Return to Video

หุ่นยนต์ส่งอาหารอัตโนมัติที่แสนจะเป็นมิตร

  • 0:01 - 0:03
    บริการส่งอาหาร
  • 0:03 - 0:06
    ถือว่าเป็นสิ่งที่ช่วยคนรุ่นใหม่จากความหิว
  • 0:07 - 0:08
    จากที่ผมได้คำนวณ
  • 0:08 - 0:12
    คนอเมริกาสั่งอาหารมากกว่า 20 ล้านครั้ง
  • 0:12 - 0:14
    ในแต่ละวัน
  • 0:14 - 0:17
    โดยที่ร้านเกินครึ่งสามารถเดินไปซื้อได้
  • 0:17 - 0:21
    ถึงอย่างนั้น 9 ใน 10
    ก็ให้รถไปส่งอาหารอยู่ดี
  • 0:22 - 0:24
    พูดง่าย ๆ ก็คือ
  • 0:24 - 0:26
    เราส่งบูร์ริโตที่หนักเพียง 2 ปอนด์
  • 0:26 - 0:28
    ด้วยรถยนต์ที่หนักมากกว่า 2 ตัน
  • 0:28 - 0:30
    20 ล้านครั้งต่อวัน
  • 0:30 - 0:32
    เเรงงานที่มาส่งเเค่บูร์ริโตนั้น
  • 0:32 - 0:35
    ก็คือโครงเหล็กหนักกว่า 2 ตัน
  • 0:35 - 0:36
    พร้อมที่นั่งอุ่น ๆ
  • 0:36 - 0:38
    พูดตรง ๆ ก็คือ
  • 0:38 - 0:40
    เราติดการใช้รถยนต์
  • 0:40 - 0:42
    รู้หรือไม่ว่าที่สหรัฐฯ
  • 0:42 - 0:45
    รถทุกคันมีที่จอดถึง 4 ที่
  • 0:45 - 0:47
    ในบางเมืองใหญ่ ๆ
  • 0:47 - 0:50
    ที่เกินครึ่งในเมืองมีไว้เพื่อจอดรถโดยเฉพาะ
  • 0:50 - 0:53
    เราออกแบบเมืองตามการขับรถ
  • 0:53 - 0:56
    เพราะเราเลือกที่จะขับรถ ไม่ว่าจะ 2 ไมล์
  • 0:56 - 0:58
    หรือ 200 ไมล์
  • 0:58 - 1:00
    ไปคนเดียว หรือไปกันทั้งครอบครัว
  • 1:01 - 1:06
    เรานั่งรถ SUV ไปซื้อทั้งกาแฟและโต๊ะกาแฟ
  • 1:06 - 1:09
    ถ้าเราขับและใช้ที่จอดรถน้อยลง
  • 1:09 - 1:10
    เราก็จะมีพื้นที่สำหรับบ้าน
  • 1:10 - 1:12
    พื้นที่สังคมและสวนสาธารณะมากขึ้น
  • 1:13 - 1:14
    ถ้าอยากได้แบบนั้น
  • 1:14 - 1:18
    ก่อนอื่น เราต้องทบทวนการใช้รถยนต์ทุกวันนี้
  • 1:18 - 1:19
    เพื่อในอนาคต
  • 1:19 - 1:23
    ถ้าไปแค่ 5 ช่วงตึก
    ก็ใช้จักรยานหรือสกูตเตอร์
  • 1:23 - 1:26
    ถ้ารีบก็เรียกโดรนโดยสารมารับ
  • 1:26 - 1:30
    ถ้าต้องการอาหารก็ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาส่ง
  • 1:30 - 1:32
    อาหารจะมาเสิร์ฟถึงที่
  • 1:32 - 1:36
    กลับไปที่เลข 20 ล้าน
    ที่คนอเมริกันสั่งอาหาร
  • 1:36 - 1:39
    ถ้าเราทำให้การสั่งซื้ออยู่นอกพื้นที่ถนนได้
  • 1:39 - 1:41
    เราจะช่วยลดความจำเป็น
  • 1:41 - 1:45
    ในการใช้รถมากถึง 1.5 ล้านคัน
    นี่แค่ในสหรัฐฯ
  • 1:45 - 1:48
    ซึ่งนับเป็นสองเท่าของขนาดซานฟรานซิสโก
  • 1:48 - 1:52
    ทีนี้ลองมาดูผลกระทบต่อเมืองอย่างเดลี
  • 1:52 - 1:55
    หรือเตหะรานบ้านเกิดของผม
  • 1:55 - 1:58
    ซึ่งมลพิษอากาศได้คร่าชีวิตคนหลายพันต่อปี
  • 1:59 - 2:03
    เราจะลดปริมาณการขนส่งบนท้องถนนได้อย่างไร
  • 2:05 - 2:06
    นั่นคือสิ่งที่น่าคิด
  • 2:06 - 2:10
    ซึ่งผมและทีมงานได้พยามหาคำตอบมาตลอด 3 ปี
  • 2:10 - 2:13
    และคำตอบก็อยู่ที่ช่วงตึกใดช่วงตึกหนึ่ง
  • 2:13 - 2:15
    ของเมืองในอนาคต
  • 2:16 - 2:20
    เราได้พยามสร้างหุ่นยนต์ไร้คนขับขนาดเล็ก
  • 2:20 - 2:23
    ที่ขับเคลื่อนตามตรอกและทางเท้าไม่พลุกพล่าน
  • 2:23 - 2:25
    บนทางเดิน
  • 2:25 - 2:28
    พร้อมที่บรรจุสินค้าแน่นหนาก่อนนำส่ง
  • 2:28 - 2:31
    ที่นี้ก่อนที่จะเล่าเกี่ยวกับหุ่นยนต์ต่อ
  • 2:31 - 2:33
    มาทำการทดลองทางความคิดสั้น ๆ กัน
  • 2:34 - 2:38
    ลองนึกภาพเมืองที่มีหุ่นยนต์หลายพันตัว
  • 2:39 - 2:40
    ใช่แบบนี้รึเปล่า
  • 2:41 - 2:45
    คนจำนวนมากอาจนึกถึง
    ภาพยนตร์ฮอลลิวู้ดแนวสังคมสิ้นหวัง
  • 2:45 - 2:50
    แต่งานของเราคือออกแบบอนาคตที่เป็นมิตรกับคน
  • 2:50 - 2:53
    แทนที่จะสร้างมนุษย์ต่างดาว
  • 2:53 - 2:57
    เราเริ่มสร้างหุ่นยนต์ที่เข้าถึงได้มากขึ้น
  • 2:57 - 3:00
    หุ่นยนต์ที่จะเข้ากับชุมชน
  • 3:01 - 3:03
    แต่เราก็ต้องการความประหลาดใจ
    เล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วย
  • 3:03 - 3:06
    สิ่งที่น่ารื่นรมย์แบบคาดไม่ถึง
  • 3:06 - 3:07
    ลองคิดดูสิ
  • 3:07 - 3:08
    คุณกำลังเดินอยู่บนถนน
  • 3:09 - 3:11
    และคุณก็เห็นหุ่นยนต์ตัวแรก
  • 3:11 - 3:13
    นั่นคือช่วงเวลาที่คุณจะตัดสินใจว่า
  • 3:13 - 3:16
    นี่คืออนาคตที่คุณจะรักหรือจะกลัว
  • 3:17 - 3:20
    และในเมื่อคนจำนวนมากมีความคิดด้านลบ
  • 3:20 - 3:22
    เราต้องทำให้พวกเขาเปิดใจ
  • 3:22 - 3:25
    เราต้องทำให้พวกเขาประหลาดใจและรื่นรมย์
  • 3:25 - 3:28
    เพื่อชนะใจพวกเขาให้ประทับใจตั้งแต่แรก
  • 3:28 - 3:29
    นี่คือสิ่งที่พวกเราคิดขึ้นได้
  • 3:29 - 3:32
    เข้าถึงได้ แต่ก็เหนือความคาดหมาย
  • 3:33 - 3:34
    เหมือนเป็นรถเข็น
  • 3:35 - 3:38
    เหมือนเราเอาวอลล์- อี กับมินเนียนมารวมกัน
  • 3:39 - 3:42
    ถ้าคุณอยู่ในซานฟรานซิสโกหรือลอสแอนเจลิส
  • 3:42 - 3:45
    อาจมีหุ่นยนต์พวกนี้ไปส่งอาหารให้คุณแล้ว
  • 3:45 - 3:48
    ทันทีที่พวกเรานำหุ่นยนต์ไปตั้งตามท้องถนน
  • 3:48 - 3:50
    เราก็พบปัญหาที่น่าสนใจ
  • 3:50 - 3:53
    เช่น หุ่นยนต์จะข้ามถนนยังไง
  • 3:54 - 3:59
    หรือหุ่นยนต์จะปฏิสัมพันธ์กับผู้พิการยังไง
  • 4:00 - 4:04
    แล้วเราก็ตระหนักได้ว่าเราต้องสอนหุ่นยนต์
  • 4:04 - 4:06
    ให้รู้จักสื่อสารกับผู้คน
  • 4:07 - 4:10
    คนที่อยู่บนทางเท้ามาจากหลากสาขาอาชีพ
  • 4:10 - 4:13
    เราจึงต้องคิดภาษาใหม่
  • 4:13 - 4:15
    ที่เป็นสากล
  • 4:15 - 4:18
    เพื่อให้ผู้คนและหุ่นยนต์เข้าใจกันได้
  • 4:18 - 4:19
    ในทันที
  • 4:19 - 4:22
    เพราะไม่มีใครมานั่งอ่านคู่มือหรอก
  • 4:24 - 4:27
    เราเริ่มจากดวงตา เพราะภาษาตาเป็นภาษาสากล
  • 4:27 - 4:29
    ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหุ่นยนต์จะไปทางไหน
  • 4:29 - 4:32
    หรือว่ามันสับสน
  • 4:32 - 4:34
    อีกอย่าง ตาทำให้หุ่นยนต์เป็นมนุษย์มากขึ้น
  • 4:35 - 4:37
    เรายังต้องใช้เสียง
  • 4:37 - 4:40
    อย่างเช่น การสร้างเสียงวิ่ง
  • 4:40 - 4:41
    โดยเพิ่มความถี่บ่อยๆ
  • 4:41 - 4:45
    ให้ผู้ที่พิการทางสายตารู้ตำแหน่งหุ่นยนต์
  • 4:45 - 4:47
    โดยใช้ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์
  • 4:47 - 4:50
    แต่เท่านี้ก็ยังไม่เพียงพอ
  • 4:50 - 4:51
    ที่ทางแยก
  • 4:51 - 4:53
    รถจะตัดหน้าหุ่นยนต์
  • 4:53 - 4:56
    บางครั้งคนขับก็จะงุนงง
  • 4:56 - 5:00
    เพราะหุ่นยนต์ต้องใช้เวลานานกว่าจะข้ามถนน
  • 5:01 - 5:03
    แม้แต่คนเดินเท้าทั่วไปยังงง
  • 5:04 - 5:07
    บางทีก็ไม่แน่ใจว่าจะให้หุ่นยนต์เดินฝั่งไหน
  • 5:07 - 5:11
    เพราะหุ่นยนต์เปลี่ยนทิศทางบ่อย
  • 5:11 - 5:12
    เวลาเคลื่อนที่
  • 5:12 - 5:14
    แต่ก็ทำให้เกิดไอเดียใหม่ขึ้นมา
  • 5:15 - 5:19
    ว่าหากเราคิดภาษาสากลจากท่าทาง
  • 5:19 - 5:21
    อย่างที่สี่แยก
  • 5:21 - 5:24
    หุ่นยนต์จะขยับไปข้างหน้านิดหน่อยก่อนจะข้าม
  • 5:24 - 5:27
    เพื่อให้สัญญาณคนขับว่าถึงคิวพวกมันแล้ว
  • 5:28 - 5:30
    ถ้ามันเห็นคนนั่งรถเข็น
  • 5:30 - 5:34
    ก็จะให้ทางโดยการหันหน้าออกจากทางเท้า
  • 5:34 - 5:36
    เพื่อสื่อว่าพวกมันจะไม่ขยับ
  • 5:38 - 5:39
    พวกคุณบางคนอาจจำเรื่องนี้ได้
  • 5:39 - 5:45
    ปี 2015 นักวิจัยแคนาดา
    ได้ส่งหุ่นยนต์ไปโบกรถ
  • 5:46 - 5:47
    ทั่วสหรัฐฯ แต่ก็ไปไม่ได้ไกล
  • 5:47 - 5:51
    พบว่าหุ่นยนต์สามารถใช้ทักษะสังคมบางอย่าง
  • 5:51 - 5:53
    เช่น ถ้ามันไปเจอคนที่ใช้งานไม่เป็น
  • 5:54 - 5:59
    นักวิจัยคาร์เนกีเมลลอนให้หุ่นยนต์แกล้งตาย
  • 5:59 - 6:02
    เพราะคนจะรู้สึกแย่ถ้าคิดว่าเป็นคนทำมันพัง
  • 6:02 - 6:04
    แต่หุ่นยนต์ส่งของไม่ใช่ของเล่น
  • 6:05 - 6:07
    ขนาดไม่ได้เล็ก แล้วก็อยู่ในที่สาธารณะ
  • 6:07 - 6:10
    เราพบว่าถ้าจะไม่ให้คนที่ใช้งานไม่เป็น
  • 6:10 - 6:12
    มายุ่งกับหุ่นยนต์
  • 6:12 - 6:14
    หุ่นยนต์ต้องสร้างการตระหนักรู้
  • 6:15 - 6:17
    ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการแกล้งตาย
  • 6:18 - 6:19
    ในกรณีนี้
  • 6:19 - 6:22
    หุ่นยนต์ต้องยอมรับสถานการณ์
  • 6:22 - 6:24
    เพื่อให้คนหลีกทางให้
  • 6:25 - 6:26
    หรือให้คำแนะนำ
  • 6:26 - 6:29
    ถ้าคุณเป็นหุ่นยนต์และเห็นเด็กตัวเล็ก ๆ
  • 6:29 - 6:31
    วิ่งตรงไปที่ผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ที่สุด
  • 6:31 - 6:35
    กลายเป็นว่าเด็กบางคนชอบแกล้งหุ่นยนต์
  • 6:35 - 6:38
    เพราะฉะนั้น นอกจากความคิด
    แบบสังคมสิ้นหวังแล้ว
  • 6:38 - 6:41
    ในหนังฮอลลีวู้ดยังมีหุ่นยนต์เจ๋งๆ
  • 6:41 - 6:44
    ที่ช่วยเราทำธุระหรืออยู่เป็นเพื่อนเรา
  • 6:44 - 6:47
    จนถึงตอนนี้ เรามุ่งความสนใจที่การส่งอาหาร
  • 6:47 - 6:49
    แต่ในอนาคต
  • 6:49 - 6:51
    หุ่นยนต์อาจทำได้มากกว่านี้ เช่น
  • 6:51 - 6:55
    เก็บอาหารเหลือไปส่งตามศูนย์พักพิงทุกคืน
  • 6:56 - 7:00
    เพราะในสหรัฐฯ เราทิ้งอาหารร้อยละ 30
  • 7:00 - 7:03
    ขณะที่คนร้อยละ 10
    เผชิญความไม่มั่นคงทางอาหาร
  • 7:03 - 7:05
    หุ่นยนต์เหล่านี้อาจช่วยได้
  • 7:06 - 7:10
    หรือเมื่อเรามีหุ่นยนต์หลายร้อยตัวให้เมือง
  • 7:10 - 7:14
    เราอาจให้หุ่นยนต์ช่วยนำยามาให้ยามฉุกเฉิน
  • 7:14 - 7:18
    อย่างในกรณีที่คนใกล้ตัว
    มีอาการแพ้
  • 7:18 - 7:19
    หรือเป็นหอบหืด
  • 7:19 - 7:22
    หุ่นยนต์ก็จะมาถึงที่ได้ในหนึ่งหรือสองนาที
  • 7:22 - 7:24
    เร็วกว่าที่ใครจะทำได้
  • 7:24 - 7:25
    และในช่วงที่มีโรคระบาด
  • 7:26 - 7:28
    หุ่นยนต์จะมีส่วนสำคัญในโครงสร้างพื้นฐาน
  • 7:28 - 7:30
    โดยจะช่วยให้
  • 7:30 - 7:33
    เราสามารถช่วยเหลือตามจำเป็นแก่ชุมชนได้
  • 7:33 - 7:35
    แม้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • 7:35 - 7:38
    ผมขอทิ้งท้ายไว้ว่า
  • 7:38 - 7:44
    วันนี้สิ่งของไม่อาจเคลื่อนที่โดยไร้มนุษย์
  • 7:44 - 7:47
    เพราะโลก 3 มิตินั้นค่อนข้างซับซ้อน
  • 7:48 - 7:52
    แต่เซ็นเซอร์และปัญญาประดิษฐ์เปลี่ยนมันได้
  • 7:52 - 7:55
    ในแง่หนึ่งเทคโนโลยีก็เหมือนทารก
  • 7:55 - 7:59
    ที่เพิ่งเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และเข้าใจคำพูด
  • 7:59 - 8:02
    และอาจจะสนทนาขั้นพื้นฐานได้
  • 8:02 - 8:04
    แต่ยังเดินไม่เป็น
  • 8:05 - 8:07
    ตอนนี้พวกเรากำลังสอนเทคโนโลยี
  • 8:08 - 8:10
    ให้ขับเคลื่อนไปในโลก 3 มิติ
  • 8:10 - 8:11
    ด้วยตัวของมันเอง
  • 8:13 - 8:15
    เรากำลังเข้าสู่ยุคใหม่
  • 8:15 - 8:19
    ที่สิ่งของต่าง ๆ
    จะลุกขึ้นมาเคลื่อนที่อิสระ
  • 8:20 - 8:22
    และเมื่อเป็นเช่นนั้น
  • 8:22 - 8:24
    เราต้องมั่นใจว่าพวกมัน
    จะไม่เหมือนมนุษย์ต่างดาว
  • 8:24 - 8:29
    ผมมองว่าในอนาคต
    เมื่อสิ่งต่าง ๆ มีชีวิตขึ้น
  • 8:29 - 8:31
    มันจะมีความสุข
  • 8:31 - 8:34
    ก็นะ เอาแบบ "Terminator" ให้น้อยหน่อย
  • 8:34 - 8:36
    และให้เป็นแบบ "Toy Story" มากกว่า
  • 8:36 - 8:37
    ขอบคุณครับ
Title:
หุ่นยนต์ส่งอาหารอัตโนมัติที่แสนจะเป็นมิตร
Speaker:
อาลี คาชานี
Description:

พบกับหุ่นยนต์เป็นมิตรที่สามารถนำบูร์ริโต้ชิ้นต่อมาไปส่งให้คุณ อาลี คาชานี แนะนำให้พวกเรารู้จักกับหุ่นยนต์ส่งของอัตโนมัติของโพสเมตส์ และอธิบายว่ามันจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้อย่างไร อีกทั้งยังประหยัดพื้นที่ไปสร้างอสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าได้ทุกที่ทั่วเมือง มาเรียนรู้เพิ่มเติมว่ามันถูกออกแบบให้ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างซับซ้อนบนทางเท้าที่มีความวุ่นวายได้อย่างไรก่อนจะนำอาหาร (และอื่น ๆ) มาส่งที่บ้านคุณพร้อมกับความสุข

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
08:51

Thai subtitles

Revisions