Return to Video

สมาชิกที่มีชีวิตกลุ่มสุดท้ายของสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ - ยาน สเตสกัล

  • 0:07 - 0:13
    ในทุ่งหญ้าสะวันนาประเทศเคนยา
    2 แรดขาวเหนือตัวเมีย นางินและฟาตู
  • 0:13 - 0:16
    เคี้ยวอาหารเสียงดัง
    อย่างมีความสุขบนผืนหญ้า
  • 0:16 - 0:18
    ในเวลาที่วิดีโอนี้เผยแพร่
  • 0:18 - 0:23
    มีแรดขาวเหนือ 2 ตัวสุดท้าย
    ที่รู้กันว่าเหลืออยู่บนโลก
  • 0:23 - 0:26
    สายพันธุ์ของมัน
    อยู่ในสภาวะสูญพันธุ์โดยปริยาย
  • 0:26 - 0:30
    เมื่อปราศจากตัวผู้
    นางินและฟาตุไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้
  • 0:30 - 0:34
    แต่ยังพอมีความหวัง
    ที่จะฟื้นคืนแรดขาวเหนือ
  • 0:34 - 0:36
    มันจะเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร?
  • 0:36 - 0:39
    เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 50 ปีก่อน
  • 0:39 - 0:42
    เมื่อผู้ลักลอบล่าสัตว์เริ่มล่าแรด
    เป็นพัน ๆ ตัวอย่างผิดกฎหมาย
  • 0:42 - 0:45
    ทั่วแอฟริกา เพื่อนอของมัน
  • 0:45 - 0:48
    รวมกับสงครามกลางเมือง
    ในถิ่นอาศัยของมัน
  • 0:48 - 0:52
    จึงลดประชากรแรดขาวเหนือลงอย่างมาก
  • 0:52 - 0:57
    นักอนุรักษ์ที่ใส่ใจได้เริ่มผสมพันธุ์พวกมัน
    ในพื้นที่ปิด ในช่วงปี 1970
  • 0:57 - 1:01
    รวบรวมและเก็บรักษา
    อสุจิจากเหล่าตัวผู้
  • 1:01 - 1:05
    มีแรดเพียง 4 ตัว
    ที่เกิดจากโครงการนี้
  • 1:05 - 1:10
    นางินและลูกของเธอ ฟาตู
    คือ 2 ตัวสุดท้าย
  • 1:10 - 1:15
    ในปี 2014 นักอนุรักษ์ค้นพบว่า
    ทั้งสองตัวไม่สามารถมีลูกได้
  • 1:15 - 1:20
    แม้ว่านางินให้กำเนิดฟาตูมาแล้ว
    แต่ตอนนี้เธอมีขาหลังที่อ่อนแอ
  • 1:20 - 1:23
    ซึ่งเป็นอันตรายกับสุขภาพของเธอ
    ถ้าเธอตั้งท้องอีกครั้ง
  • 1:23 - 1:27
    ในขณะที่ฟาตู
    มีเยื่อบุมดลูกเสื่อม
  • 1:27 - 1:34
    และแรดขาวเหนือตัวผู้ตัวสุดท้าย
    ของสายพันธุ์ ซูดาน ตายไปในปี 2018
  • 1:34 - 1:38
    แต่มีหนึ่งแสงสลัว ๆ ของความหวัง
    การผสมพันธุ์เทียม
  • 1:38 - 1:43
    ไม่มีตัวผู้ที่มีชีวิตแล้ว
    และไม่มีตัวเมียที่สามารถตั้งท้องได้
  • 1:43 - 1:47
    นี่คือกระบวนการที่ซับซ้อนและเสี่ยง
  • 1:47 - 1:51
    แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะเก็บอสุจิไว้แล้ว
    แต่พวกเขาจะต้องเก็บไข่
  • 1:51 - 1:57
    ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อน
    ที่ตัวเมียต้องถูกทำให้สลบ ถึง 2 ชั่วโมง
  • 1:57 - 2:00
    จากนั้นพวกเขาจะสร้างตัวอ่อน
    ที่เจริญเติบโตได้ในห้องทดลอง
  • 2:00 - 2:05
    ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน
    และไม่มีใครรู้ว่าทำอย่างไร
  • 2:05 - 2:07
    และนั่นก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้น
  • 2:07 - 2:10
    แม่อุ้มบุญของแรดสายพันธุ์อื่น
  • 2:10 - 2:13
    จะต้องอุ้มท้องตัวอ่อน
    ในระยะเวลาที่กำหนด
  • 2:13 - 2:17
    ตัวเมียของสายพันธุ์
    ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด แรดขาวใต้
  • 2:17 - 2:21
    กลายเป็นทั้งกุญแจสำคัญเพื่อพัฒนา
    ตัวอ่อนของแรดในห้องทดลอง
  • 2:21 - 2:25
    และเป็นผู้นำ
    ในเหล่าผู้ท้าชิงเพื่อเป็นแม่อุ้มบุญ
  • 2:25 - 2:30
    แรดขาวเหนือและใต้แยกจากกัน
    ประมาณ 1 ล้านปีที่แล้ว
  • 2:30 - 2:34
    แต่ยังคงเป็นสายพันธ์ุ
    ที่ใกล้ชิดกัน
  • 2:34 - 2:38
    พวกมันอาศัยอยู่ต่างภูมิภาค
    และมีลักษณะทางกายภาพต่างกันเล็กน้อย
  • 2:38 - 2:42
    ในความบังเอิญที่โชคดี
    แรดขาวใต้ตัวเมียหลายตัว
  • 2:42 - 2:45
    จำเป็นต้องได้รับการรักษา
    สำหรับปัญหาการสืบพันธุ์ของพวกมัน
  • 2:45 - 2:49
    และนักวิจัยสามารถรวบรวมไข่
    ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการรักษา
  • 2:49 - 2:53
    ที่สวนสัตว์ดวูร์กราโลเว
    ในเดือนตุลาคม 2015
  • 2:53 - 2:57
    ผู้เชี่ยวชาญของสถาบันไลบ์นิซ
    เพื่อวิจัยสวนสัตว์และสัตว์ป่าเบอร์ลิน
  • 2:57 - 2:59
    เริ่มต้นเก็บไข่จากแรดขาวใต้
  • 2:59 - 3:04
    และส่งพวกมันไปที่อาแวงที
    ห้องปฏิบัติการผสมพันธุ์สัตว์ในอิตาลี
  • 3:05 - 3:12
    ที่นั่น นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาเทคนิค
    การสร้างตัวอ่อนที่มีชีวิต
  • 3:12 - 3:14
    เมื่อพวกเค้าเข้าใจเทคนิคอย่างถ่องแท้
  • 3:14 - 3:20
    นักวิจัยสกัดไข่ของนางินและฟาตู
    ในวันที่ 22 สิงหาคม 2019
  • 3:20 - 3:22
    และส่งมันไปที่อิตาลี
  • 3:22 - 3:25
    สามวันหลังจากนั้น
    พวกเขาผสมเทียมไข่เหล่านี้กับอสุจิ
  • 3:25 - 3:28
    จากแรดขาวเหนือตัวผู้
  • 3:28 - 3:32
    หลังจากนั้นอีกสัปดาห์
    ไข่สองฟองมาถึงขั้นตอนของการพัฒนา
  • 3:32 - 3:36
    เมื่อตัวอ่อนสามารถถูกแช่แข็ง
    และเก็บรักษาไว้เพื่ออนาคต
  • 3:36 - 3:41
    การเก็บรวบรวมอีกครั้งในเดือนธันวาคม
    2019 ได้ผลิตตัวอ่อนเพิ่มอีกหนึ่งตัว
  • 3:41 - 3:48
    ช่วงต้นปี 2020 แผนคือ
    จะเก็บไข่ของนางินและฟาตู 3 ครั้งต่อปี
  • 3:48 - 3:50
    ถ้าทั้งสองตัวแข็งแรงพอ
  • 3:50 - 3:52
    ในขณะเดียวกัน
    นักวิจัยกำลังมองหา
  • 3:52 - 3:55
    แรดขาวใต้
    ที่มีแนวโน้มเป็นแม่อุ้มบุญได้
  • 3:55 - 3:59
    ซึ่งตามทฤษฎีเป็นแม่แรดที่เคย
    ตั้งครรภ์จนครบกำหนดมาก่อน
  • 3:59 - 4:02
    แผนการอุ้มบุญ
    ยังต้องอาศัยโชคอยู่มาก
  • 4:02 - 4:05
    แรดขาวใต้และเหนือ
    ผสมพันธุ์ต่างสายพันธุ์
  • 4:05 - 4:10
    ทั้งช่วงท้ายยุคน้ำแข็ง
    และล่าสุดในปี 1977
  • 4:10 - 4:14
    ดังนั้นนักวิจัยจึงมีความหวังว่า
    แรดขาวใต้
  • 4:14 - 4:17
    จะสามารถอุ้มท้องแรดขาวเหนือ
    จนครบกำหนดได้
  • 4:17 - 4:21
    นอกจากนี้ สองสายพันธุ์
    มีระยะเวลาตั้งท้องเท่ากัน
  • 4:21 - 4:25
    แม้ในขณะนี้ การถ่ายโอนตัวอ่อน
    ไปสู่แรดยังเป็นเรื่องยาก
  • 4:25 - 4:27
    เพราะรูปร่างของปากมดลูก
  • 4:27 - 4:30
    เป้าหมายสูงสุด
    ซึ่งอาจจะใช้เวลาหลายสิบปี
  • 4:30 - 4:34
    คือการสร้างประชากรวัยเจริญพันธุ์
    ของแรดขาวเหนือ
  • 4:34 - 4:37
    ในถิ่นที่อยู่ของมันเอง
  • 4:37 - 4:40
    ผลการศึกษาชี้ว่า
    เรามีตัวอย่างที่เพียงพอ
  • 4:40 - 4:44
    ที่จะสร้างประชากรขึ้นมาใหม่
    อย่างมีความหลากหลายทางพันธุกรรม
  • 4:44 - 4:45
    ในแบบที่เคยเป็น
    เมื่อร้อยปีมาแล้ว
  • 4:45 - 4:48
    ถึงแม้เป้าประสงค์
    ของความพยายามนี้จะมีความเฉพาะตัว
  • 4:48 - 4:51
    ขณะที่สายพันธุ์อื่น ๆ ยังเผชิญ
    ความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์
  • 4:51 - 4:52
    หรือการสูญพันธุ์โดยปริยาย
  • 4:52 - 4:55
    มันยังเป็นเวทีสำหรับคำถามใหญ่ ๆ
  • 4:56 - 5:00
    เรามีหน้าที่หรือไม่ ที่จะพยายาม
    นำสายพันธุ์ต่าง ๆ กลับมาจากปากเหว
  • 5:00 - 5:04
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อการกระทำของ
    มนุษย์นำพวกมันไปสู่ที่นั่นตั้งแต่แรก?
  • 5:04 - 5:07
    มีข้อจำกัดในความพยายาม
    ที่เราควรใช้หรือไม่
  • 5:07 - 5:10
    ในการอนุรักษ์สัตว์ต่าง ๆ
    ที่ถูกคุกคามจากการสูญพันธุ์?
Title:
สมาชิกที่มีชีวิตกลุ่มสุดท้ายของสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ - ยาน สเตสกัล
Speaker:
ยาน สเตสกัล
Description:

รับชมบทเรียนแบบเต็ม:https://ed.ted.com/lessons/the-last-living-members-of-an-extinct-species-jan-stejskal

ในทุ่งหญ้าสะวันนาของประเทศเคนย่า แรดขาวเหนือตัวเมีย 2 ตัว นางินและฟาตู เคี้ยวอาหารเสียงดังอย่างมีความสุขบนผืนหญ้า เท่าที่รู้ พวกมันคือแรดขาวเหนือ 2 ตัวสุดท้ายเหลืออยู่บนโลก สายพันธุ์ของพวกมันสูญพันธุ์โดยปริยาย เพราะปราศจากตัวผู้ พวกมันจึงไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความหวังที่จะฟื้นฟูแรดขาวเหนือ มันจะเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร ยาน สเตสกัล ดำดิ่งสู่วิทยาศาสตร์ของการชุบชีวิตสายพันธุ์ที่กำลังจะตาย

บทเรียนโดย ยาน สเตสกัล กำกับโดย เดนิส ชาปอง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:11

Thai subtitles

Revisions