WEBVTT 00:00:00.120 --> 00:00:02.836 7, 6, 5, 4, 3, 2, 1 00:00:03.212 --> 00:00:08.425 อินเทอร์เน็ต: แพ็คเก็ต, เราต์ติง, และความน่าเชื่อถือ 00:00:08.675 --> 00:00:12.137 สวัสดีค่ะ ฉันลินน์ รูท วิศวกรซอฟต์แวร์ที่สปอติฟายค่ะ 00:00:12.763 --> 00:00:16.808 ขอยอมรับก่อนเลยว่าฉันมักมองข้าม เรื่องความน่าเชื่อถือของอินเทอร์เน็ต 00:00:18.018 --> 00:00:20.938 แค่ปริมาณข้อมูล ในอินเทอร์เน็ตก็น่าทึ่งแล้ว 00:00:21.188 --> 00:00:25.442 แต่ทุกชิ้นส่วนของข้อมูล ถูกส่งอย่างน่าเชื่อถือได้อย่างไร 00:00:26.860 --> 00:00:28.278 สมมติว่าต้องการเล่นเพลง จากสปอติฟาย 00:00:28.946 --> 00:00:32.199 ดูเหมือนว่าคอมพิวเตอร์แค่เชื่อมต่อโดยตรง กับเซิร์ฟเวอร์ของสปอติฟาย 00:00:32.407 --> 00:00:35.202 แล้วสปอติฟายก็ จะส่งเพลงนั้นให้คุณเลยตรง ๆ 00:00:35.577 --> 00:00:37.538 แต่ที่จริงอินเทอร์เน็ตไม่ได้ทำงานแบบนั้น 00:00:38.914 --> 00:00:41.833 หากอินเทอร์เน็ตเป็นการเชื่อมต่อโดยตรง 00:00:42.209 --> 00:00:45.420 คงให้ผู้ใช้งานหลายล้านคนเข้าร่วมไม่ได้ 00:00:45.754 --> 00:00:47.256 แล้วยิ่งไม่มีการรับประกันว่า 00:00:47.548 --> 00:00:49.675 สายไฟทุกสายในคอมพิวเตอร์ทำงานตลอดเวลา 00:00:49.925 --> 00:00:54.138 ที่จริง ข้อมูลไม่ได้เดินทางตรง ๆ ในอินเทอร์เน็ตเลยค่ะ 00:00:55.389 --> 00:01:00.352 หลายปีก่อนช่วงต้นยุค 1970 ผมกับบ็อบ คาห์นคู่หูผม 00:01:00.644 --> 00:01:04.023 เริ่มออกแบบสิ่งที่ปัจจุบัน เรียกกันว่าอินเทอร์เน็ต 00:01:04.815 --> 00:01:07.902 บ็อบกับผมได้มีความรับผิดชอบและโอกาส 00:01:08.194 --> 00:01:12.656 ในการออกแบบโพรโตคอลอินเทอร์เน็ต และสถาปัตยกรรมของมัน 00:01:13.115 --> 00:01:17.786 เราก็พยายามมีส่วนร่วมในการเติบโต และวิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ต 00:01:18.325 --> 00:01:20.789 มาตลอด จวบจนปัจจุบันครับ 00:01:22.082 --> 00:01:26.545 วิธีที่ข้อมูลถูกถ่ายโอนจากคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งนั้นน่าสนใจ 00:01:26.795 --> 00:01:31.174 เพราะไม่จำเป็นต้องตามทางที่แน่นอน อาจเปลี่ยนเส้นทางได้ 00:01:31.383 --> 00:01:33.844 ระหว่างที่คอมพิวเตอร์สนทนากัน 00:01:34.469 --> 00:01:37.514 ข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ที่ส่งระหว่างคอมพิวเตอร์ 00:01:37.764 --> 00:01:40.100 เราเรียกมันว่าแพ็คเก็ตของมูล 00:01:40.809 --> 00:01:43.520 แพ็คเก็ตนี้เดินทางจากที่หนึ่ง ไปอีกที่หนึ่ง 00:01:43.729 --> 00:01:47.232 คล้ายกับการที่เราโดยสารรถยนต์ 00:01:47.691 --> 00:01:52.404 ถ้ารถติด ถนนไม่ดี เราอาจเลือกเปลี่ยนทาง 00:01:52.613 --> 00:01:56.658 หรือถูกบีบให้ไปอีกเส้นทาง เพื่อถึงจุดหมายเดิมแต่ละครั้งที่เดินทาง 00:01:58.577 --> 00:02:02.039 เวลาเดินทาง เราก็พกของขึ้นรถด้วย 00:02:02.539 --> 00:02:05.709 ข้อมูลดิจิทัลหลายอย่าง จึงเดินทางมาพร้อมแพ็คเก็ต IP 00:02:05.959 --> 00:02:07.336 แต่มันก็มีขีดจำกัด 00:02:08.445 --> 00:02:13.550 สมมติว่าถ้าต้องเคลื่อนย้ายกระสวยอวกาศ จากจุดที่สร้างไปยังจุดที่จะปล่อยยานล่ะ 00:02:13.884 --> 00:02:15.510 กระสวยขึ้นรถบรรทุกคันเดียวไม่ได้ 00:02:15.719 --> 00:02:19.473 จึงต้องแยกชิ้นส่วนก่อน แล้วขนส่งขึ้นรถบรรทุกไป 00:02:19.765 --> 00:02:23.518 แต่ละส่วน ไปคนละเส้นทางได้ และอาจถึงที่หมายไม่พร้อมกัน 00:02:23.894 --> 00:02:27.481 แต่เมื่อทุกส่วนไปถึงแล้ว ก็นำมาประกอบกันได้ 00:02:27.689 --> 00:02:30.734 เป็นกระสวยอวกาศ พร้อมทะยาน 00:02:31.693 --> 00:02:34.363 กับอินเทอร์เน็ต รายละเอียดก็คล้ายกัน 00:02:34.738 --> 00:02:39.326 ถ้าจะส่งภาพขนาดใหญ่ให้เพื่อน หรืออัปโหลดในเว็บไซต์ 00:02:39.618 --> 00:02:43.664 ภาพนั้นอาจมีสิบล้านบิท ประกอบด้วยเลข 1 เลข 0 00:02:44.039 --> 00:02:45.916 ส่งไปในแพ็คเก็ตเดียวไม่ได้ 00:02:46.375 --> 00:02:50.420 มันเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ เครื่องที่ส่งภาพสามารถแยก 00:02:50.671 --> 00:02:53.590 เป็นหลายร้อยหลายพันส่วนเล็ก ๆ ที่เรียกว่าแพ็คเก็ต 00:02:54.966 --> 00:02:57.969 แต่แพ็คเก็ตเหล่านี้ ต่างจากรถตรงที่ไม่มีคนขับ 00:02:58.261 --> 00:02:59.638 และมันไม่ได้เลือกเส้นทางเอง 00:02:59.888 --> 00:03:03.433 แต่ละแพ็คเก็ตมีที่อยู่อินเทอร์เน็ต ว่ามาจากไหน และจะไปที่ไหน 00:03:03.975 --> 00:03:08.063 คอมพิวเตอร์พิเศษในอินเทอร์เน็ต เรียกว่าเราเตอร์ ทำหน้าที่จัดการการจราจร 00:03:08.230 --> 00:03:11.316 เพื่อให้แพ็คเก็ต เคลื่อนที่ผ่านเครือข่ายอย่างราบรื่น 00:03:12.150 --> 00:03:16.321 หากทางไหนหนาแน่นไป แพ็คเก็ตก็อาจแยกกันไปใช้ทางอื่น 00:03:16.988 --> 00:03:20.325 และอาจถึงจุดหมายปลายทาง ในเวลาที่ต่างกันเล็กน้อย 00:03:20.575 --> 00:03:22.202 หรือไม่ถูกต้องตามลำดับ 00:03:23.428 --> 00:03:26.640 มาคุยกันว่ามันทำงานยังไง ในฐานะส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอล 00:03:26.890 --> 00:03:29.918 ทุกเราเตอร์ต้องติดตามหลายเส้นทาง ที่ใช้ส่งแพ็คเก็ต 00:03:30.210 --> 00:03:33.171 มันเลือกใช้เส้นทางที่คุ้มที่สุด สำหรับข้อมูลแต่ละส่วน 00:03:33.422 --> 00:03:36.091 โดยดูจากที่อยู่ปลายทางของแพ็คเก็ต 00:03:36.341 --> 00:03:42.097 ที่ว่าคุ้ม ไม่ใช่เรื่องราคา แต่คือเวลาและปัจจัยอื่น เช่นการเมือง 00:03:42.305 --> 00:03:44.099 และความสัมพันธ์ระหว่างบริษัท 00:03:44.766 --> 00:03:48.478 หลายครั้งที่เส้นทางส่งข้อมูล ไม่ใช่เส้นที่ตรงที่สุด 00:03:49.062 --> 00:03:52.482 การมีทางเลือกเยอะ ๆ ทำให้เครือข่ายผิดพลาดได้ยาก 00:03:52.858 --> 00:03:57.154 หมายความว่าเครือข่ายอาจส่งแพ็คเก็ตต่อได้ แม้จะเกิดข้อผิดพลาดอย่างแรง 00:03:57.779 --> 00:04:01.533 นั่นคือหลักการสำคัญพื้นฐาน ของอินเทอร์เน็ต - ความน่าเชื่อถือค่ะ 00:04:04.327 --> 00:04:07.789 แต่ถ้าเราขอข้อมูลแต่ส่งมาไม่ครบล่ะ 00:04:08.039 --> 00:04:09.374 เช่น ถ้าอยากฟังเพลงสักเพลง 00:04:10.000 --> 00:04:14.821 จะมั่นใจได้ยังไงว่าข้อมูลทั้งหมด จะถูกส่งมียังเครื่องเล่นเพลงอย่างสมบูรณ์ 00:04:15.405 --> 00:04:19.301 นี่ค่ะ ทีซีพี เพื่อนรักคนใหม่ คือโพรโตคอลการควบคุมการส่งสัญญาณ 00:04:19.593 --> 00:04:23.597 TCP จัดการการรับส่งข้อมูลเป็นแพ็คเก็ต 00:04:23.930 --> 00:04:26.516 เหมือนบริการรับประกันพัสดุค่ะ 00:04:27.017 --> 00:04:31.480 เวลาคุณขอเพลงมาเปิดในเครื่อง สปอติฟายจะส่งเพลงแยกมาหลายแพ็คเก็ต 00:04:33.064 --> 00:04:35.734 พอแพ็คเก็ตมาถึง TCP ก็จะเช็คให้ 00:04:35.942 --> 00:04:39.029 และแจ้งกลับว่าได้รับแพ็คเก็ตครบแล้วนะ 00:04:39.780 --> 00:04:43.408 ถ้าแพ็คเก็ตไปถึงครบ TCP จะเซ็นรับพัสดุ แล้วก็จบ 00:04:50.582 --> 00:04:53.543 ถ้าแพ็คเก็ตไม่ครบ มันจะไม่เซ็น 00:04:54.252 --> 00:04:58.715 ถ้าเซ็น เพลงจะคุณภาพต่ำ หรือขาดหายไปได้ค่ะ 00:04:59.174 --> 00:05:02.469 หากแพ็คเก็ตหล่นหายหรือไม่ครบ สปอติฟายจะส่งให้ใหม่ 00:05:03.094 --> 00:05:07.599 พอ TCP ยืนยันว่าแพ็คเก็ตเพลงนั้น ถึงครบแล้ว 00:05:07.724 --> 00:05:09.351 เพลงของคุณก็จะเริ่มเล่น 00:05:11.645 --> 00:05:15.190 TCP และระบบเราเตอร์ดีตรงที่ปรับขนาดได้ 00:05:15.440 --> 00:05:18.568 สามารถทำงานกับอุปกรณ์ 8 เครื่อง หรือ 8 พันล้านเครื่องก็ได้ 00:05:18.860 --> 00:05:21.905 หลักการที่ทนต่อความผิดพลาด และความซ้ำซ้อนนี้ 00:05:22.405 --> 00:05:25.742 ยิ่งเพิ่มเราเตอร์เยอะ อินเทอร์เน็ตยิ่งน่าเชื่อถือ 00:05:25.784 --> 00:05:28.161 แถมเรายังให้อินเทอร์เน็ต เติบโตและปรับขนาดได้ 00:05:28.411 --> 00:05:30.747 โดยไม่รบกวนคนที่กำลังใช้งาน 00:05:32.249 --> 00:05:34.626 อินเทอร์เน็ตประกอบด้วยหลายแสนเครือข่าย 00:05:34.835 --> 00:05:38.672 และอุปกรณ์หลายพันล้านเครื่อง ที่เชื่อมต่อกันทางกายภาพ 00:05:39.172 --> 00:05:42.467 ระบบที่ต่างกัน ที่ก่อเป็นอินเทอร์เน็ตนี้เชื่อมถึงกัน 00:05:42.491 --> 00:05:45.303 สื่อสารกัน และทำงานร่วมกัน 00:05:45.554 --> 00:05:50.600 ด้วยมาตรฐานที่ตกลงกันไว้ว่า จะส่งข้อมูลกันในอินเทอร์เน็ตอย่างไร 00:05:51.185 --> 00:05:53.937 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือเราเตอร์ในอินเทอร์เน็ต 00:05:54.271 --> 00:05:56.815 ช่วยให้แพ็คเก็ตถึงจุดหมายปลายทาง 00:05:57.107 --> 00:06:00.235 ที่จะประกอบกันตามลำดับ หากจำเป็น 00:06:01.903 --> 00:06:04.281 สิ่งนี้เกิดขึ้นวันละหลายพันล้านครั้ง 00:06:04.531 --> 00:06:08.368 ไม่ว่าคุณและคนอื่นจะส่งอีเมล เข้าชมเว็บเพจ 00:06:08.702 --> 00:06:11.496 วีดีโอแช็ต ใช้แอปมือถือ 00:06:11.788 --> 00:06:14.791 หรือเมื่อเซนเซอร์ และอุปกรณ์ในอินเทอร์เน็ตสื่อสารกันครับ