Return to Video

สิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วที่ซ่อนตัวอยู่ใต้น้ำแข็งแอนตาร์กติกา

  • 0:01 - 0:03
    รู้ไหมคะว่านี่คืออะไร
  • 0:04 - 0:08
    เชื่อไหมถ้าฉันจะบอกคุณว่ามีสถานที่
    ที่สิ่งมีชีวิตทำจากกระจก
  • 0:08 - 0:11
    หรือว่ามีสิ่งมีชีวิตที่เรามองไม่เห็น
  • 0:11 - 0:14
    แต่เหล่านักบินอวกาศมองเห็นอยู่ตลอดเวลา
  • 0:14 - 0:19
    สิ่งมีชีวิตที่เหมือนกระจกนี้
    ไม่ได้มาจากต่างดาวอันไกลโพ้น
  • 0:19 - 0:20
    พวกเขาคือ ไดอะตอม ค่ะ
  • 0:20 - 0:24
    สาหร่ายเซลล์เดียว สังเคราะห์แสงได้
    ทำหน้าที่ผลิตออกซิเจน
  • 0:24 - 0:27
    และมีส่วนช่วยโลกผลิตเมฆด้วยนะคะ
  • 0:27 - 0:31
    มีรูปร่างซับซ้อน ภายนอกคล้ายรูปทรงเรขาคณิต
    ที่ทำด้วย
  • 0:31 - 0:32
    ใช่ค่ะ กระจก
  • 0:33 - 0:37
    คุณจะเห็นพวกมันได้จากสีผิวน้ำทะเล
    หากมองลงมาจากอวกาศค่ะ
  • 0:37 - 0:38
    เมื่อพวกมันตาย
  • 0:38 - 0:40
    บ้านที่เป็นเหมือนกระจกบนผิวน้ำ
    จะจมลงก้นทะเล
  • 0:40 - 0:42
    พร้อมกับเอาคาร์บอนในอากาศ
  • 0:42 - 0:43
    ติดลงหลุมไปด้วยค่ะ
  • 0:43 - 0:48
    ทำให้เกิดการสะสมคาร์บอน
    จำนวนมหาศาลในทะเล
  • 0:48 - 0:50
    เราอาศัยอยู่บนโลกของมนุษย์ต่างดาวนะคะ
  • 0:50 - 0:53
    เพราะโลกมีสิ่งมีชีวิตน่าพิศวง
    มากมายให้ศึกษา
  • 0:53 - 0:56
    และสิ่งมีชีวิตมากมายเหลือเกิน
    ที่อยู่สุดขอบโลกของเรา
  • 0:56 - 0:59
    อยู่เหนือการมองเห็น เหนือความเข้าใจของเรา
  • 0:59 - 1:01
    สุดขอบโลกแห่งหนึ่งคือ ทวีปแอนตาร์กติกา
  • 1:02 - 1:04
    ปกติแล้ว หากคิดถึงทวีปแอนตาร์กติกา
  • 1:04 - 1:07
    เราจะเห็นภาพที่โล่งๆ ปราศจากสิ่งมีชีวิต
  • 1:07 - 1:09
    ไม่นับเหล่าเพนกวินนะคะ
  • 1:09 - 1:12
    จริงๆ แล้วทวีปแอนตาร์กติกา
    เป็นโอเอซิสของสิ่งมีชีวิตเลยทีเดียว
  • 1:12 - 1:15
    เป็นบ้านของนานาสิ่งมีชีวิต
    ชวนให้หลงไหลเป็นที่สุด
  • 1:16 - 1:19
    แล้วทำไมเราไม่เห็นพวกมันในสารคดีสักที
  • 1:19 - 1:22
    เพราะหลบซ่อนอยู่ใต้หิมะกับน้ำแข็ง
  • 1:22 - 1:24
    มองเห็นด้วยตาไม่ได้จริงๆ ค่ะ
  • 1:24 - 1:26
    พวกเขาคือจุลชีพนะคะ
  • 1:26 - 1:29
    เป็นพืชและสัตว์ขนาดจิ๋ว
    รวมตัวกันในธารน้ำแข็ง
  • 1:29 - 1:31
    ใต้ทะเลที่เป็นน้ำแข็ง
  • 1:31 - 1:33
    ว่ายวนในบ่อน้ำใต้ธารน้ำแข็ง
  • 1:33 - 1:36
    แต่ก็ไม่ได้มีเสน่ห์น้อยไปกว่าพวกสัตว์ใหญ่
  • 1:36 - 1:38
    ที่เห็นกันอยู่บ่อยๆ ในสารคดีเลยนะคะ
  • 1:39 - 1:44
    แล้วคุณจะบังคับให้คนมาสำรวจ
    สิ่งที่มองไม่เห็นได้ยังไง
  • 1:44 - 1:47
    ฉันเพิ่งได้ไปสำรวจทวีปแอนตาร์กติกา
    นาน 5 สัปดาห์
  • 1:47 - 1:51
    เพื่อเตรียมถ่ายทำหนังสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก
  • 1:51 - 1:53
    พร้อมกับอุปกรณ์ที่หนักถึง 185 ปอนด์
  • 1:53 - 1:55
    ฉันนั่งเครื่องบินทหารไป
  • 1:55 - 1:57
    ฉันเอากล้องจุลทรรศน์ลงพื้นที่
  • 1:57 - 2:00
    เพื่อถ่ายทำและสำรวจเหล่าจุลินทรีย์
    ที่อาศัยในสภาวะสุดขั้ว
  • 2:00 - 2:03
    เราจะได้ทำความคุ้นเคยกับระบบนิเวศน์
    ที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก
  • 2:04 - 2:05
    ในโลกที่เราอยู่นี้กัน
  • 2:06 - 2:09
    การบันทึกภาพสิ่งมีชีวิต
    ที่มองด้วยตาเปล่าไม่ได้นั้น
  • 2:09 - 2:11
    ฉันต้องไปยังที่ที่พวกมันเรียกว่าบ้าน
  • 2:11 - 2:13
    ผจญภัยไปใต้น้ำแข็ง
  • 2:14 - 2:18
    ทุกปี ทวีปแอนตาร์กติกามีน้ำแข็ง
    ขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของทวีปปกคลุมอยู่
  • 2:18 - 2:21
    เพื่อจะได้เห็นข้างใต้น้ำแข็ง
    ที่หนาถึง 9 ฟุตเลยเนี่ย
  • 2:21 - 2:25
    ฉันต้องปีนลงไปในท่อเหล็กยาวสอดไปใต้น้ำแข็ง
  • 2:25 - 2:28
    ถึงจะเห็นระบบนิเวศของเหล่าสิ่งมีชีวิต
    นานาชนิดซ่อนอยู่
  • 2:28 - 2:33
    และลอยตัวอยู่ระหว่างน้ำทะเล
    กับเพดานน้ำแข็งโปร่งแสง
  • 2:34 - 2:36
    ถ้ามองจากภายนอกจะเห็นแบบนี้ค่ะ
  • 2:36 - 2:38
    วิเศษไปเลยใช่ไหมคะ
  • 2:40 - 2:43
    เหล่าตัวน้อยๆ ที่ฉันเจอ
    ก็เช่นกุ้งสีด
  • 2:43 - 2:46
    และไดอะตอมทรงเรขาคณิตสวยงาม
  • 2:46 - 2:49
    ก่อนฉันจะลงพื้นที่ห่างไกลออกไปยัง
    หุบเขาแห้งแล้ง
  • 2:49 - 2:51
    2-3 สัปดาห์
  • 2:51 - 2:54
    ร้อยละ 98 ของทวีปแอนตาร์กติกาเป็นน้ำแข็ง
  • 2:54 - 2:58
    บริเวณหุบเขาแห้งแล้งเป็นที่ที่คุณจะมองเห็น
  • 2:58 - 3:02
    ว่าทวีปนี้จริงๆ แล้วภายใต้มีลักษณะยังไง
  • 3:02 - 3:04
    ฉันสุ่มตัวอย่างแบคทีเรียจาก น้ำตกเลือด
  • 3:04 - 3:08
    บ่อน้ำใต้ธารน้ำแข็ง เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
    ที่พ่นไอร์ออนออกไซด์ออกมา
  • 3:08 - 3:12
    ที่คนเคยคิดว่าไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
    จนเมื่อกว่าทศวรรษที่ผ่านมา
  • 3:12 - 3:15
    ฉันได้ปีนขึ้นและเดินไปบนธารน้ำแข็ง
  • 3:15 - 3:19
    เพื่อพบเหล่าสิ่งมีชีวิตตัวน้อย
    ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
  • 3:19 - 3:21
    ฝังตัวอยู่ในชั้นน้ำแข็ง
  • 3:22 - 3:23
    เรียกว่า หลุมไครโยโคไนต์
  • 3:23 - 3:26
    ที่เกิดจากดินขนาดเล็กสีดำ
  • 3:26 - 3:28
    ปลิวมาติดบนธารน้ำแข็ง
  • 3:28 - 3:31
    ก่อนละลายเป็นหลุมๆ คล้ายชาม
    และแข็งตัวอีกครั้ง
  • 3:31 - 3:34
    ทำให้มีก้อนดินนับร้อยฝังอยู่ในธารน้ำแข็ง
  • 3:34 - 3:36
    เหมือนเป็นจักรวาลของเกาะเล็กๆ
  • 3:36 - 3:39
    มีระบบนิเวศของตัวเอง
  • 3:39 - 3:41
    คุณอาจจะรู้จักสิ่งมีชีวิตตัวน้อยที่ฉันเจอ
  • 3:42 - 3:43
    อย่างพวก ทาร์ดิเกรด น่ารักๆ
  • 3:43 - 3:44
    ฉันชอบมากเลยค่ะ
  • 3:44 - 3:47
    เหมือนขนมเจลลีรูปหมีมีเล็บ
  • 3:47 - 3:49
    หรือที่รู้จักกันว่าเป็น หมีน้ำ
  • 3:49 - 3:51
    คนชอบคิดว่ามีพลังพิเศษ
  • 3:51 - 3:54
    ที่ให้พวกมันมีชีวิตรอดในสภาพแวดล้อมแสนโหด
  • 3:54 - 3:56
    รวมถึงในสุญญากาศนอกโลกด้วย
  • 3:56 - 3:59
    แต่คุณไม่ต้องไปหานอกโลก
    หรือทวีปแอนตาร์กติกาหรอกนะคะ
  • 3:59 - 4:02
    พวกมันอาศัยอยู่ในต้นมอสทั่วโลกเลย
  • 4:02 - 4:04
    ทั้งในรอยแตกบนทางเดิน หรือสวนสาธารณะ
  • 4:04 - 4:08
    คุณอาจจะเดินผ่านสัตว์ที่มองไม่เห็น
    เหล่านี้ทุกวัน
  • 4:08 - 4:10
    บ้างก็อาจจะดูคุ้นตานะคะ
  • 4:10 - 4:13
    แต่ก็แปลกตาอยู่ อย่างพวกหนอนตัวกลม
  • 4:13 - 4:14
    ไม่ใช่งู ไม่ใช่ไส้เดือนนะคะ
  • 4:14 - 4:17
    แต่เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกนีมาโทด
  • 4:17 - 4:20
    มันงอกใหม่แบบไส้เดือนหรือเลื้อยแบบงูไม่ได้
  • 4:20 - 4:23
    แต่มีเข็มเล็กๆ คล้ายมีดในปาก
  • 4:23 - 4:27
    ที่ไว้จับเหยื่อแล้วดูดภายในของเหยื่อค่ะ
  • 4:28 - 4:30
    และสำหรับมนุษย์ทุกคนบนโลกนี้นะคะ
  • 4:30 - 4:33
    มีพวกเนมาโทดทั้งหมดกว่า 57 พันล้านตัว
  • 4:34 - 4:36
    บางจำพวกสิ่งมีชีวิตตัวน้อยที่เราไม่คุ้นตา
  • 4:36 - 4:38
    แต่ก็มีขีวิตที่น่าสนใจมากเช่นกัน
  • 4:38 - 4:43
    อย่าง โรติเฟอร์ มีส่วนหัวคล้ายมงกุฎ
    ที่พัดเป็นปากเหมือนเครื่องดูดฝุ่น
  • 4:43 - 4:47
    เป็นขนครุย และมีระบบย่อยอาหารโปร่งใส
    ที่อาจจะใสเกินไปหน่อย
  • 4:47 - 4:52
    และไซยาโนแบคทีเรีย หน้าตาเหมือนพลุกระดาษ
    ระเบิดอยู่ในจานเพาะเชื้อ
  • 4:53 - 4:55
    บ่อยครั้งเราจะเห็นจากสื่อดังๆ
  • 4:55 - 4:59
    ภาพจุลินทรีย์จากกล้องจุลทรรศน์
  • 4:59 - 5:01
    ดูเหมือนสัตว์ประหลาดน่าสยอง
  • 5:01 - 5:05
    หากไม่ฉายเป็นภาพเคลื่อนไหว
    พวกเราก็เข้าถึงชีวิตพวกนี้ได้ยาก
  • 5:05 - 5:08
    แม้ว่าจะอยู่ในเกือบทุกที่ที่เราเดินถึง
  • 5:08 - 5:10
    ชีวิตประจำวันของพวกมันเป็นยังไง
  • 5:10 - 5:12
    มีปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งรอบตัวมันยังไง
  • 5:12 - 5:16
    หากคุณเคยเห็นแค่รูปถ่ายเพนกวินในสวนสัตว์
  • 5:16 - 5:20
    แต่ไม่เคยเห็นตัวเป็นๆ เดินไปเดินมา
    หรือร่อนตัวบนน้ำแข็งแล้วละก็
  • 5:20 - 5:22
    คุณไม่เคยเข้าใจเพนกวินจริงๆหรอกค่ะ
  • 5:22 - 5:24
    การได้เห็นภาพเคลื่อนไหวของเหล่าจุลชีพ
  • 5:24 - 5:28
    เราได้เห็นมุมมองมากขึ้น จากสิ่งมีชีวิตที่
    มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
  • 5:28 - 5:32
    ถ้าเราไม่ไปบันทึกชีวิตเหล่านี้
    จากทวีปแอนตาร์กติกา หรือจากสวนหลังบ้าน
  • 5:32 - 5:36
    เราจะไม่เข้าใจได้เลยว่ามีสิ่งมีชีวิต
    ที่อยู่ร่วมโลกกับเรามากมายขนาดไหน
  • 5:36 - 5:38
    นั่นหมายถึง เรายังไม่เห็นภาพรวมของ
  • 5:38 - 5:42
    โลกที่เป็นบ้านประหลาดและน่าพิศวงของเราค่ะ
  • 5:42 - 5:43
    ขอบคุณค่ะ
Title:
สิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วที่ซ่อนตัวอยู่ใต้น้ำแข็งแอนตาร์กติกา
Speaker:
แอเรียล วอลด์แมน
Description:

การท่องไปยังโลกของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กของแอเรียล วอลด์แมน นักสำรวจและศิลปิน นำเสนอมุมมองใหม่ต่อสิ่งมีชีวิตมากเสน่ห์ที่หลบซ่อนอยู่ใต้น้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาซึ่งมีขนาดมหึมาที่สุดในโลก จากหมีน้ำ "น่าฟัด" ไปจนถึงสาหร่ายเซลล์เดียวรูปทรงเรขาคณิตที่ทำจากกระจก แอเรียล วอลด์แมน ช่วยให้เราเห็นว่าในพื้นที่โล่งนั้น แท้จริงแล้วเป็นขั้วโลกโอเอซิสของสิ่งมีชีวิตเลยทีเดียว ขอเพียงแค่เรารู้ว่าต้องมองหาจากไหน

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
05:56

Thai subtitles

Revisions