉลาดที่สุด
-
แต่ข่าวร้ายก็คือ
-
สมองคนเรา ขนาดไม่ได้ใหญ่โตเลย
-
น่าประหลาดใจมิใช่น้อย
-
สมองคนเราหนักประมาณ 1.2 ถึง 1.5 กิโลกรัม
-
แต่สมองช้างหนักถึงสี่ห้ากิโลกรัม
-
สมองวาฬก็หนักได้ถึงเก้ากิโลกรัม
-
เหตุผลนี่เอง นักวิทยาศาสตร์จึงอ้างได้ว่า
-
สมองคนเรานี่ช่างพิเศษ
-
เพราะเรามีความรู้สึกนึกคิด
-
สมองคนนี้ช่างเลิศเลอ
-
จนถือเป็นข้อยกเว้นจากกฎที่เราเพิ่งพูดถึง
-
สมองสัตว์อื่นอาจใหญ่กว่า แต่สมองเราดีกว่า
-
อาจจะดีกว่าที่เรามองเห็นด้วยซ้ำ ตัวอย่างเช่น
-
สมองคนเราใหญ่กว่าที่เราคิด
-
เพราะคนเรามีสมองชั้นนอกขนาดใหญ่มาก
-
เมื่อเทียบกับขนาดร่างกายเรา
-
ซึ่งสมองชั้นนอกนี้แหละ
-
ที่ทำให้เราทำอะไรได้มากกว่าการควบคุมร่างกาย
-
นั่นเป็นเพราะขนาดของสมอง
-
มักแปรผันตามขนาดร่างกาย
-
ดังนั้นเวลาคนพูดว่า
-
สมองคนเราใหญ่กว่าที่ควรจะเป็น
-
จึงดูเหมือนเป็นการเปรียบเทียบตัวเรา
-
กับลิงขนาดใหญ่
-
กอริลลาขนาดใหญ่ว่าคนเราสองถึงสามเท่า
-
จึงควรที่จะมีสมองใหญ่กว่าเรา
-
แต่ในความเป็นจริง กลับตรงกันข้าม
-
สมองคนเราใหญ่กว่ากอริลลาถึงสามเท่า
-
สมองคนเรานั้นยังมีข้อพิเศษ
¶
-
ในแง่การใช้พลังงาน
-
ถึงแม้น้ำหนักสมองจะเป็นเพียงสองเปอร์เซ็นต์ของร่างกาย
-
แต่ใช้พลังงานคิดเป็น 25 เปอร์เซนต์
-
ของพลังงานที่ร่างกายใช้ในแต่ละวัน
-
คิดเป็น 500 แคลอรี จากทั้งหมด 2000 แคลอรี
-
เพียงเพื่อให้สมองทำงานได้ตามปกติ
-
สรุปว่า สมองคนเราใหญ่กว่าที่ควรจะเป็น
¶
-
ใช้พลังงานมากกว่าที่ควรจะเป็น
-
จึงมีความพิเศษเลิศเลอ
-
จุดนี้เองที่ทำให้ดิฉันหงุดหงิด
-
ทางชีววิทยา เราพยายามค้นหากฎ
-
ที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ในสัตว์ทุกชนิด
-
แต่ทำไมมนุษย์จึงได้รับการยกเว้น
-
จากกฎของวิวัฒนาการ
-
บางทีปัญหาอาจเริ่มมาจากการคิดเหมา
-
ว่าสมองทุกชนิดมีองค์ประกอบเหมือนกัน
-
บางทีสมองขนาดเท่ากัน
-
อาจจะมีจำนวนเซลล์ประสาทต่างกันมากก็ได้
-
บางทีสมองขนาดใหญ่
-
อาจไม่ได้มีเซลล์ประสาท
-
ไปมากกว่าสมองขนาดกลางๆ
-
บางทีสมองมนุษย์อาจมีจำนวนเซลล์มากที่สุด
-
ในบรรดาสมองทั้งหมด ไม่ว่าขนาดจะเล็กหรือใหญ่
-
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมองชั้นนอก
-
ดังนั้น คำถามสำคัญ
-
ที่เราต้องหาคำตอบก็คือ
-
สมองคนเรามีเซลล์ประสาทจำนวนเท่าไร
-
และเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์อื่นแล้วเป็นอย่างไร
-
ทีนี้ คุณอาจเคยได้ยินหรืออ่านมา
¶
-
ว่าคนเรามีเซลล์ประสาท 1 แสนล้านเซลล์
-
เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ดิฉันถามเพื่อนร่วมงาน
-
ว่ามีใครทราบหรือเปล่าว่าตัวเลขนี้มาจากไหน
-
แต่ไม่มีใครรู้
-
ดิฉันเองก็พยายามค้นหาบทความ
-
ที่กล่าวถึงตัวเลขดังกล่าว
-
แต่ก็หาไม่เจอ
-
ดูเหมือนว่า จริงๆ แล้วไม่มีใครเคยนับ
-
จำนวนเซลล์ในสมองมนุษย์
-
หรือสมองสัตว์อื่นมาก่อน
-
ดังนั้น ดิฉันจึงคิดค้นวิธีการนับเซลล์สมอง
¶
-
ซึ่งจริงๆ แล้ว
-
ทำได้โดยละลายสมองให้เป็นน้ำซุป
-
หลักการเป็นเช่นนี้
-
เอาสมอง หรือส่วนหนึ่งของสมองมา
-
แล้วละลายในสารซักฟอก
-
ซึ่งจะทำลายเยื้อหุ้มเซลล์
-
แต่นิวเคลียสจะยังคงสภาพอยู่
-
เราก็จะได้สารแขวนลอยที่ประกอบไปด้วยนิวเคลียส
-
หน้าตาเป็นแบบนี้
-
เหมือนน้ำซุปใส
-
แต่ซุปนี้ประกอบไปด้วยนิวเคลียส
-
ซึ่งครั้งหนึ่ง มันคือสมองหนู
-
ทีนี้ ข้อดีของน้ำซุปนี้ก็คือ ด้วยความที่เป็นของเหลว
-
เราสามารถเขย่ามันได้ และทำให้นิวเคลียส
-
กระจายตัวอย่างทั่วถึงในของเหลวนั้น
-
จากนั้นก็ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูตัวอย่างของเหลว
-
แล้วนับจำนวนนิวเคลียส
-
สักสี่ห้าตัวอย่างแล้วเฉลี่ยดู
-
ก็จะทราบว่าสมองนั้นมีเซลล์กี่เซลล์
-
วิธีนี้ง่าย ตรงไปตรงมา
-
และรวดเร็วมาก
-
เราใช้วิธีนี้นับจำนวนเซลล์ประสาท
-
ในสัตว์หลายๆ สายพันธุ์
-
และพบว่าสมองจากสัตว์แต่ละชนิด
-
มีองค์ประกอบต่างกัน
-
อย่างเช่นในสัตว์ฟันแทะและวานร
-
ในสัตว์ฟันแทะขนาดใหญ่
-
เซลล์ประสาทเพิ่มจำนวน
-
ดังนั้น สมองจึงใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว
-
ในอัตราที่สูงกว่า
จำนวนเซลล์ประสาทที่เพิ่มขึ้น
-
แต่เซลล์สมองสัตว์ในอันดับวานร
-
เพิ่มจำนวนโดยไม่ทำให้ขนาดสมองโตขึ้น
-
ซึ่งเป็นการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์
-
เพื่อเพิ่มปริมาณเซลล์
-
ผลลัพธ์ก็คือ สมองวานร
-
มีจำนวนเซลล์มากกว่าสมองสัตว์กัดแทะที่มีขนาดเท่ากัน
-
และยิ่งสมองขนาดใหญ่ขึ้น
-
ความแตกต่างนี้ก็จะเพิ่มขึ้น
-
ทีนี้ แล้วสมองของเราเองล่ะ
-
เราพบว่า สมองคนเรามี
-
เซลล์ประสาท แปดหมื่นหกพันล้านเซลล์
-
หนึ่งหมื่นหกพันอยู่ในสมองชั้นนอก
-
และถ้าเราคิดว่า สมองชั้นนอก
-
มีหน้าที่สำคัญ เช่น
-
การสติสัมปชัญญะ การคิดทั้งในเชิงตรรกะและนามธรรม
-
และจำนวนเซลล์ในสมองชั้นนอกของมนุษย์
-
มีจำนวนมากที่สุดเปรียบเทียบกับสัตว์อื่น
-
ดิฉันก็คิดว่า นี่แหละคือคำอธิบายที่ง่ายที่สุด
-
ว่าทำไมคนเราถึงมีความสามารถในการรับรู้มากขนาดนี้
-
การที่เราทราบว่า สมองคนเรามีเซลล์ประสาท
แปดหมื่นหกพันล้านเซลล์
-
ก็มีความสำคัญ เพราะจากความสัมพันธ์
-
ระหว่างขนาดสมองและจำนวนเซลล์ประสาท
-
เราสามารถคำนวณได้ว่า
-
หากสมองคนเราประกอบไปด้วยเซลล์ที่ขนาด
-
เท่ากับเซลล์ประสาทหนู จะหน้าตาเป็นอย่างไร
-
สมองสัตว์กัดแทะที่มีเซลล์แปดหมื่นหกพันล้านเซลล์
-
จะหนักถึง 36 กิโลกรัม
-
หนักอย่างนี้ก็ไม่ไหว
-
สมองขนาดใหญ่เช่นนี้ หนักพอที่จะ
-
บดขยี้ตัวเองได้
-
และร่างกายที่มีสัดส่วนรับกับน้ำหนักสมองนี้
-
ต้องหนักถึง 89 ตัน
-
ดิฉันว่านี่หน้าตาไม่เหมือนเราเท่าไหร่
-
ดังนั้น เราจึงได้ข้อสรุปสำคัญ
¶
-
ที่ว่าเราไม่ใช่สัตว์กัดแทะ
-
สมองคนไม่ใช่สมองหนูขนาดใหญ่
-
เมื่อเทียบกับหนูแล้ว สมองเราใหญ่กว่าก็จริง
-
แต่นี่เป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ถูกต้อง
-
เพราะว่าเราไม่ใช่สัตว์กัดแทะ
-
เราเป็นสัตว์อันดับวานร
-
ดังนั้นเราต้องเปรียบเทียบกับพวกเดียวกัน
-
ดังนั้น หากเราคำนวนดูอีกครั้ง
-
เราก็จะทราบว่า ในสัตว์อันดับวานร
-
ที่มีเซลล์ประสาท แปดหมื่นหกพันล้านเซลล์
-
ควรมีสมองหนักประมาณ 1.2 กิโลกรัม
-
ซึ่งก็ดูตรงกับความเป็นจริง
-
รับกับร่างกายที่หนักประมาณ 66 กิโลกรัม
-
ซึ่งในกรณีดิฉัน น้ำหนักนี้ตรงเป๊ะ
-
ทั้งหมดนี้ทำให้เราได้ข้อสรุป
-
ที่ไม่น่าแปลกใจ แต่ก็มีความสำคัญ
-
ว่า ดิฉัน เป็นสัตว์อันดับวานร
-
คุณทุกคน ก็เป็นสัตว์อันดับวานร
-
-
ดิฉันนึกอยู่เสมอว่า ถ้าดาร์วินได้ทราบ คงจะพอใจมาก
-
สมองของเขา
-
มีองค์ประกอบเหมือนในสัตว์อันดับวานรอื่นๆ
เช่นเดียวกับเรา
-
สมองมนุษย์อาจมีความพิเศษก็จริง
¶
-
แต่ไม่ใช่เพราะมีจำนวนเซลล์มาก
-
สมองเราเป็นแค่สมองสัตว์อันดับวานรที่ขนาดใหญ่
-
จุดนี้เอง ที่ทำให้เราได้รู้สึกเจียมเนื้อเจียมตัว
-
ว่าตำแหน่งของเราในธรรมชาตินั้นอยู่ที่ใด
-
แล้วทำไมสมองเราถึงใช้พลังงานมากนัก
¶
-
นักวิจัยอื่นๆ ได้ค้นพบว่า
-
สมองคนเราและสมองสัตว์อื่นๆ
-
ใช้พลังงานเท่าไร
-
ในเมื่อเราทราบจำนวนเซลล์สมองแล้ว
-
เราก็สามารถคำนวณได้ว่า
อัตราการใช้พลังงานเป็นเท่าไร
-
ผลออกมาว่าสมองมนุษย์
-
กับสมองสัตว์อื่นใช้พลังงานเท่าๆ กัน
-
คือประมาณหกแคลอรี
ต่อหนึ่งพันล้านเซลล์ประสาทต่อวัน
-
ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างการใฃ้พลังงาน
-
กับจำนวนเซลล์สมอง
-
จึงแปรผันเป็นเส้นตรง
-
และสมองคนเรา ก็ใช้พลังงาน
-
พอๆ กับเราคิดว่าควรจะเป็น
-
เพราะฉะนั้น การที่สมองคนเรา
-
ใช้พลังงานมาก ก็เป็นเพียงเพราะ
-
มีจำนวนเซลล์มาก เท่านั้นเอง
-
และเพราะเราเป็นสัตว์อันดับวานร
-
ที่มีจำนวนเซลล์ประสาทมากกว่า
-
สัตว์อื่นที่มีขนาดเดียวกัน
-
ต้นทุนพลังงานของสมองเราจึงสูงกว่า
-
เพียงเพราะเราเป็นสัตว์อันดับวานร
ไม่ใช่เพราะเราวิเศษมาจากไหน
-
-
ทำไมเราจึงมีเซลล์ประสาทมากมายขนาดนี้
-
และทำไม ลิงขนาดใหญ่
-
ที่ตัวใหญ่กว่าเรามาก
-
จึงมีสมองเล็กกว่าเรา และมีเซลล์ประสาทน้อยกว่า
-
พอเราได้รู้ว่า สมองที่มีเซลล์มากนั้น
-
ใช้ต้นทุนพลังงานมากขนาดไหน
-
ดิฉันก็คิดว่า คำตอบอาจง่ายกว่าที่คิด
-
บางทีลิงเหล่านั้น อาจไม่สามารถสร้างพลังงาน
-
ให้เพียงพอกับทั้งขนาดร่างกายที่ใหญ่
และจำนวนเซลล์ประสาทที่มาก
-
เราจึงคำนวณดู
-
โดยคิดปริมาณพลังงาน
-
ที่สัตว์อันดับวานรได้รับในแต่ละวัน
-
จากการกินอาหารดิบ
-
แล้วเปรียบเทียบกับพลังงาน
-
ที่ร่างกายขนาดต่างๆ ต้องใช้
-
แล้วก็เปรียบเทียบกับพลังงาน
ที่สมองขนาดต่างๆ ต้องใช้
-
จากนั้นเราก็นำตัวเลขมาประกอบกัน
-
เพื่อหาว่า สัตว์อันดับวานร
สามารถมีร่างกายและจำนวนเซลล์สมอง
-
ได้มากเพียงใด
-
ถ้าสัตว์ชนิดหนึ่ง
ใช้เวลาตายตัวในการกินอาหารต่อหนึ่งวัน
-
-
เนื่องจากเซลล์สมองใช้พลังงานมาก
-
ร่างกายจึงต้องเลือกระหว่าง
ขนาดร่างกายกับจำนวนเซลล์สมอง
-
ถ้าสัตว์อันดับวานรกินอาหารวันละแปดชั่วโมง
-
จะสามารถมีเซลล์สมองได้อย่างมาก
ห้าหมื่นสามพันล้านเซลล์
-
แต่ร่างกายของสัตว์นี้ จะหนักได้มากที่สุด
-
แค่ 25 กิโลกรัม เท่านั้น
-
ถ้าหนักกว่านี้
-
ก็ต้องยอมเสียจำนวนเซลล์ประสาท
-
ดังนั้น เราจึงต้องเลือกระหว่างขนาดร่างกายใหญ่
-
หรือเซลล์ประสาทจำนวนมาก
-
ถ้าเรากินอาหารแบบสัตว์อันดับวานร
-
จะรักพี่เสียดายน้องไม่ได้
-
หนทางออกจากข้อจำกัดนี้ทางหนึ่ง
¶
-
ก็คือกินให้นานขึ้น
-
แต่ก็อันตราย
-
เพราะจะให้กินตลอดก็ไม่ได้
-
ตัวอย่างเช่น กอริลล่าหรืออุรังอุตัง
-
สร้างพลังงานเพียงพอ
สำหรับเซลล์ประสาทสามหมื่นล้านเซลล์
-
โดยใช้เวลากินประมาณวันละแปดชั่วโมงครึ่ง
-
ซึ่งก็มากที่สุดที่จะทำได้แล้ว
-
การที่ต้องกินวันละเกือบเก้าชั่วโมงต่อวัน
-
เป็นข้อจำกัดสำหรับสัตว์อันดับวานร
-
-
เรามีเซลล์ประสาท แปดหมื่นหกพันล้านเซลล์
-
กับน้ำหนักตัวประมาณ 60 ถึง 70 กิโลกรัม
-
เราควรต้องใช้เวลากิน
-
มากกว่าวันละ 9 ชั่วโมง
-
ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย
-
ถ้าเรากินแบบสัตว์อันดับวานรอื่นๆ
-
เราคงมีชีวิตอยู่ไม่ได้
-
แล้วเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
¶
-
ถ้าสมองเราใช้พลังงานมากขนาดนั้น
-
แต่เราไม่ได้ใช้เวลาทั้งวัน
-
นั่งกินอาหารเพื่อสร้างพลังงาน
-
หนทางออกทางเดียวก็คือ
-
ต้องหาทางเก็บเกี่ยวพลังงานให้มากขึ้น
-
จากอาหารชนิดเดียวกัน
-
ซึ่งจุดที่น่าสนใจก็คือ
-
บรรพบุรุษของเรา ได้คิดค้นวิธีดังกล่าว
-
มากว่า หนึ่งล้านห้าแสนปีก่อน
-
ซึ่งก็คือการทำอาหารให้สุก
-
การทำอาหารให้สุก ต้องใช้ไฟ
-
เพื่อย่อยอาหารล่วงหน้า ภายนอกร่างกาย
-
อาหารที่สุก จะอ่อนนุ่มกว่า ทำให้เคี้ยวง่าย
-
เป็นของเหลวเละๆ ในปาก
-
ซึ่งทำให้ร่างกายดูดซึมได้ทั้งหมด
-
ในระบบทางเดินอาหาร
-
ทำให้เราสร้างพลังงานได้มากขึ้นในเวลาที่น้อยลง
-
ดังนั้น การปรุงอาหารให้สุก ทำให้เรา
-
เอาเวลาไปทำอย่างอื่นได้
-
และใช้ประโยชน์จากเซลล์สมองที่เรามี
-
แทนที่จะต้องคิดเรื่องอาหาร
-
และคอยหาอาหาร และกินอาหาร
-
ตลอดทั้งวัน
-
เพราะการปรุงอาหารให้สุกนี่เอง ที่ทำให้สมองของเรา
¶
-
ซึ่งใหญ่โต ประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทมากมาย
-
และใช้พลังงานสูงจนเข้าขั้นอันตราย
ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงสูงสุด
-
กลับกลายเป็นทรัพย์สินที่คุ้มค่า
-
เมื่อเราหาพลังงานได้มากพอที่จะหล่อเลี้ยง
เซลล์ประสาทจำนวนมาก
-
และมีเวลาเหลือพอที่จะใช้มันให้เป็นประโยชน์
-
ดังนั้น ดิฉันคิดว่า นี่คือเหตุผลที่ทำให้สมองมนุษย์
-
เติบโตได้อย่างรวดเร็วในวิวัฒนาการ
-
ทั้งๆ ที่จริงแล้วสมองคนก็เป็นเพียงสมองสัตว์อันดับวานร
-
จากการปรุงอาหาร ทำให้เราใช้สมองขนาดใหญ่นี้
-
เปลี่ยนจาการกินอาหารดิบ มาเป็นการเพาะปลูก
-
เกษตรกรรม อารยธรรม ร้านขายของชำ
-
กระแสไฟฟ้า ตู้เย็น
-
ทุกสิ่งที่กล่าวมา ทำให้เรา
-
สามารถเก็บเกี่ยวพลังงานที่เราต้องการทั้งวัน
-
ได้จากการกินอาหารเพียงมื้อเดียว
-
ในร้านอาหารฟาสต์ฟูดร้านโปรดของคุณ
-
ดังนั้น สิ่งที่เคยเป็นทางออกของปัญหา
-
กลับกลายมาเป็นปัญหาเสียเอง
-
จนตอนนี้ มันน่าขันที่เราต้องย้อนกลับมา
พิจารณาการกินอาหารดิบอีกครั้ง
-
ทั้งนี้ มนุษย์เรามีข้อได้เปรียบอย่างไร
¶
-
เรามีอะไร
-
ที่สัตว์อื่นไม่มี
-
คำตอบจากดิฉัน ก็คือเรามีจำนวนเซลล์ประสาท
-
มากที่สุดในสมองชั้นนอก
-
และดิฉันคิดว่า นี่คือคำอธิบายที่ง่ายที่สุด
-
สำหรับความสามารถในการเรียนรู้ของคนเรา
-
และสิ่งใดเล่าที่เราทำได้ แต่สัตว์อื่นทำไม่ได้
-
ที่กลายมาเป็นองค์ประกอบสำคัญ
-
ที่ทำให้เราสามารถมีเซลล์ประสาท
-
ในสมองชั้นนอกได้มากที่สุด
-
คำตอบก็คือ เราปรุงอาหารให้สุก
-
สัตว์อื่นปรุงอาหารให้สุกไม่ได้
มีแต่คนเราเท่านั้นที่ทำได้
-
และดิฉันคิดว่านั่นทำให้เรากลายมาเป็นมนุษย์ได้
-
การศึกษาสมองมนุษย์
ทำให้มุมมองต่ออาหารของดิฉันเปลี่ยนไป
¶
-
ดิฉันมองครัวของดิฉัน
-
และค้อมคำนับ
-
และดิฉันก็รู้สึกซาบซึ้งที่บรรพบุรุษของเรา
-
คิดค้นวิธีการที่ทำให้เราวิวัฒนาการเป็นมนุษย์ได้
-
ขอบคุณมากค่ะ
-
(เสียงปรบมือ)