-
Titel:
ผู้ลี้ภัยต้องการสิทธิอำนาจ ไม่ใช่สิ่งของบริจาค
-
Beschreibung:
ภาพรวมของที่อยู่อาศัยของผู้ลี้ภัยนั้นคือค่ายพักชั่วคราวในพื้นที่ห่างไกล แต่ในความเป็นจริงแล้วเกือบ 60 เปอร์เซนต์ของผู้ลี้ภัยทั่วโลกเข้ามาอาศัยอยู่ในเขตเมือง โรเบิร์ต ฮาคีซา จะนำเราเข้าสู่ชีวิตของผู้ลี้ภัยในเมือง - และแสดงให้เราเห็นว่าองค์กรต่าง ๆ เช่นองค์กรที่เขาเริ่มต้น สามารถให้ทักษะที่พวกเขาจำเป็นต้องมีเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
-
Sprecher:
โรเบิร์ต ฮาคีซา
-
ปัจจุบัน ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมือง
-
แทนการอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย
-
เราเป็นตัวแทนมากกว่า 60 เปอร์เซนต์
-
ของจำนวนผู้ลี้ภัยทั่วโลก
-
จากการที่มีผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่
อาศัยอยู่ในเขตเมือง
-
มีความจำเป็นมาก
ในการเปลี่ยนกระบวนความคิดใหม่ ๆ
-
แทนที่จะเสียเงินไปกับการสร้างกำแพง
-
จะดีกว่าถ้าสามารถใช้เงินกับโครงการต่าง ๆ
-
ที่จะช่วยผู้ลี้ภัย
ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้
-
-
เรามักต้องทิ้งสิ่งของของเรา
ไว้เบื้องหลังทั้งหมด
¶
-
แต่ไม่ได้ทิ้งทักษะและความรู้
-
หากได้รับอนุญาตให้ใช้ชีวิตที่มีประสิทธิผล
-
ผู้ลี้ภัยจะสามารถช่วยเหลือตนเองได้
-
และมีส่วนร่วมในการพัฒนา
ประเทศเจ้าบ้านที่ลี้ภัยไปอยู่
-
ผมเกิดในเมืองที่ชื่อ "บูคาวู"
¶
-
จังหวัดคิวูใต้
-
แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
-
ผมเป็นบุตรคนที่ 5 ในบรรดาพี่น้อง 12 คน
-
พ่อผม มีอาชีพเป็นช่างกล
-
ต้องทำงานหนักมากเพื่อส่งผมเรียนหนังสือ
-
เช่นเดียวกับคนหนุ่มสาวคนอื่น ๆ
-
ผมมีแผนการและความฝันมากมาย
-
ผมต้องการที่จะเรียนให้จบ
-
ได้งานที่ดี
-
แต่งงานและมีลูกหลานของผมเอง
-
และสนับสนุนครอบครัวของผม
-
แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเลย
¶
-
สงครามกลางเมืองที่บ้านเกิด ทำให้ผมลี้ภัยไป
ประเทศยูกันดาในปี ค.ศ. 2008
-
เมื่อ 9 ปีที่ผ่านมา
-
ครอบครัวของผมได้มีส่วนกับ
การอพยพอย่างต่อเนื่องของผู้ลี้ภัย
-
ซึ่งไปตั้งถิ่นฐานในเมืองกัมปาลา
เมืองหลวงของประเทศยูกันดา
-
ในประเทศของผม
-
ผมได้อาศัยอยู่ในเมืองอยู่แล้ว
-
และเรารู้สึกว่าการอยู่ที่เมืองกัมปาลา
ดีกว่าการอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย
-
-
ต่างถูกปฏิเสธเป็นประจำ
จากความช่วยเหลือระหว่างประเทศ
-
แม้กระทั่งหลังจากที่ได้รับการยอมรับแล้ว
โดย UNHCR ในปี ค.ศ. 1997
-
นอกเหนือจากปัญหาความยากจน
ที่เราต้องเผชิญหน้าแล้ว
-
ในฐานะคนในเมืองที่ยากจน
-
เราได้เผชิญกับความท้าทาย
เนื่องมาจากสถานะผู้ลี้ภัยของเรา
-
เช่นอุปสรรคทางภาษา
-
ในประเทศคองโก ภาษาราชการคือภาษาฝรั่งเศส
-
แต่ในประเทศยูกันดา ภาษาราชการคือภาษาอังกฤษ
-
เราไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาและสาธารณสุข
-
เราได้สัมผัสกับการถูกล่วงละเมิด
-
การแสวงหาประโยชน์ การข่มขู่ และการแบ่งแยก
-
องค์กรด้านมนุษยธรรมส่วนใหญ่ต่างมุ่งเน้น
-
แต่เรื่องการตั้งถิ่นฐานอย่างเป็นทางการ
ในพื้นที่ชนบท
-
และไม่มีอะไรที่มุ่งเน้นสำหรับเราเลย
-
แต่เราไม่ได้ต้องการสิ่งของบริจาค
-
เราต้องการที่จะทำงานและสนับสนุนตนเอง
-
ผมได้พลัดถิ่นร่วมกับเพื่อนร่วมงานอีก 2 คน
¶
-
และจัดตั้งองค์กร
เพื่อสนับสนุนผู้ลี้ภัยคนอื่น ๆ
-
YARID หรือ "Young African Refugees
for Integral Development"
-
เริ่มต้นจากการพูดคุยกันภายในชุมชนคองโก
-
เราได้ถามชุมชน
-
เกี่ยวกับวิธีที่พวกเขาสามารถ
จัดระเบียบตัวเองเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้
-
โครงการต่าง ๆ ของ YARID ที่ให้การสนับสนุน
ได้วิวัฒนาการเป็นขั้นตอน
-
โดยคืบหน้าจากชุมชนฟุตบอล ไปจนถึงภาษาอังกฤษ
-
ไปจนถึงการมีอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า
-
ฟุตบอลได้สร้างพลังใหม่
-
ให้กับเยาวชนที่ตกงาน
-
และเชื่อมคนเข้าด้วยกันจากหลาย ๆ ชุมชน
-
ชั้นเรียนภาษาอังกฤษฟรีต่าง ๆ
-
ช่วยให้ผู้คนมีส่วนร่วมกับชุมชนยูกันดา
-
ซึ่งสามารถช่วยให้พวกเขาได้รู้จักเพื่อนบ้าน
และทำการค้าขาย
-
โครงการฝึกอบรมวิชาชีพ
ได้ให้ทักษะของการหาเลี้ยงชีพ
-
และสำหรับพวกเขา โอกาสสำคัญสำหรับ
การพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ
-
เราได้เห็นหลาย ๆ ครอบครัว
-
กลายเป็นครอบครัวที่ช่วยเหลือตนเองได้
อย่างยั่งยืน
-
เราได้เห็น ผู้ที่ไม่จำเป็น
ต้องได้รับความช่วยเหลือจากเราอีกต่อไป
-
จากการที่หลาย ๆโครงการของ YARID ได้ขยายตัว
¶
-
ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของคนสัญชาติต่าง ๆ
-
คองโก รวันดา บุรุนดี
-
โซมาเลีย เอธิโอเปีย ซูดานใต้
-
ถึงวันนี้ YARID ได้สนับสนุน
ผู้ลี้ภัยกว่า 3,000 คนทั่วกัมปาลา
-
และยังคงสนับสนุนเพิ่มเติมต่อเนื่อง
-
-
ผู้ลี้ภัยต้องการสิทธิอำนาจ
ไม่ใช่สิ่งของบริจาค
¶
-
เรารู้จักชุมชนของเราดีกว่าคนอื่น ๆ
-
เราเข้าใจถึงความท้าทาย
และโอกาสที่เราจะต้องเผชิญ
-
ในการที่จะพึ่งตนเอง
-
ผมรู้ดีกว่าทุกคน
-
ว่าการริเริ่ม ที่ถูกคิดค้นโดยผู้ลี้ภัย
สามารถทำได้
-
การริเริ่มเหล่านี้ ต้องได้รับการยอมรับ
และสนับสนุนอย่างเป็นสากล
-
ให้การสนับสนุนเรา อย่างที่เราสมควรได้รับ
-
และเราจะตอบแทนคุณพร้อมผลประโยชน์
-
-