Return to Video

พิพิธภัณฑ์สัมผัส | ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร | TEDxUTCC

  • 0:02 - 0:10
    (เสียงปรบมือ)
  • 0:11 - 0:17
    เคยมั้ยคะ ที่เวลาไปพิพิธภันฑ์เนี่ย
    แล้วเรารู้สีกว่าเราตัวเล็กนะฮะ
  • 0:17 - 0:19
    เรารู้สีกว่ามันไม่ใช่ที่ของเรา
  • 0:19 - 0:21
    เรารู้สึกว่าเราเป็นคนนอกนะฮะ
  • 0:21 - 0:24
    เราเข้าไม่ถึงวัตถุตรงหน้า
    หรือว่าเรื่องราวตรงหน้า
  • 0:24 - 0:27
    ถึงแม้ว่าจริง ๆ แล้ว
    เราอาจจะห่างกันแค่เมตรเดียวค่ะ
  • 0:28 - 0:32
    อันนี้ก็เป็นความรู้สึกที่
    มันก็เกิดขึ้นกับดิฉันตอนที่ดิฉันเป็นเด็ก ๆ
  • 0:32 - 0:36
    แล้วก็เป็นความรู้สึกฝังใจมาก
    แล้วก็ฝังใจอยู่นานมากนะฮะ
  • 0:36 - 0:40
    มันเริ่มมาคลี่คลาย
    เมื่อดิฉันอายุประมาณซัก 30
  • 0:40 - 0:42
    เมื่อได้มีโอกาส
    ได้ไปเห็นพิพิธภัณฑ์ในที่อื่น
  • 0:42 - 0:47
    แล้วก็ได้รู้ว่าจริง ๆ แล้ว
    พิพิธภัณฑ์มีได้มากกว่าหนึ่งแบบนะฮะ
  • 0:47 - 0:50
    ก็ได้ไปเห็นพิพิธภัณฑ์ที่
    ดำเนินการโดยชุมชน
  • 0:50 - 0:51
    เล่าเรื่องของชุมชน
  • 0:52 - 0:55
    เห็นพิพิธภัณฑ์ที่
    เดินเรื่องด้วยเรื่องเล่านะฮะ
  • 0:55 - 0:58
    เห็นพิพิธภัณฑ์ที่พูดเรื่อง
  • 0:59 - 1:00
    สิ่งของธรรมดาสามัญ
  • 1:00 - 1:02
    เรื่องที่เราเข้าถึงได้นะฮะ
  • 1:02 - 1:05
    อันนั้นก็เป็นความรู้สึกที่เปิดตาเปิดใจ
  • 1:05 - 1:06
    แล้วก็
  • 1:06 - 1:09
    มันทำให้ความรุ้สึกที่มีต่อพิพิธภัณฑ์เนี่ย
    เปลี่ยนแปลงไปนะฮะ
  • 1:10 - 1:11
    หลังจากนั้นเนี่ย
  • 1:12 - 1:14
    พอไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์
    ในฐานะนักเที่ยวพิพิธภัณฑ์เนี่ย
  • 1:15 - 1:19
    สิ่งที่ดิฉันมองหาก็คือ ต้องหาเรื่องนะฮะ
  • 1:19 - 1:23
    ก็คือหาเรื่องว่า พิพิธภัณฑ์เนี่ย
    มันจะพูดเรื่องอะไรกับเรานะฮะ
  • 1:23 - 1:25
    เค้าอยากจะพูดเรื่องอะไร
  • 1:25 - 1:26
    เค้าพูดด้วยวิธีไหน
  • 1:26 - 1:28
    เค้าพูดแล้วมันฟังขึ้นมั้ย
  • 1:28 - 1:31
    เราฟังรู้เรื่องมั้ย หรือว่าเรารู้สึกยังไง
  • 1:32 - 1:35
    เราได้รับแรงบันดาลใจอะไรมั้ย
    เราอยากเปลี่ยนแปลงอะไรหรือเปล่า
  • 1:35 - 1:38
    อันนี้ก็เป็นความสนุก
    ในฐานะนักท่องพิพิธภัณฑ์นะฮะ
  • 1:39 - 1:42
    โชคดีว่าเมื่อมาทำงานที่มิวเซียมสยามเนี่ย
  • 1:42 - 1:45
    ก็โชคดีที่ได้มาอยู่ในองค์กรที่เปิดกว้าง
  • 1:45 - 1:49
    แล้วก็ได้มีเพื่อนร่วมงานที่
    มีความรู้ มีความสามารถ
  • 1:49 - 1:51
    แล้วก็มีไฟในการทำงานนะฮะ
  • 1:51 - 1:53
    มันทำให้เราได้สำรวจตรวจสอบ
  • 1:53 - 1:59
    แล้วก็ขยับขยายนิยามของพิพิธภัณฑ์
    ออกไปอย่างกว้างขวางขึ้น
  • 1:59 - 2:01
    "พิพิธภัณฑ์สัมผัส" ตามชื่อเรื่องเนี่ย
  • 2:01 - 2:04
    ว้นนี้จะไม่ได้มาพูดถึง
    Interactive Media (สื่อเชิงโต้ตอบ)
  • 2:04 - 2:05
    หรือว่า
  • 2:06 - 2:07
    Touch Screen (จอสัมผัส)
    อะไรแบบนั้นนะฮะ
  • 2:07 - 2:09
    แต่ว่าดิฉันอยากจะหมายถึง
  • 2:09 - 2:14
    พิพิธภัณฑ์ที่
    เอื้อมไม้เอื้อมมือ ออกไปสัมผัสคนนะฮะ
  • 2:14 - 2:18
    พิพิธภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดสัมผัสขึ้น
    ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
  • 2:18 - 2:23
    แล้วก็พิพิธภัณฑ์ที่
    มันสัมผัสอะไรบางอย่างกับตัวเราเองนะฮะ
  • 2:23 - 2:27
    จริง ๆ แล้วมันก็มีหลายวิธี
    ที่พิพิธภัณฑ์ทำงานในลักษณะนี้ แต่ว่า
  • 2:27 - 2:29
    วันนี้เนี่ยอยากจะพูดถึง
  • 2:29 - 2:33
    เล่าผ่านนิทรรศการอันนึง
    ที่จัดขึ้นที่มิวเซียมสยาม
  • 2:33 - 2:34
    แล้วก็จบไปแล้วนะฮะ
  • 2:34 - 2:36
    เมื่อวันที่ 30 กันยาฯ ที่ผ่านมา
  • 2:36 - 2:39
    ชื่อ "ชายหญิง สิ่งสมมุติ" นะคะ
  • 2:41 - 2:44
    นิทรรศการนี้เนี่ยไม่มี Interactive Media
  • 2:44 - 2:46
    ไม่มีสื่ออะไรเลยที่หวือหวา
  • 2:46 - 2:51
    มีแต่เรื่องเล่า แล้วก็
    วัตถุจัดแสดงธรรมดา ๆ นะฮะ
  • 2:51 - 2:53
    อันนี้บอกไว้นิดนึงว่า
  • 2:53 - 2:56
    นิทรรศการนี้เป็นเรื่อง
    ว่าด้วยเรื่องเพศนะฮะ
  • 2:57 - 2:59
    เป็นเรื่องความเป็นชาย ความเป็นหญิง
  • 2:59 - 3:01
    แล้วก็ความเป็นเพศอื่น ๆ นะฮะ
  • 3:01 - 3:04
    ทีนี้พอพูดถึงความเป็นเพศเนี่ย
  • 3:04 - 3:06
    จริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องของคนทุกคนเนาะ
  • 3:06 - 3:09
    มันเป็นเรื่องที่ทุกคนมีประสบการณ์
    ทุกคนมีเรื่องเล่า
  • 3:09 - 3:14
    ดังนั้น มิวเซียมเนี่ย
    ไม่ใช่เป็นคนเดียวที่จะมี Authority (อำนาจ)
  • 3:14 - 3:16
    ในการพูดเรื่องนี้นะฮะ
  • 3:16 - 3:20
    และเมื่อเราคิดว่ามิวเซียมไม่ได้เป็นคนเดียว
    ที่มี Authority ในการพูดเรื่องนี้เนี่ย
  • 3:20 - 3:23
    วิธีที่เราใช้ในการทำนิทรรศการนี้เนี่ย
  • 3:23 - 3:26
    เราก็เลยใช้วิธีที่เรียกว่า
    Crowdsourcing นะฮะ
  • 3:26 - 3:31
    เราขอเรียกรับวัตถุจัดแสดง
    แล้วก็เรื่องราวจากสาธารณชนนะฮะ
  • 3:31 - 3:33
    มีคนส่งเรื่องมาให้เราเยอะมาก
  • 3:33 - 3:37
    แล้วก็เราเลือกเรื่องที่เราคิดว่า
  • 3:37 - 3:38
    มันพูดกับเราอ่ะ
  • 3:38 - 3:41
    เราเลือกเรื่องที่เราคิดว่า
    มีความหมาย
  • 3:41 - 3:44
    ที่จะส่งทอดคุณค่าอะไรบางอย่าง
    ไปสู่คนในวงกว้างได้มากขึ้น
  • 3:44 - 3:46
    แล้วเราก็เชื้อเชิญให้คนเนี่ย
  • 3:46 - 3:48
    เข้ามาชม เข้ามาอ่าน
  • 3:48 - 3:52
    เข้ามาเผชิญหน้า
    กับวัตถุธรรมดา ๆ นี้ใกล้ ๆ นะคะ
  • 3:52 - 3:55
    ยาคุมค่ะ เป็นกล่องยาคุมใช้แล้วด้วย
  • 3:55 - 3:57
    เราอาจจะไม่เคยคิดถึงว่า
  • 3:57 - 4:01
    เราจะได้มาเจอกล่องยาคุมใช้แล้ว
    ในพิพิธภัณฑ์นะฮะ
  • 4:01 - 4:03
    อีโต้ ค่ะ
  • 4:03 - 4:04
    กับเสื้อชั้นในนะคะ
  • 4:04 - 4:06
    อันนี้ก็อาจจะนึกไม่ถึงเหมือนกันว่า
  • 4:06 - 4:08
    ทำไมถึงเข้ามาเจออีโต้กับเสื้อชั้นใน
  • 4:08 - 4:10
    ในพิพิธภัณฑ์เหมือนกัน
  • 4:10 - 4:13
    เมื่อพูดถึงกล่องยาคุมใช้แล้วเนี่ย
  • 4:13 - 4:15
    กล่องยาคุมเหล่านี้เนี่ย
  • 4:15 - 4:16
    มันเป็นของเด็กผู้ชายคนนึง
  • 4:17 - 4:19
    ซึ่งเค้ารู้ตัวว่าเค้าอยากจะเป็นผู้หญิง
  • 4:19 - 4:21
    ตั้งแต่ตอนที่เค้าอยู่ชั้นประถมนะฮะ
  • 4:21 - 4:23
    แล้วก็ยาคุมกล่องแรกเนี่ย
  • 4:24 - 4:26
    เป็นสเต็ปแรก
    มันเหมือนก้อนอิฐก้อนแรก
  • 4:26 - 4:32
    ที่เค้าก้าวออกไปจากความเป็นผู้ชาย
    ไปสู่ความเป็นผู้หญิงที่เค้าปรารถนา
  • 4:32 - 4:35
    แล้วก็ ยาคุมอันแรกเนี่ย
  • 4:35 - 4:37
    คือเค้ากินกล่องแรกไปเนี่ย
  • 4:37 - 4:41
    เค้าไม่รู้ว่าเค้าจะทิ้งที่ไหนอ่ะ
    เพราะว่าพ่อแม่เค้าไม่ทราบ
  • 4:41 - 4:43
    เค้ายังต้องอยู่ในช่วงของ
    การซ่อนตัวเองอยู่เนาะ
  • 4:44 - 4:45
    เค้าก็เก็บมันไว้ในตู้เสื้อผ้า
  • 4:45 - 4:48
    แล้วก็กินไปกล่องที่ 2 - 3 - 4 - 5
  • 4:48 - 4:51
    จนกระทั่งรวบรวมมาได้เยอะมาก
    เค้าก็ส่งมาให้เรา
  • 4:51 - 4:53
    เราก็ถามเค้าว่า ในการสัมภาษณ์นะฮะ
  • 4:53 - 4:54
    เราก็ถามเค้าว่า
  • 4:54 - 4:59
    ทำไมหนูยังเก็บมันไว้อ่ะลูก
    ในเมื่อทุกวันนี้ พ่อแม่ก็ยอมรับตัวตนแล้ว
  • 4:59 - 5:00
    ทำไมถึงยังเก็บสิ่งเหล่านี้ไว้อยู่
  • 5:00 - 5:02
    เค้าก็บอกว่า
  • 5:02 - 5:03
    ป้าคะ หนูทิ้งมันไม่ลง
  • 5:04 - 5:05
    เพราะว่า มันคือ
  • 5:05 - 5:09
    จุดที่หนูตัดสินใจ
    เปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองด้วยตัวเอง
  • 5:09 - 5:13
    แล้วก็หนูกินยาเหล่าเนี้ย
    โดยที่หนูไม่ได้ปรึกษาใครเลย
  • 5:13 - 5:19
    หนูอ่านอินเตอร์เน็ต หนูศึกษาข้อมูล
    แล้วหนูก็ทดลองชึวิตของหนูเอง
  • 5:19 - 5:21
    มาถึงจุดนี้แล้วเนี่ย หนูคิดว่า
  • 5:21 - 5:24
    หนูทิ้งมันไม่ได้
    เพราะว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตหนูไปแล้ว
  • 5:25 - 5:28
    เรื่องนี้เนี่ย
    จริง ๆ แล้วมันพูดกับคนจำนวนมาก
  • 5:28 - 5:32
    มันพูดกับคนซึ่งใช้ยาคุม
    ที่เค้าไม่ใช่ผู้หญิง
  • 5:32 - 5:34
    แต่ว่าเค้าอยู่ในภาวะที่เค้าเสี่ยง
  • 5:34 - 5:36
    เค้าอยู่ในภาวะที่เค้าต้องซ่อน
  • 5:36 - 5:41
    แล้วเรารู้สึกว่ามันจะดีแค่ไหน
    ถ้าสมมุติว่า เรายอมรับการเลือก
  • 5:41 - 5:44
    เรายอมรับสิทธิในการเลือก
    ที่จะเป็นตัวของเราเอง
  • 5:44 - 5:47
    แล้วก็ทำให้คนคนนึงเนี่ย
  • 5:47 - 5:49
    ไม่ต้องมีชีวิตอยู่บนความเสี่ยงนะฮะ
  • 5:50 - 5:51
    เรื่องราวของ
  • 5:51 - 5:54
    เสื้อชั้นในอันนี้
    แล้วก็อีโต้เนี่ยนะฮะ
  • 5:54 - 5:58
    ก็เป็นเรื่องของผู้ชายคนนึง
    ซึ่งเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วเนี่ย
  • 5:58 - 6:01
    เค้าก็อยากจะใส่เสื้อชั้นในอ่ะค่ะ
  • 6:01 - 6:04
    ทีนี้ วันนึงเนี่ย
    เมื่อแม่จับได้ว่าลูกเนี่ย
  • 6:05 - 6:08
    เอาเงินที่ควรจะไปซื้ออย่างอื่น
    ไปซื้อเสื้อชั้นใน
  • 6:08 - 6:11
    แม่ก็ฟัน
    เอาอีโต้ คว้าอีโต้ฟันฉับเดียว
  • 6:11 - 6:12
    ขาดสองท่อนนะฮะ
  • 6:13 - 6:15
    ซึ่งไอ้เรื่องของเสื้อชั้นในอันนี้เนี่ย
  • 6:15 - 6:17
    มันเรียกเสียง
  • 6:17 - 6:18
    เรียกเสียงตื่นเต้น
  • 6:18 - 6:20
    จากคนที่เข้ามาดูเยอะมากนะฮะ
  • 6:20 - 6:24
    เด็กทุกวันนี้ที่เติบโตอยู่ในสังคม
    ที่เปิดกว้างมากแล้วเนี่ย
  • 6:24 - 6:26
    เด็กแบบ ช็อคมากว่าแบบ
  • 6:26 - 6:30
    เฮ้ย นี่มันเรื่องจริงเหรอป้า
    คือมันมีสิ่งนี้จริง ๆ ด้วยเหรอ
  • 6:30 - 6:34
    ทำไมแม่ต้องโกรธขนาดนี้
    แค่การจะซื้อเสื้อชั้นในใส่ตัวนึง
  • 6:37 - 6:39
    เรื่องถัดไปเนี่ยนะฮะ
  • 6:39 - 6:40
    ปริญญาบัตรใบนี้เนี่ย
  • 6:40 - 6:42
    เจ้าของส่งมาให้แล้วก็บอกว่า
  • 6:42 - 6:46
    เอาไปเลย เพราะว่า
    มันใช้ประโยชน์อะไรกับชีวิตหนูไม่ได้
  • 6:46 - 6:50
    เค้าไม่สามารถที่จะหางานทำได้นะฮะ
    ด้วยปริญญาบัตรใบนี้
  • 6:50 - 6:53
    เพราะว่าทุกครั้ง ๆ ที่เค้าไปสมัครงานเนี่ย
  • 6:53 - 6:57
    เวลาคนถามว่าเค้าเป็นเพศอะไร
    เค้าก็บอกว่า ฉันเป็นกะเทย
  • 6:57 - 7:03
    แล้วก็ฉันก็ยืนยันที่จะแต่งตัว
    ตามเพศที่ฉันเลือกมาทำงาน
  • 7:03 - 7:05
    ดังนั้นเนี่ย ก็ไม่มีใครรับเค้าเข้าทำงาน
  • 7:05 - 7:08
    จริง ๆ แล้วมันบอกเราว่า
  • 7:08 - 7:11
    การเลือกรับคนเข้าทำงานในกรณีนี้เนี่ย
  • 7:11 - 7:14
    มันไม่ใช่เรื่องที่ว่าคุณเรียนอะไรมา
    คุณจบอะไรมา
  • 7:14 - 7:18
    คุณมีความสามารถอะไรหรือเปล่า
    แต่ว่าคุณเป็นเพศอะไร นะฮะ
  • 7:18 - 7:21
    ดิฉันคิดว่า(สิ่ง)ของ
    และก็เรื่องราวเหล่านี้เนี่ย
  • 7:21 - 7:23
    มันสร้างความประหลาดใจ สร้างความอึ้ง
  • 7:23 - 7:25
    แล้วก็ความกระอักกระอ่วนใจนะฮะ
  • 7:25 - 7:31
    ตลอดจนความช็อก
    ให้กับหลาย ๆ คนที่มาดูนิทรรศการอันนี้นะฮะ
  • 7:31 - 7:33
    ความช็อกนี่มีประโยชน์มั้ย
  • 7:33 - 7:36
    จริง ๆ แล้วมีประโยชน์มากนะ
    ในทางมานุษยวิทยา
  • 7:36 - 7:38
    คือว่า เมื่อใหร่ที่คุณเกิด
    Culture Shock เนี่ย (ความตกใจทางวัฒนธรรม)
  • 7:38 - 7:40
    เมื่อนั้นคุณจะหยุด
  • 7:40 - 7:42
    แล้วคุณก็จะทบทวนตัวเอง
  • 7:42 - 7:44
    คุณจะหาคำอธิบายว่า อะไรมันเกิดขึ้น
  • 7:44 - 7:48
    แล้วจริง ๆ แล้วมันเป็นยังไง
    แล้วควรจะทำความเข้าใจกับมัน
  • 7:48 - 7:51
    หลายครั้งก็มีคนมา Reflex (สะท้อน) นะฮะว่า
  • 7:52 - 7:55
    อื้ม มันทำให้เราคิดเนาะ
    คือย้อนกลับไปในวัยเด็กค่ะว่า
  • 7:56 - 7:59
    เฮ้ย โอเค
    เราอาจจะไม่ได้เคยทำร้ายเพื่อนเราน่ะ
  • 7:59 - 8:01
    แต่ว่าเรา...
  • 8:01 - 8:03
    เราก็อาจจะมองเพื่อนเราด้วยสายตาที่เมินเฉย
  • 8:03 - 8:06
    หรือว่าบางทีเราอาจจะใช้คำพูดที่มันรุนแรง
  • 8:06 - 8:10
    เพราะว่าเราไม่เข้าใจ
    หรือเราไม่ได้สนใจที่จะทำความเข้าใจ
  • 8:10 - 8:14
    แล้วเราก็ตัดสินเพื่อนเราเนี่ย
    จากอคติที่เรามีนะฮะ
  • 8:14 - 8:17
    เรามีเรื่องราวของความกล้าหาญด้วยนะฮะ
  • 8:17 - 8:20
    เด็กคนนี้ส่งภาพวาดแล้วก็จดหมายมา
  • 8:20 - 8:23
    ภาพวาดก็เป็นอย่างนี้ค่ะ
    เป็นผู้หญิง 3 คนนะฮะ
  • 8:23 - 8:26
    แล้วก็อันนี้เป็นจดหมายที่เธอส่งมา
  • 8:26 - 8:27
    ในจดหมายก็เขียนว่า
  • 8:27 - 8:28
    เธอมีแม่สองคน
  • 8:29 - 8:30
    แล้วเธอก็ภูมิใจ
  • 8:30 - 8:32
    แล้วเธอก็รักแม่ของเธอสองคนมาก
  • 8:32 - 8:37
    เธออยากจะบอกกับเด็กทุกคน
    ที่มีแม่สองคน หรือว่ามีพ่อสองคนว่า
  • 8:37 - 8:39
    ให้ลุกขึ้นมา อย่าปกปิด
  • 8:39 - 8:42
    แล้วก็ลุกขึ้นมาบอกสังคมว่า
    นี่มันไม่ใช่เรื่องที่ผิดเนาะ
  • 8:42 - 8:45
    แล้วก็เราต้องทำให้สังคมเข้าใจ
  • 8:45 - 8:48
    คือหลายคนที่เห็นจดหมายฉบับเนี้ย
  • 8:48 - 8:50
    ก้มลงอ่านจดหมายใกล้ ๆ เนี่ย
  • 8:50 - 8:52
    เค้าก็น้ำตาซึมอ่ะนะฮะ
  • 8:52 - 8:55
    ส่วนตัวเองเนี่ย
    ตอนที่เห็นจดหมายฉบับนี้ครั้งแรก
  • 8:55 - 8:58
    ตอนที่น้องส่งมา เราก็รู้สึกว่า
  • 8:58 - 9:01
    เราอบอุ่นใจมาก
    แล้วเรารู้สึกว่าเราได้รับพลัง
  • 9:01 - 9:04
    จากผู้หญิงตัวเล็ก ๆ คนนึง
    ที่กำลังบอกอะไรเราค่ะ
  • 9:04 - 9:08
    กำลังจะบอกว่า
    การมีชีวิตอยู่เนี่ย สิ่งที่สำคัญก็คือ
  • 9:09 - 9:12
    ความรัก ความเข้าใจ
    แล้วก็ความกล้าหาญ
  • 9:12 - 9:16
    เราได้รับของบางอย่างที่
    เปิดตาเปิดใจเรามาก
  • 9:16 - 9:17
    กล่องสองใบนี้ค่ะ
  • 9:17 - 9:20
    ออกแบบมาให้
    เวลาที่เราไปยืนอยู่ตรงหน้าเนี่ย
  • 9:21 - 9:24
    ให้เราหลับตานะฮะ
    แล้วก็ล้วงมือเข้าไปในกล่องนั้น
  • 9:24 - 9:26
    เหมือนกับว่าจริง ๆ แล้ว
    ถ้าเรามองไม่เห็นเนี่ย
  • 9:26 - 9:29
    เราสัมผัสอะไรในกล่องนั้นนะฮะ
  • 9:29 - 9:32
    เจ้าของของในกล่องนี้
    ก็เป็นคนตาบอด
  • 9:32 - 9:33
    แล้วเค้าก็
  • 9:33 - 9:36
    เค้าก็รู้สึกมาตั้งแต่อายุ 5 - 6 ขวบ
  • 9:36 - 9:39
    ว่าเค้าไม่ได้รู้สึกเหมือนกับ
    เพศที่เค้าเกิดมา
  • 9:39 - 9:44
    ทีนี้ หลายคนที่ได้สัมผัสของในกล่องเนี้ย
  • 9:44 - 9:47
    ก็ตั้งคำถาม คือมันเกิดการ เอ๊ะ ขึ้นมาว่า
  • 9:47 - 9:49
    เฮ้ย เออ เราไม่เคยรู้เลยนะว่า
  • 9:49 - 9:52
    คนที่เค้าแตกต่างจากเราเนี่ย เป็นยังไง
  • 9:52 - 9:57
    คือเรามองโลกด้วยสายตาของคนปกติ
    คนที่มองเห็น ใช่มั้ยฮะ
  • 9:57 - 10:01
    ด้งนั้นเราไม่เคยตั้งคำถามว่า
    คนตาบอดเนี่ย คิดกับเรื่องเพศยังไง
  • 10:01 - 10:03
    แล้วเราไม่เคยสงสัยว่า
  • 10:03 - 10:05
    ว่าเวลาที่เค้ารักใครเนี่ย
  • 10:05 - 10:07
    เค้ามองไม่เห็นน่ะ
    เค้ารู้ได้ยังไง เค้ายังไง
  • 10:07 - 10:09
    คือมันเป็น
  • 10:09 - 10:14
    มันเป็นอีกโลกนึงที่
    สำหรับคนปกติ สำหรับคนตาดีเนี่ย ไม่เข้าใจ
  • 10:14 - 10:16
    แล้วก็เมื่อมาเผชิญหน้ากับ
  • 10:16 - 10:19
    กับสัมผัสตรงนี้เนี่ย
    ม้นทำให้เราตั้งคำถามขึ้นมา
  • 10:19 - 10:22
    หลายคนก็ มีน้องบางคนก็ Reflex นะฮะว่า
  • 10:22 - 10:25
    เฮ้ย จริง ๆ แล้วเนี่ย
    เค้าก็ได้เข้าใจนะว่า ในความแตกต่าง
  • 10:25 - 10:27
    เรามีความแตกต่างกัน
  • 10:27 - 10:30
    แต่จริง ๆ แล้วมันมีความเหมือนกัน
    ในความเป็นมนุษย์นะฮะ
  • 10:31 - 10:33
    ความรักล่ะคะ
  • 10:33 - 10:37
    ความรักแบบไหน
    ความรักหน้าตาแบบไหนที่จะอยู่ในพิพิธภัณฑ์
  • 10:37 - 10:39
    ความรักหน้าตาแบบนี้ อยู่ได้มั้ย นะคะ
  • 10:40 - 10:44
    เจ้าของ(พวง)หรีดเนี้ย
    อยู่กับคู่ของเค้ามา 36 ปี นะฮะ
  • 10:45 - 10:50
    เป็น 36 ปีที่คนสองคนอยู่ด้วยกัน
    โดยที่ครอบครัวของฝ่ายที่เสียชีวิตไปแล้ว
  • 10:51 - 10:52
    ไม่เคยรู้นะฮะ
  • 10:52 - 10:56
    คือเค้าคิดว่าเป็นผู้ชายสองคน
    ที่เป็นเพื่อนสนิทกันมาก
  • 10:56 - 10:59
    แล้วก็อยู่ด้วยกัน
  • 10:59 - 11:01
    ทีนี้พี่สองคนเนี้ย
  • 11:01 - 11:04
    ก็ทำงานขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม
    หลายประเด็นนะฮะ
  • 11:04 - 11:07
    อย่างเช่น เรื่อง HIV
    แล้วก็เรื่อง พ.ร.บ.คู่ชีวิต
  • 11:07 - 11:09
    เค้าก็มีความฝันเนอะว่า
  • 11:09 - 11:14
    วันนึง ถ้าสมมุติว่า
    พ.ร.บ.คู่ชีวิตนี้ ผ่านสภาเนี่ย
  • 11:14 - 11:16
    เรานี่แหละจะเป็นคู่แรก
  • 11:16 - 11:19
    ที่ไปจดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  • 11:19 - 11:22
    แต่ว่าวันนั้นก็ ไม่มาถึงนะฮะ
  • 11:22 - 11:25
    พี่คนนึงเสียชีวิตไปก่อน
    ส่วนคนที่เหลืออยู่เนี่ย
  • 11:26 - 11:30
    ก็ตัดสินใจทำพวงหรีดอันนี้
    แล้วก็เขียนไว้ใต้พวงหรีดว่า
  • 11:31 - 11:34
    "ด้วยรัก จากภรรยาและครอบครัว" นะคะ
  • 11:34 - 11:37
    อันนี้ก็คือเป็นครั้งแรกที่เค้า
  • 11:37 - 11:40
    ที่เค้าตัดสินใจที่จะลุกขึ้นมาบอกคน
    ว่าเค้าเป็นอะไรกัน
  • 11:40 - 11:45
    แล้วก็สร้างความตกอกตกใจ
    ให้กับครอบครัวของผู้ชายที่เสียชีวิตมากนะฮะ
  • 11:46 - 11:48
    เรื่องนี้บอกอะไรเราคะ
  • 11:48 - 11:49
    เรื่องนี้มันบอกเราว่า
  • 11:49 - 11:51
    ความรักก็คือความรักเนอะ
  • 11:51 - 11:54
    ความรักเป็นคุณค่าสากลของความเป็นมนุษย์
  • 11:54 - 11:57
    ความรักไม่ได้เป็นสิทธิผูกขาด
    สำหรับเพศใดเพศหนึ่ง
  • 11:57 - 12:00
    หรือว่าสำหรับคนที่รักเพศตรงข้ามเท่านั้น
  • 12:00 - 12:03
    แล้วก็ความคิดที่ว่า
    ความรักระหว่างคนเพศเดียวกัน
  • 12:03 - 12:05
    มันเป็นเรื่องฉาบฉวย มันเป็นเรื่อง
  • 12:05 - 12:08
    มันเป็นเรื่องมักง่าย
    เป็นเรื่องไม่ยั่งยืนเนี่ย
  • 12:08 - 12:09
    จริง ๆ แล้วมันอาจจะเป็นมายาคติก็ได้
  • 12:09 - 12:13
    เพราะว่าอย่างน้อยมันได้พิสูจน์แล้ว
    ในความรักของคนคู่นี้ว่า
  • 12:13 - 12:16
    เค้าอยู่กันมา 36 ปี
    แล้วเค้าก็ประคับประคองชีวิตคู่
  • 12:17 - 12:20
    จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิตนะฮะ
  • 12:20 - 12:24
    ฟังมาถึงตรงนี้ ดิฉันก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า
    ทุกท่านในห้องนี้จะรู้สึกว่า
  • 12:24 - 12:27
    จะรู้สึกว่าจดหมายน้อยฉบับนั้นของเด็กนี้
    มีคุณค่าหรือเปล่า
  • 12:27 - 12:30
    หรือว่าพวงหรีดอันนี้มันมีความสำคัญอะไรมั้ย
  • 12:30 - 12:32
    แต่ดิฉันคิดว่า สำหรับตัวเองแล้วเนี่ย
  • 12:32 - 12:39
    นิทรรศการนี้เนี่ย มันเป็นหลักหมายที่สำคัญ
    แล้วก็มันสำคัญในแง่ที่ว่า
  • 12:39 - 12:42
    มันใช้เรื่องราวที่เป็นเรื่องของ
    คนธรรมดาสามัญ นะฮะ
  • 12:42 - 12:47
    ไม่ใช่วีรบุรุษ ไม่ใช่วีรสตรี
    ไม่ใช่คนรวย ไม่ใช่คนมีชื่อเสียงในสังคม
  • 12:47 - 12:50
    ความเป็นคนธรรมดาเนี่ย
    มันสำคัญยังไงคะ
  • 12:50 - 12:52
    มันให้ Sense of Connection
    (ความรู้สึกของการเชื่อมต่อ)
  • 12:52 - 12:54
    มันให้ความรู้สึกว่า
  • 12:54 - 12:58
    เรื่องราวของคนในนิทรรศการเนี้ย
    จริง ๆ แล้วมันอาจจะเป็นเรื่องราวของใครก็ได้
  • 12:58 - 13:00
    มันอาจจะเป็นพ่อแม่เรา
    มันอาจจะเป็นครูเรา
  • 13:00 - 13:04
    มันอาจจะเป็นเพื่อนเรา
    หรือว่ามันอาจจะเป็นตัวเราเองก็ได้
  • 13:04 - 13:07
    ที่มีเรื่องราวแบบนี้เหมือนกันนะฮะ
  • 13:07 - 13:10
    แล้วดิฉ้นคิดว่า
    มันก็มีแต่คนธรรมดานี่แหละค่ะ
  • 13:10 - 13:13
    ที่เราจะเข้าถีงเค้าได้
  • 13:13 - 13:17
    แล้วก็ที่จะทำให้เราเนี่ย
    มองเห็นตัวเองในนั้นนะคะ
  • 13:18 - 13:22
    ดิฉันคิดว่ามีแต่เรื่องราวของคนธรรมดา
    ที่จะสามารถสร้างความเชื่อมต่อ
  • 13:22 - 13:25
    แล้วก็ถ่ายทอดคุณค่าอะไรบางอย่างได้
  • 13:25 - 13:30
    เราอาจจะเป็นคนคนนึงซึ่ง เคยถูกกระทำ
    หรือว่าเป็นผู้กระทำเองในเรื่องนี้ก็ได้
  • 13:30 - 13:32
    หรือว่าเราอาจจะเป็นคนคนนึงที่
  • 13:32 - 13:35
    ซ่อนตัวเราอยู่ในตู้เสื้อผ้าใบนั้น
    ก็ได้เช่นกัน
  • 13:35 - 13:39
    จริง ๆ แล้วพิพิธภ้ณฑ์ส่วนใหญ่เนี่ย
    ไม่ค่อยให้พื้นที่กับคนธรรมดานะฮะ
  • 13:39 - 13:42
    แล้วก็ไม่ค่อยให้พื้นที่กับคนธรรมดา
    ที่มีความแตกต่าง
  • 13:42 - 13:44
    แต่ว่าดิฉ้นคิดว่า
  • 13:44 - 13:47
    การเปิดพื้นที่ให้คนธรรมดา
  • 13:47 - 13:48
    คนที่แตกต่าง
  • 13:48 - 13:51
    หรือว่าคนที่ถูกมองข้าม
    หรือว่าคนที่ถูกเข้าใจผิด
  • 13:51 - 13:55
    จริง ๆ แล้วมันเป็นบทบาทของพิพิธภัณฑ์
    ที่พึงมีกับสังคมค่ะ
  • 13:56 - 13:58
    ที่สำคัญกว่านั้นก็คือว่า
  • 13:58 - 14:01
    การที่พิพิธภัณฑ์เนี่ย
    ไม่ได้เป็นเสียงเดียวที่พูดเรื่องนี้นะฮะ
  • 14:02 - 14:05
    แต่ว่าเราเป็นเวที
    ให้เสียงอื่น ๆ ได้แสดงออกเนี่ย
  • 14:05 - 14:06
    มันทำให้เราตระหนักว่า
  • 14:06 - 14:09
    เรื่องเรื่องนึง
    มันมีได้มากกว่า 1 เรื่องนะคะ
  • 14:10 - 14:14
    การพูดถึงเพศที่
    3 - 4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9 - 10 เนี่ยว่า
  • 14:14 - 14:19
    เป็นเพศที่เบี่ยงเบน ผิดปกติ
    หรือแม้แต่เป็นเพศที่ตลกนะฮะ
  • 14:19 - 14:23
    เราจะเห็นแต่เรื่องความตลกของเค้า
    ในละครใช่มั้ยฮะ
  • 14:23 - 14:27
    จริง ๆ แล้วในนิทรรศการเนี้ย
    และข้าวของต่าง ๆ มันบอกเราว่า
  • 14:27 - 14:30
    มีชีวิตแบบอื่นด้วยนะคะที่ดำรงอยู่
  • 14:30 - 14:33
    แล้วก็เสียงของพวกเค้า
    ก็ควรจะได้ถูกรับฟังเหมือนกัน
  • 14:33 - 14:36
    การเปิดพื้นที่ให้กับความแตกต่าง
    ได้แสดงตัวเนี่ย
  • 14:36 - 14:37
    มันหมายถึง
  • 14:37 - 14:41
    การบอกว่าคนที่แตกต่างเนี่ย
    มีชีวิตแล้วก็ดำรงอยู่
  • 14:41 - 14:44
    เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ทั่วไปเหมือนกัน
  • 14:44 - 14:46
    ดิฉันอยากปิดด้วยภาพภาพนี้นะฮะ
  • 14:46 - 14:48
    ที่ดิฉันไม่สามารถที่จะ
  • 14:48 - 14:52
    ถ่ายรูปคนสองคน
    ที่นั่งอยู่บนเก้าอี้สองตัวนี้ได้นะคะ
  • 14:52 - 14:55
    สองคนนี้เนี่ย
    เป็นคนต่างชาตินะฮะ
  • 14:55 - 15:00
    อันนี้เป็นมุมนึงของนิทรรศการ
    แล้วก็เป็นภาพยนตร์จากนานาชาติ
  • 15:00 - 15:03
    สองคนนี้ก็นั่งดูอยู่แล้วก็
    ตอนแรกเค้าก็นั่ง
  • 15:04 - 15:05
    เค้าก็นั่งห่างกันเนาะ
  • 15:05 - 15:07
    แล้วก็
  • 15:07 - 15:08
    ซักพักนึงเค้าก็จับมือกัน
  • 15:08 - 15:10
    ซักพักนึงเค้าก็จูบกัน
  • 15:10 - 15:13
    ดิฉันยืนอยู่ข้างหลังสองคนนี้นะฮะ
  • 15:13 - 15:16
    แล้วก็รู้สีกว่า
    ชั่วขณะนั้นก็รู้สึกอิ่มเอมใจมาก
  • 15:17 - 15:21
    อิ่มเอมใจที่เห็นผู้หญิงสองคนมาจูบกัน
    ในห้องนิทรรศการของเรา
  • 15:21 - 15:24
    เพราะว่าดิฉันรู้สึกว่า
    โอเค เราไม่รู้ว่าเค้าเป็นใคร
  • 15:24 - 15:28
    เราไม่รู้ว่าเค้ามาจากไหน
    เราไม่รู้ว่าเค้าผ่านชีวิตอะไรมา
  • 15:28 - 15:30
    แต่ว่าในชั่วขณะนั้นของคนทำงานเนี่ย
  • 15:30 - 15:34
    เรารู้สึกว่า
    มันมีบางอย่างที่มันสร้างความสัมพันธ์
  • 15:34 - 15:36
    มันมีบางอย่างที่มันข้ามพรหมแดน
  • 15:37 - 15:39
    ระหว่างผู้หญิงต่างชาติสองคน
  • 15:39 - 15:42
    กับเรื่องราวของคนไทยทั้งหมด
    ที่อยู่ในห้องนั้น
  • 15:42 - 15:45
    เรารู้สึกว่ามันได้เกิด
    Connection (การเชื่อมต่อ) ขึ้น
  • 15:45 - 15:50
    ในระดับของอารมณ์ความรู้สึก
    ไม่ใช่แค่การรับรู้ข้อมูลข่าวสารนะฮะ
  • 15:50 - 15:53
    แล้วก็อันนี้ค่ะ คือสิ่งที่ดิฉันอยากจะเรียกว่า
    "พิพิธภัณฑ์สัมผัส"
  • 15:53 - 15:55
    ขอบคุณค่ะ
  • 15:55 - 15:57
    (เสียงปรบมือ)
Title:
พิพิธภัณฑ์สัมผัส | ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร | TEDxUTCC
Description:

เวลาที่ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ เคยคิดไหมว่าพิพิธภัณฑ์กำลังพยายามพูดอะไรกับเรา พูดด้วยวิธีไหน เราฟังแล้วเข้าใจมั้ย เราได้รับแรงบันดาลใจอะไรบ้าง หรือเราเข้าไม่ถึงเรื่องราวที่กำลังถูกสื่อสารเลยแม้แต่น้อย

ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร อยากจะชวนให้เราลองมารู้จักกับแนวคิดแบบ "พิพิธภัณฑ์สัมผัส" หรือพิพิธภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดการสื่อสารขึ้นระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ผ่านการเล่าเรื่องราวที่เราสามารถเข้าถึงได้ เรื่องราวที่เราสามารถเห็นตัวเองในนั้นได้ เรื่องไม่ธรรมดาของคนธรรมดาทั่วไป ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้จะสามารถสร้างความเชื่อมต่อและถ่ายทอดคุณค่าบางอย่าง เช่น เรื่องราวของนิทรรศการ "ชายหญิง สิ่งสมมุติ (Gender Illumination)" ซึ่งถูกจัดแสดงไปแล้วที่มิวเซียมสยาม

ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร หรือเอ๋ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ มิวเซียมสยาม เป็นผู้อยู่เบื้องหลังนิทรรศการหลากหลายชุดที่ท้าทายกรอบการรับรู้ของสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็น "พม่าระยะประชิด" "ต้มยำกุ้งวิทยา วิชานี้อย่าเลียน!" และ "ชายหญิง สิ่งสมมุติ"

This talk was given at a TEDx event using the TED conference format but independently organized by a local community. Learn more at https://www.ted.com/tedx

more » « less
Video Language:
Thai
Team:
closed TED
Project:
TEDxTalks
Duration:
15:59

Thai subtitles

Revisions