WEBVTT 00:00:09.036 --> 00:00:14.106 คุณคงลำบากแน่ หากจะมองหา เคอนิกส์แบร์กบนแผนที่ยุคใหม่ 00:00:14.106 --> 00:00:17.415 แต่จุดหนึ่งที่น่าสนใจ ในภูมิศาสตร์ของมัน 00:00:17.415 --> 00:00:22.205 ได้ทำให้มันเป็นหนึ่งในเมืองที่มี ชื่อเสียงที่สุดในโลกคณิตศาสตร์ 00:00:22.205 --> 00:00:26.214 เมืองเยอรมันยุคกลาง ตั้งอยู่บนสองฝั่งแม่น้ำพรีเกิล 00:00:26.214 --> 00:00:28.875 ณ ใจกลางมีเกาะขนาดใหญ่ สองเกาะ 00:00:28.875 --> 00:00:33.124 เกาะทั้งสองนี้เชื่อมต่อถึงกัน และยังเชื่อมต่อกับฝั่งแม่น้ำ 00:00:33.124 --> 00:00:35.884 ด้วยสะพานทั้งเจ็ด 00:00:35.884 --> 00:00:41.296 นักคณิตศาสตร์ คาร์ล ก็อตลีบพ์ อีเลอ ผู้ต่อมาเป็นนายกเทศมนตรีเมืองใกล้ ๆ 00:00:41.296 --> 00:00:44.395 หมกมุ่นอยู่กับเกาะและสะพานเหล่านี้ 00:00:44.395 --> 00:00:47.205 เขาคิดย้อนทวนถึงปัญหาอยู่ข้อเดียว 00:00:47.205 --> 00:00:51.095 ต้องใช้เส้นทางไหนดีจึงจะ ข้ามสะพานได้ครบทั้งเจ็ด 00:00:51.095 --> 00:00:55.136 โดยที่ไม่ข้ามซ้ำสะพานเดิม 00:00:55.136 --> 00:00:56.946 ลองหยุดคิดกันดูสักครู่ 00:00:56.946 --> 00:00:57.936 7 00:00:57.936 --> 00:00:58.947 6 00:00:58.947 --> 00:00:59.916 5 00:00:59.916 --> 00:01:00.847 4 00:01:00.847 --> 00:01:01.956 3 00:01:01.956 --> 00:01:02.886 2 00:01:02.886 --> 00:01:03.996 1 00:01:03.996 --> 00:01:05.076 ยอมแพ้แล้วหรือ 00:01:05.076 --> 00:01:06.198 ก็น่าอยู่หรอก 00:01:06.198 --> 00:01:07.513 เพราะมันเป็นไปไม่ได้ 00:01:07.513 --> 00:01:12.636 แต่ความเพียรอธิบายสาเหตุ ทำให้ นักคณิตศาสตร์คนดัง ลีออนฮาร์ด ออยเลอร์ 00:01:12.636 --> 00:01:15.997 สรรค์สร้างคณิตศาสตร์สาขาใหม่ 00:01:15.997 --> 00:01:18.648 คาร์ลเขียนจดหมายถึงออยเลอร์ ให้ช่วยไขปริศนา 00:01:18.648 --> 00:01:23.367 ครั้งแรกออยเลอร์ละเลยคำถามนี้ เพราะไม่ใช่เรื่องของคณิตศาสตร์ 00:01:23.367 --> 00:01:25.136 แต่ยิ่งเขาครุ่นคิดถึงมันมากเท่าไร 00:01:25.136 --> 00:01:28.977 ก็ยิ่งดูเหมือนว่ามีอะไรสักอย่างอยู่ดี 00:01:28.977 --> 00:01:32.906 คำตอบที่เขาค้นพบ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเรขาคณิตชนิดหนึ่ง 00:01:32.906 --> 00:01:38.258 ซึ่งยังไม่เคยมีมาก่อน เขาเรียกมันว่า เรขาคณิตของตำแหน่ง 00:01:38.258 --> 00:01:41.897 ปัจจุบันคือทฤษฎีกราฟ 00:01:41.897 --> 00:01:43.443 ข้อสังเกตแรกของออยเลอร์ 00:01:43.443 --> 00:01:48.507 คือเส้นทางที่เลือกระหว่างการเข้าไปใน เกาะหรือฝั่งแม่น้ำและการออกจากที่นั่น 00:01:48.507 --> 00:01:50.578 อันที่จริงแล้วไม่ได้สำคัญนัก 00:01:50.578 --> 00:01:54.427 ฉะนั้นจึงสามารถลดรูปแผนที่ให้ง่ายขึ้น โดยให้แต่ละผืนดินจากทั้งสี่แห่ง 00:01:54.427 --> 00:01:56.627 ถูกแทนที่ด้วยจุดเดียว 00:01:56.627 --> 00:01:59.297 ซึ่งปัจจุบันเราเรียกว่า โนด 00:01:59.297 --> 00:02:04.198 ด้วยเส้น หรือ เอ็ดจ์ เชื่อมระหว่างโนด เพื่อเป็นตัวแทนของสะพาน 00:02:04.198 --> 00:02:09.619 และกราฟที่ง่ายขึ้นนี้ช่วยให้เรา นับดีกรีของแต่ละโนดได้ง่ายดาย 00:02:09.619 --> 00:02:13.219 ดีกรี คือจำนวนสะพานที่แต่ละ ผืนดินสัมผัส 00:02:13.219 --> 00:02:14.598 ทำไมดีกรีจึงสำคัญน่ะหรือ 00:02:14.598 --> 00:02:16.828 ก็เพราะตามกฎของคำท้า 00:02:16.828 --> 00:02:20.678 เมื่อนักเดินทางไปถึง ผืนดินหนึ่งด้วยสะพานหนึ่งแล้ว 00:02:20.678 --> 00:02:23.800 พวกเขาต้องออกจากผืนดินนั้น โดยใช้สะพานอื่น 00:02:23.800 --> 00:02:28.168 ซึ่งก็คือ สะพานที่เข้าและออก จากแต่ละโนดในเส้นทางใดก็ได้ 00:02:28.168 --> 00:02:30.587 แต่ต้องมีเป็นคู่ ๆ ที่แตกต่างกัน 00:02:30.587 --> 00:02:34.239 หมายความว่าจำนวนสะพาน ที่สัมผัสแต่ละผืนดินที่เดินผ่าน 00:02:34.239 --> 00:02:36.368 ต้องเป็นจำนวนคู่ 00:02:36.368 --> 00:02:40.029 มีเพียงข้อยกเว้นที่เป็นไปได้ คือ ตำแหน่งของจุดเริ่มต้น 00:02:40.029 --> 00:02:42.267 และจุดที่สิ้นสุดการเดิน 00:02:42.267 --> 00:02:47.218 เมื่อมองไปที่กราฟ เป็นที่ชัดแจ้ง ว่า ทั้งสี่โนด มีดีกรีเป็นจำนวนคี่ 00:02:47.218 --> 00:02:49.187 ดังนั้น ไม่ว่าจะเลือกเส้นทางใด 00:02:49.187 --> 00:02:53.440 เมื่อถึงจุดหนึ่ง จะต้องมีสะพาน สักแห่งที่ถูกข้ามซ้ำสองครั้ง 00:02:53.440 --> 00:02:57.709 ออยเลอร์ได้ใช้บทพิสูจน์นี้ สร้างทฤษฎีทั่วไปขึ้นมา 00:02:57.709 --> 00:03:01.721 ซึ่งประยุกต์ใช้กับกราฟที่มี ตั้งแต่สองโนดขึ้นไปทั้งหมด 00:03:01.721 --> 00:03:05.790 เส้นทางออยเลอร์ ซึ่งเดินผ่าน แต่ละเอ็ดจ์เพียงครั้งเดียว 00:03:05.790 --> 00:03:09.159 มีเพียงหนึ่งในสองกรณีต่อไปนี้ เท่านั้นที่เป็นไปได้ 00:03:09.159 --> 00:03:13.769 กรณีแรก คือ เมื่อมีโนดที่มีดีกรี จำนวนคี่อยู่สองโนดพอดี 00:03:13.769 --> 00:03:16.310 หมายถึงโนดที่เหลือทั้งหมดมี ดีกรีจำนวนคู่ 00:03:16.310 --> 00:03:19.659 ในกรณีนี้ จุดเริ่มต้นคือ หนึ่งในสองโนดที่มีดีกรีจำนวนคี่ 00:03:19.659 --> 00:03:21.770 และจุดสิ้นสุดคือ อีกโนดที่มีดีกรีจำนวนคี่ 00:03:21.770 --> 00:03:26.091 กรณีที่สอง คือ เมื่อโนดทั้งหมด มีดีกรีเป็นจำนวนคู่ 00:03:26.091 --> 00:03:31.231 ในกรณีนี้ เส้นทางออยเลอร์จะ เริ่มต้นและสิ้นสุดในตำแหน่งเดียวกัน 00:03:31.231 --> 00:03:34.758 ซึ่งทำให้มันกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า วงจรออยเลอร์ 00:03:34.758 --> 00:03:38.460 แล้วเราจะสร้างเส้นทางออยเลอร์ ในเคอนิกส์แบร์กได้อย่างไร 00:03:38.460 --> 00:03:39.302 มันง่ายมาก 00:03:39.302 --> 00:03:41.402 แค่เอาสะพานไหนก็ได้ออก ไปสักหนึ่งสะพาน 00:03:41.402 --> 00:03:46.080 และปรากฏว่าประวัติศาสตร์ ได้สร้างเส้นทางออยเลอร์ของมันเอง 00:03:46.080 --> 00:03:50.198 ในสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพอากาศ โซเวียตทำลายสะพานเมืองไปสองแห่ง 00:03:50.198 --> 00:03:53.531 ทำให้เส้นทางออยเลอร์ เป็นไปได้อย่างง่ายดาย 00:03:53.531 --> 00:03:57.291 ซึ่งถ้าว่ากันตามจริงแล้ว นั่นอาจจะ ไม่ใช่ความตั้งใจของพวกเขาหรอก 00:03:57.291 --> 00:04:00.781 การทิ้งระเบิดครั้งนั้นแทบจะกวาด เคอนิกส์แบร์กออกจากแผนที่ไปเลย 00:04:00.781 --> 00:04:04.910 และได้สร้างใหม่ขึ้นในภายหลัง เป็นเมืองคาลินินกราดแห่งรัสเซีย 00:04:04.910 --> 00:04:09.083 ดังนั้น แม้ว่าอาจไม่มีเคอนิกส์แบร์ก กับสะพานทั้งเจ็ดอีกต่อไปแล้ว 00:04:09.083 --> 00:04:13.361 แต่จะเป็นที่จดจำไปชั่วประวัติศาสตร์ เพียงเพราะปริศนาหนึ่งที่ดูแสนธรรมดา 00:04:13.361 --> 00:04:17.662 ซึ่งนำไปสู่การกำเนิด คณิตศาสตร์สาขาใหม่