WEBVTT 00:00:01.436 --> 00:00:03.296 ในภาพยนตร์เรื่อง "อินเตอร์สเตลลาร์" 00:00:03.320 --> 00:00:06.647 เราได้เห็นหลุมดำขนาดใหญ่แบบใกล้ ๆ 00:00:06.671 --> 00:00:08.814 ท่ามกลางฉากหลังที่เป็นก๊าซสว่างจ้า 00:00:08.838 --> 00:00:10.956 แรงโน้มถ่วงที่รุนแรงของหลุมดำขนาดใหญ่ยักษ์ 00:00:10.980 --> 00:00:12.415 บิดแสงให้โค้งงอเป็นวงแหวน 00:00:12.439 --> 00:00:14.548 อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช่ภาพถ่ายจริง ๆ 00:00:14.572 --> 00:00:16.358 แต่เป็นภาพโดยคอมพิวเตอร์กราฟฟิก 00:00:16.382 --> 00:00:19.772 และการตีความตามจินตนาการ ว่าหลุมดำควรจะมีหน้าตาอย่างไร NOTE Paragraph 00:00:20.401 --> 00:00:21.567 ร้อยกว่าปีก่อน 00:00:21.591 --> 00:00:25.192 อัลเบิร์ต ไอสไตน์ ตีพิมพ์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขาเป็นครั้งแรก 00:00:25.216 --> 00:00:26.655 หลายปีหลังจากนั้น 00:00:26.679 --> 00:00:29.652 นักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอหลักฐาน ที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ 00:00:29.676 --> 00:00:32.760 แต่สิ่งหนึ่งที่เราคาดการได้จากทฤษฎีนี้ ซึ่งก็คือหลุมดำ 00:00:32.784 --> 00:00:35.134 ยังไม่ได้รับการสังเกตโดยตรง 00:00:35.158 --> 00:00:38.364 แม้ว่าเราจะมีแนวคิดอยู่บ้าง ว่าหลุมดำน่าจะมีหน้าตาอย่างไร 00:00:38.388 --> 00:00:41.167 เราไม่เคยที่จะถ่ายภาพมันได้จริง ๆ มาก่อน 00:00:41.191 --> 00:00:45.470 อย่างไรก็ตาม คุณอาจประหลาดใจ ที่รู้ว่า นั่นมันกำลังจะเปลี่ยนไป 00:00:45.494 --> 00:00:49.658 เราอาจได้เห็นภาพแรกของหลุมดำ ในอีกสองสามปีข้างหน้า 00:00:49.682 --> 00:00:53.640 การถ่ายภาพแรกนั้นจะตกเป็นหน้าที่ ของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ 00:00:53.664 --> 00:00:55.231 กล้องโทรทรรศน์ขนาดเท่าโลก 00:00:55.255 --> 00:00:58.087 และกระบวนวิธีที่ก่อร่างภาพ ที่เป็นผลลัพธ์ขึ้นมา 00:00:58.111 --> 00:01:01.639 แม้ว่า ฉันไม่อาจแสดงให้คุณเห็น ถึงภาพจริงของหลุมดำได้ในวันนี้ 00:01:01.663 --> 00:01:04.574 ฉันก็อยากที่จะให้คุณได้ดูอย่างคร่าว ๆ ถึงความพยายาม 00:01:04.598 --> 00:01:06.211 ที่จะทำให้ได้ภาพแรกนั้นมา NOTE Paragraph 00:01:07.477 --> 00:01:08.914 ฉันชื่อ เคที โบวแมน 00:01:08.938 --> 00:01:11.504 เป็นนักศึกษาปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัย MIT 00:01:11.528 --> 00:01:13.555 ฉันทำงานวิจัยในห้องทดลองวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ 00:01:13.579 --> 00:01:16.877 ที่มีจุดประสงค์คือทำให้คอมพิวเตอร์ มองภาพผ่านรูปและวีดีโอ 00:01:16.901 --> 00:01:19.063 ถึงแม้ว่าฉันจะไม่ใช่นักดาราศาสตร์ 00:01:19.087 --> 00:01:20.372 วันนี้ ฉันอยากจะแสดงให้คุณเห็น 00:01:20.396 --> 00:01:23.299 ว่าฉันสามารถที่จะมีส่วนร่วม ในโครงการที่น่าตื่นเต้นนี้ได้อย่างไร NOTE Paragraph 00:01:23.323 --> 00:01:26.154 ถ้าคุณออกไป นอกเขตแสงไฟของเมืองยามค่ำคืนนี้ 00:01:26.178 --> 00:01:28.614 คุณอาจโชคดีได้เห็นทิวทัศน์ที่น่าทึ่ง 00:01:28.638 --> 00:01:30.131 ของกาแล็กซีทางช้างเผือก 00:01:30.155 --> 00:01:32.617 และถ้าคุณสามารถมองผ่านดาวนับล้าน 00:01:32.641 --> 00:01:36.396 ไกลออกไป 26,000 ปีแสง สู่ใจกลางของทางช้างเผือกที่บิดเกลียว 00:01:36.420 --> 00:01:39.941 เราจะไปถึงกลุ่มดาว ณ ใจกลาง 00:01:39.965 --> 00:01:43.171 เพ่งผ่านฝุ่นในกาแล็กซี่ ด้วยกล้องโทรทรรศน์อินฟาเรด 00:01:43.195 --> 00:01:47.062 นักดาราศาสตร์ได้เฝ้าดูดาวเหล่านี้ มาตลอด 16 ปี 00:01:47.086 --> 00:01:50.675 แต่สิ่งที่น่าทึ่งที่สุด คือสิ่งที่พวกเขาไม่ได้เห็น 00:01:50.699 --> 00:01:53.765 เหมือนว่าดาวเหล่านี้ มีวงโคจรอยู่รอบ ๆ สิ่งล่องหน 00:01:53.789 --> 00:01:56.112 โดยการติดตามเส้นทางโคจรของดาว 00:01:56.136 --> 00:01:57.430 นักดาราศาสตร์ได้สรุปว่า 00:01:57.454 --> 00:02:00.583 สิ่งเดียวที่เล็กและหนักพอ ที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่เช่นนี้ได้ 00:02:00.607 --> 00:02:02.575 ก็คือหลุมดำที่มีมวลมหาศาล 00:02:02.599 --> 00:02:06.777 มันคือวัตถุที่มีความหนาแน่นมาก ที่ดูดทุกสิ่งที่ย่างกรายเข้าไปใกล้มันเกินไป 00:02:06.801 --> 00:02:08.295 แม้แต่แสง NOTE Paragraph 00:02:08.319 --> 00:02:11.380 แต่จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเรามองลึกลงไปอีก 00:02:11.404 --> 00:02:16.137 มันจะเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะเห็น อะไรที่ตามนิยามแล้วเราไม่อาจมองเห็น 00:02:16.719 --> 00:02:19.963 ค่ะ กลายเป็นว่า ถ้าเรามองลึกเข้าไป ในความยาวคลื่นวิทยุ 00:02:19.987 --> 00:02:21.669 เราน่าจะได้เห็นวงแหวนของแสง 00:02:21.693 --> 00:02:24.104 ที่เกิดจากเลนส์แรงโน้มถ่วง ของพลาสมาร้อน 00:02:24.128 --> 00:02:25.957 ที่ยิงออกมารอบ ๆ หลุมดำ 00:02:25.981 --> 00:02:27.141 อีกนัยหนึ่งก็คือ 00:02:27.165 --> 00:02:30.336 หลุมดำทอดเงา ไปบนวัตถุพื้นหลังที่สว่าง 00:02:30.360 --> 00:02:32.202 ทำให้เกิดรูปทรงกลมของความมืด 00:02:32.226 --> 00:02:35.565 วงแหวนที่สว่างเผยถึงขอบที่เท่า ๆ กัน ของหลุมดำ 00:02:35.589 --> 00:02:37.989 ที่ซึ่งแรงดึงจากแรงโน้มถ่วง มีความรุนแรงมาก 00:02:38.013 --> 00:02:39.639 จนแม้แต่แสงก็ไม่อาจเล็ดลอดออกมาได้ 00:02:39.663 --> 00:02:42.522 สมการของไอสไตน์ได้ทำนายถึง ขนาดและรูปร่างของวงแหวนนี้เอาไว้ 00:02:42.546 --> 00:02:45.754 ฉะนั้นการถ่ายภาพมันได้ ไม่เพียงแต่ว่าจะเจ๋ง 00:02:45.778 --> 00:02:48.396 แต่มันยังอาจช่วยให้เรา ยืนยันความถูกต้องของสมการนี้ได้ 00:02:48.420 --> 00:02:50.886 ในสภาวะที่สุดโต่ง อย่างบริเวณรอบ ๆ หลุมดำ NOTE Paragraph 00:02:50.910 --> 00:02:53.468 อย่างไรก็ตาม หลุมดำนี้ ห่างไกลจากเรามาก 00:02:53.492 --> 00:02:56.590 จากโลกของเรา วงแหวนนี้ดูเล็กมาก ๆ 00:02:56.614 --> 00:03:00.204 ในขนาดเดียวกับผลส้ม ที่ตั้งอยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ 00:03:00.758 --> 00:03:03.582 นั่นทำให้การถ่ายภาพของมันยากมาก ๆ 00:03:04.645 --> 00:03:05.947 ทำไม่น่ะหรือคะ 00:03:06.512 --> 00:03:09.700 คำตอบตกอยู่ที่สมการง่าย ๆ 00:03:09.724 --> 00:03:12.140 เนื่องจากปรากฏการณ์ ที่เรียกว่า การเลี้ยวเบน 00:03:12.164 --> 00:03:13.519 มันคือข้อจำกัดพื้นฐาน 00:03:13.543 --> 00:03:16.213 ต่อวัตถุที่มีขนาดเล็กที่สุดที่เราสามารถเห็นได้ 00:03:16.789 --> 00:03:20.461 สมการที่ทำให้เกิดผลลัพธ์นี้กล่าวว่า เพื่อที่จะเห็นสิ่งที่เล็กลงไปอีก 00:03:20.485 --> 00:03:23.072 เราจะต้องสร้างกล้องโทรทรรศน์ ที่ใหญ่ขึ้นไปอีก 00:03:23.096 --> 00:03:26.165 แต่แม้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ ที่มีกำลังขยายสูงสุดบนโลก 00:03:26.189 --> 00:03:28.608 มันก็ไม่อาจให้ความละเอียดมากพอ 00:03:28.632 --> 00:03:30.830 ที่จะเห็นภาพพื้นผิวของดวงจันทร์ได้ 00:03:30.854 --> 00:03:34.471 อันที่จริง ที่แสดงอยู่นี้ คือภาพที่มีความสูงสุด 00:03:34.495 --> 00:03:35.892 ของดวงจันทร์ที่ถ่ายได้จากโลก 00:03:35.916 --> 00:03:38.473 มันมีความละเอียดประมาณ 13,000 จุด 00:03:38.497 --> 00:03:42.547 แต่ละจุดบรรจุผลส้มได้ 1.5 ล้านผล NOTE Paragraph 00:03:43.396 --> 00:03:45.368 แล้วเราต้องการกล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่แค่ไหน 00:03:45.392 --> 00:03:48.157 เพื่อที่จะเห็นผลส้มบนพื้นผิวดวงจันทร์ 00:03:48.181 --> 00:03:50.395 แล้วถ้าเป็นหลุมดำล่ะ 00:03:50.419 --> 00:03:52.759 ค่ะ กลายเป็นว่าจากตัวเลข 00:03:52.783 --> 00:03:55.393 คุณสามารถคำนวณได้โดยง่ายว่า เราต้องการกล้องโทรทรรศน์ 00:03:55.417 --> 00:03:56.810 ที่มีขนาดเท่ากับโลกทั้งใบ NOTE Paragraph 00:03:56.834 --> 00:03:57.858 (เสียงหัวเราะ) NOTE Paragraph 00:03:57.882 --> 00:04:00.001 ถ้าเราสามารถสร้างกล้องโทรทรรศน์ ที่มีขนาดเท่าโลกได้ 00:04:00.025 --> 00:04:02.950 เราก็จะมองเห็นวงแหวนของแสงได้ชัดเจน 00:04:02.974 --> 00:04:05.157 ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกเหตุการณ์ที่เส้นขอบ ของหลุมดำ 00:04:05.181 --> 00:04:08.099 แม้ว่าภาพจะไม่ได้แสดงรายละเอียด ทั้งหมดที่เราต้องการเห็น 00:04:08.123 --> 00:04:09.629 ในการผลิตภาพจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ 00:04:09.653 --> 00:04:11.952 มันอาจทำเราได้แอบมองจริง ๆ เป็นครั้งแรก 00:04:11.976 --> 00:04:14.463 ว่าสิ่งแวดล้อมรอบหลุมดำเป็นอย่างไร NOTE Paragraph 00:04:14.487 --> 00:04:16.100 อย่างไรก็ตาม คุณก็คงนึกออกว่า 00:04:16.124 --> 00:04:19.748 การสร้างกล้องโทรทรรศน์ที่เป็นจานเดี่ยว ที่มีขนาดเท่ากับโลกนั้นเป็นไปไม่ได้ 00:04:19.772 --> 00:04:21.659 แต่วลีติดหูของ มิก แจ็กเกอร์ 00:04:21.683 --> 00:04:23.474 "คุณไม่อาจได้สิ่งที่อยากได้เสมอไป 00:04:23.498 --> 00:04:25.685 แต่ถ้าคุณลองดูบ้างแล้วล่ะก็ คุณอาจจะพบว่า 00:04:25.709 --> 00:04:26.924 คุณได้ในสิ่งที่คุณต้องการ" 00:04:26.948 --> 00:04:29.412 และด้วยการเชื่อมกล้องโทรทรรศน์ จากทั่วโลก 00:04:29.436 --> 00:04:32.974 ความร่วมมือระดับนานาชาติ ที่เรียกว่า อีเวนท์ ฮอไรซัน เทเลสโคป 00:04:32.998 --> 00:04:36.107 ก็สร้างกล้องโทรทรรศน์เชิงคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดเท่ากับโลกขึ้นมา 00:04:36.131 --> 00:04:37.668 ซึ่งมันสามารถแยกแยะโครงสร้าง 00:04:37.692 --> 00:04:39.891 ในระดับขอบฟ้าเหตุการณ์ของหลุมดำ 00:04:39.915 --> 00:04:43.302 เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์นี้ ถูกวางแผนว่าจะถ่ายภาพแรก 00:04:43.326 --> 00:04:45.141 ของหลุมดำในปีหน้า 00:04:45.165 --> 00:04:48.503 กล้องโทรทรรศน์แต่ละตัว ในเครือข่ายทั่วโลกทำงานรวมกัน 00:04:48.527 --> 00:04:51.239 ด้วยการเชื่อมโยง ผ่านนาฬิการะดับอะตอมที่แม่นยำ 00:04:51.263 --> 00:04:53.920 กลุ่มนักวิจัยในแต่ละพื้นที่จะจับแสง 00:04:53.944 --> 00:04:56.906 โดยการรวบรวมข้อมูล หลายพันเทราไบต์ 00:04:56.930 --> 00:05:01.947 ข้อมูลเหล่านี้จะถูกประมวลผล ในห้องทดลองที่แมสซาชูเซส NOTE Paragraph 00:05:01.971 --> 00:05:03.765 แล้วเราทำได้อย่างไร 00:05:03.789 --> 00:05:07.192 จำได้ไหมคะ ว่าถ้าเราอยากเห็นหลุมดำ ณ ใจกลางกกาแล็กซี่ของเรา 00:05:07.216 --> 00:05:10.198 เราต้องสร้างกล้องโทรทรรศน์ ที่มีขนาดใหญ่เท่าโลก ซึ่งเป็นไปไม่ได้ 00:05:10.222 --> 00:05:12.454 ลองสมมติกันสักครู่หนึ่ง ว่าเราสามารถสร้าง 00:05:12.478 --> 00:05:14.320 กล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดเท่าโลกได้ 00:05:14.344 --> 00:05:16.799 นั่นคงจะประมาณว่า เราเปลี่ยนโลกของเรา 00:05:16.823 --> 00:05:18.570 ให้กลายเป็นลูกบอลดิสโก้ 00:05:18.594 --> 00:05:20.794 กระจกแต่ละบานจะเก็บแสง 00:05:20.818 --> 00:05:23.415 ที่เราจะสามารถนำไปรวมกัน เพื่อประกอบขึ้นเป็นภาพ 00:05:23.439 --> 00:05:26.100 อย่างไรก็ตาม สมมติว่าเรา เอากระจกส่วนใหญ่ออกไปซะ 00:05:26.124 --> 00:05:28.096 และยังมีกระจกเหลืออยู่บ้าง 00:05:28.120 --> 00:05:30.997 เราอาจจะลองรวมข้อมูลเหล่านี้เข้าด้วยกัน 00:05:31.021 --> 00:05:33.014 แต่ตอนนี้มันมีรูมากมาย 00:05:33.038 --> 00:05:37.411 กระจกที่เหลืออยู่แทนตำแหน่ง ที่เรามีกล้องโทรทรรศน์ 00:05:37.435 --> 00:05:41.514 มันถือเป็นจำนวนที่น้อยมาก สำหรับการวัดเพื่อจะสร้างภาพขึ้นมา 00:05:41.538 --> 00:05:45.376 แต่แม้ว่าเราจะจัดเก็บแสง ณ ตำแหน่งของกล้องโทรทรรศน์ไม่กี่แห่ง 00:05:45.400 --> 00:05:48.823 เมื่อโลกหมุน เราก็จะได้เห็นการวัดใหม่ 00:05:48.847 --> 00:05:52.666 หรือกล่าวได้ว่า เมื่อลูกบอลดิสโก้หมุนไป กระจกก็เปลี่ยนตำแหน่งตามไปด้วย 00:05:52.690 --> 00:05:55.589 และเราก็ได้สังเกต ส่วนของภาพที่แตกต่างออกไป 00:05:55.613 --> 00:05:59.631 กระบวนวืธีสร้างภาพที่เราพัฒนาขึ้น จะเติมเต็มช่องว่างที่หายไปของลูกบอลดิสโก้ 00:05:59.655 --> 00:06:02.688 เพื่อที่จะสร้างเป็นนภาพของหลุมดำขึ้นมา 00:06:02.712 --> 00:06:05.348 ถ้าเรามีกล้องโทรทรรศน์ ที่ตั้งอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลก 00:06:05.372 --> 00:06:07.313 อีกนัยหนึ่งก็คือ ลูกบอลดิสโก้ทั้งลูก 00:06:07.337 --> 00:06:08.621 นี่คงจะเป็นเรื่องที่ดีทีเดียว 00:06:08.645 --> 00:06:11.967 อย่างไรก็ตาม เราเห็นเพียงบางตัวอย่าง และด้วยเหตุผลนี้เอง 00:06:11.991 --> 00:06:14.379 มันมีภาพที่เป็นไปได้มากมาย 00:06:14.403 --> 00:06:17.367 ที่สอดคล้องกันอย่างสมบูรณ์ กับการวัดจากกล้องโทรทรรศน์ของเรา 00:06:17.391 --> 00:06:20.407 อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ว่าทุก ๆ ภาพ จะถูกสร้างขึ้นมาแบบทัดเทียมกัน 00:06:20.849 --> 00:06:25.307 บางภาพก็มองดูเหมือนกับสิ่งที่เราคิดว่าเป็นภาพ มากกว่าภาพอื่น ๆ 00:06:25.331 --> 00:06:28.553 ฉะนั้น บทบาทของฉันในการช่วยถ่ายภาพแรก ของหลุมดำ 00:06:28.577 --> 00:06:31.509 ก็คือการออกแบบกระบวนวิธี ที่จะหาภาพที่สมเหตุสมผล 00:06:31.533 --> 00:06:33.755 ที่ลงตัวกับการวัดจากกล้องโทรทรรศน์ NOTE Paragraph 00:06:34.727 --> 00:06:38.669 เช่นเดียวกับศิลปินด้านนิติเวช ที่ร่างภาพโดยใช้คำบรรยายที่จำกัด 00:06:38.693 --> 00:06:42.207 แต่ละชิ้นถูกประกอบเข้าด้วยกัน โดยใช้ความรู้เรื่องโครงสร้างของหน้า 00:06:42.231 --> 00:06:45.546 กระบวนวิธีในการสร้างภาพที่ฉันพัฒนาขึ้น ใช้ข้อมูลที่จำกัดจากกล้องโทรทรรศน์ 00:06:45.570 --> 00:06:49.892 เพื่อพาเราไปยังภาพที่ยังดูเหมือน กับสิ่งที่อยู่ในอวกาศของเรา 00:06:49.916 --> 00:06:53.567 การใช้กระบวนวิธีเหล่านี้ เราสามารถปะติดปะต่อภาพเข้าด้วยกัน 00:06:53.591 --> 00:06:55.771 จากข้อมูลที่มีอยู่อย่างบางตา และรกรุงรัง 00:06:55.795 --> 00:07:00.324 นี่คือตัวอย่างการสร้างภาพ โดยใช้ข้อมูลจำลอง 00:07:00.348 --> 00:07:02.281 เมื่อเราแกล้งเล็งกล้องโทรทรรศน์ของเรา 00:07:02.305 --> 00:07:04.890 ไปยังหลุมดำ ณ ใจกลางกาแล็กซี่ 00:07:04.914 --> 00:07:09.369 แม้ว่านี่เป็นเพียงการจำลอง การสร้างภาพขึ้นมานี้ให้ความหวังกับเรา 00:07:09.393 --> 00:07:12.846 ว่าไม่ช้าไม่นาน เราจะสามารถ ถ่ายภาพแรกของหลุมดำได้อย่างน่าเชื่อถือ 00:07:12.870 --> 00:07:15.465 และด้วยมัน เราจะสามารถ กะขนาดของวงแหวนของมันได้ 00:07:16.118 --> 00:07:19.317 แม้ว่าเราจะอยากจะพูดถึงรายละเอียด ของกระบวนวิธีนี้ 00:07:19.341 --> 00:07:21.515 โชคดีสำหรับคุณค่ะ เราไม่มีเวลา NOTE Paragraph 00:07:21.539 --> 00:07:23.540 แต่ฉันอยากที่จะให้คุณได้แนวคิดคร่าว ๆ 00:07:23.564 --> 00:07:25.866 ว่าเรากำหนดหน้าตาของอวกาศของเราอย่างไร 00:07:25.890 --> 00:07:30.356 และเราใช้การสร้างภาพนี้ และยืนยันผลลัพธ์ของเราได้อย่างไร 00:07:30.380 --> 00:07:32.876 เมื่อภาพที่เป็นไปได้มีจำนวนไม่จำกัด 00:07:32.900 --> 00:07:35.265 นั่นอธิบายได้อย่างสมบูรณ์ ว่าการวัดกล้องโทรทรรศน์ของเรา 00:07:35.289 --> 00:07:37.894 เราจะต้องเลือกระหว่างพวกมันในบางแง่มุม 00:07:37.918 --> 00:07:39.756 เราจะต้องทำด้วยการจัดอันดับภาพ 00:07:39.780 --> 00:07:42.614 ตามความน่าจะเป็น ว่าพวกมันจะเป็นหลุมดำมากแค่ไหน 00:07:42.638 --> 00:07:45.120 จากนั้นเลือกภาพที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด NOTE Paragraph 00:07:45.144 --> 00:07:47.339 ฉันหมายความว่าอย่างไรน่ะหรือคะ 00:07:47.862 --> 00:07:49.840 เอาเป็นว่าเราพยายามสร้างแบบจำลอง 00:07:49.864 --> 00:07:53.047 ที่บอกเราว่ามีความน่าจะเป็นแค่ไหน ที่ภาพนั้นจะปรากฏบนเฟสบุ๊ก 00:07:53.071 --> 00:07:54.772 เราอยากจะให้แบบจำลองบอกว่า 00:07:54.796 --> 00:07:58.353 มันไม่น่าจะเป็นไปได้ที่ใครสักคน จะโพสภาพรุงรังทางซ้ายนี้ 00:07:58.377 --> 00:08:00.796 และน่าจะเป็นไปได้ที่ใครสักคน จะถ่ายภาพเซลฟี่ 00:08:00.820 --> 00:08:02.154 อย่างภาพทางขวามือ 00:08:02.178 --> 00:08:03.817 ภาพตรงกลางค่อนข้างมัว 00:08:03.841 --> 00:08:06.480 ฉะนั้น แม้ว่ามันน่าจะอยู่บนเฟสบุ๊ก 00:08:06.504 --> 00:08:07.864 เมื่อเปรียบเทียบกับภาพที่รกรุงรัง 00:08:07.888 --> 00:08:10.848 มันน่าจะมีโอกาสน้อยกว่า ที่เราจะได้เห็นมันเมื่อเทียบกับภาพถ่ายเซลฟี่ NOTE Paragraph 00:08:10.872 --> 00:08:13.162 แต่เมื่อมันเป็นภาพที่เกี่ยวกับหลุมดำ 00:08:13.186 --> 00:08:16.688 เราพบกับปริศนาจริง ๆ เราไม่เคยเห็นหลุมดำมาก่อน 00:08:16.712 --> 00:08:19.003 ในกรณีนั้น อะไรที่ควรจะเป็นภาพหลุมดำ 00:08:19.027 --> 00:08:21.965 และเราควรอนุมานอย่างไร เกี่ยวกับโครงสร้างของหลุมดำ 00:08:21.989 --> 00:08:24.621 เราควรพยายามใช้ภาพ จากการจำลองที่เราได้ทำ 00:08:24.645 --> 00:08:27.175 อย่างภาพหลุมดำจากเรื่อง "อินเทอร์สเตลล่า" 00:08:27.199 --> 00:08:30.137 แต่ถ้าเราทำอย่างนี้ มันอาจทำให้เกิดปัญหาใหญ่ 00:08:30.161 --> 00:08:33.541 จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าทฤษฎีของไอสไตน์ไม่ถูกต้อง 00:08:33.565 --> 00:08:37.526 เราอาจจะยังต้องการสร้างภาพที่แม่นยำ ของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ขึ้นมาใหม่ 00:08:37.550 --> 00:08:40.921 ถ้าเราใช้สมการของไอสไตน์มากเกินไป ในกระบวนวิธีของเรา 00:08:40.945 --> 00:08:43.700 เราจะลงเอยที่การเห็นสิ่งที่เราอยากเห็น 00:08:43.724 --> 00:08:46.000 หรืออีกนัยหนึ่ง เราอยากเปิดตัวเลือกเอาไว้ 00:08:46.024 --> 00:08:48.947 สำหรับช้างตัวใหญ่ ที่อยู่ ณ ใจกลางของกาแล็กซี่ NOTE Paragraph 00:08:48.971 --> 00:08:50.028 (เสียงหัวเราะ) NOTE Paragraph 00:08:50.052 --> 00:08:53.041 ชนิดของภาพที่ต่างกัน มีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน 00:08:53.065 --> 00:08:56.613 เราสามารถบอกได้อย่างง่ายดาย ถึงความแตกต่างระหว่างภาพหลุมดำจำลอง 00:08:56.637 --> 00:08:58.913 และภาพที่เราถ่ายได้ในชีวิตประจำวันบนโลก 00:08:58.937 --> 00:09:02.041 เราต้องการวิธีการที่จะบอกกระบวนวิธีของเรา ว่าภาพมีหน้าตาอย่างไร 00:09:02.065 --> 00:09:05.314 โดยปราศจากการบังคับองค์ประกอบชนิดหนึ่ง ๆ ของภาพมากเกินไป 00:09:05.865 --> 00:09:07.758 วิธีหนึ่งที่เราสามารถก้าวข้ามมันไปได้ 00:09:07.782 --> 00:09:10.844 ก็คือโดยการบังคับองค์ประกอบ ของภาพในลักษณะต่าง ๆ 00:09:10.868 --> 00:09:14.998 และดูว่าชนิดต่าง ๆ ของภาพ จะมีผลต่อการสร้างภาพของเราอย่างไร 00:09:15.712 --> 00:09:19.203 ถ้าชนิดของภาพทั้งหมด ให้ภาพที่มีหน้าตาคล้าย ๆ กัน 00:09:19.227 --> 00:09:21.284 เราก็จะมั่นใจได้มากขึ้น 00:09:21.308 --> 00:09:25.481 ว่าการสมมติภาพขึ้นมานี้ จะไม่ลำเอียงมากเกินไป NOTE Paragraph 00:09:25.505 --> 00:09:28.495 มันคล้าย ๆ การให้คำบรรยายเดียวกัน 00:09:28.519 --> 00:09:31.515 กันศิลปินร่างภาพสามคนที่กระจายอยู่ทั่วโลก 00:09:31.539 --> 00:09:32.539 ถ้าเราทุกคนผลิตภาพที่มีหน้าตาคล้าย ๆ กัน 00:09:34.423 --> 00:09:36.216 เราก็จะเริ่มมั่นใจมากขึ้น 00:09:36.240 --> 00:09:39.856 ว่าพวกเราไม่บังคับให้เกิดความอคติทางวัฒนธรรม ในการวาดภาพจนเกินไป 00:09:39.880 --> 00:09:43.195 วิธีการหนึ่งที่เราสามารถลองบังคับ องค์ประกอบภาพที่แตกต่างกันได้ 00:09:43.219 --> 00:09:45.660 คือการใช้ชิ้นส่วนของภาพที่มีอยู่ 00:09:46.214 --> 00:09:48.374 เราจึงนำชุดของภาพจำนวนมาก 00:09:48.398 --> 00:09:51.116 และแยกพวกมันเป็นชิ้นภาพเล็ก ๆ 00:09:51.140 --> 00:09:55.425 จากนั้นเราก็มองมัน เหมือนเป็นชื้นปริศนาเล็ก ๆ 00:09:55.449 --> 00:09:59.727 และใช้ชิ้นปริศนาที่เห็นบ่อย ๆ เพื่อปะติดปะต่อภาพ 00:09:59.751 --> 00:10:02.203 ที่เข้ากันได้กับการวัดจากกล้องโทรทรรศน์ NOTE Paragraph 00:10:03.040 --> 00:10:06.783 ชนิดของภาพที่ต่างกัน มีชุดของชิ้นปริศนาที่แตกต่างกันมาก 00:10:06.807 --> 00:10:09.613 แล้วจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อเราใช้ข้อมูลเดียวกัน 00:10:09.637 --> 00:10:13.767 แต่ใช้ชุดของชิ้นข้อมูลที่ต่างกัน เพื่อสร้างภาพขึ้นใหม่ 00:10:13.791 --> 00:10:18.557 เรามาเริ่มกันที่ชิ้นปริศนาภาพจำลองหลุมดำ 00:10:18.581 --> 00:10:20.172 เอาล่ะ มันดูสมเหตุสมผล 00:10:20.196 --> 00:10:22.890 มันดูเหมือนสิ่งที่เราคาดหวังเอาไว้ ว่าหลุมดำจะมีหน้าตาอย่างไร 00:10:22.914 --> 00:10:24.107 แต่เราได้มันมา 00:10:24.131 --> 00:10:27.445 เพราะว่าเราใช้ชิ้นภาพเล็ก ๆ ของภาพจำลองหลุมดำหรือเปล่า 00:10:27.469 --> 00:10:29.349 ลองใช้ชุดของชิ้นภาพปริศนาอีกชุด 00:10:29.373 --> 00:10:31.882 จากวัตถุในอวกาศที่ไม่ใช่หลุมดำ 00:10:32.914 --> 00:10:35.040 เอาล่ะ เราได้ภาพที่มีหน้าตาคล้าย ๆ กัน 00:10:35.064 --> 00:10:37.300 แล้วชิ้นส่วนต่าง ๆ จากชีวิตประจำวันเรา 00:10:37.324 --> 00:10:40.109 อย่างภาพที่คุณถ่ายได้ จากกล้องส่วนบุคคลของคุณล่ะ 00:10:41.312 --> 00:10:43.427 เยี่ยมมากค่ะ เราเห็นภาพเดียวกัน 00:10:43.451 --> 00:10:46.817 เมื่อเราได้ภาพเดียวกันนี้ จากชุดชื้นปริศนาที่ต่างกันแล้ว 00:10:46.841 --> 00:10:48.887 เราก็จะมั่นใจมากขึ้น 00:10:48.911 --> 00:10:50.877 ว่าการสมมติภาพที่เราสร้างขึ้นมานี้ 00:10:50.901 --> 00:10:53.822 ไม่ได้เป็นภาพผลลัพธ์ ที่เกิดจากความลำเอียงจนมากเกินไป NOTE Paragraph 00:10:53.846 --> 00:10:57.099 อีกสิ่งหนึ่งที่เราทำได้คือ การนำชุดชื้นปริศนาเดียวกันนี้ 00:10:57.123 --> 00:10:59.612 อย่างเช่นภาพที่ได้จากภาพในชีวิตประจำวัน 00:10:59.636 --> 00:11:03.236 ใช้สร้างแหล่งภาพขึ้นมาใหม่ 00:11:03.260 --> 00:11:04.531 ในแบบจำลองของเรา 00:11:04.555 --> 00:11:08.330 เราสมมติให้หลุมดำมีหน้าตา คล้ายกับวัตถุในอวกาศที่ไม่ใช่หลุมดำ 00:11:08.354 --> 00:11:12.203 เช่นเดียวกับภาพในชีวิตประจำวัน อย่างช้างที่อยู่ ณ ใจกลางกาแล็กซี่ 00:11:12.227 --> 00:11:15.395 เมื่อผลลัพธ์ของกระบวนวิธีทางด้านล่าง มีหน้าตาคล้ายกันมาก ๆ 00:11:15.419 --> 00:11:17.515 กับภาพจริงของการจำลองที่อยู่ด้านบน 00:11:17.539 --> 00:11:20.885 เราก็จะมั่นใจในกระบวนวิธีของเราได้มากขึ้น 00:11:20.909 --> 00:11:22.776 และฉันอยากที่จะย้ำตรงนี้ว่า 00:11:22.800 --> 00:11:24.734 ภาพเหล่านี้ถูกสร้างขึ้น 00:11:24.758 --> 00:11:27.694 โดยการปะติดปะต่อชิ้นส่วนเล็ก ๆ จากภาพถ่ายในชีวิตประจำวัน 00:11:27.718 --> 00:11:29.933 อย่างเช่นภาพที่คุณถ่ายไว้ โดยกล้องส่วนบุคคลของคุณ 00:11:29.957 --> 00:11:33.233 ฉะนั้น ภาพหลุมดำที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน 00:11:33.257 --> 00:11:37.200 สุดท้ายแล้ว อาจถูกสร้างขึ้นโดยการปะติดปะต่อ ภาพที่เราเห็นกันเป็นประจำ 00:11:37.224 --> 00:11:39.969 ของคน ตึกรามบ้านช่อง ต้นไม้ แมวและหมา 00:11:39.993 --> 00:11:42.638 แนวคิดเรื่องการสร้างภาพในลักษณะนี้ 00:11:42.662 --> 00:11:45.281 จะทำให้การถ่ายภาพแรกของหลุมดำเป็นไปได้ 00:11:45.305 --> 00:11:47.752 และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า มันจะยืนยัน ความถูกต้องของทฤษฎีชื่อก้อง 00:11:47.776 --> 00:11:50.197 ที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อถือ และพึ่งพามันเป็นพื้นฐาน NOTE Paragraph 00:11:50.221 --> 00:11:52.829 แต่แน่นอนว่า การทำให้แนวคิด การสร้างภาพแบบนี้ใช้การได้นั้น 00:11:52.853 --> 00:11:56.175 ไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย ถ้าปราศจากกลุ่มนักวิจัยที่น่าทึ่ง 00:11:56.199 --> 00:11:58.086 ที่ฉันรู้สึกเป็นเกียรติเหลือเกิน ที่ได้ร่วมงานกับพวกเขา 00:11:58.110 --> 00:11:59.273 มันยังทำให้ฉันประหลาดใจอยู่เลย 00:11:59.297 --> 00:12:02.648 ว่าถึงแม้ว่าฉันเริ่มทำโครงการนี้ โดยปราศจากพื้นฐานเรื่องฟิสิกส์อวกาศ 00:12:02.672 --> 00:12:05.291 สิ่งที่เราได้จากความร่วมมือ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์นี้ 00:12:05.315 --> 00:12:08.074 อาจส่งผลให้เราได้ภาพแรกของหลุมดำ 00:12:08.098 --> 00:12:10.796 แต่โครงการใหญ่อย่าง อีเวน ฮอไรซัน เทเลสโคป นี้ 00:12:10.820 --> 00:12:13.634 ประสบความสำเร็จได้ด้วย ความเชี่ยวชาญหลากสาขา 00:12:13.658 --> 00:12:15.448 จากบุคคลที่หลากหลาย ที่นำมันเข้ามาปะติดปะต่อกัน 00:12:15.472 --> 00:12:17.178 เราคือเบ้าหลอมของนักดาราศาสตร์ 00:12:17.202 --> 00:12:19.434 นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และวิศวกร 00:12:19.458 --> 00:12:22.012 นี่คือสิ่งที่จะทำให้มันเกิดขึ้นได้จริง 00:12:22.036 --> 00:12:24.889 เพื่อที่จะทำให้เกิดบางสิ่ง ที่ครั้งหนึ่งเราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ NOTE Paragraph 00:12:24.913 --> 00:12:27.169 ฉันอยากสนับสนุนให้ทุก ๆ คน 00:12:27.193 --> 00:12:29.289 ช่วยกันขยายพรมแดนทางวิทยาศาสตร์ 00:12:29.313 --> 00:12:33.214 แม้ว่าในตอนแรกมันอาจจะดูเป็นปริศนา เฉกเช่นเดียวกับหลุมดำ NOTE Paragraph 00:12:33.238 --> 00:12:34.412 ขอบคุณค่ะ NOTE Paragraph 00:12:34.436 --> 00:12:36.833 (เสียงปรบมือ)