Return to Video

พลังของความเชื่อที่คุณสามารถพัฒนามันได้

  • 0:01 - 0:04
    อานุภาพของคำว่า ยัง
  • 0:04 - 0:06
    ฉันได้ยินเกี่ยวกับ โรงเรียนมัธยมปลาย
    ในชิคาโก
  • 0:06 - 0:11
    สถานที่ ที่นักเรียนต้องสอบผ่านรายวิชา
    จำนวนหนึ่ง เพื่อจะสามารถจบการศึกษาได้
  • 0:11 - 0:16
    และถ้าพวกเค้าสอบไม่ผ่านรายวิชานั้นๆ
    ผลคะแนนที่พวกเค้าจะได้รับคือ "ยังไม่ผ่าน"
  • 0:16 - 0:18
    และฉันคิดว่านั้นมันยอดเยี่ยมมาก
  • 0:18 - 0:22
    เพราะเมื่อคุณได้คะแนนสอบตก
    คุณจะคิดว่า ฉันช่างไร้ความหมาย
  • 0:22 - 0:25
    แต่ถ้าคุณได้คะแนนว่า "ยังไม่ผ่าน"
  • 0:25 - 0:29
    คุณจะตระหนักว่า คุณกำลังพัฒนาทักษะ
  • 0:29 - 0:32
    มันสร้างทางเดินไปสู่อนาคตให้คุณ
  • 0:32 - 0:40
    คำว่า"ยังไม่ผ่าน" ยังทำให้ฉันตระหนักรู้ถึง
    ช่วงวิกฤตในช่วงเริ่มต้นการทำงานของฉัน
  • 0:40 - 0:42
    จุดเปลี่ยนที่สำคัญในชีวิต
  • 0:42 - 0:44
    ฉันอยากจะเห็น
  • 0:44 - 0:49
    ว่าเด็กๆจะรับมือกับความท้าทาย
    และความยากลำบากอย่างไร
  • 0:49 - 0:52
    ฉันจึงให้เด็กอายุ 10 ปี
  • 0:52 - 0:57
    ได้เจอกับโจทย์ปัญหาที่ค่อนข้างยากสำหรับพวกเขา
  • 0:57 - 1:02
    เด็กบางคนมีปฏิกริยากลับมาในด้านบวก
  • 1:02 - 1:06
    พวกเขาพูดทำนองว่า "หนูรักความท้าทาย"
  • 1:06 - 1:11
    หรือ "รู้อะไรหรือเปล่า
    หนูหวังว่านี่จะให้ความรู้มากขึ้น"
  • 1:11 - 1:17
    พวกเขาเข้าใจ ว่าพวกเขาสามารถพัฒนา
    ความสามารถได้
  • 1:17 - 1:21
    พวกเขามีสิ่งที่ฉันเรียกว่า
    กรอบความคิดแบบเปิดกว้าง
  • 1:21 - 1:27
    แต่เด็กนักเรียนคนอื่นๆ รู้สึกว่า
    มันคือความโศกเศร้า คือหายนะ
  • 1:27 - 1:31
    จากมุมมองของกรอบความคิดที่คับแคบกว่า
    ซึ่งเป็นแบบปิดกั้น
  • 1:31 - 1:38
    สติปัญญาของพวกเขาถูกปลุกขึ้นมา
    เพียงเพื่อตัดสินว่าพวกเค้าล้มเหลว
  • 1:38 - 1:43
    แทนที่จะรู้สึกถูกกระตุ้นด้วย
    พลังของคำว่า"ยัง"
  • 1:43 - 1:47
    พวกเขากลับจมลงไปกับความรู้สึกแย่ๆ
    กับปัจจุบัน
  • 1:47 - 1:50
    แล้วพวกเขาทำยังไงต่องั้นหรือ?
  • 1:50 - 1:52
    ฉันจะเล่าให้ฟัง ว่าพวกเขาทำอะไรต่อไป
  • 1:52 - 1:58
    ในการศึกษาวิจัยครั้งหนึ่ง พวกเขาบอกว่า
    อาจจะลองโกงการสอบในครั้งหน้า
  • 1:58 - 2:02
    แทนที่จะเตรียมตัวให้มากขึ้น
    ถ้าพวกเขาสอบตก
  • 2:02 - 2:05
    ในการศึกษาวิจัยอีกครั้งหนึ่ง
    หลังจากที่พวกเขาสอบตก
  • 2:05 - 2:08
    พวกเขาจะมองหาใครสักคน
    ที่ทำคะแนนได้ต่ำกว่าเขา
  • 2:08 - 2:13
    เพื่อที่จะทำให้พวกเขารู้สึกดีกับตัวเอง
  • 2:13 - 2:19
    และในการศึกษาครั้งถัดๆมา
    พวกเขาก็หนีจากความยากลำบากนั้น
  • 2:19 - 2:25
    นักวิทยาศาตร์ได้ทำการวัดคลื่นไฟฟ้า
    ในกิจกรรมต่างๆ จากสมอง
  • 2:25 - 2:28
    เมื่อนักเรียนได้เจอกับข้อผิดพลาด
  • 2:28 - 2:32
    ทางซ้ายมือ คุณจะเห็นพลังงานไฟฟ้า
    ของนักเรียนที่มีกรอบความคิดแบบปิดกั้น
  • 2:32 - 2:34
    มันแทบจะไม่มีกิจกรรมอะไรเกิดขึ้นเลย
  • 2:34 - 2:37
    พวกเขาหนีจากข้อผิดพลาดนั้น
  • 2:37 - 2:40
    พวกเขาไม่เข้าไปมีส่วนร่วมกับมันเลย
  • 2:40 - 2:43
    แต่ทางด้านขวามือ คือผลจากนักเรียน
    ที่มีกรอบความคิดแบบเปิดกว้าง
  • 2:43 - 2:47
    ความคิดที่ว่า ความสามารถพัฒนาได้
  • 2:47 - 2:49
    พวกเขามีส่วนร่วมกับปัญหาอย่างลึกซึ้ง
  • 2:49 - 2:52
    สมองพวกเขาลุกโชนไปด้วยพลังของคำว่า"ยัง"
  • 2:52 - 2:54
    พวกเขาใช้ความคิดอย่างลึกซึ้ง
  • 2:54 - 2:57
    พวกเขาคิดวิเคราะห์ข้อผิดพลาด
  • 2:57 - 3:01
    พวกเขาเรียนรู้จากมัน และแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น
  • 3:02 - 3:05
    เราเลี้ยงดูลูกๆของเราอย่างไร?
  • 3:05 - 3:09
    เราเลี้ยงดูเขาเพื่อ "ตอนนี้"
    แทนที่จะเป็น "ตอนนี้ยัง" หรือเปล่า?
  • 3:09 - 3:14
    เราเลี้ยงดูเด็กที่หมกมุ่นกับการเรียน
    ให้ได้เกรดเอเท่านั้นหรือเปล่า?
  • 3:14 - 3:20
    เราเลี้ยงดูเด็กที่ไม่รู้ว่าจะมีความฝันที่ยิ่งใหญ่
    ได้ยังไงหรือเปล่า?
  • 3:20 - 3:27
    จุดมุ่งหมายอันยิ่งใหญ่ของพวกเขาในการสอบ
    ครั้งถัดไป คือการได้เอ หรือคะแนนสอบ?
  • 3:27 - 3:33
    และพวกเขาจะนำตรรกะข้อจำกัดเหล่านี้
  • 3:33 - 3:36
    ไปใช้ในการดำเนินชีวิตในอนาคตหรือเปล่า?
  • 3:36 - 3:40
    บางที เพราะนายจ้างเดินมาพูดกับฉันว่า
  • 3:40 - 3:43
    พวกเราได้เลี้ยงดู คนทำงานรุ่นใหม่
  • 3:43 - 3:47
    ที่ไม่สามารถผ่านวันแต่ละวันไปได้
  • 3:47 - 3:50
    ถ้าไม่มีการให้รางวัล
  • 3:50 - 3:53
    แล้วเราจะทำอะไรได้บ้าง?
  • 3:53 - 3:57
    เราจะสร้างสะพานที่จะนำไปสู่คำว่า"ยัง"
    ได้อย่างไร?
  • 3:57 - 3:59
    นี่คือสิ่งที่เราสามารถทำได้
  • 3:59 - 4:06
    อย่างแรก เราสามารถให้คำชมอย่างสร้างสรรค์
    ที่ไม่ใช่การชมเชยความฉลาดหรือพรสวรรค์
  • 4:06 - 4:08
    เพราะการทำอย่างนั้นคือความผิดพลาด
  • 4:08 - 4:10
    อย่าชื่นชมแบบนั้นอีก
  • 4:10 - 4:15
    แต่ให้ชื่นชมกระบวนการที่เด็กๆ
    ได้เข้ามามีส่วนร่วม:
  • 4:15 - 4:19
    ความพยายาม กระบวนการวางแผน
    ความมุ่งมั่น ความมานะบากบั่น
  • 4:19 - 4:21
    การปรับปรุงแก้ไขของพวกเขา
  • 4:21 - 4:22
    กระบวนการชื่นชมในรูปแบบนี้
  • 4:22 - 4:27
    จะสร้างเด็กที่อดทนและรับความผิดพลาดได้
  • 4:27 - 4:30
    ยังมีวิถีทางอื่นที่จะให้ผลตอบแทนไปสู่"ยัง"
  • 4:30 - 4:34
    ไม่นานมานี้ เราได้ร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์
    ด้านเกมการละเล่น
  • 4:34 - 4:37
    จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน
  • 4:37 - 4:42
    เพื่อสร้างเกมคณิตศาสตร์ออนไลน์
    ที่ให้ผลตอบแทนกับการคิดว่า 'ยัง'
  • 4:42 - 4:48
    ในเกมนี้ นักเรียนจะได้รับคะแนนสำหรับ
    ความพยายาม การวางแผน และความก้าวหน้า
  • 4:48 - 4:51
    ในเกมคณิตศาสตร์โดนทั่วไป
  • 4:51 - 4:55
    จะให้คะแนนเมื่อตอบคำตอบที่ถูก ณ ตอนนี้
  • 4:55 - 4:58
    แต่สำหรับเกมนี้ จะให้คะแนน
    กับกระบวนการคิด
  • 4:58 - 5:01
    และเราก็ได้ความพยายามที่มากขึ้น
  • 5:01 - 5:03
    การวางแผนที่มากขึ้น
  • 5:03 - 5:07
    การมีส่วนร่วมกับเกมในระยะเวลา
    ที่ยาวนานขึ้น
  • 5:07 - 5:13
    และความมานะพยายามที่มากขึ้น
    เมื่อเด็กๆ ได้เจอกับโจทย์ที่ยากมากๆ
  • 5:13 - 5:16
    แค่คำว่า "ยัง" หรือ "ยังไม่"
    เราพบว่า
  • 5:16 - 5:20
    มันทำให้เด็กๆมีความมั่นใจมากขึ้น
  • 5:20 - 5:27
    มอบวิถีทางสู่อนาคต ที่จะสร้างความพากเพียร
  • 5:27 - 5:32
    และเราสามารถเปลี่ยนกรอบความคิด
    ของเด็กนักเรียนได้
  • 5:32 - 5:35
    ในการศึกษาครั้งหนึ่ง เราได้สอนพวกเขาว่า
  • 5:35 - 5:39
    ทุกครั้งที่พวกเขาพาตัวเองออกจาก
    ส่วนที่สุขสบายของตัวเอง
  • 5:39 - 5:43
    เพื่อที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ และยาก
  • 5:43 - 5:49
    เซลล์ประสาทของพวกเขา
    จะสร้างการเชื่อมต่อใหม่ที่แข็งแรง
  • 5:49 - 5:52
    และเมื่อเกิดขึ้นเรื่อยๆ พวกเขาจะฉลาดขึ้น
  • 5:52 - 5:55
    สิ่งที่เกิดขึ้น: ในการศึกษานี้
  • 5:55 - 5:59
    นักเรียนที่ไม่ได้ถูกสอนเกี่ยวกับ
    กรอบความคิดแบบเปิดกว้าง
  • 5:59 - 6:04
    จะมีผลการสอบที่ลดลงเรื่อยๆ ในระหว่าง
    ช่วงเวลายากลำบากของการเปลี่ยนโรงเรียน
  • 6:04 - 6:11
    แต่เด็กนักเรียนที่ได้รับการสอนเรื่องนี้
    จะมีผลการเรียนที่กลับมายอดเยี่ยมขึ้น
  • 6:11 - 6:17
    เราได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงนี้แล้ว
  • 6:17 - 6:24
    กับเด็กหลายพันคน โดยเฉพาะนักเรียนที่
    ต้องพยายามดิ้นรน
  • 6:24 - 6:28
    ตอนนี้เรามาพูดถึงความเท่าเทียมกันบ้าง
  • 6:28 - 6:33
    ในประเทศของเรา มีกลุ่มนักเรียน
  • 6:33 - 6:35
    ที่มีผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์อย่างต่อเนื่อง
  • 6:35 - 6:38
    ตัวอย่างเช่น เด็กๆ ที่อยู่ในใจกลางเมือง
  • 6:38 - 6:42
    หรือเด็กที่อยู่ในเขตอนุรักษ์
    ของชาวอเมริกันพื้นเมือง
  • 6:42 - 6:49
    และพวกเค้าได้รับการดูแลที่ไม่ดีพอ
    และหลายคนก็คิดว่ามันเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้
  • 6:49 - 6:57
    แต่เมื่อนักการศึกษาได้สร้างกรอบความคิด
    แบบเปิดกว้างในห้องเรียนที่นำไปสู่แนวคิด'ยัง'
  • 6:57 - 7:01
    ความเท่าเทียมจึงเกิดขึ้น
  • 7:01 - 7:05
    และนี่เป็นตัวอย่างเพียงเล็กน้อย
  • 7:05 - 7:11
    ในหนึ่งปี ชั้นเรียนอนุบาล
    ในเมืองฮาร์เล็ม นิวยอร์ค
  • 7:11 - 7:19
    มีคะแนนอยู่ในช่วง 95 เปอร์เซ็นต์ไทล์
    ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์แห่งชาติ
  • 7:19 - 7:26
    นักเรียนหลายๆคน ไม่สามารถจับดินสอได้
    เมื่อไปถึงโรงเรียน
  • 7:26 - 7:28
    ในหนึ่งปี
  • 7:28 - 7:33
    นักเรียนเกรดสี่ในเซาธ์บรองซ์ที่ไกลออกไป
  • 7:33 - 7:39
    กลายเป็นห้องเรียนเกรดสี่
    อันดับหนึ่งของนิวยอร์ค
  • 7:39 - 7:43
    ในการแข่งขันคณิตศาสตร์ของรัฐ
  • 7:43 - 7:47
    ในเวลาประมาณหนึ่งปีถึงหนึ่งปีครึ่ง
  • 7:47 - 7:53
    นักเรียนชาวพื้นเมืองอเมริกัน
    ของโรงเรียนในเขตอนุรักษ์
  • 7:53 - 7:59
    เปลี่ยนจากอันดับล่างสุดของตำบล
    เป็นอันดับสูงสุด
  • 7:59 - 8:05
    และตำบลนั้นก็รวมถึงเขตร่ำรวยของซีแอตเทิล
  • 8:05 - 8:12
    ดังนั้นเด็กพื้นเมืองทำได้ดีกว่า
    เด็กไมโครซอฟท์
  • 8:12 - 8:16
    สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ เพราะความหมายของคำว่า
  • 8:16 - 8:20
    ความมานะพยายามและความยุ่งยาก เปลี่ยนแปลงไป
  • 8:20 - 8:25
    ก่อนหน้านี้ ความพยายามและความยุ่งยาก
  • 8:25 - 8:30
    ทำให้พวกเขารู้สึกโง่และอยากยอมแพ้
  • 8:30 - 8:33
    แต่ตอนนี้ ความพยายามและความยุ่งยาก
  • 8:33 - 8:37
    ทำให้เซลล์ประสาทของพวกเขา
    สร้างการเชื่อมต่อใหม่
  • 8:37 - 8:39
    การเชื่อมต่อที่แข็งแรงขึ้น
  • 8:39 - 8:43
    นั่นคือสิ่งที่ทำให้พวกเขาฉลาดขึ้น
  • 8:43 - 8:48
    เมื่อไม่นานมานี้ ฉันได้รับจดหมาย
    จากหนุ่มน้อยอายุ 13 ปี
  • 8:48 - 8:52
    เขาบอกว่า "ศาสตราจารย์ดเว็คที่รัก,
  • 8:52 - 8:58
    ผมรู้สึกขอบคุณงานเขียนของคุณ
    จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์อันน่าเชื่อถือ
  • 8:58 - 9:04
    และนั่นคือเหตุผลที่ผมตัดสินใจ
    ที่จะนำมาปฏิบัติจริง
  • 9:04 - 9:08
    ผมเพิ่มความพยายามใน
    การบ้านที่ได้รับมากขึ้น
  • 9:08 - 9:11
    ในความสัมพันธ์กับครอบครัวของผมด้วย
  • 9:11 - 9:15
    และในความสัมพันธ์กับ
    เพื่อนนักเรียนคนอื่นๆที่โรงเรียนด้วย
  • 9:15 - 9:22
    และผมก็ได้รับประสบการณ์ในการพัฒนาที่ดีขึ้น
    ของทุกสิ่งเหล่านั้น
  • 9:22 - 9:27
    และตอนนี้ผมก็ได้รับรู้ว่า ผมเสียเวลา
    ส่วนใหญ่ของชีวิตไป"
  • 9:29 - 9:35
    เราอย่าเสียเวลาในชีวิตกันต่อไป
  • 9:35 - 9:39
    เพราะเมื่อเรารู้ว่า
  • 9:39 - 9:44
    สติปัญญามีความสามารถจะพัฒนาขึ้นได้
  • 9:44 - 9:50
    นี่เป็นสิทธิขึ้นพื้นฐานของเด็กๆ ทุกคน
  • 9:50 - 9:57
    ที่จะอยู่ในสถานที่ซึ่งมีบรรยากาศ
    ที่เหมาะกับการพัฒนา
  • 9:57 - 10:03
    อยู่ในสถานที่ ที่เต็มไปด้วย คำว่า"ยัง"
  • 10:03 - 10:05
    ขอบคุณค่ะ
  • 10:05 - 10:07
    (เสียงปรบมือ)
Title:
พลังของความเชื่อที่คุณสามารถพัฒนามันได้
Speaker:
คารอล เอส ดเว็ค (Carol Dwec)
Description:

งานวิจัยของ คารอล เอส ดเว็ค ในหัวข้อ 'การพัฒนาของกรอบความคิด'
ในความคิดที่ว่าเราสามารถพัฒนาความจุของสมองเพื่อเรียนรู้และแก้ไขปัญหา ในการพูดครั้งนี้ เธอแจกแจงสองหนทางในการคิดเมื่อพบเจอกับปัญหาซึ่งค่อนข้างยาที่จะแก้ไขสำหรับคุณ คุณไม่ฉลาดพอที่จะแก้ไขมัน หรือคุณแค่ยังไม่ได้แก้มันกันแน่

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
10:20
  • For those to help reviewing this in Thai. Sorry that I missed translating the title before submitting. Please help and thank you for spending time to review my translation ka.

Thai subtitles

Revisions