ไม่ว่าคุณจะคร่ำเคร่งเตรียมสอบ หรือพยายามเรียนรู้ เครื่องดนตรีชนิดใหม่ หรือแม้กระทั่งพยายามที่จะ เป็นเลิศในการเล่นกีฬาชนิดใหม่ การนอนอาจเป็นอาวุธลับแห่งความจำ [การนอนหลับกับวิทยาศาสตร์] การศึกษาบอกกับเราว่า การนอนสำคัญมากกับความจำ ในอย่างน้อย 3 ทาง ประการแรก เรารู้ว่าเราต้องนอนก่อนการเรียนรู้ เพื่อที่จะเตรียมสมองให้พร้อม เหมือนกับฟองน้ำแห้ง ๆ พร้อมสำหรับดูดซึมข้อมูลใหม่ ๆ ถ้าไม่ได้นอน วงจรความจำภายในสมอง ก็จะเต็มไปด้วยข้อมูลที่ได้ก่อนหน้านี้ และเราจะไม่สามารถรับข้อมูลใหม่ ๆ ได้ เราจะไม่สามารถหาพื้นที่ให้ความจำใหม่ ๆ ได้ แต่มันไม่ได้สำคัญแค่ว่าเราต้องนอน ก่อนการเรียนรู้ เพราะเรายังรู้อีกว่า เราต้องนอนหลังการเรียนรู้ด้วย เพื่อที่จะบันทึกความจำใหม่ ๆ เหล่านั้น เพื่อที่เราจะไม่ลืม ความจริงแล้ว การนอนหลับ ช่วยให้ความจำยังคงอยู่ ภายในสมอง ฝังความจำเหล่านั้นไว้ ภายในสถาปัตยกรรมของโครงข่ายประสาท และเราเริ่มค้นพบว่า การนอนมีประโยชน์ต่อ การสร้างความทรงจำได้อย่างไร กลไกแรกคือ กระบวนการถ่ายโอนข้อมูล ตรงนี้ เราสามารถพูดถึง โครงสร้างที่ต่างกันสองส่วน ภายในสมอง โครงสร้างแรกเรียกว่า ฮิปโปแคมปัส ฮิปโปแคมปัสอยู่ตรงด้านซ้ายและขวา ของสมอง เราสามารถนึกถึงฮิปโปแคมปัส ว่าเป็นเหมือนกล่องรับข้อความ ภายในสมอง มันเก่งในเรื่อง การรับข้อมูลความจำใหม่ ๆ และเก็บเอาไว้ โครงสร้างที่สอง ที่เราจะพูดถึง เรียกว่า เปลือกสมอง เนื้อเยื่อย่น ๆ ขนาดใหญ่ ที่อยู่ชั้นบนสุดของสมอง ระหว่างการนอนหลับลึก จะเกิดกลไกการโอนถ่ายข้อมูล นึกถึงฮิปโปแคมปัสเหมือน USB และเปลือกสมองเป็นเหมือนฮาร์ดไดรฟ์ ระหว่างวัน เราทำนั่นทำนี่ และเรารวบรวมข้อมูลมาจำนวนมาก จากนั้นระหว่างนอนหลับลึกตอนกลางคืน เนื่องจากข้อจำกัดในความสามารถในการจัดเก็บ เราจะต้องโอนถ่ายข้อมูลจากฮิปโปแคมปัส ไปยังฮาร์ดไดรฟ์ของสมอง หรือเปลือกสมอง และนั่นคือหนึ่งในกลไก ที่เกิดจากการนอนหลับลึก มันมีอีกหนึ่งกลไกที่เราเพิ่งพบ ซึ่งช่วยฝังความจำไว้ในสมอง มันเรียกว่า การเล่นซ้ำ หลายปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษา ว่าหนูเรียนรู้ได้อย่างไร ระหว่างที่พวกมันวิ่งไปทั่วเขาวงกต พวกเขาบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้น กับสมองส่วนความจำของหนู ในขณะที่หนูวิ่งไปทั่วเขาวงกต เซลล์สมองแต่ละเซลล์ จะจดจำเขาวงกตแต่ละส่วนเอาไว้ ถ้าคุณใส่เสียงลงไปในแต่ละเซลล์สมอง สิ่งที่คุณจะได้ยิน เมื่อหนูเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับเขาวงกต คือเสียงประจำของส่วนความจำนั้น มันจะเสียงประมาณนี้... (เสียงคีย์เปียโน) มันคือเสียงของการเรียนรู้ที่เราได้ยิน แต่แล้วพวกเขาก็ทำอะไรบางอย่างที่ชาญฉลาด พวกเขาฟังเสียงของสมอง ขณะที่หนูพวกนี้หลับด้วย และสิ่งที่พวกเขาได้ยิน มันไม่ธรรมดา หนู ตอนที่มันหลับ จะเริ่มเล่นความทรงจำของพวกมันซ้ำ แต่ตอนนี้มันเล่นซ้ำ แบบเร็วขึ้นเกือบ 10 เท่า กว่าตอนที่มันตื่น ซึ่งคุณจะเริ่มได้ยิน... (เสียงคีย์เปียโนที่เร็วขึ้น) นั่นเป็นอย่างที่สอง ที่การนอนช่วยให้เราความจำดีขึ้น การนอนหลับช่วยเล่นซ้ำ และบันทึกความทรงจำ ให้เป็นวงจรใหม่ในสมอง ทำให้การแสดงหน่วยความจำนั้นแข็งแกร่งขึ้น ประโยชน์ของการนอนต่อความจำประการสุดท้าย คือการผสานและการเชื่อมโยง ความจริงแล้วเราได้รู้ว่าการนอน เป็นเรื่องที่ฉลาดมากกว่าที่เราเคยคิด การนอนหลับ ไม่เพียงแค่เสริมสร้างความทรงจำของแต่ละคน การนอนยังช่วยเชื่อมโยง ความทรงจำใหม่ ๆ เข้าด้วยกันอย่างชาญฉลาด และผลลัพธ์คือ คุณตื่นขึ้นมาในวันรุ่งขึ้น พร้อมกับโครงข่ายของความเชื่อมโยง ที่ได้ปรับปรุงใหม่ เราสามารถคิดทางออก สำหรับปัญหาที่เคยติดขัด และนี่อาจจะเป็นเหตุผล ที่ไม่เคยมีใครบอกให้คุณ แหกตาตื่นเพื่อแก้ปัญหา ตรงกันข้าม คุณจะถูกบอกให้ไปนอนคิดซะ และนั่นคือสิ่งที่วิทยาศาสตร์สอนเรา