Return to Video

ชีวิตที่ดีสร้างด้วยอะไร? บทเรียนจากการศึกษาเรื่องความสุขที่ยาวนานที่สุด | โรเบิร์ต วอลดิงเจอร์ | TEDxBeaconStreet

  • 0:17 - 0:20
    อะไรทำให้เราสุขภาพดีและมีสุข
  • 0:20 - 0:21
    ในการใช้ชีวิต?
  • 0:22 - 0:25
    ถ้าตอนนี้คุณจะลงทุน
  • 0:25 - 0:27
    เพื่อสร้างตัวตนที่ดีที่สุดของคุณในอนาคต
  • 0:27 - 0:31
    คุณจะทุ่มเวลาและพลังงานของคุณไปที่ไหน
  • 0:32 - 0:34
    มีคนให้คำตอบต่อคำถามนี้อยู่มากมาย
  • 0:34 - 0:38
    เราถูกกระหน่ำด้วยภาพของ
    สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต
  • 0:40 - 0:43
    สื่อรอบตัวเราเต็มไปด้วยเรื่องราวของคนรวย
  • 0:43 - 0:46
    และมีชื่อเสียง
    ที่กำลังสร้างอาณาจักรในที่ทำงาน
  • 0:47 - 0:49
    และเราก็เชื่อเรื่องราวพวกนี้
  • 0:50 - 0:53
    มีการสำรวจคนรุ่นมิลเลเนียล
  • 0:53 - 0:58
    ว่าเป้าหมายสำคัญที่สุดในชีวิตเขาคืออะไร
  • 0:58 - 1:00
    มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์บอกว่า
  • 1:00 - 1:04
    เป้าหมายหลักในชีวิตของเขาคือร่ำรวย
  • 1:06 - 1:10
    และ 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ตอนต้น
    กลุ่มเดียวกันนี้
  • 1:10 - 1:13
    บอกว่าเป้าหมายหลักของชีวิตอีกอย่าง
  • 1:13 - 1:14
    คือการมีชื่อเสียง
  • 1:16 - 1:17
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:17 - 1:24
    และเราก็ถูกบอกว่า
    ให้ทุ่มเททำงาน ทำให้หนักขึ้น
  • 1:24 - 1:26
    ให้ได้งานมากขึ้น
  • 1:26 - 1:30
    เราถูกกล่อมให้เชื่อว่า
    เราควรไขว่คว้าสิ่งเหล่านี้
  • 1:30 - 1:32
    เพื่อจะได้มีชีวิตที่ดี
  • 1:32 - 1:34
    แต่มันจริงเหรอ?
  • 1:34 - 1:38
    นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้คนเรามีความสุข
    ในการใช้ชีวิตจริงเหรอ
  • 1:40 - 1:42
    ลองนึกภาพชีวิตทั้งชีวิต
  • 1:42 - 1:47
    ทางเลือกทั้งหมดที่คนเราต้องเลือก
    และการตัดสินใจเหล่านั้นมีผลกับเขายังไง
  • 1:47 - 1:50
    ภาพเหล่านี้ เป็นสิ่งที่แทบหาไม่ได้เลย
  • 1:52 - 1:55
    ส่วนใหญ่ที่เรารู้เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์
  • 1:55 - 1:58
    เราเรียนรู้จากการถามให้คนระลึกความหลัง
  • 1:59 - 2:03
    แต่อย่างที่รู้กัน การนึกย้อนความหลัง
    มันไม่ได้มีความถูกต้องเที่ยงตรง
  • 2:03 - 2:07
    เราลืมเหตุการณ์จำนวนมาก
    ที่เกิดขึ้นในชีวิตเรา
  • 2:07 - 2:10
    และบางที
    เราก็สร้างความทรงจำขึ้นมาเอง
  • 2:11 - 2:12
    มาร์ก ทเวนเข้าใจเรื่องนี้ดี
  • 2:14 - 2:15
    มีคนบอกว่า เขาพูดไว้ว่า
  • 2:16 - 2:20
    "บางอย่างที่เลวร้ายที่สุดในชีวิตผม
    ไม่เคยเกิดขึ้นจริง"
  • 2:20 - 2:23
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:24 - 2:28
    งานวิจัยแสดงว่า
    เราจดจำอดีตของเราในเชิงบวกมากขึ้น
  • 2:28 - 2:30
    เมื่อเราอายุมากขึ้น
  • 2:30 - 2:33
    ทำให้ผมนึกถึงสติ๊กเกอร์ติดท้ายรถที่ว่า
  • 2:33 - 2:36
    "ไม่มีคำว่าสายเกินไป
    ที่จะมีวัยเด็กที่มีความสุข"
  • 2:36 - 2:39
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:40 - 2:44
    แต่จะเป็นอย่างไร
    ถ้าเราสามารถเฝ้าสังเกตชีวิตทั้งชีวิต
  • 2:44 - 2:47
    ที่ดำเนินผ่านกาลเวลา
  • 2:47 - 2:51
    ถ้าเราสามารถศึกษาผู้คน
    ตั้งแต่เขาเป็นวัยรุ่น
  • 2:51 - 2:54
    ตลอดไปจนเข้าสู่วัยสูงอายุ
  • 2:54 - 2:57
    เพื่อศึกษาดูว่าอะไรกันแน่
    ที่ทำให้คนมีความสุขและสุขภาพแข็งแรง
  • 2:58 - 2:59
    พวกเราทำอย่างนั้นแหละครับ
  • 3:00 - 3:03
    ในโครงการศึกษาพัฒนาการผู้ใหญ่
    ของฮาร์วาร์ด
  • 3:03 - 3:07
    ซึ่งอาจจะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับชีวิตผู้ใหญ่
    ที่ยาวนานที่สุดที่มีคนเคยทำมา
  • 3:08 - 3:14
    เป็นเวลา 75 ปีที่เราได้เฝ้าติดตาม
    ชีวิตของผู้ชาย 724 คน
  • 3:16 - 3:21
    ปีแล้วปีเล่าที่เราคอยถามเขาเกี่ยวกับ
    งานที่เขาทำ ชีวิตที่บ้าน และสุขภาพ
  • 3:21 - 3:25
    และแน่นอน ถามไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ล่วงหน้า
    ว่าเรื่องราวชีวิตของเขา
  • 3:25 - 3:27
    จะคลี่คลายออกมาเป็นอย่างไร
  • 3:28 - 3:32
    การศึกษาวิจัยลักษณะนี้หายากมาก
  • 3:32 - 3:36
    แทบทุกโครงการลักษณะนี้
    ล้มเลิกไปภายในทศวรรษเดียว
  • 3:36 - 3:39
    เพราะคนจำนวนมากไม่ร่วมมือในการวิจัยต่อไป
  • 3:39 - 3:42
    หรือทุนสนับสนุนการวิจัยหมดไป
  • 3:42 - 3:44
    หรือนักวิจัยเปลี่ยนไปสนใจเรื่องอื่น
  • 3:44 - 3:48
    หรือเสียชีวิตไป แล้วไม่มีใครมาสานต่อ
  • 3:49 - 3:51
    แต่ด้วยความโชคดี
  • 3:51 - 3:55
    ผสมกับความเพียรอย่างต่อเนื่อง
    ของนักวิจัยหลายรุ่น
  • 3:55 - 3:57
    การศึกษานี้จึงยังคงดำเนินต่อไป
  • 3:57 - 4:02
    ผู้เข้าร่วมการวิจัย 60 คน จาก 724 คน
  • 4:02 - 4:03
    ยังคงมีชีวิตอยู่
  • 4:03 - 4:05
    และยังให้ความร่วมมือในการวิจัย
  • 4:05 - 4:07
    ส่วนใหญ่เขาอายุ 90 กว่าปี
  • 4:08 - 4:10
    และตอนนี้เราก็เริ่มศึกษา
  • 4:10 - 4:14
    ลูกๆ ของชายเหล่านี้
    ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 2,000 คน
  • 4:14 - 4:17
    ผมเองเป็นผู้อำนวยการคนที่สี่ของโครงการนี้
  • 4:18 - 4:23
    ตั้งแต่ปี 1938 เราได้ติดตามวิเคราะห์ชีวิต
    ของชายสองกลุ่ม
  • 4:23 - 4:25
    กลุ่มแรกเริ่มเข้าร่วมการศึกษานี้
  • 4:25 - 4:28
    ตอนเป็นนักศึกษาปริญญาตรีปี 2
    ที่ฮาร์วาร์ดคอลเลจ
  • 4:28 - 4:31
    ซึ่งทอม โบรคอล เรียกว่าเป็น
    "คนรุ่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุด"
  • 4:32 - 4:35
    พวกเขาเรียนจบปริญญาตรี
    ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
  • 4:35 - 4:37
    และส่วนใหญ่ไปรับใช้ชาติในสงครามต่อ
  • 4:38 - 4:40
    และกลุ่มที่สองที่เราติดตาม
  • 4:40 - 4:44
    คือกลุ่มเด็กหนุ่มจาก
    ย่านที่ยากจนที่สุดในบอสตัน
  • 4:44 - 4:46
    เด็กหนุ่มเหล่านี้ถูกเลือกเข้าร่วมการศึกษา
  • 4:46 - 4:50
    เพราะเขามาจากครอบครัวที่มีปัญหา
  • 4:50 - 4:52
    และด้อยโอกาสที่สุดในบอสตัน
  • 4:52 - 4:54
    ในช่วงทศวรรษ 1930s
  • 4:54 - 4:59
    ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในห้องเช่า
    ซึ่งไม่มีน้ำประปาไม่ว่าน้ำร้อนหรือเย็น
  • 5:01 - 5:03
    เมื่อเริ่มเข้าร่วมการศึกษา
  • 5:03 - 5:06
    วันรุ่นทั้งหมดถูกสัมภาษณ์
  • 5:06 - 5:08
    ตรวจสุขภาพ
  • 5:08 - 5:12
    เราไปที่บ้านพวกเขา
    สัมภาษณ์ผู้ปกครองของเขา
  • 5:12 - 5:14
    แล้ววัยรุ่นเหล่านี้ก็เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
  • 5:14 - 5:17
    ออกไปทำงานหลากหลายอาชีพ
  • 5:17 - 5:23
    ตั้งแต่คนงานในโรงงาน ทนายความ
    คนงานก่อสร้าง และหมอ
  • 5:23 - 5:25
    ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนหนึ่ง
  • 5:27 - 5:31
    บางคนติดเหล้า บางคนเป็นจิตเภท
  • 5:32 - 5:34
    บางคนไต่บันไดสถานะทางสังคม
  • 5:34 - 5:38
    จากขั้นต่ำสุดไปสู่ขั้นสูงสุด
  • 5:38 - 5:41
    บางคนก็เดินบันไดนั้น
    ในทิศทางตรงกันข้าม
  • 5:42 - 5:45
    ผู้ก่อตั้งโครงการศึกษานี้
  • 5:45 - 5:47
    คงไม่เคยคิดเคยฝันเลย
  • 5:47 - 5:52
    ว่าผมจะมายืนตรงนี้วันนี้ 75 ปีให้หลัง
  • 5:52 - 5:55
    บอกเล่าให้คุณฟัง
    ว่าการศึกษานี้ยังคงดำเนินอยู่
  • 5:56 - 6:00
    ทุกๆ สองปี ทีมนักวิจัยที่อดทนและทุ่มเท
  • 6:00 - 6:03
    โทรหาผู้ชายเหล่านี้
    และถามว่าเราจะส่งแบบสอบถามอีกชุด
  • 6:03 - 6:06
    เกี่ยวกับชีวิตของเขา
    ให้เขาตอบได้ไหม
  • 6:07 - 6:10
    ชายจากชุมชนแออัดในบอสตันถามเราว่า
  • 6:10 - 6:14
    "ทำไมคุณยังอยากศึกษาผมอีก
    ชีวิตผมไม่เห็นมีอะไรน่าสนใจเลย"
  • 6:15 - 6:18
    ส่วนชายจากฮาร์วาร์ดไม่เคยถามแบบนี้เลย
  • 6:18 - 6:23
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:28 - 6:30
    เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนที่สุด
    ของชีวิตคนเหล่านี้
  • 6:30 - 6:33
    เราไม่เพียงส่งแบบสอบถามให้เขาตอบ
  • 6:33 - 6:36
    เราไปสัมภาษณ์เขาในห้องนั่งเล่นบ้านเขา
  • 6:37 - 6:40
    เราขอประวัติการรักษาพยาบาล
    จากคุณหมอของพวกเขา
  • 6:40 - 6:42
    เราเก็บตัวอย่างเลือด เราสแกนสมอง
  • 6:42 - 6:44
    เราคุยกับลูกๆ ของเขา
  • 6:44 - 6:49
    เราถ่ายวิดีโอขณะเขาพูดคุยกับภรรยาของเขา
    ในเรื่องที่กังวลใจอย่างลึกซึ้ง
  • 6:49 - 6:53
    และเมื่อประมาณหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา
    เราถามภรรยาพวกเขา
  • 6:53 - 6:55
    ว่าขอให้มาร่วมในงานวิจัยด้วยได้ไหม
  • 6:55 - 6:58
    ผู้หญิงหลายคนพูดว่า
    "อืม มันได้เวลาแล้วล่ะ"
  • 6:58 - 6:59
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:01 - 7:02
    แล้วเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง
  • 7:02 - 7:08
    มีบทเรียนอะไรบ้างจากข้อมูลเป็นหมื่นๆ หน้า
  • 7:08 - 7:11
    ที่เราเก็บรวบรวมมา
  • 7:11 - 7:12
    จากชีวิตของคนเหล่านี้
  • 7:13 - 7:18
    บทเรียนที่ได้ไม่เกี่ยวกับความร่ำรวย
    ชื่อเสียง หรือการทำงานให้หนักขึ้นหนักขึ้น
  • 7:20 - 7:26
    ใจความที่ชัดเจนที่สุดที่เราได้รับ
    จากการศึกษาที่ยาวนาน 75 ปีนี้ คือ
  • 7:26 - 7:31
    ความสัมพันธ์ที่ดีทำให้เรามีความสุข
    และสุขภาพดี จบครับ
  • 7:32 - 7:36
    เราได้บทเรียนสำคัญสามอย่าง
    เกี่ยวกับความสัมพันธ์
  • 7:36 - 7:40
    ข้อแรกคือ การติดต่อสัมพันธ์ทางสังคมนั้น
    ดีต่อเรามากๆ
  • 7:40 - 7:43
    ส่วนความเหงากัดกินเรา
  • 7:43 - 7:47
    เราพบว่า คนที่มีการ
    ติดต่อสัมพันธ์ทางสังคมมากกว่า
  • 7:47 - 7:50
    ไม่ว่ากับครอบครัว เพื่อน หรือคนในชุมชน
  • 7:50 - 7:55
    ก็มีความสุขมากกว่า สุขภาพกายแข็งแรงกว่า
    และอายุยืนยาวกว่า
  • 7:55 - 7:58
    เมื่อเทียบกับคนที่
    มีการติดต่อสัมพันธ์ทางสังคมน้อย
  • 7:58 - 8:02
    และประสบการณ์ความเหงานั้น
    เป็นพิษต่อเรา
  • 8:02 - 8:07
    คนที่ต้องอยู่โดดเดี่ยว
    ในระดับที่มากกว่าที่ตนเองต้องการ
  • 8:07 - 8:10
    พบว่าตนเองมีความสุขน้อยกว่า
  • 8:10 - 8:13
    สุขภาพแย่ลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่วัยกลางคน
  • 8:13 - 8:15
    การทำงานของสมองก็ถดถอยลงเร็วกว่า
  • 8:15 - 8:19
    และอายุสั้นกว่าคนที่ไม่เหงา
  • 8:20 - 8:23
    และข้อเท็จจริงที่น่าเศร้าคือ
    ในทุกๆ ชั่วขณะใดๆ
  • 8:23 - 8:28
    คนอเมริกันมากกว่าหนึ่งในห้า
    รายงานว่าตนเองเหงา
  • 8:29 - 8:31
    และเรารู้ว่า คุณอาจจะเหงา
    แม้อยู่ท่ามกลางผู้คน
  • 8:31 - 8:34
    และเหงาทั้งๆ ที่มีคู่แต่งงาน
  • 8:34 - 8:36
    ดังนั้น บทเรียนสำคัญข้อสอง
    ที่เราได้เรียนรู้
  • 8:36 - 8:39
    คือ มันไม่ใช่แค่ว่าคุณมีเพื่อนกี่คน
  • 8:39 - 8:43
    หรือคุณมีความสัมพันธ์ที่ผูกมัดหรือไม่
  • 8:43 - 8:48
    แต่มันขึ้นอยู่กับคุณภาพของความสัมพันธ์
  • 8:48 - 8:53
    เราพบว่า การใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลาง
    ความขัดแย้งนั้นแย่กับสุขภาพของเรามากจริงๆ
  • 8:53 - 8:57
    เช่น ชีวิตคู่ที่มีความขัดแย้งสูง
    ไม่ค่อยแสดงความรักความอบอุ่น
  • 8:58 - 9:04
    มีผลเสียกับสุขภาพของเรา
    อาจจะมากยิ่งกว่าการหย่าร้างเสียอีก
  • 9:04 - 9:09
    และการอยู่ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ดี
    อบอุ่น เป็นปัจจัยที่ปกป้องเรา
  • 9:09 - 9:12
    เมื่อเราเฝ้าติดตามชายเหล่านี้
    ไปจนเขาอายุ 80
  • 9:12 - 9:15
    เราอยากจะมองย้อนกลับไป
    ช่วงที่เขาอยู่ในวัยกลางคน
  • 9:16 - 9:17
    เพื่อดูว่าเราจะสามารถทำนาย
  • 9:17 - 9:21
    ว่าใครจะเติบโตขึ้นเป็นคนวัย 80
    ที่แข็งแรงและมีความสุข
  • 9:21 - 9:23
    และใครจะไม่มีความสุข
  • 9:23 - 9:27
    เมื่อเรารวบรวมข้อมูลทุกอย่าง
    ที่เรารู้เกี่ยวกับพวกเขา
  • 9:28 - 9:29
    ตอนอายุ 50
  • 9:30 - 9:32
    ปรากฏว่า ระดับคอเลสเตอรอลตอนวัยกลางคน
  • 9:32 - 9:35
    ไม่สามารถทำนายได้ว่า
    วัยชราของเขาจะเป็นอย่างไร
  • 9:35 - 9:39
    แต่มันขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ
    ในความสัมพันธ์ที่เขามี
  • 9:39 - 9:44
    คนที่พึงพอใจในความสัมพันธ์มากที่สุด
    ตอนอายุ 50
  • 9:44 - 9:46
    เป็นคนที่สุขภาพแข็งแรงที่สุดตอนอายุ 80
  • 9:47 - 9:50
    ดูเหมือนความสัมพันธ์ที่ดี
    และใกล้ชิดจะเป็นกันชน
  • 9:50 - 9:53
    ปกป้องเราจากก้อนหินและคมธนู
    จากการก้าวเข้าสู่วัยชรา
  • 9:54 - 9:58
    คู่ชีวิตชายหญิงที่มีความสุขมากที่สุด
  • 9:58 - 10:00
    รายงานตอนช่วงอายุ 80 ว่า
  • 10:00 - 10:03
    วันที่เขามีความเจ็บปวดทางร่างกาย
  • 10:03 - 10:05
    อารมณ์ของเขาก็ยังคงเป็นสุขเท่าเดิม
  • 10:06 - 10:09
    แต่คนที่ไม่มีความสุขในความสัมพันธ์
  • 10:09 - 10:12
    วันที่เขารายงานว่ามีความเจ็บปวดทางกาย
  • 10:12 - 10:15
    ความเจ็บปวดนั้นยิ่งถูกซ้ำเติม
    ด้วยความเจ็บปวดทางอารมณ์
  • 10:17 - 10:22
    และบทเรียนสำคัญข้อสามที่เราได้เรียนรู้
    เกี่ยวกับความสัมพันธ์และสุขภาพ
  • 10:22 - 10:25
    คือ ความสัมพันธ์ที่ดี
    ไม่เพียงปกป้องร่างกายของเรา
  • 10:25 - 10:27
    แต่มันยังปกป้องสมองของเราด้วย
  • 10:28 - 10:32
    ปรากฎว่า การอยู่ในความสัมพันธ์
    ที่อบอุ่นมั่นคง
  • 10:32 - 10:36
    กับใครสักคนตอนคุณอยู่ในวัย 80
    ช่วยปกป้องคุณ
  • 10:36 - 10:38
    คนที่อยู่ในความสัมพันธ์
  • 10:38 - 10:42
    ที่รู้สึกว่า เขาพึ่งพาอีกฝ่ายหนึ่งได้
    ในเวลาที่จำเป็น
  • 10:42 - 10:46
    คนเหล่านี้มีความจำที่คมชัดยาวนานกว่า
  • 10:46 - 10:48
    และคนที่อยู่ในความสัมพันธ์
  • 10:48 - 10:51
    ที่เขารู้สึกว่าไม่สามารถ
    พึ่งพาอีกฝ่ายหนึ่งได้
  • 10:51 - 10:55
    คนเหล่านี้มีอาการความจำเสื่อมถอยเร็วกว่า
  • 10:56 - 10:59
    ความสัมพันธ์ที่ดี
    ไม่จำเป็นต้องราบรื่นตลอดเวลา
  • 10:59 - 11:03
    คู่รักช่วงวัยแปดสิบบางคู่อาจโต้เถียงกัน
  • 11:03 - 11:04
    ไม่เว้นแต่ละวัน
  • 11:04 - 11:08
    แต่ตราบใดที่เขายังรู้สึกว่า
    เขาพึ่งพาซึ่งกันและกันได้
  • 11:08 - 11:09
    เมื่อเจอสถานการณ์ยากลำบาก
  • 11:10 - 11:13
    การโต้เถียงเหล่านั้นก็ไม่ส่งผลกระทบ
    กับความจำของเขา
  • 11:15 - 11:17
    ประเด็นนี้
  • 11:17 - 11:23
    ที่ว่าความสัมพันธ์ที่ดีและใกล้ชิดนั้น
    ดีต่อสุขภาพและสุขภาวะของเรา
  • 11:23 - 11:26
    เป็นภูมิปัญญาที่เก่าแก่เท่ากับขุนเขา
  • 11:26 - 11:29
    มันเหมือนคำแนะนำที่คุณย่าคุณยาย
    และบาทหลวงบอกคุณ
  • 11:30 - 11:32
    แล้วทำไมมันจึงเข้าใจยากนัก
  • 11:33 - 11:35
    เช่น เรื่องความร่ำรวยนั้น เรารู้ว่า
  • 11:35 - 11:38
    เมื่อความต้องการพื้นฐานทางวัตถุ
    ได้รับการตอบสนองแล้ว
  • 11:39 - 11:40
    ความร่ำรวยก็ไม่มีความหมาย
  • 11:40 - 11:44
    ถ้าคุณทำเงินได้มากขึ้น
    จาก 75,000 ดอลลาร์ต่อปี
  • 11:44 - 11:45
    เพิ่มเป็น 75 ล้าน
  • 11:46 - 11:50
    เราเรียนรู้แล้วว่า สุขภาพและความสุขของคุณ
    จะเปลี่ยนน้อยมาก
  • 11:50 - 11:51
    ถ้ามีการเปลี่ยนนะ
  • 11:52 - 11:53
    ส่วนเรื่องชื่อเสียง
  • 11:54 - 11:56
    การถูกสื่อรุกล้ำ
  • 11:57 - 11:58
    และการขาดความเป็นส่วนตัว
  • 11:58 - 12:01
    ทำให้คนมีชื่อเสียงส่วนใหญ่
    มีสุขภาพแย่ลง
  • 12:02 - 12:05
    มันไม่ได้ทำให้เขามีความสุขมากขึ้นแน่ๆ
  • 12:06 - 12:09
    ส่วนการทำงานหนักขึ้นนั้น
  • 12:09 - 12:12
    มันมีความจริงที่เห็นได้ชัดข้อหนึ่งว่า
    ตอนใกล้ตาย
  • 12:12 - 12:15
    ไม่เคยมีใครนึกเสียดายว่า
    เขาน่าจะใช้เวลาในที่ทำงานมากขึ้น
  • 12:15 - 12:16
    (เสียงหัวเราะ)
  • 12:17 - 12:21
    ทำไมเรื่องพวกนี้จึงเข้าใจยากนัก
    และถูกละเลยง่ายนัก
  • 12:21 - 12:23
    คือ เราทุกคนล้วนเป็นมนุษย์
  • 12:23 - 12:26
    และสิ่งที่เราอยากได้คือ
    การแก้ปัญหาที่รวดเร็ว
  • 12:26 - 12:27
    อะไรที่เราสามารถซื้อหาได้
  • 12:27 - 12:30
    ที่ทำให้ชีวิตเราดี
    และรักษาให้มันดีอยู่อย่างนั้น
  • 12:31 - 12:34
    ความสัมพันธ์นั้นยุ่งเหยิงและซับซ้อน
  • 12:34 - 12:38
    และงานหนักในการดูแลครอบครัวและเพื่อน
  • 12:38 - 12:41
    ไม่ได้เร้าใจหรืองดงาม
  • 12:41 - 12:44
    มันเป็นภาระที่ยาวนานตลอดชีวิต
    ไม่มีวันสิ้นสุด
  • 12:44 - 12:49
    ผู้เข้าร่วมการศึกษาระยะยาว 75 ปีนี้
    ที่เกษียณแล้วมีความสุขมากที่สุด
  • 12:50 - 12:56
    คือคนที่พยายามหาเพื่อนเล่น
    มาทดแทนเพื่อนร่วมงาน
  • 13:00 - 13:03
    เหมือนกับคนรุ่นมิลเลเนียล
    ในการสำรวจล่าสุด
  • 13:03 - 13:07
    ตอนเป็นผู้ใหญ่ตอนต้น
    ชายในโครงการวิจัยนี้หลายคน
  • 13:07 - 13:11
    ก็เชื่อว่าชื่อเสียง ความร่ำรวย
    และความสำเร็จ
  • 13:11 - 13:15
    คือสิ่งที่เขาต้องไขว่คว้า
    เพื่อให้มีชีวิตที่ดี
  • 13:15 - 13:20
    แต่ตลอด 75 ปีที่ผ่านมา ผลการศึกษาของเรา
    แสดงให้เห็นซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า
  • 13:20 - 13:25
    คนที่มีชีวิตที่ดีที่สุด
    คือคนที่ใส่ใจในความสัมพันธ์
  • 13:25 - 13:29
    กับครอบครัว กับเพื่อน
    กับคนในชุมชน
  • 13:30 - 13:32
    แล้วคุณล่ะ
  • 13:32 - 13:36
    สมมุติคุณอายุ 25 ปี
    หรือ 40 หรือ 60 ปี
  • 13:37 - 13:40
    การโน้มเอียงเข้าหาความสัมพันธ์
    มันจะหน้าตาอย่างไร
  • 13:41 - 13:44
    มันมีความเป็นไปได้ไม่สิ้นสุด
  • 13:45 - 13:51
    อาจจะเป็นอะไรง่ายๆ เช่นใช้เวลากับคน
    แทนที่จะใช้เวลากับจอ
  • 13:51 - 13:55
    หรือสร้างชีวิตชีวาให้ความสัมพันธ์ที่จืดจาง
    โดยทำอะไรใหม่ๆ ด้วยกัน
  • 13:56 - 13:58
    เดินเล่นด้วยกันยาวๆ
    หรือนัดเดทกันยามค่ำคืน
  • 13:59 - 14:04
    หรือติดต่อสมาชิกในครอบครัว
    ที่คุณไม่ได้พูดคุยด้วยมาหลายปี
  • 14:04 - 14:07
    เพราะความบาดหมางในครอบครัว
    ที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ
  • 14:07 - 14:09
    ส่งผลเสียที่ร้ายแรง
  • 14:09 - 14:11
    ต่อคนที่คิดอาฆาตพยาบาท
  • 14:13 - 14:17
    ผมอยากจบด้วยคำพูดของมาร์ก ทเวน
  • 14:19 - 14:21
    ที่พูดไว้มากกว่าหนึ่งศตวรรษมาแล้ว
  • 14:21 - 14:24
    เขามองย้อนกลับไปในชีวิตของเขา
  • 14:24 - 14:25
    และเขียนไว้ว่า
  • 14:26 - 14:30
    "ชีวิตคนเรานั้นสั้น
    ไม่มีเวลาสำหรับการทะเลาะ
  • 14:30 - 14:35
    คำขอโทษ ความอิจฉาริษยา
    การกล่าวโทษและเรียกร้องหาคำอธิบาย
  • 14:36 - 14:39
    มีแต่เวลาสำหรับการรัก
  • 14:39 - 14:43
    ซึ่งก็มีเวลาสั้นมาก เช่นเดียวกัน"
  • 14:44 - 14:49
    ชีวิตที่ดี สร้างขึ้นจากความสัมพันธ์ที่ดี
  • 14:49 - 14:51
    และนั่นคือความคิดที่ควรค่าแก่การเผยแพร่
  • 14:51 - 14:52
    ขอบคุณครับ
  • 14:52 - 14:58
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ชีวิตที่ดีสร้างด้วยอะไร? บทเรียนจากการศึกษาเรื่องความสุขที่ยาวนานที่สุด | โรเบิร์ต วอลดิงเจอร์ | TEDxBeaconStreet
Description:

อะไรทำให้เรามีความสุขและสุขภาพดีในการดำเนินชีวิต ถ้าคุณคิดว่าคำตอบคือชื่อเสียงและเงินทอง คุณไม่ใช่คนเดียวหรอกที่คิดอย่างนั้น แต่จิตแพทย์ โรเบิร์ต วอลดิงเจอร์บอกว่าเราเข้าใจผิด ในฐานะผู้อำนวยการของโครงการวิจัยที่ยาวนาน 75 ปี ด้านพัฒนาการของผู้ใหญ่ วอลดิงเจอร์ได้เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับความสุขและความพึงพอใจที่แท้จริงที่ไม่เคยมีใครเข้าถึงได้มาก่อน ในการบรรยายนี้ เขาเล่าบทเรียนสำคัญ 3 บทเรียนที่ได้เรียนรู้จากโครงการวิจัยนี้ รวมถึงภูมิปัญญาเก่าแก่ในเชิงปฏิบัติว่าด้วยการสร้างชีวิตที่ยืนยาวและเปี่ยมสุข

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDxTalks
Duration:
15:04

Thai subtitles

Revisions