Return to Video

กินมะเร็ง | ชนิพรรณ บุตรยี่ | TEDxUTCC

  • 0:11 - 0:16
    ทีนี้ดิชั้นอยากจะเริ่มต้นทอล์คของดิชั้น
    โดยที่ให้ทุก ๆ คนในที่นี้
  • 0:16 - 0:21
    ลองดูตัวคุณเองว่าสิ่งที่ดิชั้นถามเนี่ย
    มันใช่ตัวคุณหรือเปล่าคะ
  • 0:21 - 0:23
    ข้อแรกเลยนะคะ
  • 0:23 - 0:26
    คุณหรือเปล่า ที่เป็นคนทุ่มเทกับการทำงาน
  • 0:27 - 0:29
    เวลานอน นับสิคะ ครบ 8 ชั่วโมงมั้ย
  • 0:29 - 0:34
    ที่เค้าบอกว่านอนเพื่อสุขภาพเนี่ย
    8 ชั่วโมง ถึงมั้ยคะ
  • 0:34 - 0:36
    คงน้อยมาก เห็นคนส่ายหัวเยอะมากเลย
  • 0:36 - 0:38
    นะคะ
  • 0:38 - 0:40
    ตั้งใจจะออกกำลังกายใช่มั้ยคะ
  • 0:40 - 0:42
    ทำสำเร็จมั้ยคะ
  • 0:42 - 0:45
    มีข้ออ้างให้กับตัวเองสารพัดเลยใช่มั้ยคะ
  • 0:45 - 0:48
    งานยังไม่เสร็จ เดี๋ยวพรุ่งนี้ค่อยไปแล้วกัน
  • 0:48 - 0:52
    จักรยานที่ซื้อมา จอดอยู่ฝุ่นขึ้นแล้ว
  • 0:52 - 0:54
    ใช่มั้ยคะ ถ้าคุณเป็นแบบนั้น
  • 0:54 - 0:58
    แล้วตรวจสุขภาพประจำปีล่ะคะ
    ปีนี้ใครไปตรวจแล้วยกมือหน่อย
  • 0:59 - 1:01
    อ้า มีบ้าง ถูกบังคับให้ไปตรวจใช่มั้ยคะ
  • 1:01 - 1:02
    ถูกมั้ย
  • 1:02 - 1:04
    ถ้าให้เดินไปพบแพทย์เนี่ย
  • 1:04 - 1:08
    ไปจ่ายเงิน เสียเงินเจาะเลือด
    ตรวจสุขภาพเนี่ย คงไม่ไป
  • 1:08 - 1:12
    ลึก ๆ แล้ว คนที่ไม่ตรวจเนี่ย
    ไม่ใช่ขี้แค่เกียจนะคะ
  • 1:12 - 1:14
    แต่จริง ๆ แล้วกลัว
  • 1:14 - 1:18
    กลัวว่ารู้ว่าไปเจาะเลือดแล้วเนี่ยนะ
  • 1:18 - 1:20
    แล้วเราเจอว่าไขมันในเลือดสูง
  • 1:20 - 1:21
    น้ำตาลในเลือดสูง
  • 1:21 - 1:23
    ความดันสูง
  • 1:23 - 1:26
    ​โอ้โห
    ไอ้สิ่งที่เราเอนจอยอีทติ้งต่อไปเนี่ย
  • 1:26 - 1:27
    มันหมดแล้วอะ
  • 1:28 - 1:32
    เราจะกินแบบตามใจปากเราไม่ได้แล้วอะ
    เป็นอย่างนั้นรึเปล่าคะ
  • 1:32 - 1:36
    แล้วลองดูสิคะว่า ในชีวิตประจำวันของคุณ
  • 1:36 - 1:40
    มื้อเช้ายามเร่งรีบ
    ต้องรีบเข้าออฟฟิศไปตอกบัตร
  • 1:40 - 1:42
    หรือไปสแกนนิ้วมือ
  • 1:42 - 1:44
    หรือน้อง ๆ นักศึกษาต้องรีบเข้าห้องเลคเชอร์
  • 1:44 - 1:50
    อาหารเหล่านี้ค่ะ ในภาพนี้
    มันคืออาหารบ่อย ๆ ที่คุณมักจะเจอ
  • 1:50 - 1:52
    ถ้ามันใช่นะคะ
  • 1:52 - 1:54
    กับอีกอย่างนึงค่ะ
  • 1:54 - 1:58
    เวลาที่คุณสังสรรค์กับเพื่อน ๆ
    เวลาปิดจ๊อบงาน
  • 1:58 - 1:59
    สิ้นเดือน
  • 1:59 - 2:01
    เงินเดือนออก
  • 2:01 - 2:02
    ฉลองสอบเสร็จ
  • 2:02 - 2:04
    ใช่มั้ยคะ ไอ้หมูกระทะ
  • 2:04 - 2:06
    บุฟเฟต์ 199 บาทเนี่ย
  • 2:06 - 2:08
    ที่รู้สึกว่าโอ้โหมันคุ้มจังเลยนะ
  • 2:08 - 2:12
    ผักอย่ามาเชียวนะ
    มันจะเบียดบังพื้นที่ในกระเพาะของคุณ
  • 2:13 - 2:15
    ใช่ ใช่มั้ยคะ หลายคนพยักหน้าเนาะ
  • 2:15 - 2:20
    แต่ไอ้สลัดบาร์ 139 ของดิชั้นเนี่ย
    ทุกคนกลับเมิน
  • 2:20 - 2:22
    ทีนี้
  • 2:22 - 2:25
    ถ้าสิ่งที่ดิชั้นพูดเนี่ยนะ มันใช่ตัวคุณน่ะ
  • 2:25 - 2:28
    อยากจะบอกว่าในสิบกว่านาทีข้างหน้าเนี่ยนะคะ
  • 2:28 - 2:30
    อยากให้ตั้งใจฟังในสิ่งที่ดิชั้นจะแบ่งปัน
  • 2:30 - 2:32
    เพราะอยากจะบอกว่า
  • 2:32 - 2:36
    ถ้าคุณกินไม่คิดเนี่ย ชีวิตคุณจะเปลี่ยนค่ะ
  • 2:36 - 2:38
    You are what you eat ค่ะ
    (กินอะไรก็เป็นอย่างนั้น)
  • 2:38 - 2:40
    อ่ะ เราลองมาเดาคำตอบข้อนี้กัน
  • 2:41 - 2:44
    อะไรเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนไทย
  • 2:44 - 2:46
    อะไรคะ อุบัติเหตุ
  • 2:46 - 2:48
    อะไรอีกคะ
  • 2:49 - 2:50
    ดิชั้นแว่ว ๆ ว่ามะเร็ง
  • 2:51 - 2:55
    มะเร็ง มะเร็งค่ะ (หัวเราะ) ​ใช่มั้ย
    ทุกคนอยากจะเป็นคนที่ตอบถูก
  • 2:55 - 2:56
    ถูกต้องเลยค่ะ
  • 2:56 - 3:00
    มะเร็งนี่ล่ะค่ะ อันดับ 1
    ที่เป็นสาเหตุการตายของคนไทย
  • 3:00 - 3:03
    ถามว่า มันเพิ่งขึ้นอันดับมาปีนี้หรือเปล่า
  • 3:03 - 3:04
    หรือปีที่แล้วหรือเปล่า
  • 3:04 - 3:06
    ไม่ใช่ค่ะ
  • 3:06 - 3:10
    ทุกคนมาฟังอันนี้แล้วจะตกใจ
    มันขึ้นอันดับ 1 มาตั้งแต่ปี 2542
  • 3:11 - 3:14
    ปีนี้ 2561 ปีหน้า 2562
  • 3:15 - 3:17
    แปลว่าปีหน้าเราจะฉลองครบรอบ 20 ปีแล้วนะคะ
  • 3:17 - 3:20
    ที่มะเร็งมันเป็นสาเหตุการตาย
    อันดับ 1 ของคนไทย
  • 3:20 - 3:23
    ทุกคนหัวเราะเพราะเราไม่ได้ภูมิใจใช่มั้ยคะ
  • 3:23 - 3:27
    แต่มะเร็งมันคงภูมิใจค่ะ
    ที่มันครองแชมป์มานานได้ 20 ปี
  • 3:27 - 3:28
    นะคะ
  • 3:28 - 3:31
    แล้วต่างประเทศล่ะคะ มันไม่ต่างกันเลยนะคะ
  • 3:31 - 3:36
    มะเร็งก็เป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ
    ทั่วโลกเหมือนกัน ของประชากรทั่วโลก
  • 3:36 - 3:40
    แล้วมะเร็งอะไรล่ะคะ ที่มันท๊อปฮิตติดชาร์ท
  • 3:40 - 3:41
    ทุกคนชอบจัดอันดับ
  • 3:41 - 3:45
    มันก็มีแบ่ง มันมีความต่างกันอยู่
    ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายค่ะ
  • 3:45 - 3:46
    ถ้าเราลองมาดู
  • 3:46 - 3:47
    เพศหญิงก่อนละกันนะคะ
  • 3:47 - 3:48
    เลดี้ เฟิร์ส
  • 3:49 - 3:53
    เรามีเต้านม มดลูกเป็นของตัวเอง
    ผู้ชายไม่มีทางเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก
  • 3:53 - 3:55
    แล้วมันก็ขึ้นอันดับจริง ๆ
  • 3:55 - 3:56
    แต่มันก็มี
  • 3:57 - 3:59
    มะเร็งลำไส้มาแซงเป็นอันดับ 2
  • 3:59 - 4:00
    นะคะ
  • 4:00 - 4:02
    แล้วในผู้ชายล่ะคะ
  • 4:02 - 4:03
    ดื่มเหล้า
  • 4:03 - 4:04
    สูบบุหรี่ ใช่มั้ยคะ
  • 4:04 - 4:08
    มันก็จะหนีไม่พ้นมะเร็งตับกับมะเร็งปอด
  • 4:08 - 4:10
    แล้วมันก็จะมีไอ้เจ้ามะเร็งลำไส้เนี่ย
  • 4:10 - 4:11
    พ่วงมาด้วยเหมือนกัน
  • 4:12 - 4:13
    ทีนี้
  • 4:13 - 4:14
    ถ้าเราดูแล้วเนี่ย
  • 4:15 - 4:16
    ดิชั้นอยากจะบอกว่า
  • 4:16 - 4:20
    "ดาวเด่น" ที่ดิชั้นอยากจะพูดในวันนี้
    หรืออยากจะมาแบ่งปันแล้วก็แลกเปลี่ยน
  • 4:20 - 4:22
    กับทุกท่านในที่นี้เนี่ย
  • 4:22 - 4:25
    ดิชั้นสนใจไอ้เจ้ามะเร็งลำไส้นี่แหละค่ะ
  • 4:25 - 4:28
    เพราะอะไร ถ้าเราดูนะ
    มันเป็นมะเร็งที่มันแฟร์มากเลยนะ
  • 4:28 - 4:32
    มันไม่ไปเกิดในผู้หญิง ในผู้ชายโดยเฉพาะ
    แต่มันเกิดได้ทั้งในผู้หญิงแล้วก็ผู้ชาย
  • 4:32 - 4:34
    มันติดอันดับมาทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
  • 4:35 - 4:37
    ไม่ใช่ว่ามันเป็นมะเร็งที่มันแฟร์นะคะ
  • 4:38 - 4:39
    แต่จะบอกด้วยว่า
  • 4:39 - 4:42
    สาเหตุมันน่ะ ก็น่าสนใจ
  • 4:42 - 4:46
    เพราะว่ามะเร็งหลายอย่าง
    มันมีหลายปัจจัยที่มันเป็นสาเหตุ
  • 4:46 - 4:50
    มันเป็นเรื่องของพันธุกรรม บางทีเรามีญาติ
    พี่น้อง พ่อแม่ปู่ย่าตายายเราอะ
  • 4:51 - 4:53
    เป็นมะเร็งเต้านม
    เราก็คือเป็นคนที่มีความเสี่ยง
  • 4:53 - 4:56
    แองเจลินา โจลี อย่างงี้
    เธอตัดเต้านมเธอไปเลย
  • 4:56 - 4:57
    เพราะเธอรู้ว่าเธอเสี่ยง
  • 4:57 - 4:58
    เพราะเธอมีประวัติ
  • 4:58 - 4:59
    แต่ทีนี้
  • 4:59 - 5:02
    ไอ้เจ้ามะเร็งลำไส้มันน่าสนใจตรงที่ว่า
  • 5:02 - 5:06
    ไอ้เรื่องของพันธุกรรม
    ไอ้เรื่องของสิ่งแวดล้อมหรือพฤติกรรมเนี่ย
  • 5:06 - 5:09
    มันไม่ได้เด่นเท่ากับเรื่องอาหารการกิน
  • 5:10 - 5:11
    แปลว่า
  • 5:11 - 5:14
    อาหารนี่แหละมันเป็นสาเหตุ
    ที่ทำให้เป็นมะเร็งลำไส้
  • 5:14 - 5:16
    แต่มะเร็งลำไส้อีกนั่นแหละ
  • 5:16 - 5:19
    ที่อาหารมันก็สามารถที่จะป้องกันได้
  • 5:19 - 5:23
    ถามว่า ป้องกันทำไมมันถึง
    น่าสนใจกว่าการรักษา
  • 5:24 - 5:27
    หลายคนอาจจะเคยมีญาติหรือเพื่อน
    หรืออะไรที่เป็นมะเร็ง
  • 5:27 - 5:30
    เราจะรู้ว่า การรักษาผู้ป่วยมะเร็งเนี่ย
  • 5:30 - 5:32
    ม้นบั่นทอนนะคะ
  • 5:32 - 5:35
    มันไม่ใช่บั่นทอน
    จากอาการของมะเร็งที่เค้าเป็นอยู่นะ
  • 5:35 - 5:39
    แต่การรักษา ไม่ว่าจะเป้นเคมีบำบัด
    รังสีรักษา หรือการผ่าตัด
  • 5:39 - 5:41
    แล้วเคยไปเยี่ยมผู้ป่วยมะเร็งมั้ยคะ
  • 5:41 - 5:42
    ที่ผมร่วง
  • 5:43 - 5:45
    แล้วก็เนื้อติดกระดูกอ่ะ
  • 5:46 - 5:48
    เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า
    การรักษามันก็บั่นทอนเหมือนกัน
  • 5:48 - 5:49
    เพราะฉะนั้น การป้องกันเนี่ย
  • 5:50 - 5:52
    เป็นสิ่งที่ดีที่สุดนะคะ
  • 5:52 - 5:54
    บางคนบอกว่า
  • 5:54 - 5:55
    ที่มาพูดเนี่ย มันไกลตัวเหลือเกิน
  • 5:56 - 5:57
    ลองดูสิคะว่า
  • 5:57 - 6:01
    อาหารเหล่านี้
    บ่อยครั้งมั้ยที่คุณเจออาหารเหล่านี้
  • 6:01 - 6:04
    ถ้าคุณเจอ นั่นแปลว่าคุณเสี่ยงนะคะ
  • 6:04 - 6:06
    เพราะอะไร
  • 6:06 - 6:08
    เค้าบอกมาเนอะ ดิชั้นก็ไม่ได้พูดเองนะคะ
  • 6:09 - 6:11
    แต่ไอ้เค้าในที่นี้ มันก็ต้องเชื่อเค้านะ
  • 6:12 - 6:16
    เพราะว่าเค้าก็คือหน่วยงานวิจัย
    ที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็งน่ะค่ะ
  • 6:17 - 6:17
    ซึ่งเค้า
  • 6:17 - 6:19
    เป็นการศึกษาในมนุษย์ หรือในคน
  • 6:19 - 6:22
    เป็นการศึกษาทางระบาดวิทยา
    ที่เค้าเจอความสัมพันธ์
  • 6:22 - 6:26
    ก็คือกลุ่มที่เรียกว่า IARC
    เป็นองค์กรระดับสากล
  • 6:26 - 6:29
    เค้าพยายามที่จะจัดกลุ่มค่ะ
    ว่าปัจจัยอะไรบ้าง
  • 6:30 - 6:33
    ที่ทำให้เรามีความเสี่ยง
    ต่อการเป็นมะเร็งลำไส้
  • 6:33 - 6:36
    แล้วถ้ากลุ่มไหนที่มันบ่งชี้ชัดเจน
  • 6:36 - 6:38
    เค้าจะให้เกรด A มันค่ะ
  • 6:39 - 6:41
    ให้เกรดที่มันเป็นระดับ 1
  • 6:41 - 6:45
    เราจะเห็นได้ว่า
    อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์แปรรูปน่ะค่ะ
  • 6:45 - 6:50
    ฝรั่งอาจจะมีเพียงแค่ไส้กรอก เบคอน
    แต่เรามีกุนเชียง แหนม หมูยอเข้ามาด้วย
  • 6:50 - 6:53
    นะคะ อันนี้คือพิเศษเลย
    ที่เราจะเสี่ยงมากขึ้น
  • 6:53 - 6:56
    ไอ้กลุ่ม 1 นี่หล่ะค่ะ ที่ IARC บอกว่า
    ถ้าเรากินบ่อย ๆ ถี่ ๆ เนี่ย
  • 6:57 - 7:00
    เราจะเป็นมะเร็งลำไส้แน่ ๆ
    คือมีความเสี่ยงสูง
  • 7:00 - 7:02
    กับกลุ่มที่ 2 ค่ะ
  • 7:02 - 7:03
    เนื้อแดง ไม่ใช่เนื้อสดนะคะ
  • 7:04 - 7:07
    ต่อให้คุณกินหมูปิ้ง หมูกระทะ คุณกินสเต็ก
  • 7:07 - 7:11
    ที่มันเป็นเนื้อหมู เนื้อวัว อย่างเงี้ย
    มันก็คือกลุ่มเนื้อแดง
  • 7:11 - 7:13
    มันจัดอยู่ในกลุ่ม 2A
  • 7:13 - 7:15
    คือมีความเป็นไปได้
  • 7:15 - 7:17
    ก็คือน้ำหนักอาจจะรองลงมา
    จากพวกเนื้อสัตว์แปรรูป
  • 7:17 - 7:21
    แต่ถ้าคุณกินบ่อย ๆ
    คุณจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้
  • 7:21 - 7:23
    มันเริ่มใกล้เข้ามาหรือยังคะ
  • 7:23 - 7:24
    ใกล้แล้วใช่มั้ยคะ
  • 7:24 - 7:26
    อย่าเพิ่งกลัวค่ะ
  • 7:26 - 7:27
    อย่าตระหนกจนเกินไป
  • 7:28 - 7:29
    เพราะไม่งั้นคนที่เค้ากินกันเยอะ
  • 7:29 - 7:32
    คนเยอรมันกินไส้กรอกกันเยอะแยะ
    คงเป็นมะเร็งกันเยอะแล้ว
  • 7:32 - 7:33
    ไม่ใช่
  • 7:33 - 7:36
    ดิชั้นอยากจะบอกว่า
    ดิชั้นมียาวิเศษที่จะมาบอกคุณ
  • 7:36 - 7:40
    ว่าทำยังไงคุณจะหลีกหนี
    จากไอ้เจ้ามะเร็งลำไส้นี้ได้
  • 7:40 - 7:41
    มันเป็นของที่ต้องมีนะคะ
  • 7:41 - 7:44
    มันต้องกินทุกว้น
    แล้วมันก็ต้องมาทุกมื้อด้วย
  • 7:44 - 7:46
    มันคืออาหารเสริมราคาแพงหรือเปล่า
  • 7:47 - 7:48
    คำตอบคือไม่ใช่
  • 7:48 - 7:51
    แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นสิ่งที่หาได้ไม่ยากเลย
  • 7:51 - 7:53
    แต่ทำไมเราไม่ค่อยกินกันก็ไม่รู้
  • 7:53 - 7:56
    อยากจะชวนทุกคนในที่นี้มากินผักเปลี่ยนชีวิต
  • 7:56 - 7:59
    มันสามารถที่จะหยุดวิกฤติมะเร็งลำไส้ได้ค่ะ
  • 7:59 - 8:01
    ฟังดูเหมือนมันง่ายใช่มั้ยคะ
  • 8:01 - 8:02
    แต่มันก็แปลก
  • 8:03 - 8:04
    ที่ทำไม
  • 8:05 - 8:09
    คนไทยเนี่ยกินผักไม่ถึงเกณฑ์
    เพื่อการป้องกันโรคหรอกค่ะ
  • 8:09 - 8:12
    ทีนี้ถามว่า เออ แล้วกินเยอะ มันกินแค่ไหน
  • 8:12 - 8:16
    มันก็มีหน่วยงานนะคะ ที่เค้าทำวิจัยนี่แหละ
  • 8:16 - 8:18
    ว่าอะไรบ้างที่มันช่วยป้องกันมะเร็งได้
  • 8:19 - 8:21
    อาหารเสริมราคาแพง ไม่ได้ช่วยนะคะ
  • 8:21 - 8:23
    แต่ไอ้เจ้าผ้กนี่แหละช่วย
  • 8:23 - 8:26
    ทีนี้ผักที่ว่าเนี่ย มันรวมผลไม้เข้าไปด้วย
  • 8:26 - 8:29
    ให้กินเท่าไหร่หล่ะ
    อย่างน้อย 400 กรัม
  • 8:29 - 8:31
    400 กรัมมันแค่ไหนล่ะ
  • 8:31 - 8:33
    มันก็คือ 4 ขีด ถ้าเราแยกเป็น 3 มื้อ
  • 8:33 - 8:35
    ก็มื้อนึงประมาณขีดกว่า ๆ
  • 8:36 - 8:39
    อันนี้แหละเค้าพบว่ามีการวิจัยบอกว่า
  • 8:39 - 8:42
    มันสามารถที่จะลดความเสี่ยงต่อโรค NCD
  • 8:42 - 8:44
    เราเริ่มคุ้นใช่มั้ยคะ NCD
  • 8:44 - 8:50
    NCD ก็เป็นนี่แหละ ความดัน หัวใจ
    หรือว่าพวกหลอดเลือดสมองตีบอะไรพวกนี้
  • 8:50 - 8:53
    แล้วรวมทั้งโรคมะเร็งด้วย
  • 8:53 - 8:55
    จำไว้นะคะ ตัวเลข 400 กรัม
  • 8:55 - 8:59
    ดูสิคะว่าคนไทยกินเท่าไหร่รู้มั้ยคะ
  • 8:59 - 9:02
    แล้วคิดว่าเกินมั้ยคะ
    ใครคิดว่าเกิน 400 กรัม
  • 9:02 - 9:06
    จากข้อมูลงานวิจัย คนไทยกิน 280 กรัมเองค่ะ
  • 9:06 - 9:09
    มีผลไม้ด้วยนะคะ รวมกันแล้ว 280 กรัม
  • 9:09 - 9:11
    มันน่าเศร้า
    เราเรียนตั้งแต่สมัยประถมใช่มั้ยคะ
  • 9:11 - 9:17
    ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม
    สินค้าส่งออกของเราคือสินค้าทางด้านการเกษตร
  • 9:17 - 9:20
    เราสามารถปลูกผักได้ตลอดปี
  • 9:20 - 9:23
    ถ้าเทียบกับประเทศทางยุโรป
    อเมริกาที่เค้ามีหิมะตก
  • 9:23 - 9:27
    เกาหลียังต้องเอาผักไปดองเป็นกิมจิไว้
    เพราะเค้าปลูกไม่ได้ตลอดปี
  • 9:27 - 9:29
    แต่คนไทยกินน้อยมาก
  • 9:29 - 9:33
    ดิชั้นก็มานึกว่า เอ๊ะ
    ทำไมคนไทยกินผักน้อยนะ
  • 9:33 - 9:35
    หรือเรามีปัญหาเรื่องการเข้าถึง
  • 9:35 - 9:39
    ก็เลยนึกว่าเมนูที่เรากินบ่อย ๆ
    นี่มันเป็นเมนูอะไร
  • 9:39 - 9:43
    เมนูอะไรคะที่เรากินบ่อย ๆ
    เมนูยอดฮิต เมนูสิ้นคิดของเรา
  • 9:43 - 9:45
    อันนี้ใช่มั้ยคะ เห็นกะเพรามั้ยคะ
  • 9:45 - 9:46
    เห็นกะเพรามั้ยคะ
  • 9:46 - 9:49
    เห็นหมู เห็นไก่ ใช่มั้ยคะ
  • 9:49 - 9:50
    ผัดกะเพรา
  • 9:50 - 9:54
    น้อง ๆ น้กศึกษาหลายคนบอก
    สั่งข้าวผัดกะเพราไม่เอาผัก
  • 9:54 - 9:57
    สั่งข้าวหมูกระเทียม ไม่ขอกระเทียม
  • 9:58 - 10:00
    คือมันมาน้อยอยู่แล้วอะ
  • 10:00 - 10:03
    พวกเราก็ยังจะเขี่ยมันออกไปจากจานด้วย
  • 10:03 - 10:06
    แต่จริง ๆ แล้วเวลาเราพูดถึง
    เรากินผักเนี่ยนะคะ
  • 10:06 - 10:09
    เราอย่าไปนึกถึงแต่ผักใบที่มันเขียว ๆ อะ
  • 10:09 - 10:12
    เรานึกถึงเรากินส้มตำเนอะ
    มีกระเทียม และมะละกอ
  • 10:12 - 10:14
    ที่เป็นมะละกอดิบ ก็ถือว่าเป็นผัก
  • 10:14 - 10:16
    ผักมันสารพัด รวมทั้งธัญพืชด้วยนะคะ
  • 10:16 - 10:19
    เรากินแกงจืดเต้าหู้หมูสับใส่สาหร่าย
  • 10:19 - 10:22
    สาหร่าย เต้าหู้พวกนี้
    เราก็ถือว่าอยู่ในกลุ่ม
  • 10:22 - 10:25
    ที่มันเป็นผักด้วย
    เพราะว่าถั่วเหลืองมันก็คือธัญพืช
  • 10:25 - 10:28
    เพราะฉะนั้นเราลองเอาเมนูพวกนี้
    ให้มันมาอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา
  • 10:28 - 10:32
    เรากินแกงเขียวหวานเนี่ย
    เราเห็นมะเขือก็จริง แต่ในน้ำพริกแกงเนี่ย
  • 10:32 - 10:34
    มันก็จะมีสารพัดเครื่องเทศสมุนไพร
  • 10:34 - 10:38
    ลองเปลี่ยนไอ้บุฟเฟต์หมูกระทะของเรา
    มาเป็นเมนูต่าง ๆ เหล่านี้
  • 10:38 - 10:40
    ดิชั้นยกตัวอย่างให้เห็น
  • 10:40 - 10:43
    ข้าว แทนที่จะเป็นข้าวขาว
    เราลองเป็นข้าวกล้องดูสิคะ
  • 10:43 - 10:44
    มันจะได้ธัญพืชเพิ่มเข้ามา
  • 10:44 - 10:50
    มะระผัดไข่ บางคนบอกมะระไม่อยากกิน มันขม
    เอาเป็นบวบก็ได้ค่ะ เป็นฟักทองก็ได้
  • 10:51 - 10:53
    ไอ้พวกยำรสแซบเนี่ยค่ะ
  • 10:53 - 10:57
    อย่าให้มันเป็นแบบ หมู เป็นเนื้อ
    เป็นอะไรทื่เป็นชิ้น ๆ
  • 10:58 - 11:01
    เราลองเพิ่มเห็ดเข้าไป ลองเพื่มผักเข้าไป
  • 11:01 - 11:04
    ให้มันไปดับความแซบ ความเผ็ดลงหน่อย
  • 11:04 - 11:06
    หรือบางคนชอบกินแบบ ข้าวไก่อบ
  • 11:06 - 11:09
    อย่าให้มันเป็นไก่อย่างเดียว
    เป็นเนื้อสัตว์อย่างเดียว
  • 11:09 - 11:12
    ลองเพิ่มแครอทเข้าไป
    แล้วของว่างเนี่ย ให้มันเป็นผลไม้ เป็นอะไร
  • 11:13 - 11:14
    400 กรัมก็ไม่ใช่เป็นเรื่องยาก
  • 11:15 - 11:17
    บางคนบอกแหม 400 กรัม มันมองยาก
  • 11:17 - 11:19
    วิธีสังเกตุง่าย ๆ ในทางปฎิบัติ
  • 11:19 - 11:20
    เวลาเรากินอาหารจานนึงน่ะค่ะ
  • 11:20 - 11:22
    เหมือนในภาพที่มันเป็นสเต็กอย่างเงี้ย
  • 11:22 - 11:24
    เราให้ครึ่งนึงมันเป็นผักน่ะค่ะ
  • 11:24 - 11:27
    มันจะมีถั่วมีอะไรปนมาด้วย
    มีธัญพืชปนมาด้วยก็ได้
  • 11:27 - 11:29
    ลองดูอย่างนี้ในแต่ละมื้อที่เรากิน
  • 11:30 - 11:33
    การที่จะได้ 400 กรัมต่อวัน
    ไม่ใช่เรื่องยากเลย
  • 11:33 - 11:35
    ทีนี้ ในสิ่งที่ดิชั้นมาบอกเนี่ย
  • 11:35 - 11:38
    บางคนก็บอก มันจริงเหรอ
    มันช่วยได้จริงเหรอ ถ้าเรากินผัก
  • 11:38 - 11:40
    เป็นสัดส่วนที่เกินครึ่งนึงในแต่ละมื้อ
  • 11:40 - 11:42
    มันก็มีตัวอย่างเป็นรูปธรรมให้เห็นชัดนะคะ
  • 11:42 - 11:44
    เราลองนึกถึงสิคะ
  • 11:44 - 11:47
    โอปป้าเกาหลีกำลังย่างบาร์บีคิวอยู่เนี่ย
  • 11:47 - 11:49
    ไม่งั้นสถิติคนเกาหลี
    คงเป็นมะเร็งลำไส้กันเยอะแยะไปหมด
  • 11:49 - 11:51
    เพราะเค้ากินในชีวิตประจำวันมากกว่าเรา
  • 11:51 - 11:54
    ที่กินเฉพาะในโอกาสที่จะไปฉลองกันใช่มั้ยคะ
  • 11:54 - 11:56
    ทำไมเค้าไม่เป็นล่ะคะ
  • 11:56 - 11:57
    เคล็ดลับอยู่ตรงนี้ค่ะ
  • 11:58 - 12:01
    เวลาเค้ากินน่ะ
    บุฟเฟต์เค้าก็คงไม่ 199 เหมือนเราอะ
  • 12:01 - 12:04
    แต่เค้าก็ไม่ได้มาแบบ
    เป็นเนื้อหมู เนื้อวัวอย่างเดียว
  • 12:04 - 12:09
    เค้ามากับผักค่ะ ในหนึ่งคำที่เค้ากินเนี่ย
    เค้าจะห่อกับผัก มีพริกมีกระเทียม
  • 12:09 - 12:11
    แล้วก็จะมี โคชูจัง
    (ซอสพริกเกาหลี)
  • 12:11 - 12:15
    ซึ่งมันจะมีพริก แล้วก็มีพวก
    ถั่วเหลืองเต้าเจี้ยวอยู่ในนั้นด้วย
  • 12:15 - 12:18
    ในหนึ่งคำเนี่ย
    ผักมันเกินครึ่งแล้วใช่มั้ยคะ
  • 12:18 - 12:20
    แล้วดูสิคะ สารพัดเครื่องเคียง
  • 12:20 - 12:22
    กิมจิที่มีผักอีกเยอะแยะมากมาย
  • 12:23 - 12:25
    อันนี้แหละค่ะ ให้ผักมันเป็นครึ่งหนึ่ง
  • 12:25 - 12:29
    จะทำให้ความเสี่ยง
    ของการเป็นมะเร็งลำไส้คุณก็ลดน้อยลงไป
  • 12:29 - 12:31
    ทำไมผักมันต้านมะเร็งได้เหรอคะ
  • 12:31 - 12:32
    โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้
  • 12:32 - 12:34
    เพราะผักมันมีใยอาหารค่ะ
  • 12:34 - 12:35
    มันมีใยอาหารอยู่ 2 กลุ่ม
  • 12:35 - 12:40
    กลุ่มแรกเนี่ย มันเป็นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ
    มันทำหน้าที่เหมือนเป็นไม้กวาดน่ะค่ะ
  • 12:40 - 12:41
    ที่จะไปกวาดลำไส้เรา
  • 12:41 - 12:44
    ไอ้สารพิษที่ตกค้างอยู่
    มันก็จะถูกกวาดออกไปไม่คั่งค้าง
  • 12:44 - 12:49
    เราถ่ายท้องทุกวัน ทุกเช้าเราเข้าห้องน้ำ
    คนที่ท้องผูกต้องระวังนะคะ มะเร็งลำไส้
  • 12:49 - 12:50
    มันมี--
  • 12:50 - 12:54
    ในผักมันจะมี
    ใยอาหารอีกกลุ่มนึงที่มันอุ้มน้ำ
  • 12:54 - 12:56
    เรานึกถึงเม็ดแมงลักน่ะค่ะ
  • 12:56 - 12:58
    ที่เราใส่ลงไป เติมน้ำลงไปแล้วมันพอง
  • 12:58 - 13:02
    ธัญพืชก็เหมือนกัน
    พวกถั่วเหลืองอะไรพวกนี้ ถั่วแดง
  • 13:02 - 13:07
    มันเป็นใยอาหารที่อุ้มน้ำ
    มันจะไปเป็นอาหารของแบคทีเรียที่ดีต่อลำไส้
  • 13:07 - 13:10
    แบคทีเรียที่ดีต่อลำไส้
    เวลาที่มันเจริญเยอะขึ้น
  • 13:10 - 13:11
    เหมือนเรากินโยเกิร์ตน่ะค่ะ
  • 13:11 - 13:13
    มีแบคทีเรียที่ดีต่อลำไส้
  • 13:13 - 13:15
    มันจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้
  • 13:15 - 13:17
    และในผักมันก็มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • 13:17 - 13:21
    มีสารต้านการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็ง
  • 13:22 - 13:24
    ข้ออ้างอีกข้อหนึ่งของคนไม่กินผัก
  • 13:24 - 13:26
    บอกว่ากลัวยาฆ่าแมลง
  • 13:27 - 13:28
    มันก็เป็นข่าวอยู่ด้วยเนอะ
  • 13:28 - 13:30
    กลัวมั้ยคะ
  • 13:30 - 13:31
    กลัวเนอะ
  • 13:32 - 13:34
    แต่ดิชั้นจะบอกว่า
    เวลากินเหล้า สูบบุหรี่เนี่ย คุณผู้ชาย
  • 13:34 - 13:35
    คุณกลัวมั้ยล่ะ
  • 13:35 - 13:37
    คุณก็รู้ว่ามันเป็นสารก่อมะเร็ง
  • 13:37 - 13:40
    คุณไปกินบุฟเฟต์หมูกระทะ
    คุณก็รู้ว่าคุณกินสารก่อมะเร็งอยู่ใช่มั้ย
  • 13:40 - 13:42
    กินหมูปิ้งตอนเช้ากับข้าวเหนียว
  • 13:42 - 13:44
    ใช่มั้ย แต่ทำไมเราไม่กลัว
  • 13:44 - 13:47
    ดิชั้นก็เลยบอกว่า ผักเนี่ย
    อย่าไปกลัวนะ ต่อให้มันมียาฆ่าแมลง
  • 13:47 - 13:49
    ใช่มั้ย แต่มันเป็นโอกาสเสี่ยงเท่านั้น
  • 13:49 - 13:51
    มันไม่ใช่ 100 เปอร์เซ็นต์
    ที่มันมียาฆ่าแมลงตกค้าง
  • 13:51 - 13:54
    คุณเอาไปล้าง มันก็กำจัดออกได้
  • 13:54 - 13:55
    ในขณะเดียวกันเนี่ย
  • 13:55 - 13:59
    ถ้าเรามองว่า ไอ้ต้นทางเนี่ย
    ที่เกษตรกรที่เค้าปลูกแล้วเค้าใช้เนี่ย
  • 14:00 - 14:02
    เค้าก็มาโทษเราเนอะ
    ที่เป็นคนกินหรือผู้บริโภค
  • 14:02 - 14:05
    ว่าเราอยากได้ผักสวย เค้าเลยต้องใส่ยาเข้าไป
  • 14:05 - 14:08
    เราอย่าให้เราต้องตกเป็นจำเลยแบบนั้นนะคะ
  • 14:08 - 14:11
    ไอ้ต้นน้ำคือแปลงทื่ปลูก คือเกษตรกร
  • 14:11 - 14:13
    แต่กลางน้ำ คือห้างต่าง ๆ
    ที่เค้าซื้อผักมาแพ็ก
  • 14:13 - 14:14
    แล้วขายให้เราเนี่ย
  • 14:15 - 14:16
    เค้ามีหน่วยงานกำกับดูแลอยู่
  • 14:16 - 14:19
    ที่เค้าพยายามจะทำให้ผักเนี่ย
    มันลดการตกค้างอยู่แล้ว
  • 14:20 - 14:22
    แต่เรากำลังมองว่าเราเป็นผู้บริโภคเนี่ย
  • 14:22 - 14:24
    เราเนี่ย
  • 14:24 - 14:26
    ไม่ค่อยได้แสดงพลังของผุ้บริโภคเลยเนอะ
  • 14:26 - 14:31
    ถ้าหลายคนได้ข้อมูลอย่างที่ดิชั้นได้มา
    เพราะเป็นการวิจัยที่ดิชั้นทำ
  • 14:31 - 14:33
    ดิชั้นพยายามจะซื้อผักเนอะ
  • 14:33 - 14:38
    ที่มันเป็นผักที่มันมีตราสัญลักษณ์
    รับรองถึงความปลอดภัยจากหลาย ๆ หน่วยงาน
  • 14:38 - 14:39
    นะคะ
  • 14:39 - 14:42
    ก็ไปเก็บตัวอย่างมา 800 กว่าตัวอย่าง
  • 14:42 - 14:45
    ในประมาณ 44 เปอร์เซ็นต์
    ของผักที่มันมีตรารับรองเนี่ย
  • 14:45 - 14:49
    เทียบกับผักที่มันไม่มีตรารับรอง
    ที่เราไปซื้อตามตลาดทั่วไปเนี่ย
  • 14:49 - 14:51
    เราพบว่าผักที่มันมีตรารับรองเนี่ย
  • 14:51 - 14:53
    พบการตกค้างของยาฆ่าแมลง 13 เปอร์เซ็นต์
  • 14:53 - 14:56
    ในขณะที่ผักที่ไม่มีตรารับรอง
    เราพบ 17 เปอร์เซ็นต์
  • 14:57 - 14:58
    ไม่ต่างกันเลยใช่มั้ยคะ
  • 14:59 - 15:04
    เศร้าใจมั้ยคะว่าเราซื้อผักแพงอะ
    แต่เรายังได้ยาฆ่าแมลงแถมมา
  • 15:05 - 15:08
    เพราะฉะนั้นอันนี้แหละค่ะ
    ดิชั้นอยากจะบอกว่า
  • 15:08 - 15:09
    อยากจะบอกว่า
  • 15:09 - 15:12
    พลังผู้บริโภคเนี่ยอยู่ที่ตัวเรานะ
  • 15:12 - 15:15
    เราต้องแสดงให้เค้าเห็นว่า
    เราไม่ได้ต้องการผักสวย
  • 15:15 - 15:16
    แต่เราต้องการผักปลอดภัย
  • 15:16 - 15:20
    สร้างดีมานด์ให้ผักปลอดภัยอยู่ได้นะคะ
  • 15:20 - 15:23
    ท้ายที่สุดนี้เนี่ย ดิชั้นหวังว่า
  • 15:23 - 15:28
    อยากให้ทุกคนปักหมุดไปที่
    การกินผักปลอดภัย 400 กรัม
  • 15:28 - 15:31
    เพื่อที่จะทำให้การกินผักนี้
    มันสามารถที่จะเปลี่ยนชีวิต
  • 15:31 - 15:33
    และพิชิตมะเร็งลำไส้ได้
  • 15:33 - 15:38
    ถ้าเมนูเดิม ๆ มันทำให้คุณหาผักเจอยากมาก
    ลองเปลี่ยนเมนูใหม่ ๆ
  • 15:38 - 15:42
    จากเครื่องดื่ม ชานมไข่มุก
    หรือน้ำอัดลมที่คุณกินบ่อย ๆ
  • 15:42 - 15:44
    เปลี่ยนมาเป็นที่มันมีผักมีสมุนไพร
  • 15:44 - 15:48
    น้ำว่านหางจระเข้
    เติมมะนาว เติมน้ำผึ้งเข้าไปมันก็สดชื่น
  • 15:48 - 15:50
    หรือพวกน้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลืองก็ได้
  • 15:50 - 15:55
    สแน็ค (ของว่าง)​ ที่มันเป็นเบเกอรี่ที่คุณกิน
    อุดมไปด้วยไขมันกับน้ำตาลเนี่ย
  • 15:55 - 15:57
    ลองเป็นธัญพืชที่มีผักมีเห็ด
  • 15:58 - 16:01
    หรืออาหารจานเดียวจากผัดกระเพรา
    ที่คุณหากระเพราไม่ได้เนี่ย
  • 16:01 - 16:03
    นอกจากคุณจะเติมกระเพราเพิ่มขึ้นเนี่ย
  • 16:03 - 16:06
    อาจจะเป็นก๋วยเตี๋ยวราดหน้าที่มีสารพัดผัก
  • 16:06 - 16:10
    สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้น่ะค่ะ
    เพื่อให้เราไปสู่จุดหมายปลายทางของเรา
  • 16:10 - 16:15
    ในการที่จะให้เราได้กินผักให้เยอะขึ้น
  • 16:15 - 16:15
    นะคะ
  • 16:16 - 16:18
    ดิชั้นก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า
  • 16:18 - 16:22
    ในสิ่งที่ดี ๆ ที่นำมาแชร์กับทุกคนในวันนี้
  • 16:22 - 16:25
    จะทำให้คุณ สามารถที่จะปรับเปลี่ยน
  • 16:25 - 16:29
    และทำให้การกินเนี่ย
    สามารถที่จะเปลี่ยนชีวิตคุณได้ค่ะ
  • 16:29 - 16:30
    ขอบคุณค่ะ
  • 16:30 - 16:32
    (เสียงปรบมือ)
Title:
กินมะเร็ง | ชนิพรรณ บุตรยี่ | TEDxUTCC
Description:

ร่วมฉลองที่มะเร็งครองแชมป์ครบรอบ 20 ปี โรคยอดฮิตคร่าชีวิตคนไทย กับ ผศ.ดร.ชนิพรรณ บุตรยี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านพิษวิทยาศาสตร์ทางอาหารและโภชนาการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้จะมาไขข้อสงสัยว่ามะเร็งชนิดไหน ที่ทุกคนสามารถเป็นได้เท่าเทียมกัน และวิธีง่าย ๆ ที่ใครก็ทำได้ ในการป้องกันมะเร็งชนิดนี้

ดูประวัติเพิ่มเติมได้ที่: http://www.inmu.mahidol.ac.th/th/about-us/faculties/CV_Chaniphun2018.pdf

This talk was given at a TEDx event using the TED conference format but independently organized by a local community. Learn more at https://www.ted.com/tedx

more » « less
Video Language:
Thai
Team:
closed TED
Project:
TEDxTalks
Duration:
16:34

Thai subtitles

Revisions