Return to Video

ห้าศาสนาหลักของโลก - จอห์น เบลไลมีย์ (John Bellaimey)

  • 0:07 - 0:09
    ไม่ว่าในยุคสมัยใดหรือที่ไหน
  • 0:09 - 0:11
    มนุษย์เราต่างสงสัย
  • 0:11 - 0:12
    "ว่าเรามาจากที่ใด
  • 0:12 - 0:14
    มาเพื่อทำสิ่งใดในโลก
  • 0:14 - 0:17
    เมื่อตายไปแล้วเราจะเป็นอย่างไร"
  • 0:17 - 0:19
    ศาสนาคือระบบความเชื่อ
  • 0:19 - 0:21
    ที่เจริญและมีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ
  • 0:21 - 0:22
    เพื่อตอบสนองต่อปริศนาเหล่านี้
  • 0:22 - 0:24
    และอื่น ๆ
  • 0:24 - 0:26
    ที่เรารู้สึกว่าบางคำถาม
  • 0:26 - 0:28
    จะได้รับการคลี่คลายได้
    ก็ด้วยเพียงศรัทธาเท่านั้น
  • 0:28 - 0:29
    และจากการตระหนักรู้ด้วยตนเอง
  • 0:29 - 0:31
    ว่ามีสิ่งที่ยิ่งใหญ่ว่าตัวของเรา
  • 0:31 - 0:34
    มีอำนาจที่อยู่เหนือกว่าเรา
    ที่เราจะต้องขานรับ
  • 0:34 - 0:36
    หรือมีแหล่งที่เป็นต้นกำเนิดของเราทุกคน
  • 0:36 - 0:38
    และที่ซึ่งเราต้องย้อนกลับไป
  • 0:39 - 0:42
    ฮินดูหมายถึงศาสนาของอินเดีย
  • 0:42 - 0:43
    มันไม่ใช่ศาสนาเพียงศาสนาเดียว
  • 0:43 - 0:45
    แต่เป็นการรวมกลุ่มความเชื่อที่คล้ายกัน
  • 0:45 - 0:47
    และพิธีกรรมทางจิตวิญญาณต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน
  • 0:47 - 0:49
    ย้อนกับไปเมื่อห้าพันปีก่อน
  • 0:49 - 0:50
    ตั้งแต่ยุคของพระกฤษณะ
  • 0:50 - 0:52
    ผู้เปี่ยมด้วยคุณธรรม
  • 0:52 - 0:54
    จนเป็นที่ถือกันว่า
    ท่านเป็นร่างอวตารของพระวิษณุ
  • 0:54 - 0:57
    เทพที่กลับชาติมาเกิดเป็นมนุษย์
  • 0:57 - 1:00
    ท่านทรงสอนว่าทุกชีวิตเป็นไปตามกรรม
  • 1:00 - 1:01
    ซึ่งก็คือคือกฎแห่งเหตุและผล
  • 1:01 - 1:05
    และเรานั้นต้องทำหน้าที่ของเรา
    ซึ่งก็คือการปฏิบัติธรรม
  • 1:05 - 1:06
    ตามฐานะของตนในสังคม
  • 1:06 - 1:09
    โดยไม่ต้องกังวลถึงผลลัพธ์
  • 1:09 - 1:12
    เมื่อตาย เราจะไปถือเกิดในร่างใหม่
  • 1:12 - 1:14
    หากเราทำตามธรรมของตน
  • 1:14 - 1:16
    และทำหน้าที่ในชาติก่อนได้อย่างเหมาะสม
  • 1:16 - 1:17
    เราจะได้รับกรรมดี
  • 1:17 - 1:20
    ซึ่งจะส่งให้วิญญาณของเรา
    อยู่ในระดับสังคมที่สูงขึ้น
  • 1:20 - 1:22
    ชีวิตในชาติหน้าของเรา
  • 1:22 - 1:25
    จึงขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราทำในชาตินี้
  • 1:25 - 1:28
    วัฎจักรการเกิดใหม่นี้เรียกว่า สังสาระ
  • 1:28 - 1:30
    มันเป็นไปได้สำหรับผู้ที่เคร่งศาสนามาก ๆ
  • 1:30 - 1:33
    ที่ตลอดชีวิตได้ทำกรรมดีเอาไว้มากพอ
  • 1:33 - 1:34
    ที่จะสามารถหลุดพ้นจากสังสารวัฏได้
  • 1:34 - 1:37
    การหลุดพ้นที่ว่านี้เรียกว่า โมกษะ
  • 1:37 - 1:40
    ฮินดูสอนว่าทุกสิ่งเป็นหนึ่งเดียว
  • 1:40 - 1:41
    ทั้งจักรวาล
  • 1:41 - 1:44
    คือสัจธรรมเดียวที่อยู่เหนืออื่นใด
    ที่เรียกว่า พรหม
  • 1:44 - 1:46
    และพรหมมีอยู่เพียงหนึ่งเดียว
  • 1:46 - 1:47
    แต่มีเทพอยู่ในพรหมมากมาย
  • 1:47 - 1:50
    แต่ละองค์มีบทบาท รูปลักษณะ
    และคุณสมบัติที่แตกต่างกัน
  • 1:50 - 1:52
    ตามธรรมเนียมต่าง ๆ
  • 1:52 - 1:54
    พระพรหมคือผู้สร้าง
  • 1:54 - 1:56
    พระวิษณุคือผู้รักษา
  • 1:56 - 1:59
    ซึ่งบางครั้งทรงร่างมนุษย์
  • 1:59 - 2:01
    และพระศิวะคือผู้ทำลาย
  • 2:01 - 2:03
    หรือนาฏราช
  • 2:03 - 2:06
    ทุรคาคือพระมารดาผู้ปกป้องที่ดุดัน
  • 2:06 - 2:08
    พระคเณศมีเศียรเป็นช้าง
  • 2:08 - 2:11
    เป็นองค์อุปถัมภ์ความสำเร็จ
  • 2:11 - 2:15
    ฮินดูเป็นศาสนาที่ใหญ่เป็นลำดับสามของโลก
  • 2:15 - 2:17
    และถึงแม้ว่าชาวฮินดูส่วนมาก
    จะอยู่ในประเทศอินเดีย
  • 2:17 - 2:19
    แต่พวกเขาก็อาศัยอยู่ในทุกทวีป
  • 2:19 - 2:21
    ถึงหนึ่งพันล้านคน
  • 2:22 - 2:23
    เอาล่ะ ไปทางตะวันตกกันบ้าง
  • 2:23 - 2:25
    ข้ามทะเลทรายและภูเขา
  • 2:25 - 2:28
    ไปยังอู่ข้าวอู่น้ำเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อน
  • 2:28 - 2:30
    ศาสนายูดาห์เกิดขึ้นเมื่อพระเจ้าทรงเรียก
  • 2:30 - 2:33
    อับราฮัมและซาราห์
    ให้อพยพจากเมโสโปเตเมีย
  • 2:33 - 2:35
    ไปยังดินแดนแห่งคานาอัน
  • 2:35 - 2:38
    เพื่อตอบแทนศรัทธาของพวกเขา
    ที่มีต่อพระเจ้าองค์เดียวนั้น
  • 2:38 - 2:40
    ซึ่งนั่นเป็นแนวคิดใหม่
  • 2:40 - 2:42
    ในยุคพหุเทวนิยมในตอนนั้น
  • 2:42 - 2:46
    พระเจ้าสัญญาจะให้แผ่นดิน
    และทายาทกับพวกเขามากมาย
  • 2:46 - 2:48
    ด้วยพันธสัญญานี้
    จึงกำเนิดประเทศอิสราเอล
  • 2:48 - 2:49
    และผู้ที่พระเจ้าทรงเลือก
  • 2:49 - 2:51
    แต่การอาศัยในดินแดนนั้น
  • 2:51 - 2:52
    และการรวมให้ทุกคนอยู่ร่วมกัน
  • 2:52 - 2:54
    เป็นเรื่องยากมาก
  • 2:54 - 2:57
    ชาวอิสราเอลตกเป็นทาสในอียิปต์
  • 2:57 - 2:59
    แต่พระเจ้าทรงปลดปล่อยพวกเขา
  • 2:59 - 3:00
    ด้วยความช่วยเหลือ
    จากศาสดาโมเสส
  • 3:00 - 3:02
    ผู้ได้รับบัญญัติสิบประการ
  • 3:02 - 3:05
    และบัญญัติอีกหลายร้อยประการ
    ในเวลาต่อมา
  • 3:05 - 3:06
    พวกเขาพิชิตดินแดนแห่งพันธสัญญา
  • 3:06 - 3:09
    แต่รักษามันเอาไว้ได้เพียงไม่กี่ร้อยปี
  • 3:09 - 3:11
    อิสราเอลอยู่ในจุดตัดผ่าน
  • 3:11 - 3:13
    ของกองทัพมากมาย
  • 3:13 - 3:14
    ตลอดหลายศตวรรษ
  • 3:14 - 3:16
    ในปี ค.ศ. 70
  • 3:16 - 3:17
    พวกโรมันทำลายโบสถ์
  • 3:17 - 3:19
    ในนครเยรูซาเลม
    เมืองหลวงของพวกเขา
  • 3:19 - 3:21
    ฉะนั้น ศาสนาจึงเปลี่ยนแปลงไป
  • 3:21 - 3:22
    จากศาสนาที่มีโบสถ์
  • 3:22 - 3:24
    มีการบูชายัญและนักบวช
  • 3:24 - 3:26
    ไปเป็นศาสนายึดถือคัมภีร์แทน
  • 3:26 - 3:28
    ด้วยเหตุนี้ยูดาห์จึงเป็นศาสนา
  • 3:28 - 3:31
    แห่งสัญลักษณ์ ความยำเกรง
    และความหมายอันล้ำซึ้ง
  • 3:31 - 3:34
    ที่ผูกพันกับวรรณกรรม
    ที่เกี่ยวกับประวัติของมัน
  • 3:34 - 3:35
    คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์หลายเล่มคัมภีร์
    ประกอบรวมกัน
  • 3:35 - 3:37
    เป็นทานัคหรือไบเบิ้ลของฮีบรู
  • 3:37 - 3:40
    และบันทึกถึงการอภิปราย
    และการตีความมากมาย
  • 3:40 - 3:42
    ถูกรวบรวมเอาไว้เป็นประมวลบันทึก
  • 3:42 - 3:43
    แห่งความหมายเชิงลึก
  • 3:43 - 3:45
    ที่เรียกว่า ทัลมุด
  • 3:45 - 3:48
    ชาวยิวเสาะหาความหมายมากมาย
    ที่เปี่ยมไปด้วยสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน
  • 3:48 - 3:49
    ณ มื้ออาหารในวันปัสกา
  • 3:49 - 3:51
    ทุกสิ่งทุกอย่างในรายการอาหาร
    เป็นสัญลักษณ์ของ
  • 3:51 - 3:54
    มุมมองของการหลุดพ้น
    จากความเป็นทาส
  • 3:54 - 3:55
    ความสำคัญต่อการเติบโต
  • 3:55 - 3:57
    ถูกเน้นย้ำให้เมื่อเด็ก
  • 3:57 - 3:59
    มีอายุถึงบาร์และบัทมิซวาห์
  • 3:59 - 4:01
    ซึ่งคือการฉลองแห่งเจริญสู่วัย
    ที่ได้มาซึ่งความรับผิดชอบ
  • 4:01 - 4:02
    ต่อการกระทำของตน
  • 4:02 - 4:04
    และการฉลองการร้อยเรียง
  • 4:04 - 4:05
    ชีวิตของตน
  • 4:05 - 4:07
    ให้เข้าสู่ศรัทธา ประวัติศาสตร์
    และบันทึกอักษร
  • 4:07 - 4:08
    ของคัมภีร์ของชาวยิว
  • 4:08 - 4:11
    มีชาวยิว 14 ล้านคนทั่วโลกในปัจจุบัน
  • 4:11 - 4:13
    6 ล้านคนอยู่ในอิสราเอล
  • 4:13 - 4:14
    ซึ่งได้รับอิสระ
  • 4:14 - 4:17
    หลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
    ในสงครามโลกครั้งที่สอง
  • 4:17 - 4:20
    และอีก 5 ล้านคนอยู่ในสหรัฐฯ
  • 4:20 - 4:24
    แต่ตอนนี้ มาย้อนเวลากลับไป
    2,500 ปีก่อน และกลับไปที่อินเดีย
  • 4:24 - 4:25
    ที่ซึ่งศาสนาพุทธถือกำเนิดขึ้น
  • 4:25 - 4:28
    จากเจ้าชายหนุ่มนามว่า สิทธัตถะ
  • 4:28 - 4:29
    ในคืนที่ทรงมาจุติในครรภ์
    ของพระมารดา
  • 4:29 - 4:31
    พระนางมายา
  • 4:31 - 4:33
    พระมารดาของพระองค์ทรงพระสุบิน
  • 4:33 - 4:36
    ว่ามีช้างเผือกมาหาที่ข้างพระองค์
  • 4:36 - 4:38
    สิบเดือนต่อมา
    เจ้าชายสิทธัตถะก็ประสูติ
  • 4:38 - 4:40
    ท่ามกลางทรัพย์สมบัติมากมาย
  • 4:40 - 4:42
    เมื่อได้ทรงออกไปจากราชฐาน
  • 4:42 - 4:43
    ที่ทรงอาศัยอยู่เมื่อครั้งเป็นมาณพ
  • 4:43 - 4:45
    ก็ได้เสด็จไปเห็น
    ความทุกข์ทรมานของมนุษย์
  • 4:45 - 4:46
    ที่พระองค์ไม่เคยได้พบมาก่อน
  • 4:46 - 4:49
    จึงทรงออกไปค้นหา
    ต้นตอแห่งทุกข์ทันที
  • 4:49 - 4:52
    เหตุใดมนุษย์ต้องเผชิญทุกข์
  • 4:52 - 4:55
    เราต้องเวียนว่ายตายเกิด
    เป็นร้อยครั้งพันครั้งด้วยหรือ
  • 4:55 - 4:56
    แรกเริ่มทรงคิดว่าปัญหานั้น
  • 4:56 - 4:58
    เกิดจากการยึดติดวัตถุ
  • 4:58 - 5:00
    พระองค์จึงทรงสละสมบัติ
  • 5:00 - 5:02
    ทรงไปเป็นภิกขาจาร
  • 5:02 - 5:05
    ทว่า นั่นก็ไม่ได้ทำให้ทรงมีความสุข
    มากขึ้นแต่อย่างใด
  • 5:05 - 5:08
    จนเมื่อทรงได้ยินครูสอนดนตรี
    ที่บอกกับศิษย์ว่า
  • 5:08 - 5:10
    "อย่าขึ้นสายให้ตึงนัก มันจะขาดเอาได้
  • 5:10 - 5:12
    แต่ก็อย่าให้หย่อนยานจนเกินไป
  • 5:12 - 5:14
    เพราะเสียงจะไม่ดัง"
  • 5:14 - 5:15
    ทันใดนั้นเอง
    พระองค์ทรงตระหนักว่า
  • 5:15 - 5:17
    การทุ่มเทสุดโต่งเพื่อหาคำตอบนั้น
  • 5:17 - 5:18
    ไม่ถูกต้อง
  • 5:18 - 5:21
    "ทางสายกลางระหว่าง
    ความฟุ่มเฟือยกับความข้นแค้น"
  • 5:21 - 5:22
    น่าจะเหมาะสมที่สุด
  • 5:22 - 5:24
    และเมื่อทรงนั่งสมาธิที่ใต้ต้นโพธิ์
  • 5:24 - 5:27
    คำตอบอื่น ๆ ก็พรั่งพรูเข้ามา
  • 5:27 - 5:29
    ทุกชีวิตเต็มไปด้วยความทุกข์
  • 5:29 - 5:31
    ซึ่งเกิดจากความเห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้
  • 5:31 - 5:35
    เพื่อตนเองโดยการเบียดเบียนผู้อื่น
  • 5:35 - 5:36
    การปฏิบัติตามหลักแปดประการ
  • 5:36 - 5:38
    จะสอนให้เราลดกิเลส
  • 5:38 - 5:41
    และจึงเป็นการลดความทุกข์ลงได้
  • 5:41 - 5:44
    วันนั้น เจ้าชายสิทธัตถะ
    ได้กลายเป็นพระพุทธเจ้า
  • 5:44 - 5:45
    ซึ่งหมายถึง ผู้รู้แจ้ง
  • 5:45 - 5:48
    ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว
    แต่ทรงเป็นองค์แรก
  • 5:48 - 5:49
    แนวทางของพระพุทธเจ้าเรียกว่า
  • 5:49 - 5:50
    อริยมรรค
  • 5:50 - 5:52
    และถึงแม้ว่าการปฏิบัติตามนั้น
    อาจไม่ได้ทำได้โดยง่าย
  • 5:52 - 5:53
    แต่มันก็ได้ชี้ทาง
  • 5:53 - 5:55
    ให้ผู้คนหลายล้านได้รู้แจ้ง
  • 5:55 - 5:57
    ซึ่งนั่นก็คือความหมายของศาสนาพุทธ
  • 5:57 - 5:58
    นั่นคือมีความกรุณา
  • 5:58 - 5:59
    รู้ตน
  • 5:59 - 6:00
    สงบ
  • 6:00 - 6:02
    และแน่วแน่
  • 6:02 - 6:04
    นับแต่พระองค์ตรัสรู้ใต้พระศรีมหาโพธิ์
  • 6:04 - 6:06
    จวบจนปรินิพพานเมื่อชรา
  • 6:06 - 6:08
    พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนวิธีสู่ความรู้แจ้ง
  • 6:08 - 6:09
    มีวาจาชอบ
  • 6:09 - 6:10
    มีเป้าหมายชอบ
  • 6:10 - 6:12
    จิตตั้งมั่นแต่ในความเป็นจริง
  • 6:12 - 6:15
    และมีใจมุ่งรักผู้อื่น
  • 6:15 - 6:17
    ชาวพุทธจำนวนมากเชื่อว่า
    มีพระเจ้าหรือเทพ
  • 6:17 - 6:20
    แต่การกระทำนั้นสำคัญกว่าความเชื่อ
  • 6:20 - 6:22
    มีชาวพุทธเกือบหนึ่งพันล้านคน
  • 6:22 - 6:23
    ในโลกของเราทุกวันนี้
  • 6:23 - 6:27
    ส่วนมากอยู่ในเอเชียตะวันออก
    ตะวันออกเฉียงใต้และใต้
  • 6:28 - 6:31
    เมื่อ 2,000 ปีก่อน
    ศาสนาคริสต์ถือกำเนิดขึ้น
  • 6:31 - 6:33
    ในดินแดนแห่งพันธสัญญาของยิว
  • 6:33 - 6:36
    เช่นเดียวกับที่ชาวฮินดูเชื่อว่า
    พระกฤษณะคือเทพในร่างมนุษย์
  • 6:36 - 6:39
    ชาวคริสต์ก็กล่าวถึงพระเยซูลักษณะนั้น
  • 6:39 - 6:40
    ศาสนาคริสต์แยกตัวออกมา
    จากศาสนายูดาห์
  • 6:40 - 6:43
    เช่นเดียวกับที่ศาสนาพุทธ
    แยกตัวออกมาจากศาสนาฮินดู
  • 6:43 - 6:46
    พระเจ้าของอับราฮัม
    ส่งเทวทูตกาเบรียล
  • 6:46 - 6:48
    ลงมาเพื่อมาขอให้หญิงสาวชื่อ แมรี
  • 6:48 - 6:50
    เป็นมารดาของพระบุตรของพระองค์
  • 6:50 - 6:52
    พระบุตรนั้นคือ พระเยซู
  • 6:52 - 6:53
    ผู้ถูกเลี้ยงดูมาในครอบครัวของช่างไม้
  • 6:53 - 6:55
    โดยมีแมรีและโจเซฟผู้สามีเป็นพ่อแม่
  • 6:55 - 6:57
    จนกระทั่งอายุ 30 ปี
  • 6:57 - 6:59
    จึงทรงเริ่มรับใช้ประชาชน
  • 6:59 - 7:01
    ในฐานะผู้เผยพระวจนะของพระเจ้า
  • 7:01 - 7:03
    ด้วยความที่ทรงให้ความสำคัญ
    ในเรื่องศาสนา
  • 7:03 - 7:04
    น้อยกว่าความยุติธรรมและเมตตา
  • 7:04 - 7:07
    พระเยซูทรงรักษาผู้ป่วยเพื่อดึงผู้คนเข้ามา
  • 7:07 - 7:10
    แล้วจึงสอนให้พวกเขารู้จักพระบิดาบนสวรรค์
  • 7:10 - 7:13
    ความรัก, การให้อภัย และการเอาใจใส่
  • 7:13 - 7:15
    จากนั้น พระองค์ทรงเชิญทุกคนนั่งร่วมโต๊ะกัน
  • 7:15 - 7:17
    เพื่อบรรยายถึงอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า
  • 7:17 - 7:22
    คนจรจัด คนบาป และนักบุญ
    ต่างกินร่วมโต๊ะรับประทานอาหารกัน
  • 7:22 - 7:23
    พระองค์มีเวลาเพียงสามปีเท่านั้น
  • 7:23 - 7:24
    ก่อนที่แนวคิดปรัชญาของพระองค์
    ที่ต่างจากคนทั่วไป
  • 7:24 - 7:26
    จะส่งผลร้ายต่อพระองค์
  • 7:26 - 7:27
    พระองค์ทรงถูกจับโดยศัตรู
  • 7:27 - 7:29
    และถูกตัดสินประหารชีวิตโดยกรุงโรม
  • 7:29 - 7:30
    ด้วยวิธีการตามโทษฐานความผิด
  • 7:30 - 7:33
    ข้อผู้ที่ปลุกปั่นประชาชน
  • 7:33 - 7:34
    ซึ่งก็คือการตรึงไม้กางเขน
    จนถึงแก่ความตาย
  • 7:34 - 7:36
    แต่ไม่นานหลังจากที่พระศพถูกฝัง
  • 7:36 - 7:38
    บรรดาหญิงกลุ่มหนึ่งก็พบว่า
    หลุมศพของพระองค์นั้นว่างเปล่า
  • 7:38 - 7:40
    และบอกต่อข่าวนั้นไปอย่างรวดเร็ว
  • 7:40 - 7:43
    ว่าพระองค์นั้นทรงฟื้นจากความตาย
  • 7:43 - 7:44
    ชาวคริสต์กลุ่มแรกบรรยายว่า
  • 7:44 - 7:46
    ทรงฟื้นคืนชีพของพระองค์
  • 7:46 - 7:49
    บันดาลใจคนให้เชื่อมั่นว่า
    ว่าสาส์นจากพระองค์นั้นเป็นความจริง
  • 7:49 - 7:53
    สาส์นนั้นคือ จงรักกันและกัน
    เหมือนดังที่เรารักท่าน
  • 7:53 - 7:55
    ชาวคริสต์ฉลองการประสูติของพระองค์
  • 7:55 - 7:57
    ในเดือนธันวาคม ในวันคริสต์มาส
  • 7:57 - 8:00
    ฉลองการทนทุกข์ ความตาย และคืนชีพ
    ของพระองค์
  • 8:00 - 8:02
    ในสัปดาห์ศักดิ์สิทธ์ช่วงฤดูใบไม้ผลิ
  • 8:02 - 8:03
    ในพิธีศีลล้างบาป
  • 8:03 - 8:05
    ซึ่งคือการชำระล้างขจัดบาป
  • 8:05 - 8:07
    และการต้อนรับเข้าสู่สังคมชาวคริสต์
  • 8:07 - 8:09
    ระลึกถึงการล้างบาปของพระเยซูเอง
  • 8:09 - 8:11
    เมื่อพระองค์สละชีวิตช่างไม้
  • 8:11 - 8:12
    ในพิธีศีลมหาสนิท
  • 8:12 - 8:14
    ชาวคริสต์กินขนมปังและดื่มไวน์
  • 8:14 - 8:17
    ซึ่งถือเสมือนร่างกายและพระโลหิต
    ของพระเยซู
  • 8:17 - 8:20
    ระลึกถึงอาหารมื้อสุดท้ายของพระองค์
  • 8:20 - 8:22
    ทั่วโลกมีชาวคริสต์อยู่สองพันล้านคน
  • 8:22 - 8:26
    เท่ากับเกือบหนึ่งในสามของประชากรโลก
  • 8:27 - 8:30
    ศาสนาอิสลามถือกำเนิดขึ้น
    เมื่อ 1,400 ปีที่แล้ว
  • 8:30 - 8:31
    เมื่อบุรุษผู้เปี่ยมคุณธรรม
  • 8:31 - 8:33
    ทำสมาธิอยู่ในถ้ำ
  • 8:33 - 8:35
    กลางทะเลทรายอาหรับ
  • 8:35 - 8:37
    พระองค์คือพระมูฮัมหมัด
  • 8:37 - 8:39
    ผู้ส่งสาส์นศักดิ์สิทธิ์ได้มาหาพระองค์
  • 8:39 - 8:41
    เช่นเดียวกันกับเทวทูตกาเบรียล
  • 8:41 - 8:43
    หรือที่เรียกในในภาษาอาหรับ ญิบรีล
  • 8:43 - 8:46
    เพื่อนำพระวจนะของพระอัลลอฮ์
  • 8:46 - 8:48
    หรือพระเจ้าองค์เดียวของอับราฮัม
    มาให้กับพระองค์
  • 8:48 - 8:49
    ในช่วงไม่กี่ปีต่อมา
  • 8:49 - 8:51
    สาสน์จากพระเจ้าก็ถูกส่งมาเรื่อย ๆ
  • 8:51 - 8:53
    และพระองค์ก็ทรงจดจำเอาไว้และสอนผู้คน
  • 8:53 - 8:56
    โคลงที่ทรงใช้สวดนั้น
    เต็มไปด้วยคำคม
  • 8:56 - 8:57
    คำคล้องจองที่สละสลวย
  • 8:57 - 8:59
    และอุปมาปริศนา
  • 8:59 - 9:02
    แต่พระมูฮัมหมัดเป็นพ่อค้า ไม่ใช่นักกวี
  • 9:02 - 9:03
    หลายคนจึงเชื่อว่าโคลงเหล่านั้น
  • 9:03 - 9:05
    เป็นพระวจนะจากพระเจ้าจริง ๆ
  • 9:05 - 9:08
    ผู้ที่มีความเชื่อเหล่านี้
    กลายเป็นชาวมุสลิมกลุ่มแรก
  • 9:08 - 9:11
    คำว่ามุสลิมแปลว่าผู้ภักดี
  • 9:11 - 9:14
    หมายถึงผู้ที่เชื่อฟังพระประสงค์
    ของพระผู้เป็นเจ้า
  • 9:14 - 9:16
    ฐานบัญญัติห้าประการ
  • 9:16 - 9:19
    หรือหน้าที่สำคัญของชาวมุสลิมได้แก่
  • 9:19 - 9:22
    ชาฮาดา
    คือการปฏิญาณตนของชาวมุสลิมที่ว่า
  • 9:22 - 9:25
    ไม่มีพระเจ้าอื่นใดอีกนอกจากพระอัลลอฮ์
  • 9:25 - 9:28
    และพระมูฮัมหมัด
    คือศาสดาองค์สุดท้ายของพระองค์
  • 9:28 - 9:31
    ซาลัต คือทำละหมาดวันละห้าครั้ง
    โดยหันหน้าไปทางกรุงเมกกะ
  • 9:31 - 9:34
    ซะกาต คือชาวมุสลิมทุกคน
  • 9:34 - 9:38
    ต้องบริจาครายได้สุทธิ
    ร้อยละ 2 ถึง 3 ให้กับผู้ยากไร้
  • 9:38 - 9:41
    เซาว์ คือพวกเขาต้องอดอาหาร
    ระหว่างช่วงเวลาที่ตะวันยังไม่ตกดิน
  • 9:41 - 9:43
    ในเดือนรอมฎอนตามปฏิทินจันทรคติ
  • 9:43 - 9:45
    เพื่อฝึกความยึดมั่นศรัทธา
  • 9:45 - 9:47
    และความไว้วางใจในพระเจ้า
  • 9:47 - 9:50
    และฮัจญ์ ซึ่งคือในชั่วชีวิตหนึ่ง
    ของชาวมุสลิม
  • 9:50 - 9:52
    หากเป็นไปได้
    พวกเขาต้องไปแสวงบุญ
  • 9:52 - 9:53
    ที่นครเมกกะอันศักดิ์สิทธิ
  • 9:53 - 9:54
    ฝึกตนให้พร้อมไว้
  • 9:54 - 9:56
    เมื่อถึงเวลาที่พวกเขา
    จะต้องยืนอยู่ต่อหน้าพระเจ้า
  • 9:56 - 9:58
    เพื่อรับการพิพากษาว่าควรหรือไม่
  • 9:58 - 10:00
    ที่พวกเขาจะมีชีวิตนิรันดร์
    อยู่กับพระองค์
  • 10:00 - 10:02
    พระวจนะของพระเจ้า
  • 10:02 - 10:04
    ที่ได้ถูกเผยแผ่ต่อพระศาสดา
    มาตลอด 23 ปี
  • 10:04 - 10:06
    ถูกรวบรวมเอาไว้ในพระคัมภีร์กุรอาน
  • 10:06 - 10:10
    ซึ่งแปลตามตรงได้ว่าว่า "การสวด"
  • 10:10 - 10:12
    ชาวมุสลิมเชื่อว่า
    นี่คือคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์เพียงเล่มเดียว
  • 10:12 - 10:14
    ที่ไร้ซึ่งทุจริตจากมนุษย์
  • 10:14 - 10:16
    หลายคนยังยกย่องอีกว่า
  • 10:16 - 10:17
    มันเป็นวรรณกรรมที่งดงามที่สุด
  • 10:17 - 10:19
    ในภาษาอาหรับ
  • 10:19 - 10:22
    ศาสนาอิสลามเป็นศาสนา
    ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก
  • 10:22 - 10:26
    นับถือโดยชาวมุสชิมทั่วโลก
    มากกว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านคน
  • 10:27 - 10:29
    ศาสนาได้ทำหน้าที่
    เป็นมุมมองหนึ่งของวัฒนธรรม
  • 10:29 - 10:31
    มานับตั้งแต่มันถือกำเนิดขึ้น
  • 10:31 - 10:34
    และมีรูปแบบต่าง ๆ มากมาย
  • 10:34 - 10:36
    แต่สิ่งที่ทุกศาสนามีร่วมกัน
  • 10:36 - 10:38
    ก็คือการแสวงหาความหมาย
  • 10:38 - 10:39
    ที่อยู่เหนือความทะนงตนอันว่างเปล่า
  • 10:39 - 10:42
    และการมีชีวิตอยู่
    โดยมิได้รู้ซึ้งถึงความเป็นจริง
  • 10:42 - 10:43
    เหนือกว่าบาป
  • 10:43 - 10:44
    ความทุกข์
  • 10:44 - 10:46
    และความตาย
  • 10:46 - 10:47
    เหนือความกลัว
  • 10:47 - 10:49
    และเหนือกว่าตัวเราเอง
Title:
ห้าศาสนาหลักของโลก - จอห์น เบลไลมีย์ (John Bellaimey)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/the-five-major-world-religions-john-bellaimey

เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะพยายามหาคำตอบให้คำถามที่ว่า "เรามาจากไหน" และ "ฉันจะใช้ชีวิตให้มีความหมายได้อย่างไร" คำถามเกี่ยวกับการดำรงอยู่เช่นนี้เป็นแกนของห้าศาสนาหลักของโลก แต่ทั้งห้าศาสนาไม่ได้สัมพันธ์กันเพียงแค่นั้น จอห์น เบลไลมีย์ อธิบายประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เกี่ยวพันกันของศาสนาฮินดู, ศาสนายูดาห์, ศาสนาพุทธ, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม

บทเรียนโดย John Bellaimey, แอนิเมชันโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
11:10
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The five major world religions - John Bellaimey
Panaya Hasitabhan accepted Thai subtitles for The five major world religions - John Bellaimey
Panaya Hasitabhan edited Thai subtitles for The five major world religions - John Bellaimey
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for The five major world religions - John Bellaimey
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The five major world religions - John Bellaimey
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The five major world religions - John Bellaimey
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The five major world religions - John Bellaimey
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The five major world religions - John Bellaimey
Show all

Thai subtitles

Revisions