ในทุ่งหญ้าสะวันนาประเทศเคนยา 2 แรดขาวเหนือตัวเมีย นางินและฟาตู เคี้ยวอาหารเสียงดัง อย่างมีความสุขบนผืนหญ้า ในเวลาที่วิดีโอนี้เผยแพร่ มีแรดขาวเหนือ 2 ตัวสุดท้าย ที่รู้กันว่าเหลืออยู่บนโลก สายพันธุ์ของมัน อยู่ในสภาวะสูญพันธุ์โดยปริยาย เมื่อปราศจากตัวผู้ นางินและฟาตุไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้ แต่ยังพอมีความหวัง ที่จะฟื้นคืนแรดขาวเหนือ มันจะเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร? เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 50 ปีก่อน เมื่อผู้ลักลอบล่าสัตว์เริ่มล่าแรด เป็นพัน ๆ ตัวอย่างผิดกฎหมาย ทั่วแอฟริกา เพื่อนอของมัน รวมกับสงครามกลางเมือง ในถิ่นอาศัยของมัน จึงลดประชากรแรดขาวเหนือลงอย่างมาก นักอนุรักษ์ที่ใส่ใจได้เริ่มผสมพันธุ์พวกมัน ในพื้นที่ปิด ในช่วงปี 1970 รวบรวมและเก็บรักษา อสุจิจากเหล่าตัวผู้ มีแรดเพียง 4 ตัว ที่เกิดจากโครงการนี้ นางินและลูกของเธอ ฟาตู คือ 2 ตัวสุดท้าย ในปี 2014 นักอนุรักษ์ค้นพบว่า ทั้งสองตัวไม่สามารถมีลูกได้ แม้ว่านางินให้กำเนิดฟาตูมาแล้ว แต่ตอนนี้เธอมีขาหลังที่อ่อนแอ ซึ่งเป็นอันตรายกับสุขภาพของเธอ ถ้าเธอตั้งท้องอีกครั้ง ในขณะที่ฟาตู มีเยื่อบุมดลูกเสื่อม และแรดขาวเหนือตัวผู้ตัวสุดท้าย ของสายพันธุ์ ซูดาน ตายไปในปี 2018 แต่มีหนึ่งแสงสลัว ๆ ของความหวัง การผสมพันธุ์เทียม ไม่มีตัวผู้ที่มีชีวิตแล้ว และไม่มีตัวเมียที่สามารถตั้งท้องได้ นี่คือกระบวนการที่ซับซ้อนและเสี่ยง แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะเก็บอสุจิไว้แล้ว แต่พวกเขาจะต้องเก็บไข่ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อน ที่ตัวเมียต้องถูกทำให้สลบ ถึง 2 ชั่วโมง จากนั้นพวกเขาจะสร้างตัวอ่อน ที่เจริญเติบโตได้ในห้องทดลอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน และไม่มีใครรู้ว่าทำอย่างไร และนั่นก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้น แม่อุ้มบุญของแรดสายพันธุ์อื่น จะต้องอุ้มท้องตัวอ่อน ในระยะเวลาที่กำหนด ตัวเมียของสายพันธุ์ ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด แรดขาวใต้ กลายเป็นทั้งกุญแจสำคัญเพื่อพัฒนา ตัวอ่อนของแรดในห้องทดลอง และเป็นผู้นำ ในเหล่าผู้ท้าชิงเพื่อเป็นแม่อุ้มบุญ แรดขาวเหนือและใต้แยกจากกัน ประมาณ 1 ล้านปีที่แล้ว แต่ยังคงเป็นสายพันธ์ุ ที่ใกล้ชิดกัน พวกมันอาศัยอยู่ต่างภูมิภาค และมีลักษณะทางกายภาพต่างกันเล็กน้อย ในความบังเอิญที่โชคดี แรดขาวใต้ตัวเมียหลายตัว จำเป็นต้องได้รับการรักษา สำหรับปัญหาการสืบพันธุ์ของพวกมัน และนักวิจัยสามารถรวบรวมไข่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการรักษา ที่สวนสัตว์ดวูร์กราโลเว ในเดือนตุลาคม 2015 ผู้เชี่ยวชาญของสถาบันไลบ์นิซ เพื่อวิจัยสวนสัตว์และสัตว์ป่าเบอร์ลิน เริ่มต้นเก็บไข่จากแรดขาวใต้ และส่งพวกมันไปที่อาแวงที ห้องปฏิบัติการผสมพันธุ์สัตว์ในอิตาลี ที่นั่น นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาเทคนิค การสร้างตัวอ่อนที่มีชีวิต เมื่อพวกเค้าเข้าใจเทคนิคอย่างถ่องแท้ นักวิจัยสกัดไข่ของนางินและฟาตู ในวันที่ 22 สิงหาคม 2019 และส่งมันไปที่อิตาลี สามวันหลังจากนั้น พวกเขาผสมเทียมไข่เหล่านี้กับอสุจิ จากแรดขาวเหนือตัวผู้ หลังจากนั้นอีกสัปดาห์ ไข่สองฟองมาถึงขั้นตอนของการพัฒนา เมื่อตัวอ่อนสามารถถูกแช่แข็ง และเก็บรักษาไว้เพื่ออนาคต การเก็บรวบรวมอีกครั้งในเดือนธันวาคม 2019 ได้ผลิตตัวอ่อนเพิ่มอีกหนึ่งตัว ช่วงต้นปี 2020 แผนคือ จะเก็บไข่ของนางินและฟาตู 3 ครั้งต่อปี ถ้าทั้งสองตัวแข็งแรงพอ ในขณะเดียวกัน นักวิจัยกำลังมองหา แรดขาวใต้ ที่มีแนวโน้มเป็นแม่อุ้มบุญได้ ซึ่งตามทฤษฎีเป็นแม่แรดที่เคย ตั้งครรภ์จนครบกำหนดมาก่อน แผนการอุ้มบุญ ยังต้องอาศัยโชคอยู่มาก แรดขาวใต้และเหนือ ผสมพันธุ์ต่างสายพันธุ์ ทั้งช่วงท้ายยุคน้ำแข็ง และล่าสุดในปี 1977 ดังนั้นนักวิจัยจึงมีความหวังว่า แรดขาวใต้ จะสามารถอุ้มท้องแรดขาวเหนือ จนครบกำหนดได้ นอกจากนี้ สองสายพันธุ์ มีระยะเวลาตั้งท้องเท่ากัน แม้ในขณะนี้ การถ่ายโอนตัวอ่อน ไปสู่แรดยังเป็นเรื่องยาก เพราะรูปร่างของปากมดลูก เป้าหมายสูงสุด ซึ่งอาจจะใช้เวลาหลายสิบปี คือการสร้างประชากรวัยเจริญพันธุ์ ของแรดขาวเหนือ ในถิ่นที่อยู่ของมันเอง ผลการศึกษาชี้ว่า เรามีตัวอย่างที่เพียงพอ ที่จะสร้างประชากรขึ้นมาใหม่ อย่างมีความหลากหลายทางพันธุกรรม ในแบบที่เคยเป็น เมื่อร้อยปีมาแล้ว ถึงแม้เป้าประสงค์ ของความพยายามนี้จะมีความเฉพาะตัว ขณะที่สายพันธุ์อื่น ๆ ยังเผชิญ ความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ หรือการสูญพันธุ์โดยปริยาย มันยังเป็นเวทีสำหรับคำถามใหญ่ ๆ เรามีหน้าที่หรือไม่ ที่จะพยายาม นำสายพันธุ์ต่าง ๆ กลับมาจากปากเหว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อการกระทำของ มนุษย์นำพวกมันไปสู่ที่นั่นตั้งแต่แรก? มีข้อจำกัดในความพยายาม ที่เราควรใช้หรือไม่ ในการอนุรักษ์สัตว์ต่าง ๆ ที่ถูกคุกคามจากการสูญพันธุ์?