Return to Video

จริยธรรมที่ตัดสินใจยาก: ฆาตกรรมเบอร์เกอร์ - จอร์จ ซีเดล และ คริสติน แลดวิก

  • 0:07 - 0:12
    เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา คุณก่อตั้ง
    บริษัทผลิตเบอร์เกอร์ไร้เนื้อสัตว์
  • 0:12 - 0:16
    ผลิตภัณฑ์ของคุณถูกส่งออกไปขายทั่วโลก
  • 0:16 - 0:19
    แต่คุณเพิ่งได้รับข่าวอันน่าสะพรึง
  • 0:19 - 0:25
    สามคนในเมืองหนึ่งเสียชีวิตลง
    หลังจากรับประทานเบอร์เกอร์ของคุณ
  • 0:25 - 0:29
    ตำรวจสรุปผลว่าคนร้าย
    มุ่งหวังทำลายบริษัทของคุณ
  • 0:29 - 0:34
    ด้วยการฉีดสารพิษเข้าไปในผลิตภัณฑ์
    อย่างน้อยในสองร้านค้า
  • 0:34 - 0:40
    คนร้ายใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กมาก
    จนไม่ปรากฏร่องรอยบนบรรจุภัณฑ์
  • 0:40 - 0:44
    จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะรู้ว่า
    สินค้าชิ้นใดมีสารพิษปนเปื้อนอยู่
  • 0:44 - 0:47
    เบอร์เกอร์ของคุณถูกเก็บออกจากชั้นวาง
    ในสองร้านค้า
  • 0:47 - 0:48
    ที่ผู้เสียหายซื้อไป
  • 0:48 - 0:51
    การเสียชีวิตกลายเป็นข่าวใหญ่
  • 0:51 - 0:55
    คนร้ายยังคงลอยนวล
    ขณะที่ยอดขายก็ดิ่งลงเหว
  • 0:55 - 0:59
    คุณจำเป็นต้องพัฒนากลยุทธ์
    มาจัดการกับวิกฤตินี้อย่างรวดเร็ว
  • 0:59 - 1:02
    ทีมของคุณเสนอสามทางเลือก
  • 1:02 - 1:04
    1. ไม่ต้องทำอะไรเลย
  • 1:04 - 1:09
    2. เก็บสินค้าออกจากร้านค้าในเมือง
    และทำลายมันทิ้ง
  • 1:09 - 1:14
    หรือ 3. เก็บและทำลายสินค้า
    ออกจากร้านค้าทั่วโลก
  • 1:14 - 1:17
    คุณจะเลือกทางไหน?
  • 1:17 - 1:21
    ทนายของบริษัทคุณอธิบายว่า
    ในทางกฎหมาย คุณไม่จำเป็นต้องเรียกคืนสินค้า
  • 1:21 - 1:24
    เพราะคนที่ต้องรับผิดชอบเรื่องนี้คือคนร้าย
  • 1:24 - 1:27
    เธอแนะนำทางเลือกที่หนึ่ง
    คือการไม่ทำอะไรเลย
  • 1:27 - 1:32
    การเรียกคืนสินค้าจะทำให้ดูเหมือนว่า
    เป็นการยอมรับผิด
  • 1:32 - 1:35
    แต่นั่นคือกลยุทธ์ที่มีจริยธรรมที่สุดหรือ?
  • 1:35 - 1:38
    การวัดความมีจริยธรรมในทางเลือกต่าง ๆ
  • 1:38 - 1:42
    คุณอาจต้องกระทำ
    "การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย"
  • 1:42 - 1:46
    นั่นคือการชั่งน้ำหนักผลประโยชน์
    ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ
  • 1:46 - 1:51
    เช่น ผู้ถือหุ้น พนักงาน และลูกค้า
    โดยนำมาเปรียบเทียบกัน
  • 1:51 - 1:53
    สำหรับทางเลือกแรก
  • 1:53 - 1:57
    ที่ปรึกษาของคุณแนะนำว่า
    ในท้ายที่สุด วิกฤตินี้ก็จะต้องจบลง
  • 1:57 - 2:01
    ยอดขายจะเพิ่มขึ้นแน่ ๆ
    แต่อาจจะไม่ดีเท่าที่ผ่านมา
  • 2:01 - 2:03
    จากความเสียหายของบริษัท
  • 2:03 - 2:06
    ผลที่ตามมาคือคุณจะต้อง
    ไล่พนักงานบางส่วนออก
  • 2:06 - 2:09
    ผู้ถือหุ้นจะขาดทุนเพียงเล็กน้อย
  • 2:09 - 2:15
    แต่อาจจะมีผู้เสียชีวิตมากขึ้น
    ถ้าฆาตกรฉีดสารพิษใส่ผลิตภัณฑ์อีก
  • 2:15 - 2:18
    ทางเลือกที่สองนั้น
    มีค่าใช้จ่ายสูงในระยะสั้น
  • 2:18 - 2:21
    และจะต้องไล่พนักงานออก
    มากกว่าทางเลือกแรก
  • 2:21 - 2:24
    ผู้ถือหุ้นก็จะขาดทุนมากกว่าทางเลือกแรก
  • 2:24 - 2:28
    แต่จะปลอดภัยกับผู้คนในเมืองมากกว่า
  • 2:28 - 2:33
    และอาจสร้างความเชื่อมั่น
    ทำให้ยอดขายดีดตัวกลับมาได้
  • 2:33 - 2:37
    ส่วนทางเลือกที่สาม
    มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในระยะสั้น
  • 2:37 - 2:42
    และจะต้องไล่พนักงานออกเป็นจำนวนมาก
    ผู้ถือหุ้นก็ขาดทุนอย่างหนัก
  • 2:42 - 2:46
    ถึงแม้ว่าคุณจะไม่มีหลักฐานที่ชี้ว่า
    คนร้ายจะก่อคดีในพื้นที่อื่น ๆ ทั่วโลก
  • 2:46 - 2:50
    แต่ทางเลือกนี้จะปลอดภัย
    กับผู้บริโภคมากที่สุด
  • 2:50 - 2:53
    มันเป็นความขัดแย้งที่ต้องเลือก
    ระหว่างผลประโยชน์ของลูกค้า
  • 2:53 - 2:56
    กับบรรดาผู้ถือหุ้นและพนักงาน
  • 2:56 - 2:59
    แล้วกลยุทธ์ไหนดีที่สุด?
  • 2:59 - 3:03
    เพื่อที่จะตัดสินใจ
    คุณอาจต้องพิจารณาถึงสิ่งเหล่านี้
  • 3:03 - 3:06
    ข้อแรก หลักประโยชน์นิยม
  • 3:06 - 3:09
    ประโยชน์นิยมคือหลักปรัชญา
    ที่ให้ความสำคัญ
  • 3:09 - 3:13
    กับการเกิดประโยชน์สูงสุด
    แก่คนจำนวนมากที่สุด
  • 3:13 - 3:17
    ทางเลือกใดจะเข้าหลักการนี้?
  • 3:17 - 3:20
    ข้อที่สอง หลักครอบครัว
  • 3:20 - 3:24
    คุณจะรู้สึกอย่างไรถ้าต้องอธิบายเหตุผล
    ของการตัดสินใจให้คนในครอบครัวฟัง?
  • 3:24 - 3:26
    ข้อที่สาม หลักหนังสือพิมพ์
  • 3:26 - 3:31
    คุณจะรู้สึกอย่างไรถ้าเห็นการตัดสินใจนั้น
    เป็นพาดหัวข่าวบนหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น?
  • 3:31 - 3:34
    สุดท้าย คุณอาจจะใช้หลักผู้ให้คำปรึกษา
  • 3:34 - 3:39
    ถ้าใครบางคนที่คุณชื่นชมต้องตัดสินใจ
    เขาคนนั้นจะเลือกทางไหน?
  • 3:39 - 3:45
    เจมส์ เบิร์ก ซีอีโอจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน
    เผชิญความท้าทายแบบเดียวกันนี้ในปี 1982
  • 3:45 - 3:51
    เมื่อคนร้ายแอบใส่ยาพิษไซยาไนด์
    ลงไปในขวดไทลินอล ในชิคาโก
  • 3:51 - 3:54
    ทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 คน
    และยอดขายก็ลดลง
  • 3:54 - 3:57
    นักวิเคราะห์มองว่าเหตุการณ์นี้
    อาจทำลายบริษัทได้เลย
  • 3:57 - 4:02
    เพื่อแสดงความรับผิดชอบ เบิร์กตัดสินใจ
    เก็บไทลินอลออกจากชั้นวางทั่วโลก
  • 4:02 - 4:07
    เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
    ซึ่งเป็นความสำคัญลำดับแรกของบริษัท
  • 4:07 - 4:13
    จอห์นสันแอนด์จอห์นสันเรียกคืนและทำลาย
    ไทลินอลรวมกว่า 32 ล้านขวด
  • 4:13 - 4:17
    ตีค่าได้ประมาณ 250 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน
  • 4:17 - 4:22
    1.5 ล้านขวดถูกเก็บกลับมาตรวจสอบ
    และพบว่า 3 ขวดในจำนวนทั้งหมด
  • 4:22 - 4:25
    ซึ่งล้วนแล้วเรียกคืนมาจากชิคาโก
  • 4:25 - 4:27
    พบไซยาไนด์ปะปนอยู่ในขวด
  • 4:27 - 4:31
    การตัดสินใจของเบิร์กเรียกคืนความเชื่อมั่น
    จากลูกค้าให้แก่บริษัท
  • 4:31 - 4:35
    และยอดขายก็ดีดตัวกลับขึ้นมาภายในปีเดียว
  • 4:35 - 4:39
    หลังจากเหตุการณ์ฆาตกรรมไทลินอล
    จอห์นสันแอนด์จอห์นสันกลายเป็นผู้นำ
  • 4:39 - 4:42
    ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ป้องกันการงัดแงะ
  • 4:42 - 4:45
    และการมาเป็นกฎข้อบังคับ
    จากทางรัฐบาลในเวลาต่อมา
  • 4:45 - 4:48
    อย่างไรก็ตาม คนร้ายไม่เคยถูกจับได้
  • 4:48 - 4:52
    การตัดสินใจของเบิร์กปกป้องผู้คน
    จำนวนมากจากการถูกฆาตกรรมด้วยยาพิษ
  • 4:52 - 4:58
    แต่หน่วยงานสืบสวนของรัฐบาล
    ก็ยังพบการฆาตกรรมเลียนแบบหลายร้อยครั้ง
  • 4:58 - 5:01
    ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์
    ภายในไม่กี่สัปดาห์ต่อมา
  • 5:01 - 5:05
    เราจะป้องกันเหตุการณ์เหล่านี้
    จากการตัดสินใจแบบอื่นหรือไหม?
  • 5:05 - 5:09
    การกระทำของเบิร์กทำประโยชน์แก่บริษัท
    หรือสาธารณะมากกว่ากัน?
  • 5:09 - 5:12
    นี่คือการตัดสินใจที่ดีทางจริยธรรม
    หรือเป็นแค่แผนการตลาด?
  • 5:12 - 5:18
    จริยธรรมที่ตัดสินใจยากทั้งหลายนั้น
    มันไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าถูกหรือผิด
  • 5:18 - 5:22
    และส่วนบริษัทผลิตเบอร์เกอร์ของคุณ
    ทางเลือกนั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณ
Title:
จริยธรรมที่ตัดสินใจยาก: ฆาตกรรมเบอร์เกอร์ - จอร์จ ซีเดล และ คริสติน แลดวิก
Speaker:
จอร์จ ซีเดล และ คริสติน แลดวิก
Description:

ดูบทเรียนฉบับเต็ม: https://ed.ted.com/lessons/ethical-dilemma-the-burger-murders-george-siedel-and-christine-ladwig

คุณก่อตั้งบริษัทผลิตเบอร์เกอร์ไร้เนื้อสัตว์ซึ่งส่งขายไปทั่วโลก แต่คุณเพิ่งได้รับข่าวสารสุดสะพรึง สามคนในเมืองหนึ่งเสียชีวิตลงหลังจากรับประทานเบอร์เกอร์ของคุณ มีผู้ไม่หวังดีฉีดสารพิษเข้าไปในผลิตภัณฑ์ของคุณ ข่าวการเสียชีวิตปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับและยอดขายดิ่งลงเรื่อย ๆ คุณจะจัดการกับสถานการณ์นี้อย่างไร? จอร์จ ซีเดล และ คริสติน แลดวิก จะมาแนะนำถึงกลยุทธ์สำหรับจริยธรรมที่ตัดสินใจยากนี้

บทเรียนโดย จอร์จ ซีเดล และ คริสติน แลดวิก กำกับโดย แพทริก สมิท

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:25
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for Ethical dilemma: The burger murders
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for Ethical dilemma: The burger murders
Supanat Termchaianan accepted Thai subtitles for Ethical dilemma: The burger murders
Supanat Termchaianan edited Thai subtitles for Ethical dilemma: The burger murders
Monsicha Suajorn edited Thai subtitles for Ethical dilemma: The burger murders

Thai subtitles

Revisions