ในภาพยนตร์เรื่อง "อินเตอร์สเตลลาร์" เราได้เห็นหลุมดำขนาดใหญ่แบบใกล้ ๆ ท่ามกลางฉากหลังที่เป็นก๊าซสว่างจ้า แรงโน้มถ่วงที่รุนแรงของหลุมดำขนาดใหญ่ยักษ์ บิดแสงให้โค้งงอเป็นวงแหวน อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช่ภาพถ่ายจริง ๆ แต่เป็นภาพโดยคอมพิวเตอร์กราฟฟิก และการตีความตามจินตนาการ ว่าหลุมดำควรจะมีหน้าตาอย่างไร ร้อยกว่าปีก่อน อัลเบิร์ต ไอสไตน์ ตีพิมพ์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขาเป็นครั้งแรก หลายปีหลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอหลักฐาน ที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่เราคาดการได้จากทฤษฎีนี้ ซึ่งก็คือหลุมดำ ยังไม่ได้รับการสังเกตโดยตรง แม้ว่าเราจะมีแนวคิดอยู่บ้าง ว่าหลุมดำน่าจะมีหน้าตาอย่างไร เราไม่เคยที่จะถ่ายภาพมันได้จริง ๆ มาก่อน อย่างไรก็ตาม คุณอาจประหลาดใจ ที่รู้ว่า นั่นมันกำลังจะเปลี่ยนไป เราอาจได้เห็นภาพแรกของหลุมดำ ในอีกสองสามปีข้างหน้า การถ่ายภาพแรกนั้นจะตกเป็นหน้าที่ ของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ กล้องโทรทรรศน์ขนาดเท่าโลก และกระบวนวิธีที่ก่อร่างภาพ ที่เป็นผลลัพธ์ขึ้นมา แม้ว่า ฉันไม่อาจแสดงให้คุณเห็น ถึงภาพจริงของหลุมดำได้ในวันนี้ ฉันก็อยากที่จะให้คุณได้ดูอย่างคร่าว ๆ ถึงความพยายาม ที่จะทำให้ได้ภาพแรกนั้นมา ฉันชื่อ เคที โบวแมน เป็นนักศึกษาปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัย MIT ฉันทำงานวิจัยในห้องทดลองวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่มีจุดประสงค์คือทำให้คอมพิวเตอร์ มองภาพผ่านรูปและวีดีโอ ถึงแม้ว่าฉันจะไม่ใช่นักดาราศาสตร์ วันนี้ ฉันอยากจะแสดงให้คุณเห็น ว่าฉันสามารถที่จะมีส่วนร่วม ในโครงการที่น่าตื่นเต้นนี้ได้อย่างไร ถ้าคุณออกไป นอกเขตแสงไฟของเมืองยามค่ำคืนนี้ คุณอาจโชคดีได้เห็นทิวทัศน์ที่น่าทึ่ง ของกาแล็กซีทางช้างเผือก และถ้าคุณสามารถมองผ่านดาวนับล้าน ไกลออกไป 26,000 ปีแสง สู่ใจกลางของทางช้างเผือกที่บิดเกลียว เราจะไปถึงกลุ่มดาว ณ ใจกลาง เพ่งผ่านฝุ่นในกาแล็กซี่ ด้วยกล้องโทรทรรศน์อินฟาเรด นักดาราศาสตร์ได้เฝ้าดูดาวเหล่านี้ มาตลอด 16 ปี แต่สิ่งที่น่าทึ่งที่สุด คือสิ่งที่พวกเขาไม่ได้เห็น เหมือนว่าดาวเหล่านี้ มีวงโคจรอยู่รอบ ๆ สิ่งล่องหน โดยการติดตามเส้นทางโคจรของดาว นักดาราศาสตร์ได้สรุปว่า สิ่งเดียวที่เล็กและหนักพอ ที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่เช่นนี้ได้ ก็คือหลุมดำที่มีมวลมหาศาล มันคือวัตถุที่มีความหนาแน่นมาก ที่ดูดทุกสิ่งที่ย่างกรายเข้าไปใกล้มันเกินไป แม้แต่แสง แต่จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเรามองลึกลงไปอีก มันจะเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะเห็น อะไรที่ตามนิยามแล้วเราไม่อาจมองเห็น ค่ะ กลายเป็นว่า ถ้าเรามองลึกเข้าไป ในความยาวคลื่นวิทยุ เราน่าจะได้เห็นวงแหวนของแสง ที่เกิดจากเลนส์แรงโน้มถ่วง ของพลาสมาร้อน ที่ยิงออกมารอบ ๆ หลุมดำ อีกนัยหนึ่งก็คือ หลุมดำทอดเงา ไปบนวัตถุพื้นหลังที่สว่าง ทำให้เกิดรูปทรงกลมของความมืด วงแหวนที่สว่างเผยถึงขอบที่เท่า ๆ กัน ของหลุมดำ ที่ซึ่งแรงดึงจากแรงโน้มถ่วง มีความรุนแรงมาก จนแม้แต่แสงก็ไม่อาจเล็ดลอดออกมาได้ สมการของไอสไตน์ได้ทำนายถึง ขนาดและรูปร่างของวงแหวนนี้เอาไว้ ฉะนั้นการถ่ายภาพมันได้ ไม่เพียงแต่ว่าจะเจ๋ง แต่มันยังอาจช่วยให้เรา ยืนยันความถูกต้องของสมการนี้ได้ ในสภาวะที่สุดโต่ง อย่างบริเวณรอบ ๆ หลุมดำ อย่างไรก็ตาม หลุมดำนี้ ห่างไกลจากเรามาก จากโลกของเรา วงแหวนนี้ดูเล็กมาก ๆ ในขนาดเดียวกับผลส้ม ที่ตั้งอยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ นั่นทำให้การถ่ายภาพของมันยากมาก ๆ ทำไม่น่ะหรือคะ คำตอบตกอยู่ที่สมการง่าย ๆ เนื่องจากปรากฏการณ์ ที่เรียกว่า การเลี้ยวเบน มันคือข้อจำกัดพื้นฐาน ต่อวัตถุที่มีขนาดเล็กที่สุดที่เราสามารถเห็นได้ สมการที่ทำให้เกิดผลลัพธ์นี้กล่าวว่า เพื่อที่จะเห็นสิ่งที่เล็กลงไปอีก เราจะต้องสร้างกล้องโทรทรรศน์ ที่ใหญ่ขึ้นไปอีก แต่แม้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ ที่มีกำลังขยายสูงสุดบนโลก มันก็ไม่อาจให้ความละเอียดมากพอ ที่จะเห็นภาพพื้นผิวของดวงจันทร์ได้ อันที่จริง ที่แสดงอยู่นี้ คือภาพที่มีความสูงสุด ของดวงจันทร์ที่ถ่ายได้จากโลก มันมีความละเอียดประมาณ 13,000 จุด แต่ละจุดบรรจุผลส้มได้ 1.5 ล้านผล แล้วเราต้องการกล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่แค่ไหน เพื่อที่จะเห็นผลส้มบนพื้นผิวดวงจันทร์ แล้วถ้าเป็นหลุมดำล่ะ ค่ะ กลายเป็นว่าจากตัวเลข คุณสามารถคำนวณได้โดยง่ายว่า เราต้องการกล้องโทรทรรศน์ ที่มีขนาดเท่ากับโลกทั้งใบ (เสียงหัวเราะ) ถ้าเราสามารถสร้างกล้องโทรทรรศน์ ที่มีขนาดเท่าโลกได้ เราก็จะมองเห็นวงแหวนของแสงได้ชัดเจน ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกเหตุการณ์ที่เส้นขอบ ของหลุมดำ แม้ว่าภาพจะไม่ได้แสดงรายละเอียด ทั้งหมดที่เราต้องการเห็น ในการผลิตภาพจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ มันอาจทำเราได้แอบมองจริง ๆ เป็นครั้งแรก ว่าสิ่งแวดล้อมรอบหลุมดำเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตาม คุณก็คงนึกออกว่า การสร้างกล้องโทรทรรศน์ที่เป็นจานเดี่ยว ที่มีขนาดเท่ากับโลกนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่วลีติดหูของ มิก แจ็กเกอร์ "คุณไม่อาจได้สิ่งที่อยากได้เสมอไป แต่ถ้าคุณลองดูบ้างแล้วล่ะก็ คุณอาจจะพบว่า คุณได้ในสิ่งที่คุณต้องการ" และด้วยการเชื่อมกล้องโทรทรรศน์ จากทั่วโลก ความร่วมมือระดับนานาชาติ ที่เรียกว่า อีเวนท์ ฮอไรซัน เทเลสโคป ก็สร้างกล้องโทรทรรศน์เชิงคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดเท่ากับโลกขึ้นมา ซึ่งมันสามารถแยกแยะโครงสร้าง ในระดับขอบฟ้าเหตุการณ์ของหลุมดำ เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์นี้ ถูกวางแผนว่าจะถ่ายภาพแรก ของหลุมดำในปีหน้า กล้องโทรทรรศน์แต่ละตัว ในเครือข่ายทั่วโลกทำงานรวมกัน ด้วยการเชื่อมโยง ผ่านนาฬิการะดับอะตอมที่แม่นยำ กลุ่มนักวิจัยในแต่ละพื้นที่จะจับแสง โดยการรวบรวมข้อมูล หลายพันเทราไบต์ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกประมวลผล ในห้องทดลองที่แมสซาชูเซส แล้วเราทำได้อย่างไร จำได้ไหมคะ ว่าถ้าเราอยากเห็นหลุมดำ ณ ใจกลางกกาแล็กซี่ของเรา เราต้องสร้างกล้องโทรทรรศน์ ที่มีขนาดใหญ่เท่าโลก ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ลองสมมติกันสักครู่หนึ่ง ว่าเราสามารถสร้าง กล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดเท่าโลกได้ นั่นคงจะประมาณว่า เราเปลี่ยนโลกของเรา ให้กลายเป็นลูกบอลดิสโก้ กระจกแต่ละบานจะเก็บแสง ที่เราจะสามารถนำไปรวมกัน เพื่อประกอบขึ้นเป็นภาพ อย่างไรก็ตาม สมมติว่าเรา เอากระจกส่วนใหญ่ออกไปซะ และยังมีกระจกเหลืออยู่บ้าง เราอาจจะลองรวมข้อมูลเหล่านี้เข้าด้วยกัน แต่ตอนนี้มันมีรูมากมาย กระจกที่เหลืออยู่แทนตำแหน่ง ที่เรามีกล้องโทรทรรศน์ มันถือเป็นจำนวนที่น้อยมาก สำหรับการวัดเพื่อจะสร้างภาพขึ้นมา แต่แม้ว่าเราจะจัดเก็บแสง ณ ตำแหน่งของกล้องโทรทรรศน์ไม่กี่แห่ง เมื่อโลกหมุน เราก็จะได้เห็นการวัดใหม่ หรือกล่าวได้ว่า เมื่อลูกบอลดิสโก้หมุนไป กระจกก็เปลี่ยนตำแหน่งตามไปด้วย และเราก็ได้สังเกต ส่วนของภาพที่แตกต่างออกไป กระบวนวืธีสร้างภาพที่เราพัฒนาขึ้น จะเติมเต็มช่องว่างที่หายไปของลูกบอลดิสโก้ เพื่อที่จะสร้างเป็นนภาพของหลุมดำขึ้นมา ถ้าเรามีกล้องโทรทรรศน์ ที่ตั้งอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลก อีกนัยหนึ่งก็คือ ลูกบอลดิสโก้ทั้งลูก นี่คงจะเป็นเรื่องที่ดีทีเดียว อย่างไรก็ตาม เราเห็นเพียงบางตัวอย่าง และด้วยเหตุผลนี้เอง มันมีภาพที่เป็นไปได้มากมาย ที่สอดคล้องกันอย่างสมบูรณ์ กับการวัดจากกล้องโทรทรรศน์ของเรา อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ว่าทุก ๆ ภาพ จะถูกสร้างขึ้นมาแบบทัดเทียมกัน บางภาพก็มองดูเหมือนกับสิ่งที่เราคิดว่าเป็นภาพ มากกว่าภาพอื่น ๆ ฉะนั้น บทบาทของฉันในการช่วยถ่ายภาพแรก ของหลุมดำ ก็คือการออกแบบกระบวนวิธี ที่จะหาภาพที่สมเหตุสมผล ที่ลงตัวกับการวัดจากกล้องโทรทรรศน์ เช่นเดียวกับศิลปินด้านนิติเวช ที่ร่างภาพโดยใช้คำบรรยายที่จำกัด แต่ละชิ้นถูกประกอบเข้าด้วยกัน โดยใช้ความรู้เรื่องโครงสร้างของหน้า กระบวนวิธีในการสร้างภาพที่ฉันพัฒนาขึ้น ใช้ข้อมูลที่จำกัดจากกล้องโทรทรรศน์ เพื่อพาเราไปยังภาพที่ยังดูเหมือน กับสิ่งที่อยู่ในอวกาศของเรา การใช้กระบวนวิธีเหล่านี้ เราสามารถปะติดปะต่อภาพเข้าด้วยกัน จากข้อมูลที่มีอยู่อย่างบางตา และรกรุงรัง นี่คือตัวอย่างการสร้างภาพ โดยใช้ข้อมูลจำลอง เมื่อเราแกล้งเล็งกล้องโทรทรรศน์ของเรา ไปยังหลุมดำ ณ ใจกลางกาแล็กซี่ แม้ว่านี่เป็นเพียงการจำลอง การสร้างภาพขึ้นมานี้ให้ความหวังกับเรา ว่าไม่ช้าไม่นาน เราจะสามารถ ถ่ายภาพแรกของหลุมดำได้อย่างน่าเชื่อถือ และด้วยมัน เราจะสามารถ กะขนาดของวงแหวนของมันได้ แม้ว่าเราจะอยากจะพูดถึงรายละเอียด ของกระบวนวิธีนี้ โชคดีสำหรับคุณค่ะ เราไม่มีเวลา แต่ฉันอยากที่จะให้คุณได้แนวคิดคร่าว ๆ ว่าเรากำหนดหน้าตาของอวกาศของเราอย่างไร และเราใช้การสร้างภาพนี้ และยืนยันผลลัพธ์ของเราได้อย่างไร เมื่อภาพที่เป็นไปได้มีจำนวนไม่จำกัด นั่นอธิบายได้อย่างสมบูรณ์ ว่าการวัดกล้องโทรทรรศน์ของเรา เราจะต้องเลือกระหว่างพวกมันในบางแง่มุม เราจะต้องทำด้วยการจัดอันดับภาพ ตามความน่าจะเป็น ว่าพวกมันจะเป็นหลุมดำมากแค่ไหน จากนั้นเลือกภาพที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด ฉันหมายความว่าอย่างไรน่ะหรือคะ เอาเป็นว่าเราพยายามสร้างแบบจำลอง ที่บอกเราว่ามีความน่าจะเป็นแค่ไหน ที่ภาพนั้นจะปรากฏบนเฟสบุ๊ก เราอยากจะให้แบบจำลองบอกว่า มันไม่น่าจะเป็นไปได้ที่ใครสักคน จะโพสภาพรุงรังทางซ้ายนี้ และน่าจะเป็นไปได้ที่ใครสักคน จะถ่ายภาพเซลฟี่ อย่างภาพทางขวามือ ภาพตรงกลางค่อนข้างมัว ฉะนั้น แม้ว่ามันน่าจะอยู่บนเฟสบุ๊ก เมื่อเปรียบเทียบกับภาพที่รกรุงรัง มันน่าจะมีโอกาสน้อยกว่า ที่เราจะได้เห็นมันเมื่อเทียบกับภาพถ่ายเซลฟี่ แต่เมื่อมันเป็นภาพที่เกี่ยวกับหลุมดำ เราพบกับปริศนาจริง ๆ เราไม่เคยเห็นหลุมดำมาก่อน ในกรณีนั้น อะไรที่ควรจะเป็นภาพหลุมดำ และเราควรอนุมานอย่างไร เกี่ยวกับโครงสร้างของหลุมดำ เราควรพยายามใช้ภาพ จากการจำลองที่เราได้ทำ อย่างภาพหลุมดำจากเรื่อง "อินเทอร์สเตลล่า" แต่ถ้าเราทำอย่างนี้ มันอาจทำให้เกิดปัญหาใหญ่ จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าทฤษฎีของไอสไตน์ไม่ถูกต้อง เราอาจจะยังต้องการสร้างภาพที่แม่นยำ ของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ขึ้นมาใหม่ ถ้าเราใช้สมการของไอสไตน์มากเกินไป ในกระบวนวิธีของเรา เราจะลงเอยที่การเห็นสิ่งที่เราอยากเห็น หรืออีกนัยหนึ่ง เราอยากเปิดตัวเลือกเอาไว้ สำหรับช้างตัวใหญ่ ที่อยู่ ณ ใจกลางของกาแล็กซี่ (เสียงหัวเราะ) ชนิดของภาพที่ต่างกัน มีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน เราสามารถบอกได้อย่างง่ายดาย ถึงความแตกต่างระหว่างภาพหลุมดำจำลอง และภาพที่เราถ่ายได้ในชีวิตประจำวันบนโลก เราต้องการวิธีการที่จะบอกกระบวนวิธีของเรา ว่าภาพมีหน้าตาอย่างไร โดยปราศจากการบังคับองค์ประกอบชนิดหนึ่ง ๆ ของภาพมากเกินไป วิธีหนึ่งที่เราสามารถก้าวข้ามมันไปได้ ก็คือโดยการบังคับองค์ประกอบ ของภาพในลักษณะต่าง ๆ และดูว่าชนิดต่าง ๆ ของภาพ จะมีผลต่อการสร้างภาพของเราอย่างไร ถ้าชนิดของภาพทั้งหมด ให้ภาพที่มีหน้าตาคล้าย ๆ กัน เราก็จะมั่นใจได้มากขึ้น ว่าการสมมติภาพขึ้นมานี้ จะไม่ลำเอียงมากเกินไป มันคล้าย ๆ การให้คำบรรยายเดียวกัน กันศิลปินร่างภาพสามคนที่กระจายอยู่ทั่วโลก ถ้าเราทุกคนผลิตภาพที่มีหน้าตาคล้าย ๆ กัน เราก็จะเริ่มมั่นใจมากขึ้น ว่าพวกเราไม่บังคับให้เกิดความอคติทางวัฒนธรรม ในการวาดภาพจนเกินไป วิธีการหนึ่งที่เราสามารถลองบังคับ องค์ประกอบภาพที่แตกต่างกันได้ คือการใช้ชิ้นส่วนของภาพที่มีอยู่ เราจึงนำชุดของภาพจำนวนมาก และแยกพวกมันเป็นชิ้นภาพเล็ก ๆ จากนั้นเราก็มองมัน เหมือนเป็นชื้นปริศนาเล็ก ๆ และใช้ชิ้นปริศนาที่เห็นบ่อย ๆ เพื่อปะติดปะต่อภาพ ที่เข้ากันได้กับการวัดจากกล้องโทรทรรศน์ ชนิดของภาพที่ต่างกัน มีชุดของชิ้นปริศนาที่แตกต่างกันมาก แล้วจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อเราใช้ข้อมูลเดียวกัน แต่ใช้ชุดของชิ้นข้อมูลที่ต่างกัน เพื่อสร้างภาพขึ้นใหม่ เรามาเริ่มกันที่ชิ้นปริศนาภาพจำลองหลุมดำ เอาล่ะ มันดูสมเหตุสมผล มันดูเหมือนสิ่งที่เราคาดหวังเอาไว้ ว่าหลุมดำจะมีหน้าตาอย่างไร แต่เราได้มันมา เพราะว่าเราใช้ชิ้นภาพเล็ก ๆ ของภาพจำลองหลุมดำหรือเปล่า ลองใช้ชุดของชิ้นภาพปริศนาอีกชุด จากวัตถุในอวกาศที่ไม่ใช่หลุมดำ เอาล่ะ เราได้ภาพที่มีหน้าตาคล้าย ๆ กัน แล้วชิ้นส่วนต่าง ๆ จากชีวิตประจำวันเรา อย่างภาพที่คุณถ่ายได้ จากกล้องส่วนบุคคลของคุณล่ะ เยี่ยมมากค่ะ เราเห็นภาพเดียวกัน เมื่อเราได้ภาพเดียวกันนี้ จากชุดชื้นปริศนาที่ต่างกันแล้ว เราก็จะมั่นใจมากขึ้น ว่าการสมมติภาพที่เราสร้างขึ้นมานี้ ไม่ได้เป็นภาพผลลัพธ์ ที่เกิดจากความลำเอียงจนมากเกินไป อีกสิ่งหนึ่งที่เราทำได้คือ การนำชุดชื้นปริศนาเดียวกันนี้ อย่างเช่นภาพที่ได้จากภาพในชีวิตประจำวัน ใช้สร้างแหล่งภาพขึ้นมาใหม่ ในแบบจำลองของเรา เราสมมติให้หลุมดำมีหน้าตา คล้ายกับวัตถุในอวกาศที่ไม่ใช่หลุมดำ เช่นเดียวกับภาพในชีวิตประจำวัน อย่างช้างที่อยู่ ณ ใจกลางกาแล็กซี่ เมื่อผลลัพธ์ของกระบวนวิธีทางด้านล่าง มีหน้าตาคล้ายกันมาก ๆ กับภาพจริงของการจำลองที่อยู่ด้านบน เราก็จะมั่นใจในกระบวนวิธีของเราได้มากขึ้น และฉันอยากที่จะย้ำตรงนี้ว่า ภาพเหล่านี้ถูกสร้างขึ้น โดยการปะติดปะต่อชิ้นส่วนเล็ก ๆ จากภาพถ่ายในชีวิตประจำวัน อย่างเช่นภาพที่คุณถ่ายไว้ โดยกล้องส่วนบุคคลของคุณ ฉะนั้น ภาพหลุมดำที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน สุดท้ายแล้ว อาจถูกสร้างขึ้นโดยการปะติดปะต่อ ภาพที่เราเห็นกันเป็นประจำ ของคน ตึกรามบ้านช่อง ต้นไม้ แมวและหมา แนวคิดเรื่องการสร้างภาพในลักษณะนี้ จะทำให้การถ่ายภาพแรกของหลุมดำเป็นไปได้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า มันจะยืนยัน ความถูกต้องของทฤษฎีชื่อก้อง ที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อถือ และพึ่งพามันเป็นพื้นฐาน แต่แน่นอนว่า การทำให้แนวคิด การสร้างภาพแบบนี้ใช้การได้นั้น ไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย ถ้าปราศจากกลุ่มนักวิจัยที่น่าทึ่ง ที่ฉันรู้สึกเป็นเกียรติเหลือเกิน ที่ได้ร่วมงานกับพวกเขา มันยังทำให้ฉันประหลาดใจอยู่เลย ว่าถึงแม้ว่าฉันเริ่มทำโครงการนี้ โดยปราศจากพื้นฐานเรื่องฟิสิกส์อวกาศ สิ่งที่เราได้จากความร่วมมือ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์นี้ อาจส่งผลให้เราได้ภาพแรกของหลุมดำ แต่โครงการใหญ่อย่าง อีเวน ฮอไรซัน เทเลสโคป นี้ ประสบความสำเร็จได้ด้วย ความเชี่ยวชาญหลากสาขา จากบุคคลที่หลากหลาย ที่นำมันเข้ามาปะติดปะต่อกัน เราคือเบ้าหลอมของนักดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และวิศวกร นี่คือสิ่งที่จะทำให้มันเกิดขึ้นได้จริง เพื่อที่จะทำให้เกิดบางสิ่ง ที่ครั้งหนึ่งเราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ฉันอยากสนับสนุนให้ทุก ๆ คน ช่วยกันขยายพรมแดนทางวิทยาศาสตร์ แม้ว่าในตอนแรกมันอาจจะดูเป็นปริศนา เฉกเช่นเดียวกับหลุมดำ ขอบคุณค่ะ (เสียงปรบมือ)