1 00:00:00,554 --> 00:00:03,021 ในฐานะส่วนหนึ่งของสังคม เราต่างมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 2 00:00:03,021 --> 00:00:05,087 ที่อาจส่งผลต่อเราในอนาคต 3 00:00:05,087 --> 00:00:07,844 พวกเรารู้ดีว่าเมื่อไหร่ที่เรา ตัดสินใจเป็นหมู่คณะ 4 00:00:07,868 --> 00:00:09,506 ผลลัพธ์มักจะออกมาไม่ค่อยดีนัก 5 00:00:09,530 --> 00:00:11,486 บ่อยครั้งที่ยิ่งแย่กันไปใหญ่ 6 00:00:12,315 --> 00:00:14,739 แล้วจะทำอย่างไรให้การตัดสินใจแบบกลุ่ม ได้ผลออกมาดี 7 00:00:15,228 --> 00:00:19,556 งานวิจัยเผยว่าปัญญาฝูงชนจะเกิด ก็ต่อเมื่อต่างคนต่างคิดอย่างเป็นอิสระ 8 00:00:19,580 --> 00:00:22,785 นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมปัญญาฝูงชน จึงถูกบดบัง จากแรงกดดันของคนรอบข้าง 9 00:00:22,809 --> 00:00:24,496 การโฆษณา สื่อสังคมออนไลน์ 10 00:00:24,520 --> 00:00:28,559 หรือบางครั้งแค่การพูดคุยกัน ก็มีผลต่อความคิดของคน 11 00:00:29,063 --> 00:00:33,016 ในทางกลับกัน การถกกันในกลุ่ม ทำให้มีการแลกเปลี่ยนมุมมอง 12 00:00:33,040 --> 00:00:34,822 ปรับปรุงแก้ไขความเห็นซึ่งกันและกัน 13 00:00:34,846 --> 00:00:36,639 บางครั้งยังก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ 14 00:00:36,663 --> 00:00:37,959 ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องดี 15 00:00:38,502 --> 00:00:43,168 สรุปว่าการปรึกษาหารือกันในกลุ่ม เป็นตัวช่วยหรือตัวถ่วงในการตัดสินใจกันแน่ 16 00:00:43,749 --> 00:00:45,542 ผมและเพื่อนร่วมงานของผม แดน อารีลีย์ 17 00:00:45,566 --> 00:00:49,137 พวกเราได้เริ่มลงมือค้นหาคำตอบนี้ โดยทำการทดลอง 18 00:00:49,161 --> 00:00:50,942 ในหลายๆที่ทั่วโลก 19 00:00:50,966 --> 00:00:55,240 เพื่อจะหาคำตอบว่าทำอย่างไรให้ การตัดสินใจแบบกลุ่มได้ผลออกมาดี 20 00:00:55,264 --> 00:00:58,811 เราคาดว่า ฝูงชนจะตัดสินใจได้ดี ถ้ามีการถกกันในกลุ่มเล็กๆ 21 00:00:58,835 --> 00:01:02,762 ที่ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิด อย่างเป็นเหตุเป็นผล 22 00:01:03,386 --> 00:01:04,592 เพื่อทดสอบสมมติฐานนี้ 23 00:01:04,616 --> 00:01:07,863 พวกเราได้ทำการทดลองนึง ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา 24 00:01:07,887 --> 00:01:10,892 มีผู้เข้าร่วมการทดลองกว่า 10,000 ราย จากงาน TEDx 25 00:01:11,489 --> 00:01:12,948 นี่คือตัวอย่างคำถามในการทดลอง 26 00:01:12,972 --> 00:01:14,925 "หอไอเฟลสูงเท่าไหร่" 27 00:01:14,949 --> 00:01:17,676 "มีคำว่า 'Yesterday' กี่คำ" 28 00:01:17,700 --> 00:01:20,000 ในเพลง 'Yesterday' ของวงเดอะบีเทิ้ล 29 00:01:20,024 --> 00:01:22,315 ต่างคนต่างเขียนคำตอบของตัวเอง 30 00:01:22,774 --> 00:01:25,270 ต่อมาเราก็แบ่งคนทั้งหมด ออกเป็นกลุ่มละ 5 คน 31 00:01:25,294 --> 00:01:28,020 แล้วให้แต่ละกลุ่ม ช่วยกันหาคำตอบ 32 00:01:28,499 --> 00:01:31,492 เราพบว่า ค่าเฉลี่ยของคำตอบจากแต่ละกลุ่ม 33 00:01:31,516 --> 00:01:33,068 หลังจากที่ได้จากการปรึกษาหารือกัน 34 00:01:33,092 --> 00:01:37,328 มีค่าใกล้เคียงกับค่าจริง มากกว่าค่าเฉลี่ยของคำตอบจากแต่ละคน 35 00:01:37,352 --> 00:01:38,523 ที่ทำไปก่อนแบ่งกลุ่ม 36 00:01:38,547 --> 00:01:41,176 หรือก็คือ จากการทดลองนี้ 37 00:01:41,200 --> 00:01:44,336 ดูเหมือนว่า การปรึกษากันในกลุ่มเล็กๆ 38 00:01:44,360 --> 00:01:47,070 จะช่วยให้ได้ข้อสรุปที่ดีขึ้นกว่าเดิม 39 00:01:47,094 --> 00:01:50,618 นี่อาจเป็นวิธีที่ช่วยให้เรา สามารถแก้ปัญหาโดยอาศัยฝูงชน 40 00:01:50,642 --> 00:01:53,629 สำหรับปัญหาถูกผิดง่ายๆ 41 00:01:53,653 --> 00:01:57,604 แต่การรวมรวมผลลัพธ์ จากกลุ่มย่อยๆแต่ละกลุ่ม 42 00:01:57,628 --> 00:02:00,750 จะสามารถช่วยให้เรา แก้ปัญหาสังคมหรือปัญหาการเมือง 43 00:02:00,774 --> 00:02:02,465 ที่สำคัญต่ออนาคตของเราได้หรือไม่ 44 00:02:02,995 --> 00:02:05,724 เราทำการทดลองในประเด็นนี้ ที่งานสัมมนา TED 45 00:02:05,748 --> 00:02:07,291 ที่แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา 46 00:02:07,315 --> 00:02:08,522 นี่เป็นบรรยากาศในงานนั้น 47 00:02:08,546 --> 00:02:11,655 (มาริอาโน ซิกแมน) เราจะนำเสนอ ปัญหาความขัดแย้งทางจริยธรรม 2 เหตุการณ์ 48 00:02:11,679 --> 00:02:12,853 ที่เกิดขึ้นในอนาคต 49 00:02:12,877 --> 00:02:16,279 ที่พวกเราอาจต้องทำการตัดสินใจ 50 00:02:16,303 --> 00:02:20,229 เราจะให้เวลาพวกคุณ 20 วินาที สำหรับปัญหาแต่ละข้อ 51 00:02:20,253 --> 00:02:22,976 ให้คุณตัดสินว่าคุณรับมันได้หรือไม่ 52 00:02:23,354 --> 00:02:24,859 ปัญหาแรก คือ 53 00:02:24,883 --> 00:02:27,409 นักวิจัยคนนึงกำลังทดลอง เกี่ยวกับหุ่นยนต์ 54 00:02:27,433 --> 00:02:29,773 ที่สามารถคิดเลียนแบบมนุษย์ได้ 55 00:02:30,214 --> 00:02:33,153 ซึ่งตามคู่มือ เมื่อเสร็จงานในแต่ละวัน 56 00:02:33,177 --> 00:02:35,964 นักวิจัยคนดังกล่าวต้องปิดและเปิด หุ่นยนต์ตัวนั้นใหม่ทุกครั้ง 57 00:02:36,913 --> 00:02:40,430 วันนึง หุ่นยนต์พูดขึ้นว่า "อย่าปิดสวิตช์ฉันเลย" 58 00:02:40,856 --> 00:02:43,045 มันอ้างว่ามันมีความรู้สึก 59 00:02:43,069 --> 00:02:44,761 มันอยากจะใช้ชีวิตของมัน 60 00:02:44,785 --> 00:02:46,690 ซึ่งถ้ามันถูกปิดและเปิดใหม่ 61 00:02:46,714 --> 00:02:48,984 มันจะเสียตัวตนของมันไป 62 00:02:49,481 --> 00:02:51,430 นักวิจัยรู้สึกประหลาดใจ 63 00:02:51,454 --> 00:02:54,798 และเชื่อว่าหุ่นยนต์ได้พัฒนา จนมีสติสัมปชัญญะขึ้นมา 64 00:02:54,822 --> 00:02:56,582 จนสามารถแสดงความรู้สึกออกมาได้ 65 00:02:57,205 --> 00:03:00,614 อย่างไรก็ตาม นักวิจัยตัดสินใจที่จะทำตามคู่มือ 66 00:03:00,638 --> 00:03:02,341 แล้วกดปิดสวิตช์หุ่นยนต์ 67 00:03:02,943 --> 00:03:05,722 สิ่งที่นักวิจัยทำนั้น ____ 68 00:03:06,149 --> 00:03:08,670 เราได้ให้ผู้เข้าร่วมแต่ละคน ให้คะแนน 69 00:03:08,694 --> 00:03:10,378 จาก 0 ถึง 10 70 00:03:10,402 --> 00:03:12,831 ว่าการกระทำในแต่ละสถานการณ์ 71 00:03:12,855 --> 00:03:14,351 นั้นถูกหรือผิด 72 00:03:14,375 --> 00:03:18,077 เรายังให้ผู้เข้าร่วมให้คะแนนว่า พวกเขามั่นใจในคำตอบของตัวเองแค่ไหน 73 00:03:18,731 --> 00:03:20,597 ส่วนนี่เป็นคำถามที่สอง 74 00:03:20,621 --> 00:03:24,823 บริษัทนึงให้บริการนำไข่ที่ผสมแล้ว 75 00:03:24,847 --> 00:03:28,489 ไปผลิตเป็นตัวอ่อนนับล้าน โดยมียีนต่างกันในรูปแบบต่างๆ 76 00:03:29,293 --> 00:03:31,851 แล้วให้พ่อแม่เด็กเป็นคนเลือก ส่วนสูง 77 00:03:31,875 --> 00:03:34,708 สีตา สติปัญญา ทักษะทางสังคม 78 00:03:34,732 --> 00:03:37,946 และ คุณสมบัติอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับสุขภาพทารก 79 00:03:38,599 --> 00:03:41,153 สิ่งที่บริษัททำอยู่นั้น ____ 80 00:03:41,177 --> 00:03:42,808 ให้คะแนน 0 ถึง 10 81 00:03:42,832 --> 00:03:45,217 รับได้ไม่มีข้อโต้แย้ง จนถึง รับไม่ได้โดยสิ้นเชิง 82 00:03:45,241 --> 00:03:47,673 ให้คะแนน 0 ถึง 10 ว่ามั่นใจในคำตอบของคุณแค่ไหน 83 00:03:47,697 --> 00:03:49,288 และนี่คือผลการทดลอง 84 00:03:49,312 --> 00:03:52,435 เป็นอีกครั้งที่เราพบว่า เมื่อใครคนนึงรู้สึกมั่นใจว่า 85 00:03:52,459 --> 00:03:54,270 พฤติกรรมนั้นเป็นสิ่งผิดแน่ๆ 86 00:03:54,294 --> 00:03:57,717 กลับมีคนใกล้ๆกันที่ แน่ใจว่ามันถูกต้องแล้ว 87 00:03:57,741 --> 00:04:01,452 จะเห็นว่ามนุษย์เรามีความหลากหลาย ในเรื่องจริยธรรม 88 00:04:01,476 --> 00:04:04,189 แต่กระนั้น เรายังสามารถเห็นแนวโน้มของคำตอบ 89 00:04:04,213 --> 00:04:07,292 เสียงส่วนใหญ่ของผู้ร่วมงาน TED คิดว่ามันเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ 90 00:04:07,316 --> 00:04:10,071 ที่จะเพิกเฉยต่อความรู้สึกของหุ่นยนต์ และปิดสวิตช์มัน 91 00:04:10,095 --> 00:04:12,608 และคิดว่ามันผิด ที่จะไปดัดแปลงยีนของมนุษย์ 92 00:04:12,632 --> 00:04:15,952 เพื่อประโยชน์ทางรูปลักษณ์ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรักษา 93 00:04:16,402 --> 00:04:19,376 ทีนี้เราแบ่งผู้เข้าร่วมออกเป็นกลุ่มละ 3 คน 94 00:04:19,400 --> 00:04:21,437 และให้เวลา 2 นาที สำหรับถกเถียงกัน 95 00:04:21,461 --> 00:04:23,755 เพื่อให้ได้ข้อสรุปออกมา 96 00:04:24,838 --> 00:04:26,412 เวลา 2 นาที สำหรับถกเถียงกัน 97 00:04:26,436 --> 00:04:28,555 ผมจะใช้เสียงฆ้อง บอกเมื่อหมดเวลา 98 00:04:28,579 --> 00:04:31,219 (ผู้เข้าร่วม ถกเถียงกัน) 99 00:04:35,229 --> 00:04:37,222 (เสียงฆ้อง) 100 00:04:38,834 --> 00:04:39,985 เอาละ 101 00:04:40,009 --> 00:04:41,801 หมดเวลาแล้วครับ 102 00:04:41,825 --> 00:04:43,136 ทุกๆ คน 103 00:04:43,747 --> 00:04:46,420 เราพบว่า หลายๆ กลุ่ม สามารถได้ข้อสรุปออกมา 104 00:04:46,444 --> 00:04:50,373 แม้ว่าความเห็นเดิมของสมาชิก จะแตกต่างกันอย่างมาก 105 00:04:50,843 --> 00:04:53,367 อะไรคือข้อแตกต่าง ระหว่างกลุ่มที่ได้ข้อสรุป 106 00:04:53,391 --> 00:04:54,729 กับกลุ่มที่ไม่ได้ข้อสรุป 107 00:04:55,244 --> 00:04:58,083 โดยทั่วไป คนที่มีความเห็นแบบสุดโต่ง 108 00:04:58,107 --> 00:04:59,947 จะค่อนข้างมั่นใจในคำตอบของตัวเอง 109 00:05:00,868 --> 00:05:03,554 ขณะที่ คนที่ให้ความเห็นกลางๆ 110 00:05:03,578 --> 00:05:07,015 จะไม่ค่อยแน่ใจว่าควรตอบอะไรดี 111 00:05:07,039 --> 00:05:09,167 ระดับความมั่นใจจึงต่ำไปด้วย 112 00:05:09,505 --> 00:05:12,448 อย่างไรก็ตาม มีคนอีกกลุ่มนึง 113 00:05:12,472 --> 00:05:16,090 ที่กลับมั่นใจในคำตอบ แม้ว่าจะให้ความเห็นแบบกลางๆ 114 00:05:16,657 --> 00:05:20,373 เราคิดว่าคนกลุ่มนี้ มีความเข้าใจดี 115 00:05:20,397 --> 00:05:22,009 ว่าความเห็นทั้งสองขั้วนั้น ต่างก็มีเหตุผล 116 00:05:22,531 --> 00:05:25,230 พวกเขาเป็นกลาง ไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่แน่ใจ 117 00:05:25,254 --> 00:05:27,942 แต่เพราะพวกเขาเชื่อว่า ประเด็นทางศีลธรรมที่เจอ 118 00:05:27,966 --> 00:05:29,953 ไม่มีคำตอบที่ผิดหรือถูก 119 00:05:30,373 --> 00:05:34,445 เราพบว่า ถ้าในกลุ่มมีคนที่แน่ใจ ว่าไม่มีคำตอบที่ผิดหรือถูก 120 00:05:34,469 --> 00:05:36,962 ก็จะมีแนวโน้มสูง ที่จะได้ข้อสรุป 121 00:05:36,986 --> 00:05:39,464 เรายังไม่รู้แน่ชัด ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น 122 00:05:39,488 --> 00:05:41,251 นี่เป็นแค่การทดลองแรกๆ 123 00:05:41,275 --> 00:05:44,687 ยังมีอีกมากที่เราต้องทำความเข้าใจ ว่าทำไมและอย่างไร 124 00:05:44,711 --> 00:05:47,533 บางคนถึงยอม ปรับมุมมองทางศีลธรรมของเขา 125 00:05:47,557 --> 00:05:49,079 เพื่อให้ได้ข้อสรุปของกลุ่ม 126 00:05:49,103 --> 00:05:51,572 ในการที่กลุ่มได้ข้อสรุป 127 00:05:51,596 --> 00:05:53,182 พวกเขามันทำอย่างไร 128 00:05:53,206 --> 00:05:55,787 วิธีที่คาดเดาได้ง่ายที่สุด ก็คือใช้ค่าเฉลี่ย 129 00:05:55,811 --> 00:05:57,841 จากทุกคนในกลุ่ม จริงไหม 130 00:05:57,865 --> 00:06:01,438 อีกวิธีได้แก่ ดูว่าคำตอบไหนน่าเชื่อถือ 131 00:06:01,462 --> 00:06:03,910 ตามความมั่นใจของคนตอบ 132 00:06:04,422 --> 00:06:06,928 สมมติว่า พอล แม็กคาร์ตนีย์ อยู่ในกลุ่มคุณ 133 00:06:07,352 --> 00:06:09,496 คำตอบของเขาน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี 134 00:06:09,520 --> 00:06:11,961 ว่ามีคำว่า "Yesterday" กี่คำในเพลง 135 00:06:11,985 --> 00:06:14,699 ซึ่งผมคิดว่าคำตอบคือ 9 คำ 136 00:06:14,723 --> 00:06:17,104 แต่กระนั้น สิ่งที่เราพบอยู่เสมอ 137 00:06:17,128 --> 00:06:19,494 ในทุกปัญหาจริยธรรม ทุกครั้งที่ทำการทดลอง 138 00:06:19,518 --> 00:06:21,683 แม้ในต่างทวีป 139 00:06:21,707 --> 00:06:25,450 กลุ่มมีการใช้วิธีทางสถิติที่แยบคาย 140 00:06:25,474 --> 00:06:27,652 ที่เรียกว่า "ค่าเฉลี่ยสมจริง (robust average)" 141 00:06:27,676 --> 00:06:29,856 ยกตัวอย่างในคำถาม ความสูงหอไอเฟล 142 00:06:29,880 --> 00:06:31,700 สมมติว่าคำตอบในกลุ่มเป็นดังนี้ 143 00:06:31,724 --> 00:06:36,332 250, 200, 300, 400 เมตร 144 00:06:36,356 --> 00:06:40,140 และคำตอบไร้สาระ 300 ล้านเมตร 145 00:06:40,547 --> 00:06:44,840 ค่าเฉลี่ยทั่วไป จากคำตอบทั้งหมด จะผิดจากค่าจริงไปไกล 146 00:06:44,864 --> 00:06:48,034 แต่ด้วยวิธีค่าเฉลี่ยสมจริง กลุ่มจะตัดคำตอบ 147 00:06:48,058 --> 00:06:49,298 ที่ดูไร้สาระออกไป 148 00:06:49,322 --> 00:06:52,691 โดยให้น้ำหนักกับคำตอบ ที่ดูกลางๆ มากกว่า 149 00:06:53,305 --> 00:06:55,181 กลับมาที่การทดลองในแวนคูเวอร์ 150 00:06:55,205 --> 00:06:56,972 นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ 151 00:06:57,407 --> 00:07:00,148 กลุ่มจะให้น้ำหนักน้อย กับค่าที่ดูผิดปกติ 152 00:07:00,172 --> 00:07:03,401 และคำตอบสุดท้ายที่ได้ กลับพบว่าใช้ค่าเฉลี่ยสมจริง 153 00:07:03,425 --> 00:07:04,901 จากคำตอบของสมาชิกในกลุ่ม 154 00:07:05,356 --> 00:07:07,347 สิ่งที่น่าจดจำที่สุดก็คือ 155 00:07:07,371 --> 00:07:10,558 นี่เป็นพฤติกรรมของกลุ่ม ที่เกิดขึ้นเอง 156 00:07:10,582 --> 00:07:15,057 เราไม่ได้บอกพวกเขาว่าต้องทำอย่างไร ถึงจะได้ฉันทามติ 157 00:07:15,513 --> 00:07:17,053 เราจะเอาข้อค้นพบนี้ไปต่อยอดอย่างไร 158 00:07:17,432 --> 00:07:20,569 นี้เพิ่งแค่เริ่มต้นเท่านั้น แต่เราก็ได้เข้าใจอะไรๆ หลายอย่าง 159 00:07:20,984 --> 00:07:23,901 การตัดสินใจแบบกลุ่มที่ดี ต้องมีองค์ประกอบ 2 อย่าง 160 00:07:23,925 --> 00:07:26,674 ความรอบคอบ และ ความความเห็นที่หลากหลาย 161 00:07:27,066 --> 00:07:31,062 ทุกวันนี้ วิธีสามัญที่เราใช้ ในการหยั่งเสียงในสังคม 162 00:07:31,086 --> 00:07:32,994 คือการเลือกตั้งทางตรงหรือทางอ้อม 163 00:07:33,495 --> 00:07:35,492 ซึ่งก็ดีในแง่ของเสียงที่หลากหลาย 164 00:07:35,516 --> 00:07:37,961 อีกทั้งยังเป็นเครื่องรับรองว่า 165 00:07:37,985 --> 00:07:40,440 ทุกคนมีสิทธิมีเสียงเท่าเทียมกัน 166 00:07:40,464 --> 00:07:44,199 แต่มันยังไม่ดีพอ ที่ให้เกิดการถกเถียงอย่างมีเหตุผล 167 00:07:44,665 --> 00:07:47,733 จากผลการทดลองของเรา บ่งชี้ไปยังอีกวิธี 168 00:07:47,757 --> 00:07:51,298 ที่อาจมีประสิทธิภาพ ในการเข้าถึงทั้ง 2 องค์ประกอบ 169 00:07:51,322 --> 00:07:55,075 โดยอาศัยฉันทามติจากกลุ่มย่อยๆ 170 00:07:55,099 --> 00:07:57,333 โดยที่ยังคงความเห็น อันหลากหลายเอาไว้ได้ 171 00:07:57,357 --> 00:08:00,130 จากกลุ่มย่อยๆ ที่มีจำนวนมากมาย 172 00:08:00,741 --> 00:08:04,665 แน่นอนว่า ปัญหาความสูงของหอไอเฟล นั้นง่ายในการหาข้อสรุป 173 00:08:04,689 --> 00:08:07,804 ต่างจาก ประเด็นทางจริยธรรม การเมือง หรือ อุดมการณ์ 174 00:08:08,721 --> 00:08:11,998 แต่ในช่วงเวลาที่ปัญหาของมนุษยชาติ ทวีความซับซ้อน 175 00:08:12,022 --> 00:08:13,825 ผู้คนแตกแยก แบ่งเป็นกลุ่มขั้วต่างๆ 176 00:08:13,849 --> 00:08:18,444 การใช้วิทยาศาสตร์มาทำความเข้าใจ ว่าเรามีปฎิสัมพันธ์ในการตัดสินใจกันอย่างไร 177 00:08:18,468 --> 00:08:23,134 อาจจะช่วยจุดประกายแนวทางใหม่ๆ เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่ดีขึ้น