ดิฉันอยากให้พวกคุณลองมองเด็กคนนี้ สิ่งที่ดึงดูดความสนใจ คือดวงตาของเธอ และผิวพรรณที่คุณอยากสัมผัส แต่วันนี้ ดิฉันจะพูดถึงสิ่งที่คุณไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า นั่นคือสิ่งที่เกิดอะไรขึ้นในสมองน้อยๆของเธอ เครื่องมือสมัยใหม่ทางประสาทวิทยาศาสตร์ จะแสดงให้พวกเราเห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้นบนนั้น เป็นเรื่องที่เรายังจัดว่าค่อนข้างลี้ลับ และสิ่งที่พวกเราศึกษาอยู่ กำลังจะเปิดเผยให้พวกเราเห็น ในประเด็นที่นักประพันธ์บทกลอนโรแมนติก ใช้คำบรรยายว่า "การเปิดรับจากสรวงสวรรค์" ของสมองเด็กทารก ที่เราเห็นในภาพนี้ เธอเป็นแม่คนหนึ่งในประเทศอินเดีย เธอพูดภาษาโคโร่ ซึ่งเป็นภาษาที่เพิ่งค้นพบไม่นาน เธอใช้ภาษานี้กับทายาทของเธอ คุณแม่คนนี้ และผู้คนอีกกว่า 800 ชีวิตทั่วโลกที่ใช้ภาษานี้ ต่างเข้าใจในแนวทางเดียวกันว่า การที่จะอนุรักษ์ภาษานี้ไว้ พวกเขาจำเป็นต้องใช้ภาษาดังกล่าวพูดกับเด็กทารก ทีนี้ ปัญหาที่น่าฉงนใจก็เกิดขึ้น นั่นก็คือ "ทำไมคนเราถึงอนุรักษ์ภาษา ด้วยการสื่อสารกับพวกเรากันเอง หรือผู้ใหญ่ไม่ได้?" เอาล่ะค่ะ นั่นเป็นเพราะการทำงานของสมองคุณ ที่เราเห็นนี้ คือ "ภาษา" มีช่วงเวลาเรียนรู้ที่จำกัด สำหรับสไลด์นี้ แนวนอนหมายถึงอายุของพวกคุณ (เสียงหัวเราะ) และในแนวตั้ง คุุณจะเห็นถึง ความสามารถในการเรียนรู้ภาษาที่สองของคุณ ทารกและเด็กถือเป็นอัจฉริยะ จนถึงอายุเจ็ดขวบ แล้วจะค่อยๆลดลงตามลำดับ จะเห็นได้ว่าวัยรุ่นได้หลุดออกจากกรอบนี้ไปแล้ว ไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนไหนแย้งในจุดนี้ ห้องทดลองทั่วทุกมุมโลก ต่างพยายามหาเหตุผลให้ได้ว่า ทำไมมันถึงเป็นเช่นนี้ สำหรับในห้องทดลองดิฉัน จะมุ่งเน้นในระยะพัฒนาการแรกๆของช่วงวิกฤต ซึ่งเป็นช่วงที่ ทารกพยายามแยกแยะว่าเสียงไหนใช้ในภาษาแม่ของพวกเขา เราเชื่อว่า ด้วยการศึกษาวิธีที่ทารกเหล่านี้ใช้เรียนรู้เรื่องเสียง จะทำให้เรามีต้นแบบของส่วนที่เหลือของภาษา และอาจได้ข้อมูลเกี่ยวกับช่วงเวลาเรียนรู้จำกัดที่อาจมีอยู่ในวัยเด็ก สำหรับการพัฒนาการทางด้านสังคม ด้านอารมณ์ และด้านการคิด พวกเราจึงได้ศึกษาในตัวทารก โดยใช้เทคนิคที่พวกเราใช้กันทั่วโลก และเสียงในทุกๆภาษา เด็กๆจะนั่งบนตักพ่อแม่ แล้วเราก็ฝึกให้พวกเขาหันหน้าหาเมื่อเสียงเปลี่ยน เช่นจากเสียง "ah..." ไปเป็น "ee..." เมื่อพวกเขาตอบสนองในเวลาที่เหมาะสม กล่องสีดำจะเปล่งแสง ตามด้วยหมีแพนด้าจะตีกลองรัว เด็ก 6 ขวบชอบกิจกรรมนี้ทีเดียว ว่าแต่...เราได้ข้อมูลอะไรบ้างล่ะ? เอาล่ะค่ะ...ทารกทั่วทุกมุมโลก เป็นสิ่งที่ดิฉันอยากจะเปรียบเป็น "พลเมืองของโลก" พวกเขาสามารถแบ่งแยกความแตกต่างของเสียงในทุกๆภาษา จากการทดสอบในทุกๆประเทศและทุกๆภาษาที่เราใช้ นี่ถือเป็นสิ่งที่น่าคิด เพราะดิฉันและพวกคุณทำไม่ได้ พวกเราเป็นผู้ฟังที่ผูกกับวัฒนธรรมไปแล้ว จะสามารถแยกความต่างของเสียงได้เฉพาะในภาษาของพวกเราเอง ไม่สามารถแยกในภาษาอื่นได้ ฉะนั้น คำถามก็ตามมาอีกว่า : "แล้วเมื่อไหร่ล่ะ? ที่พลเมืองของโลกเหล่านี้ จะแปลงสถานะเป็นผู้ฟังที่ผูกกับภาษาเหมือนเราๆ?" และคำตอบก็คือ "ก่อนครบรอบวันเกิดปีแรกของพวกเขา" และนี่คือ ผลของสมรรธภาพใน "ภารกิจหันหน้า" ของทารกที่เราทดสอบในโตเกียวและสหรัฐฯ ณ ที่แห่งนี้ ซีแอตเทิล เมื่อได้ลองให้พวกเขาฟังเสียง "ra" และ "la" -- ความต่างของสองเสียงมีผลในภาษาอังกฤษ แต่ไม่มีผลในภาษาญี่ปุ่น ณ ช่วงอายุ 6-8 เดือน ความสามารถของทารกเหล่านี้ไม่ต่างกันมาก แต่สองเดือนถัดมาสิ่งที่น่ามหัศจรรย์ก็ปรากฏ ทารกในสหรัฐฯดีขึ้นกว่าเดิมมาก แต่ทารกในญี่ปุ่นแย่ลงๆ ทั้งที่ทารกทั้งสองกลุ่มต่างกำลัง เตรียมตัวเพื่อเรียนรู้ภาษาแม่ของตัวเองเหมือนๆกัน ทีนี้คำถามก็คือ "เกิดอะไรขึ้น กับช่วงวิกฤตสองเดือนนี้?" นี่เป็นช่วงวิกฤตของการพัฒนาทางด้านเสียง แล้วมันเกิดอะไรขึ้นล่ะ? คำตอบคือ มีสองปัจจัย อย่างแรก เนื่องจากทารกจะฟังเราอย่างตั้งใจ และเก็บข้อมูลในขณะที่พวกเราพูดคุยกัน พวกเขาเก็บสถิติในหัว เราลองมาฟังคุณแม่สองคนพูดกับลูก โดยใช้ภาษาเด็กๆที่เราใช้เหมือนๆกัน อันแรกเป็นภาษาอังกฤษ ต่อด้วยญี่ปุ่น (วีดีโอ) คุณแม่ที่ใช้ภาษาอังกฤษ: "โอ๋...แม่ล่ะชอบตาสีฟ้าโตๆของลูกจังเลย น่ารักน่าชังดีจริงๆ" คุณแม่ที่ใช้ภาษาญี่ปุ่น: [ภาษาญี่ปุ่น] แพทริเซีย คัห์ล: ตลอดการพูดเหล่านี้ เมื่อทารกเหล่านี้ได้ฟัง พวกเขาจะเก็บสถิติ จากภาษาที่พวกเขาได้ยิน ความสามารถด้านการแยกแยะเสียงก็จะดีขึ้น และสิ่งที่พวกเราเรียนรู้ ก็คือ ทารกจะอ่อนไหวกับสถิติมาก และสถิติของภาษาญี่ปุ่นกับอังกฤษต่างกันมากทีเดียว ในภาษาอังกฤษ จะมีเสียง R และ L เยอะมาก สังเกตได้จากภาพนี้ และการแยกเสียงในภาษาญี่ปุ่นก็ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ที่เห็นกันนี้ คือกลุ่มเสียงที่อยู่่กึ่งกลาง ทั้งหมดนี้คือ "R" ในภาษาญี่ปุ่น ฉะนั้นทารกจะค่อยๆซึมซับ สถิติของภาษานั้นๆ และมันสร้างความเปลี่ยนแปลงกับสมองพวกเขา โดยผันจากพลเมืองของโลก ไปเป็นผู้ฟังที่ผูกกับวัฒนธรรมเหมือนพวกเรา แต่สำหรับผู้ใหญ่อย่างเราๆ ไม่ได้ซึมซับสถิติเหล่านั้นอีกแล้ว พวกเราถูกควบคุมโดยความจำ ที่ถูกสร้างมาในช่วงพัฒนาแรกๆ สิ่งที่เห็นในนี้ คือการเปลี่ยนแปลงแม่แบบว่าช่วงวิกฤตการเรียนรู้มีผลอย่างไร พวกเราถกเถียงจากมุมมองทางคณิตศาสตร์ ว่าความไวในการเรียนรู้ภาษาจะค่อยๆลดลง เมื่อการกระจายของข้อมูลคงที่ ซึ่งก็สร้างความคาใจกับหลายคนที่ใช้สองภาษา เพราะคนเหล่านี้ต้องเก็บข้อมูลสองชุดในเวลาเดียวกัน และเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาระหว่างสองภาษานั้นๆ ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาพูดกับใคร เราเลยเกิดข้อสงสัยว่า เด็กทารกจะเก็บสถิติจากภาษาที่ไม่เคยได้ยินได้หรือเปล่า? เราได้ลองทดสอบกับเด็กอเมริกัน ที่ไม่เคยได้ยินภาษาที่สองเลย มาฟังจีนแมนดารินเป็นครั้งแรกในช่วงวิกฤต เราได้ข้อมูลว่า เมื่อทดสอบเด็กที่ใช้ภาษาเดียว กับจีนแมนดารินที่ไทเปและซีแอตเทิล ผลที่ออกมาก็เหมือนกัน ในช่วง 6-8 เดือน พวกเขาได้พอๆกัน แต่สองเดือนถัดไป สิ่งมหัศจรรย์ก็เกิดขึ้น แต่คราวนี้เด็กไต้หวันจะดีกว่า ไม่ใช่อเมริกัน และในช่วงวิกฤตนี้ เราก็ได้ลองให้ทารกอเมริกัน ลองฟังจีนแมนดาริน ประหนึ่งว่ามีญาติคนจีนมาเยี่ยมประมาณหนึ่งเดือน แล้วย้ายมาอยู่ในบ้านเดียวกัน แล้วพูดกับทารกช่วงหนึ่ง เป็นเวลา 12 ครั้ง นี่คือหน้าตาห้องทดลอง (วีดีโอ) : [ภาษาจีนแมนดาริน] แล้วเกิดอะไรขึ้นในสมองน้อยๆของพวกเขาล่ะ? (เสียงหัวเราะ) พวกดิฉันต้องกำหนดกลุ่มทดลอง เพื่อให้แน่ใจว่า เพียงแค่เข้ามาเยี่ยมห้องทดลองของเรานั้น ไม่ได้ช่วยให้ภาษาจีนของคุณให้ดีขึ้นเลย ดังนั้นจึงมีทารกอีกกลุ่มหนึ่งที่เข้ามาและฟังภาษาอังกฤษ ในกราฟนี้แสดงให้เห็นว่า การเปิดรับภาษาอังกฤษไม่ได้ทำให้ภาษาจีนของพวกเขาดีขึ้นเลย แต่เราลองมาดูว่าทารกที่ ได้ฟังจีนแมนดารินเป็น 12 ครั้ง ปรากฏว่าพวกเขาทำได้ดีพอๆกับทารกที่อยู่ในไต้หวัน ที่ได้ฟังมา 10 เดือนครึ่ง ผลที่ออกมา คือ ทารกจะเก็บสถิติในภาษาใหม่ๆ อะไรก็ตามที่คุณป้อนเข้าไป พวกเขาก็จะนับทั้งหมด แต่พวกเราสงสัยว่า มนุษย์เราสวมบทบาทอะไร ในเรื่องฝึกฝนการเรียนรู้ พวกเราก็เลยทดลองกับทารกอีกกลุ่มหนึ่ง ในจำนวนรอบที่เท่ากันคือ 12 ครั้ง แต่ทำผ่านทางโทรทัศน์ ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งมีเพียงได้ฟังเพียงเสียง และดูหมีเท็ดดี้บนจอ แล้ว เราได้ทำอะไรกับสมองพวกเขา ที่เห็นนี้คือ ผลจากการทดสอบฟังเสียงออดิโอ ไม่มีการเรียนรู้ใดๆเกิดขึ้น ผลของวีดีโอ ไม่มีการเรียนรู้เกิดขึ้นเช่นกัน ฉะนั้นทารกจะเก็บข้อมูลได้จาก การฟังจากคนจริงๆเท่านั้น เพราะตอนที่เก็บข้อมูลเหล่านั้น ทารกจะใช้สมองส่วนปฏิสัมพันธ์มาควบคุม พวกเราต้องการเข้าถึงสมอง เพื่อศึกษาว่าเกิดอะไรขึ้นในนั้น และมีอะไรที่ไม่เหมือนกันระหว่างที่ทารกอยู่หน้าโทรทัศน์ กับตอนที่อยู่หน้าผู้คน โชคดี ที่เรามีเครื่องมือตัวใหม่ ชื่อเครื่องสแกน "MEG" ที่ช่วยให้ความหวังกลายเป็นจริง หน้าตามันเหมือนไดร์เป่าผมที่มาจากดาวอังคาร แต่มันปลอดภัยทีเดียวเลยล่ะค่ะ ไม่อันตราย แล้วก็ไม่ส่งเสียงรบกวน พวกเราใช้หน่วยมิลลิเมตร และมิลลิวินาที เพื่อให้ผลที่ได้ออกมาแม่นยำ โดยใช้เครื่อง 306 SQUIDs หรือ Superconducting Quantum Interference Devices-- เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดคลื่นสนามแม่เหล็ก ที่แผ่ออกมาในสมอง เครื่่องจะจับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตอนเราคิด พวกเราถือเป็นกลุ่มแรกในโลกนี้ ที่ใช้เครื่องแสกน MEG บันทึกข้อมูลของทารก ขณะที่พวกเขาเรียนรู้ และนี่คือ น้องเอ็มม่า อายุหกเดือน และเธอฟังเสียงของหลายภาษามาแล้ว โดยผ่านหูฟังที่ใส่อยู่ พวกคุณจะเห็นว่า เธอเคลื่อนไหวไปมาได้ พวกเรากำลังตามรอยสมองเธอ ด้วยเครื่องมือที่ครอบอยู่บนหัว ฉะนั้นเธอจะเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ นี่เป็นผลงานที่แลกมาด้วยหยาดเหงื่อมากพอควร แล้วพวกเราเห็นอะไรบ้าง? พวกเราเห็นสมองของเด็ก เช่น ถ้าเธอได้ยินคำในภาษาของตัวเอง ส่วนการฟังจะเปล่งแสงขึ้น และส่วนอื่นๆใกล้เคียงก็เปล่งตามกันมา ซึ่งพวกเราเชื่อว่ามีความเกี่ยวเนื่องกัน ทำให้สมองเชื่อมโยงกับส่วนต่างๆ ตามที่ควรจะเป็น สมองส่วนหนึ่งปลุกให้อีกส่วนหนึ่งทำงาน พวกเราเป็นผู้บุกเบิก ในยุคทองของ ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสมองของทารก และเราก็จะเห็นสมองของเด็ก ขณะที่พวกเขาเกิดอารมณ์ต่างๆขึ้น ขณะที่พวกเขาเรียนรู้ที่จะพูดและอ่าน ขณะที่พวกเขาไขโจทย์คณิตศาสตร์ ขณะที่พวกเขามีความคิดใหม่ๆ และด้วยสิ่งนี้ พวกเราก็จะสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อช่วยเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ เหมือนอย่างที่นักประพันธ์กลอนและนักเขียนได้อธิบายไว้ พวกเรากำลังจะมองเห็น การเปิดรับที่มหัศจรรย์ การเปิดรับที่เต็มเปี่ยม ในความนึกคิดของเด็ก ด้วยการศึกษาสมองของทารกเหล่านี้ พวกเราจะค้นพบความจริง ว่าสิ่งนี้มีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์อย่างไร อีกทั้งในกระบวนการนี้ อาจสามารถช่วยให้สมองของพวกเรา เปิดรับการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิตไปเลยก็ได้ ขอบคุณค่ะ (เสียงปรบมือ)