Return to Video

ธรรมะเสวนาในเทศกาลดอกไม้แดฟอดีล วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคา 2556

  • 0:10 - 0:14
    อรุณสวัสดิ์ สหายธรรมทุกท่าน วันนี้เราจะสื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ
  • 0:15 - 0:19
    วันนี้เป็นวันที่ 10 มีนาคม พศ 2556
  • 0:20 - 0:25
    และเราอยู่ในห้องประชุมใหญ่เพื่อการภาวนา ห้องStill-water หมู่บ้านพลัม
  • 0:27 - 0:31
    มีกี่ท่านที่จะรับฟังเป็นภาษาอังกฤษได้โดยตรง
  • 0:35 - 0:36
    คนส่วนใหญ่ยกมือ
  • 0:42 - 0:47
    จะมีคนประมาณ 600 ท่านจะมาร่วมงาน French Retreat ในอีกไม่กีวันข้างหน้า
  • 0:50 - 0:53
    ท่าน ไฮ เหงียม ได้นำเสนอ
  • 0:59 - 1:05
    บางหัวข้อ บางสาระสำคัญของการเรียนการสอนและการปฏิบัติเอาไว้
  • 1:07 - 1:08
    ประการแรกคือ
  • 1:11 - 1:17
    "ความสุขเป็นสิ่งที่เป็นไปได้"
  • 1:20 - 1:25
    ประการที่สองคือ "การรักษาเยียวยาเป็นสิ่งที่เป็นไปได้"
  • 1:27 - 1:32
    เนื่องจากคนจำนวนมากต้องการ การเยียวยา
  • 1:34 - 1:38
    คนส่วนมากที่มาที่นี่ มาเพื่อการเยียวยาบำบัด
  • 1:42 - 1:46
    ดังนั้น ทำอย่างไรให้มีชีวิตอยู่อย่างล้ำลึก ในช่วงเวลาชีวิตหนึ่งของเรา
  • 1:50 - 1:56
    อีกแนวคิดหัวข้อหนึ่งคือ "การกลับบ้าน" (การกลับสู่ใจตน)
  • 1:57 - 2:00
    ไม่ต้องเที่ยวไปหาจากที่อื่น แต่คือการกลับบ้าน
  • 2:02 - 2:07
    นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ
  • 2:09 - 2:10
    การฝึกฝนตนเอง
  • 2:12 - 2:13
    และก็
  • 2:15 - 2:19
    "การไหลรวมไปเป็นหนึ่งเดียวกับสายน้ำ"
  • 2:19 - 2:21
    ไม่ใช่การเป็นแค่หยดน้ำ
  • 2:21 - 2:24
    นี่เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับนักปฏิบัติ
  • 2:26 - 2:29
    เราไม่สามารถฝึกหัดได้จนกว่าเราจะมี กลุ่มคณะสงฆ์
  • 2:30 - 2:33
    และร่วมกับกลุ่มสงฆ์ เราสามารถไหลรวมกันไปเหมือนสายน้ำเดียวกัน
  • 2:35 - 2:39
    ดังนั้น ไม่ใช่แค่ผู้คนที่จะมาร่วมที่ต้องการสิ่งนั้น
  • 2:40 - 2:44
    แต่เป็นเราทั้งหมดที่อยู่ในหมู่บ้านพลัมแห่งนี้ด้วย
  • 2:44 - 2:47
    เราเองก็ต้องฝึกฝนปฏิบัติเช่นเดียวกัน
  • 2:54 - 2:57
    สำหรับสหายผู้ที่กำลังจะมาร่วมงาน
  • 2:59 - 3:05
    เขากำลังจะเข้าร่วมในการเตรียมงาน
  • 3:05 - 3:12
    เขาจะมาช่วยเหลือด้านการปฏิบัติ การชำระล้าง การทำความสะอาดปัดเป่า และอื่นๆ
  • 3:13 - 3:17
    หลายคนเต็มใจทำ
  • 3:19 - 3:25
    เต็มใจช่วยเหลือคณะสงฆ์ในระหว่างช่วงเวลาแห่งความสงบ
  • 3:29 - 3:36
    ดังนั้นเราต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติ การชำระล้าง การทำความสะอาดปัดเป่า อย่างสงบเย็นเป็นสุข
  • 3:36 - 3:41
    เพราะว่านี่เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกหัดและเรียนรู้
  • 3:42 - 3:45
    เราควรจะมีตัวอย่างให้ดู
  • 3:45 - 3:50
    เพราะว่าเราเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรใต้ร่มบวรศาสนา
  • 4:02 - 4:08
    ผมจะให้มีการซักถามในภาษาฝรั่งเศษสักสามข้อ
  • 4:09 - 4:15
    อาจจะมีบางคนถามบางคนตอบ
  • 4:18 - 4:22
    ดังนั้นจึงมีสามครั้งที่เราจะร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว
  • 4:27 - 4:30
    หรือเรียกอีกอย่างว่าเราเป็นเจ้าบ้าน
  • 4:32 - 4:37
    นอกเหนือจากการสนทนาธรรมและการอภิปราย และอื่นๆ
  • 4:48 - 4:50
    หลังจากการเยียวยาบำบัดแล้ว
  • 4:50 - 4:54
    ผมและคณะสงฆ์จำนวนหนึ่งจะบินไปเอเชีย
  • 5:02 - 5:08
    เรามีตารางงานที่แน่นมากในเกาหลี ฮ่องกง
  • 5:11 - 5:12
    และที่ประเทศไทย
  • 5:22 - 5:27
    เพราะว่าคนที่นั่นต้องการเราเป็นอย่างมากในการปรากฏตัวครั้งนี้ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • 5:50 - 5:53
    เรารู้ว่าการฝึกหัดที่หมู่บ้านพลัม
  • 5:55 - 6:02
    สามารถเห็นได้เป็นสองแง่มุม
  • 6:03 - 6:07
    มุมแรกคือ เราจะตระหนักรู้ถึงความทุกข์ได้อย่างไร
  • 6:08 - 6:10
    และการโอบกอดรับความรู้สึกนั้นไว้ให้ได้
  • 6:11 - 6:15
    การเปลี่ยนมุมมองของเราที่มีต่อทุกข์นั้น และนี่เป็นเรื่องของศิลปะการดำรงชีวิต
  • 6:17 - 6:22
    เพราะการมีชีวิตนั้น เป็นเรื่องที่ต้องเกี่ยวข้องกับความทุกข์และความสุขอยู่ตลอดเวลา
  • 6:23 - 6:25
    เราไม่สามารถหลีกพ้นเรื่องของความทุกข์ได้
  • 6:27 - 6:31
    ดังนั้นเราก็จึงต้องยอมรับว่ามีความทุกข์เกิด เราต้องเรียนรู้วิธีการรับมือกับความเจ็บปวด
  • 6:34 - 6:37
    ซึ่งถ้าเรารู้วิธีการรับมือได้ จะทำให้เรามีความทุกข์น้อยลง
  • 6:38 - 6:42
    และเราก็จะได้เรียนรู้เป็นอย่างมากจากความทุกข์ที่จรเข้ามา
  • 6:46 - 6:51
    และเรารู้วิธีดับทุกข์และใช้ความทุกข์นั้นให้เกิดประโยชน์
  • 6:52 - 6:55
    เพื่อก่อให้เกิดความสุข
  • 6:56 - 6:59
    เหมือนกับวิธีที่เราปลูกดอกบัว
  • 6:59 - 7:03
    ถ้าเราต้องการให้ดอกบัวเบิกบาน เราต้องมีโคลนตม
  • 7:03 - 7:06
    ความเจ็บปวดหรือความทุกข์ก็เหมือนโคลนตมที่เราต้องการ
  • 7:07 - 7:11
    เพื่อให้เราได้ตระหนักรับรู้ถึงความเบิกบานและความสงบสุข
  • 7:13 - 7:19
    สิ่งแรกของการฝึกปฏิบัติคือทำอย่างไรที่จะให้ตระหนักถึงความทุกข์
  • 7:22 - 7:24
    และทำอย่างไรจึงจะโอบกอดความทุกข์นั้นไว้ได้
  • 7:25 - 7:27
    และแปลงร่างทุกข์นั้นใหม่
  • 7:28 - 7:34
    เราจะพูดถึงเรื่องศิลปะแห่งการจัดการกับความทุกข์
  • 7:35 - 7:39
    ดูเหมือนว่า ท่านดาไลลามะ
  • 7:39 - 7:43
    ได้เขียนหนังสือหัวข้อว่า ศิลปะแห่งความสุข
  • 7:45 - 7:51
    เราต้องมีหนังสืออีกเล่มว่า ศิลปะแห่งการเป็นทุกข์
  • 7:53 - 7:58
    เป็นเพราะว่า ถ้าเรารู้วิธีการจัดการกับความทุกข์ เราจะเจ็บปวดน้อยลง
  • 7:58 - 8:04
    และเราก็จะได้เรียนรู้จากมันด้วย เป็นการใช้ประโยชน์จากความทุกข์นั่นเอง
  • 8:09 - 8:14
    สำหรับนักปฏิบัติที่แท้จริงแล้ว เราตระหนักถึงสิ่งนั้นแล้ว
  • 8:15 - 8:20
    เรามีประสบการณ์ตรงในการจัดการกับความทุกข์
  • 8:22 - 8:25
    เราต้องเรียนรู้วิธีการเป็นทุกข์อย่างมีศิลปะ
  • 8:26 - 8:31
    เราต้องสามารถยิ้มได้กับความทุกข์
  • 8:34 - 8:36
    อย่างสงบร่มเย็น
  • 8:37 - 8:39
    เหมือนเรายิ้มให้กับโคลนตม
  • 8:39 - 8:44
    เมื่อเรารู้แล้วว่าทำอย่างไรให้โคลนตมเป็นประโยชน์
  • 8:44 - 8:46
    เพื่อที่จะให้ดอกบัวได้เบิกบาน
  • 9:14 - 9:17
    เจ็บปวดเพียงเล็กน้อย
  • 9:20 - 9:23
    วิธีการจัดการกับความทุกข์ทรมาน
  • 9:26 - 9:30
    ถ้าเรารู้วิธีการจัดการกับความทุกข์เล็ก ๆ น้อยๆ เราก็ไม่ต้องเจ็บปวด
  • 9:31 - 9:33
    มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
  • 9:45 - 9:50
    เรารู้วิธีการจัดการกับความทุกข์ในทุกห้วงขณะที่มันยังเล็ก ๆ อยู่
  • 9:52 - 9:58
    เราควรได้แบ่งปันประสบการณ์การฝึกฝนของเราให้กับผู้ที่เข้ามาร่วมงาน
  • 10:04 - 10:13
    เราไม่ตื่นกลัวกับความเศร้าสร้อยเพียงเล็กน้อย ความเจ็บปวดเพียงเล็กน้อย เพราะเรารู้วิธีการจัดการกับมัน
  • 10:14 - 10:16
    มันเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตอยู่ในทุกๆ วัน
  • 10:17 - 10:21
    และเมื่อความรู้สึกเจ็บปวดถูกหยุดไว้ได้
  • 10:23 - 10:28
    เราควรเรียนรู้จากมัน โอบกอดมัน
  • 10:28 - 10:34
    ใช้ประโยชน์จากพลังแห่งคณะสงฆ์
  • 10:35 - 10:36
    เพื่อที่จะกอดรับมันไว้
  • 10:37 - 10:43
    ในฐานะนักฝึกฝนมือใหม่
  • 10:45 - 10:47
    เพิ่งเริ่มต้นการฝึก
  • 10:48 - 10:51
    เราอาจจะไม่สามารถจับความรู้สึกเป็นทุกข์ได้ทัน
  • 10:51 - 10:55
    เพราะจิตใจของเรายังไม่พร้อม
  • 10:57 - 11:02
    ไม่เบิกบาน ไม่มีพลังเพียงพอ
  • 11:02 - 11:07
    ดังนั้น เราสามารถหยิบยืมพลังจากความสงบภายในใจมาเป็นเครื่องช่วย
  • 11:07 - 11:09
    พลังจากคณะสงฆ์
  • 11:10 - 11:14
    เพื่อที่จะได้รับรู้และตระหนักในการหยุดความทุกข์ที่มีอยู่ในตัวเรา
  • 11:15 - 11:21
    ความเจ็บปวดเหล่านั้น อาจจะถูกแปลงร่างโดยบิดา
  • 11:21 - 11:23
    มารดา หรือบรรพบุรษของเรา
  • 11:31 - 11:36
    ถ้าเรารู้วิธีการ ที่จะตระหนัก รับรู้ และเปลี่ยนมัน
  • 11:37 - 11:41
    เราก็สามารถทำเผื่อให้กับบิดา มารดา และบรรพบุรุษเราได้
  • 11:42 - 11:50
    เป็นสิ่งดีมากที่เราจะทำให้พ่อแม่ของเรา และเพื่อบรรพบุรุษของเรา
  • 11:51 - 11:55
    และเราจะไม่ต้องส่งต่อความทุกข์นี้ผ่านไปให้ลูกหลาน
  • 11:56 - 11:58
    เป็นการจบสิ้นของวัฏสงสาร
  • 12:07 - 12:11
    ผู้คนมากมาย ที่อ่านหนังสือเกี่ยวกับเรื่องความสงบสุขของหมู่บ้านพลัม
  • 12:14 - 12:18
    ได้ยินได้ฟังเรื่องความสงบ เรื่องพลังของนักบวช แม่ชี
  • 12:21 - 12:26
    เมื่อเขาได้มาที่หมู่บ้านพลัมแล้ว อย่างน้อยได้นั่งคุยกับเรา เดินไปกับเรา
  • 12:29 - 12:33
    เขาสามารถรับรู้ถึงพลังสงบอันนั้น ซึ่งเป็นความจริงที่สามารถสัมผัสได้
  • 12:35 - 12:37
    ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เรื่องที่คนพูดถึงกันเฉยๆ
  • 12:40 - 12:42
    เมื่อเราอนุญาติให้ตัวเองได้ตระหนัก
  • 12:43 - 12:46
    ได้เก็บเกี่ยวความรู้สึกถึงพลังแห่งความสงบ
  • 12:47 - 12:48
    ท่านจะรู้สึกดีขึ้นมาก
  • 12:49 - 12:53
    ท่านจะรู้สึกว่า ความทุกข์นั้นได้เริ่มต้นเปลี่ยนแปลง
  • 12:56 - 13:01
    ดังนั้นการเป็นหมู่คณะสงฆ์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก
  • 13:04 - 13:08
    พระ แม่ชี นักปฏิบัติ ที่นั่งอยู่รวมกัน
  • 13:09 - 13:15
    เขามาด้วยความสงบ และความตระหนักรู้ของเขาเหล่านั้นก็เป็นสิ่งที่มีพลังมาก
  • 13:15 - 13:18
    ถ้าเรารู้วิธีที่จะนั่งอยู่ร่วมกันท่ามกลางท่านเหล่านั้น
  • 13:19 - 13:23
    เราสามารถขจัดทุกข์ได้ด้วยการตระหนักรู้
  • 13:24 - 13:30
    เราจะเหมือนหยดน้ำหยดหนึ่งที่ไหลหลวมไปกับห้วงมหานที และเราจะรู้สึกดีขึ้นมาก
  • 13:31 - 13:34
    เราไม่ต้องทำอะไรเลย
  • 13:34 - 13:38
    แค่อนุญาติให้ตัวเราเองได้เปิดใจยอมรับ
  • 13:38 - 13:42
    อนุญาติให้ความทุกข์ได้เป็นที่ตระหนัก ด้วยการร่วมภาวนาไปกับคณะสงฆ์
  • 13:44 - 13:50
    นั่นเองเป็นสิ่งยอดเยี่ยมที่สุดที่คณะสงฆ์จะให้ได้กับคนทั่วไปที่มาเข้าร่วม
  • 14:05 - 14:10
    แน่นอนว่าเราต้องเตรียมการหลายอย่าง
  • 14:11 - 14:13
    เพื่อการบำบัดรักษา
  • 14:14 - 14:16
    เราต้องทำหลายสิ่งหลายอย่าง
  • 14:21 - 14:24
    เราได้ชำระล้าง เราได้ทำความสะอาด
  • 14:25 - 14:28
    ได้ปฏิบัติ ได้ทำอีกหลายสิ่งเพื่อการบำบัดรักษา
  • 14:28 - 14:31
    เราสามารถเป็นที่พึ่งให้กับผู้คน
  • 14:32 - 14:34
    เราสามารถช่วยเขาได้
  • 14:35 - 14:39
    สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราจะให้เขาได้
  • 14:39 - 14:41
    สิ่งที่มีค่ามากที่สุดที่จะให้เขาได้
  • 14:43 - 14:45
    ไม่ใช่เรื่องของแรงงาน
  • 14:45 - 14:49
    การทำงานหนัก
  • 14:49 - 14:51
    สิ่งที่ดีที่สุดที่เราจะทำให้ได้นั้น
  • 14:52 - 14:56
    คือการสะสมพลังจิตและความสงบ
  • 14:59 - 15:02
    นั่นเป็นเหตุผลทีว่า ระหว่างที่เรานั่งทำสมาธิ เดินจงกรม
  • 15:02 - 15:05
    เราต้องพยายามให้ถึงที่สุดให้อยู่กับปัจจุบันขณะ
  • 15:06 - 15:12
    เพราะการสะสมการปฏิบัตินั้นจะช่วยให้พวกเขาสงบลง
  • 15:13 - 15:15
    ช่วยให้เขาตระหนักรู้ถึงความทุกข์ที่มีอยู่
  • 15:16 - 15:20
    เพื่อให้เขาได้เดิน ได้นั่ง ได้หายใจ
  • 15:20 - 15:23
    หลายคนยังไม่เคยหายใจอย่างถูกต้อง
  • 15:24 - 15:28
    ไม่เคยเดิน ไม่เคยนั่ง
  • 15:29 - 15:32
    และที่เราจะรวมพลังแห่งการมีสติระลึกรู้
  • 15:32 - 15:34
    ในฐานะของกลุ่มสงฆ์
  • 15:35 - 15:38
    เราสามารถช่วยให้พวกเขามีโอกาส
  • 15:39 - 15:42
    ช่วยให้เขาได้ฝึกหายใจเป็น
  • 15:43 - 15:45
    เดินเป็น นั่งเป็น
  • 15:46 - 15:52
    นี่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เราในฐานะสงฆ์จะกระทำได้
  • 15:54 - 15:55
    มันจึงไม่ใช่เรื่องของการใช้แรงงาน
  • 15:56 - 15:59
    แต่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดทีเราจะทำให้ได้
  • 15:59 - 16:04
    พลังแห่งความสงบและเบิกบานของนักบวช
  • 16:31 - 16:33
    ผู้คนที่มาร่วมนั้นเป็นคนที่โชคดีมาก
  • 16:34 - 16:38
    เพราะว่าเขาสามารถที่จะจัดการเวลาในชีวิตได้
  • 16:41 - 16:43
    เพื่อมาเข้าร่วมพิธีกับเรา
  • 16:44 - 16:46
    หลายคนอาจจะอยากมา
  • 16:47 - 16:49
    แต่ไม่สามารถมาได้
  • 16:49 - 16:54
    ไม่มีเวลา ไม่มีปัจจัย
  • 16:55 - 16:59
    ดังนั้นคนที่จะมาร่วมนั้น
  • 16:59 - 17:01
    เป็นกลุ่มคนที่โชคดีแล้ว
  • 17:02 - 17:05
    ที่จะได้เข้าร่วมพิธีกับคณะสงฆ์ถึงเจ็ดวัน
  • 17:09 - 17:12
    เราต้องตระหนักในข้อนี้
  • 17:14 - 17:16
    เราต้องพยายามให้ถึงที่สุดที่จะ
  • 17:17 - 17:21
    มอบโอกาสในการเปลี่ยนแปลงชีวิตและบำบัดรักษาจิตใจ
  • 17:26 - 17:28
    ผมจะบอกพวกเขาว่า
  • 17:28 - 17:30
    ในวันแรกของการบำบัด
  • 17:31 - 17:32
    การเยียวยาเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
  • 17:33 - 17:35
    ในห้วงขณะที่ได้กระทำทันที
  • 17:38 - 17:41
    มิใช่หลังจากกระทำแต่เป็นขณะที่ได้กระทำ
  • 17:42 - 17:45
    เพราะว่าถ้าเขารู้วิธีการทำตาม
  • 17:46 - 17:49
    การหายใจ การนั่ง การเดิน
  • 17:49 - 17:53
    การบำบัดจะเกิดขึ้นได้ในทุกอิริยาบถ
  • 17:53 - 17:56
    การบำบัดปลดทุกข์สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกลมหายใจ
  • 18:01 - 18:03
    และนี่เป็นสัจธรรมความจริง
  • 18:04 - 18:07
    ไม่มีทางอื่นในการปลดทุกข์ การบำบัดเป็นหนทางเดียว
  • 18:12 - 18:16
    เราต้องบอกเขาว่า เพื่อให้การปลดทุกข์เป็นไปได้ เขาต้องหยุด
  • 18:23 - 18:26
    ถ้าเขาไม่หยุด ก็ไม่มีหวังที่จะได้บำบัดรักษา
  • 18:31 - 18:36
    เขาไม่ได้ชำระจิตใจอะไรเลยถ้าเขาไม่หยุด
  • 18:37 - 18:40
    ดังนั้นการสอนห้าบัญญัติ การมีสติสัมปชัญญะจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
  • 18:42 - 18:47
    เพื่อให้เกิดการหยุด
  • 18:48 - 18:53
    การกระทำต่างๆ การคิดที่จะก่อให้เกิดการปรุงแต่ง
  • 18:55 - 18:57
    การเป็นผู้ป่วย
  • 18:57 - 18:59
    ความเจ็บป่วย
  • 19:01 - 19:07
    บัญญัติการฝึกห้าประการ ยังเป็นเรื่องของกระบวนการคิดและการกระทำ
  • 19:07 - 19:09
    ที่จะมีผลต่อการบำบัดรักษา
  • 19:11 - 19:16
    ดังนั้นจึงเลี่ยงการฝึกฝนห้าประการนี้ไม่ได้
  • 19:21 - 19:23
    การหยุด เป็นเรื่องที่สำคัญมาก
  • 19:25 - 19:27
    หยุด และ บำบัด
  • 19:28 - 19:35
    นั่นก็เป็นหัวข้อใหญ่ที่เราอยากนำเสนอ ในการสอนที่เกาหลีใต้
  • 19:41 - 19:47
    ถ้าเรารู้วิธีหยุด วิธีการรักษาสามารถเกิดขึ้นได้เลยทันที
  • 19:47 - 19:49
    ในทุกช่วงของการฝึกปฏิบัติ
  • 19:52 - 19:54
    ทุกลมหายใจเข้าออก
  • 19:55 - 19:58
    เราต้องให้เขาเชื่อให้ได้
  • 19:59 - 20:00
    ให้เขาหยุด
  • 20:02 - 20:04
    หยุดในทุกการกระทำทุกอย่างที่ดำเนินไป
  • 20:05 - 20:06
    ที่จะนำไปสู่
  • 20:07 - 20:09
    ความเจ็บปวด
  • 20:10 - 20:12
    ความโกรธเคือง ความผิดหวัง
  • 20:19 - 20:21
    เขาต้องรู้ว่าจะหยุดอะไร
  • 20:23 - 20:24
    เพื่อการบำบัดเยียวยา
  • 20:27 - 20:29
    เราจะเป็นผู้บอกหนทาง
  • 20:30 - 20:35
    เราได้เคยหยุดมาแล้ว
  • 20:36 - 20:38
    และได้เริ่มการบำบัดรักษา
  • 20:39 - 20:42
    เราต้องแบ่งปันประสบการณ์
  • 20:45 - 20:49
    ในขณะที่เราตัดสินใจที่จะหยุดทันที เราจะรู้สึกสงบเบาบาง
  • 20:50 - 20:53
    การบำบัดรักษาก็เกิดขึ้นทันใด
  • 20:54 - 20:56
    เป็นช่วงเวลาที่ยอดเยี่ยม
  • 20:56 - 20:59
    การตัดสินใจที่จะหยุด
  • 21:16 - 21:18
    แล้วเราก็จะบอกพวกเขาว่า
  • 21:19 - 21:24
    เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ที่จะสร้างปัจจุบันขณะแห่งความสงบร่มเย็นในชีวิตปกติประจำวัน
  • 21:26 - 21:28
    มี
  • 21:30 - 21:32
    ความสุข
  • 21:33 - 21:35
    เล็ก ๆ
  • 21:35 - 21:39
    ที่เราสามารถสร้างได้ในชีวิตประจำวัน
  • 21:39 - 21:41
    เป็นศิลปะ
  • 21:42 - 21:44
    ศิลปะ
  • 21:44 - 21:46
    แห่งความสุข
  • 21:48 - 21:50
    ไม่ว่าท่านจะดื่มชาสักถ้วย
  • 21:51 - 21:54
    หรือท่านจะเดินไปตามทาง หรือนั่งลง และจ้องมอง
  • 21:54 - 21:58
    ท่านสามารถที่จะมีความสุขได้ในทุกช่วงเวลา
  • 22:00 - 22:05
    องค์ประกอบที่จะทำให้เกิดช่วงขณะแห่งความเบิกบาน
  • 22:06 - 22:07
    สามารถสังเกตุได้
  • 22:13 - 22:18
    เรารู้ว่าการมีสติเป็นจุดเริ่มต้นของความสดชื่นเบิกบาน เป็นจุดเริ่มต้นของความสุข
  • 22:23 - 22:25
    ผู้คนชอบบ่นว่า
  • 22:26 - 22:29
    เขาไม่มีความสุข
  • 22:31 - 22:33
    เราต้องสามารถบอกกล่าวแก่เขาได้
  • 22:33 - 22:37
    ว่าเขามีเงื่อนไขในการทำให้ตัวเองมีความสุข
  • 22:38 - 22:43
    เราสามารถช่วยเขาให้จดจำสภาวะแห่งความสุข
  • 22:46 - 22:49
    ดอกไม้ในใจจะเบิกบาน
  • 22:57 - 23:00
    แต่เขาไม่สามารถ
  • 23:03 - 23:06
    พินิจพิจารณา มีความสุขเบิกบาน
  • 23:08 - 23:10
    แสงอาทิตย์สาดส่องอยู่ตรงนั้น
  • 23:11 - 23:13
    ฤดูใบไม้ผลิที่กำลังเข้ามา สิ่งเหล่านี้
  • 23:14 - 23:17
    คือปาฏิหารย์แห่งชีวิต
  • 23:17 - 23:20
    เขาถูกตรึงอยู่ในบางสิ่งบางอย่าง
  • 23:20 - 23:22
    เขาไม่สามารถที่จะ
  • 23:23 - 23:25
    ตระหนักรู้ได้
  • 23:28 - 23:29
    ถึงเงื่อนไขแห่งความสุข
  • 23:30 - 23:32
    เขามีร่างกาย
  • 23:33 - 23:36
    แต่ไม่สามารถเข้าถึงการมีของกายเนื้อได้
  • 23:37 - 23:40
    มันน่าขำ เธอมีร่างกาย แต่เข้าไม่ถึงเนื้อกาย
  • 23:44 - 23:46
    เธอไม่สามารถเข้าถึงบ้านอันเป็นร่างกายของเธอได้
  • 23:47 - 23:50
    เธอไม่สามารถที่จะแตะกายแล้วบอกได้
  • 23:50 - 23:52
    ว่านี่คือกายของฉัน
  • 23:53 - 23:55
    เพราะเขาไม่มีความตื่่นรู้
  • 24:00 - 24:03
    ในขณะที่เขานั่งอยู่ที่หน้าคอมพิวเตอร์
  • 24:03 - 24:06
    เขาลืมว่าเขามีร่างกาย
  • 24:08 - 24:09
    เขาตกอยู่ใน
  • 24:11 - 24:12
    ห้วงแห่ง
  • 24:15 - 24:17
    โลกสมมุติ
  • 24:23 - 24:26
    และนี่คือเหตุผลว่าทำไมหมู่บ้านพลัม
  • 24:28 - 24:30
    พี่น้องผองเรา
  • 24:33 - 24:37
    จึงมีความปรารถนาที่จะปลุกความตื่นรู้หน้าจอคอมพิวเตอร์
  • 24:38 - 24:42
    เพื่อที่ว่าในแต่ละขณะเวลา เราได้คอยเตือน
  • 24:43 - 24:45
    ให้เขาหยุด และกลับไปยังการตระหนักของการมีอยู่ของกาย
  • 24:46 - 24:47
    มีลมหายใจเข้า
  • 24:50 - 24:54
    โดยใช้การมีสติในการหายใจเพื่อที่จะ
  • 24:54 - 24:58
    จดจำได้ว่าเรายังมีร่ายกาย และสามารถรู้ถึงการมีอยู่
  • 25:00 - 25:02
    บางครั้งร่างกายอาจจะร้องเตือนอะไรบางอย่าง
  • 25:04 - 25:07
    แต่เราไม่ได้ยิน
  • 25:08 - 25:11
    กายของเราต้องการให้เราดูแล แต่เราไม่ได้ยิน
  • 25:13 - 25:15
    ถ้าเราสามารถเข้าถึงการมีอยู่ของกายได้
  • 25:16 - 25:19
    เราก็สามารถเข้าถึงความรู้สึกได้ด้วย
  • 25:19 - 25:21
    มีความรู้สึกอยู่หลายอย่างที่เรียกร้องความสนใจจากเรา
  • 25:22 - 25:29
    ความเจ็บปวดทุกข์ทรมานเหมือนเสียงของเด็กน้อยที่เรียกร้องให้เราสนใจ
  • 25:31 - 25:37
    แต่เรากลับเพิกเฉยเสียงเด็กคนนั้น
  • 25:38 - 25:41
    เพราะความรู้สึกทุกอย่างที่เกิดขึ้นเปรียบเหมือนเด็กน้อย
  • 25:48 - 25:51
    ดังนั้นการตื่นรู้จึงช่วยให้เราเข้าถึง
  • 25:52 - 25:56
    ไม่เฉพาะแค่ความทุกข์ แต่เพื่อที่จะเรียนรู้กับมันและเปลี่ยนแปลง
  • 25:57 - 25:59
    สติจะช่วยเราบรรเทาทุกข์
  • 26:01 - 26:05
    ตระหนักรู้ถึงปาฏิหารย์ของชีวิต รวมถึงกายของเรา
  • 26:08 - 26:10
    การหายใจเข้า
  • 26:14 - 26:15
    สามารถเป็นเรื่องที่ชื่นบานได้
  • 26:17 - 26:19
    การหายใจออก ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี
  • 26:20 - 26:22
    เธอสามารถรื่นรมย์กับลมหายใจ
  • 26:24 - 26:29
    ลองนึกภาพพระสงฆ์ที่่นั่งอยู่บนพื้นหญ้า
  • 26:29 - 26:35
    ท่านไม่ได้ทำอะไรเลย แค่หายใจเข้า และเบิกบานกับลมหายใจนั้น แต่ท่านกลับเป็นอิสระ
  • 26:36 - 26:38
    อิสระจากความกังวลทั้งปวง
  • 26:41 - 26:43
    อิสระจากความโกรธเคือง
  • 26:44 - 26:45
    อิสระจากความโหยหา
  • 26:48 - 26:51
    ท่านสามารถตระหนักรู้ถึงการมีอยู่ของร่างกาย
  • 26:52 - 26:54
    และตระหนักรู้ถึงการมีอยู่ของท้องฟ้าสีคราม
  • 26:54 - 27:00
    สีเขียวขจีของใบไม้ ในฤดูใบไม้ผลิที่กำลังย่างกรายเข้ามา
  • 27:02 - 27:08
    เราสามารถฝึกแบบนั้นได้ เพื่อที่จะตักเตือนผู้คนที่จะเข้าร่วมกิจการ
  • 27:09 - 27:12
    เพื่อให้เขาเข้าถึงช่วงขณะแห่งความเป็นสุข
  • 27:21 - 27:24
    เรียนรู้วิธีการมีความรื่นรมย์
  • 27:25 - 27:30
    เรียนรู้วิธีที่จะมีความสุขเบิกบานเล็ก ๆ น้อย ๆ
  • 27:30 - 27:32
    ในกิจกรรมประจำวัน
  • 27:32 - 27:34
    และเป็นเรื่องที่เป็นไปได้
  • 28:00 - 28:02
    มีคนที่มีพรสวรรค์มากมาย
  • 28:03 - 28:06
    ที่ไม่สามารถเรียนหนังสือจนรับปริญญา
  • 28:07 - 28:14
    เขากลับสามารถสร้างสรรค์เครื่องมือเครื่องจักร
  • 28:16 - 28:18
    เขาสามารถทำอะไรได้หลายอย่าง
  • 28:24 - 28:25
    เราจะถามเขาว่า
  • 28:27 - 28:30
    คุณสามารถสร้างสรรค์ห้วงเวลาแห่งความสุขได้หรือไม่
  • 28:32 - 28:34
    คุณสามารถใช้ประโยชน์จากร่างกายได้ไหม
  • 28:37 - 28:39
    คุณใช้ประโยชน์จากลมหายใจได้หรือเปล่า
  • 28:40 - 28:42
    คุณหาประโยชน์จากสติเป็นไหม
  • 28:43 - 28:45
    เพื่อให้เขาได้สร้างขณะแห่งการตื่นรู้
  • 28:45 - 28:47
    สร้างความรู้สึกเป็นสุข
  • 28:50 - 28:52
    เหมือนเรารู้วิธีการ
  • 28:54 - 28:55
    ปรุงอาหาร
  • 28:56 - 29:00
    เพื่อทีจะได้น้ำแกงสักถ้วย เราต้องมีน้ำ มีผัก เต้าหู้ และอื่นๆ
  • 29:02 - 29:05
    หลายคนทำน้ำแกงได้
  • 29:08 - 29:13
    การสร้างความสุขก็เหมือนกัน เหมือนการปรุงน้ำแกง
  • 29:14 - 29:17
    และด้วยเครื่องปรุงต่าง ๆ เราสามารถทำได้
  • 29:17 - 29:21
    สร้างขณะแห่งความเป็นสุข ทั้งสำหรับตัวเองและผู้อื่น
  • 29:23 - 29:26
    เราสามารถยื่นน้ำแกงที่ปรุงแล้วให้ผู้อื่นทาน
  • 29:27 - 29:31
    ถ้าเรารู้วิธีปรุง
  • 29:32 - 29:36
    เราจะสามารถรื่นรมย์กับความเป็นสุข และสามารถหยิบยื่นให้ผู้อื่นได้ด้วย
  • 29:38 - 29:40
    และนี่คือศิลปะ
  • 29:40 - 29:43
    ศิลปะแห่งความเบิกบาน
  • 29:45 - 29:48
    คุณต้องเรียนรู้วิธีที่จะทำให้มีความสุข
  • 29:54 - 29:56
    เราสามารถสร้างสรรค์ได้
  • 30:02 - 30:06
    ความรู้สึกเบิกบานและเป็นสุขนี้ในชีวิตประจำวัน
  • 30:51 - 30:53
    ต้องเรียนรู้วิธีรักษามันไว้
  • 30:55 - 30:58
    ความสุขเล็ก ๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน
  • 31:00 - 31:01
    และสร้างมันขึ้นมา
  • 31:07 - 31:09
    และเรารู้
  • 31:11 - 31:13
    วิธีที่จะหยุด
  • 31:14 - 31:19
    หยุดความคิดที่ฟุ้งซ่าน
  • 31:21 - 31:22
    เพื่อที่จะจดจ่อ
  • 31:23 - 31:28
    ถ้าไม่สามารถหยุดความคิดฟุ้งซ่านได้
  • 31:28 - 31:30
    เราไม่สามารถเบิกบานกับอะไรได้เลย
  • 31:35 - 31:42
    เพราะจะมีเสียงเห่าหอนก้องไปมาอยู่ในหัวของเราตลอดวัน
  • 31:43 - 31:47
    คิดถึงอดีตที่ผ่านไปแล้ว
  • 31:48 - 31:50
    นั่งกลัวถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
  • 31:51 - 31:53
    และความคิดก็ฟุ้งซ่านไปมา
  • 31:54 - 31:57
    และมันก็ครอบครองจิตวิญญาณของเราไป
  • 31:57 - 32:00
    เราจึงไม่มีเวลามากนักในการมีชีวิตอยู่
  • 32:01 - 32:03
    เป็นเรื่องสำคัญนะ
  • 32:04 - 32:07
    ที่จะหยุดสัญญาสังขารปรุงแต่งเหล่านั้น
  • 32:07 - 32:10
    หยุดคิด
  • 32:13 - 32:15
    เพราะนั่นเป็นการฝึกจิต
  • 32:17 - 32:19
    เป็นการฝึกตรึกตรองจดจ่อ
  • 32:24 - 32:29
    จิตเราเสวยความทุกข์เพราะคิดครั้งแล้วครั้งเล่า
  • 32:30 - 32:32
    ความทรมาน
  • 32:32 - 32:36
    ความกังวล และนั่นเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพร่างกาย
  • 32:37 - 32:39
    ดังนั้นเราต้องช่วย
  • 32:42 - 32:47
    เพื่อไม่ให้เขาครุ่นคิดต่อ
  • 32:48 - 32:49
    นี่เป็นเรื่องของ
  • 32:51 - 32:53
    สาระสำคัญหรือส่วนประกอบการปรุง
  • 32:54 - 32:56
    การทำให้เกิดสติ
  • 32:56 - 32:59
    ในการมีสติระลึกรู้เราจะเห็นความทุกข์
  • 33:01 - 33:03
    ความเสียใจ ความทรมาน
  • 33:06 - 33:11
    เราต้องปลุกให้ตื่น
  • 33:11 - 33:16
    ปลุกจิตสำนึกให้ตื่น ปลุกแล้วปลุกอีกเฝ้าปลุกอยู่อย่างนั้น
  • 33:16 - 33:18
    นี่เป็นเรื่องไม่ดี
  • 33:19 - 33:21
    เป็นอาหารขยะแก่จิตใจ
  • 33:22 - 33:24
    ต้องหยุด
  • 33:25 - 33:28
    การชำระจิตเป็นเรื่องที่สำคัญในการฝึก
  • 33:33 - 33:35
    มันน่าขำ
  • 33:35 - 33:41
    ที่หมู่บ้านพลัมเราไม่อนุญาติให้ดื่มเหล้า
  • 33:43 - 33:47
    กินเนื้อ แต่เราแนะนำให้หยุดพูด หยุดคิดอีกด้วย
  • 33:49 - 33:54
    เพราะในระหว่างที่เราเดิน ถ้าเราพูด หรือคิด
  • 33:55 - 33:58
    เราก็ยังปล่อยให้ความคิดวิ่งไปมา
  • 33:59 - 34:00
    สุดท้ายเราก็เป็นเหยื่อความคิด
  • 34:02 - 34:06
    เป็นเหยื่อของอดีต ของอนาคต ของความกังวล
  • 34:06 - 34:08
    เราไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน
  • 34:08 - 34:12
    เพื่อให้เรามีชีวิตอยู่จริงๆ เราต้องหยุดความคิดข้างใน
  • 34:20 - 34:26
    ถ้าอย่างนั้นแล้ว เราจะเบิกบานในขั้นตอนได้อย่างไร
  • 34:26 - 34:29
    ถ้าเรายังยอมให้ความคิดเกิด
  • 34:30 - 34:33
    นั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่จะหยุดคิด
  • 34:35 - 34:37
    แต่ให้รู้สึก
  • 34:38 - 34:40
    มากกว่าที่จะคิด
  • 34:41 - 34:45
    เราสามารถรับรู้ถึงพื้นสัมผัสเมื่อเราก้าวเดิน
  • 34:47 - 34:48
    เราต้องรู้สึกได้
  • 34:49 - 34:51
    และความรู้สึกสามารถนำมาซึ่งความตระหนักรู้
  • 34:55 - 34:58
    เราเพ่งเห็นถึงความรู้สึก
  • 34:58 - 35:00
    ว่าเรากำลังเหยียบอยู่บนแม่พระธรณี
  • 35:01 - 35:03
    ด้วยขาข้างซ้ายของเรา
  • 35:06 - 35:10
    และไม่มีซักห้วงเลยที่จะไม่รู้ถึงปาฏิหารย์นั้น
  • 35:10 - 35:12
    นั่นเป็นสิ่งที่มีอยู่
  • 35:13 - 35:17
    ในขณะที่เท้าซ้ายย่างเหยียบ
  • 35:18 - 35:19
    เรารู้สึกถึงสัมผัส
  • 35:20 - 35:22
    สัมผัสได้ถึงความเบิกบาน
  • 35:22 - 35:24
    ของความดีงาม
  • 35:27 - 35:29
    และในขณะนั้นเราหยุดคิดได้
  • 35:31 - 35:35
    หยุดคิดเพื่อให้รู้สึก รู้สึกเพื่อให้หยุดคิด
  • 35:39 - 35:43
    ดังนั้นการเน้นให้รู้สึกจึงเป็นเรื่องสำคัญในการฝึก
  • 35:45 - 35:46
    ฝึกให้รู้สึก
  • 35:48 - 35:50
    รู้ได้ในทุกขณะสัมผัส
  • 35:53 - 35:54
    รับรู้มัน
  • 35:56 - 35:58
    นั่นคือสิ่งที่ต้องฝึก
  • 35:58 - 36:01
    การบำบัดเป็นเรื่องทีเป็นไปได้
  • 36:04 - 36:08
    เราเตรียมตัวเองให้พร้อมเพื่อการปรุงนั้น
  • 36:11 - 36:16
    เราจะไม่คิดแล้วคิดอีก หรือ เศร้า กลัว โกรธ
  • 36:16 - 36:18
    เพราะไม่ดีต่อสุขภาพ
  • 36:19 - 36:25
    เราจะเริ่มมีสุขภาพดีขึ้น อาหารใจเป็นเรื่องที่เราควรได้รับ
  • 36:26 - 36:28
    และกลุ่มสงฆ์
  • 36:29 - 36:32
    ได้อยู่ที่ตรงนั้นเพื่อเตือนให้เราได้รู้ว่าต้องฝึก
  • 36:38 - 36:39
    ได้เรียนรู้
  • 36:42 - 36:46
    ในการเดินอย่างเบิกบาน
  • 36:47 - 36:51
    การเดินจงกรมไม่ใช่งานหนัก
  • 36:55 - 36:57
    ไม่ใช่หน้าที่
  • 36:58 - 37:00
    แต่เป็นโอกาส
  • 37:00 - 37:03
    ที่จะสร้างความสุขเบิกบาน
  • 37:04 - 37:09
    เป็นเรื่องดีที่จะสร้างปัจจุบันขณะแห่งความสุข
  • 37:10 - 37:12
    เพื่อที่จะรักษา
  • 37:13 - 37:15
    การเดินจงกรม
  • 37:15 - 37:19
    ไม่ว่าจะเดินกับกลุ่มสงฆ์หรือเดินคนเดียว
  • 37:22 - 37:25
    เดินกับคณะสงฆ์คุณจะได้บุญกุศล
  • 37:26 - 37:29
    ได้พลังงานบวกจากกลุ่มคณะสงฆ์
  • 37:31 - 37:32
    เดินคนเดียว
  • 37:33 - 37:36
    คุณก็ได้พลังแห่งความสงบและมีสติ
  • 37:37 - 37:39
    และคุณก็ได้ย้ำเตือนผู้คน
  • 37:40 - 37:42
    ให้เดินเหมือนพวกคุณ
  • 37:46 - 37:47
    การฝึกในขณะต่างๆ
  • 37:49 - 37:52
    สามารถช่วยเยียวยาผู้คนได้
  • 37:53 - 37:57
    ไม่เพียงต่อตัวเอง แต่ยังช่วยผู้คนได้
  • 37:57 - 38:02
    เป็นเรื่องน่ายินดี ที่จะเห็นพี่น้องผองเพื่อนเดินร่วมกันอย่างมีสติและเบิกบาน
  • 38:03 - 38:04
    ในหมู่บ้าน
  • 38:05 - 38:07
    นั่นเป็นเรื่องน่าเบ่งบานและช่วยเยียวยา
  • 38:09 - 38:13
    ดังนั้นไม่ว่าจะเดินกลับกลุ่มหรือเดินคนเดียว
  • 38:14 - 38:17
    การก้าวย่างเป็นเรื่องที่สำคัญ
  • 38:21 - 38:25
    ผู้คนที่มาหาเรา เมื่อได้เห็นย่างก้าวของเรา
  • 38:25 - 38:28
    เขาจะเกิดศรัทธาในการฝึก ในธรรมะ
  • 38:38 - 38:41
    เวลาที่เราฉันท์อาหารกลางวัน
  • 38:44 - 38:46
    ต้องมีวิธีการกิน
  • 38:47 - 38:53
    เพื่อให้แต่ละขณะ สามารถบำบัด และเบิกบานได้ด้วย
  • 38:54 - 38:59
    ไม่ใช่เพียงแค่การรับประทานสารอาหารเท่านั้น
  • 38:59 - 39:02
    จากกลุ่มสงฆ์
  • 39:03 - 39:06
    การอยู่ร่วมกัน การนั่ง การรับประทาน
  • 39:06 - 39:11
    เราต้องฝึกสติ รวมพลัง
  • 39:12 - 39:15
    ซึ่งทำให้สุขภาพดีมาก ทำให้เกิดการบำบัดรักษา
  • 39:17 - 39:19
    การรับประทานแบบนั้น ทำให้เราหยุดคิด
  • 39:21 - 39:25
    ทำให้เรารู้ถึงการมีอยู่ของคณะสงฆ์รอบตัว
  • 39:26 - 39:31
    ทุกท่านมีส่วนในการทำให้เกิดพลังแห่งความสงบ
  • 39:31 - 39:35
    เป็นการบำบัด เป็นอาหารใจที่ดี
  • 39:37 - 39:40
    การรับประทานอาหารร่วมกันจึงถือเป็นการฝึก
  • 39:41 - 39:45
    ไม่ใช่งานหนักใช้แรง ไม่ใช่หน้าที่ที่ต้องกระทำให้สำเร็จ
  • 39:47 - 39:48
    และ
  • 39:49 - 39:51
    การนั่งสมาธิ
  • 39:52 - 39:54
    เป็น
  • 39:55 - 39:57
    โอกาสแห่งการบำบัดด้วย
  • 39:59 - 40:01
    เพื่อให้เกิดขณะแห่งความเบิกบาน
  • 40:02 - 40:06
    ไม่ใช่เรื่องของ
  • 40:08 - 40:14
    การนั่งรอเพื่อให้กระดิ่งบอกเวลาหยุดได้สั่นขึ้น
  • 40:15 - 40:17
    นั่นเป็นการนั่งที่เสียเวลา
  • 40:24 - 40:25
    เป็นเรื่อง
  • 40:26 - 40:30
    ที่หาได้ยาก ช่วงเวลาแห่งความเบิกบาน
  • 40:31 - 40:36
    คนส่วนใหญ่บนโลกใบนี้ไม่ค่อยมีเวลาที่จะนั่งและไม่ทำกิจกรรม
  • 40:38 - 40:41
    เขามองว่าเป็นเรื่องที่ไร้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
  • 40:44 - 40:45
    เป็นความเปล่าประโยชน์
  • 40:47 - 40:48
    เวลาเป็นเงินเป็นทอง
  • 40:49 - 40:51
    แต่เรารู้ว่าการนั่ง
  • 40:53 - 40:55
    เป็นเรื่องที่ช่วยได้มาก
  • 40:56 - 41:00
    ดังนั้นเราต้องรู้วิธีการนั่งที่จะทำให้ตื่นรู้เบิกบาน
  • 41:01 - 41:04
    หายใจอย่างไร นั่งอย่างไร เพื่อให้ทุกขณะนั้น
  • 41:05 - 41:07
    เป็นขณะแห่งการขัดเกลาและบำบัด
  • 41:11 - 41:13
    ถ้าได้รู้
  • 41:16 - 41:19
    ว่าการวางกิจวัตรให้ตัวเรา
  • 41:20 - 41:23
    ไม่ใช่ให้คนอื่นกำหนดตารางให้
  • 41:25 - 41:27
    หรือแม้แต่ให้พระเจ้าแผ่นดินมากำหนดให้
  • 41:30 - 41:35
    คณะสงฆ์เองต้องกำหนดเวลาปฏิบัติ
  • 41:36 - 41:39
    เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการวางแผนฝึกฝน
  • 41:40 - 41:43
    ในการเปลี่ยนแปลงขัดเกลาตนเอง
  • 41:45 - 41:49
    ตารางการนั่งสมาธิต้องทำเองไม่ใช่ให้เรามาคอยบอก
  • 41:51 - 41:54
    ต้องมีการออกแบบเวลาโดยคณะสงฆ์ร่วมกัน
  • 41:55 - 41:58
    เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสเท่าเทียมกัน
  • 41:59 - 42:01
    เพื่อเปลี่ยนแปลง ฝึกฝน ขัดเกลา
  • 42:02 - 42:04
    ดังนั้นเราต้องไม่บ่น ก่นด่า
  • 42:05 - 42:07
    ว่าตารางแน่นเกินไป
  • 42:07 - 42:10
    พวกฝึกหัดใหม่เท่านั้นที่จะมีตารางแน่นเอ๊ยด
  • 42:14 - 42:16
    นั่นเป็น
  • 42:17 - 42:21
    เรื่องของผู้ฝึกหัด ที่ต้องมีตารางกิจกรรม
  • 42:22 - 42:25
    เรารู้ดีว่าการร่วมทำปฏิบัติกับกลุ่มสงฆ์
  • 42:25 - 42:27
    ได้ทำร่วมกัน
  • 42:28 - 42:32
    เป็นเรื่องที่ดีกว่า ง่ายกว่า น่ารื่นรมย์กว่า
  • 42:33 - 42:37
    ดังนั้นเมื่อเสียงระฆังดัง กลุ่มสงฆ์มารวมกันเพื่อนั่งสมาธิ
  • 42:37 - 42:38
    จะเป็นเรื่องที่เข้ามาช่วยเรา
  • 42:42 - 42:46
    ทำให้เราได้ร่วมนั่งสมาธิได้ดีขึ้น
  • 42:47 - 42:51
    เรากำลังนั่ง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติมากๆ
  • 42:52 - 42:54
    ไม่ต้องพยายามนั่ง
  • 43:02 - 43:04
    มีคำพูดมากมายในคำภีร์พระสูตร
  • 43:04 - 43:06
    ว่าธรรมะนั้น
  • 43:06 - 43:09
    เป็นเรื่องที่ดีงาม น่ารื่นรมย์
  • 43:10 - 43:13
    ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในบั้นปลาย
  • 43:14 - 43:17
    ดังนั้นทุกนาทีในการฝึกฝน ควรเป็นช่วงเวลาแห่งความรื่นรมย์
  • 43:19 - 43:21
    และขัดเกลาเพื่อเปลี่ยนแปลง
Title:
ธรรมะเสวนาในเทศกาลดอกไม้แดฟอดีล วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคา 2556
Description:

เป็นเสวนาโดยท่านติชนัทฮันต์ ในเทศกาลดอกแดฟอดีลบาน เพื่อการตื่นรู้ ที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส

more » « less
Video Language:
English
Duration:
45:13

Thai subtitles

Incomplete

Revisions