Return to Video

ทำไมเราต้องกลับไปดาวอังคาร

  • 0:00 - 0:05
    ผมจะพูดถึงประวัติศาสตร์ 4.6 พันล้านปี
  • 0:05 - 0:07
    ภายใน 18 นาที
  • 0:07 - 0:10
    ซึ่งหมายถึง 300 ล้านปีต่อนาที
  • 0:10 - 0:14
    มาเริ่มจากภาพถ่ายแรกที่นาซ่าถ่ายได้จาก
  • 0:14 - 0:16
    ดาวอังคาร
  • 0:16 - 0:18
    นี่เป็นการบินผ่านของยาน มาริเนอร์ 4
  • 0:18 - 0:21
    ถูกถ่ายเมื่อปี 1965
  • 0:21 - 0:23
    เมื่อภาพนี้ปรากฏขึ้น
  • 0:23 - 0:26
    วารสารทางวิทยาศาสตร์อันโด่งดัง
  • 0:26 - 0:29
    นิวยอร์คไทมส์ เขียนไว้ในบทบรรณาธิการว่า
  • 0:29 - 0:31
    "ดาวอังคารนั้นน่าเบื่อ
  • 0:31 - 0:34
    เป็นโลกที่ตายแล้ว นาซ่าไม่ควรเสีย
  • 0:34 - 0:38
    เวลา หรือ ความพยายามอะไรเพื่อศึกษา
    ดาวอังคารอีกต่อไป"
  • 0:38 - 0:40
    โชคยังดี ผู้นำของเราในวอชิงตัน
  • 0:40 - 0:42
    ที่สำนักงานใหญ่ของนาซ่า รู้ดีกว่านั้น
  • 0:42 - 0:46
    และเราได้เริ่มการศึกษาโดยละเอียด
  • 0:46 - 0:48
    ของดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้
  • 0:48 - 0:52
    หนึ่งในคำถามหลักในวิทยาศาสตร์ทุกแขนง คือ
  • 0:52 - 0:54
    "มีสิ่งมีชีวิตอยู่นอกเหนือจากบนโลกหรือเปล่า?"
  • 0:54 - 0:58
    ผมเชื่อว่าดาวอังคารเป็นเป้าหมายที่เป็นไปได้มากที่สุด
  • 0:58 - 1:00
    ที่จะมีสิ่งมีชีวิตนอกโลก
  • 1:00 - 1:02
    ผมจะแสดงให้คุณเห็นในอีกครู่
  • 1:02 - 1:04
    ถึงผลการวัดค่าต่างๆ อันน่าทึ่ง ซึ่งชี้ว่า
  • 1:04 - 1:06
    อาจมีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร
  • 1:06 - 1:10
    ให้ผมเริ่มด้วยภาพจากยานไวกิ้ง
  • 1:10 - 1:14
    นี่คือภาพที่นำมาประกอบกัน ถ่ายโดยยานไวกิ้งในปี 1976
  • 1:14 - 1:17
    ยานไวกิ้งได้ถูกพัฒนา และบริหาร โดย
  • 1:17 - 1:19
    ศูนย์วิจัยแลงลีย์ ของนาซ่า
  • 1:19 - 1:23
    เราส่งยานโคจรสองลำ และยานลงจอดอีกสองลำ
    ในฤดูร้อนของปี 1976
  • 1:23 - 1:27
    เรามียานอวกาศสี่ลำ สองลำโคจรรอบดาวอังคาร
  • 1:27 - 1:29
    และอีกสองลำบนพื้นผิว
  • 1:29 - 1:31
    เป็นความสำเร็จอันน่าทึ่ง
  • 1:31 - 1:33
    นี่คือภาพถ่ายภาพแรก ที่ถ่ายจาก
  • 1:33 - 1:35
    พื้นผิวของดาวเคราะห์ดวงอื่น
  • 1:35 - 1:37
    นี่คือภาพจากยานลงจอด ไวกิ้ง
  • 1:37 - 1:39
    ถ่ายพื้นผิวดาวอังคาร
  • 1:39 - 1:42
    และถูกแล้วครับ ดาวเคราะห์สีแดง มีสีแดง
  • 1:42 - 1:45
    ดาวอังคารมีขนาดเพียงครึ่งเดียวของโลก
  • 1:45 - 1:48
    แต่เพราะ สองในสามของโลกนั้นปกคลุมไปด้วยน้ำ
  • 1:48 - 1:51
    ส่วนที่เป็นพื้นดินของดาวอังคาร
  • 1:51 - 1:53
    นั้นพอๆ กันกับพื้นดินบนโลก
  • 1:53 - 1:58
    ดังนั้นดาวอังคารจึงเป็นพื้นที่อันกว้างใหญ่
    แม้ว่ามันจะมีขนาดเพียงครึ่งเดียว
  • 1:58 - 2:01
    เราได้ข้อมูลด้านภูมิประเทศ
  • 2:01 - 2:03
    ของพื้นผิวดาวอังคาร เราเข้าใจ
  • 2:03 - 2:05
    ถึงระดับความสูงที่แตกต่าง
  • 2:05 - 2:07
    เรารู้มากขึ้นเกี่ยวกับดาวอังคาร
  • 2:07 - 2:11
    ดางอังคารมีภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
  • 2:11 - 2:13
    โอลิมปัส มอนส์
  • 2:13 - 2:15
    ดาวอังคารมีหุบเขาลึกขนาดมหึมา
  • 2:15 - 2:18
    ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ วาเลส มารินาริส
  • 2:18 - 2:20
    เป็นดาวที่น่าสนใจมากๆ
  • 2:20 - 2:23
    ดางอังคารมี
  • 2:23 - 2:25
    หลุมอุกาบาตที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
  • 2:25 - 2:27
    เฮลลิส เบซิน
  • 2:27 - 2:29
    มันมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 2,000 ไมล์
  • 2:29 - 2:31
    ถ้าเกิดคุณไปอยู่บนดาวอังคาร
  • 2:31 - 2:33
    ตอนที่อุกาบาตลูกนี้ชน
  • 2:33 - 2:35
    มันคงเป็นวันที่เลวร้ายมากๆ บนดาวอังคาร
  • 2:35 - 2:37
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:37 - 2:39
    นี่คือโอลิมปัส มอนส์
  • 2:39 - 2:42
    มันใหญ่กว่ารัฐอริโซนา
  • 2:42 - 2:44
    ภูเขาไฟมีความสำคัญ เพราะภูเขาไฟ
  • 2:44 - 2:47
    สร้างชั้นบรรยากาศ และมันสร้างมหาสมุทร
  • 2:47 - 2:50
    เรากำลังมองดู วาลิส มารินาริส
  • 2:50 - 2:52
    หุบเขาที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
  • 2:52 - 2:55
    วางทาบบนแผนที่ของสหรัฐ อเมริกา
  • 2:55 - 2:57
    กว้าง 3,000 ไมล์
  • 2:57 - 3:00
    เป็นหนึ่งในลักษณะอันน่าตื่นเต้นที่สุดของดาวอังคาร
  • 3:00 - 3:02
    สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า
  • 3:02 - 3:05
    หนึ่งใน 10 ปริศนาของยุคอวกาศ
  • 3:05 - 3:08
    คือ ทำไมบางบริเวณของดาวอังคาร
  • 3:08 - 3:10
    ถึงมีความเป็นแม่เหล็กสูงมาก
  • 3:10 - 3:12
    เราเรียกสิ่งนี้ว่า สภาวะแม่เหล็กที่เปลือกโลก
  • 3:12 - 3:15
    มีบางบริเวณบนดาวอังคาร ที่ซึ่ง ด้วยบางสาเหตุ
  • 3:15 - 3:18
    ที่เรายังไม่เข้าใจ ณ ปัจจุบัน
  • 3:18 - 3:21
    พื้นผิวดาวเคราะห์ ถึงมีสภาวะแม่เหล็กอย่างสูง
  • 3:21 - 3:23
    มีน้ำอยู่บนดาวอังคารหรือเปล่า?
  • 3:23 - 3:26
    คำตอบคือไม่มี ไม่มีน้ำในสภาพของเหลว
  • 3:26 - 3:28
    บนพื้นผิวดาวอังคารในปัจจุบัน
  • 3:28 - 3:30
    แต่มันมีหลักฐานที่น่าสนใจ
  • 3:30 - 3:33
    ที่บ่งชี้ว่าในประวัติศาสตร์ตอนต้นๆ ของดาวอังคาร
  • 3:33 - 3:35
    อาจเคยมีแม่น้ำ
  • 3:35 - 3:38
    ซึ่งมีน้ำไหลเชี่ยวกราก
  • 3:38 - 3:40
    วันนี้ ดาวอังคารแห้งผาก
  • 3:40 - 3:43
    เราเชื่อว่ามีน้ำบางส่วนอยู่ที่แผ่นน้ำแข็งขั้วโลก
  • 3:43 - 3:46
    มีขั้วโลกเหนือ และขั้นโลกใต้
  • 3:46 - 3:48
    นี่คือภาพใหม่บางส่วน
  • 3:48 - 3:51
    จากยาน สปิริต และ ออพอทูนิตี้
  • 3:51 - 3:53
    ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ครั้งหนึ่ง
  • 3:53 - 3:57
    เคยมีแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวบนพื้นผิวดาวอังคาร
  • 3:57 - 3:59
    ทำไมน้ำจึงสำคัญนัก? น้ำมีความสำคัญ
  • 3:59 - 4:03
    เพราะ ถ้าคุณอยากให้มีสิ่งมีชีวิต คุณต้องมีน้ำ
  • 4:03 - 4:05
    น้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญ
  • 4:05 - 4:09
    ในวิวัฒนาการ จุดกำเนิดของชีวิตบนดาวเคราะห์
  • 4:09 - 4:11
    นี่คือภาพจากแอนทาร์กติกา
  • 4:11 - 4:14
    และภาพของโอลิมปัส มอนส์
  • 4:14 - 4:16
    มีลักษณะที่คล้ายกันมาก นั่นคือธารน้ำแข็ง
  • 4:16 - 4:18
    นี่คือน้ำที่แข็งตัว
  • 4:18 - 4:21
    นี่คือน้ำแข็งบนดาวอังคาร
  • 4:21 - 4:24
    นี่เป็นภาพโปรดของผม มันถูกถ่ายเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่แล้ว
  • 4:24 - 4:26
    มันยังไม่ได้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ
  • 4:26 - 4:29
    นี่คือ ภาพจากยานขององค์การอวกาศแห่งยุโรป
  • 4:29 - 4:31
    มาร์ส เอ็กซ์เพรส เป็นภาพของหลุมอุกาบาตบนดาวอังคาร
  • 4:31 - 4:33
    และที่กลางหลุม
  • 4:33 - 4:36
    เราพบน้ำในสภาวะของเหลว เราพบน้ำแข็ง
  • 4:36 - 4:38
    เป็นภาพถ่ายที่น่าตื่นต้นจริงๆ
  • 4:38 - 4:42
    ตอนนี้เราเชื่อว่าในประวัติศาสตร์ตอนต้นของดาวอังคาร
  • 4:42 - 4:45
    ซึ่งประมาณ 4.6 พันล้านปีที่แล้ว
  • 4:45 - 4:49
    4.6 พันล้านปีที่แล้ว ดาวอังคารมีสภาพคล้ายโลกมาก
  • 4:49 - 4:52
    ดาวอังคารเคยมีแม่น้ำ ดาวอังคารเคยมีทะเลสาป
  • 4:52 - 4:56
    และที่สำคัญกว่านั้น ดาวอังคารเคยมี
    มหาสมุทรขนาดมหึมา
  • 4:56 - 5:00
    เราเชื่อว่ามหาสมุทรเคยอยู่ในซีกโลกเหนือ
  • 5:00 - 5:02
    และพื้นที่ตรงนี้ที่เป็นสีน้ำเงิน
  • 5:02 - 5:05
    ซึ่งเห็นเป็นรอยยุบขนาดสี่ไมล์
  • 5:05 - 5:08
    คือมหาสมุทรโบราณ
  • 5:08 - 5:10
    บนพื้นผิวของดาวอังคาร
  • 5:10 - 5:13
    แล้วน้ำทั้งมหาสมุทรบนดาวอังคารหายไปไหนหมด?
  • 5:13 - 5:15
    คือ เราพอมีคำอธิบายครับ
  • 5:15 - 5:18
    นี่คือข้อมูลที่เราวัดได้เมื่อไม่กี่ปีก่อน
  • 5:18 - 5:22
    จาก ดาวเทียมโคจรรอบดาวอังคาร ชื่อ ออดิสซี
  • 5:22 - 5:24
    น้ำใต้พื้นผิวบนดาวอังคาร
  • 5:24 - 5:27
    ถูกแช่เย็นในรูปน้ำแข็ง
  • 5:27 - 5:30
    และนี่แสดงให้เห็นสัดส่วน ถ้าสีน้ำเงิน
  • 5:30 - 5:33
    มันแปลว่า 16 เปอร์เซนต์โดยน้ำหนัก
  • 5:33 - 5:35
    16 เปอร์เซนต์ โดยน้ำหนักของภายในดาวอังคาร
  • 5:35 - 5:38
    มีน้ำเข็ง
  • 5:38 - 5:41
    ดังนั้น มันมีน้ำอยู่มากมายใต้พื้นผิว
  • 5:41 - 5:45
    ข้อมูลที่น่าตื่นเต้น และน่าพิศวงที่สุด
  • 5:45 - 5:48
    ในความเห็นของผม ที่เราวัดได้จากดาวอังคาร
  • 5:48 - 5:51
    ได้ถูกเผยแพร่เมื่อต้นปี
  • 5:51 - 5:54
    ในนิตยสารไซน์
  • 5:54 - 5:58
    และที่เรากำลังดูอยู่นี่คือ ก๊าซมีเทน
  • 5:58 - 6:02
    CH4 ในชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร
  • 6:02 - 6:06
    และคุณจะสามารถเห็น 3 บริเวณที่แตกต่างของมีเทน
  • 6:06 - 6:08
    ทำไมมีเทนจึงสำคัญนัก?
  • 6:08 - 6:10
    เพราะว่าบนโลก เกือบทั้งหมด --
  • 6:10 - 6:13
    99.9 เปอร์เซ็นต์ ของมีเทน
  • 6:13 - 6:16
    ถูกผลิตโดยระบบของสิ่งมีชีวิต
  • 6:16 - 6:20
    ไม่ใช่โดยมนุษย์ต่างดาวตัวเขียว แต่เป็นจุลชีพ
  • 6:20 - 6:22
    ใต้พื้นผิว หรือบนพื้นผิว
  • 6:22 - 6:24
    ตอนนี้เรามีหลักฐาน
  • 6:24 - 6:27
    ว่ามีเทนนั้นมีอยู่ในชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร
  • 6:27 - 6:29
    ก๊าซที่ซึ่งบนโลก
  • 6:29 - 6:31
    เป็นผลผลิตจากกระบวนการชีวภาพ
  • 6:31 - 6:33
    ถูกสร้างจากสิ่งมีชีวิต
  • 6:33 - 6:37
    นี่คือกลุ่มก๊าซ 3 ก้อน A, B1 และ B2
  • 6:37 - 6:40
    และนี่คือพืนดินที่มันปกคลุมอยู่
  • 6:40 - 6:43
    เราทราบจากการศึกษาทางธรณีวิทยาว่า
  • 6:43 - 6:47
    บริเวณเหล่านี้ เป็นบริเวณที่เก่าแก่ที่สุดบนดาวอังคาร
  • 6:47 - 6:49
    อันที่จริงแล้ว โลกและดาวอังคาร
  • 6:49 - 6:53
    ล้วนมีอายุ 4.6 พันล้านปีทั้งคู่
  • 6:53 - 6:57
    หินที่เก่าแก่ที่สุดบนโลกมีอายุเพียง 3.6 พันล้านปี
  • 6:57 - 7:00
    สาเหตุที่มันมีการทิ้งช่วงไปเกือบพันล้านปีนั้น
  • 7:00 - 7:02
    จากความเข้าใจทางด้านธรณีวิทยาของเรา
  • 7:02 - 7:04
    เป็นเพราะการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก
  • 7:04 - 7:07
    เปลือกโลกนั้นถูกรีไซเคิล
  • 7:07 - 7:09
    เราไม่มีบันทึกข้อมูลด้านธรณีวิทยาในช่วง
  • 7:09 - 7:11
    หนึ่งพันล้านปีแรก
  • 7:11 - 7:13
    แต่บันทึกนั้นมีอยู่บนดาวอังคาร
  • 7:13 - 7:15
    และพื้นพิภพที่เรามองดูอยู่นี่
  • 7:15 - 7:19
    มีอายุเก่าแก่ถึง 4.6 พันล้านปี
  • 7:19 - 7:22
    ณ วันที่โลกและดาวอังคารก่อตัวขึ้น
  • 7:22 - 7:24
    วันนั้นเป็นวันอังคารนะครับ
  • 7:24 - 7:26
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:26 - 7:28
    นี่คือแผนที่ที่แสดงให้เห็น
  • 7:28 - 7:32
    ตำแหน่งที่เรานำยานลงจอดบนพื้นผิวของดาวอังคาร
  • 7:32 - 7:35
    นี่คือยาน ไวกิ้ง 1 และ ไวกิ้ง 2
  • 7:35 - 7:38
    นี่คือออพอทูนิตี้ นี่คือสปิริต
  • 7:38 - 7:40
    นี่คือ มาร์ส พาธไฟเดอร์ และนี่คือฟีนิกส์
  • 7:40 - 7:42
    ที่เราเพิ่งนำลงจอดเมื่อสองปีที่แล้ว
  • 7:42 - 7:46
    โปรดสังเกตว่า ยานสำรวจ
    และ ยานลงจอดทั้งหมดของเรา
  • 7:46 - 7:48
    ไปอยู่ที่ซีกโลกเหนือทั้งหมด
  • 7:48 - 7:51
    นั่นเป็นเพราะที่ซีกโลกเหนือ
  • 7:51 - 7:53
    เป็นบริเวณของ
  • 7:53 - 7:55
    แอ่งมหาสมุทรโบราณ
  • 7:55 - 7:57
    ไม่มีหลุมอุกาบาตมากนัก
  • 7:57 - 8:00
    และนั่นเป็นเพราะน้ำที่อยู่ในนั้นคอยปกป้องแอ่งไว้
  • 8:00 - 8:04
    ไม่ให้ถูกชนโดยเหล่าอุกาบาต
  • 8:04 - 8:07
    แต่ลองดูทางซีกโลกใต้
  • 8:07 - 8:09
    ในซีกโลกใต้ มีหลุมอุกาบาตมากมาย
  • 8:09 - 8:11
    และมีปล่องภูเขาไฟอีกหลายปล่อง
  • 8:11 - 8:13
    นี่คือเฮลลาส เบซิน
  • 8:13 - 8:16
    เป็นที่ที่แปลกมาก ในทางธรณีวิทยา
  • 8:16 - 8:19
    ดูที่ที่มีก๊าซมีเทนสิครับ ก๊าซมีเทนเกิดขึ้นใน
  • 8:19 - 8:23
    บริเวณที่ขรุขระ
  • 8:23 - 8:25
    อะไรจะเป็นคำอธิบายที่ดีที่สุด ที่จะคลี่คลาย
  • 8:25 - 8:28
    ปมปริศนาบนดาวอังคาร?
  • 8:28 - 8:32
    เราถามคำถามนี้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว
  • 8:32 - 8:35
    เราได้เชิญ 10 นักวิทยาศาสตร์ด้านดาวอังคารชั้นนำ
  • 8:35 - 8:39
    มาที่ศูนย์วิจัยแลงลีย์เป็นเวลา 2 วัน
  • 8:39 - 8:41
    เราเขียนคำถามนี้ขึ้นกระดาน
  • 8:41 - 8:44
    คำถามใหญ่ๆ ที่ยังไม่เคยได้รับคำตอบ
  • 8:44 - 8:47
    และเราใช้เวลา 2 วัน เพื่อตัดสินใจว่า
  • 8:47 - 8:50
    จะตอบคำถามนี้ให้ดีที่สุดได้อย่างไร
  • 8:50 - 8:53
    ผลจากการประชุม
  • 8:53 - 8:59
    คือ เครื่องบินหุ่นยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยจรวดที่มีชื่อว่า ARES
  • 8:59 - 9:03
    มันคือ เครื่องบินสำรวจสภาพแวดล้อมภาคพื้นดิน
  • 9:03 - 9:05
    นี่คือโมเดลของ ARES
  • 9:05 - 9:08
    มันมีสัดส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ของขนาดจริง
  • 9:08 - 9:12
    เครื่องบินลำนี้ได้รับการออกแบบที่ศูนย์วิจัยแลงลีย์
  • 9:12 - 9:14
    ถ้าจะมีที่ไหนในโลกนี้
  • 9:14 - 9:16
    ที่จะสามารถสร้างเครื่องบินให้บินได้บนดาวอังคาร
  • 9:16 - 9:18
    มันคงต้องเป็นที่ศูนย์วิจัยแลงลีย์
  • 9:18 - 9:20
    ที่นี่มีประวัติศาสต์เกือบ 100 ปี
  • 9:20 - 9:23
    ของการเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์การบินชั้นนำของโลก
  • 9:23 - 9:26
    เราบินที่ระดับหนึ่งไมล์เหนือพื้นดิน
  • 9:26 - 9:28
    เป็นระยะทางหลายร้อยไมล์
  • 9:28 - 9:31
    และเราบินที่ความเร็ว 450 ไมล์ต่อชั่วโมง
  • 9:31 - 9:34
    เราสามารถทำสิ่งที่หุ่นสำรวจภาคพื้นดิน
  • 9:34 - 9:36
    และยานลงจอดทำไม่ได้
  • 9:36 - 9:39
    เราจะบินเหนือยอดเขา ภูเขาไฟ หลุมอุกาบาต
  • 9:39 - 9:41
    เราจะบินเหนือหุบเขา
  • 9:41 - 9:43
    เราสามารถบินผ่าน บริเวณที่มีสภาวะแม่เหล็กเปลือกโลก
  • 9:43 - 9:46
    บริเวณแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณที่มีน้ำใต้ดิน
  • 9:46 - 9:48
    และเราสามารถค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร
  • 9:48 - 9:50
    แต่ที่สำคัญพอๆ กัน
  • 9:50 - 9:53
    นั่นคือ ในขณะที่เราบินผ่านชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร
  • 9:53 - 9:56
    เราจะส่งสัญญาณการเดินทางนั้น
  • 9:56 - 9:59
    การบินโดยเครื่องบินครั้งแรกนอกโลก
  • 9:59 - 10:02
    เราจะส่งสัญญาณภาพเหล่านั้นกลับมายังโลก
  • 10:02 - 10:06
    เป้าหมายเราคือเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
    ให้สาธารณะชนชาวอเมริกัน
  • 10:06 - 10:09
    ผู้ซึ่งจ่ายเงินสำหรับภารกิจนี้ด้วยเงินภาษี
  • 10:09 - 10:12
    และที่สำคัญกว่านั้น เราจะ
  • 10:12 - 10:15
    สร้างแรงบันดาลใจแก่นักวิทยาศาสตร์
  • 10:15 - 10:18
    นักเทคโนโลยี วิศวกร และนักคณิตศาสตร์รุ่นต่อๆ ไป
  • 10:18 - 10:22
    และนั่นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวดต่อความมั่นคงของชาติ
  • 10:22 - 10:26
    และความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่า
  • 10:26 - 10:28
    เราสร้าง
  • 10:28 - 10:31
    นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร นักคณิตศาสตร์
    นักเทคโนโลยี รุ่นใหม่
  • 10:31 - 10:34
    นี่คือหน้าตาของ ARES
  • 10:34 - 10:36
    ตอนมันบินเหนือดาวอังคาร
  • 10:36 - 10:38
    เราตั้งโปรแกรมล่วงหน้าไว้
  • 10:38 - 10:40
    เราจะให้มันบินไปตรงที่ที่มีก๊าซมีเทน
  • 10:40 - 10:43
    เราจะมีอุปกรณ์เครื่องมือวัดอยู่บนเครื่อง
  • 10:43 - 10:46
    ซึ่งจะเก็บตัวอย่างชั้นบรรยากาศดาวอังคาร ทุกๆ 3 นาที
  • 10:46 - 10:48
    เราจะมองหามีเทน
  • 10:48 - 10:50
    และก๊าซอื่นๆ
  • 10:50 - 10:52
    ซึ่งถูกผลิตจากกระบวนการชีวภาพ
  • 10:52 - 10:56
    เราจะระบุตำแหน่งที่ก๊าซเหล่านี้ผุดขึ้นมา
  • 10:56 - 10:59
    เพราะเราสามารถวัดความเข้มข้นของก๊าซและ
    ทิศทางที่มาของมันได้
  • 10:59 - 11:02
    และจากนั้น เราจะสามารถกำหนดทิศทาง
    สำหรับภารกิจต่อไป
  • 11:02 - 11:05
    ให้นำยานลงจอด ณ ตำแหน่งนั้น
  • 11:05 - 11:08
    แล้วเราจะขนส่งเครื่องบินไปยังดาวอังคาร
    อย่างไรน่ะเหรอครับ?
  • 11:08 - 11:11
    สั้นๆ ครับ "อย่าง ระวัง มากๆ"
  • 11:11 - 11:15
    ปัญหาคือเราไม่ได้ให้มันบินไปดาวอังคาร
  • 11:15 - 11:18
    เราเอามันใส่ในยานอวกาศ
  • 11:18 - 11:20
    แล้วค่อยส่งมันไปดาวอังคาร
  • 11:20 - 11:22
    ปัญหาคือ ขนาดของยานอวกาศ
  • 11:22 - 11:26
    ซึ่งเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดคือ 9 ฟุต
  • 11:26 - 11:31
    ARES มีขนาดความกว้างจากปีกถึงปีก 21 ฟุต
    ความยาว 17 ฟุต
  • 11:31 - 11:33
    แล้วเราจะเอามันไปดาวอังคารอย่างไร?
  • 11:33 - 11:35
    เราก็พับมัน
  • 11:35 - 11:38
    แล้วค่อยบรรทุกมันไปในยานอวกาศ
  • 11:38 - 11:41
    เราใส่มันไว้ในเกราะกันความร้อน
  • 11:41 - 11:43
    นี่คือวิธีที่เราจะทำ
  • 11:43 - 11:47
    และเรามีวิดีโอสั้นๆ ที่จะอธิบายขั้นตอนที่ว่า
  • 11:47 - 11:52
    วิดีโอ: เจ็ด, หก, ไฟเขียว, ห้า, สี่, สาม, สอง, หนึ่ง,
  • 11:52 - 11:55
    เครื่องยนต์หลักทำงาน และ ยกตัว
  • 12:05 - 12:08
    โจเอล ลาวีน: นี่คือการส่งยานอวกาศ
    จากศูนย์อวกาศเคนเนดีในฟลอริดา
  • 12:14 - 12:16
    นี่คือยานอวกาศใช้เวลา 9 เดือนแอโรเชลล์
  • 12:16 - 12:18
    เพื่อไปยังดาวอังคาร
  • 12:18 - 12:21
    มันเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร
  • 12:21 - 12:23
    เจอความร้อนมหาศาล
  • 12:26 - 12:28
    ความร้อนจากแรงเสียดทาน
    มันพุ่งด้วยความเร็ว 18,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • 12:28 - 12:32
    ร่มชูชีพกางออกเพื่อทำให้มันช้าลง
  • 12:32 - 12:35
    แผ่นกันความร้อนหลุดออก
  • 12:35 - 12:38
    เครื่องบินสัมผัสชั้นบรรยากาศเป็นครั้งแรก
  • 12:38 - 12:41
    มันกางออก
  • 12:41 - 12:43
    จรวดเริ่มทำงาน
  • 12:50 - 12:53
    เราเชื่อว่าการบินเพียงหนึ่งชั่วโมง
  • 12:53 - 12:56
    จะทำให้เราจะสามารถเขียนตำรา
    เกี่ยวกับดาวอังคารขึ้นมาใหม่ได้
  • 12:56 - 12:59
    โดยใช้การวัดที่มีความละเอียดสูง
    เพื่อตรวจสอบชั้นบรรยากาศ
  • 12:59 - 13:02
    มองหาก๊าซที่มีแหล่งกำเนิดจากสิ่งมีชีวิต
  • 13:02 - 13:05
    มองหาก๊าซที่มีแหล่งกำเนิดจากภูเขาไฟ
  • 13:05 - 13:08
    ศึกษาพื้นผิว ศึกษาสภาวะแม่เหล็ก
  • 13:08 - 13:10
    บนพื้นผิว ซึ่งเรายังไม่เข้าใจ
  • 13:10 - 13:13
    เช่นเดียวกับ ในอีกหลายๆ เรื่อง
  • 13:13 - 13:15
    เราฝึกหนักครับ
  • 13:15 - 13:17
    เรารู้ได้อย่างไรว่าเราจะทำมันได้?
  • 13:17 - 13:21
    เพราะเราได้ทดสอบแบบจำลองของ ARES
  • 13:21 - 13:24
    แบบจำลองหลายๆ รุ่น ในอุโมงค์ลมจำนวนครึ่งโหล
  • 13:24 - 13:27
    ที่ศูนย์วิจัยแลงลีย์ของนาซ่า อยู่ราว 8 ปี
  • 13:27 - 13:29
    ภายใต้สภาวะเช่นเดียวกับบนดาวอังคาร
  • 13:29 - 13:31
    และ ที่สำคัญไม่แพ้กัน
  • 13:31 - 13:35
    คือเราทดสอบ ARES ในชั้นบรรยากาศของโลก
  • 13:35 - 13:38
    ที่ความสูง 100,000 ฟุต
  • 13:38 - 13:41
    ที่ซึ่งความหนาแน่นอากาศ และความดัน คล้ายคลึง
  • 13:41 - 13:44
    กับชั้นบรรยากาศของดาวอังคารที่ซึ่งเราจะบินจริง
  • 13:44 - 13:47
    ที่ความสูง 100,000 ฟุตนะครับ
    ถ้าคุณบินข้ามทวีปไปยังลอส แองเจลลิส
  • 13:47 - 13:49
    คุณบินสูงแค่ 37,000 ฟุต
  • 13:49 - 13:52
    แต่นี่เราทำการทดสอบที่ 100,000 ฟุต
  • 13:52 - 13:55
    และผมอยากให้คุณได้ชมหนึ่งในการทดสอบของเรา
  • 13:55 - 13:57
    นี่คือแบบจำลองขนาดครึ่งหนึ่งของเครื่องจริง
  • 13:57 - 13:59
    นี่คือ บอลลูนฮีเลียม
  • 13:59 - 14:02
    บินอยู่เหนือ เมือง ทิลามัค รัฐโอเรกอน
  • 14:02 - 14:06
    เราใส่เครื่องบินที่ถูกพับไว้กับบอลลูน
  • 14:06 - 14:08
    ใช้เวลาประมาณสามชั่วโมงเพื่อขึ้นที่ไปความสูงนั้น
  • 14:08 - 14:10
    และเราปล่อยมันด้วยคำสั่ง
  • 14:10 - 14:12
    ที่ความสูง 103,000 ฟุต
  • 14:12 - 14:16
    เราปล่อยเครื่องบิน และทุกอย่างทำงานสมบูรณ์แบบ
  • 14:16 - 14:18
    และเราได้ทำ
  • 14:18 - 14:20
    การทดสอบที่ทั้ง ระดับสูง และระดับต่ำ
  • 14:20 - 14:25
    เพื่อฝึกเทคนิคนี้ให้เชี่ยวชาญ
  • 14:25 - 14:27
    เราพร้อมสำหรับงานจริงแล้ว
  • 14:27 - 14:29
    ผมมีแบบจำลองย่อส่วนอยู่ตรงนี้
  • 14:29 - 14:31
    แต่เรามีแบบจำลองขนาดเท่าจริง
  • 14:31 - 14:34
    อยู่ในโรงเก็บที่ศูนย์วิจัยแลงลีย์ของนาซ่า
  • 14:34 - 14:38
    เราพร้อมแล้ว เหลืออย่างเดียวคือเช็คเงินจาก
    สำนักงานใหญ่ของนาซ่า
  • 14:38 - 14:40
    (เสียงหัวเราะ)
  • 14:40 - 14:42
    สำหรับต้นทุน
  • 14:42 - 14:45
    ผมเตรียมจะบริจาคค่าวิทยากรของผม
    ในการบรรยายวันนี้
  • 14:45 - 14:47
    เพื่อภารกิจนี้ครับ
  • 14:47 - 14:51
    จริงๆ แล้วไม่มีใครได้ค่าวิทยากรในงานนี้นะครับ
  • 14:51 - 14:53
    นี่คือทีม ARES
  • 14:53 - 14:57
    เรามีนักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรเกือบ 150 คน
  • 14:57 - 14:59
    เราร่วมงานกับ Jet Propulsion Laboratory
  • 14:59 - 15:01
    ศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ด
  • 15:01 - 15:04
    ศูนย์วิจัยเอมส์ มหาวิทยาลัยใหญ่ๆ อีกหกแห่ง
  • 15:04 - 15:06
    และอีกหลายบริษัทใหญ่ๆ เพื่อพัฒนาสิ่งนี้
  • 15:06 - 15:13
    มันเป็นความพยายามอันยิ่งใหญ่ ทั้งหมดเกิดขึ้น
    ที่ศูนย์วิจัยแลงลีย์ นาซ่า
  • 15:13 - 15:16
    และผมจะขอกล่าวสรุปอย่างนี้ครับ
  • 15:16 - 15:18
    ไม่ไกลจากที่นี่
  • 15:18 - 15:21
    มุ่งตามถนนจากเมืองคิตตี้ฮอว์ค รัฐนอร์ทแคโรไลนา
  • 15:21 - 15:23
    เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว
  • 15:23 - 15:25
    ประวัติศาสตร์ได้ถูกจารึก
  • 15:25 - 15:28
    เมื่อเรามีเที่ยวบินแรกบนโลกใบนี้
    โดยเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์
  • 15:28 - 15:30
    มันใกล้มากแล้วที่จะก้าวไปอีกขั้น
  • 15:30 - 15:33
    ที่จะสร้างเที่ยวบินแรกโดยเครื่องบิน
  • 15:33 - 15:35
    นอกชั้นบรรยากาศของโลก
  • 15:35 - 15:38
    เราพร้อมแล้ว ที่จะบินเจ้าสิ่งนี้บนดาวอังคาร
  • 15:38 - 15:40
    เขียนตำราเกี่ยวกับดาวอังคารขึ้นใหม่
  • 15:40 - 15:43
    และถ้าคุณสนใจหาข้อมูลเพิ่มเติม
  • 15:43 - 15:46
    เรามีเว็บไซต์ที่อธิบายภารกิจ
  • 15:46 - 15:49
    อันน่าตื่นเต้นนี้ และเหตุผลที่ทำไมเราจึงอยากทำมัน
  • 15:49 - 15:51
    ขอบคุณมากครับ
  • 15:51 - 15:54
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทำไมเราต้องกลับไปดาวอังคาร
Speaker:
โจเอล ลาวีน (Joel Levine)
Description:

ที่ TEDxNASA, นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ โจเอล ลาวีน แสดงให้เห็นถึงการค้นพบใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้น และชวนพิศวง เกี่ยวกับดาวอังคาร: หลุมอุกาบาตที่เต็มไปด้วยน้ำแข็ง, ร่องรอยของมหาสมุทรโบราณ และหลักฐานที่ชี้ชัดว่าครั้งหนึ่งในอดีตเคยมีสิ่งมีชีวิตอยู่บนนั้น เขายกเหตุผลสำหรับการกลับไปดาวอังคารเพื่อสำรวจให้ลึกยิ่งขึ้น

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
15:54
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why we need to go back to Mars
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we need to go back to Mars
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Why we need to go back to Mars
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we need to go back to Mars
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Why we need to go back to Mars
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Why we need to go back to Mars
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we need to go back to Mars
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we need to go back to Mars
Show all

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 10 Edited (legacy editor)
    Kelwalin Dhanasarnsombut