Return to Video

เซลฟี่ด้วยการดมกลิ่น (Smelfies) และการทดลองอื่น ๆ ทางด้านชีววิทยาสังเคราะห์

  • 0:01 - 0:03
    จะเป็นยังไงล่ะถ้าพืชต่าง ๆ ของเรา
  • 0:03 - 0:05
    สามารถรับรู้ระดับสารพิษในดิน
  • 0:05 - 0:09
    แล้วแสดงระดับสารพิษผ่านทางสีใบของมันได้
  • 0:10 - 0:13
    จะเป็นยังไงล่ะถ้าพืชเหล่านี้สามารถ
    ลดสารพิษพวกนั้นที่อยู่ในดินได้ด้วย
  • 0:15 - 0:17
    แล้วจะเป็นยังไงล่ะถ้าพืชเหล่านั้น
  • 0:17 - 0:19
    สามารถงอกบรรจุภัณฑ์ของตัวเองได้
  • 0:19 - 0:21
    หรือถูกออกแบบให้เก็บเกี่ยวได้
  • 0:21 - 0:23
    ด้วยเครื่องจักรที่เจ้าของเครื่อง
    จดสิทธิบัตรไว้เท่านั้นล่ะ
  • 0:23 - 0:25
    จะเป็นยังไงล่ะถ้าการออกแบบทางชีววิทยา
  • 0:25 - 0:29
    ถูกขับเคลื่อนด้วยความต้องการ
    สินค้าที่ผลิตออกมาครั้งละมาก ๆ
  • 0:29 - 0:31
    โลกแบบนั้นจะเป็นยังไงนะ
  • 0:31 - 0:35
    ฉันชื่อ แอนนี่ ฉันเป็นนักออกแบบ
    และนักวิจัยที่ MIT Media Lab
  • 0:35 - 0:39
    ที่ที่ฉันเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม Design Fiction
    ที่ค่อนข้างใหม่และมีเอกลักษณ์
  • 0:39 - 0:44
    ที่ที่พวกเราอยู่ ณ จุดกึ่งกลางระหว่างนิยาย
    วิทยาศาสตร์กับข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์
  • 0:44 - 0:48
    และที่ MIT ฉันก็โชคดีที่ได้พบปะ
    และใช้เวลาร่วมกับนักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ
  • 0:48 - 0:50
    และได้ศึกษาศาสตร์ล้ำสมัยในทุก ๆ แขนง
  • 0:50 - 0:52
    อย่างเช่น ประสาทชีววิทยาสังเคราะห์
  • 0:52 - 0:54
    ปัญญาประดิษฐ์ ชีวิตประดิษฐ์
  • 0:54 - 0:56
    และทุก ๆ เรื่องในนั้นที่เกี่ยวข้อง
  • 0:56 - 1:00
    และตลอดทั่วทั้งรั้วมหาวิทยาลัยนั้น
    ก็มีนักวิทยาศาสตร์ฉลาดล้ำมากมาย
  • 1:00 - 1:03
    ที่คอยตั้งคำถามทำนองว่า
    "ฉันจะทำให้โลกนี้ดีขึ้นได้อย่างไร"
  • 1:03 - 1:06
    และหนึ่งในคำถามที่กลุ่มของฉัน
    ชอบถามก็คือ "อะไรดีกว่ากัน"
  • 1:06 - 1:08
    อะไรดีกว่าสำหรับฉัน สำหรับคุณ
  • 1:08 - 1:10
    สำหรับผู้หญิงผิวขาว
    สำหรับผู้ชายที่เป็นเกย์
  • 1:10 - 1:13
    สำหรับทหารผ่านศึก
    สำหรับเด็กพิการที่ใช้อวัยวะเทียม
  • 1:13 - 1:15
    เทคโนโลยีนั้นไม่เคยเป็นกลาง
  • 1:15 - 1:17
    มันร่างความเป็นจริงขึ้นมา
  • 1:17 - 1:19
    และสะท้อนบริบทนั้น ๆ
  • 1:19 - 1:22
    คุณพอจะนึกภาพออกไหมว่ามันจะเป็นยังไง
    กับสมดุลชีวิตการทำงานที่ออฟฟิศของคุณ
  • 1:22 - 1:24
    ถ้าสิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็น
    ปัญหาปกติในวันแรก
  • 1:25 - 1:26
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:26 - 1:28
    ฉันเชื่อว่ามันเป็นหน้าที่ของ
    ศิลปินและนักออกแบบ
  • 1:28 - 1:30
    ที่จะต้องคอยถามคำถามสำคัญ ๆ
  • 1:30 - 1:33
    ศิลปะคือการมองเห็นและการรู้สึกถึงอนาคต
  • 1:33 - 1:35
    และตอนนี้ก็เป็นช่วงเวลา
    อันน่าตื่นเต้นที่จะเป็นนักออกแบบ
  • 1:35 - 1:37
    เพราะอุปกรณ์ใหม่ ๆ มากมาย
    เริ่มเพียบพร้อมมากขึ้น
  • 1:37 - 1:39
    ยกตัวอย่างเช่น ชีววิทยาสังเคราะห์
  • 1:39 - 1:42
    พยายามหาทางทำให้ชีววิทยา
    เป็นปัญหาทางการออกแบบอย่างหนึ่ง
  • 1:42 - 1:44
    และในช่วงของการพัฒนาต่าง ๆ เหล่านี้
  • 1:44 - 1:46
    ที่ห้องทดลองก็มีคำถามว่า
    อะไรคือหน้าที่และความรับผิดชอบ
  • 1:47 - 1:51
    ของศิลปิน นักออกแบบ
    นักวิทยาศาสตร์ หรือนักธุรกิจล่ะ
  • 1:51 - 1:52
    อะไรคือผลกระทบที่ตามมา
  • 1:52 - 1:55
    ของชีววิทยาสังเคราะห์ การดัดแปลงพันธุกรรม
  • 1:55 - 2:00
    และผลกระทบเหล่านั้นจะเปลี่ยนมุมมอง
    ของเราต่อความเป็นมนุษย์ได้อย่างไร
  • 2:00 - 2:03
    อะไรคือผลกระทบของมัน
    ต่อสังคม ต่อวิวัฒนาการ
  • 2:03 - 2:06
    และอะไรคือสิ่งที่ต้องเดิมพันในเกม ๆ นี้
  • 2:06 - 2:09
    งานวิจัยด้านการออกแบบเพื่ออนาคต
    ที่ฉันทำอยู่ในขณะนี้
  • 2:09 - 2:10
    เล่นกับชีววิทยาสังเคราะห์
  • 2:10 - 2:13
    แต่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ผลักดัน
    ออกมาด้วยอารมณ์ที่มากขึ้น
  • 2:13 - 2:16
    ฉันจึงหมกมุ่นกับเรื่องการรับกลิ่น
    ในฐานะของพื้นที่ในการออกแบบ
  • 2:16 - 2:19
    และงานวิจัยนี้ก็เกิดขึ้นมาจากแนวคิดที่ว่า
  • 2:19 - 2:23
    มันจะเป็นยังไงนะถ้าเราสามารถ
    ถ่ายเซลฟีกลิ่นได้ แบบสเมลฟี่น่ะ (smelfie)
  • 2:23 - 2:24
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:24 - 2:27
    มันจะเป็นยังไงนะถ้าเราสามารถ
    เก็บกลิ่นตัวตามธรรมชาติของเรา
  • 2:27 - 2:29
    แล้วส่งไปให้คนที่เรารักได้
  • 2:29 - 2:33
    แปลกแต่จริง ฉันไปเจอมาว่านี่เป็นธรรมเนียม
    อย่างหนึ่งของออสเตรียในช่วงศตวรรษที่ 19
  • 2:33 - 2:36
    ซึ่งคู่รักที่ดูใจกันอยู่นั้นจะ
    หนีบแอปเปิ้ลชิ้นหนึ่ง
  • 2:36 - 2:38
    ไว้ข้างใต้รักแร้ของพวกเขาในขณะเต้นรำ
  • 2:38 - 2:40
    และในตอนจบของงานนั้น
  • 2:40 - 2:43
    ฝ่ายหญิงจะให้แอปเปิ้ลที่หนีบไว้
    กับผู้ชายคนที่เธอชอบมากที่สุด
  • 2:43 - 2:45
    และถ้าเขารู้สึกแบบเดียวกับเธอ
  • 2:45 - 2:47
    เขาก็จะยัดแอปเปิ้ลเหม็น ๆ นั้นเข้าปากไป
  • 2:47 - 2:51
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:52 - 2:55
    เป็นที่รู้กันว่า นโปเลียนนั้นเขียน
    จดหมายรักมากมายไปหาโฌเซฟีน
  • 2:55 - 2:59
    แต่ว่าบางทีหนึ่งในจดหมายที่เป็นที่จดจำมาก
    ที่สุดอาจเป็นข้อความสั้น ๆ สุดเร่งเร้านี้:
  • 2:59 - 3:01
    "จะถึงบ้านในสามวัน ไม่ต้องอาบน้ำนะ"
  • 3:02 - 3:04
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:04 - 3:06
    ทั้งนโปเลียนและโฌเซฟีน
    ต่างโปรดปรานดอกไวโอเล็ต
  • 3:07 - 3:09
    โฌเซฟีนฉีดน้ำหอมกลิ่นไวโอเล็ต
  • 3:09 - 3:11
    ถือดอกไวโอเล็ตในวันแต่งงานของเธอกับเขา
  • 3:11 - 3:13
    และนโปเลียนเองก็ส่ง
    ช่อดอกไวโอเล็ตไปให้เธอ
  • 3:13 - 3:15
    ทุก ๆ ปีในวันครบรอบวันแต่งงาน
  • 3:15 - 3:16
    เมื่อโฌเซฟีนเสียชีวิตลง
  • 3:17 - 3:18
    เขาได้ปลูกต้นไวโอเล็ตไว้ที่หลุมศพเธอ
  • 3:18 - 3:20
    และก่อนที่เขาจะถูกเนรเทศ
  • 3:20 - 3:22
    เขาได้กลับไปที่หลุมศพนั้น
  • 3:22 - 3:25
    เด็ดดอกไม้บางดอก แล้วเก็บมันไว้
    ในสร้อยล็อคเก็ตอันหนึ่ง
  • 3:25 - 3:27
    และใส่มันจนวาระสุดท้ายของเขา
  • 3:27 - 3:28
    ฉันพบว่ามันสะเทือนอารมณ์มากทีเดียว
  • 3:28 - 3:32
    ฉันสงสัยว่า ฉันจะดัดแปลงดอกไวโอเล็ต
    ให้มีกลิ่นเหมือนกับโฌเซฟีนได้หรือไม่
  • 3:32 - 3:34
    มันจะเป็นยังไง ถ้าไม่ว่าเมื่อใดก็ตาม
  • 3:34 - 3:35
    ที่คุณไปเยี่ยมหลุมศพเธอ
  • 3:35 - 3:39
    คุณจะได้กลิ่นของโฌเซฟีนในแบบเดียว
    กับตอนที่นโปเลียนหลงรักเธอ
  • 3:39 - 3:41
    เราจะสามารถออกแบบวิธีไว้ทุกข์แบบใหม่
  • 3:41 - 3:43
    รวมถึงพิธีรำลึกแบบใหม่ได้รึเปล่า
  • 3:43 - 3:46
    ยังไงซะ เราก็ตัดต่อพันธุกรรม
    ของพืชผลต่าง ๆ
  • 3:46 - 3:48
    เพื่อให้ทำกำไรได้สูงสุดอยู่แล้วนี่
  • 3:48 - 3:50
    ไม่ว่าจะพืชผลที่ทนต่อการขนส่ง
  • 3:50 - 3:52
    พืชผลที่เก็บได้นาน ๆ
  • 3:52 - 3:55
    พืชผลที่มีรสหวานแต่ไล่แมลง
  • 3:55 - 3:58
    ที่ในบางครั้งก็ต้องแลกมาด้วย
    คุณค่าทางโภชนาการที่ลดลง
  • 3:58 - 4:03
    เราจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเดียวกันนี้
    เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางอารมณ์ได้หรือเปล่า
  • 4:03 - 4:04
    ฉะนั้น ที่ห้องแล็บของฉันในตอนนี้
  • 4:04 - 4:07
    ฉันจึงทำวิจัยอยู่ว่าอะไรทำให้
    มนุษย์มีกลิ่นเฉพาะในแบบของมนุษย์
  • 4:07 - 4:10
    และปรากฏว่ามันค่อนข้างซับซ้อนเลยทีเดียว
  • 4:10 - 4:13
    ปัจจัยต่าง ๆ อย่างเช่น อาหารที่กิน
    ยาต่าง ๆ รูปแบบการใช้ชีวิต
  • 4:13 - 4:15
    ล้วนส่งผลต่อกลิ่นตัวของคุณ
  • 4:15 - 4:18
    และฉันก็พบว่าจริง ๆ แล้ว
    เหงื่อส่วนใหญ่นั้นไร้กลิ่น
  • 4:18 - 4:20
    แต่เป็นเพราะแบคทีเรียและจุลินทรีย์ต่างหาก
  • 4:20 - 4:24
    ที่ส่งผลต่อกลิ่นตัวของคุณ
    อารมณ์ของคุณ อัตลักษณ์ของคุณ
  • 4:24 - 4:25
    และอื่น ๆ อีกมากมาย
  • 4:25 - 4:28
    และยังมีโมเลกุลอีกมากมาย
    ในทุกรูปแบบที่คุณปล่อยออกมา
  • 4:28 - 4:30
    แต่ทว่าเราสามารถรับรู้ได้
    ผ่านทางจิตใต้สำนึกเท่านั้น
  • 4:31 - 4:33
    ดังนั้นฉันจึงจำแนกและเก็บสะสม
  • 4:33 - 4:36
    แบคทีเรียจากบริเวณต่าง ๆ
    บนร่างกายของฉัน
  • 4:36 - 4:38
    หลังจากได้พูดคุยกับ
    นักวิทย์คนหนึ่ง เราก็คิดว่า
  • 4:38 - 4:39
    บางทีส่วนผสมที่สมบูรณ์แบบของตัวฉัน
  • 4:39 - 4:43
    คือ กระดูกไหปลาร้า 10%
    ใต้วงแขน 30%
  • 4:43 - 4:46
    จุดซ่อนเร้นอีก 40% และอื่น ๆ
  • 4:46 - 4:49
    และในบางครั้ง ฉันก็ให้นักวิจัย
    จากห้องแล็บอื่น ๆ
  • 4:49 - 4:50
    ดมตัวอย่างกลิ่นของตัวฉัน
  • 4:50 - 4:54
    และมันก็เป็นเรื่องน่าสนใจที่
    ได้รู้ว่ากลิ่นของตัวเองเป็นอย่างไร
  • 4:54 - 4:56
    เมื่อสูดดมภายนอกร่างกายของฉัน
  • 4:57 - 4:58
    ฉันได้รับคำตอบมากมาย อย่างเช่น
  • 4:58 - 5:01
    กลิ่นเหมือนดอกไม้ เหมือนไก่
  • 5:01 - 5:02
    เหมือนคอร์นเฟลก
  • 5:02 - 5:03
    หรือเหมือนเนื้อย่างรมควัน
  • 5:03 - 5:05
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:05 - 5:09
    ในขณะเดียวกัน ฉันก็ได้
    ปลูกพืชกินแมลงกลุ่มหนึ่ง
  • 5:09 - 5:13
    เพื่อดูความสามารถในการปล่อยกลิ่น
    คล้ายเนื้อหนังเพื่อล่อเหยื่อ
  • 5:13 - 5:15
    เพื่อพยายาม แบบว่าสร้าง
    ความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกัน
  • 5:15 - 5:18
    ระหว่างแบคทีเรียบนตัวของฉัน
    กับพืชกินแมลงชนิดนี้
  • 5:20 - 5:22
    แล้วก็มีเรื่องบังเอิญเกิดขึ้น
    ฉันอยู่ในบาร์แห่งหนึ่งใน MIT
  • 5:22 - 5:24
    และฉันก็กำลังคุยกับนักวิทยาศาสตร์
  • 5:25 - 5:27
    ที่บังเอิญเป็นทั้งนักเคมี
    และนักพฤษศาสตร์
  • 5:27 - 5:29
    และฉันก็เล่าเรื่องงานวิจัย
    ของฉันให้เขาฟัง
  • 5:29 - 5:32
    แล้วเขาก็ตอบแบบว่า "อืม นี่มันดูเหมือน
    พฤกษศาสตร์สำหรับผู้หญิงขี้เหงาเลยนะ"
  • 5:32 - 5:35
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:35 - 5:38
    ฉันตอบอย่างไม่รีรอว่า "โอเค"
  • 5:38 - 5:39
    ฉันท้าเขาว่า
  • 5:39 - 5:42
    "เราสามารถสร้างต้นพืชที่รักฉันตอบได้ไหม"
  • 5:43 - 5:46
    และเพราะอะไรสักอย่าง
    เขาก็ตอบว่า "ได้สิ ทำไมจะไม่ได้ล่ะ"
  • 5:46 - 5:49
    ดังนั้น เราจึงเริ่มด้วยคำถามที่ว่า
    เราสามารถสร้างพืชที่เบนเข้าหาตัวฉัน
  • 5:49 - 5:50
    ราวกับว่าฉันเป็นดวงอาทิตย์ได้ไหม
  • 5:50 - 5:54
    ฉะนั้น เราจึงศึกษากลไกของพืช
    อย่างเช่น การเบนตามแสง (phototropism)
  • 5:54 - 5:57
    ซึ่งเป็นกลไกที่ทำให้พืช
    เบนเข้าหาดวงอาทิตย์
  • 5:57 - 5:59
    ด้วยการสร้างฮอร์โมนพวกออกซิน
  • 5:59 - 6:01
    ที่ทำให้เซลล์ยืดตัวตามยาว
    ในด้านที่มีร่มเงา
  • 6:01 - 6:03
    และในตอนนี้ฉันก็กำลัง
    สร้างลิปสติกชุดหนึ่ง
  • 6:03 - 6:05
    ที่ถูกนำไปแช่ไว้ในสารเคมีจำพวกหนึ่ง
  • 6:05 - 6:09
    ที่ทำให้ฉันสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับต้นพืชได้
    ด้วยคุณสมบัติเฉพาะทางเคมีของมัน
  • 6:09 - 6:12
    ลิปสติกที่ทำให้ต้นพืช
    โตขึ้นในที่ ๆ ฉันจูบ
  • 6:12 - 6:15
    และทำให้ดอกไม้เบ่งบานขึ้น
    เมื่อฉันจูบไปที่ดอกตูม
  • 6:15 - 6:18
    และในระหว่างที่ทำการวิจัยเหล่านี้อยู่
  • 6:18 - 6:19
    ฉันก็เกิดคำถามขึ้นมาว่า
  • 6:19 - 6:21
    เราจะนิยามธรรมชาติอย่างไร
  • 6:21 - 6:25
    เราจะนิยามอย่างไรในเมื่อเราสามารถ
    ปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของมันได้
  • 6:25 - 6:26
    และเราควรทำแบบนั้นเมื่อไร
  • 6:26 - 6:30
    เราควรใช้มันเพื่อทำกำไร
    หรือเพื่อประโยชน์ใช้สอย
  • 6:30 - 6:32
    เราสามารถใช้มันเพื่อ
    ผลลัพธ์ทางอารมณ์ได้ไหม
  • 6:32 - 6:35
    เราสามารถใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อสร้างผลงาน
    ที่เร้าอารมณ์ได้แบบดนตรีหรือไม่
  • 6:35 - 6:37
    อะไรคือจุดต่อระหว่างวิทยาศาสตร์
  • 6:37 - 6:40
    และความสามารถของมัน
    ในการเล่นกับความรู้สึกของเรา
  • 6:41 - 6:44
    มันคือวาทกรรมทางการออกแบบอันโด่งดัง
    ที่กล่าวว่า "การใช้งานนั้นมาก่อนรูปแบบ"
  • 6:44 - 6:48
    ที่ในตอนนี้อยู่ ณ จุดกึ่งกลางระหว่าง
    ศาสตร์ การออกแบบ และศิลป์
  • 6:49 - 6:50
    ฉันจึงได้มีโอกาสถามว่า
  • 6:50 - 6:51
    หรือว่าเรื่องเล่าบ่งบอกข้อเท็จจริงล่ะ
  • 6:51 - 6:53
    ห้องแล็บวิจัยและพัฒนาแบบนั้น
    จะมีหน้าตาแบบไหนกัน
  • 6:53 - 6:56
    แล้วเราจะถามคำถาม
    แบบไหนไปด้วยกัน
  • 6:56 - 6:58
    เรามักมองว่าเทคโนโลยีคือคำตอบ
  • 6:58 - 7:00
    แต่ในฐานะที่เป็นศิลปินและนักออกแบบ
  • 7:00 - 7:02
    ฉันอยากจะถามว่า "แล้วคำถามนั้นคืออะไรล่ะ"
  • 7:02 - 7:04
    ขอบคุณค่ะ
  • 7:04 - 7:07
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เซลฟี่ด้วยการดมกลิ่น (Smelfies) และการทดลองอื่น ๆ ทางด้านชีววิทยาสังเคราะห์
Speaker:
แอนนี่ เลียว (Ani Liu)
Description:

อะไรจะเกิดขึ้นหากคุณสามารถถ่ายเซลฟีกลิ่นได้ หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่าสเมลฟีล่ะ (smelfie) แล้วถ้าคุณมีลิปสติกที่ทำให้พืชโตขึ้นในที่ ๆ คุณจูบ มันจะเป็นอย่างไรกันแน่ แอนนี่ เลียว ได้เข้าไปสำรวจจุดที่เทคโนโลยีและประสาทรับรู้มาบรรจบกัน และงานของเธอนั้นก็อยู่ ณ จุดกึ่งกลางระหว่าง วิทยาศาสตร์ การออกแบบ และ ศิลปะ ในการบรรยายที่กระชับและชาญฉลาดนี้ เธอได้แบ่งปันความฝัน ความฉงนสงสัยและการทดลองต่าง ๆ ของเธอ พร้อมกับคำถามว่า อะไรจะเกิดขึ้นถ้าหากจริง ๆ แล้วนวนิยายวิทยาศาสตรืนั้นกลับกลายเป็นข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมา

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
07:20

Thai subtitles

Revisions