Return to Video

เรากลายเป็นไซบอร์กและยอดมนุษย์ได้อย่างไร

  • 0:01 - 0:04
    ผมเป็นศาสตราจารย์ที่ MIT ครับ
  • 0:04 - 0:07
    แต่ผมไม่ได้ออกแบบตึกอาคาร
    หรือระบบคอมพิวเตอร์
  • 0:07 - 0:09
    ผมสร้างอวัยวะหุ่นยนต์
  • 0:10 - 0:13
    ขาหุ่นยนต์ที่จำลอง
    การเดินและการวิ่งของมนุษย์
  • 0:14 - 0:17
    ในปี ค.ศ. 1982 ผมได้รับอุบัติเหตุ
    จากการปีนเขา
  • 0:17 - 0:20
    ขาทั้งสองข้างของผมถูกตัดออก
    เนื่องจากเนื้อเยื่อที่ตายจากหิมะกัด
  • 0:21 - 0:23
    นี่ครับ ขาของผม
  • 0:23 - 0:29
    เซนเซอร์ 24 ตัว ไมโครโปรเซสเซอร์หกตัว
    และหัวฉีดแบบกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
  • 0:29 - 0:31
    ตั้งแต่เข่าของผมลงไปเป็นสลักและน็อต
  • 0:32 - 0:34
    แต่ด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ล้ำสมัยนี้
  • 0:34 - 0:36
    ผมสามารถที่จะกระโดด เต้นรำ และวิ่งได้
  • 0:38 - 0:39
    (เสียงปรบมือ)
  • 0:39 - 0:40
    ขอบคุณครับ
  • 0:40 - 0:43
    (เสียงปรบมือ)
  • 0:43 - 0:47
    ผมเป็นมนุษย์หุ่นยนต์
    แต่ยังไม่ได้เป็นไซบอร์ก
  • 0:50 - 0:53
    เมื่อผมคิดถึงการเคลื่อนไหวของขา
  • 0:53 - 0:56
    สัญญาณประสาทจากระบบประสาทส่วนกลาง
  • 0:56 - 0:58
    ผ่านเส้นประสาทของผม
  • 0:58 - 1:01
    และกระตุ้นกล้ามเนื้อ
    ภายในขาส่วนที่เหลืออยู่ของผม
  • 1:03 - 1:06
    อิเล็กโทรดจำลองรับสัญญาณเหล่านี้
  • 1:06 - 1:09
    และคอมพิวเตอร์เล็ก ๆ ในขาหุ่นยนต์
  • 1:09 - 1:13
    ถอดรหัสกระแสประสาทของผม
    ไปเป็นรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ต้องการ
  • 1:14 - 1:16
    พูดง่าย ๆ ก็คือ
  • 1:16 - 1:18
    เมื่อผมคิดที่จะเคลื่อนไหว
  • 1:18 - 1:22
    คำสั่งนั้นถูกสื่อออกไป
    สู่ส่วนร่างกายสังเคราะห์ของผม
  • 1:22 - 1:26
    อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์เหล่านี้
    ไม่สามารถที่จะนำข้อมูลเข้าสู่ระบบประสาทได้
  • 1:27 - 1:30
    เมื่อผมแตะหรือเคลื่อนขาสังเคราะห์นี้
  • 1:30 - 1:33
    ผมไม่ได้รู้สึกถึงสัมผัสการแตะและการเคลื่อน
    ในแบบปกติ
  • 1:34 - 1:38
    ถ้าผมเป็นไซบอร์ก
    และสามารถที่จะสัมผัสความรู้สึกจากขาได้
  • 1:39 - 1:43
    ผ่านคอมพิวเตอร์เล็ก ๆ ที่นำเข้าข้อมูล
    เข้าสู่ระบบประสาทของผม
  • 1:43 - 1:45
    ผมเชื่อว่า มันก็อาจจะเปลี่ยน
  • 1:45 - 1:48
    ความสัมพันธ์ของผมที่มีต่อส่วนสังเคราะห์
    โดยพื้นฐานได้
  • 1:49 - 1:50
    วันนี้ ผมไม่รู้สึกถึงขาของผม
  • 1:52 - 1:53
    และด้วยเหตุนี้
  • 1:53 - 1:56
    ขาของผมจึงเป็นอุปกรณ์
    ที่แยกจากความคิดและร่างกายของผม
  • 1:56 - 1:58
    และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของผม
  • 1:59 - 2:03
    ผมเชื่อว่า ถ้าผมเป็นไซบอร์ก
    และสามารถที่จะสัมผัสความรู้สึกจากขาได้
  • 2:03 - 2:05
    มันก็จะเป็นส่วนหนึ่งของผม
    เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย
  • 2:06 - 2:10
    ที่ MIT เรากำลังคิดเรื่องเกี่ยวกับ
    NeuroEmbodied Design
  • 2:10 - 2:12
    ในกรรมวิธีการออกแบบนี้
  • 2:13 - 2:19
    นักออกแบบออกแบบกล้ามเนื้อและกระดูกมนุษย์
    ร่ายกายทางชีวภาพเหล่านั้น
  • 2:19 - 2:24
    ไปพร้อม ๆ กับส่วนสังเคราะห์
    เพื่อให้เกิดการสื่อสารสองทิศทาง
  • 2:24 - 2:26
    ระหว่างระบบประสาทและการสร้างโลกขึ้นมา
  • 2:27 - 2:32
    NeuroEmbodied Design คือวิธีการ
    เพื่อสร้างการทำงานของไซบอร์ก
  • 2:34 - 2:38
    ในกระบวนการออกแบบนี้
    นักออกแบบพิจารณาถึงอนาคต
  • 2:38 - 2:41
    ที่เทคโนโลยีนี้
    จะไม่ทำให้เกิดการแยกจากกัน
  • 2:41 - 2:44
    ระหว่างอุปกรณ์ที่ไร้ชีวิต
    กับความคิดและร่างกายของเรา
  • 2:44 - 2:48
    อนาคตที่เทคโนโลยี
    ได้ถูกรวมเข้ากับธรรมชาติของเรา
  • 2:48 - 2:50
    อย่างระมัดระวัง
  • 2:50 - 2:53
    โลกที่สิ่งที่มีความเป็นชีวภาพ
    และสิ่งที่ไม่ใช่
  • 2:53 - 2:55
    สิ่งที่เป็นมนุษย์และที่ไม่ใช่
  • 2:55 - 2:57
    สิ่งที่เป็นธรรมชาติและที่ไม่ใช่
  • 2:57 - 2:59
    จะทลายขอบเขตระหว่างกัน
  • 2:59 - 3:03
    อนาคตจะให้ร่างใหม่กับมนุษย์
  • 3:04 - 3:07
    NeuroEmbodied Design
    จะขยายระบบประสาทของเรา
  • 3:07 - 3:09
    เข้าสู่โลกสังเคราะห์
  • 3:09 - 3:11
    และโลกสังเคราะห์นั้นเข้าสู่เรา
  • 3:11 - 3:14
    เป็นการเปลี่ยนความเป็นตัวเราในขั้นพื้นฐาน
  • 3:15 - 3:18
    โดยการออกแบบร่างกายทางชีวภาพ
    ให้สื่อสารได้ดึขึ้น
  • 3:18 - 3:20
    กับโลกที่ถูกสร้างขึ้นมาจากการออกแบบ
  • 3:21 - 3:24
    มนุษยชาติจะปราศจากความพิการ
    ในศตวรรษที่ 21
  • 3:24 - 3:28
    และให้กำเนิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
    และเทคโนโลยี
  • 3:28 - 3:29
    สำหรับการจำลองมนุษย์
  • 3:30 - 3:34
    การเพิ่มความสามารถของมนุษย์
    ไปให้มากกว่าระดับกายภาพที่เรามีติดตัวมา
  • 3:34 - 3:38
    ทางความคิด ทางอารมณ์ และทางกายภาพ
  • 3:38 - 3:42
    มีหลายวิธีที่เราจะสร้างร่างกายขึ้นมาใหม่
    ไม่ว่าจะในระดับใด
  • 3:42 - 3:46
    ตั้งแต่ระดับชีวโมเลกุล
    ไปยังระดับเนื้อเยื่อและอวัยวะ
  • 3:46 - 3:50
    วันนี้ ผมอยากจะพูดถึง
    สาขาหนึ่งใน NeuroEmbodied Design
  • 3:50 - 3:54
    ซึ่งเนื้อเยื่อของร่างกาย
    ถูกกำกับและสลักเสลา
  • 3:54 - 3:56
    โดยกระบวนการผ่าตัดและการเจริญขึ้นใหม่
  • 3:58 - 4:00
    ตอนนี้กรอบของการตัดอวัยวะออก
  • 4:00 - 4:04
    ไม่ได้มีพื้นฐานที่เปลี่ยนแปลงไปเลย
    ตั้งแต่ยุคสงครามกลางเมืองของสหรัฐฯ
  • 4:04 - 4:08
    และกำลังล้าสมัย
    ในแสงสว่างแห่งความก้าวหน้าขั้นสูง
  • 4:08 - 4:12
    ของหุ่นจำลอง ทั้งระบบควบคุม
    และเทคโนโลยีการประสานงานของเซลล์ประสาท
  • 4:13 - 4:17
    ส่วนหลักที่ยังขาดไปก็คือความสัมพันธ์
    ในลักษณะที่ตรงข้ามกันของกล้ามเนื้อ
  • 4:17 - 4:20
    สำหรับการควบคุมและการรับรู้อากัปกิริยา
  • 4:21 - 4:23
    การรับรู้อากัปกิริยาคืออะไร
  • 4:23 - 4:26
    เมื่อคุณงอข้อเท้า
    กล้ามเนื้อขามัดหน้าหดตัว
  • 4:26 - 4:29
    ทำให้กล้ามเนื้อขามัดหลังคลายตัว
  • 4:29 - 4:31
    ความตรงข้ามนี้เกิดขึ้น
    เมื่อคุณยืดข้อเท้า
  • 4:31 - 4:34
    คุณจะเห็นว่า
    การหดตัวของกล้ามเนื้อขามัดหลัง
  • 4:34 - 4:35
    จะทำให้กล้ามเนื้อมัดหน้าขยายตัว
  • 4:35 - 4:37
    เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้งอและคลายตัว
  • 4:37 - 4:40
    ตัวรับสัมผัสทางชีวภาพ
    ที่อยู่ภายในเอ็นกล้ามเนื้อ
  • 4:40 - 4:42
    จะส่งข้อมูล
    ผ่านเซลล์ประสาทไปยังสมอง
  • 4:42 - 4:45
    นั่นทำให้เราสามารถรับรู้ได้
    ว่าเท้าของเราอยู่ตรงไหน
  • 4:45 - 4:47
    โดยไม่ต้องให้เห็นมองด้วยตา
  • 4:48 - 4:52
    วิธีการตัดอวัยวะออกในตอนนี้
    ทำลายการเคลื่อนไหวแบบตรงข้ามของกล้ามเนื้อ
  • 4:52 - 4:57
    และการทำเช่นนั้น
    เป็นการกำจัดการรับสัมผัสอากัปกิริยา
  • 4:57 - 4:59
    สิ่งที่ตามมาก็คือ แขนขาเทียมตามมาตรฐาน
  • 4:59 - 5:02
    ไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับ
    เข้าสู่ระบบประสาทได้
  • 5:02 - 5:05
    ว่าอวัยวะเทียมอยู่ตรงไหน
  • 5:05 - 5:08
    ดังนั้น ผู้ป่วยถึงไม่สามารถรับสัมผัส
    และรู้สึก
  • 5:08 - 5:11
    ถึงตำแหน่งและการเคลื่อนไหว
    ของข้อต่อเทียมได้
  • 5:11 - 5:13
    โดยปราศจากการมองดูด้วยตา
  • 5:14 - 5:18
    ขาของผมถูกตัดไปแล้ว
    ด้วยวิธีการสมัยสงครามกลางเมือง
  • 5:19 - 5:21
    ผมรู้สึกได้ถึงขาของผม
    ตอนนี้ผมก็ยังรู้สึกได้
  • 5:21 - 5:23
    มันเป็นการรับรู้แบบลวง
  • 5:23 - 5:25
    แต่ตอนผมพยายามจะเคลื่อนไหว
    ผมจะทำไม่ได้
  • 5:25 - 5:28
    มันรู้สึกเหมือนว่าพวกมันติดอยู่
    ในร้องเท้าบูทสกีแข็ง ๆ
  • 5:29 - 5:30
    เพื่อจะแก้ปัญหานั้น
  • 5:30 - 5:35
    ที่ MIT เราประดิษฐ์ส่วนประสานงาน
    ระหว่างกล้ามเนื้อกับระบบประสาท
  • 5:35 - 5:37
    หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า AMI
  • 5:37 - 5:40
    AMI คือวิธีการเพื่อเชื่อมเซลล์ประสาท
    ภายในส่วนที่เหลืออยู่
  • 5:40 - 5:43
    ไปยังส่วนนอก ซึ่งก็คือแขนขาไบโอนิก
  • 5:43 - 5:46
    AMI ถูกออกแบบอย่างไร
  • 5:48 - 5:51
    AMI ประกอบด้วยกล้ามเนื้อสองมัด
    ที่ถูกผ่าตัดให้เชื่อมต่อกัน
  • 5:51 - 5:53
    ซึ่งเชื่อมกล้ามเนื้อ
    อะโกนิสต์กับแอนทาโกนิสต์
  • 5:54 - 5:57
    เมื่ออะโกนิสต์หดตัว
    จากการกระตุ้นทางไฟฟ้า
  • 5:57 - 5:59
    มันทำให้แอนทาโกนิสต์คลายตัว
  • 5:59 - 6:02
    ปฏิสัมพันธ์ที่ตรงข้ามกันระหว่างกล้ามเนื้อ
  • 6:02 - 6:05
    ทำให้ส่วนสัมผัสทางชีวภาพ
    ภายในเอ็นกล้ามเนื้อ
  • 6:05 - 6:08
    ส่งข้อมูลผ่านเซลล์ประสาท
    ไปยังระบบประสาทส่วนกลาง
  • 6:08 - 6:13
    ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลความยาว ความเร็ว
    และแรง ของเอ็นกล้ามเนื้อ
  • 6:13 - 6:15
    นี่คือการที่เอ็นกล้ามเนื้อ
    ทำงานได้หลากหลาย
  • 6:15 - 6:18
    และนี่เองที่เป็นวิธีการหลัก
    ที่เราในฐานะมนุษย์
  • 6:18 - 6:22
    สามารถรู้สึกและสัมผัสได้ถึงตำแหน่ง
    การเคลื่อนไหวและแรงบนแขนขา
  • 6:22 - 6:24
    เมื่อแขนขาของเราถูกตัดออก
  • 6:24 - 6:28
    แพทย์ผู้ผ่าตัดจะเชื่อมกล้ามเนื้อ
    ที่ตรงข้ามเหล่านี้ที่เหลืออยู่
  • 6:28 - 6:29
    เข้ากับ AMI
  • 6:29 - 6:32
    ทีนี้หลายโครงสร้าง AMI
    สามารถถูกสร้างขึ้น
  • 6:32 - 6:36
    เพื่อการควบคุมและการรับความรู้สึก
    แขนขาเทียมหลาย ๆ อันได้
  • 6:36 - 6:40
    อิเล็กโทรดเทียมถูกจัดวาง
    ลงบนแต่ละกล้ามเนื้อ AMI
  • 6:40 - 6:43
    และคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กภายในแขนขาไบโอนิก
    ถอดรหัสสัญญาณเหล่านั้น
  • 6:43 - 6:46
    เพื่อควบคุมหน่วยทำงานที่ทรงพลัง
    บนแขนขาไบโอนิก
  • 6:47 - 6:49
    เมื่อแขนขาไบโอนิกเคลื่อน
  • 6:49 - 6:51
    กล้ามเนื้อ AMI เคลื่อนไปมา
  • 6:51 - 6:53
    ส่งสัญญาณผ่านเส้นประสาท
    ไปยังสมอง
  • 6:53 - 6:57
    เพื่อให้คนที่สวมใส่อวัยวะเทียม
    รับรู้ได้ถึงสัมผัสธรรมชาติ
  • 6:57 - 7:00
    ของตำแหน่งและการเคลื่อนไหว
    ของแขนขาเทียม
  • 7:00 - 7:05
    หลักการออกแบบเนื้อเยื่อเหล่านี้
    จะสามารถใช้ในคนจริง ๆ ได้หรือเปล่า
  • 7:06 - 7:10
    ไม่กี่ปีก่อน เพื่อนรักของผม
    จิม วิง อายุ 34 ปี
  • 7:10 - 7:11
    มาขอความช่วยเหลือจากผม
  • 7:12 - 7:14
    จิมบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากอุบัติเหตุการปีนผา
  • 7:14 - 7:17
    ที่เกาะเคแมน เขาตกผาลงมา 50 ฟุต
  • 7:17 - 7:20
    เพราะเชือกรั้งเข้าไว้ไม่อยู่
    จนเขาตกลงมากระแทกพื้น
  • 7:21 - 7:24
    เขาได้รับบาดเจ็บหลายแห่ง
  • 7:24 - 7:27
    ทั้งปอดทะลุและกระดูกหัก
  • 7:28 - 7:32
    หลังจากอุบัติเหตุในครั้งนั้น
    เขาอยากที่จะกลับไปเล่นกีฬาที่รักอีกครั้ง
  • 7:32 - 7:33
    ซึ่งก็คือการปีนผา
  • 7:33 - 7:35
    แต่มันจะเป็นไปได้อย่างไรกัน
  • 7:37 - 7:40
    คำตอบก็คือ ทีมไซบอร์ก
  • 7:40 - 7:44
    ทีมแพทย์ผ่าตัด
    นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกร
  • 7:44 - 7:48
    ที่อยู่ที่ MIT เพื่อทำให้จิม
    สามารถกลับไปปีนผาได้อีกครั้ง
  • 7:48 - 7:53
    ดร. แมททิว คาร์ที สมาชิกของทีม
    ตัดขาของจิมที่บาดเจ็บสาหัสออกไป
  • 7:53 - 7:55
    ที่โรงพยาบาลบริงแฮมแอนด์วีเมนในบอสตัน
  • 7:55 - 7:57
    โดยใช้วิธีการผ่าตัดแบบ AMI
  • 7:57 - 8:01
    ตัวรอกเอ็นถูกทำขึ้น
    และเชื่อมกับกระดูกกระดูกหน้าแข้งของจิม
  • 8:01 - 8:03
    เพื่อเชื่อมกับกล้ามเนื้ออีกครั้ง
  • 8:03 - 8:06
    วิธีการแบบ AMI สร้างการเชื่อมต่อ
    ของเส้นประสาทขึ้นมาใหม่
  • 8:06 - 8:09
    ระหว่างกล้ามเนื้อข้อเท้าของจิม
    กับสมองของเขา
  • 8:10 - 8:12
    เมื่อจิมขยับขาเทียมของเขา
  • 8:12 - 8:15
    กล้ามเนื้อที่ถูกเชื่อมต่อใหม่
    จะขยับคู่ที่ทำงานตรงข้ามกัน
  • 8:15 - 8:20
    ทำให้เกิดสัญญาณการรับรู้อากัปกิริยา
  • 8:20 - 8:24
    จิมรับรู้ได้ถึงสัมผัสตามปกติ
    ด้วยตำแหน่งและการเคลื่อนไหวของเท้า
  • 8:24 - 8:25
    แม้แต่ตอนเขาปิดตา
  • 8:26 - 8:29
    นี่คือจิมที่ห้องทดลองของ MIT
    หลังจากที่เขาได้รับการผ่าตัด
  • 8:29 - 8:32
    เราเชื่อมกล้ามเนื้อ AMI ของจิม
    ผ่านอิเล็กโทรด
  • 8:32 - 8:34
    เข้ากับขาไบโอนิก
  • 8:34 - 8:36
    และจิมเรียนรู้อย่างรวดเร็ว
    ว่าจะเคลื่อนไหวขาไบโอนิกอย่างไร
  • 8:36 - 8:39
    ในทิศทางการเคลื่อนไหวสี่ทิศทางของข้อเท้า
  • 8:40 - 8:43
    เราตื่นเต้นมากที่ได้เห็นผลลัพธ์นี้
    แต่เมื่อจิมยืนขึ้น
  • 8:43 - 8:46
    สิ่งที่แสนจะน่าทึ่งก็เกิดขึ้น
  • 8:46 - 8:50
    ไบโอเมตริกตามธรรมชาติทั้งหมด
    ที่ถูกกำกับโดยระบบประสาทส่วนกลาง
  • 8:50 - 8:53
    เกิดขึ้นผ่านขาเทียมนั้น
  • 8:53 - 8:57
    ในลักษณะอัตโนมัติ
    เป็นการตอบสนองแบบรีเฟล็กซ์
  • 8:57 - 9:01
    ความสลักซับซ้อนของการวางเท้า
    ระหว่างการขึ้นบันได --
  • 9:01 - 9:04
    (เสียงปรบมือ)
  • 9:04 - 9:06
    เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาเรา
  • 9:08 - 9:09
    นี่เป็นตอนที่จิมลงบันได
  • 9:09 - 9:12
    เขาใช้หัวแม่เท้าของขาเทียม
    แตะไปที่บันไดขั้นถัดไป
  • 9:13 - 9:15
    แสดงถึงการเคลื่อนไหว
    อัตโนมัติอย่างเป็นธรรมชาติ
  • 9:15 - 9:18
    โดยที่เขาเอง
    ไม่ต้องใช้ความพยายามเคลื่อนขา
  • 9:18 - 9:22
    เพราะว่าระบบประสาทส่วนกลางของจิม
    ได้รับสัญญาณอากัปกิริยาเหล่านี้
  • 9:23 - 9:27
    มันรู้ว่าจะต้องควบคุม
    แขนขาเทียมอย่างเป็นธรรมชาติอย่างไร
  • 9:28 - 9:33
    ตอนนี้ จิมเคลื่อนไหวและมีพฤติกรรม
    ราวกับว่าขาเทียมเป็นส่วนหนึ่งของเขา
  • 9:34 - 9:36
    ยกตัวอย่างเช่น วันหนึ่งในห้องทดลอง
  • 9:36 - 9:39
    บังเอิญเข้าเหยียบม้วนเทปสายไฟ
  • 9:39 - 9:41
    ถ้าเป็นคุณ จะทำอย่างไร
    เมื่อมีอะไรบางอย่างติดรองเท้าคุณ
  • 9:42 - 9:44
    คุณจะไม่ก้มลงไปแบบนี้
    มันคงเก้กังน่าดู
  • 9:44 - 9:45
    แต่คุณจะสะบัดมันออก
  • 9:45 - 9:47
    และนั่นก็คือสิ่งที่จิมทำ
  • 9:47 - 9:50
    หลังจากเชื่อมต่อกับขาเทียม
    อย่างเป็นธรรมชาติได้ไม่กี่ชั่วโมง
  • 9:51 - 9:53
    สิ่งที่น่าสนใจที่สุดสำหรับผม
  • 9:53 - 9:56
    ก็คือเมื่อจิมบอกเราว่าเขารู้สึกอย่างไร
  • 9:56 - 10:00
    เขาบอกว่า "หุ่นยนต์กลายเป็นส่วนหนึ่งของผม"
  • 10:00 - 10:04
    จิม วิง: ตอนเช้าหลังจากที่
    ผมติดหุ่นยนต์เข้าไปเป็นครั้งแรก
  • 10:04 - 10:09
    ลูกสาวของผมลงบันไดมา
    และถามผมว่ารู้สึกอย่างไรที่ได้เป็นไซบอร์ก
  • 10:09 - 10:13
    คำตอบของผมก็คือ
    มันไม่รู้สึกว่าเหมือนเป็นไซบอร์กเลย
  • 10:13 - 10:17
    ผมรู้สึกว่าผมมีขา
  • 10:17 - 10:22
    และนั่นไม่ใช่เพราะว่าผมติดอยู่กับหุ่นยนต์
  • 10:22 - 10:25
    หรือหุ่นยนต์ติดอยู่กับผม
  • 10:25 - 10:26
    แต่ว่าหุ่นยนต์กลายเป็นส่วนหนึ่งของผม
  • 10:26 - 10:29
    มันกลายเป็นขาของผมไปอย่างรวดเร็ว
  • 10:30 - 10:31
    ฮิวจ์ เฮอร์: ขอบคุณครับ
  • 10:31 - 10:34
    (เสียงปรบมือ)
  • 10:34 - 10:37
    ด้วยการเชื่อมต่อระบบประสาทของจิม
    แบบสองทางนี้
  • 10:37 - 10:39
    เข้ากับขาเทียมของเขา
  • 10:39 - 10:42
    เราจึงได้มาซึ่งส่วนที่ทำหน้าที่
    ในเชิงระบบประสาท
  • 10:42 - 10:48
    ผมคาดว่า เพราะว่าจิม
    สามารถที่จะคิดและเคลื่อนขาเทียมของเขาได้
  • 10:48 - 10:52
    และเพราะว่าเขารู้สึกว่าการเคลื่อนไหวเหล่านั้น
    อยู่ภายในระบบประสาทของเขา
  • 10:52 - 10:55
    ขาเทียมจึงไม่ใช่อุปกรณ์
    ที่แยกออกจากร่างกายเขาอีกต่อไป
  • 10:55 - 10:59
    แต่เป็นส่วนหนึ่งของจิม
    เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของเขา
  • 11:00 - 11:04
    เพราะว่าส่วนที่ทำหน้าที่เชิงระบบประสาทนี้
    จิมจึงไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นไซบอร์ก
  • 11:05 - 11:07
    เขารู้สึกว่าเขาแค่ได้ขากลับมา
  • 11:07 - 11:09
    เขาได้ร่างกายของเขาคืนมา
  • 11:10 - 11:11
    ทีนี้ ผมมักจะถูกถามว่า
  • 11:11 - 11:14
    เมื่อไรล่ะที่ผมจะเชื่อมตัวเอง
    เข้าเขาเทียมแบบสองทาง
  • 11:14 - 11:16
    เมื่อไรล่ะที่ผมจะเป็นไซบอร์ก
  • 11:16 - 11:19
    อันที่จริง ผมลังเลนะครับ
    ที่จะเป็นไซบอร์ก
  • 11:20 - 11:23
    ก่อนที่ผมจะถูกตัดขา
    ผมเป็นนักเรียนที่ห่วยมาก ๆ
  • 11:23 - 11:26
    ที่โรงเรียนผมได้เกรด D และมักได้ F
  • 11:26 - 11:29
    แต่หลังจากที่ผมดนตัดขา
  • 11:29 - 11:31
    ผมกลายเป็นศาสตราจารย์ที่ MIT เลยครับ
  • 11:31 - 11:34
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:34 - 11:37
    (เสียงปรบมือ)
  • 11:37 - 11:42
    ผมเป็นกังวลครับว่า ถ้าผมเชื่อมต่อกับขาเทียม
    แบบธรรมชาติอีกครั้ง
  • 11:42 - 11:45
    สมองของผมจะจัดเรียงใหม่
    กลับไปเป็นตัวผมตอนโง่ ๆ อีกครั้ง
  • 11:46 - 11:47
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:47 - 11:51
    แต่รู้อะไรไหมครับ จริง ๆ ไม่เป็นไรหรอก
    เพราะผมได้ตำแหน่งประจำที่ MIT แล้วล่ะ
  • 11:51 - 11:53
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:53 - 11:55
    (ปรบมือ)
  • 11:55 - 11:58
    ผมเชื่อว่าความก้าวหน้าของ
    NeuroEmbodied Design
  • 11:58 - 12:01
    จะดำเนินต่อไปไกลกว่าการแทนที่แขนขา
  • 12:01 - 12:03
    มันจะพามนุษยชาติไปยังดินแดน
  • 12:03 - 12:06
    ที่จะกำหนดนิยามใหม่ให้กับศักยภาพ
    ของมนุษย์ในขั้นพื้นฐาน
  • 12:07 - 12:09
    ในศตวรรษที่ 21 นี้
  • 12:09 - 12:13
    นักออกแบบจะเติมต่อระบบประสาท
    ไปยังโครงสร้างภายนอกที่ทรงพลัง
  • 12:13 - 12:17
    ที่มนุษย์สามารถควบคุม
    และรู้สึกได้ด้วยอำนาจความคิดของเขา
  • 12:18 - 12:21
    กล้ามเนื้อภายในร่างกาย
    สามารถถูกปรับแต่งได้ใหม่
  • 12:21 - 12:24
    เพื่อการควบคุมส่วนเคลื่อนไหวที่ทรงพลัง
  • 12:24 - 12:28
    และเพื่อสัมผัสและรับรู้
    การเคลื่อนไหวโครงสร้างภายนอก
  • 12:28 - 12:32
    เพิ่มพูนพละกำลังให้กับมนุษย์
    ทำให้เรากระโดดได้สูงและวิ่งได้เร็ว
  • 12:33 - 12:37
    ในศตวรรษที่ 21 นี้
    ผมเชื่อว่ามนุษย์จะกลายเป็นยอดมนุษย์
  • 12:38 - 12:42
    มนุษย์จะยังคงเติมต่อร่างกายของพวกเขา
  • 12:42 - 12:45
    ให้มีโครงสร้างที่แต่เดิมแล้ว
    ไม่ปรากฏในมนุษย์ เช่น ปีก
  • 12:46 - 12:50
    ควบคุมและรับรู้ถึงการเคลื่อนไหว
    ของปีกแต่ละข้างภายในระบบประสาท
  • 12:51 - 12:54
    เลโอนาโด ดาวินชี กล่าวไว้ว่า
    "เมื่อคุณได้ลองเหินเวหา
  • 12:54 - 12:58
    คุณจะก้าวย่างไปบนโลก
    ด้วยสายตาที่จับจ้องไปบนนภา
  • 12:58 - 13:02
    เพราะนั่นคือถิ่นที่คุณเคยไปถึง
    และโหยหาที่จะกลับไป"
  • 13:03 - 13:06
    ในช่วงฟ้าสางแห่งศตวรรษนี้
  • 13:06 - 13:10
    ผมเชื่อว่ามนุษย์จะกายสัณฐาน
    และการเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนไปจากปัจจุบัน
  • 13:10 - 13:12
    จนจำไม่ได้
  • 13:12 - 13:15
    มนุษยชาติจะเหินและทะยานไกล
  • 13:16 - 13:19
    จิม วิง ร่วงลงสู่พื้นโลกและบาดเจ็บสาหัส
  • 13:19 - 13:22
    แต่สายตาของเขามองขึ้นสู่ฟ้า
    ถิ่นที่เขาโหยหาจะกลับไป
  • 13:23 - 13:26
    หลังอุบัติเหตุเขาไม่เพียงฝัน
    ที่จะเดินได้อีกครั้ง
  • 13:26 - 13:29
    แต่ยังฝันที่จะกลับไปเล่นกีฬาที่เขารัก
    ซึ่งก็คือการปีนผา
  • 13:30 - 13:34
    ที่ MIT ทีมไซบอร์กสร้างขาเทียมพิเศษให้จิม
    สำหรับโลกในแนวดิ่ง
  • 13:34 - 13:39
    ขาที่ควบคุมโดยสมองที่สัมผัสตำแหน่ง
    และการเคลื่อนไหวได้อย่างสมบูรณ์
  • 13:40 - 13:43
    ด้วยเทคโนโลยี
    จิมได้กลับไปยังหมู่เกาะเคแมน
  • 13:43 - 13:45
    ณ จุดที่เกิดอุบัติเหตุ
  • 13:45 - 13:49
    บัดนี้ เขาเป็นไซบอร์ก
    ที่ปีนขึ้นสู่ฟากฟ้าอีกครั้ง
  • 13:49 - 13:51
    (เสียงคลื่น)
  • 14:16 - 14:23
    (เสียงปรบมือ)
  • 14:32 - 14:33
    ขอบคุณครับ
  • 14:33 - 14:36
    (เสียงปรบมือ)
  • 14:36 - 14:40
    ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษครับ
    จิม วิง นักปีนผาไซบอร์กคนแรกครับ
  • 14:40 - 14:47
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เรากลายเป็นไซบอร์กและยอดมนุษย์ได้อย่างไร
Speaker:
ฮิวจ์ เฮอร์ (Hugh Herr)
Description:

อีกไม่นานมนุษย์จะมีร่างกายใหม่ที่จะสลายขอบเขตระหว่างสิ่งที่เป็นธรรมชาติและสิ่งสังเคราะห์ไปตลอดกาล นักออกแบบไบโอนิก ฮิวจ์ เฮอร์ กล่าว ในการบรรยายที่น่าจดจำนี้ เขาให้รายละเอียดเกี่ยวกับ "NeuroEmbodied Design" ซึ่งคือวิธีการสร้างการทำงานของไซลอร์กที่เขาพัฒนาที่ MIT และแสดงให้เราเห็นถึงอนาคตที่เราจะเสริมร่ายกายของเราในแบบที่เป็นการกำหนดนิยามใหม่ให้กับมนุษย์ และบางที เปลี่ยนเราไปเป็นยอดมนุษย์ "ในช่วงฟ้าสางแห่งศตวรรษนี้ ผมเชื่อว่ามนุษย์จะกายสัณฐานและการเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนไปจากปัจจุบันจนจำไม่ได้" ฮิวจ์ เฮอร์ กล่าว "มนุษยชาติจะเหินและทะยานไกล"

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
15:13

Thai subtitles

Revisions