ไม่มีอวัยวะอื่นใด อาจเป็นไปได้ว่าไม่มีวัตถุอื่นใด ในชีวิตมนุษย์ ที่ชุ่มฉ่ำไปด้วยอุปมาอุปมัยและความหมาย เท่าเทียมกับหัวใจมนุษย์ ต่อเนื่องมาตลอดประวัติศาสตร์ หัวใจเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตด้านอารมณ์ของเรา ผู้คนจำนวนมากพิจารณาเห็นว่า หัวใจเป็นที่อยู่ของวิญญาณ เป็นคลังอารมณ์ความรู้สึก คำว่า “อารมณ์" (emotion) มีรากคำส่วนหนึ่ง มาจากคำกริยาภาษาฝรั่งเศส “emouvoir” แปลว่า “แหย่ กระตุ้น” และบางทีก็สมเหตุสมผลที่ว่า อารมณ์น่าจะเชื่อมต่อกับอวัยวะหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะพิเศษจากการเคลื่อนไหว ที่ไม่หยุดนิ่งของมัน แต่อะไรคือการเชื่อมต่อนี้หรือ มีสิ่งที่เชื่อมต่อจริง ๆ หรือเป็นเพียงแค่การเปรียบเทียบ ในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจ ผมมาที่นี่ในวันนี้เพื่อบอกคุณว่า การเชื่อมต่อที่ว่านี้มีอยู่จริง อารมณ์ซึ่งคุณจะได้เรียนรู้ สามารถและมีผลกระทบทางกายภาพ โดยตรงต่อหัวใจของมนุษย์ แต่ก่อนที่เราจะไปถึงเรื่องนี้ เรามาคุยกันเล็กน้อย เกี่ยวกับหัวใจในเชิงอุปมาอุปไมย ความหมายเชิงสัญลักษณ์ของหัวใจ ยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้ ถ้าเราถามผู้คนว่าภาพใด ที่พวกเขาเห็นว่าสัมพันธ์กับความรัก ไม่ต้องสงสัยเลยว่าหัวใจวาเลนไทน์ น่าจะมาเป็นอันดับแรก รูปหัวใจที่เรียกกันว่า คาร์ดิออยด์ (cardioid) พบได้ทั่วไปตามธรรมชาติ พบได้ในใบไม้ ดอกไม้และเมล็ดของพืชหลายชนิด รวมทั้งดอกซิลเฟียม (silphium) ซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อการคุมกำเนิดในยุคกลาง และบางที่น่าจะเป็นเหตุผลว่า ทำไมรูปหัวใจจึงถูกนำมาสัมพันธ์ กับเพศสัมพันธ์และความรักเชิงโรแมนติก ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลใดก็ตาม รูปหัวใจเริ่มปรากฎในภาพวาดของคู่รัก ในศตวรรษที่ 13 เมื่อเวลาผ่านไปภาพหัวใจเหล่านั้นเริ่มเป็นสีแดง เป็นสีของเลือด เป็นสัญลักษณ์ของความหลงใหล ในโบสถ์โรมันคาทอลิก รูปหัวใจเริ่มเป็นที่รู้จักว่าเป็น หัวใจที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูคริสต์ ถูกประดับตกแต่งด้วยหนาม และทอแสงสีละเอียดอ่อน รูปหัวใจกลายเป็นเครื่องหมาย ของความรักที่มีต่อศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างหัวใจและความรักนี้ คงอยู่เหนือความทันสมัย เมื่ออดีตทันตแพทย์บาร์นี คลาร์ก (Barney Clark) ผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจล้มเหลวระยะสุดท้าย ได้รับหัวใจเทียมถาวรเป็นคนแรก ในรัฐยูทาห์ในปี ค.ศ 1982 ภริยาของเขาวัย 39 ปีซักถามแพทย์ว่า “เขาจะยังคงรักฉันไหมคะ” ในปัจจุบัน เรารู้ว่าหัวใจนั้น ไม่ได้เป็นแหล่งกำเนิดของความรัก หรืออารมณ์อื่นใดก็็ตาม คนสมัยก่อนเข้าใจผิด แต่แล้ว เราก็มาเข้าใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆว่า ความสัมพันธ์ระหว่างหัวใจและอารมณ์ เป็นความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้ง หัวใจอาจไม่ใช่ต้นกำเนิดของความรู้สึกของเรา แต่มีการตอบสนองอย่างมากต่อความรู้สึกเหล่านั้น ในแง่หนึ่ง ข้อมูลความรู้สึกของเรานั้น ถูกเขียนไว้ในหัวใจของเรา ตัวอย่างเช่นความกลัวและความเศร้า สามารถก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บเบื้องต้นของหัวใจได้ เส้นประสาทซึ่งควบคุมกระบวนการทำงาน เหนือจิตใต้สำนึกต่าง ๆ เช่น การเต้นของหัวใจ สามารถรู้สึกถึงความเศร้า และกระตุ้นปฏิกิริยาตอบสนองสถานการณ์กดดัน ที่จะไปกระตุ้นหลอดเลือดให้หดตัว ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น และความดันโลหิตขึ้นสูง มีผลให้เกิดความเสียหาย พูดอีกอย่างหนึ่งคือ ยิ่งชัดเจนขึ้นเรื่อยๆว่า หัวใจของเรานั้นอ่อนไวเป็นพิเศษ ต่อระบบทางอารมณ์ของเรา จะบอกว่าอ่อนไหวต่อหัวใจที่เรานึกถึงก็ได้ มีความผิดปกติทางหัวใจที่เป็นที่รู้จักเป็นครั้งแรก เมื่อราวสองทศวรรษที่แล้ว ที่เรียกกันว่า “ takotsubo cardiomyopathy ” หรือ “ อาการหัวใจสลาย ” เมื่อหัวใจไม่ตอบสนองต่อความเครียด หรือความโศกเศร้าที่รุนแรง อย่างเช่นหลังจากการเลิกรา หรือการตายของคนที่เรารัก อย่างที่ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็น หัวใจเศร้าสร้อยที่อยู่ตรงกลาง ดูจะแตกต่างอย่างมาก จากหัวใจปกติที่อยู่ทางซ้ายมือ มันหดตัวลง และค่อยๆพองออก เป็นรูปหม้อ takotsubo อย่างชัดเจน ที่แสดงอยู่ทางขวามือ หม้อญี่ปุ่นที่มีฐานกว้างและคอขวดแคบ เราไม่ทราบแน่ชัดว่าทำไมอาการนี้จึงเกิดขึ้น และอาการที่ว่านี้มักจะหายไปภายในไม่กี่สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ในระยะอาการขั้นรุนแรง มันสามารถเป็นสาเหตุของโรคหัวใจล้มเหลว อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต และอาจถึงตายได้ ตัวอย่างเช่น สามีของคนไข้สูงอายุของผม ได้จากไปเมื่อไม่นานมานี้ แน่นอนครับ เธอโศกเศร้าเสียใจแต่ก็ทำใจได้ เธออาจจะรู้สึกโล่งใจขึ้นมานิดหน่อย มันเป็นการเจ็บป่วยที่ยาวนานมาก เขาเป็นโรคภาวะสมองเสื่อม แต่หนึ่งสัปดาห์หลังจากงานศพ เธอมองดูภาพของเขา และน้ำตาก็ไหลอาบหน้า แล้วก็เกิดอาการเจ็บหน้าอก และพร้อมกันนั้นก็มีอาการหายใจขัด เส้นเลือดดำที่คอโป่งขยายออกมา เหงื่อท่วม อาการเหนื่อยหอบที่เห็นได้ชัดเจน ขณะที่เธอกำลังนั่งลงบนเก้าอี้ ทั้งหมดเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจล้มเหลว เธอถูกส่งเข้าโรงพยาบาล ที่ผลอัลตราซาวด์ยืนยัน ตามที่เราสงสัยอยู่แล้วว่า หัวใจของเธอหดน้อยกว่าครึ่ง ของขนาดตามปกติของมัน และได้โป่งพองออกเป็นรูปหม้อ takotsubo แต่การทดสอบอื่นๆก็ไม่มีอะไรผิดปกติ ไม่มีอาการของเส้นเลือดอุดตันที่ไหนเลย สองสัปดาห์หลังจากนั้น สภาพอารมณ์ของเธอก็คืนสู่ปกติ ยืนยันด้วยผลอัลตราซาวด์ หัวใจเธอก็เป็นปกติเหมือนกัน อาการหัวใจสลาย ถูกนำมาสัมพันธ์กับสถานการณ์กดดันมากมาย รวมทั้งการพูดในที่สาธารณะ (เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ) การทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว การเสียพนัน แม้กระทั่งการฉลองวันเกิดที่เจ้าตัวไม่รู้มาก่อน (เสียงหัวเราะ) แม้กระทั่งถูกนำไปสัมพันธ์ กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในวงกว้าง เช่น หลังจากความหายนะทางธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ 2004 แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ได้ทำลายล้างตำบลหนึ่ง บนเกาะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มากกว่า 60 คนเสียชีวิตและหลายพันคนบาดเจ็บ เมื่อติดตามความหายนะในเรื่องนี้ นักวิจัยได้พบว่าผลจากอาการหัวใจสลาย ได้เพิ่มสูงขึ้น 24 เท่า ในตำบนนั้น หนึ่งเดือนหลังจากเกิดแผ่นดินไหว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ในปีก่อนหน้านั้น ตำแหน่งที่อยู่อาศัยในเหตุการณ์เหล่านี้ สัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างมาก กับความรุนแรงของแผ่นดินไหว ในเกือบทุกกรณี เป็นผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ ใกล้กับศูนย์กลางของแผ่นดินไหว ที่น่าสนใจคือ เราพบอาการหัวใจสลาย หลังจากเหตุการณ์น่ายินดีเช่นกัน แต่หัวใจมีปฏิกิริยาที่แตกต่างออกไป โดยโป่งพองขึ้นในช่วงกลาง ไม่ใช่ในตอนท้าย สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ถึงส่งผลต่อสภาพหัวใจนั้น ยังคงเป็นความลึกลับ แต่ปัจจุบัน บางทีเพื่อเป็นการสรรเสริญ นักปรัชญาโบราณของเรา เราสามารถพูดได้ว่า แม้ว่าอารมณ์ ไม่ได้ถูกบรรจุไว้ภายในหัวใจของพวกเรา แต่หัวใจที่มีความรู้สึกนั้นมีส่วนทับซ้อน กับหัวใจทางชีววิทยา ในแบบที่น่าประหลาดใจและลึกลับซับซ้อน กลุ่มอาการโรคหัวใจ ซึ่งรวมถึงการเสียชีวิตอย่างกระทันหัน ได้รับการรายงานมาตลอดว่าเกิดขึ้นกับบุคคล ที่ประสบกับการรบกวนด้านอารมณ์ที่รุนแรง หรือประสบความไม่สงบในหัวใจ ในปี ค.ศ 1942 นักสรีรวิทยามหาวิทยาลัยฮาวาร์ด วอลเตอร์ แคนนอน (Walter Cannon) ตีพิมพ์บทความชื่อว่า การตายแบบวูดู (Voodoo Death) ซึ่งเขาอธิบายกรณีการตายจากความตื่นกลัว ในผู้คนที่เชื่อว่าพวกเขาถูกสาป เช่น จากหมอผี หรือจากผลของการกินผลไม้ต้องห้าม ในหลายๆกรณี ผู้เป็นเหยื่อนั้นสูญสิ้นความหวัง เสียชีวิตทันที ณ ที่นั้น สิ่งที่เหมือนกันในกรณีเหล่านี้คือ ผู้เป็นเหยื่อเชื่ออย่างหมดหัวใจว่า มีอำนาจจากภายนอก ที่สามารถเป็นเหตุให้พวกเขาถึงแก่ความตายได้ และทำให้พวกเขาไร้พลังที่จะต่อสู้ การขาดการควบคุมที่ตัวเองสำเหนียกรู้นี้เอง ที่แคนนอน ได้ตั้งสมมุติฐานไว้ ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาทางกายภาพ ที่ไม่อาจประเมิณได้ ในหลอดเลือดที่ถูกทำให้บีบรัดจนถึงขนาดที่ ปริมาณเลือดลดลงอย่างรุนแรง ความดันโลหิตตกฮวบลง หัวใจอ่อนลงอย่างรุนแรง และส่งผลให้เกิดความเสียหาย ต่ออวัยวะอย่างรุนแรงจากการขาดออกซิเจน แคนนอนเชื่อว่าการเสียชีวิตแบบวูดูนั้น ถูกจำกัดไว้เฉพาะคนพื้นเมือง หรือ “ คนไร้อารยะ ” แต่ตลอดมาหลายปี พบว่าการเสียชีวิตประเภทนี้เกิดขึ้น ในทุกลักษณะต่อคนสมัยใหม่ด้วย ในปัจจุบัน การเสียชีวิตจากความเศร้าพบเห็นได้ ในคู่สามีภรรยาและในญาติพี่น้อง อาการใจสลายเป็นอันตรายถึงตายได้ ทั้งตามจริงและในเชิงอุปมา ความสัมพันธ์เหล่านี้เป็นจริง แม้กระทั่งกับสัตว์ ในงานวิจัยที่น่าทึ่งงานหนึ่งในปี ค.ศ 1980 ที่เผยแพร่ในวารสาร “ Science ” นักวิจัยได้ให้อาหารคอเลสเตอรอลสูง กับกระต่ายที่ขังไว้ในกรง เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของมัน ต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นที่น่าประหลาดใจเมื่อพบว่า กระต่ายบางตัวมีโรคมากกว่าตัวอื่น แต่พวกเขาอธิบายไม่ได้ว่าเป็นเพราะอะไร กระต่ายเหล่านั้นได้รับอาหาร สภาพแวดล้อม และมียีนตามพันธุกรรมที่คล้ายกันอย่างมาก พวกเขาคิดว่ามันอาจจะมีบางสิ่งที่เกี่ยวข้อง กับความถี่ที่นักเทคนิคห้องปฏิบัติการ มีปฏิสัมพันธ์กับกระต่ายเหล่านั้น พวกเขาจึงทำการวิจัยซ้ำ โดยแบ่งกระต่ายออกเป็น 2 กลุ่ม ทั้งสองกลุ่มได้รับอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง แต่ในกลุ่มหนึ่งนั้น กระต่ายถูกนำออกมาจากกรง จับอุ้ม ลูบหัวลูบหาง พูดคุยด้วย เล่นด้วย และในอีกกลุ่มหนึ่งนั้น กระต่ายคงอยู่ในกรงของพวกมัน และถูกทิ้งไว้ตามลำพัง ครบหนึ่งปี ในการตรวจวิเคราะห์ซาก นักวิจัยพบว่า กระต่ายในกลุ่มแรก ที่มีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดแดงหัวใจ น้อยกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง 60 เปอร์เซนต์ ถึงแม้ว่าจะมีระดับคอเลสเตอรอล ความดันโลหิต อัตราการเต้นหัวใจที่คล้ายคลึงกัน ในปัจจุบัน การให้การดูแลรักษาหัวใจ ได้กลายเป็นเรื่องของนักปรัชญาน้อยลง นักปรัชญาผู้พินิจพิเคราะห์ ความหมายเชิงอุปมาอุปไมยของหัวใจ มาเป็นงานหลักของแพทย์อย่างผม โดยใช้เทคโนโลยี ที่แม้กระทั่งศตวรรษที่แล้วนั้น ถูกพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องต้องห้าม เพราะสถานภาพของหัวใจในขณะนั้น ถูกยกย่องอย่างสูงสุด ในกระบวนการที่ว่านั้น หัวใจได้ถูกแปรเปลี่ยนไป จากการเป็นวัตถุที่เกือบจะเหนือธรรมชาติ ที่เปี่ยมไปด้วยอุปมาอุปไมยและความหมาย ไปเป็นเครื่องจักรกล ที่เราสามารถเข้าไปจัดการและควบคุมได้ แต่นี่แหละเป็นกุญแจสำคัญ การเข้าไปจัดการเหล่านี้ ขณะนี้เราเข้าใจแล้ว ต้องได้รับการเสริมเพิ่มเติม ด้วยความเอาใจใส่ทางอารมณ์ ที่เราเชื่อกันว่ามีอยู่ในหัวใจ มานานหลายพันปีมาแล้ว ตัวอย่างเช่น ลองพิจารณาบทความเรื่อง Lifestyle Heart Trial ที่พิมพ์เผยแพร่ในวารสารของอังกฤษ ชื่อว่า The Lancet ในปี ค.ศ 1990 ผู้ป่วยโรคหัวใจระยะกลางหรือรุนแรง 48 คน ได้รับการสุ่มให้มีการรักษาแบบปกติ หรือมีไลฟ์สไตล์ที่เข้มงวดที่รวมถึง การรับประทานอาหารมังสวิรัติไขมันต่ำ การออกกำลังกายแอโรบิคสม่ำเสมอ กลุ่มช่วยเหลือทางจิตสังคม และคำแนะนำด้านการจัดการเรื่องความเครียด นักวิจัยได้พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มวิถีการดำเนินชีวิต มีการลดลงของคราบไขมันในหลอดเลือดหัวใจ เกือบจะ 5 เปอร์เซ็นต์ ในทางกลับกัน คนป่วยที่มีการรักษาปกติ มีคราบไขมันในหลอดเลือด มากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ใน 1 ปี และเพิ่มขึ้น 28 เปอร์เซ็นต์ใน 5 ปี พวกเขายังมีอาการโรคหัวใจ มากกว่าเกือบสองเท่า อย่างเช่น หัวใจวาย หรือได้รับการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ และการเสียชีวิตที่สืบเนื่องกับหัวใจ เอาหละ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ ผู้ป่วยบางคนในกลุ่มที่มีการรักษาปกติ นำแผนควบคุมอาหารและการออกกำลังกายมาปฏิบัติ แผนปฏิบัติเหล่านี้เคร่งครัดพอ ๆ กับ ของกลุ่มที่มีไลฟ์สไตล์เข้มงวดอีกกลุ่ม โรคหัวใจของพวกเขาก็ยังคงมีอยู่ อาหารและการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่เพียงพอที่จะทำให้โรคหัวใจลดน้อยลง การติดตามผลทั้งสองครั้ง ใน 1 ปี และใน 5 ปี การจัดการความเครียดนั้นมีผลอย่างมาก ต่อการรักษาอาการของโรคหัวใจ ยิ่งกว่าการออกกำลังกาย ไม่ต้องสงสัยเลย งานวิจัยนี้และงานวิจัยอื่น ที่คล้ายคลึงกันนั้นมีน้อย และแน่นอนครับ แม้จะมีความสัมพันธ์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นสาเหตุ เป็นไปได้อย่างแน่นอนว่า ความเครียดนำไปสู่นิสัยที่ไม่ดี และนั่นเป็นเหตุผลที่แท้จริง ของความเสี่ยงโรคหัวใจที่เพิ่มขึ้น แต่ก็เหมือนกับความสัมพันธ์ ระหว่างการสูบบุหรี่และโรคมะเร็งปอด เมื่องานวิจัยจำนวนมากเหลือเกิน แสดงให้เห็นสิ่งเดียวกัน และเมื่อมีกลไก ที่จะอธิบายความสัมพันธ์ด้านสาเหตุ ก็ยากที่จะปฏิเสธว่ามีสาเหตุจริง ๆ อยู่ สิ่งที่แพทย์หลายคนได้สรุปคือ สิ่งที่ผมได้เรียนรู้ด้วยเหมือนกัน ว่าในช่วงเกือบจะ 2 ทศวรรษของผม ในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจ หัวใจเชิงอารมณ์มีส่วนสัมพันธ์ กับหัวใจในทางชีววิทยา ในแบบที่น่าประหลาดใจและลึกลับซับซ้อน แต่การแพทย์ในปัจจุบันยังคงตีกรอบ ความคิดที่ว่าหัวใจเป็นเหมือนเครื่องจักร การสร้างกรอบความคิดนี้ได้มีประโยชน์อย่างมาก การศึกษาศาสตร์ที่เกี่ยวกับหัวใจ แวดวงของผม ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเป็นหนึ่งในเรื่องราว ความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ใน 100 ปี ที่ผ่านมา การใส่ขดเลือด การกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า การกระตุกหัวใจ การผ่าตัดบายพาสหัวใจ การเปลี่ยนหัวใจ - - ทั้งหมดนี้ได้ถูกพัฒนา หรือถูกประดิษฐ์ขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ ว่าพวกเรากำลังเข้าไปใกล้ขีดจำกัดของสิ่ง ที่การแพทย์เชิงวิทยาศาสตร์สามารถทำได้ เพื่อที่จะสู้รบกับโรคหัวใจ แท้จริงแล้ว อัตราการถดถอยลงของการตายจากโรคหัวใจ ได้ช้าลงอย่างมีนัยสำคัญในทศวรรษที่ผ่านมา เราจำเป็นต้องผลัดเปลี่ยน ไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ เพื่อจะยังคงให้เกิดความก้าวหน้า ในแบบที่เราคุ้นเคย ในกระบวนทัศน์นี้ ปัจจัยเชิงจิตสังคม จำเป็นต้องมาก่อนและส่วนสำคัญ ต่อวิธีที่คิดของเราเกี่ยวกับปัญหาโรคหัวใจ นี่จะเป็นการต่อสู้ที่ยากลำบาก และจะยังหลงเหลือขอบเขต ที่ยังไม่ได้ถูกค้นพบอีกมาก สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกายังไม่บรรจุ ความเครียดทางอารมณ์ให้เป็นส่วนหนึ่ง ในตัวแปรที่สำคัญ ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ บางทีส่วนหนึ่งนั้นอาจเป็นเพราะว่า การทำให้คอเลสเตอรอลลดลง ง่ายกว่าการลดความปั่นป่วนทางอารมณ์และสังคม บางทีน่าจะมีวิธีการที่ดีกว่า ถ้าหากเรายอมรับว่าเมื่อเราพูดว่า “ อกหัก ” บางครั้งเรากำลังพูดถึงหัวใจที่แตกออกเป็นเสี่ยง ๆ จริง เราจะต้อง จะต้องเอาใจใส่มากขึ้น กับพลังและความสำคัญของอารมณ์ ในการดูแลรักษาหัวใจของเรา ความเครียดด้านอารมณ์ที่ผมได้เรียนรู้นั้น มักจะเป็นเรื่องของการมีชีวิตอยู่และการตาย ขอบคุณครับ (เสียงปรบมือ)