บริการส่งอาหาร ถือว่าเป็นสิ่งที่ช่วยคนรุ่นใหม่จากความหิว จากที่ผมได้คำนวณ คนอเมริกาสั่งอาหารมากกว่า 20 ล้านครั้ง ในแต่ละวัน โดยที่ร้านเกินครึ่งสามารถเดินไปซื้อได้ ถึงอย่างนั้น 9 ใน 10 ก็ให้รถไปส่งอาหารอยู่ดี พูดง่าย ๆ ก็คือ เราส่งบูร์ริโตที่หนักเพียง 2 ปอนด์ ด้วยรถยนต์ที่หนักมากกว่า 2 ตัน 20 ล้านครั้งต่อวัน เเรงงานที่มาส่งเเค่บูร์ริโตนั้น ก็คือโครงเหล็กหนักกว่า 2 ตัน พร้อมที่นั่งอุ่น ๆ พูดตรง ๆ ก็คือ เราติดการใช้รถยนต์ รู้หรือไม่ว่าที่สหรัฐฯ รถทุกคันมีที่จอดถึง 4 ที่ ในบางเมืองใหญ่ ๆ ที่เกินครึ่งในเมืองมีไว้เพื่อจอดรถโดยเฉพาะ เราออกแบบเมืองตามการขับรถ เพราะเราเลือกที่จะขับรถ ไม่ว่าจะ 2 ไมล์ หรือ 200 ไมล์ ไปคนเดียว หรือไปกันทั้งครอบครัว เรานั่งรถ SUV ไปซื้อทั้งกาแฟและโต๊ะกาแฟ ถ้าเราขับและใช้ที่จอดรถน้อยลง เราก็จะมีพื้นที่สำหรับบ้าน พื้นที่สังคมและสวนสาธารณะมากขึ้น ถ้าอยากได้แบบนั้น ก่อนอื่น เราต้องทบทวนการใช้รถยนต์ทุกวันนี้ เพื่อในอนาคต ถ้าไปแค่ 5 ช่วงตึก ก็ใช้จักรยานหรือสกูตเตอร์ ถ้ารีบก็เรียกโดรนโดยสารมารับ ถ้าต้องการอาหารก็ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาส่ง อาหารจะมาเสิร์ฟถึงที่ กลับไปที่เลข 20 ล้าน ที่คนอเมริกันสั่งอาหาร ถ้าเราทำให้การสั่งซื้ออยู่นอกพื้นที่ถนนได้ เราจะช่วยลดความจำเป็น ในการใช้รถมากถึง 1.5 ล้านคัน นี่แค่ในสหรัฐฯ ซึ่งนับเป็นสองเท่าของขนาดซานฟรานซิสโก ทีนี้ลองมาดูผลกระทบต่อเมืองอย่างเดลี หรือเตหะรานบ้านเกิดของผม ซึ่งมลพิษอากาศได้คร่าชีวิตคนหลายพันต่อปี เราจะลดปริมาณการขนส่งบนท้องถนนได้อย่างไร นั่นคือสิ่งที่น่าคิด ซึ่งผมและทีมงานได้พยามหาคำตอบมาตลอด 3 ปี และคำตอบก็อยู่ที่ช่วงตึกใดช่วงตึกหนึ่ง ของเมืองในอนาคต เราได้พยามสร้างหุ่นยนต์ไร้คนขับขนาดเล็ก ที่ขับเคลื่อนตามตรอกและทางเท้าไม่พลุกพล่าน บนทางเดิน พร้อมที่บรรจุสินค้าแน่นหนาก่อนนำส่ง ที่นี้ก่อนที่จะเล่าเกี่ยวกับหุ่นยนต์ต่อ มาทำการทดลองทางความคิดสั้น ๆ กัน ลองนึกภาพเมืองที่มีหุ่นยนต์หลายพันตัว ใช่แบบนี้รึเปล่า คนจำนวนมากอาจนึกถึง ภาพยนตร์ฮอลลิวู้ดแนวสังคมสิ้นหวัง แต่งานของเราคือออกแบบอนาคตที่เป็นมิตรกับคน แทนที่จะสร้างมนุษย์ต่างดาว เราเริ่มสร้างหุ่นยนต์ที่เข้าถึงได้มากขึ้น หุ่นยนต์ที่จะเข้ากับชุมชน แต่เราก็ต้องการความประหลาดใจ เล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วย สิ่งที่น่ารื่นรมย์แบบคาดไม่ถึง ลองคิดดูสิ คุณกำลังเดินอยู่บนถนน และคุณก็เห็นหุ่นยนต์ตัวแรก นั่นคือช่วงเวลาที่คุณจะตัดสินใจว่า นี่คืออนาคตที่คุณจะรักหรือจะกลัว และในเมื่อคนจำนวนมากมีความคิดด้านลบ เราต้องทำให้พวกเขาเปิดใจ เราต้องทำให้พวกเขาประหลาดใจและรื่นรมย์ เพื่อชนะใจพวกเขาให้ประทับใจตั้งแต่แรก นี่คือสิ่งที่พวกเราคิดขึ้นได้ เข้าถึงได้ แต่ก็เหนือความคาดหมาย เหมือนเป็นรถเข็น เหมือนเราเอาวอลล์- อี กับมินเนียนมารวมกัน ถ้าคุณอยู่ในซานฟรานซิสโกหรือลอสแอนเจลิส อาจมีหุ่นยนต์พวกนี้ไปส่งอาหารให้คุณแล้ว ทันทีที่พวกเรานำหุ่นยนต์ไปตั้งตามท้องถนน เราก็พบปัญหาที่น่าสนใจ เช่น หุ่นยนต์จะข้ามถนนยังไง หรือหุ่นยนต์จะปฏิสัมพันธ์กับผู้พิการยังไง แล้วเราก็ตระหนักได้ว่าเราต้องสอนหุ่นยนต์ ให้รู้จักสื่อสารกับผู้คน คนที่อยู่บนทางเท้ามาจากหลากสาขาอาชีพ เราจึงต้องคิดภาษาใหม่ ที่เป็นสากล เพื่อให้ผู้คนและหุ่นยนต์เข้าใจกันได้ ในทันที เพราะไม่มีใครมานั่งอ่านคู่มือหรอก เราเริ่มจากดวงตา เพราะภาษาตาเป็นภาษาสากล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหุ่นยนต์จะไปทางไหน หรือว่ามันสับสน อีกอย่าง ตาทำให้หุ่นยนต์เป็นมนุษย์มากขึ้น เรายังต้องใช้เสียง อย่างเช่น การสร้างเสียงวิ่ง โดยเพิ่มความถี่บ่อยๆ ให้ผู้ที่พิการทางสายตารู้ตำแหน่งหุ่นยนต์ โดยใช้ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ แต่เท่านี้ก็ยังไม่เพียงพอ ที่ทางแยก รถจะตัดหน้าหุ่นยนต์ บางครั้งคนขับก็จะงุนงง เพราะหุ่นยนต์ต้องใช้เวลานานกว่าจะข้ามถนน แม้แต่คนเดินเท้าทั่วไปยังงง บางทีก็ไม่แน่ใจว่าจะให้หุ่นยนต์เดินฝั่งไหน เพราะหุ่นยนต์เปลี่ยนทิศทางบ่อย เวลาเคลื่อนที่ แต่ก็ทำให้เกิดไอเดียใหม่ขึ้นมา ว่าหากเราคิดภาษาสากลจากท่าทาง อย่างที่สี่แยก หุ่นยนต์จะขยับไปข้างหน้านิดหน่อยก่อนจะข้าม เพื่อให้สัญญาณคนขับว่าถึงคิวพวกมันแล้ว ถ้ามันเห็นคนนั่งรถเข็น ก็จะให้ทางโดยการหันหน้าออกจากทางเท้า เพื่อสื่อว่าพวกมันจะไม่ขยับ พวกคุณบางคนอาจจำเรื่องนี้ได้ ปี 2015 นักวิจัยแคนาดา ได้ส่งหุ่นยนต์ไปโบกรถ ทั่วสหรัฐฯ แต่ก็ไปไม่ได้ไกล พบว่าหุ่นยนต์สามารถใช้ทักษะสังคมบางอย่าง เช่น ถ้ามันไปเจอคนที่ใช้งานไม่เป็น นักวิจัยคาร์เนกีเมลลอนให้หุ่นยนต์แกล้งตาย เพราะคนจะรู้สึกแย่ถ้าคิดว่าเป็นคนทำมันพัง แต่หุ่นยนต์ส่งของไม่ใช่ของเล่น ขนาดไม่ได้เล็ก แล้วก็อยู่ในที่สาธารณะ เราพบว่าถ้าจะไม่ให้คนที่ใช้งานไม่เป็น มายุ่งกับหุ่นยนต์ หุ่นยนต์ต้องสร้างการตระหนักรู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการแกล้งตาย ในกรณีนี้ หุ่นยนต์ต้องยอมรับสถานการณ์ เพื่อให้คนหลีกทางให้ หรือให้คำแนะนำ ถ้าคุณเป็นหุ่นยนต์และเห็นเด็กตัวเล็ก ๆ วิ่งตรงไปที่ผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ที่สุด กลายเป็นว่าเด็กบางคนชอบแกล้งหุ่นยนต์ เพราะฉะนั้น นอกจากความคิด แบบสังคมสิ้นหวังแล้ว ในหนังฮอลลีวู้ดยังมีหุ่นยนต์เจ๋งๆ ที่ช่วยเราทำธุระหรืออยู่เป็นเพื่อนเรา จนถึงตอนนี้ เรามุ่งความสนใจที่การส่งอาหาร แต่ในอนาคต หุ่นยนต์อาจทำได้มากกว่านี้ เช่น เก็บอาหารเหลือไปส่งตามศูนย์พักพิงทุกคืน เพราะในสหรัฐฯ เราทิ้งอาหารร้อยละ 30 ขณะที่คนร้อยละ 10 เผชิญความไม่มั่นคงทางอาหาร หุ่นยนต์เหล่านี้อาจช่วยได้ หรือเมื่อเรามีหุ่นยนต์หลายร้อยตัวให้เมือง เราอาจให้หุ่นยนต์ช่วยนำยามาให้ยามฉุกเฉิน อย่างในกรณีที่คนใกล้ตัว มีอาการแพ้ หรือเป็นหอบหืด หุ่นยนต์ก็จะมาถึงที่ได้ในหนึ่งหรือสองนาที เร็วกว่าที่ใครจะทำได้ และในช่วงที่มีโรคระบาด หุ่นยนต์จะมีส่วนสำคัญในโครงสร้างพื้นฐาน โดยจะช่วยให้ เราสามารถช่วยเหลือตามจำเป็นแก่ชุมชนได้ แม้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ผมขอทิ้งท้ายไว้ว่า วันนี้สิ่งของไม่อาจเคลื่อนที่โดยไร้มนุษย์ เพราะโลก 3 มิตินั้นค่อนข้างซับซ้อน แต่เซ็นเซอร์และปัญญาประดิษฐ์เปลี่ยนมันได้ ในแง่หนึ่งเทคโนโลยีก็เหมือนทารก ที่เพิ่งเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และเข้าใจคำพูด และอาจจะสนทนาขั้นพื้นฐานได้ แต่ยังเดินไม่เป็น ตอนนี้พวกเรากำลังสอนเทคโนโลยี ให้ขับเคลื่อนไปในโลก 3 มิติ ด้วยตัวของมันเอง เรากำลังเข้าสู่ยุคใหม่ ที่สิ่งของต่าง ๆ จะลุกขึ้นมาเคลื่อนที่อิสระ และเมื่อเป็นเช่นนั้น เราต้องมั่นใจว่าพวกมัน จะไม่เหมือนมนุษย์ต่างดาว ผมมองว่าในอนาคต เมื่อสิ่งต่าง ๆ มีชีวิตขึ้น มันจะมีความสุข ก็นะ เอาแบบ "Terminator" ให้น้อยหน่อย และให้เป็นแบบ "Toy Story" มากกว่า ขอบคุณครับ