Return to Video

ล้างความเชื่อผิดๆของโรคย้ำคิดย้ำทำ

  • 0:07 - 0:08
    มีความเชื่อผิดๆที่พบกันบ่อยๆว่า
  • 0:08 - 0:11
    ถ้าคุณชอบจัดของให้เป็นระเบียบสุดๆ
  • 0:11 - 0:13
    ล้างให้มือสะอาดตลอดเวลา
  • 0:13 - 0:16
    หรือวางแผนเที่ยววันหยุดแบบละเอียดยิบ
  • 0:16 - 0:19
    คุณอาจเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ
  • 0:19 - 0:24
    อันที่จริง โอซีดี ที่หมายถึงโรคย้ำคิดย้ำทำ
  • 0:24 - 0:26
    เป็นภาวะทางจิตเวชรุนแรง
  • 0:26 - 0:29
    ซึ่งมักถูกเข้าใจผิดจากสังคม
  • 0:29 - 0:32
    และบุคลากรด้านสุขภาพจิต
  • 0:32 - 0:35
    เช่นนั้นแล้ว มาล้างมายาคติบางอย่างกันเถอะ
  • 0:35 - 0:40
    มายาคติที่หนึ่ง พฤติกรรมซ้ำๆ
    หรือทำเป็นกิจวัตรหมายถึงโรคย้ำคิดย้ำทำ
  • 0:40 - 0:42
    ก็อย่างที่ชื่อบอก
  • 0:42 - 0:45
    โรคย้ำคิดย้ำทำมีสองส่วน
  • 0:45 - 0:50
    ความคิดรบกวน มโนภาพ
    หรือแรงกระตุ้นเรียกว่า การย้ำคิด
  • 0:50 - 0:53
    และการย้ำทำที่กระทำ
  • 0:53 - 0:57
    เพื่อลดความเครียดจากการย้ำคิด
  • 0:57 - 1:00
    พฤติกรรมที่ผู้คนมักจะคิดว่าเกี่ยวข้องกับ
    โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • 1:00 - 1:04
    เช่น ล้างมือบ่อยมากๆ
    หรือ เช็คของซ้ำแล้วซ้ำอีก
  • 1:04 - 1:08
    อาจเป็นตัวอย่างการมีแนวโน้ม
    ย้ำคิดหรือย้ำทำ
  • 1:08 - 1:11
    ที่พวกเราหลายคนทำครั้งแล้วครั้งเล่า
  • 1:11 - 1:16
    แต่ตัวโรคจริงๆพบน้อยกว่ามาก
    และอาจถึงขั้นทำให้หมดเรี่ยวหมดแรง
  • 1:16 - 1:20
    คนที่เป็นโรคนี้จะควบคุมการย้ำคิดได้น้อยมาก
    หรือควบคุมไม่ได้เลย
  • 1:20 - 1:22
    และมีการย้ำทำ
  • 1:22 - 1:24
    ที่มักทำให้เสียเวลามาก
  • 1:24 - 1:28
    และกระทบต่อการทำงาน
    การเรียน หรือการใช้ชีวิตในสังคม
  • 1:28 - 1:31
    ถึงจุดที่ทำให้เกิดความทุกข์อย่างมาก
  • 1:31 - 1:37
    เกณฑ์การวินิจฉัยเหล่านี้คือสิ่งที่แยก
    ผู้ที่ทุกข์ทรมานจากโรคย้ำคิดย้ำทำ
  • 1:37 - 1:40
    ออกจากคนที่แค่อาจจะแค่
    ละเอียดพิถีพิถันมากหน่อย
  • 1:40 - 1:42
    หรือใส่ใจกับความสะอาดมากกว่าทั่วๆไป
  • 1:42 - 1:47
    มายาคติที่สอง อาการหลักของโรคย้ำคิดย้ำทำ
    คือ ล้างมือบ่อยมากๆ
  • 1:47 - 1:52
    แม้ว่าการล้างมือจะเป็นภาพลักษณ์
    ที่พบบ่อยที่สุดในโรคย้ำคิดย้ำทำ
  • 1:52 - 1:56
    แต่การย้ำคิดและการย้ำทำ
    อาจเป็นได้หลายรูปแบบ
  • 1:56 - 2:00
    การย้ำคิดอาจแสดงออกในรูป
    ความกลัวการปนเปื้อนติดเชื้อและการเจ็บป่วย
  • 2:00 - 2:02
    กังวลว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้อื่น
  • 2:02 - 2:08
    หรือหมกมุ่นกับตัวเลข รูปแบบ
    ศีลธรรม หรือ เพศสภาพ
  • 2:08 - 2:12
    และการย้ำทำสามารถเป็นได้ตั้งแต่
    การทำความสะอาดมากเกินหรือการเช็คซ้ำๆ
  • 2:12 - 2:15
    จนถึงการจัดเรียงของให้เป็นระเบียบเป๊ะๆ
  • 2:15 - 2:19
    หรือเดินในรูปแบบที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
  • 2:19 - 2:20
    มายาคติที่สาม
  • 2:20 - 2:25
    คนที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำไม่เข้าใจว่า
    ตัวเองทำอะไรโดยไร้เหตุผล
  • 2:25 - 2:29
    อันที่จริงคนเหล่านี้จำนวนมากเข้าใจ
    ความสัมพันธ์ระหว่าง
  • 2:29 - 2:33
    การย้ำคิดและการย้ำทำเป็นอย่างดี
  • 2:33 - 2:35
    การไม่สามารถหลีกเลี่ยงความคิดหรือการกระทำ
  • 2:35 - 2:38
    แม้ว่าจะรู้ตัวถึงความไม่มีเหตุผลของมัน
  • 2:38 - 2:42
    เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โรคย้ำคิดย้ำทำ
    แสนจะทุกข์ทรมาน
  • 2:42 - 2:44
    ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำบอกว่า
    รู้สึกเหมือนเป็นบ้า
  • 2:44 - 2:47
    ที่รู้สึกวิตกกังวลจากความคิดที่ไร้เหตุผล
  • 2:47 - 2:51
    และพบว่ามันยากที่จะควบคุม
    การตอบสนองของตัวเอง
  • 2:51 - 2:53
    แล้วอะไรกันแน่ที่ทำให้เกิดโรคย้ำคิดย้ำทำ
  • 2:53 - 2:56
    คำตอบที่นำหงุดหงิดคือ เราไม่รู้จริงๆหรอก
  • 2:56 - 2:59
    อย่างไรก็ตาม เรามีเงื่อนงำสำคัญบางอย่าง
  • 2:59 - 3:02
    โรคย้ำคิดย้ำทำถือว่าเป็นโรคทางระบบประสาท
  • 3:02 - 3:06
    พูดอีกอย่างคือ นักวิจัยชี้ว่าสมอง
    ของผู้ทุกข์ทรมานจากการย้ำคิดย้ำทำนั้น
  • 3:06 - 3:10
    เป็นส่วนที่ทำให้เกิดพฤติกรรมรูปแบบเฉพาะนี้
  • 3:10 - 3:13
    นักวิจัยพบความสัมพันธ์ของสมองสามตำแหน่ง
  • 3:13 - 3:17
    กับพฤติกรรมทางสังคมและการวางแผนซับซ้อน
  • 3:17 - 3:19
    การเคลื่อนไหวโดยตั้งใจ
  • 3:19 - 3:22
    การตอบสนองทางอารมณ์และ
    การตอบสนองแรงจูงใจ
  • 3:22 - 3:24
    อีกชิ้นส่วนหนึ่งของปริศนา
  • 3:24 - 3:28
    คือโรคย้ำคิดย้ำทำเกี่ยวข้องกับ
    ระดับปริมาณที่ต่ำของสารซีราโทนิน
  • 3:28 - 3:32
    ซึ่งเป็นสารนำกระแสประสาทที่สื่อสาร
    ระหว่างส่วนต่างๆของสมอง
  • 3:32 - 3:35
    และช่วยในการควบคุมกระบวนการสำคัญ
  • 3:35 - 3:37
    เช่น อารมณ์ ความก้าวร้าว
    การควบคุมแรงกระตุ้น
  • 3:37 - 3:42
    การนอนหลับ ความอยากอาหาร
    อุณหภูมิของร่างกาย และความเจ็บปวด
  • 3:42 - 3:47
    แต่ซีราโทนินและการทำงานของสมองบริเวณนี้
    เป็นต้นเหตุของโรคย้ำคิดย้ำทำ
  • 3:47 - 3:51
    หรืออาการของโรคที่ไม่ทราบสาเหตุนี้หรือไม่
  • 3:51 - 3:53
    เราคงยังไม่รู้จนกว่า
  • 3:53 - 3:57
    เราจะเข้าใจสมองอย่างถ่องแท้กว่านี้
  • 3:57 - 4:00
    ข่าวดีคือ มีการรักษาที่ได้ผล
    สำหรับโรคย้ำคิดย้ำทำ
  • 4:00 - 4:03
    รวมถึงยา ที่ช่วยเพิ่มซีราโทนินในสมอง
  • 4:03 - 4:07
    ด้วยการจำกัดการดูดซึมกลับของซีราโทนิน
    โดยเซลล์สมอง
  • 4:07 - 4:12
    พฤติกรรมบำบัดที่ทำให้ผู้ป่วยค่อยๆ
    ทนต่อความกังวลได้เพิ่มขึ้นที่ละน้อย
  • 4:12 - 4:15
    และ การรักษาด้วยไฟฟ้าในบางราย
  • 4:15 - 4:19
    หรือการทำผ่าตัด เมื่อโรคไม่ตอบสนอง
    ต่อการรักษาแบบอื่นๆ
  • 4:19 - 4:22
    การรู้ว่าสมองคุณกำลังหลอกคุณ
  • 4:22 - 4:26
    แต่ก็ไม่สามารถจะต่อต้านคำสั่งของมันได้
    มันช่างทุกข์ทรมาน
  • 4:26 - 4:30
    แต่ด้วยความรู้และความเข้าใจจะนำมาซึ่ง
    พลังในการเสาะหาความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วย
  • 4:30 - 4:32
    และการวิจัยในอนาคตเกี่ยวกับสมอง
  • 4:32 - 4:35
    อาจจะให้คำตอบที่เราค้นหาได้ในที่สุด
Title:
ล้างความเชื่อผิดๆของโรคย้ำคิดย้ำทำ
Speaker:
Dr. Natascha M. Santos
Description:

มีความเชื่อผิดๆที่พบได้บ่อยๆว่า ถ้าคุณชอบจัดให้เป็นระเบียบสุดๆ ล้างมือให้สะอาดตลอดเวลา หรือวางแผนเที่ยววันหยุดแบบละเอียดยิบ คุณอาจเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ อันที่จริงแล้ว โรคย้ำคิดย้ำทำเป็นภาวะทางจิตเวชรุนแรงที่มักถูกเข้าใจผิดโดยสังคมและบุคลากรทางด้านสุขภาพจิต นาตาชา เอ็ม ซานโตส จะมาลบล้างความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับโรคย้ำคิดย้ำทำ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:51
Dimitra Papageorgiou approved Thai subtitles for Debunking the myths of OCD
Rawee Ma accepted Thai subtitles for Debunking the myths of OCD
Rawee Ma declined Thai subtitles for Debunking the myths of OCD
Rawee Ma edited Thai subtitles for Debunking the myths of OCD
Rawee Ma edited Thai subtitles for Debunking the myths of OCD
Rawee Ma edited Thai subtitles for Debunking the myths of OCD
Thitiporn Ratanapojnard edited Thai subtitles for Debunking the myths of OCD
Thitiporn Ratanapojnard edited Thai subtitles for Debunking the myths of OCD
Show all

Thai subtitles

Revisions