Return to Video

เครื่องช่วยหายใจทำงานอย่างไร - อเล็กซ์ เจนดเลอร์

  • 0:07 - 0:11
    ในศตวรรษที่ 16 แอนเดรียส เวซาเลียส
    แพทย์ชาวเฟลมิช
  • 0:11 - 0:15
    อธิบายวิธีการช่วยชีวิตสัตว์ที่หายใจไม่ได้
  • 0:15 - 0:21
    โดยการใส่ท่อเข้าไปในหลอดลม
    และเป่าลมเข้าไปเพื่อทำให้ปอดพองตัว
  • 0:21 - 0:26
    ในปี 1555 กระบวนการนี้
    ไม่ได้รับความสนใจมากนัก
  • 0:26 - 0:29
    แต่ทุกวันนี้ บทความของเวซาเลียส
    กลายเป็นที่ยอมรับ
  • 0:29 - 0:33
    ในฐานะการบรรยายแรก
    เกี่ยวกับเครื่องช่วยหายใจ
  • 0:33 - 0:36
    ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการแพทย์แผนปัจจุบัน
  • 0:36 - 0:39
    เพื่อที่จะเข้าใจถึงความสำคัญ
    ของเครื่องช่วยหายใจ
  • 0:39 - 0:43
    เราต้องเข้าใจก่อนว่าระบบหายใจ
    ทำงานอย่างไร
  • 0:43 - 0:49
    เราหายใจโดยการหดกะบังลม
    ซึ่งไปขยายช่องอกของเรา
  • 0:49 - 0:54
    ทำให้อากาศถูกดึงเข้ามา
    และเกิดการพองของถุงลม
  • 0:54 - 0:58
    ซึ่งเป็นถุงเล็กๆ นับล้านถุงในปอดของเรา
  • 0:58 - 1:04
    ถุงลมเล็กๆ เหล่านี้ถูกล้อมรอบด้วยเส้นเลือดฝอย
    ที่กระจายตัวเป็นตาข่าย
  • 1:04 - 1:09
    เลือดในเส้นเลือดฝอยจะดูดซับ
    ออกซิเจนจากถุงลมที่พองตัว
  • 1:09 - 1:13
    และทิ้งคาร์บอนไดออกไซด์ไว้
  • 1:13 - 1:15
    เมื่อกะบังลมเกิดการคลายตัว
  • 1:15 - 1:21
    คาร์บอนไดออกไซด์จะถูกปล่อยออกมา
    พร้อมกับออกซิเจนและแก๊สอื่นๆ
  • 1:21 - 1:24
    เมื่อระบบหายใจของเราทำงานอย่างถูกต้อง
  • 1:24 - 1:27
    กระบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
  • 1:27 - 1:31
    แต่ระบบหายใจก็อาจหยุดทำงานได้
    จากอาการหลายอย่าง
  • 1:31 - 1:36
    โรคหยุดหายใจขณะหลับ
    หยุดการหดตัวของกะบังลม
  • 1:36 - 1:41
    โรคหอบหืดสามารถนำไปสู่การอักเสบ
    ของทางเดินหายใจซึ่งขัดขวางออกซิเจน
  • 1:41 - 1:46
    และโรคปอดอักเสบซึ่งส่วนมากถูกกระตุ้น
    โดยการติดเชื้อของแบคทีเรียหรือไวรัส
  • 1:46 - 1:49
    จะเข้าไปโจมตีถุงลมโดยตรง
  • 1:49 - 1:52
    เชื้อโรคที่เข้ามาจะฆ่าเซลล์ปอด
  • 1:52 - 1:56
    กระตุ้นให้เกิดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน
    ซึ่งก่อให้เกิดอาการอักเสบขั้นรุนแรงได้
  • 1:56 - 1:58
    และเกิดการคั่งของน้ำในปอด
  • 1:58 - 2:03
    เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้ปอด
    ไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ
  • 2:03 - 2:07
    แต่เครื่องช่วยหายใจจะเข้าไปควบคุมกระบวนการ
  • 2:07 - 2:12
    นำออกซิเจนเข้ามาในร่างกาย
    เมื่อระบบหายใจไม่สามารถทำได้
  • 2:12 - 2:15
    เครื่องจักรเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยง
    ทางเดินหายใจที่คับแคบ
  • 2:15 - 2:22
    และลำเลียงอากาศที่มีออกซิเจนสูงเพื่อให้ปอด
    ที่ได้รับความเสียหายได้รับออกซิเจนมากขึ้น
  • 2:22 - 2:25
    เครื่องช่วยหายใจ
    มีวิธีการทำงานอยู่หลักๆ 2 วิธี
  • 2:25 - 2:30
    คือสูบอากาศเข้าไปในปอดของผู้ป่วย
    ผ่านเครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก
  • 2:30 - 2:36
    หรือการปล่อยให้อากาศไหลเข้าไป
    ผ่านเครื่องช่วยหายใจแรงดันลบ
  • 2:36 - 2:38
    ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
  • 2:38 - 2:42
    เครื่องช่วยหายใจที่เป็นที่สนใจ
    คือชนิดแรงดันลบ
  • 2:42 - 2:44
    ซึ่งมีความใกล้เคียงกับการหายใจโดยธรรมชาติ
  • 2:44 - 2:49
    และมีการกระจายของอากาศ
    ในปอดอย่างเท่าเทียมกัน
  • 2:49 - 2:54
    เพื่อทำสิ่งนี้ แพทย์ได้สร้างผนึก
    ที่แน่นหนารอบๆตัวผู้ป่วย
  • 2:54 - 3:01
    โดยการล้อมพวกเขาไว้ในกล่องไม้
    หรือห้องที่ถูกปิดผนึกอย่างดี
  • 3:01 - 3:03
    หลังจากนั้นอากาศก็ถูกสูบออกจากห้อง
  • 3:03 - 3:07
    ทำให้ความดันอากาศลดลง
    ส่งผลให้ช่องอกของผู้ป่วย
  • 3:07 - 3:10
    ขยายตัวได้ง่ายขึ้น
  • 3:10 - 3:15
    ในปี 1928 แพทย์ได้พัฒนา
    อุปกรณ์พกพาได้จากโลหะ
  • 3:15 - 3:18
    พร้อมเครื่องสูบที่ทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า
  • 3:18 - 3:21
    เครื่องจักรเครื่องนี้ซึ่ง
    เป็นที่รู้จักในชื่อปอดเหล็ก
  • 3:21 - 3:26
    กลายเป็นสิ่งที่ติดตั้งอยู่ในโรงพยาบาล
    ตลอดช่วงกลางศตวรรษที่ 20
  • 3:26 - 3:30
    อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่งเครื่องช่วยหายใจ
    แรงดันลบที่กะทัดรัดที่สุด
  • 3:30 - 3:33
    ก็จำกัดการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยอย่างมาก
  • 3:33 - 3:36
    และขัดขวางการเข้าถึงของผู้ดูแลผู้ป่วย
  • 3:36 - 3:42
    ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลในช่วงทศวรรษที่ 1960
    จึงหันมาสนใจเครื่องช่วยหายใจแรงดันบวกแทน
  • 3:42 - 3:46
    สำหรับกรณีที่ไม่รุนแรง การช่วยหายใจ
    สามารถทำได้โดยไม่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ
  • 3:46 - 3:50
    โดยส่วนใหญ่จะใช้หน้ากากที่ครอบจมูกและปาก
  • 3:50 - 3:55
    แล้วอัดอากาศเข้าไป ซึ่งอากาศก็จะ
    เดินทางไปยังทางเดินหายใจของผู้ป่วย
  • 3:55 - 3:57
    แต่ในกรณีที่มีความรุนแรง
  • 3:57 - 4:02
    เราจำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์
    ที่ควบคุมกระบวนการหายใจทั้งหมด
  • 4:02 - 4:05
    ท่อจะถูกใส่เข้าไปในหลอดลมของผู้ป่วย
  • 4:05 - 4:08
    เพื่อสูบอากาศเข้าไปในปอดโดยตรง
  • 4:08 - 4:11
    พร้อมกับชุดของลิ้นเปิดปิดและท่อแขนงต่างๆ
  • 4:11 - 4:15
    ที่ทำให้เกิดวงจารการหายใจเข้าและออก
  • 4:15 - 4:17
    ในเครื่องช่วยหายใจที่ทันสมัยส่วนมาก
  • 4:17 - 4:19
    ระบบคอมพิวเตอร์ฝังตัว
  • 4:19 - 4:23
    ซึ่งใช้ประมวลผลการหายใจของผู้ป่วย
    และปรับระดับการไหลของอากาศ
  • 4:23 - 4:27
    เครื่องมือเหล่านี้ไม่ได้ถูกใช้
    ในการรักษาโดยทั่วไป
  • 4:27 - 4:30
    แต่ค่อนข้างจะเป็นทางออกสุดท้ายมากกว่า
  • 4:30 - 4:35
    การทนต่อแรงดันอากาศที่อัดเข้ามา
    จำเป็นต้องทำให้เกิดการลดลงของการรับรู้
  • 4:35 - 4:39
    และการใช้เครื่องช่วยหายใจซ้ำๆ
    อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อปอดในระยะยาว
  • 4:39 - 4:42
    แต่ในสถานการณ์ที่ร้ายแรงที่สุด
  • 4:42 - 4:45
    เครื่องช่วยหายใจอาจเป็นสิ่งชี้เป็นชี้ตาย
  • 4:45 - 4:48
    และในเหตุการณ์อย่างการแพร่ระบาด
    ของเชื้อ COVID-19
  • 4:48 - 4:52
    ทำให้เราเห็นว่าอุปกรณ์เหล่านี้
    มีความสำคัญมากกว่าที่เราคิดเสียอีก
  • 4:52 - 4:55
    แต่เนื่องจากแบบในปัจจุบัน
    มีความเทอะทะ มีราคาแพง
  • 4:55 - 5:02
    และต้องมีผ่านการฝึกเพื่อเรียนรู้การใช้งาน
    โรงพยาบาลส่วนใหญ่จึงมีเครื่องมือนี้ไม่มาก
  • 5:02 - 5:05
    ซึ่งอาจจะเพียงพอภายใต้สถานการณ์ปกติ
  • 5:05 - 5:09
    แต่ภาวะฉุกเฉิน ทำให้อุปกรณ์
    ที่มีจำนวนน้อยยิ่งขาดแคลน
  • 5:09 - 5:14
    โลกของเราต้องการเครื่องช่วยหายใจ
    ที่มีราคาถูกและเคลื่อนย้ายได้อย่างเร่งด่วน
  • 5:14 - 5:18
    รวมถึงวิธีที่รวดเร็วขึ้น
    ในการผลิตและแจกจ่าย
  • 5:18 - 5:21
    เทคโนโลยีที่ช่วยชีวิตของเรา
Title:
เครื่องช่วยหายใจทำงานอย่างไร - อเล็กซ์ เจนดเลอร์
Speaker:
Alex Gendler
Description:

รับชมบทเรียนเต็ม : https://ed.ted.com/lessons/how-do-ventilators-work-alex-gendler

ในศตวรรษที่ 16 แอนเดรียส เวซาเลียส แพทย์ชาวเฟลมิช อธิบายวิธีการช่วยชีวิตสัตว์ที่หายใจไม่ได้ โดยการใส่ท่อเข้าไปในหลอดลมและเป่าลมเข้าไปเพื่อทำให้ปอดพองตัว ทุกวันนี้ บทความของเวซาเลียสกลายเป็นที่ยอมรับในฐานะการบรรยายแรกเกี่ยวกับเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการแพทย์แผนปัจจุบัน แล้วเครื่องช่วยหายใจทำงานอย่างไรล่ะ อเล็กซ์ เจนดเลอร์ จะมาอธิบายเทคโนโลยีที่ช่วยชีวิตของเรา

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:21
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for How do ventilators work?
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for How do ventilators work?
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for How do ventilators work?
Natthaphan-on K edited Thai subtitles for How do ventilators work?
Natthaphan-on K edited Thai subtitles for How do ventilators work?
Natthaphan-on K edited Thai subtitles for How do ventilators work?
Natthaphan-on K edited Thai subtitles for How do ventilators work?
Natthaphan-on K edited Thai subtitles for How do ventilators work?
Show all

Thai subtitles

Revisions