Return to Video

ทาลิ ชารอท : การมองโลกแบบมีอคติในเชิงบวก

  • 0:00 - 0:04
    ฉันจะมาพูดเกี่ยวกับ การมองโลกในแง่ดี
  • 0:04 - 0:06
    หรือถ้าจะให้ชัดเจนขึ้น คือ การมองโลกแบบมีอคติในเชิงบวก
  • 0:06 - 0:08
    มันเป็นภาพลวงตา ทางความรู้สึกคิด
  • 0:08 - 0:10
    ที่เราทำการศึกษาวิจัยในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา
  • 0:10 - 0:12
    และพบว่าพวกเราร้อยละ80 มีความคิดแบบนี้
  • 0:12 - 0:15
    เรามีแนวโน้ม ที่จะประเมินในแง่ดีมากเกินไป
  • 0:15 - 0:18
    เกี่่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะประสบแต่เรื่องดีๆ ในชีวิตของเรา
  • 0:18 - 0:22
    แต่ประเมินเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะประสบกับเรื่องแย่ๆ ต่ำเกินไป
  • 0:22 - 0:25
    เราเลยไม่คิดว่า วันหนึ่งเราจะมีโอกาสป่วยเป็นมะเร็ง
  • 0:25 - 0:26
    หรือประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์
  • 0:26 - 0:30
    เรานึกแค่การมีชีวิตที่ยืนยาว
    ประสบความสำเร็จ ในหน้าที่การงาน
  • 0:30 - 0:33
    สรุปคือ เรามองโลกในแง่ดี
    มากกว่ามองโลกตามความเป็นจริง
  • 0:33 - 0:35
    และไม่เคยตระหนักถึงข้อเท็จจริงใดๆ
  • 0:35 - 0:37
    ยกตัวอย่างเช่น ชีวิตแต่งงาน
  • 0:37 - 0:41
    ในสังคมตะวันตกมีอัตราการหย่าร้างสูงถึงร้อยละ40
  • 0:41 - 0:44
    นั่นหมายความว่า ในคู่แต่งงาน 5 คู่
  • 0:44 - 0:47
    มี 2 คู่ ที่ต้องจบชีวิตรักด้วยการหย่าร้างแบ่งสมบัติ
  • 0:47 - 0:51
    แต่พอเราลองถามคู่รักที่เพิ่งแต่งงานหมาดๆ
    เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะหย่า
  • 0:51 - 0:54
    พวกเขาบอกว่า โอกาสแบบนั้นมีค่าเป็นศูนย์
  • 0:54 - 0:58
    แม้กระทั่งนักกฎหมายที่เชี่ยวชาญด้านการหย่า
    ที่ควรจะตระหนักได้ถึงความจริงข้อนี้
  • 0:58 - 1:02
    ก็ยังประเมินความเป็นไปได้ เรื่องการหย่าของตัวเอง
    ต่ำกว่าความเป็นจริง
  • 1:02 - 1:05
    กลายเป็นว่า คนที่มองโลกในแง่ดี
    ไม่ได้มีโอกาสหย่าร้างต่ำกว่าคนอื่นๆ
  • 1:05 - 1:07
    แต่เป็นคนที่มีโอกาสมากกว่าในการแต่งงานใหม่
  • 1:07 - 1:10
    ซามูเอล จอห์นสัน ได้กล่าวไว้ว่า
  • 1:10 - 1:14
    "การแต่งงานใหม่คือชัยชนะของความหวัง
    เหนือประสบการณ์"
  • 1:14 - 1:16
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:16 - 1:20
    ดังนั้น หากเราแต่งงาน
    เราย่อมมีโอกาสสูงที่จะให้กำเนิดทายาท
  • 1:20 - 1:24
    และทุกคนย่อมคิดว่า
    ลูกหลานของเราจะต้องเป็นเด็กที่มีพรสววรค์เป็นพิเศษ
  • 1:24 - 1:26
    ยังไงก็ตาม นี่คือหลานชายวัย 2 ขวบของฉันค่ะ
  • 1:26 - 1:29
    ฉันต้องขอบอกให้ชัดเจนตรงนี้เลย
  • 1:29 - 1:31
    ว่าหลานฉันคนนี้เป็นตัวอย่างที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่
    สำหรับการมองโลกแบบมีอคติในเชิงบวก
  • 1:31 - 1:34
    เพราะเขาค่อนข้างมีพรสวรรค์พิเศษที่แหวกแนวมาก
  • 1:34 - 1:36
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:36 - 1:37
    ไม่ได้มีแค่ฉันเท่านั้น
  • 1:37 - 1:40
    จากคนอังกฤษ 4 คน มี 3 คนที่พูดว่า
  • 1:40 - 1:43
    พวกเขามองโลกในแง่ดี
    ในเรื่องที่เกี่ยวกับครอบครัวของตัวเองในอนาคต
  • 1:43 - 1:45
    คนที่คิดแบบนี้มีอยู่ร้อยละ 75
  • 1:45 - 1:47
    แต่ก็ยังมีคนอีกร้อยละ 30 บอกว่า
  • 1:47 - 1:50
    เขาคิดว่า ครอบครัวที่เห็นทั่วๆไป
  • 1:50 - 1:52
    ใช้ชีวิตดีขึ้นกว่าครอบครัวในไม่กี่รุ่นที่ผ่านมา
  • 1:52 - 1:54
    และนี่นับเป็นจุดที่สำคัญมาก
  • 1:54 - 1:56
    เพราะหากเรามองเรื่องของตัวเองในแง่ดีแล้ว
  • 1:56 - 1:58
    เราก็จะคิดเรื่องลูกหลานของเราในแง่ดีไปด้วย
  • 1:58 - 2:00
    เรานึกถึงครอบครัวของเราในแง่ดี
  • 2:00 - 2:03
    แต่เราจะไม่คิดในแง่ดีแบบนี้ กับคนที่เราไม่รู้จัก
  • 2:03 - 2:05
    และเราค่อนข้างจะมองโลกในแง่ร้าย
  • 2:05 - 2:09
    ในเรื่องที่เกี่ยวกับโชคชะตาของประชาชนคนอื่น หรือของประเทศเรา
  • 2:09 - 2:13
    แต่การมองโลกในแง่ดีเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับอนาคตของตัวเราเองนั้น
  • 2:13 - 2:15
    จะยังคงอยู่เหมือนเดิม
  • 2:15 - 2:19
    และนั่นไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่เราคิด
    จะเกิดขึ้นได้อย่างที่เราต้องการเหมือนเสกคาถา
  • 2:19 - 2:23
    แต่มันทำให้เรามีพลัง ที่จะทำให้มันเกิดขึ้น
  • 2:23 - 2:26
    ในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ฉันได้ทดลองเรื่องนี้
  • 2:26 - 2:28
    เพื่อจะให้คุณเห็นว่าฉันหมายความว่ายังไง
  • 2:28 - 2:31
    ฉันกำลังจะทดลองกับพวกคุณที่นี่ โอเค?
  • 2:31 - 2:34
    ฉันจะให้พวกคุณดูรายการความสามารถ และลักษณะส่วนบุคคล
  • 2:34 - 2:37
    และฉันอยากให้คุณนึกดู ว่าความสามารถแต่ละข้อที่ให้มานั้น
  • 2:37 - 2:42
    คุณยืนอยู่ตรงไหน เมื่อเทียบกับประชากรส่วนที่เหลือ
  • 2:42 - 2:45
    ข้อแรก คุณเข้ากับคนอื่นได้ดี
  • 2:45 - 2:51
    ใครคิดว่าตัวเองอยู่ในกลุ่ม ร้อยละ 25 จากข้างล่างบ้างคะ
  • 2:51 - 2:55
    โอเค ในที่นี้มีอยู่ 10 คนจาก 1,500
  • 2:55 - 2:59
    ใครคิดว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มร้อยละ 25 ข้างบนคะ
  • 2:59 - 3:02
    นั่นคือพวกเราส่วนใหญ่ในที่นี้
  • 3:02 - 3:07
    โอเค ทีนี้เรามาดูความสามารถในการขับรถกันบ้าง
  • 3:07 - 3:10
    คุณมีความน่าสนใจแค่ไหน
  • 3:10 - 3:13
    คุณมีความดึงดูดใจมากแค่ไหน
  • 3:13 - 3:15
    คุณมีความซื่อสัตย์มากเท่าไหร่
  • 3:15 - 3:20
    และสุดท้าย คุณมีความถ่อมตัวแค่ไหน
  • 3:20 - 3:23
    เห็นได้เลยว่า พวกเราส่วนมากจะตีค่าตัวเองสูงกว่าค่าเฉลี่ย
  • 3:23 - 3:25
    เกี่ยวกับความสามารถที่กล่าวมา
  • 3:25 - 3:27
    ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้เลย ในทางสถิติ
  • 3:27 - 3:31
    ที่พวกเราทั้งหมด จะเก่งกว่าคนอื่น ๆ ทุก ๆ คนได้
  • 3:31 - 3:32
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:32 - 3:35
    แต่ถ้าเราคิดว่า เราดีกว่าคนอื่นอยู่ดี
  • 3:35 - 3:39
    นั่นหมายความว่า เรามีแนวโน้มที่จะได้รับโปรโมชั่นเหล่านั้น
    เพื่อรักษาการแต่งงาน
  • 3:39 - 3:42
    เพราะเราเข้าสังคมเก่ง และเป็นคนน่าสนใจ
  • 3:42 - 3:44
    และทั้งหมดนี้ เป็นปรากฏการณ์ของโลก
  • 3:44 - 3:46
    การมองโลกแบบมีอคติในเชิงบวกนั้นถูกตั้งข้อสังเกต
  • 3:46 - 3:48
    ในหลายๆประเทศที่แตกต่างกัน
  • 3:48 - 3:51
    ทั้งในวัฒนธรรมตะวันตก และวัฒนธรรมอื่นนอกเหนือจากนี้
  • 3:51 - 3:53
    ทั้งในผู้หญิง และผู้ชาย
  • 3:53 - 3:54
    ในเด็ก หรือคนแก่
  • 3:54 - 3:56
    ความคิดแบบนี้แพร่หลายในวงกว้าง
  • 3:56 - 4:00
    แต่คำถามก็คือ การคิดแบบนี้มันดีกับเรารึเปล่า
  • 4:00 - 4:02
    บางคนปฏิเสธ
  • 4:02 - 4:04
    บางคนบอกว่า เคล็ดลับสู่ความสุข จริงๆแล้ว
  • 4:04 - 4:07
    คือการใช้ชีวิต แบบไม่ต้องคาดหวังมากต่างหาก
  • 4:07 - 4:10
    ฉันคิดว่า ฟังดูก็เป็นเหตุเป็นผลกันดี:
  • 4:10 - 4:12
    คือถ้าเราไม่ได้คาดหวังอะไรที่ดีมาก
  • 4:12 - 4:16
    ถ้าเราไม่ได้คาดหวังในความรัก มีสุขภาพที่ดี
    และประสบความสำเร็จ
  • 4:16 - 4:19
    เราก็จะไม่ผิดหวัง หากเรื่องเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น
  • 4:19 - 4:22
    และหากเราไม่ผิดหวัง เมื่อสิ่งดีๆยังไม่เกิดขึ้น
  • 4:22 - 4:24
    และเรามีความสุขแสนประหลาดเมื่อมันเกิดขึ้น
  • 4:24 - 4:26
    เราก็จะมีความสุข
  • 4:26 - 4:28
    ดังนั้น มันจึงเป็นทฤษฎีที่เข้าท่ามาก
  • 4:28 - 4:31
    แต่มันผิดพลาด ด้วยเหตุผลสามข้อ
  • 4:31 - 4:36
    ข้อแรก ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
    ไม่ว่าคุณประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
  • 4:36 - 4:39
    คนที่ตั้งความหวังไว้สูงจะยังคงรู้สึกดีกว่า
  • 4:39 - 4:43
    เพราะการที่เราจะรู้สึกแบบไหน เวลาเราพลาด
    หรือได้รางวัลพนักงานดีเด่นประจำเดือน
  • 4:43 - 4:46
    ขึ้นอยู่กับเราตีความเหตุการณ์นั้นอย่างไร
  • 4:46 - 4:50
    นักจิตวิทยาชื่อ มาร์กาเร็ต มาร์แชลล์ และ จอห์น บราวน์
  • 4:50 - 4:53
    ทำการศึกษาในกลุ่มนักเรียนที่มีความคาดหวังสูงและความคาดหวังต่ำ
  • 4:53 - 4:58
    พวกเขาพบว่า เมื่อเด็กที่มีความคาดหวังสูง ทำงานสำเร็จ
  • 4:58 - 5:00
    พวกเขาเข้าใจว่า ความสำเร็จเหล่านั้นมาจากความสามารถของพวกเขาเอง
  • 5:00 - 5:03
    "ฉันเป็นอัจฉริยะ ดังนั้น ฉันจึงได้เกรดเอ
  • 5:03 - 5:05
    ดังนั้น ฉันจะได้เกรดเออีกครั้ง และอีกครั้ง ในอนาคต"
  • 5:05 - 5:08
    และเมื่อพวกเขาทำพลาด นั่นไม่ได้เป็นเพราะพวกเขาโง่
  • 5:08 - 5:11
    แต่เป็นเพราะว่า การสอบครั้งนี้มีอะไรที่ไม่เป็นธรรม
  • 5:11 - 5:14
    ครั้งต่อไป เขาจะต้องทำได้ดีกว่า
  • 5:14 - 5:17
    คนที่มีความคาดหวังต่ำ จะทำสิ่งที่ตรงกันข้าม
  • 5:17 - 5:20
    ดังนั้น เมื่อพวกเขาสอบตก นั่นเป็นเพราะว่าพวกเขาโง่
  • 5:20 - 5:21
    และเมื่อพวกเขาสอบผ่าน
  • 5:21 - 5:24
    นั่นเป็นเพราะการสอบนั้นค่อนข้างง่าย
  • 5:24 - 5:27
    พวกเขาคงทำไม่ได้เหมือนเดิม ในการสอบครั้งต่อไป
  • 5:27 - 5:29
    นั่นทำให้พวกเขารู้สึกแย่กว่าเดิม
  • 5:29 - 5:32
    เหตุผลข้อที่สอง หากไม่ใส่ใจในผลที่จะเกิดขึ้น
  • 5:32 - 5:36
    การคาดหวัง ทำให้เรามีความสุข
  • 5:36 - 5:39
    นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม จอร์จ โลเวนสเตน
  • 5:39 - 5:41
    ตั้งคำถามต่อลูกศิษย์ในมหาวิทยาลัย
  • 5:41 - 5:46
    ให้ลองจินตนาการ ถึงการได้จูบอย่างดูดดื่ม กับเซเลบคนดัง
    คนไหนก็ได้
  • 5:46 - 5:48
    จากนั้นเขาถามลูกศิษย์ว่า คุณคิดว่าคุณยินดีจะจ่ายเท่าไหร่
  • 5:48 - 5:50
    เพื่อให้ได้จูบกับบรรดาคนดัง
  • 5:50 - 5:53
    หากคุณจะได้รับจูบนั้นในทันทีทันใด
  • 5:53 - 5:58
    ภายใน 3 ชั่วโมง, 24 ชั่วโมง, ภายใน 3 วัน
  • 5:58 - 6:00
    ภายใน 1 ปี และ ภายใน10 ปี
  • 6:00 - 6:03
    เขาพบว่า ลูกศิษย์ของเขาเต็มใจจะจ่ายเงินแพงที่สุด
  • 6:03 - 6:05
    ไม่ใช่สำหรับการได้รับจูบในทันที
  • 6:05 - 6:08
    แต่ให้กับการได้รับจูบภายใน 3 วัน
  • 6:08 - 6:12
    พวกเขายินดีจะจ่ายแพงขึ้น สำหรับการรอคอย
  • 6:12 - 6:15
    แต่พวกเขาไม่ยินดีที่จะรอไปอีก 1 ปี หรือ 10 ปี
  • 6:15 - 6:17
    ไม่มีใครต้องการคนดังแก่ๆ
  • 6:17 - 6:22
    แต่ 3 วัน เห็นได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม
  • 6:22 - 6:24
    แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
  • 6:24 - 6:27
    หากคุณได้รับจูบในตอนนี้ มันก็จะเกิดขึ้น และหายไปในทันที
  • 6:27 - 6:29
    แต่หากคุณจะได้รับจูบในอีก 3 วันข้างหน้า
  • 6:29 - 6:33
    นั่นก็จะเป็น 3 วัน แห่งการรอคอยที่แสนตื่นเต้น
  • 6:33 - 6:35
    ลูกศิษย์ของเขาต้องการช่วงเวลาในการรอคอยเช่นนั้น
  • 6:35 - 6:38
    ให้พวกเขาได้วาดฝันว่ามันจะเกิดขึ้นที่ไหน
  • 6:38 - 6:39
    ว่ามันจะเกิดขึ้นอย่างไร
  • 6:39 - 6:42
    การรอคอยอย่างมีหวัง ทำให้พวกเขามีความสุข
  • 6:42 - 6:45
    นี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมคนจึงชอบวันศุกร์มากกว่าวันอาทิตย์
  • 6:45 - 6:48
    มันเป็นข้อเท็จจริงที่ประหลาดมาก
  • 6:48 - 6:51
    เพราะวันศุกร์ เป็นวันทำงาน แต่วันอาทิตย์เป็นวันแห่งความสุข
  • 6:51 - 6:54
    ซึ่งคุณจะสันนิษฐานได้ว่าผู้คนน่าจะชอบวันอาทิตย์มากกว่า
  • 6:54 - 6:56
    แต่ไม่ใช่
  • 6:56 - 6:58
    มันไม่ใช่เพราะว่าจริง ๆ แล้วพวกเขาชอบไปทำงานมาก
  • 6:58 - 7:00
    และพวกเขาไม่สามารถทนที่จะเดินเล่นในสวนสาธารณะ
  • 7:00 - 7:02
    หรือทานอาหารสาย ๆ แบบขี้เกียจ ๆ ได้
  • 7:02 - 7:04
    พวกเรารู้ดี เพราะเมื่อคุณถามใครซักคน
  • 7:04 - 7:07
    ว่าเค้าชอบวันไหนในสัปดาห์มากที่สุด
  • 7:07 - 7:10
    น่าประหลาดใจมากว่าวันเสาร์มาเป็นอันดับแรก
  • 7:10 - 7:13
    ตามมาด้วย วันศุกร์และวันอาทิตย์
  • 7:13 - 7:14
    ผู้คนชื่นชอบวันศุกร์
  • 7:14 - 7:18
    เพราะวันศุกร์นำมาซึ่งความหวังในการรอคอย
    วันหยุดที่กำลังจะมาถึง
  • 7:18 - 7:20
    และแผนการทุกอย่างที่คุณวางไว้
  • 7:20 - 7:23
    สำหรับวันอาทิตย์ สิ่งเดียวที่คุณมองเห็น
  • 7:23 - 7:25
    คือวันทำงานของสัปดาห์ต่อไป
  • 7:25 - 7:30
    ดังนััน ผู้มองโลกในแง่ดีก็คือคนที่คาดหวัง
    การได้รับจูบอีกครั้งในอนาคต
  • 7:30 - 7:32
    หวังจะเดินเล่นในสวนมากขึ้น
  • 7:32 - 7:36
    และความสุขที่ได้รอคอยนั้นช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้น
  • 7:36 - 7:39
    ในความเป็นจริง หากไม่มีการมองโลกแบบมีอคติในเชิงบวกแล้ว
  • 7:39 - 7:42
    เราทุกคนอาจมีความซึมเศร้าหดหู่เล็กน้อย
  • 7:42 - 7:44
    คนที่มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยนั้น
  • 7:44 - 7:47
    พวกเขาจะไม่มีอคติ เมื่อเขามองออกไปในอนาคต
  • 7:47 - 7:51
    จริง ๆ แล้ว พวกเขาอยู่กับโลกแห่งความเป็นจริง
    มากกว่าคนที่สุขภาพจิตดีซะอีก
  • 7:51 - 7:53
    แต่คนที่ซึมเศร้าขั้นรุนแรง
  • 7:53 - 7:55
    พวกเขามีอคติและมองโลกในแง่ร้าย
  • 7:55 - 7:58
    นั่นทำให้พวกเขาคิดว่าอนาคต
  • 7:58 - 8:00
    จะต้องเลวร้ายกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้
  • 8:00 - 8:03
    ดังนั้น การมองโลกในแง่ดีจึงเปลี่ยนสิ่งที่เราเห็นในความคิดของเรา
  • 8:03 - 8:07
    สิ่งที่พวกเราคาดหวังต่อโลกนี้จึงเปลี่ยนมุมมองที่เรามองโลก
  • 8:07 - 8:10
    แต่มันก็ได้เปลี่ยนสิ่งที่เราเห็นในความเป็นจริงด้วย
  • 8:10 - 8:13
    มันเป็นเหมือนการพยากรณ์อนาคตของตนเอง
  • 8:13 - 8:15
    และนั่นคือเหตุผลข้อที่สาม
  • 8:15 - 8:18
    ว่าทำไมการคาดหวังต่ำลงไม่ช่วยทำให้คุณมีความสุขมากขึ้น
  • 8:18 - 8:20
    การทดลองภายใต้การควบคุม แสดงให้เราเห็นว่า
  • 8:20 - 8:23
    การมองโลกในแง่ดี
    ไม่ใช่แค่เชื่อมโยงกับความสำเร็จ
  • 8:23 - 8:25
    แต่มันนำเราไปสู่ความสำเร็จ
  • 8:25 - 8:30
    การมองโลกในแง่ดี นำพาเราไปสู่ความสำเร็จ
    ในด้านการศึกษา กีฬา และการเมือง
  • 8:30 - 8:34
    และประโยชน์ที่น่าแปลกใจที่สุดของการมองโลกในแง่ดี
    อาจจะเป็นในเรื่องของสุขภาพ
  • 8:34 - 8:38
    หากเราคาดหวังถึงอนาคตที่สดใส
  • 8:38 - 8:40
    ความตึงเครียด และความกังวลก็จะลดลงไป
  • 8:40 - 8:44
    สรุปทั้งหมดแล้ว
    การมองโลกแง่ดีมีประโยชน์อย่างมาก
  • 8:44 - 8:48
    แต่ก็ยังมีคำถามที่ทำให้ฉันสับสน
  • 8:48 - 8:52
    ว่าเราจะมองโลกแง่ดี
    ขณะเผชิญหน้าโลกแห่งความจริงอย่างไร
  • 8:52 - 8:55
    ในฐานะที่ฉันเป็นนักประสาทวิทยา นี่เป็นเรื่องที่สับสนอย่างมาก
  • 8:55 - 8:58
    เพราะตามทฤษฎีทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนั้น
  • 8:58 - 9:02
    เมื่อคุณไม่ได้ตามสิ่งที่คุณคาดหวัง
    คุณก็ควรเปลี่ยนสิ่งที่คุณหวัง
  • 9:02 - 9:04
    แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่เราค้นพบ
  • 9:04 - 9:07
    เราขอให้คนกลุ่มนึง มาที่ห้องวิจัยของเรา
  • 9:07 - 9:10
    เพื่อทดลอง และค้นหาว่าจะเกิดอะไรขึ้น
  • 9:10 - 9:13
    เราขอให้พวกเขาประเมินความเป็นไปได้
  • 9:13 - 9:15
    ที่จะพบเจอเหตุการณ์ร้ายๆ ที่อาจเกิดในชีวิตพวกเขา
  • 9:15 - 9:20
    ตัวอย่างเช่น ความเป็นไปได้ที่คุณอาจป่วยเป็นมะเร็ง
  • 9:20 - 9:22
    และเราค่อยบอกค่าเฉลี่ยของความเป็นไปได้
  • 9:22 - 9:25
    สำหรับบุคคลอย่างพวกเขาที่จะประสบโชคร้ายเช่นนั้น
  • 9:25 - 9:28
    ตัวอย่างเช่น สำหรับโรคมะเร็ง ผลออกมาที่ร้อยละ 30
  • 9:28 - 9:31
    จากนั้นเราถามพวกเขาอีกครั้งว่า
  • 9:31 - 9:34
    "คุณมีโอกาสเป็นมะเร็ง มากแค่ไหน"
  • 9:34 - 9:36
    สิ่งที่เราอยากรู้คือ
  • 9:36 - 9:39
    ผู้คนจะใช้ข้อมูลที่เราบอกพวกเขา
  • 9:39 - 9:41
    เพื่อเปลี่ยนความเชื่อของเขาหรือไม่
  • 9:41 - 9:44
    และความจริงคือ พวกเขาก็ทำอย่างนั้น
  • 9:44 - 9:46
    แต่ส่วนมากเฉพาะเมื่อข้อมูลที่เราบอก
  • 9:46 - 9:49
    ดีกว่าสิ่งที่พวกเขาคาดหวังเอาไว้เท่านั้น
  • 9:49 - 9:50
    ยกตัวอย่างเช่น
  • 9:50 - 9:53
    ถ้ามีคนนึงพูดว่า "โอกาสที่ฉันอาจป่วยเป็นมะเร็ง
  • 9:53 - 9:56
    อยู่ที่ร้อยละ 50"
  • 9:56 - 9:58
    และเราพูดว่า "เฮ ข่าวดีก็คือ
  • 9:58 - 10:01
    ค่าเฉลี่ย อยู่เพียงแค่ร้อยละ 30 เท่านั้น"
  • 10:01 - 10:03
    ครั้งต่อไป พวกเขาก็จะพูดว่า
  • 10:03 - 10:06
    บางที โอกาสที่พวกเขาอาจจะป่วย น่าจะอยู่ที่ร้อยละ 35
  • 10:06 - 10:08
    เห็นได้ว่าพวกเราเรียนรู้ได้เร็วและมีประสิทธิภาพ
  • 10:08 - 10:11
    แต่ถ้าใครคนนึง เริ่มต้นพูดว่า
  • 10:11 - 10:14
    "โอกาสป่วยเป็นมะเร็งของฉันอยู่ที่ ร้อยละ 10"
  • 10:14 - 10:17
    และเราพูดว่า "เฮ ข่าวร้ายก็คือ
  • 10:17 - 10:20
    ค่าเฉลี่ย อยู่ที่ร้อยละ 30 ต่างหาก"
  • 10:20 - 10:22
    ครั้งต่อไป พวกเขาก็จะพูดว่า
  • 10:22 - 10:25
    "ฉันลองคิด ๆ ดูแล้ว มันน่าจะเป็นประมาณร้อยละ 11"
  • 10:25 - 10:27
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:27 - 10:30
    ไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่ได้เรียนรู้อะไร --พวกเขาเรียนรู้--
  • 10:30 - 10:32
    แต่ค่อนข้างน้อยกว่าตอนที่เราให้
  • 10:32 - 10:35
    ข้อมูลเชิงบวกเกี่ยวกับอนาคตแก่พวกเขา
  • 10:35 - 10:38
    และไม่ใช่ว่าพวกเขาจำตัวเลขที่เราบอกให้ไม่ได้
  • 10:38 - 10:41
    ทุกๆคนจำได้ว่าค่าเฉลี่ยความเป็นไปได้ของการเป็นมะเร็ง
  • 10:41 - 10:43
    อยู่ที่ร้อยละ 30
  • 10:43 - 10:45
    และค่าเฉลี่ยความเป็นไปได้ของการหย่าร้างอยู่ที่ร้อยละ 40
  • 10:45 - 10:50
    แต่พวกเขาไม่ได้คิดว่าตัวเลขเหล่านั้นจะเกี่ยวข้องกับเขา
  • 10:50 - 10:54
    สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า สัญญาณเตือนในลักษณะนี้
  • 10:54 - 10:57
    มีผลกับคนจำนวนไม่มาก
  • 10:57 - 11:01
    ใช่ การสูบบุหรี่ทำให้ตาย แต่คนที่ตายส่วนใหญ่คือคนอื่นๆ
  • 11:01 - 11:03
    สิ่งที่ฉันต้องการรู้คือ
  • 11:03 - 11:06
    เกิดอะไรขึ้น ภายในสมองของมนุษย์
  • 11:06 - 11:10
    ที่กีดขวางเราจากการรับรู้สัญญาณเตือนเหล่านั้น
  • 11:10 - 11:11
    แต่ในขณะเดียวกัน
  • 11:11 - 11:13
    เมื่อเราได้ยินว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์กำลังเฟื่องฟู
  • 11:13 - 11:18
    เราก็คิดว่า "ดีจัง ราคาบ้านของฉันจะต้องสูงเป็นสองเท่าแน่ๆ"
  • 11:18 - 11:20
    เพื่อพยายามศึกษาเรื่องนี้
  • 11:20 - 11:22
    ฉันขอให้ผู้เข้าร่วมคนนึง ทำการทดลอง
  • 11:22 - 11:24
    โดยเข้าเครื่องสแกนสมอง
  • 11:24 - 11:26
    ที่เหมือนเครื่องนี้
  • 11:26 - 11:29
    และใช้วิธีที่เราเรียกว่า เอ็ม อาร์ ไอ
  • 11:29 - 11:32
    เราสามารถระบุส่วนของสมอง
  • 11:32 - 11:35
    ที่ตอบสนองต่อข้อมูลเชิงบวก
  • 11:35 - 11:39
    ส่วนนี้ของสมองเรียกว่า หยักสมองส่วนหน้า ด้านล่างซ้าย
  • 11:39 - 11:43
    ดังนั้นเมื่อใครซักคนพูดว่า
    "ฉันมีโอกาสป่วยเป็นมะเร็ง ร้อยละ 50"
  • 11:43 - 11:44
    และเราบอกว่า " เฮ ข่าวดีคือ
  • 11:44 - 11:47
    ค่าเฉลี่ยความเป็นไปได้นั้นอยู่ที่ร้อยละ 30 เท่านั้น"
  • 11:47 - 11:50
    หยักสมองส่วนหน้า ด้านล่างซ้าย จะตอบสนองอย่างรุนแรง
  • 11:50 - 11:55
    และนั่นไม่ได้สำคัญว่าคุณเป็นคนมองโลกแง่ดี มากหรือน้อย
  • 11:55 - 11:57
    หรือค่อนข้างมองโลกแง่ร้าย
  • 11:57 - 12:00
    หยักสมองส่วนหน้า ด้านล่างซ้าย ของทุกๆคน
  • 12:00 - 12:01
    ทำงานได้เป็นอย่างดี
  • 12:01 - 12:04
    ไม่ว่าคุณจะเป็น บารัค โอบามา หรือ วู้ดดี้ อัลเลน
  • 12:04 - 12:06
    ในอีกด้านหนึ่งของสมอง
  • 12:06 - 12:11
    หยักสมองส่วนหน้า ด้านล่างขวา จะตอบสนองต่อข่าวร้าย
  • 12:11 - 12:14
    และนี่ก็เป็นประเด็นอีกว่า : มันทำงานได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่
  • 12:14 - 12:16
    ยิ่งคุณเป็นคนมองโลกในแง่ดีมากเท่าไหร่
  • 12:16 - 12:19
    ยิ่งมีโอกาสน้อยมากเท่านั้นที่สมองส่วนนี้
  • 12:19 - 12:22
    จะตอบสนองต่อข้อมูลเชิงลบที่คุณไม่ได้คาดคิดเอาไว้
  • 12:22 - 12:25
    และหากสมองของคุณล้มเหลว
  • 12:25 - 12:28
    ในการเชื่อมโยงข่าวร้ายในเรื่องอนาคต
  • 12:28 - 12:33
    ตอนนั้นก็เหมือนคุณสวมแว่นที่ทำให้คุณมองโลกเป็นสีชมพูอยู่ตลอดเวลา
  • 12:33 - 12:38
    ดังนั้นพวกเราจึงต้องการรู้ว่า เราจะเปลี่ยนสิ่งนี้ได้หรือไม่
  • 12:38 - 12:41
    เราจะเปลี่ยนการมองโลกแบบมีอคติในเชิงบวกของผู้คนได้หรือไม่
  • 12:41 - 12:45
    โดยรบกวนการทำงานของสมองตรงส่วนเหล่านี้
  • 12:45 - 12:48
    และ มันมีวิธีที่เราสามารถทำได้
  • 12:48 - 12:50
    นี่คือผู้ร่วมงานของฉัน เรียวตะ คานาอิ
  • 12:50 - 12:54
    และสิ่งที่เขากำลังทำคือ ส่งผ่านคลื่นความถี่
  • 12:54 - 12:56
    ผ่านกระโหลกศีรษะของผู้เข้าร่วมในการศึกษาของเรา
  • 12:56 - 12:59
    เข้าไปในหยักสมองส่วนหน้า
  • 12:59 - 13:00
    และผลที่ได้คือ
  • 13:00 - 13:03
    เขาสามารถเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองส่วนนี้ได้
  • 13:03 - 13:05
    ในช่วงระยะเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง
  • 13:05 - 13:07
    หลังจากนั้น ทุกอย่างก็กลับสู่ความปกติ คุณมั่นใจได้
  • 13:07 - 13:09
    (เสียงหัวเราะ)
  • 13:09 - 13:13
    มาดูกันค่ะ ว่าเกิดอะไรขึ้น
  • 13:13 - 13:15
    ก่อนอื่น ฉันอยากให้คุณเห็น
  • 13:15 - 13:17
    ค่าเฉลี่ยของปริมาณอคติที่เราเห็น
  • 13:17 - 13:20
    ดังนั้น ถ้าฉันจะทดสอบพวกคุณทุกคนตอนนี้
  • 13:20 - 13:22
    นี่คือปริมาณที่คุณจะได้เรียนรู้
  • 13:22 - 13:25
    เกี่ยวกับข่าวดีมากกว่าข่าวร้าย
  • 13:25 - 13:28
    ตอนนี้พวกเรารบกวนการทำงานของสมองส่วนนี้
  • 13:28 - 13:32
    โดยเราตั้งใจเพิ่มข้อมูลเชิงลบเข้าไป
  • 13:32 - 13:36
    และทำให้อคติเชิงบวก ขยายตัวใหญ่ขึ้น
  • 13:36 - 13:41
    เราทำให้ผู้คน มีอคติมากขึ้น เวลาที่รับฟังข้อมูล
  • 13:41 - 13:44
    จากนั้นเราได้เข้ารบกวนการทำงานของสมอง
  • 13:44 - 13:48
    โดยการสอดแทรกข่าวดีลงไป
  • 13:48 - 13:52
    ซึ่งทำให้อคติเชิงบวกหายไป
  • 13:52 - 13:54
    ผลการทดลองทำให้เราประหลาดใจมาก
  • 13:54 - 13:56
    เพราะเราไม่สามารถกำจัด
  • 13:56 - 13:59
    อคติที่หยั่งรากลึกลงในสมองมนุษย์
  • 13:59 - 14:04
    และจุดนี้ ทำให้เราหยุดการทดลอง และถามตัวเองว่า
  • 14:04 - 14:09
    เรายังต้องการแยกภาพลวงตาเชิงบวก
    ออกเป็นส่วนย่อยๆอีกหรือไม่
  • 14:09 - 14:14
    ถ้าเราสามารถทำสิ่งนั้นได้ เราจะต้องการขจัดอคติเชิงบวกของมนุษย์ออกไปหรือไม่
  • 14:14 - 14:19
    เราได้บอกคุณไปแล้วเกี่ยวกับผลดีของอคติเชิงบวก
  • 14:19 - 14:23
    ซึ่งอาจทำให้คุณอยากมีอคติแบบนั้นในชีวิตของคุณ
  • 14:23 - 14:25
    แต่แน่นอน มันยังมีข้อผิดพลาด
  • 14:25 - 14:28
    และคงจะเป็นเรื่องโง่มาก ถ้าเรามองข้ามจุดนี้ไป
  • 14:28 - 14:32
    ยกตัวอย่างอีเมล์หนึ่งที่ฉันได้รับ
  • 14:32 - 14:35
    จากนักผจญเพลิงคนหนึ่ง ในแคลิฟอร์เนีย
  • 14:35 - 14:38
    เขาเขียนว่า
    "การตรวจสอบสาเหตุการตายสำหรับนักผจญเพลิง
  • 14:38 - 14:42
    มักรวมถึง 'เราไม่คิดว่าไฟสามารถทำแบบนั้นได้'
  • 14:42 - 14:44
    แม้แต่เวลาที่เรามีข้อมูลทุกอย่าง
  • 14:44 - 14:47
    อยู่ตรงหน้าเพื่อการตัดสินใจที่ปลอดภัย"
  • 14:47 - 14:51
    หัวหน้าทีมคนนี้จะใช้สิ่งที่เราค้นพบจากการมองโลกแบบมีอคติในเชิงบวก
  • 14:51 - 14:53
    เพื่อพยายามอธิบายแก่บรรดานักผจญเพลิง
  • 14:53 - 14:55
    ว่าพวกเขาทำแบบนั้นไปทำไม
  • 14:55 - 15:02
    เพื่อทำให้พวกเขาตระหนักถึงการมองโลกอย่างมีอคติในเชิงบวกของมนุษย์
  • 15:02 - 15:07
    ดังนั้น การที่คนมองโลกสวยงามกว่าความเป็นจริง
    สามารถนำไปสู่พฤติกรรมที่เสี่ยง
  • 15:07 - 15:11
    สู่การล้มของตลาดการเงิน สู่ความผิดพลาดของการวางแผน
  • 15:11 - 15:13
    ตัวอย่างเช่น รัฐบาลอังกฤษ
  • 15:13 - 15:16
    ได้รู้ว่า อคติในเชิงบวกนั้น
  • 15:16 - 15:19
    สามารถทำให้ปัจเจกชน มีโอกาสที่จะ
  • 15:19 - 15:23
    ประเมินค่าใช้จ่ายและระยะเวลาของโครงการต่ำกว่าความจริง
  • 15:23 - 15:27
    ดังนั้น พวกเขาจึงได้จัดสรร
    งบประมาณใหม่สำหรับโอลิมปิก 2012
  • 15:27 - 15:29
    สำหรับอคติในเชิงบวก
  • 15:29 - 15:32
    เพื่อนของฉันที่กำลังจะเข้าพิธีแต่งงานในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
  • 15:32 - 15:34
    ได้ทำสิ่งเดียวกัน ต่องบประมาณที่ใช้ในงานแต่งงานของเขา
  • 15:34 - 15:37
    อย่างไรก็ตาม เมื่อฉันถามเขา
    เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่เขาจะหย่า
  • 15:37 - 15:41
    เขาก็ตอบว่าเขาค่อนข้างมั่นใจว่ามันต้องเป็นศูนย์
  • 15:41 - 15:43
    ดังนั้น สิ่งที่เราควรทำมากที่สุด
  • 15:43 - 15:47
    คือต้องคอยดูแลตัวเราเอง
    จากอันตรายที่อาจเกิดจากการมองโลกในแง่ดีเกินไป
  • 15:47 - 15:50
    แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่ลืมดำรงไว้ซึ่งความหวัง
  • 15:50 - 15:53
    อันเป็นประโยชน์จากการมองโลกในแง่ดีด้วย
  • 15:53 - 15:56
    และฉันเชื่อว่า มันมีทางที่เราสามารถจะทำมันได้
  • 15:56 - 15:58
    กุญแจสำคัญของทั้งหมดนี้คือ ความรู้
  • 15:58 - 16:01
    เราไม่ได้เกิดมา แล้วจะเข้าใจอคติที่เรามีได้ในทันที
  • 16:01 - 16:05
    ทั้งหมดนี้ จำต้องถูกระบุด้วยผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์
  • 16:05 - 16:09
    แต่ข่าวดีก็คือ
    การที่เราตระหนักได้ถึงการมองโลกแบบมีอคติในเชิงบวกนั้
  • 16:09 - 16:11
    ไม่ได้ทำให้ภาพลวงตานั้นแตกสลายไป
  • 16:11 - 16:13
    มันเหมือนภาพลวงตาที่เรามองเห็นได้
  • 16:13 - 16:16
    ซึ่งการทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ทำให้มันหายไป
  • 16:16 - 16:19
    และนี่ถือเป็นเรื่องดีเพราะมันหมายความว่า
  • 16:19 - 16:21
    เราสามารถที่จะควบคุมความสมดุล
  • 16:21 - 16:23
    วางแผนการและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
  • 16:23 - 16:26
    เพื่อปกป้องตัวเราเองจาก การมองโลกในแง่บวกโดยไม่คิดถึงความเป็นจริง
  • 16:26 - 16:29
    แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงไว้ซึ่งความหวัง
  • 16:29 - 16:33
    ฉันคิดว่า การ์ตูนรูปนี้สื่อออกมาได้ดีมาก
  • 16:33 - 16:36
    เพราะหากคุณคือคนนึงในกลุ่มเพนกวินที่มองโลกในแง่ร้าย
    ที่อยู่ข้างบนนั้น
  • 16:36 - 16:38
    ที่อย่างไรก็ไม่เชื่อว่าพวกเขาสามารถบินได้
  • 16:38 - 16:41
    คุณย่อมไม่สามารถทำได้ตลอดกาล
  • 16:41 - 16:43
    เพราะการก่อเกิดความก้าวหน้าใด ๆ
  • 16:43 - 16:45
    เราจำเป็นต้องจินตนาการถึงความเป็นจริงในอีกด้านที่แตกต่าง
  • 16:45 - 16:49
    และจากนั้น เราจำเป็นต้องเชื่อว่ามันสามารถเป็นจริงขึ้นมาได้
  • 16:49 - 16:52
    แต่ถ้าคุณเป็นหนึ่งในเพนกวินที่มองโลกในแง่ดีมากๆ
  • 16:52 - 16:55
    ที่หลับหูหลับตากระโดดลงมา คาดหวังถึงการโบยบิน
  • 16:55 - 17:00
    คุณก็อาจรู้ตัวว่าคุณบินไม่ได้ เมื่อคุณกระแทกกับพื้นดิน
  • 17:00 - 17:02
    แต่หากคุณยังเป็นเพนกวินที่มองโลกในแง่ดี
  • 17:02 - 17:03
    ที่เชื่อว่าคุณสามารถบินได้
  • 17:03 - 17:06
    แต่ก็พกพาร่มชูชีพไปบนหลังของคุณด้วย
  • 17:06 - 17:09
    เผื่อในกรณีที่ทุกอย่างไม่ได้เป็นไปตามที่คุณวางแผนไว้
  • 17:09 - 17:11
    คุณก็ยังร่อนทะยานได้อย่างนกอินทรี
  • 17:11 - 17:14
    แม้ว่าคุณจะเป็นแค่เพนกวินก็ตาม
  • 17:14 - 17:16
    ขอบคุณค่ะ
  • 17:16 - 17:19
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทาลิ ชารอท : การมองโลกแบบมีอคติในเชิงบวก
Speaker:
Tali Sharot
Description:

จริงหรือไม่ที่เราเกิดมาเพื่อมองโลกในแง่ดี มากกว่ามองโลกตามความเป็นจริง? ทาลิ ชารอท ร่วมแบ่งปันผลวิจัยชิ้นใหม่ที่แสดงให้เราเห็นว่า มีสายใยเชื่อมโยงสมองของเราให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ในด้านดี -- และมันสามารถก่อให้เกิดทั้งอันตรายและประโยชน์ต่อเราได้อย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
17:40
Jenny Zurawell approved Thai subtitles for The optimism bias
Duangrutai Boonyasatian accepted Thai subtitles for The optimism bias
Duangrutai Boonyasatian edited Thai subtitles for The optimism bias
Duangrutai Boonyasatian edited Thai subtitles for The optimism bias
Duangrutai Boonyasatian edited Thai subtitles for The optimism bias
Duangrutai Boonyasatian edited Thai subtitles for The optimism bias
Chonnipa Kanchaikham edited Thai subtitles for The optimism bias
Chonnipa Kanchaikham edited Thai subtitles for The optimism bias
Show all

Thai subtitles

Revisions