ครั้งแรกที่ผมได้ยืนในห้องผ่าตัด และดูการผ่าตัดจริง ผมไม่คิดจะคาดหวังอะไร ผมเป็นนักศึกษามหาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผมคิดว่า มันคงจะเหมือนในทีวี เพลงฟังดูน่ากลัว เปิดคลอไป เม็ดเหงื่อหลั่งไหลลงจากใบหน้าศัลยแพทย์ แต่มันไม่ใช่แบบนั้นเลย ในวันนั้น มีเสียงเพลง ผมคิดว่า เป็นเพลงยอดฮิตของมาดอนน่า (เสียงหัวเราะ) และมีเสียงพูดคุยกันมากมาย ไม่ใช่แค่เกี่ยวกับอัตราเต้นของหัวใจคนป่วย แต่เกี่ยวกับกีฬา และแผนเที่ยวในวันหยุด ตั้งแต่นั้นมา ยิ่งผมดูการผ่าตัดมากเท่าได ผมยิ่งรับรู้ว่า มันเป็นอย่างนี้เอง แบบที่แปลกออกไป มันก็แค่อีกวันในที่ทำงาน แต่บ่อยครั้งมาก ที่เสียงดนตรีถูกทำให้เบาลง ทุกคนหยุดคุยกัน และจ้องไปที่สิ่งเดียวกัน นั่นเป็นเวลาที่คุณรู้ว่าบางอย่างที่สำคัญมาก และอันตรายอย่างยิ่ง กำลังเกิดขึ้น ครั้งแรกที่ผมเห็นนั้น ผมกำลังดูผ่าตัดแบบหนึ่ง เรียกว่า การผ่าตัดทางกล้อง และสำหรับท่านทั้งหลายที่ไม่คุ้นกับมัน การผ่าตัดทางกล้องนั้น แทนที่จะผ่าแผลกว้าง อย่างที่คุณอาจคุ้นเคยเกี่ยวกับการผ่าตัด การผ่าตัดทางกล้อง คือการที่ศัลยแพทย์ทำ รอยผ่าเล็กๆ 3 รอย หรือมากกว่า ในผู้ป่วย แล้วสอดใส่เครื่องมือที่ยาวบางเหล่านี้ และกล้องตัวหนึ่งเข้าไป แล้วทำกระบวนการผ่าตัดจริง ภายในตัวผู้ป่วย ซึ่งดีมาก เพราะทำให้โอกาสติดเชื้อลดลง เจ็บน้อยกว่ามาก และเวลาพักฟื้นสั้นกว่า แต่มันก็มีข้อเสียที่ต้องคำนึงถึง เพราะรอยผ่านั้นเกิดจาก เครื่องมือที่ยาวและแหลม เรียกว่า ท่อแทงเจาะหรือโทรคาร์ (trocar) และวิธีที่ศัลยแพทย์ใช้เครื่องมือนี้ คือเขาจับมัน และกดมัน เข้าไปในช่องท้อง จนกว่ามันจะทะลุลงไป และเหตุผลที่ทำไมทุกคน ในห้องผ่าตัดนั้น จ้องไปที่เครื่องมือชิ้นนั้น ในวันนั้น เป็นเพราะว่า เขาต้องระวังแบบสุดๆ ที่จะไม่เจาะจนทะลุผ่าน และ เจาะมันเข้าไปในอวัยวะและเส้นเลือดข้างใต้ แต่ปัญหานี้ ทุกท่านคงคุ้นกันดีอยู่แล้ว เพราะผมมั่นใจมากๆว่า คุณเคยเห็นมันที่อื่น (เสียงหัวเราะ) จำนี่ได้มั้ยครับ (เสียงปรบมือ) คุณรู้ว่า อาจจะเป็นวินาทีไหนก็ได้ ที่หลอดจะเจาะทะลุผ่านเข้าไป และคุณไม่รู้ว่า มันจะออกไปอีกด้านหนึ่ง และตรงมาที่มือคุณ หรือคุณจะทำให้นํ้ากระเด็นไปทั่ว แต่คุณกลัว ใช่มั้ยครับ ไม่เว้นแม้แต่สักครั้ง ที่คุณทำสิ่งนี้ คุณได้ประสบการณ์ฟิสิกส์ขั้นพื้นฐาน เหมือนที่ผมกำลังดูอยู่ ในห้องผ่าตัดวันนั้น และกลายเป็นว่า มันเป็นปัญหาอย่างแท้จริง ในปี 2003 FDA ได้ออกมาประกาศว่า การใช้ท่อแทงเจาะ อาจเป็นขั้นที่อันตรายที่สุด ในการผ่าตัดที่รุกลํ้าร่างกายน้อยที่สุด อีกครั้ง ในปี 2009 เราเห็นรายงาน ที่บอกว่า ท่อแทงเจาะเป็นเหตุเกินครึ่งหนึ่ง ของอาการแทรกซ้อนหลักๆ ในการผ่าตัดทางกล้อง และ อ้อ ผมลืมบอกไป เรื่องนี้ ยังไม่เปลี่ยนไปเลย 25 ปีมาแล้ว เมื่อผมเข้าเรียนต่อปริญญาโท เรื่องนี้จึงเป็นสิ่งที่ผมอยากจะศึกษา ผมพยายามอธิบายให้เพื่อนของผม ว่าผมกำลังใช้เวลาทำอะไรกันแน่ และผมบอกว่า "มันก็เหมือนกับเวลาคุณเจาะผ่านผนังห้อง เพื่อแขวนอะไรสักอย่างในอพาร์ทเม้นท์ ทันทีที่สว่านเจาะทะลุกำแพงครั้งแรก และมีรอยเจาะนี่ ใช่มั้ยครับ แล้วเขาก็มองผมและพูดว่า "หมายถึง เหมือนเจาะเข้าไปในสมองคนใช่มั๊ย" ผมจึงถามกลับว่า"ว่าไงนะ?" (เสียงหัวเราะ) แล้วผมก็ค้นดูและเขาเจาะเข้าไปในสมองคนจริงๆ กระบวนการผ่าตัดสมองมากมายนั้น จริงๆแล้ว เริ่มต้นด้วยการเจาะผ่านกะโหลก และหากศัลยแพทย์ไม่ระมัดระวัง เขาอาจเจาะทะลุตรงเข้าไปในสมองได้ นี่จึงเป็นชั่วขณะที่ผมเริ่มคิด ใช่ การเจาะกระโหลกศีรษะ การผ่าตัดทางกล้อง ทำไมไม่ดูด้านอื่นๆทางการแพทย์ด้วย? คิดดู คุณไปพบหมอครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ และคุณไม่ได้ยึดติดกับบางอย่าง ใช่มั้ยครับ คังนั้น ความเป็นจริงก็คือ การเจาะทางการแพทย์ มีอยู่ทุกที่ และนี่เป็นเพียงแค่สองกระบวนการ ที่ผมพบ ที่เกี่ยวข้องกับขั้นเจาะเนื้อเยื่อ และถ้าเราเอาแค่สามอย่าง ได้แก่ ผ่าตัดทางกล้อง การบล็อกหลัง และเจาะกระโหลก พวกนี้ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนกว่า 30,000 โรค ในทุกๆปี แค่ประเทศนี้ ประเทศเดียว ผมถือว่า มันเป็นปัญหาที่ควรค่าแก่การแก้ไข ดังนั้น เรามาดูอุปกรณ์บางอย่าง ที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการประเภทนี้ ได้พูดถึงการบล็อกหลัง นี่คือเข็มฉีดเข้าไป ใช้ในการเจาะผ่านเอ็นในสันหลัง และส่งตัวยาชา ในระหว่างการคลอดบุตร นี่เป็นชุดเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ไขกระดูก เครื่องมือพวกนี้ ใช้ทำโพรงในกระดูก และ เก็บไขกระดูกหรือตัวอย่างกระดูกที่มีรอยโรค นี่คือดาบปลายปืน จากสงครามกลางเมือง (เสียงหัวเราะ) ถ้าผมบอกไปว่าเป็นเครื่องมือเจาะทางการแพทย์ คุณอาจจะเชื่อผมไปแล้วก็ได้ เพราะว่า มันแตกต่างกันตรงไหนละครับ? ดังนั้น ยิ่งผมค้นคว้ามากขึ้นเท่าใด ผมก็ยิ่งคิดว่า มันจะต้องมี วิธีที่ดีกว่า ที่จะทำสิ่งนี้ และสำหรับผม กุญแจไขปัญหานี้ คือ เครื่องมือเจาะต่างๆเหล่านี้ทั้งหมด มีชุดของลักษณะฟิสิกส์พื้นฐานเหมือนกัน แล้วฟิสิกส์พวกนั้นคืออะไร เรากลับไปที่การเจาะทะลุกำแพงกัน คุณใช้แรงลงบนเครื่องเจาะ ไปที่กำแพง และนิวตันบอกว่า กำแพงจะใช้แรงต้านกลับมา เท่าๆกันและในทางตรงกันข้าม ดังนั้น เมื่อคุณเจาะกำแพง แรงเหล่านั้นจึงสมดุลย์กัน แต่แล้วในจังหวะขณะที่เครื่องเจาะ ทะลุไปอีกด้านหนึ่งของกำแพง เป็นครั้งแรก และจังหวังนั้นเอง ที่กำแพงไม่มีแรงต้านกลับ แต่สมองยังไม่ตอบสนองต่อแรงที่เปลี่ยนไปนั้น ในเสี้ยววินาทีนั้นเอง หรือนานเท่าใดก็ตาม คุณก็ยังใช้แรงผลักอยู่ และแรงที่ไม่สมดุลย์นั้น ทำให้เกิดความเร่ง และนั่นคือ แรงถลำ (the plunge) แต่ถ้าหากจังหวะที่คุณเจาะทะลุนั้น คุณสามารถดึงปลายแหลมนั้น กลับมาได้ และฝืนแรงที่เร่งเร็วไปข้างหน้าได้จริง นั่นคือ สิ่งที่ผมได้เริ่มต้นทำ จินตนาการว่าคุณมีเครื่องมือ ปลายแหลมๆสักอย่าง เพื่อตัดผ่านเนื้อเยื่อ วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะดึงปลายแหลมกลับมาได้ คืออะไรหรือ ผมเลือก ตัวสปิง เมื่อคุณยืดตัวสปริง ปลายนั่นก็จะยืดออกไป ดังนั้น มันก็พร้อมที่จะเจาะเนื้อเยื่อ แต่ตัวสปริงอยากจะดึงปลายกลับมา แล้วคุณจะควบคุมปลายนั่น ให้อยู่กับที่ จนถึงช่วงขณะที่เจาะทะลุได้อย่างไร ผมได้ใช้เครื่องกลไกชิ้นนี้ครับ เมื่อปลายของเครื่อง ถูกกดลงบนเนื้อเยื่อ กลไกนั้นจะขยายออก และอัดเข้าที่กับกำแพง และการเสียดสีที่เกิดขึ้นนั้น ล๊อกมันให้เข้าที่ กันไม่ให้สปริงหดปลายกลับ แต่เมื่อถึงจังหวะที่เจาะทะลุเป็นรู เนื้อเยื้อไม่สามารถออกแรงผลักที่ปลายได้อีก กลไกจึงคลายตัว สปริงหดกลับให้ปลายกลับมา ให้ผมแสดงสิ่งที่เกิดขึ้น แบบช้าๆ นี่ก็ประมาณ 2,000 เฟรมต่อวินาที และผมอยากให้คุณสังเกตตรงปลาย ตรงข้างล่างนั่น เกือบจะผ่านเนื้อเยื่อแล้ว คุณจะเห็นว่า ช่วงขณะที่เจาะทะลุ ตรงนั้น กลไกจะคลายตัวออก และหดปลายกลับ ผมอยากแสดงให้เห็นอีกครั้ง แบบใกล้ๆมากขึ้น คุณกำลังจะเห็นปลายใบมีดที่เเหลมคมนั้น และ ช่วงที่มันทะลุแผ่นยาง มันก็จะหายเข้าไปในปลอกมนสีขาวนี้ ตรงนั้นแหละครับ เกิดขึ้นในสี่ส่วนร้อยของวินาที หลังทะลุ เพราะเครื่องออกแบบการเจาะโดยใช้หลักฟิสิกส์ และไม่เจาะจงเฉพาะการเจาะกระโหลก หรือการผ่าตัดทางกล้อง หรือกระบวนการอื่นๆ จึงนำไปประยุกต์ใช้ได้ตลอดการแพทย์สาขาต่างๆ และในขนาดของการใช้งานที่ต่างกันออกไป แต่มันไม่ได้เหมือนแบบนี้เสมอไป นี่เป็นต้นแบบตัวแรกของผม ครับ พวกนั้นเป็นไม้ไอติม แล้วก็มีหนังยางอยู่ด้านบน ใช้ราว 30 นาทีในการทำ แต่มันก็ใช้งานได้ พิสูจน์ให้ผมรู้ว่าแนวคิดของผมใช้ได้ แสดงให้เห็นผลการทำงานสองปีในโครงการนี้ ผมทำงานเรื่องนี้ ก็เพราะว่า ปัญหานี้มันติดตรึงใจผมจริงๆ มันทำให้ผมต้องตื่นอยู่ทั้งคืน แต่ผมคิดว่า มันน่าจะตรึงใจคุณด้วย เช่นกัน เพราะผมบอกว่า การเจาะมีอยู่ทั่วทุกแห่ง หมายถึงว่า ณ จุดหนึ่งอาจเป็นปัญหาของคุณด้วย วันแรกในห้องผ่าตัดนั้น ไม่คาดคิดเลยว่าจะมาเป็นคนไข้ ของการใช้ท่อแทงเจาะ ปีที่แล้ว ผมเป็นไส้ติ่งอักเสบขณะเที่ยวกรีก ผมจึงเข้าโรงพยาบาลในกรุงเอเธนส์ และศัลยแพทย์บอกผมว่า เขาจะทำการผ่าตัดทางกล้อง เขาจะเอาใส้ติ่งออกมาทางรอยผ่าเล็กๆนั้น และเขาบอกเรื่องที่ผมคาดว่าจะหายป่วยอย่างไร และอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง เขาพูด "คุณจะถามอะไรมั๊ย" ผมก็บอกว่า "คำถามเดียวครับหมอ คุณจะใช้ท่อแทงเจาะแบบไหนครับ" คำอ้างอิงที่ผมชอบ เรื่องการผ่าตัดทางกล้อง จึงมาจากคุณหมอชื่อ เอช ซี จาโคเบียส "การเจาะเองนั่นแหละที่ทำให้เกิดความเสี่ยง" เป็นอ้างอิงที่ผมชอบเพราะ เอช ซี จาโคเบียส เป็นคนแรกที่ทำการผ่าทางกล้องกับคนป่วย และเขาเขียนไว้ในปี 1912 นี่จึงเป็นปัญหา ที่ทำให้คนบาดเจ็บและถึงตายมากกว่า 100 ปี จึงง่ายที่คิดกันว่าทุกปัญหาสำคัญภายนอกนั้น มีคณะผู้เชี่ยวชาญทำงาน 24 ชั่วโมงเพื่อแก้ ความจริงก็คือ มันไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป เราต้องพบปัญหาพวกนั้นให้มากขึ้น และหาวิธีแก้ปัญหาเหล่านั้น ดังนั้นถ้าคุณพบปัญหาที่ตรึงตาตรึงใจคุณ ขอให้คุณจงตื่นอยู่ทั้งคืน ให้ตัวคุณเองนั้นติดตรึงอยู่กับมัน เพราะว่ามีอีกหลายชีวิตที่ต้องช่วยรักษาไว้ (เสียงปรบมือ)