Return to Video

คืนชีพช้างแมมมอธ!

  • 0:01 - 0:03
    เมื่อตอนที่ผมยังเด็ก
  • 0:03 - 0:05
    ผมเคยใช้กล้องจุลทรรศน์ของคุณพ่อส่องดู
  • 0:05 - 0:09
    แมลงในแท่งอำพันที่ท่านเก็บไว้ที่บ้าน
  • 0:09 - 0:11
    และมันถูกรักษาไว้เป็นอย่างดี
  • 0:11 - 0:13
    รูปร่างสัณฐานของมันยังอยู่
    ในสภาพสมบูรณ์อย่างน่าทึ่ง
  • 0:13 - 0:16
    และเราเคยคิดว่าสักวัน
  • 0:16 - 0:17
    มันจะฟื้นคืนชีพกลับมาได้จริงๆ
  • 0:17 - 0:19
    และมันจะคืบคลานออกจากแท่งอำพัน
  • 0:19 - 0:22
    และถ้าทำได้ มันคงจะบินหนีไป
  • 0:22 - 0:24
    ถ้าคุณถามผมสักเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
    ว่าจะเป็นไปได้หรือไม่
  • 0:24 - 0:28
    ที่เราจะสามารถหาลำดับจีโนม
    ของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
  • 0:28 - 0:30
    ผมคงจะตอบคุณว่า มันไม่น่าจะเป็นไปได้
  • 0:30 - 0:32
    ถ้าคุณถามว่าเราจะสามารถที่จะ
  • 0:32 - 0:34
    คืนชีพสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วได้หรือไม่
  • 0:34 - 0:36
    ผมคงต้องตอบว่า ฝันไปเหอะ
  • 0:36 - 0:38
    แต่ผมมายืนอยู่ ณ ที่นี่ ในวันนี้
    ด้วยความอัศจรรย์ใจ
  • 0:38 - 0:40
    ที่จะบอกกับพวกคุณว่า
    การหาลำดับพันธุกรรมของสัตว์สูญพันธุ์ไปแล้ว
  • 0:40 - 0:44
    ไม่ใช่เพียงแค่ความเป็นไปได้
    แต่วันนี้เราก็ทำได้แล้วจริงๆ
  • 0:44 - 0:49
    ส่วนการคืนชีพให้สายพันธุ์สัตว์ที่สูญพันธุ์แล้ว
    ก็อยู่ใกล้เพียงเอื้อม
  • 0:49 - 0:51
    บางทีอาจจะไม่ใช่จากแมลงในแท่งอำพัน
  • 0:51 - 0:53
    ที่จริง ยุงตัวนั้นถูกใช้
  • 0:53 - 0:55
    เป็นแรงบันดาลใจให้กับภาพยนตร์เรื่อง
    "กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์" (Jurassic Park)
  • 0:55 - 0:57
    แต่จากแมมมอธขนดกโบราณ
    ซึ่งซากของมันถูกอนุรักษ์ไว้อย่างดี
  • 0:57 - 1:00
    ของแมมมอธขนดก
    ในบริเวณชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (permafrost)
  • 1:00 - 1:02
    แมมมอธขนดกนั้นน่าสนใจเป็นพิเศษ
  • 1:02 - 1:04
    เป็นภาพลักษณ์สำคัญของยุคน้ำแข็ง
  • 1:04 - 1:06
    พวกมันตัวใหญ่ มีขนรุงรัง
  • 1:06 - 1:08
    มันมีงาที่ใหญ่ยาว และดูเหมือนพวกเราจะ
  • 1:08 - 1:11
    มีความเชื่อมโยงลึกๆบางอย่างกับพวกมัน
    คล้ายกับทีเราผูกพันกับช้าง
  • 1:11 - 1:13
    อาจจะเป็นเพราะเหล่าช้าง
  • 1:13 - 1:15
    มีหลายสิ่งหลายอย่างเหมือนกับเรา
  • 1:15 - 1:18
    พวกมันฝังศพ พวกมันรู้จักสอนลูกหลาน
  • 1:18 - 1:21
    พวกมันมีความผูกพันทางสังคมที่เหนียวแน่น
  • 1:21 - 1:24
    หรือบางทีคงเป็นเพราะ
    เราผูกพันกันด้วยช่วงเวลาที่ยาวนาน
  • 1:24 - 1:27
    เพราะช้างถือกำเนิดจากทวีปแอฟริกา
    เช่นเดียวกับเรา
  • 1:27 - 1:29
    เมื่อราวๆ สักเจ็ดล้านปีที่แล้ว
  • 1:29 - 1:32
    และเมื่อถิ่นอาศัยของมันเปลี่ยน
    และสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป
  • 1:32 - 1:36
    เช่นเดียวกับช้าง พวกเราอพยพหนีออกมา
  • 1:36 - 1:38
    ยังยุโรป และเอเชีย
  • 1:38 - 1:41
    ดังนั้นแมมมอธตัวแรกที่ปรากฏขึ้น
  • 1:41 - 1:44
    คือสายพันธุ์เมริดิโอนัลลิส (meridionalis)
    ซึ่งสูงราวสี่เมตร
  • 1:44 - 1:48
    หนักราว 10 ตัน และเป็นสายพันธุ์ที่ปรับตัวเข้ากับป่าไม้
  • 1:48 - 1:51
    ได้แพร่กระจายจากยุโรปตะวันตก ไปยังเอเชียกลาง
  • 1:51 - 1:53
    ผ่านทางเชื่อมทะเลแบริ่ง (Bering land bridge)
  • 1:53 - 1:55
    ไปยังบางส่วนของทวีปอเมริกาเหนือ
  • 1:55 - 1:58
    อีกครั้งเมื่อสภาวะอากาศเปลี่ยน ซึ่งเกิดขึ้นเสมอๆ
  • 1:58 - 2:00
    และถิ่นที่อยู่ใหม่ก็กำเนิดขึ้น
  • 2:00 - 2:02
    สายพันธุ์ที่ปรับตัวเข้ากับทุ่งราบจึงกำเนิดขึ้น
  • 2:02 - 2:04
    ที่เรียกว่าสายพันธุ์โทรกอนธีรี (Trogontherii)
    ในบริเวณเอเชียกลาง
  • 2:04 - 2:07
    ซึ่งผลักดันให้สายพันธุ์เมริดิโอนัลลิส
    ไปอยู่ทางยุโรปตะวันตก
  • 2:07 - 2:10
    และเมื่อดินแดนทุ่งหญ้าสะวันนา
    เกิดขึ้นในอเมริกาเหนือ
  • 2:10 - 2:12
    แมมมอธโคลัมเบีย (Columbian Mammoth)
    จึงกำเนิดขึ้นในอเมริกาเหนือ
  • 2:12 - 2:14
    เป็นแมมมอธสายพันธุ์ซึ่งมีขนาดใหญ่ และไร้ขน
  • 2:14 - 2:17
    และถัดมาอีกเพียง 500,000 ปี
  • 2:17 - 2:20
    แมมมอธขนดกก็ถือกำเนิดขึ้น
  • 2:20 - 2:22
    เป็นสายพันธุ์ที่เราทุกคนรู้จัก และรักมันเป็นที่สุด
  • 2:22 - 2:25
    แพร่กระจายจากแหล่งกำเนิดทางตะวันออกของเบริง
  • 2:25 - 2:28
    ข้ามเอเชียกลาง ผลักดันสายพันธุ์โทรกอนธีรี
  • 2:28 - 2:30
    ไปยังยุโรปตอนกลาง
  • 2:30 - 2:32
    และในช่วงเวลานับแสนๆปี
  • 2:32 - 2:35
    ที่พวกมันอพยพข้ามไปมาระหว่างทางเชื่อมทะเลเบริง
  • 2:35 - 2:37
    ระหว่างช่วงกลางยุคน้ำแข็ง
  • 2:37 - 2:39
    และได้พบปะโดยตรงกับ
  • 2:39 - 2:42
    ญาติสายพันธุ์โคลัมเบีย ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนใต้
  • 2:42 - 2:45
    และเป็นที่ที่มันเอาชีวิตรอดเป็นระยะเวลาแสนๆปี
  • 2:45 - 2:47
    ในช่วงที่โลกเกิดเปลี่ยนแปลง
    สภาวะอากาศอย่างฉับพลัน
  • 2:47 - 2:51
    พวกมันเป็นสัตว์ที่ปรับตัวง่าย
    รับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
  • 2:51 - 2:54
    ของอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมได้
    และทำได้ดี ดีมากๆ
  • 2:54 - 2:58
    และพวกมันอาศัยอยู่บนแผ่นดินใหญ่
    จนกระทั่งถึงเมื่อ 10,000 ปีที่แล้ว
  • 2:58 - 3:01
    และอันที่จริงแล้ว มันยิ่งน่าประหลาดใจ ที่ยังมีพวกมันอยู่บนเกาะเล็กๆ นอกไซบีเรีย
  • 3:01 - 3:04
    และอะแลสกาจนกระทั่งถึงเมื่อ 3,000 ปีที่แล้ว
  • 3:04 - 3:05
    เมื่อสมัยที่ชนชาวอียิปต์สร้างพีระมิด
  • 3:05 - 3:08
    ในสมัยนั้นก็ยังมีแมมมอธขนดกที่อาศัยอยู่บนเกาะ
  • 3:08 - 3:10
    จากนั้นมันก็สูญหายไป
  • 3:10 - 3:12
    เช่นเดียวกันกับสัตว์ 99% ที่เคยดำรงชีวิตอยู่
  • 3:12 - 3:15
    พวกมันสูญพันธุ์ น่าจะเนื่องจากอากาศที่อบอุ่น
  • 3:15 - 3:17
    และป่าทึบที่คืบคลานเข้ามาอย่างรวดเร็ว
  • 3:17 - 3:19
    ขึ้นมาทางตอนเหนือ
  • 3:19 - 3:22
    และเช่นเดียวกับที่พอล มาร์ติน (Paul Martin)
    ผู้ยิ่งใหญ่ว่าไว้
  • 3:22 - 3:24
    การถูกฆ่ามากเกินไปในยุคไพลสโตซีน (Pleistocene)
  • 3:24 - 3:26
    นักล่าสัตว์ใหญ่ล่าพวกมันมากเกินไปจนสูญพันธุ์
  • 3:26 - 3:28
    โชคดีที่เราพบซากของมันเป็นล้านๆชิ้น
  • 3:28 - 3:31
    กระจายฝังลึกอยู่ตามจุดต่างๆของชั้นดินเยือกแข็งคงตัว
  • 3:31 - 3:34
    ในไซบีเรียและอะแลสกา และเราสามารถไปที่นั่น
  • 3:34 - 3:36
    แล้วเอามันกลับมาได้
  • 3:36 - 3:38
    ซากที่ถูกเก็บรักษาไว้นั้น
  • 3:38 - 3:40
    สมบูรณ์อย่างน่าอัศจรรย์
    เช่นเดียวกับกับแมลงในแท่งอำพัน
  • 3:40 - 3:44
    เราจึงได้ ฟัน กระดูกที่มีเลือด
  • 3:44 - 3:46
    ซึ่งดูเหมือนเลือดจริงๆ เราได้เส้นขน
  • 3:46 - 3:47
    และเราได้โครงซึ่งไม่บุบสลาย หรือ ส่วนหัว
  • 3:47 - 3:50
    ซึ่งยังคงมีสมองอยู่ในนั้น
  • 3:50 - 3:53
    ดังนั้นการรักษาสภาพ DNA และโอกาสที่มันจะอยู่รอด
  • 3:53 - 3:55
    ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ซึ่งผมคงต้องยอมรับว่า
  • 3:55 - 3:57
    ปัจจัยส่วนใหญ่ เรายังไม่เข้าใจดีนัก
  • 3:57 - 3:59
    แต่มันขึ้นอยู่กับว่าสิ่งมีชีวิตนั้นตายเมื่อไร
  • 3:59 - 4:04
    ถูกฝังไว้รวดเร็วแค่ไหน ความลึกที่ถูกฝัง
  • 4:04 - 4:07
    ความสม่ำเสมอของอุณหภูมิในสภาพแวดล้อมที่ฝังมันไว้
  • 4:07 - 4:09
    จะเป็นตัวบ่งบอกว่า DNA คงอยู่
  • 4:09 - 4:12
    ผ่านยุคสำคัญๆ ทางธรณีวิทยา ได้นานเท่าไร
  • 4:12 - 4:14
    และมันคงจะทำให้หลายท่านในที่นี้แปลกใจ
  • 4:14 - 4:17
    ว่ามันไม่ใช่เรื่องของระยะเวลา
  • 4:17 - 4:19
    ไม่ใช่ความนานของการรักษาสภาพ
  • 4:19 - 4:23
    แต่ปัจจัยสำคัญที่สุดคือความสม่ำเสมอของอุณหภูมิ
  • 4:23 - 4:25
    ดังนั้นถ้าเราเจาะลึกเข้าไปในกระดูก
  • 4:25 - 4:28
    และฟัน ซึ่งรอดจากกระบวนการ
    แปลงสภาพเป็นฟอสซิล
  • 4:28 - 4:32
    DNA ของมันซึ่งเคยสมบูรณ์ ขดอย่างแน่นหนา
  • 4:32 - 4:34
    อยู่รอบๆโปรตีนฮิสโตน จะถูกโจมตี
  • 4:34 - 4:37
    ด้วยแบคทีเรียซึ่งอาศัยอยู่ในแมมมอธ
  • 4:37 - 4:39
    หลายปีตลอดช่วงชีวิตของมัน
  • 4:39 - 4:42
    ด้วยแบคทีเรียเหล่านั้น และแบคทีเรียในสภาพแวดล้อม
  • 4:42 - 4:46
    น้ำและออกซิเจนจากภายนอก ได้สลาย DNA
  • 4:46 - 4:48
    เป็นชิ้นส่วน DNA ย่อยที่เล็กลง เล็กลง เล็กลง
  • 4:48 - 4:51
    จนกระทั่งเราได้ชิ้นเล็กๆ
  • 4:51 - 4:53
    ที่อยู่ระหว่าง 10 คู่ฐานไปจนถึง ในกรณีที่ดีที่สุด
  • 4:53 - 4:56
    คือความยาวราวไม่กี่ร้อยคู่ฐาน
  • 4:56 - 4:58
    ดังนั้นซากฟอสซิลส่วนใหญ่ที่ได้รับการบันทึกไว้
  • 4:58 - 5:01
    จึงแทบไม่หลงเหลือข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตใดๆเลย
  • 5:01 - 5:03
    แต่ซากฟอสซิลจำนวนหนึ่งซึ่งมีชิ้นส่วนย่อยของ DNA อยู่
  • 5:03 - 5:05
    ซึ่งอยู่รอดมานับพัน
  • 5:05 - 5:09
    หรือนับล้านๆปี
  • 5:09 - 5:11
    และด้วยการใช้เทคโนโลยีห้องปลอดฝุ่นอันทันสมัย
  • 5:11 - 5:14
    เราได้ประดิษฐ์วิธีการใหม่
    ที่จะสามารถดึงเอา DNA เหล่านี้
  • 5:14 - 5:16
    ออกมาจากซากสิ่งปฏิกูลที่เหลือในนั้นได้
  • 5:16 - 5:18
    และมันคงไม่น่าประหลาดใจกับทุกท่านที่นั่งอยู่ในที่นี้
  • 5:18 - 5:21
    ว่าถ้าผมนำเอากระดูกหรือฟันของช้างแมมมอธ
  • 5:21 - 5:24
    มาสกัดเอา DNA ของมันออกมา ผมก็จะได้ DNA ของแมมมอธ
  • 5:24 - 5:27
    แถมผมก็ยังได้แบคทีเรียทั้งหมดที่เคยอาศัยอยู่กับแมมมอธมาด้วย
  • 5:27 - 5:30
    และที่ยิ่งซับซ้อนไปกว่านั้นคือ ผมยังได้ DNA ของสิ่งมีชีวิต
  • 5:30 - 5:32
    ที่อยู่ในสภาวะแวดล้อม ณ ตอนนั้นมาด้วย
  • 5:32 - 5:35
    ได้มาทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา และอื่นๆอีกมากมาย
  • 5:35 - 5:37
    ไม่น่าแปลกใจเช่นกัน ที่เจ้าแมมมอธ
  • 5:37 - 5:39
    ซึ่งถูกคงสภาพไว้ในชั้นดินเยือกแข็งคงตัว
  • 5:39 - 5:42
    จะมี DNA ราว 50% ที่เป็น DNA ของแมมมอธ
  • 5:42 - 5:44
    ในทางตรงกันข้าม สายพันธุ์อื่นๆ
    เช่น แมมมอธโคลัมเบีย
  • 5:44 - 5:47
    ที่อยู่อาศัยในอุณหภูมิหนึ่ง
    และถูกฝังในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นกว่า
  • 5:47 - 5:50
    ในหลุมของมันจะมี DNA ของมัน
    หลงเหลือเพียงแค่ 3 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
  • 5:50 - 5:53
    แต่เราก็มีวิธีการที่ชาญฉลาด
  • 5:53 - 5:56
    ในการที่เราจะแบ่งแยก ตรวจจับและแบ่งแยก
  • 5:56 - 5:58
    DNA ของแมมมอธออกจากสิ่งที่ไม่ใช่แมมมอธ
  • 5:58 - 6:00
    และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
    การถอดรหัสพันธุกรรมที่มีประสิทธิภาพ
  • 6:00 - 6:03
    เราสามารถดึงเอาข้อมูลทางชีวภาพ
  • 6:03 - 6:06
    ต่อชิ้นส่วนเล็กๆของแมมมอธเหล่านี้ทั้งหมดกลับเข้าไป
  • 6:06 - 6:09
    และใส่มันไว้ในแกนหลักของโครโมโซม
  • 6:09 - 6:11
    ของช้างแอฟริกา หรือช้างเอเชีย
  • 6:11 - 6:14
    ด้วยการทำเช่นนั้น
    เราสามารถเก็บข้อมูลทุกจุดเล็กๆน้อยๆ
  • 6:14 - 6:17
    ซึ่งแบ่งแยกระหว่างแมมมอธ กับช้างเอเชียออกจากกัน
  • 6:17 - 6:20
    และสิ่งที่เรารู้ต่อจากนั้น เกี่ยวกับช้างแมมมอธคืออะไร
  • 6:20 - 6:23
    คือ กลุ่มยีนของช้างแมมมอธค่อนข้างจะเสร็จสมบูรณ์
  • 6:23 - 6:26
    และเรารู้ว่ามันค่อนข้างจะใหญ่มาก
    มันคือช้างแมมมอธนะ
  • 6:26 - 6:29
    สำหรับกลุ่มยีนของมนุษย์ คือประมาณสามล้านคู่ฐาน
  • 6:29 - 6:31
    แต่กลุ่มยีนของช้างและช้างแมมมอธ
  • 6:31 - 6:34
    มีมากกว่ามนุษย์ราวสองล้านคู่ฐาน ส่วนใหญ่นั้น
  • 6:34 - 6:36
    ประกอบด้วยชุด DNA สั้นๆ ที่ซ้ำๆกัน
  • 6:36 - 6:41
    ซึ่งทำให้ยากมาก
    ในการประกอบโครงสร้างทั้งหมดของกลุ่มยีนขึ้นมาใหม่
  • 6:41 - 6:43
    ดังนั้นการมีข้อมูลเหล่านี้ ทำให้เราสามารถตอบคำถาม
  • 6:43 - 6:45
    คำถามหนึ่งซึ่งเกี่ยวกับ
    ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ที่น่าสนใจ
  • 6:45 - 6:48
    ระหว่างช้างแมมมอธ กับเครือญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ของมัน
  • 6:48 - 6:50
    ช้างแอฟริกา และ ช้างเอเชีย
  • 6:50 - 6:53
    ซึ่งเมื่อเจ็ดล้านปีที่ผ่านมาต่างก็มีบรรพบุรุษเดียวกัน
  • 6:53 - 6:55
    แต่กลุ่มยีนของช้างแมมมอธ แสดงให้เห็นว่ามัน
  • 6:55 - 6:58
    เป็นบรรพบุรุษล่าสุดร่วมกันกับช้างเอเชีย
  • 6:58 - 6:59
    เมื่อหกล้านปีก่อน
  • 6:59 - 7:02
    มันจึงใกล้เคียงกับช้างเอเชียมากกว่าเล็กน้อย
  • 7:02 - 7:04
    ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี DNA จากซากโบราณ
  • 7:04 - 7:06
    ในตอนนี้เราสามารถที่จะเริ่มเรียงลำดับ
  • 7:06 - 7:10
    กลุ่มยีนของรูปแบบช้างแมมมอธอื่นๆ
    ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งผมได้กล่าวไปแล้วนั้น
  • 7:10 - 7:11
    และผมอยากจะพูดถึงพวกมันซักสองชนิด
  • 7:11 - 7:13
    ช้างแมมมอธขนดก และ แมมมอธโคลัมเบีย
  • 7:13 - 7:16
    พวกมันทั้งสองต่างอยู่ใกล้ชิดกัน
  • 7:16 - 7:19
    ในช่วงกลางของยุคน้ำแข็ง
  • 7:19 - 7:21
    ดังนั้นเมื่อธารน้ำแข็งปกคลุมไปทั่วทวีปอเมริกาเหนือ
  • 7:21 - 7:23
    ช้างแมมมอธขนดก ถูกผลักเข้าไปในเขตรอยต่อน้ำแข็ง
  • 7:23 - 7:26
    และได้พบกับบรรดาญาติของมันที่อยู่ทางใต้
  • 7:26 - 7:28
    พวกมันใช้ที่หลบภัยร่วมกัน
  • 7:28 - 7:31
    และที่มากไปกว่าที่หลบภัยร่วมกัน เป็นที่ปรากฎว่า
  • 7:31 - 7:33
    ดูเหมือนพวกมันจะผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์
  • 7:33 - 7:35
    และนี่เป็นสิ่งที่พบไม่บ่อยนัก
  • 7:35 - 7:37
    ในสัตว์ตระกูลช้าง (Proboscideans)
    เพราะมันกลายเป็นว่า
  • 7:37 - 7:40
    ช้างเพศผู้ตัวใหญ่แห่งทุ่งสะวันนา จะเอาชนะ
  • 7:40 - 7:43
    ช้างป่าตัวเล็กกว่า เพื่อช้างเพศเมีย
  • 7:43 - 7:45
    ดังนั้นช้างแมมมอธโคลัมเบียไร้ขน ซึ่งตัวใหญ่กว่า
  • 7:45 - 7:47
    เอาชนะแมมมอธขนดกที่ตัวเล็กกว่าได้
  • 7:47 - 7:50
    มันทำให้ผมนึกถึงตอนที่ยังเรียนอยู่นะครับ
    ไม่ไหวเลยแฮะ
  • 7:50 - 7:52
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:52 - 7:55
    แต่นี่ก็ไม่ใช่เรื่องไร้สาระ
    การมีแนวคิดที่เราต้องการจะ
  • 7:55 - 7:57
    คืนชีพให้กับสายพันธุ์ที่สิ้นสูญ เพราะมันกลายเป็นว่า
  • 7:57 - 7:59
    เจ้าช้างแอฟริกา และ ช้างเอเชีย
  • 7:59 - 8:01
    สามารถผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ได้
    และมีทายาทที่มีชีวิต
  • 8:01 - 8:03
    และนี่ได้เกิดขึ้นจริงโดยบังเอิญ ที่สวนสัตว์
  • 8:03 - 8:06
    ในเมืองเชสเตอร์ (Chester) ประเทศอังกฤษ ในปี 1978
  • 8:06 - 8:09
    นั่นหมายความว่า
    เราสามารถนำเอาโครโมโซมของช้างเอเชีย
  • 8:09 - 8:11
    มาปรับเปลี่ยนทุกตำแหน่งที่เรารู้
  • 8:11 - 8:14
    ว่ามีความแตกต่างกับกลุ่มยีนช้างแมมมอธได้
  • 8:14 - 8:16
    เราสามารถนำมันไปใส่ในเซลส์ที่ไม่มีนิวเคลียส
  • 8:16 - 8:19
    แปลงสภาพให้มันให้เป็นสเต็มเซลล์
  • 8:19 - 8:21
    และอาจแปลงสภาพต่อเป็นตัวอสุจิ
  • 8:21 - 8:24
    ผสมเทียมกับไข่ของช้างเอเชีย
  • 8:24 - 8:27
    และโดยขั้นตอนที่ยาวนานและแสนลำบาก
  • 8:27 - 8:30
    จะนำสิ่งที่หน้าตาแบบนี้กลับมาได้
  • 8:30 - 8:32
    ทีนี้ นี่ยังไม่ได้เป็นสำเนาที่ถูกต้องเสียทีเดียว
  • 8:32 - 8:34
    เพราะเศษเสี้ยวของ DNA ที่ผมเคยบอก
  • 8:34 - 8:37
    จะทำให้เราไม่สามารถสร้างโครงสร้างที่เหมือนเป๊ะได้
  • 8:37 - 8:38
    แต่มันจะทำให้ได้บางสิ่งบางอย่างที่ดูเหมือน
    และรู้สึกราวกับว่า
  • 8:38 - 8:42
    มันเป็นช้างแมมมอธขนดก
  • 8:42 - 8:44
    ทีนี้ เมื่อผมเอ่ยถึงเรื่องนี้กับเพื่อนๆ
  • 8:44 - 8:47
    เรามักจะพูดถึง เรื่องที่ว่า เราจะเอามันไปไว้ที่ไหน
  • 8:47 - 8:49
    เราจะเอาแมมมอธไปเลี้ยงไว้ที่ไหนได้
  • 8:49 - 8:51
    ไม่มีสภาพอากาศ หรือที่อยู่อาศัยใดเหมาะสม
  • 8:51 - 8:52
    ที่จริงนั่นไม่เชิงเป็นปัญหา
  • 8:52 - 8:55
    ปรากฏว่า มีทุ่งหญ้าหลายแห่ง
  • 8:55 - 8:57
    ในตอนเหนือของไซบีเรีย และยูคอน
  • 8:57 - 8:58
    ซึ่งสามารถเป็นที่อยู่อาศัยของช้างแมมมอธได้
  • 8:58 - 9:01
    จำได้ไหมครับ นี่เป็นสัตว์ที่ปรับตัวได้เก่งมาก
  • 9:01 - 9:03
    ซึ่งมีชีวิตอยู่ท่ามกลาง
    การเปลี่ยนแปลงของอากาศแบบสุดขั้ว
  • 9:03 - 9:06
    ดังนั้นภูมิประเทศนี้จึงเป็นทีอยู่อาศัย
    ของมันได้อย่างง่ายดาย
  • 9:06 - 9:10
    และผมคงต้องสารภาพว่า
    ยังมีความเป็นเด็กในตัวผม
  • 9:10 - 9:11
    เด็กผู้ชายในตัวผม ที่ต้องการเห็น
  • 9:11 - 9:14
    สัตว์ที่น่าเกรงขามเช่นนี้ เดินข้ามชั้นดินเยือกแข็งคงตัว
  • 9:14 - 9:16
    ในทางเหนืออีกครั้ง แต่ผมคงต้องยอมรับว่า
  • 9:16 - 9:19
    บางครั้ง ส่วนที่เป็นผู้ใหญ่ในตัวผมก็นึกฉงนว่า
  • 9:19 - 9:21
    เราควรจะทำเช่นนี้ดีหรือไม่
  • 9:21 - 9:23
    ขอบคุณมากครับ
  • 9:23 - 9:28
    (เสียงปรบมือ)
  • 9:28 - 9:29
    ไรอัน ฟีลัน (Ryan Phelan): อย่าเพิ่งไปค่ะ
  • 9:29 - 9:31
    คุณทิ้งคำถามไว้ให้เรา
  • 9:31 - 9:35
    ฉันแน่ใจว่าทุกท่านคงจะถาม
    เมื่อคุณบอกว่า "ควรไหม"
  • 9:35 - 9:37
    รู้สึกว่าคุณจะบอกใบ้เราบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้
  • 9:37 - 9:40
    และคุณยังให้เราเห็นภาพมันว่ามีความเป็นไปได้สูง
  • 9:40 - 9:42
    อะไรคือเงื่อนงำของคุณคะ
  • 9:42 - 9:43
    เฮนดริค พอยนาร์ (Hendrik Poinar):
    ผมไม่คิดว่ามันเป็นเงื่อนงำอะไรนะครับ
  • 9:43 - 9:47
    ผมแค่คิดว่า เราต้องคิดให้รอบคอบ
  • 9:47 - 9:49
    ว่าจะมันจะสื่อถึงอะไร และผลกระทบอะไรตามมา
  • 9:49 - 9:51
    และถ้าเราได้ถกกันอย่างละอียดลึกซึ้ง
  • 9:51 - 9:53
    เหมือนดังที่เรากำลังทำอยู่ตอนนี้ ผมคิดว่า
  • 9:53 - 9:56
    เราคงจะได้บทสรุปที่ดี
    ว่าทำไมเราจึงควรจะทำมัน
  • 9:56 - 9:58
    ผมแค่อยากจะให้แน่ใจว่าเราได้ใช้เวลา
  • 9:58 - 10:00
    คิดใคร่ครวญว่าทำไมเราจึงต้องทำมันก่อนครับ
  • 10:00 - 10:02
    ไรอัน: เป็นคำตอบที่สมบูรณ์แบบ
    ขอบคุณมากค่ะ เฮนดริค
  • 10:02 - 10:05
    เฮนดริค: ขอบคุณครับ (เสียงปรบมือ)
Title:
คืนชีพช้างแมมมอธ!
Speaker:
เฮนดริค พอยนาร์ (Hendrik Poinar)
Description:

เป็นความฝันของเด็กๆทั่วโลก ที่จะได้เห็นสัตว์ตัวใหญ่ในตำนาน กลับฟื้นคืนชีวิตมาเดินเล่นบนโลกใบนี้อีกครั้ง ฝันนั้นเป็นจริงได้หรือไม่ และสมควรหรือไม่ เฮนดริค พอยนาร์ ในบรรยายที่อัดแน่นไปด้วยข้อมูล เกี่ยวกับเรื่องที่ใหญ่ยักษ์เรื่องต่อไป การค้นคว้าที่จะสร้างสัตว์ซึ่งคล้ายกับเพื่อนขนดกของเรามากๆ เจ้าช้างแมมมอธโบราณ ขั้นตอนแรกคือการเรียงลำดับกลุ่มยีนของช้างแมมมอธ เกือบจะสำเร็จแล้ว และมันใหญ่โตมากเสียด้วย (บันทึกภาพจากงาน TEDxDeExtinction.)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
10:22
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Bring back the woolly mammoth!
Kanawat Senanan accepted Thai subtitles for Bring back the woolly mammoth!
Kanawat Senanan commented on Thai subtitles for Bring back the woolly mammoth!
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Bring back the woolly mammoth!
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Bring back the woolly mammoth!
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Bring back the woolly mammoth!
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Bring back the woolly mammoth!
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Bring back the woolly mammoth!
Show all
  • I changed the sentence structure so that it is easier to understand in Thai. Allow me to submit it for approval krab. Thank you.

Thai subtitles

Revisions