WEBVTT 00:00:00.000 --> 00:00:02.000 ผมเกิดที่เมืองเดน บอช (Den Bosch) 00:00:02.000 --> 00:00:05.000 ที่ซึ่งจิตรกรนามเฮียโรนีมุส บอช (Hieronymus Bosch) ตั้งชื่อตนตามชื่อเมืองๆนี้ 00:00:05.000 --> 00:00:07.000 และนั้นก็ทำให้ผมชื่นชอบศิลปินท่านนี้เรื่อยมา 00:00:07.000 --> 00:00:10.000 ศิลปินท่านนี้มีชีวิตและสร้างผลงาน อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 15 00:00:10.000 --> 00:00:12.000 สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับตัวเขาเกี่ยวกับเรื่องของศีลธรรม 00:00:12.000 --> 00:00:15.000 ก็คือในเวลาที่เขามีชีวิตอยู่นั้น อิทธิพลทางศาสนาค่อยๆเสื่อมลง 00:00:15.000 --> 00:00:17.000 ผมคิดว่า เขาเองก็คงสงสัยอยู่เหมือนกัน 00:00:17.000 --> 00:00:19.000 ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับสังคม 00:00:19.000 --> 00:00:22.000 หากสังคมไร้เสียซึ่งศาสนาหรือ มีความเชื่อทางศาสนาเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย 00:00:22.000 --> 00:00:25.000 แรงบันดาลใจนี้เป็นที่มาของภาพวาดอันโด่งดังของเขา ที่ชื่อว่า "The Garden of Earthly Delights" 00:00:25.000 --> 00:00:27.000 บางคนก็ได้ตีความภาพดังกล่าวว่า 00:00:27.000 --> 00:00:29.000 คือสภาวะของมนุษยชาติก่อนจะถึงจุดดับ 00:00:29.000 --> 00:00:32.000 หรือสภาวะของมนุษย์ชาติที่ไม่มีวันถึงจุดดับเลย 00:00:32.000 --> 00:00:34.000 ภาพวาดก็คงทำให้เราท่านสงสัยเหมือนกันว่า 00:00:34.000 --> 00:00:37.000 ถ้าหากบรรพบุรุษไม่ได้ลิ้มรสผลไม้แห่งความรู้แจ้ง มนุษย์ชาติจะเป็นอย่างไรนะ 00:00:37.000 --> 00:00:40.000 คุณธรรมอย่างที่เรารู้จักกันจะเป็นอย่างไร 00:00:40.000 --> 00:00:42.000 สมัยที่ผมยังเป็นเด็กนักเรียน 00:00:42.000 --> 00:00:44.000 ผมเคยไปที่สวนที่พิเศษมากๆอีกแห่งหนึ่ง 00:00:44.000 --> 00:00:47.000 สวนสัตว์แห่งหนึ่งที่เมืองอานเฮม 00:00:47.000 --> 00:00:49.000 ซึ่งเป็นสวนสัตว์ที่พวกเราเลี้ยงซิมแปนซีเอาใว้ 00:00:49.000 --> 00:00:51.000 และนี่ก็คือรูปผมสมัยเด็กๆ ถ่ายกับลูกซิมแปนซี 00:00:51.000 --> 00:00:54.000 (หัวเราะ) 00:00:54.000 --> 00:00:56.000 ผมได้ค้นพบว่า 00:00:56.000 --> 00:00:59.000 ซิมแปนซีเป็นสัตว์ที่กระหายอำนาจมากๆ ผมเคยเขียนหนังสือเล่าถึงเรื่องนี้ด้วย 00:00:59.000 --> 00:01:02.000 ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง งานวิจัยต่างๆที่เน้นศึกษาพฤติกรรมสัตว์ป่า 00:01:02.000 --> 00:01:04.000 ส่วนใหญ่นั้นมุ่งเน้นไปที่ความก้าวร้าว และการแข่งขันกันเอง 00:01:04.000 --> 00:01:06.000 ผมได้เคยชี้ประเด็นนี้เอาไว้ว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย 00:01:06.000 --> 00:01:08.000 ที่รวมถึงมนุษยชาติด้วยนั้น 00:01:08.000 --> 00:01:10.000 ในก้นบึ้งของจิตใจ พวกเราชื่นชอบการแข่งขัน 00:01:10.000 --> 00:01:12.000 เราเป็นพวกก้าวร้าว 00:01:12.000 --> 00:01:15.000 โดยพื้นฐานแล้ว เราต่างก็มุ่งแสวงหา ผลประโยชน์ให้ตัวเอง 00:01:15.000 --> 00:01:17.000 นี่คืองานเปิดตัวหนังสือของผม 00:01:17.000 --> 00:01:19.000 ผมไม่ค่อยมั่นใจนักว่าพวกลิง อ่านหนังสือรู้เรื่องแค่ไหน 00:01:19.000 --> 00:01:22.984 แต่ก็มั่นใจว่าพวกลิงมันชอบหนังสือเล่มนั้นมาก 00:01:24.000 --> 00:01:26.000 หลังจากนั้น เมื่อผมได้เริ่ม 00:01:26.000 --> 00:01:28.000 จับงานที่มุ่งศึกษาเรื่องอำนาจและการปกครอง 00:01:28.000 --> 00:01:30.000 ความก้าวร้าว และเรื่องอื่นๆ 00:01:30.000 --> 00:01:33.000 ผมก็ได้พบว่า ซิมแปนซีก็มีพฤติกรรม ประนีประนอมกันหลังการต่อสู้ 00:01:33.000 --> 00:01:36.000 อย่างที่คุณเห็นในรูป คือลิงตัวผู้สองตัว ที่เพิ่งห้ำหั่นกันมาไม่นาน 00:01:36.000 --> 00:01:39.000 สุดท้ายลิงทั้งสองตัวได้ปีนขึ้นไปอยู่บนยอดต้นไม้ และตัวหนึ่งก็ยื่นมือส่งออกไปยังอีกฝ่าย 00:01:39.000 --> 00:01:42.000 หลังจากผมถ่ายรูปนี้ไม่กี่วินาที พวกมันก็ปีนลงมาที่โคนต้นไม้ 00:01:42.000 --> 00:01:44.000 หลังจากนั้นก็ตรงเข้าไปจูบและสวมกอดกันและกัน 00:01:44.000 --> 00:01:46.000 นี่ไม่ใช่เรื่องธรรมดาๆ แล้ว 00:01:46.000 --> 00:01:49.000 เพราะในเวลาอย่างนี้ ทุกอย่างน่าจะมุ่งไปที่ การแข่งขันและความก้าวร้าวเท่านั้น 00:01:49.000 --> 00:01:51.000 ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่น่างุนงงมากๆ 00:01:51.000 --> 00:01:53.000 เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ใครจะชนะ ใครจะแพ้ 00:01:53.000 --> 00:01:55.000 แล้วทำไมจะต้องคืนดีกับอีกฝ่ายหนึ่งด้วย? 00:01:55.000 --> 00:01:57.000 พฤติกรรมลักษณะนี้จึงเป็นเรื่องที่น่างุนงงมากๆ 00:01:57.000 --> 00:02:00.000 ส่วนนี่คือสิ่งที่โบโนโบชอบทำ ลิงพวกนี้ ใช้การร่วมเพศเป็นเครื่องมือสำหรับแทบทุกเรื่อง 00:02:00.000 --> 00:02:02.000 แม้กระทั่งการกลับมาปรองดองกันหลังการต่อสู้ 00:02:02.000 --> 00:02:04.000 แต่หลักการค่อนข้างจะเหมือนกัน 00:02:04.000 --> 00:02:06.000 หลักการที่พวกคุณมี 00:02:06.000 --> 00:02:08.000 ต่อความสัมพันธ์ที่มีค่า 00:02:08.000 --> 00:02:10.000 ซึ่งถูกทำลายลงโดยความขัดแย้ง 00:02:10.000 --> 00:02:12.000 ดังนั้น คุณควรที่จะต้องทำอะไรสักอย่างกับมัน 00:02:12.000 --> 00:02:14.000 ดังนั้น ภาพรวมอาณาจักรสัตว์ของผม 00:02:14.000 --> 00:02:16.000 ซึ่งรวมไปถึงเผ่าพันธุ์มนุษย์ด้วย 00:02:16.000 --> 00:02:18.000 ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่นั้นมา 00:02:18.000 --> 00:02:20.000 เราจึงเกิดภาพลักษณ์เหล่านั้นขึ้น 00:02:20.000 --> 00:02:22.000 ในทางรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ มนุษยศาสตร์ 00:02:22.000 --> 00:02:24.000 ปรัชญาต่อเหตุการณ์เหล่านั้น 00:02:24.000 --> 00:02:26.000 ที่คนนั้นเปรียบเหมือนหมาป่าต่ออีกคน 00:02:26.000 --> 00:02:29.000 และลึกลงไปในธรรมชาติของพวกเรา แท้จริงแล้วช่างน่าสะอิดสะเอียน 00:02:29.000 --> 00:02:32.000 แล้วผมว่ามันไม่ค่อยจะยุติธรรมต่อหมาป่า เท่าไหร่นักหากเราไปมอบภาพลักษณ์เหล่านั้นให้ 00:02:32.000 --> 00:02:34.000 เพราะจริงๆแล้ว หมาป่านั้น 00:02:34.000 --> 00:02:36.000 เป็นสัตว์ที่ร่วมมือกันดีมาก 00:02:36.000 --> 00:02:38.000 นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมคุณถึงเลี้ยงสุนัขที่บ้าน 00:02:38.000 --> 00:02:40.000 สุนัขมีคุณลักษณะนี้เช่นเดียวกัน 00:02:40.000 --> 00:02:42.000 แล้วมันก็ดูไม่ค่อยยุติธรรมต่อมนุษยธรรมเท่าไหร่ 00:02:42.000 --> 00:02:46.000 เพราะมนุษยธรรมนั้นมีมากกว่าความร่วมมือ และความเข้าอกเข้าใจกัน 00:02:46.000 --> 00:02:48.000 มากกว่าคุณค่าที่เรานิยามให้มัน 00:02:48.000 --> 00:02:50.000 ดังนั้น ผมก็เริ่มสนใจเรื่องพวกนี้ขึ้นเรื่อยๆ 00:02:50.000 --> 00:02:52.000 แล้วก็ศึกษาในกลุ่มสัตว์ประเภทอื่น 00:02:52.000 --> 00:02:54.000 และภาพนี้ คือ เสาหลักแห่งศีลธรรม 00:02:54.000 --> 00:02:58.000 หากพวกคุณถามใครๆว่า "ความมีศีลธรรม ตัดสินมาจากอะไร" 00:02:58.000 --> 00:03:00.000 ก็มักจะนึกถึงสองปัจจัยนี้ขึ้นมา 00:03:00.000 --> 00:03:02.000 หนึ่ง คือการพึ่งพาอาศัยกัน 00:03:02.000 --> 00:03:05.000 รวมไปถึงความรู้สึกถึงความยุติธรรม ความรู้สึกถึงความเท่าเทียม 00:03:05.000 --> 00:03:07.000 และอีกปัจจัยนึง ก็คือความเข้าอกเข้าใจ และความเห็นใจกัน 00:03:07.000 --> 00:03:10.000 และความมีศีลธรรมของมนุษย์มากกว่าสิ่งเหล่านั้น 00:03:10.000 --> 00:03:12.000 แต่ถ้าหากคุณลองเอาเสาหลักสองอันนั้นออกไป 00:03:12.000 --> 00:03:14.000 คงไม่มีอะไรเหลืออยู่นักเท่าไหร่ 00:03:14.000 --> 00:03:16.000 และมันคงจะต้องสำคัญมากจริงๆ 00:03:16.000 --> 00:03:18.000 ผมจะยกตัวอย่างสักนิดให้คุณดู 00:03:18.000 --> 00:03:20.000 นี่เป็นวิดีโอเก่าจาก ศูนย์ศึกษาไพรเมตแห่งเยิร์คคีส์ (Yerkes) 00:03:20.000 --> 00:03:23.000 ที่ซึ่งฝึกให้เหล่าชิมแปนซีร่วมมือกัน 00:03:23.000 --> 00:03:26.000 แล้วนั่นมันก็เกือบร้อยปีมาแล้ว 00:03:26.000 --> 00:03:29.000 ที่เราทำการทดลองศึกษาเกี่ยวกับความร่วมมือกัน 00:03:29.000 --> 00:03:32.000 ที่คุณดูอยู่นี่คือลูกชิมแปนซีที่มีกล่องอยู่กล่องหนึ่ง 00:03:32.000 --> 00:03:35.000 และกล่องนี้ก็หนักเกินไปสำหรับลูกชิมป์ เพียงตัวเดียวที่จะดึงมัน 00:03:35.000 --> 00:03:37.000 และแน่นอน ในกล่องนั้น มีอาหารอยู่ 00:03:37.000 --> 00:03:39.000 ไม่งั้นพวกมันคงไม่ดึงแรงขนาดนี้ 00:03:39.000 --> 00:03:41.000 แล้วพวกมันก็ดึงกล่องเข้ามาได้ 00:03:41.000 --> 00:03:43.000 เห็นไหมว่าพวกมันพร้อมเพรียง เป็นจังหวะเดียวกันเลย 00:03:43.000 --> 00:03:46.000 จะเห็นว่าเมื่อพวกลูกลิงทำงานร่วมกัน พวกมันดึงกล่องในช่วงเวลาเดียวกัน 00:03:46.000 --> 00:03:49.000 นี่ค่อนข้างเป็นความฉลาดล้ำกว่าสัตว์พวกอื่น 00:03:49.000 --> 00:03:51.000 เพราะสัตว์อื่นคงทำเช่นนี้ไม่ได้ 00:03:51.000 --> 00:03:53.000 แล้วคุณจะพบภาพที่น่าสนใจมากกว่านี้ 00:03:53.000 --> 00:03:56.000 เพราะทีนี้เมื่อลูกชิมป์ตัวหนึ่งถูกป้อนอาหารแล้ว 00:03:56.000 --> 00:03:58.000 ดังนั้นมันจึงไม่สนใจ 00:03:58.000 --> 00:04:01.000 ในงานนี้อีกต่อไป 00:04:01.000 --> 00:04:04.000 (เสียงหัวเราะ) 00:04:08.000 --> 00:04:13.000 (เสียงหัวเราะ) 00:04:19.000 --> 00:04:22.000 (เสียงหัวเราะ) 00:04:35.000 --> 00:04:38.000 มาดูกันว่า เกิดอะไรขึ้นในตอนจบ 00:04:41.000 --> 00:04:43.000 (เสียงหัวเราะ) 00:04:52.000 --> 00:04:54.000 อีกตัวมันเอาอาหารไปหมดเลย 00:04:54.000 --> 00:04:57.000 (เสียงหัวเราะ) 00:04:57.000 --> 00:04:59.000 ดังนั้น เรื่องนี้มีจุดที่น่าสนใจอยู่สองส่วน 00:04:59.000 --> 00:05:01.000 หนึ่ง คือ ชิมป์ทางขวามือ 00:05:01.000 --> 00:05:03.000 เข้าใจดีว่าตัวมันเองต้องการผู้ร่วมงาน 00:05:03.000 --> 00:05:05.000 แล้วก็เข้าใจถึงความจำเป็นของการร่วมมือกัน 00:05:05.000 --> 00:05:08.000 แต่อีกตัวที่เป็นผู้ร่วมงานก็เต็มใจจะช่วยเหลือ 00:05:08.000 --> 00:05:10.000 แม้ว่ามันไม่ได้สนใจในอาหารเท่าไหร่นัก 00:05:10.000 --> 00:05:13.000 ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? นั่นอาจเกี่ยวกับเรื่อง การพึ่งพาอาศัยกัน 00:05:13.000 --> 00:05:15.000 แล้วก็มีหลักฐานอีกหลายอย่างใน กลุ่มสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์อื่นๆ 00:05:15.000 --> 00:05:17.000 ว่าพวกมันตอบแทนความช่วยเหลือกัน 00:05:17.000 --> 00:05:19.000 ดังนั้น มันก็จะได้รับการตอบแทนคืน ความช่วยเหลือกลับมา 00:05:19.000 --> 00:05:21.000 เช่นกันในอนาคต 00:05:21.000 --> 00:05:23.000 และนั่นคือวิธีที่สิ่งเหล่านี้ดำเนินไป 00:05:23.000 --> 00:05:25.000 เราลองทดสอบในช้างเช่นเดียวกัน 00:05:25.000 --> 00:05:28.000 นี่คือช้าง ค่อนข้างอันตรายนะครับ 00:05:28.000 --> 00:05:30.000 แล้วอีกปัญหาเกี่ยวกับช้างคือ 00:05:30.000 --> 00:05:32.000 คุณไม่รู้จะหาอุปกรณ์อะไร 00:05:32.000 --> 00:05:34.000 ที่จะหนักเกินไปสำหรับให้ช้างตัวนึงออกแรงลาก 00:05:34.000 --> 00:05:36.000 แต่ถึงแม้คุณจะสร้างมันได้ 00:05:36.000 --> 00:05:38.000 แต่ผมว่ามันยังดูง่อนแง่นเกินไปนะ 00:05:38.000 --> 00:05:40.000 แล้วในกรณีนี้ สิ่งที่เราทำคือ 00:05:40.000 --> 00:05:43.000 เราได้ทำการศึกษาเหล่านี้ที่ประเทศไทย ให้แก่ จอร์จ พล็อตนิค (Josh Plotnik) 00:05:43.000 --> 00:05:46.000 เรามีอุปกรณ์ที่ผูกด้วยเชือก เชือกเส้นเดียว 00:05:46.000 --> 00:05:48.000 และหากคุณดึงอีกด้านนึงของเชือก 00:05:48.000 --> 00:05:50.000 เชือกจะหายไปจากอีกด้านนึง 00:05:50.000 --> 00:05:53.000 ดังนั้น ช้างสองตัวต้องหยิบมันขึ้นมาพร้อมกันและดึง 00:05:53.000 --> 00:05:55.000 มิฉะนั้น ก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น 00:05:55.000 --> 00:05:57.000 แล้วเชือกก็จะหายไป 00:05:57.000 --> 00:05:59.000 ในเทปแรกนี้คุณจะเห็นว่า 00:05:59.000 --> 00:06:01.000 ช้างสองตัวที่ปล่อยออกไปพร้อมกัน 00:06:01.000 --> 00:06:03.000 ไปถึงที่อุปกรณ์ 00:06:03.000 --> 00:06:06.000 อุปกรณ์นั่นอยู่ทางซ้ายพร้อมด้วยอาหาร 00:06:06.000 --> 00:06:09.000 มันเดินมาด้วยกัน ถึงพร้อมกัน 00:06:09.000 --> 00:06:11.000 พวกมันหยิบเชือกขึ้นพร้อมกันแล้วดึงพร้อมกัน 00:06:11.000 --> 00:06:14.000 นี่ดูค่อนข้างง่ายสำหรับพวกมัน 00:06:15.000 --> 00:06:17.000 นั่น มันมาแล้ว 00:06:24.000 --> 00:06:26.000 และนั่นคือวิธีที่พวกมันดึงกล่องเข้ามา 00:06:26.000 --> 00:06:28.000 แต่เราจะลองทำให้มันยากขึ้น 00:06:28.000 --> 00:06:30.000 เพราะจุดประสงค์หลักของการทดลองนี้ 00:06:30.000 --> 00:06:32.000 คือการดูว่าพวกมันเข้าใจถึงการ่วมมือกัน ได้ดีขนาดไหน 00:06:32.000 --> 00:06:35.000 พวกมันจะเข้าใจได้เท่ากันกับพวกชิมป์ไหม? 00:06:35.000 --> 00:06:37.000 เราจึงทดลองในขั้นต่อไป 00:06:37.000 --> 00:06:39.000 โดยการปล่อยช้างออกมาก่อนตัวหนึ่ง 00:06:39.000 --> 00:06:41.000 และช้างนี่จำเป็นต้องฉลาดพอ 00:06:41.000 --> 00:06:43.000 ที่จะหยุดรอตรงนั้น และไม่ดึงเชือกนั่น 00:06:43.000 --> 00:06:46.000 เพราะหากว่ามันดึงเชือกแล้วเชือกก็จะหายไป และถือเป็นอันจบการทดสอบ 00:06:46.000 --> 00:06:48.000 แล้วช้างตัวนี้ก็ทำอะไรบ้างอย่างที่ผิดกฎ 00:06:48.000 --> 00:06:50.000 ที่เราไม่ได้สอนมันมาก่อน 00:06:50.000 --> 00:06:52.000 แต่มันก็แสดงให้เห็นความเข้าใจที่พวกมันมี 00:06:52.000 --> 00:06:55.000 เพราะมันวางเท้าใหญ่ๆของมันลงบนเชือก 00:06:55.000 --> 00:06:57.000 ยืนที่ตรงนั้นและรอช้างอีกตัวหนึ่ง 00:06:57.000 --> 00:07:00.000 แล้วให้ช้างอีกตัวออกแรงทำงานทั้งหมด 00:07:00.000 --> 00:07:03.000 นี่เรียกว่า กินแรง นะครับ 00:07:03.000 --> 00:07:05.000 (เสียงหัวเราะ) 00:07:05.000 --> 00:07:08.000 แต่แสดงให้เห็นถึงความฉลาดที่พวกมันมี 00:07:08.000 --> 00:07:11.000 พวกมันได้พัฒนาเทคนิคอื่นๆอีกหลายอย่าง 00:07:11.000 --> 00:07:14.000 ซึ่งไม่ได้รับความเห็นชอบจากเรา 00:07:14.000 --> 00:07:19.000 นั่น ช้างอีกตัวมาแล้ว 00:07:19.000 --> 00:07:22.000 แล้วมันก็กำลังดึง 00:07:38.000 --> 00:07:41.000 นี่ดูอีกตัวสิ แน่นอนมันยังไม่ลืมที่จะกินอาหารเลย 00:07:41.000 --> 00:07:45.000 (เสียงหัวเราะ) 00:07:45.000 --> 00:07:47.000 นี่เรียกว่าความร่วมมือกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของการพึ่งพาอาศัย 00:07:47.000 --> 00:07:49.000 แล้ว ความเข้าอกเข้าใจกันล่ะ 00:07:49.000 --> 00:07:51.000 การรับรู้ถึงความเข้าอกเข้าใจกัน เป็นหัวข้อหลักของงานวิจัยขณะนั้น 00:07:51.000 --> 00:07:53.000 และความเข้าอกเข้าใจก็มีสองระดับ 00:07:53.000 --> 00:07:56.000 ระดับหนึ่งคือ การรับรู้ถึงมัน ซึ่งเป็นนิยามโดยปกติอยู่แล้ว 00:07:56.000 --> 00:07:58.000 ซึ่งก็คือ ความสามารถในการรับรู้เข้าใจ และแบ่งปันความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่ง 00:07:58.000 --> 00:07:59.333 และอีกระดับนึง คือ ส่วนที่เกี่ยวข้อง กับอารมณ์ความรู้สึก 00:07:59.333 --> 00:08:00.666 ดังนั้น 00:08:00.666 --> 00:08:02.000 ความเข้าอกเข้าใจกันโดยมี 2 ช่องทางในการสื่อสาร 00:08:02.000 --> 00:08:04.000 ช่องทางแรกคือ ทางร่างกาย 00:08:04.000 --> 00:08:06.000 หากคุณคุยกับคนที่โศกเศร้า 00:08:06.000 --> 00:08:09.000 คุณก็จะได้รับความรู้สึกเศร้า และท่าทางเศร้าสร้อยนั้นมา 00:08:09.000 --> 00:08:11.000 และมันก็เกิดขึ้นก่อนคุณจะรู้ตัวเสียอีก 00:08:11.000 --> 00:08:14.000 และนั่นคือ การสื่อสารผ่านร่างกาย ของความอกเข้าความใจในอารมณ์ 00:08:14.000 --> 00:08:16.000 ซึ่งมีในสัตว์หลายๆชนิด 00:08:16.000 --> 00:08:18.000 สุนัขทั่วไปก็มีเช่นกัน 00:08:18.000 --> 00:08:20.000 นั่นเป็นเหตุว่าทำไมมนุษย์ถึงได้เลี้ยง สัตว์เลือดอุ่นไว้ในบ้าน 00:08:20.000 --> 00:08:22.000 แต่ไม่ใช่เต่าหรืองู หรืออะไรพวกนั้น 00:08:22.000 --> 00:08:24.000 สัตว์ที่ไม่รู้จักถึงความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ 00:08:24.000 --> 00:08:26.000 แล้วก็มีช่องทางของกระบวนการคิด 00:08:26.000 --> 00:08:28.000 ซึ่งคล้ายกับการเอาตัวเองไปอยู่ในมุมมองของผู้อื่น 00:08:28.000 --> 00:08:30.000 มันมีอยู่อย่างจำกัดมาก 00:08:30.000 --> 00:08:32.000 ในสัตว์ไม่กี่ชนิด ผมคิดว่าช้างและลิง สามารถทำสิ่งนั้นได้ 00:08:32.000 --> 00:08:35.000 แต่ก็มีสัตว์ไม่กี่ชนิดสามารถทำได้เช่นกัน 00:08:35.000 --> 00:08:37.000 ได้อย่างพร้อมเพรียงกัน 00:08:37.000 --> 00:08:39.000 ซึ่งเป็นกระบวนการของการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น 00:08:39.000 --> 00:08:41.000 ที่เกิดขึ้นมาช้านานในอาณาจักรสัตว์ 00:08:41.000 --> 00:08:43.000 และในสังคมมนุษย์ แน่นอนครับ เราได้ทำการศึกษามัน 00:08:43.000 --> 00:08:45.000 นั่นคือ การหาวติดต่อ 00:08:45.000 --> 00:08:47.000 มนุษย์มักจะหาวเมื่อคนอื่นหาว 00:08:47.000 --> 00:08:49.000 มันมีความเชื่อมโยงกับการเข้าใจอารมณ์ผู้อื่น 00:08:49.000 --> 00:08:51.000 มันเกิดการกระตุ้นที่บริเวณเดียวกันของสมอง 00:08:51.000 --> 00:08:53.000 แล้วเราก็รู้ว่าคนที่มีอาการหาวติดต่อมากๆนั้น 00:08:53.000 --> 00:08:55.000 ค่อนข้างมีความเห็นใจเข้าใจผู้อื่นสูง 00:08:55.000 --> 00:08:57.000 คนที่มีความผิดปกติกับการเข้าใจผู้อื่น เช่นเด็กออทิสติก 00:08:57.000 --> 00:08:59.000 พวกเขาจะไม่เกิดการหาวติดต่อ 00:08:59.000 --> 00:09:01.000 มันจึงเชื่อมโยงกัน 00:09:01.000 --> 00:09:04.000 เราได้ศึกษาในชิมแปนซีด้วยการให้พวกมัน ดูตัวการ์ตูนลิงที่มีเฉพาะส่วนหัว 00:09:04.000 --> 00:09:06.000 นี่ครับ มันเป็นแบบด้านซ้ายบน 00:09:06.000 --> 00:09:08.000 ภาพหัวการ์ตูนจะหาว 00:09:08.000 --> 00:09:10.000 แล้วนั่น เจ้าชิมแปนซีกำลังดูอยู่ 00:09:10.000 --> 00:09:13.000 ชิมแปนซีตัวจริงกำลังดูภาพบนจอคอมพิวเตอร์ 00:09:13.000 --> 00:09:16.000 ซึ่งเรากำลังเปิดให้ดู 00:09:20.000 --> 00:09:22.000 (เสียงหัวเราะ) 00:09:22.000 --> 00:09:24.000 แล้วก็เกิด "หาวติดต่อ" 00:09:24.000 --> 00:09:26.000 บางที่คุณอาจจะคุ้นเคยบ้างว่า -- 00:09:26.000 --> 00:09:29.000 แล้วคุณอาจจะเริ่มหาวแล้วก็ได้ 00:09:29.000 --> 00:09:32.000 นี่เป็นสิ่งที่เราแบ่งปันกันกับสัตว์ประเภทอื่น 00:09:32.000 --> 00:09:35.000 มันเชื่อมต่อกับทั้งร่างกายอย่างพร้อมเพรียงกัน 00:09:35.000 --> 00:09:37.000 นั่นมันซ่อนอยู่ภายใต้ความเข้าใจผู้อื่น 00:09:37.000 --> 00:09:40.000 และพบได้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแทบทุกชนิด 00:09:40.000 --> 00:09:43.000 ตอนนี้เรายังศึกษาการแสดงออกที่ซับซ้อนมากขึ้น นี่คือการปลอบโยน 00:09:43.000 --> 00:09:46.000 นี่คือชิมแปนซีตัวผู้ ที่เพิ่งแพ้ในการต่อสู้ และมันกำลังกรีดร้อง 00:09:46.000 --> 00:09:48.000 และลิงตัวที่เด็กกว่าเข้ามาหาและโอบแขนรอบๆมัน 00:09:48.000 --> 00:09:50.000 และทำให้มันสงบลง 00:09:50.000 --> 00:09:53.000 นั่นคือการปลอบโยน มันคล้ายมากกับ การปลอบโยนในมนุษย์ 00:09:53.000 --> 00:09:56.000 และพฤติกรรมการปลอบโยนนี้ 00:09:56.000 --> 00:09:58.000 ถูกขับเคลื่อนโดยความเห็นอกเห็นใจ 00:09:58.000 --> 00:10:01.000 จริงๆ แล้ววิธีที่จะศึกษาเรื่องความเห็นใจ ในเด็กที่เป็นมนุษย์นั้น 00:10:01.000 --> 00:10:03.000 คือการสั่งให้คนในครอบครัวทำท่าทางเศร้าสร้อย 00:10:03.000 --> 00:10:05.000 และจากนั้นพวกเขาก็สังเกตว่าเด็กจะทำอย่างไร 00:10:05.000 --> 00:10:07.000 ดังนั้นมันจึงเกี่ยวข้องกับการเห็นอกเห็นใจ 00:10:07.000 --> 00:10:10.000 และนั่นคือการแสดงออกที่เราศึกษา 00:10:10.000 --> 00:10:13.000 เมื่อเร็วๆนี้เรายังได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่คุณอาจเคยได้ยิน 00:10:13.000 --> 00:10:16.000 เกี่ยวกับความเผื่อแผ่ในชิมแปนซี 00:10:16.000 --> 00:10:18.000 ที่ซึ่งคำถามคือ ชิมแปนซีห่วงใย 00:10:18.000 --> 00:10:20.000 ความเป็นอยู่ของลิงตัวอื่นๆ ไหม 00:10:20.000 --> 00:10:22.000 และนานนับทศวรรษ เราคิดเองว่า 00:10:22.000 --> 00:10:24.000 มีเพียงแค่มนุษย์เท่านั้นที่ทำแบบนั้นได้ 00:10:24.000 --> 00:10:27.000 มีเพียงแค่มนุษย์ที่ห่วงใยต่อความเป็นอยู่ของคนอื่นๆ 00:10:27.000 --> 00:10:29.000 ทีนี้เราทำการทดลองที่ง่ายมากๆ 00:10:29.000 --> 00:10:32.000 เราทดลองกับชิมแปนซีที่อาศัยอยู่ในลอว์เรนซ์วิลล์ (Lawrenceville) 00:10:32.000 --> 00:10:34.000 ที่สถานีทดลองภาคสนามที่เยิร์คคีส์ 00:10:34.000 --> 00:10:36.000 และนั่นคือวิถีชีวิตของมัน 00:10:36.000 --> 00:10:39.000 เราเอาพวกมันเข้ามาในห้อง และทำการทดลองกับพวกมัน 00:10:39.000 --> 00:10:41.000 ในกรณีนี้ เราเอาชิมแปนซีสองตัวไว้ในห้องติดๆกัน 00:10:41.000 --> 00:10:44.000 และมีถังอยู่ใบหนึ่งที่เต็มไปด้วยเหรียญ และเหรียญเหล่านั้นมีความหมายต่างกัน 00:10:44.000 --> 00:10:47.000 เหรียญแบบหนึ่งจะให้อาหารแต่กับลิงตัวที่เลือก 00:10:47.000 --> 00:10:49.000 และอีกเหรียญหนึ่งจะให้อาหารกับทั้งสองตัว 00:10:49.000 --> 00:10:52.000 นี่คือการศึกษาที่เราทำพร้อมด้วย วิคกี้ ฮอร์เนอร์ (Vicky Horner) 00:10:53.000 --> 00:10:55.000 และในกรณีนี้คุณมีเหรียญสองสี 00:10:55.000 --> 00:10:57.000 พวกเขามีถังที่เต็มไปด้วยเหรียญ 00:10:57.000 --> 00:11:00.000 และพวกมันจะต้องเลือกหนึ่งในสองสี 00:11:00.000 --> 00:11:03.000 คุณจะเห็นว่าผลมันออกมาอย่างไร 00:11:03.000 --> 00:11:06.000 ถ้าลิงเลือกตัวเลือกที่เห็นแก่ตัว 00:11:06.000 --> 00:11:09.000 ซึ่งคือเหรียญสีแดงในกรณีนี 00:11:09.000 --> 00:11:11.000 มันต้องเอาเหรียญให้กับเรา 00:11:11.000 --> 00:11:14.000 เราหยิบเหรียญขึ้น วางบนโต๊ะ ที่ซึ่งอาหารสองชิ้นจะถูกให้เป็นรางวัล 00:11:14.000 --> 00:11:17.000 แต่ในกรณีนี้ตัวทางขวาตัวเดียวเท่านั้นจะได้อาหาร 00:11:17.000 --> 00:11:19.000 ตัวทางด้านซ้ายเดินหนีเพราะมันรู้ผลอยู่แล้ว 00:11:19.000 --> 00:11:22.000 ว่าการทดสอบนี้ไม่ดีสำหรับเธอ 00:11:22.000 --> 00:11:24.000 อันถัดไปเป็นเหรียญแห่งการแบ่งปัน 00:11:24.000 --> 00:11:27.000 ลิงตัวที่มีหน้าที่เลือก นี่ถึงตอนที่น่าสนใจแล้วครับ 00:11:27.000 --> 00:11:29.000 สำหรับตัวที่เป็นผู้เลือก 00:11:29.000 --> 00:11:31.000 มันไม่สำคัญเลยว่ามันจะเลือกสีอะไร 00:11:31.000 --> 00:11:34.000 ตอนนี้มันให้เหรียญแห่งการแบ่งปัน และลิงทั้งสองตัวก็จะได้อาหาร 00:11:34.000 --> 00:11:37.000 ลิงตัวที่เป็นผู้เลือกจะได้อาหารเสมอ 00:11:37.000 --> 00:11:39.000 มันไม่สำคัญว่ามันเลือกสีอะไร 00:11:39.000 --> 00:11:41.000 ดังนั้นมันควรจะเลือกแบบสุ่ม 00:11:41.000 --> 00:11:43.000 แต่สิ่งที่เราพบ 00:11:43.000 --> 00:11:45.000 คือพวกมันชอบเหรียญแห่งการแบ่งปัน 00:11:45.000 --> 00:11:48.000 นี่คือเส้น 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นความคาดหวัง จากการเลือกแบบสุ่ม 00:11:48.000 --> 00:11:51.000 และถ้าเพื่อนของมันเพ่งความสนใจ ไปที่มันเป็นพิเศษ มันจะเลือกมากขึ้น 00:11:51.000 --> 00:11:54.000 แต่ถ้าเพื่อนกดดันมันมากๆ 00:11:54.000 --> 00:11:57.000 เช่นถ้าเพื่อนเริ่มพ่นน้ำ และข่มขู่มัน 00:11:57.000 --> 00:12:00.000 ผลการเลือกจะแย่ลง 00:12:00.000 --> 00:12:02.000 เหมือนเป็นการบอกเป็นนัยๆว่า 00:12:02.000 --> 00:12:04.000 "ถ้าแกไม่ทำตัวดีๆ วันนี้ฉันจะไม่เผื่อแผ่กับแก" 00:12:04.000 --> 00:12:06.000 และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อไม่มีลิงอีกตัวอยู่ 00:12:06.000 --> 00:12:08.000 เมื่อไม่มีลิงอีกตัวนั่งอยู่ตรงนั้น 00:12:08.000 --> 00:12:10.000 ดังนั้นเราพบว่าชิมแปนซีนั้นห่วงใย 00:12:10.000 --> 00:12:12.000 ความเป็นอยู่ของลิงตัวอื่นๆ 00:12:12.000 --> 00:12:15.000 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมันเป็นลิงที่เป็นสมาชิก ของฝูงเดียวกัน 00:12:15.000 --> 00:12:18.000 การทดลองสุดท้ายที่ผมอยากจะเล่าให้คุณฟัง 00:12:18.000 --> 00:12:20.000 คือการศึกษาเรื่องความยุติธรรม 00:12:20.000 --> 00:12:23.000 และมันได้กลายเป็นการศึกษาที่โด่งดัง 00:12:23.000 --> 00:12:25.000 และตอนนี้ก็มีการศึกษาลักษณะเดียวกัน อีกมากมาย 00:12:25.000 --> 00:12:27.000 หลังจากการศึกษาของเราเมื่อ 10 ปีก่อน 00:12:27.000 --> 00:12:29.000 มันเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง 00:12:29.000 --> 00:12:31.000 เราทำการศึกษากับลิงคาปูชิน (capuchin) 00:12:31.000 --> 00:12:34.000 และผมจะแสดงให้คุณเห็นถึงการทดลองที่เราได้ทำ 00:12:34.000 --> 00:12:37.000 ซึ่งบัดนี้มันได้ถูกนำไปทดลองกับสุนัขและนก 00:12:37.000 --> 00:12:39.000 และกับชิมแปนซี 00:12:39.000 --> 00:12:43.000 แต่การทดลองนี้ซึ่งเราร่วมทำกับซาร่าห์ บรอสแนน (Sarah Brosnan) เราเริ่มทดลองกับลิงคาปูชิน 00:12:43.000 --> 00:12:45.000 สิ่งที่เราได้ทำ 00:12:45.000 --> 00:12:47.000 คือเราเอาลิงคาปูชินสองตัวไว้ในกรงติดๆกัน 00:12:47.000 --> 00:12:49.000 และเช่นกัน สัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่ในกลุ่มเดียวกัน มันรู้จักกัน 00:12:49.000 --> 00:12:52.000 เราเอามันออกมาจากฝูง และใส่ไว้ในห้องทดสอบ 00:12:52.000 --> 00:12:54.000 และเรากำหนดงานง่ายๆ 00:12:54.000 --> 00:12:56.000 ซึ่งพวกมันต้องทำ 00:12:56.000 --> 00:12:59.000 และถ้าคุณให้แตงกวาเป็นรางวัลสำหรับงานที่ทำ 00:12:59.000 --> 00:13:01.000 ลิงทั้งสองตัวที่อยู่ติดๆกัน 00:13:01.000 --> 00:13:03.000 พวกมันเต็มอกเต็มใจจะทำงานนี้ 25 ครั้ง ติดต่อกันเลย 00:13:03.000 --> 00:13:07.000 ดังนั้น แตงกวา แม้ว่ามันเป็นเพียงแค่น้ำ ในความคิดของผม 00:13:07.000 --> 00:13:10.000 แต่พวกมันก็พอใจแล้วกับแค่แตงกวา 00:13:10.000 --> 00:13:13.000 ทีนี้ ถ้าคุณเอาองุ่นให้ลิงตัวหนึ่ง 00:13:13.000 --> 00:13:15.000 ซึ่งเป็นอาหารที่ชื่นชอบของลิงคาปูชิน 00:13:15.000 --> 00:13:18.000 ซึ่งราคาในซุปเปอร์มาร์เก็ตก็แพงกว่าด้วย 00:13:18.000 --> 00:13:21.000 ดังนั้นถ้าคุณให้องุ่นกับพวกมัน นั่นเป็นอาหารที่ดีกว่ามาก 00:13:21.000 --> 00:13:24.000 นั่นแปลว่าคุณสร้างความไม่เท่าเทียมระหว่างพวกมัน 00:13:24.000 --> 00:13:26.000 ดั้งนั้น นั่นคือการทดลองที่เราทำ 00:13:26.000 --> 00:13:29.000 เมื่อเร็วๆนี้ เราบันทึกวิดีโอลิงคู่ใหม่ ที่ไม่เคยทำงานนี้มาก่อน 00:13:29.000 --> 00:13:31.000 เราคิดว่าบางทีเราอาจได้การตอบสนองที่รุนแรงกว่า 00:13:31.000 --> 00:13:33.000 และปรากฏว่าเราคิดถูก 00:13:33.000 --> 00:13:35.000 ลิงตัวทางซ้าย คือลิงที่ได้แตงกวา 00:13:35.000 --> 00:13:38.000 ลิงตัวทางขวา คือตัวที่ได้องุ่น 00:13:38.000 --> 00:13:40.000 ตัวที่ได้แตงกวา 00:13:40.000 --> 00:13:42.000 โปรดสังเกตว่าแตงกวาชิ้นแรกนั้นไม่มีปัญหาอะไรเลย 00:13:42.000 --> 00:13:45.000 มันกินแตงกวาชิ้นแรก 00:13:45.000 --> 00:13:48.000 แต่เมื่อมันเห็นลิงอีกตัวได้องุ่น คุณจะเห็นว่าเกิดอะไรขึ้น 00:13:48.000 --> 00:13:51.000 มันให้ก้อนหินกับเรา นั่นคืองานที่เราให้ทำ 00:13:51.000 --> 00:13:54.000 เราให้แตงกวาชิ้นหนึ่งแกมัน และมันก็กิน 00:13:54.000 --> 00:13:57.000 ลิงอีกตัวต้องให้ก้อนหินกับเรา 00:13:57.000 --> 00:14:00.000 และนั่นคือสืงที่มันทำ 00:14:00.000 --> 00:14:03.000 และมันได้องุ่นเป็นรางวัล และมันก็กิน 00:14:03.000 --> 00:14:05.000 อีกตัวหนึ่งมองเห็น 00:14:05.000 --> 00:14:07.000 มันให้ก้อนหินกับเราอีก 00:14:07.000 --> 00:14:10.000 และก็ได้แตงกวาอีก 00:14:12.000 --> 00:14:27.000 (เสียงหัวเราะ) 00:14:27.000 --> 00:14:30.000 มันทดสอบก้อนหินกับกำแพงดู 00:14:30.000 --> 00:14:32.000 มันต้องเอาก้อนหินให้เรา 00:14:32.000 --> 00:14:35.000 และมันก็ได้แตงกวาอีก 00:14:37.000 --> 00:14:41.000 (เสียงหัวเราะ) 00:14:43.000 --> 00:14:47.000 นี่มันคือการประท้วงตามวอลล์สตรีทดีๆนี่เอง 00:14:47.000 --> 00:14:50.000 (เสียงหัวเราะ) 00:14:50.000 --> 00:14:53.000 (เสียงปรบมือ) 00:14:53.000 --> 00:14:55.000 ผมจะเล่าให้ฟัง 00:14:55.000 --> 00:14:57.000 ผมยังเหลืออีกสองนาที ให้ผมเล่าเรื่องตลกๆ ให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องนี้ 00:14:57.000 --> 00:14:59.000 การศึกษานี้เป็นที่โด่งดัง 00:14:59.000 --> 00:15:01.000 และเราได้รับคำวิจารณ์มากมาย 00:15:01.000 --> 00:15:03.000 นักมานุษยวิทยา นักเศรษฐศาสตร์ 00:15:03.000 --> 00:15:05.000 นักปราชญ์ 00:15:05.000 --> 00:15:07.000 พวกเขาไม่ชอบมันเอาเสียเลย 00:15:07.000 --> 00:15:10.000 ผมเชื่อว่า นั่นเป็นเพราะพวกเขามีความคิดอยู่ในใจ 00:15:10.000 --> 00:15:12.000 ว่าความยุติธรรมนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อน 00:15:12.000 --> 00:15:14.000 และสัตว์ไม่มีทางรับรู้ถึงมัน 00:15:14.000 --> 00:15:16.000 และนักการกุศลคนหนึ่งเขียนมาหาเรา 00:15:16.000 --> 00:15:19.000 ว่ามันเป็นไปไม่ได้ว่าลิงไม่มีทางรับรู้ถึงความยุติธรรม 00:15:19.000 --> 00:15:22.000 เพราะความยุติธรรมนั้นถูกสร้างขึ้นมา ระหว่างยุคปฏิวัติฝรั่งเศส 00:15:22.000 --> 00:15:24.000 (เสียงหัวเราะ) 00:15:24.000 --> 00:15:27.000 ส่วนอีกคนเขียนมาเสียยาวยืด 00:15:27.000 --> 00:15:31.000 ว่าเขาจะเชื่อว่ามันเกี่ยวข้องกับความยุติธรรม 00:15:31.000 --> 00:15:33.000 ก็ต่อเมื่อลิงตัวที่ได้องุ่นจะต้องปฏิเสธองุ่นนั้น 00:15:33.000 --> 00:15:35.000 ที่ตลกก็คือ ซาราห์ บรอสแนน 00:15:35.000 --> 00:15:37.000 ผู้ซึ่งทำการทดลองนี้ในชิมแปนซี 00:15:37.000 --> 00:15:39.000 ทำการทดลองกับชิมแปนซีสองคู่ 00:15:39.000 --> 00:15:42.000 และปรากฎว่าลิงตัวที่ต้องได้องุ่นจะปฏิเสธองุ่นนั้น 00:15:42.000 --> 00:15:44.000 จนกว่าลิงอีกตัวจะได้องุ่นด้วย 00:15:44.000 --> 00:15:47.000 ดังนั้นเราจึงเข้าใกล้มากแล้วสำหรับสิ่ง ที่มนุษย์เรียกว่าความยุติธรรม 00:15:47.000 --> 00:15:51.000 และผมคิดว่านักปราชญ์ควรคิดทบทวนปรัชญา ของพวกเขาอีกสักพัก 00:15:51.000 --> 00:15:53.000 ดังนั้น ผมจะกล่าวสรุป 00:15:53.000 --> 00:15:55.000 ผมเชื่อว่าศีลธรรมนั้นมีวิวัฒนาการ 00:15:55.000 --> 00:15:57.000 ผมคิดว่าศีลธรรมนั้นเป็นอะไร มากกว่าสิ่งที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ 00:15:57.000 --> 00:16:00.000 แต่มันคงเกิดขึ้นไม่ได้หากขาด ส่วนประกอบเหล่านี้ 00:16:00.000 --> 00:16:02.000 องค์ประกอบที่เราพบในลิงพันธุ์อื่นๆ 00:16:02.000 --> 00:16:04.000 ซึ่งนั่นคือ ความเห็นอกเห็นใจ การปลอบโยน 00:16:04.000 --> 00:16:07.000 การช่วยเหลือกันและกัน และความรู้สึกถึงความยุติธรรม 00:16:07.000 --> 00:16:10.000 และดังนั้นเราจึงศึกษาในเรื่องนี้ 00:16:10.000 --> 00:16:13.000 เพื่อที่จะหาว่าเราสามารถสร้างศีลธรรมได้ จากจุดเริ่มต้น 00:16:13.000 --> 00:16:15.000 โดยไม่จำเป็นต้องมีพระเจ้าหรือศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง 00:16:15.000 --> 00:16:18.000 และเพื่อหาว่าเราสามารถไปถึงศีลธรรม ที่มีวิวัฒนาการแล้วได้หรือไม่ 00:16:18.000 --> 00:16:21.000 ขอบคุณที่รับฟังครับ 00:16:21.000 --> 00:16:30.000 (เสียงปรบมือ)