Return to Video

ภาษาและศาสตร์แห่งการจับเท็จ — โนอาห์ แซนแดน (Noah Zandan)

  • 0:09 - 0:11
    "ขอโทษที มือถือแบตหมดน่ะ"
  • 0:11 - 0:13
    "ไม่มีอะไรจริงๆ ฉันสบายดี"
  • 0:13 - 0:17
    ข้ออ้างเหล่านี้
    ไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักความจริงแต่อย่างใด
  • 0:17 - 0:20
    "ทางบริษัทไม่มีส่วนรู้เห็นใดๆ ทั้งสิ้น
    กับการกระทำผิด"
  • 0:21 - 0:24
    "ฉันรักคุณ"
  • 0:24 - 0:26
    โดยทั่วไป เราอาจได้ยินคำโกหก
    ราว 10 ครั้งถึง 200 ครั้งต่อวัน
  • 0:26 - 0:30
    และเราก็พยายามคิดหาวิธีการจับเท็จ
    มาเป็นเวลานาน
  • 0:30 - 0:33
    จากเครื่องทรมานในสมัยกลาง
    มาจนถึงเครื่องจับเท็จ
  • 0:33 - 0:36
    เครื่องตรวจความดันและการหายใจ
    เครื่องวิเคราะห์เสียง
  • 0:36 - 0:39
    เครื่องวัดระดับการเคลื่อนไหวของดวงตา
    เครื่องสแกนสมอง
  • 0:39 - 0:42
    ไปจนถึงเครื่องแสดงภาพคลื่น
    กระแสไฟฟ้าของสมองขนาด 400 ปอนด์
  • 0:42 - 0:45
    ถึงแม้ว่าเครื่องมือเหล่านี้ถูกนำมาใช้
    ตรวจสอบในสถานการณ์เฉพาะ
  • 0:45 - 0:48
    แต่เครื่องมือก็ยังถูกหลอกได้
    ถ้าหากผู้ต้องหาเตรียมตัวมาดี
  • 0:48 - 0:52
    และสุดท้ายก็ไม่มีอะไรน่าเชื่อถือ
    พอที่จะเป็นที่ยอมรับได้ในศาล
  • 0:52 - 0:55
    ถ้าหากลองคิดดูอีกที
    ปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่เทคนิคก็ได้
  • 0:55 - 0:59
    แต่อาจเป็นการคาดการณ์ที่ว่า
    การโกหกไปกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
  • 0:59 - 1:01
    แล้วถ้าหากเราลองใช้วิธีการตรงๆ กว่า
  • 1:01 - 1:04
    โดยการนำวิทยาศาสตร์แห่งการสื่อสาร
    มาช่วยวิเคราะห์ความเท็จด้วยล่ะ
  • 1:05 - 1:10
    ในเชิงจิตวิทยา คนเราเลือกที่จะโกหกส่วนหนึ่ง
    ก็เพื่อที่จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตนเอง
  • 1:10 - 1:13
    โดยการเชื่อมโยงจินตนาการกับชีวิตในอุดมคติ
  • 1:13 - 1:15
    แทนที่จะเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง
  • 1:15 - 1:20
    ทว่าขณะที่สมองของเรามัวแต่วุ่นกับการวาดฝัน
    หารู้ไม่ว่าเราได้พลาดสัญญาณไปหลายอย่าง
  • 1:20 - 1:24
    สติของเราสามารถควบคุม
    กระบวนการคิดและรับรู้ได้เพียง 5%
  • 1:24 - 1:25
    รวมถึงการสื่อสาร
  • 1:25 - 1:29
    ในขณะที่อีก 95%
    เกิดขึ้นในขณะที่เราไม่ได้ตระหนัก
  • 1:29 - 1:32
    และจากข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบข้อเท็จจริง
  • 1:32 - 1:34
    เรื่องราวที่อ้างอิงจินตนาการ
  • 1:34 - 1:38
    มักจะมีน้ำหนักแตกต่างจาก
    ความเป็นจริงอย่างสิ้นเชิง
  • 1:38 - 1:42
    สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าการสร้างเรื่องส่วนตัวที่เป็นเท็จ
    ต้องใช้ความพยายามไม่น้อย
  • 1:42 - 1:45
    และมักแสดงความแตกต่าง
    เชิงแบบแผนการใช้ภาษา
  • 1:45 - 1:48
    เทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อความทางภาษาศาสตร์
    (linguistic text analysis)
  • 1:48 - 1:51
    ช่วยจำแนกแบบแผนการใช้ภาษาออกเป็น 4 แบบ
  • 1:51 - 1:53
    ภายใต้ศาสตร์แห่งการหลอกลวง
  • 1:54 - 1:58
    อันดับแรก คนที่โกหกมักหลีกเลี่ยง
    การอ้างถึงตัวเองเวลาโกหก
  • 1:58 - 2:02
    คนเหล่านี้มักเขียนหรืออ้างถึงคนอื่น
    โดยใช้สรรพนามบุรุษที่สามบ่อยครั้ง
  • 2:02 - 2:05
    เพื่อเลี่ยงการนำตัวเองเข้ามา
    เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตนสร้างขึ้น
  • 2:05 - 2:07
    ซึ่งกลับเพิ่มจุดด่างพร้อยให้มากขึ้นเช่น
  • 2:07 - 2:10
    "ไม่มีทางมีปาร์ตี้ที่บ้านนี้แน่ๆ"
  • 2:10 - 2:12
    หรือ "ฉันไม่ได้จัดปาร์ตี้ที่นี่นะ"
  • 2:13 - 2:16
    สอง คนโกหกมักจะพูดอะไรที่เป็นแง่ลบ
  • 2:16 - 2:19
    เพราะจิตใต้สำนึกของคนเหล่านั้น
    ก็รู้สึกผิดที่ต้องโกหก
  • 2:19 - 2:21
    ยกตัวอย่างเช่น คนที่โกหกมักพูดว่า
  • 2:21 - 2:26
    "ขอโทษนะ โทรศัพท์เฮงซวยของฉัน
    แบตหมดอีกละ เกลียดมันจริงๆ"
  • 2:26 - 2:29
    สาม โดยทั่วไปคนโกหกมักอธิบาย
    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน
  • 2:29 - 2:32
    เพราะสมองของเราจะต้องทำงานหนักมาก
    เพื่อสร้างเรื่องเท็จ
  • 2:32 - 2:33
    การตัดสินใจและการประเมิน
  • 2:33 - 2:36
    เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน
    สำหรับสมองที่จะสั่งการ
  • 2:36 - 2:39
    ดังเช่นครั้งที่ประธานาธิบดีท่านหนึ่งของอเมริกา
    ได้กล่าวยืนยันว่า
  • 2:39 - 2:42
    "ผมไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางเพศกับหญิงสาวผู้นั้น"
  • 2:42 - 2:45
    และสุดท้าย ถึงแม้ว่าคนโกหกมักจะใช้
    คำบรรยายที่ไม่ซับซ้อน
  • 2:45 - 2:48
    แต่พวกเขามีแนวโน้มที่จะใช้
    รูปประโยคที่ยาวและวกวน
  • 2:48 - 2:50
    โดยการใช้คำที่ฟุ่มเฟือย
  • 2:50 - 2:53
    พร้อมกับรายละเอียดที่ไม่จำเป็น
    แต่ฟังดูเหมือนจริงมาเสริมแต่งเรื่อง
  • 2:54 - 2:56
    ประธานาธิบดีอีกท่าน
    เคยออกมาโต้ตอบประเด็นฉาวไว้ว่า
  • 2:56 - 3:00
    "ผมขอพูดตามตรงว่า
    การสืบสวนครั้งนี้ชี้ชัดว่า
  • 3:00 - 3:01
    ไม่มีพนักงานคนใดในทำเนียบขาว
  • 3:01 - 3:04
    รวมไปถึงคณะบริหารคณะนี้
  • 3:04 - 3:07
    มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ประหลาดที่เกิดขึ้น"
  • 3:07 - 3:10
    ลองนำหลักวิเคราะห์ภาษา
    มาใช้กับตัวอย่างดังต่อไปนี้ดูบ้าง
  • 3:10 - 3:13
    เช่น เจ้าของแชมป์ตูร์เดอฟร็องส์ 7 ปีซ้อน
    อย่างแลนซ์ อาร์มสตรอง
  • 3:13 - 3:15
    เมื่อนำบทสัมภาษณ์ของเขา
    ในปี ค.ศ. 2005
  • 3:15 - 3:18
    ขณะที่เขาพยายามปฏิเสธข้อกล่าวหา
    เรื่องการใช้ยากระตุ้น
  • 3:18 - 3:21
    มาเปรียบเทียบกับปี ค.ศ. 2013
    ซึ่งเขาออกมายอมรับ
  • 3:21 - 3:25
    ผลวิเคราะห์เผยว่าเขาได้เพิ่มจำนวนการใช้
    บุรุษสรรพนามมากขึ้นเกือบ 3 ใน 4 ส่วน
  • 3:25 - 3:28
    ความแตกต่างของบทสัมภาษณ์
    ทั้งสองครั้งมีดังต่อไปนี้
  • 3:28 - 3:32
    ครั้งแรก: "โอเค อย่างที่รู้ๆ กันอยู่ว่า
    ชายฝรั่งเศสผู้หนึ่งในห้องแลปที่ปารีส
  • 3:32 - 3:36
    ได้เปิดตัวอย่างของคุณ
    ฌ็อง ฟรานซิส อะไรซักอย่าง แล้วก็ตรวจดู
  • 3:36 - 3:39
    และแล้วอยู่ๆ หนังสือพิมพ์ก็ติดต่อคุณมาว่า
  • 3:39 - 3:42
    "เราทราบมาว่ามีการตรวจพบ
    EPO ในร่างกายของคุณ"
  • 3:43 - 3:45
    ครั้งที่สอง: ผมไม่มีอะไรจะแก้ตัว
  • 3:45 - 3:48
    ผมเชื่อว่าหลายคนคงรับไม่ได้กับเรื่องแบบนี้
  • 3:48 - 3:50
    ผมเองก็รับไม่ได้เหมือนกัน
  • 3:50 - 3:53
    และเคยที่จะควบคุมทุกอย่างในชีวิตเสมอมา
  • 3:53 - 3:55
    ผมควบคุมทุกผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตผม"
  • 3:55 - 3:58
    ตอนที่อาร์มสตรอง
    ออกมาปฏิเสธสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
  • 3:58 - 4:00
    เขาเบี่ยงเบนประเด็นไปที่คนอื่น
  • 4:00 - 4:03
    ทั้งยังเลือกที่จะไม่พูดถึงตัวเองเลย
  • 4:03 - 4:05
    แต่เมื่อเขาออกมายอมรับ
    เขากลับเลือกใช้คำพูดของตัวเอง
  • 4:05 - 4:09
    ซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยอารมณ์
    ความรู้สึกและแรงบันดาลใจ
  • 4:09 - 4:13
    แต่การใช้บุรุษสรรพนาม
    ก็เป็นอีกหนึ่งตัวบ่งชี้ของการหลอกลวง
  • 4:13 - 4:15
    ลองมาดูอีกหนึ่งตัวอย่างจากอดีตวุฒิสมาชิก
  • 4:15 - 4:18
    และผู้สมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา
    จอห์น เอ็ดเวิร์ด กล่าวว่า
  • 4:18 - 4:21
    "ผมรู้แค่ว่าผู้ที่อ้างว่าเป็นพ่อเด็ก
    ได้ออกมายอมรับอย่างเปิดเผยแล้ว
  • 4:21 - 4:23
    ว่าเขาเป็นพ่อที่แท้จริงของเด็ก
  • 4:23 - 4:26
    ผมเองก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ
    กับการกระทำใดๆ ที่ระบุไว้
  • 4:26 - 4:29
    ว่ามีการร้องขอ ตกลง
    หรือสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ
  • 4:29 - 4:32
    ให้กับฝ่ายหญิงหรือฝ่ายที่อ้างว่าเป็นพ่อเด็ก"
  • 4:32 - 4:36
    นี่ไม่เพียงแต่จะเป็นคำพูดที่ยืดเยื้อวกวน
    ของประโยคสั้นๆ ที่ว่า "เด็กคนนี้ไม่ใช่ลูกของผม"
  • 4:36 - 4:39
    แต่เอ็ดเวิร์ดไม่เคยระบุชื่อจริง
    ของบุคคลอื่นที่เขากล่าวถึงเลย
  • 4:39 - 4:43
    เขากลับใช้คำว่า"เด็กคนนั้น"
    "หญิงสาวผู้นั้น" และ"ผู้ที่อ้างว่าเป็นพ่อเด็ก"
  • 4:43 - 4:46
    ต่อไปเรามาดูกันว่าเขาจะพูดอย่างไร
    ตอนยอมรับว่าเป็นพ่อที่แท้จริง
  • 4:46 - 4:48
    "ผมเป็นพ่อของควินน์
  • 4:48 - 4:50
    และผมจะทุ่มเททุกอย่างเพื่อเธอ
  • 4:50 - 4:52
    ด้วยความรักและความเอาใจใส่
    ที่เธอสมควรจะได้รับ"
  • 4:53 - 4:55
    ช่างเป็นคำแถลงที่สั้น
    และตรงไปตรงมา
  • 4:55 - 4:58
    ไม่ว่าจะเป็นการเรียกชื่อจริงของเด็ก
    และการกล่าวถึงบทบาทของเขาในฐานะพ่อ
  • 4:58 - 5:02
    สรุปแล้ว คุณจะนำเทคนิคการจับเท็จเหล่านี้
    ไปใช้ได้อย่างไร
  • 5:02 - 5:05
    อันดับแรกจงอย่าลืมว่าในแต่ละวัน
    เรามีโอกาสเผชิญหน้ากับการโกหกได้เสมอ
  • 5:05 - 5:10
    ตั้งแต่รูปแบบที่ร้ายแรงน้อยกว่าตัวอย่างเหล่านี้
    และแบบที่ไร้ซึ่งพิษภัยใดๆ
  • 5:10 - 5:13
    แต่มันก็ยังเป็นการสมควร
    ที่เราจะตระหนักถึงพฤติกรรมที่น่าสงสัย
  • 5:13 - 5:16
    เช่นการหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงตัวเอง
    การใช้ภาษาที่สื่อความในแง่ลบ
  • 5:16 - 5:19
    คำอธิบายง่ายๆ และการพูดจาวกวน
  • 5:20 - 5:23
    มันอาจช่วยให้เราเลี่ยง
    การประเมินราคาที่สูงจนเกินไป
  • 5:23 - 5:26
    ระวังสินค้าที่ไร้ประสิทธิภาพ
    หรือแม้แต่ความสัมพันธ์ที่แสนแย่
Title:
ภาษาและศาสตร์แห่งการจับเท็จ — โนอาห์ แซนแดน (Noah Zandan)
Speaker:
Noah Zandan
Description:

เชิญชมบทเรียนฉบับเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/the-language-of-lying-noah-zandan

โดยทั่วไปเราอาจได้ยินคนพูดโกหกราว 10 ถึง 200 ครั้งต่อวัน และถึงเราจะพยายามคิดหาวิธีการจับเท็จเหล่านี้มาเป็นเวลานาน เช่น การจับพิรุธจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายขณะพูด แต่วิธีการเหล่านี้กลับถูกแย้งว่าไม่มีความน่าเชื่อถือเพียงพอ ถ้าเช่นนั้นแล้ว จะมีวิธีการใดอีกที่จะนำมาช่วยพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้กับเราได้ โนอาห์ แซนแดน (Noah Zandan) จะพาเราไปพบกับศาสตร์แห่งการจับเท็จผ่านวิทยาศาสตร์แห่งการสื่อสารซึ่งสามารถนำมาช่วยวิเคราะห์ความเท็จได้โดยตรง

บทเรียนโดย โนอาห์ แซนแดน (Noah Zandan) แอนิเมชันโดย The Moving Company Animation Studio.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:42
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The language of lying
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for The language of lying
Faii Athiprayoon edited Thai subtitles for The language of lying
Faii Athiprayoon edited Thai subtitles for The language of lying
Faii Athiprayoon edited Thai subtitles for The language of lying
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for The language of lying
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The language of lying
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The language of lying
Show all

Thai subtitles

Revisions