Return to Video

การถ่ายเลือดทำงานอย่างไร - บิล ชูทท์

  • 0:06 - 0:12
    ในปี ค.ศ. 1881 นายแพทย์วิลเลี่ยม ฮัลสเต็ด
    ได้พยายามที่จะช่วยน้องสาวเขาที่ชื่อ มินนี่
  • 0:12 - 0:15
    ที่มีภาวะเสียเลือดจากการคลอดลูก
  • 0:15 - 0:18
    เขาสอดเข็มเข้าไปที่แขนของเขาอย่างเร่งรีบ
  • 0:18 - 0:21
    เพื่อสูบเลือดของเขาและถ่ายมันไปให้กับ
    น้องสาว
  • 0:21 - 0:25
    และภายในเวลาความเป็นความตายนั่น
    เธอก็เริ่มที่จะฟื้นตัว
  • 0:25 - 0:28
    ฮัลสเต็ดไม่รู้เลยว่าพวกเขาโชคดีแค่ไหน
  • 0:28 - 0:31
    การถ่ายเสร็จของพวกเขาสำเร็จ
    นั่นก็เพราะเขาและน้องสาว
  • 0:31 - 0:33
    บังเอิญมีเลือดหมู่เดียวกัน
  • 0:33 - 0:37
    ซึ่งมันไม่ได้แน่นอนเสมอไป
    แม้แต่ในญาติที่ใกล้ชิดกัน
  • 0:37 - 0:40
    หมู่เลือดนั้นยังไม่ได้ถูกค้นพบ
    ในยุคของฮัลสเต็ด
  • 0:40 - 0:44
    แม้ว่าผู้คนจะทำการถ่ายเลือด
    มาก่อนแล้วหลายศตวรรษ
  • 0:44 - 0:46
    แต่ส่วนมากมักจะไม่ประสบความสำเร็จ
  • 0:46 - 0:50
    ในปี ค.ศ. 1667 แพทย์ชาวฝรั่งเศส
    นามว่าจอห์นแบปทีสติ เดนี่
  • 0:50 - 0:54
    เป็นคนแรกที่ได้ลองเทคนิค
    การถ่ายเลือดในมนุษย์
  • 0:54 - 0:58
    เดนี่พยายามที่จะถ่ายเลือดจากแกะ
    ไปให้กับ แอนทวน มาววา
  • 0:58 - 1:00
    ชายผู้ซึ่งป่วยจากอาการโรคจิต
  • 1:00 - 1:03
    ด้วยความหวังว่าอาการของเขาจะดีขึ้น
  • 1:03 - 1:06
    หลังจากการถ่ายเลือด มาาวามีอาการที่ดี
  • 1:06 - 1:09
    แต่ในการถ่ายเลือดครั้งที่สอง
    เขาก็เกิดอาการไข้
  • 1:09 - 1:13
    ปวดตรงบริเวณด้านหลัง
    มีอาการไหม้ที่ตรงบริเวณแขน
  • 1:13 - 1:17
    และปัสสาวะออกมาเป็นของเหลวข้นสีดำ
  • 1:17 - 1:19
    แม้ว่าตอนนั้นจะยังไม่มีใครรู้ว่าทำไม
  • 1:19 - 1:25
    แต่นั่นคือสัญญาณอันตรายที่ภูมิคุ้มกัน
    ตอบสนองภายในร่างกายของเขา
  • 1:25 - 1:28
    ระบบภูมิคุ้มกันจะเริ่มตอบสนอง
    ด้วยการผลิตโปรตีน
  • 1:28 - 1:30
    ที่เรียกว่า แอนติบอดี
  • 1:30 - 1:33
    ซึ่งสามารถแยกแยะเซลล์ภายในร่างกาย
    ออกจากผู้บุกรุกได้
  • 1:33 - 1:38
    แอนติบอดีสามารถจดจำโปรตีนแปลกปลอม
    หรือที่เรียกว่า แอนติเจน
  • 1:38 - 1:40
    ซึ่งถูกฝังอยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของผู้บุกรุก
  • 1:40 - 1:43
    แอนติบอดีจะเข้าไปจับกับแอนติเจน
  • 1:43 - 1:47
    และส่งสัญญาณไปยังเซลล์ภูมิคุ้มกันอื่น ๆ
    ให้ทำลายเซลล์แปลกปลอมเหล่านี้
  • 1:47 - 1:51
    เซลล์ที่ถูกทำลายจะถูกทิ้งออกจากร่างกาย
    ผ่านทางปัสสาวะ
  • 1:51 - 1:54
    และในกรณีรุนแรง ซึ่งมีการทำลายเซลล์
    เป็นจำนวนมาก
  • 1:54 - 1:59
    ก็จะทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด
    และทำหลายไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ
  • 1:59 - 2:03
    ทำให้การทำงานของไตหนักเกินไป
    และเป็นเหตุให้อวัยวะล้มเหลว
  • 2:03 - 2:06
    โชคยังดีที่ผู้ป่วยของเดนี่สามารถรอดตาย
    จากการถ่ายเลือดมาได้
  • 2:06 - 2:10
    แต่นั่นทำให้เห็นว่าถ่ายเลือดข้ามสายพันธุ์
    นำไปสู่การเสียชีวิต
  • 2:10 - 2:13
    การถ่ายเลือดได้กลายเป็นเรื่อง
    ผิดกฎหมายทั่วยุโรป
  • 2:13 - 2:16
    และเป็นเรื่องไม่นิยมนานหลายทศวรรษ
  • 2:16 - 2:21
    จนกระทั่งปี ค.ศ. 1901 นายแพทย์ชาวออสเตรีย
    นามว่า คาร์ล ลานสไตเนอร์
  • 2:21 - 2:23
    ได้ค้นพบหมู่เลือด
  • 2:23 - 2:28
    ซึ่งเป็นก้าวสำคัญของความสำเร็จ
    ในการถ่ายเลือดจากคนสู่คน
  • 2:28 - 2:32
    เขาสังเกตเห็นว่าเมื่อเลือดต่างหมู่กัน
    ถูกผสมเข้าด้วยกัน เลือดก็จะรวมตัวเป็นก้อน
  • 2:32 - 2:37
    สิ่งนี้เกิดจากแอนติบอดี
    เข้าไปจับกับแอนติเจนของเซลล์แปลกปลอม
  • 2:37 - 2:39
    และทำให้เซลล์เม็ดเลือดมารวมตัวกัน
  • 2:39 - 2:43
    แต่ถ้าเซลล์ของผู้บริจาค
    ตรงกับหมู่เลือดของเซลล์ของผู้รับ
  • 2:43 - 2:48
    เซลล์ของผู้บริจาคจะไม่ถูกตั้งเป็นเป้าหมาย
    สำหรับการทำลายและจะไม่รวมตัวกันเป็นก้อน
  • 2:48 - 2:50
    โดยในปี ค.ศ. 1907
  • 2:50 - 2:54
    เหล่าแพทย์จะลองผสมเลือดในปริมาณน้อยเข้า
    ด้วยกัน ก่อนที่จะทำการถ่ายเลือด
  • 2:54 - 2:57
    หากไม่เกิดการรวมตัวกัน
    แสดงว่ากรุ๊ปเลือดนั้นตรงกัน
  • 2:57 - 3:00
    และสิ่งนี้ทำให้พวกเขาสามารถ
    ช่วยชีวิตคนนับพันคน
  • 3:00 - 3:04
    และเป็นรากฐาน
    สำหรับการถ่ายเลือดในยุคสมัยใหม่
  • 3:04 - 3:07
    ในช่วงเวลานั้น การถ่ายเลือดทั้งหมด
    จะเกิดขึ้นข้างเตียงผู้ป่วยทันที
  • 3:07 - 3:10
    และเป็นการถ่ายเลือดโดยตรงระหว่างคนสองคน
  • 3:10 - 3:13
    เนื่องจากว่าเลือดจะเริ่มรวมตัวกัน
    ภายในทันที
  • 3:13 - 3:16
    ที่มันได้สัมผัสกับอากาศ
  • 3:16 - 3:20
    ซึ่งนั่นเป็นกลไกในการป้องกันการสูญเสีย
    เลือดหลังจากได้รับบาดเจ็บ
  • 3:20 - 3:25
    ในปี ค.ศ. 1914 นักวิจัยได้ค้นพบ
    สารเคมีที่ชื่อว่า โซเดียมซิเตรต
  • 3:25 - 3:31
    ซึ่งช่วยหยุดการแข็งตัวของเลือดได้โดยกำจัด
    แคลเซียมที่เป็นสารสำคัญในการรวมเป็นก้อน
  • 3:31 - 3:35
    เลือดที่ผสมซิเตรตสามารถ
    เก็บไว้ใช้ในภายหลังได้
  • 3:35 - 3:39
    ซึ่งเป็นก้าวแรกที่ทำให้การถ่ายเลือด
    ในระดับที่ใหญ่ขึ้นสามารถเป็นไปได้
  • 3:39 - 3:46
    ในปี 1916 นักวิทยาศาสตร์อเมริกันคู่หนึ่ง
    ได้ค้นพบสารกันเลือดแข็งที่ให้ผลที่มากขึ้น
  • 3:46 - 3:52
    ที่เรียกว่า เฮปาริน ซึ่งทำงานโดยการลดความ
    สามารถของเอนไซม์ช่วยในการแข็งตัว
  • 3:52 - 3:54
    โดยเราก็ยังคงใช้เฮปารินมาจนถึงทุกวันนี้
  • 3:54 - 3:55
    และในเวลาเดียวกันนั้น
  • 3:55 - 3:59
    นักวิจัยชาวอเมริกันและอังกฤษ
    ก็ได้พัฒนาเครื่องพกพา
  • 3:59 - 4:05
    ที่สามารถขนส่งเลือดไปสู่สนามรบ
    ในสงครามโลกครั้งที่ 1
  • 4:05 - 4:07
    และเมื่อผนวกกับการค้นพบเฮปาริน
  • 4:07 - 4:11
    เหล่าแพทย์จึงสามารถเก็บ
    และคงสภาพเลือดไว้ได้อย่างปลอดภัย
  • 4:11 - 4:16
    และส่งมันไปยังสนามรบ
    เพื่อการถ่ายเลือดให้กับทหารที่บาดเจ็บ
  • 4:16 - 4:21
    โดยหลังจากสงคราม กล่องแบบพกพาเหล่านี้
    ได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจ
  • 4:21 - 4:25
    สำหรับธนาคารเลือดที่ทันสมัย
    ซึ่งถูกติดตั้งในโรงพยาบาลทั่วโลก
Title:
การถ่ายเลือดทำงานอย่างไร - บิล ชูทท์
Speaker:
บิล ชูทท์
Description:

ดูบทเรียนเต็มที่: https://ed.ted.com/lessons/how-does-blood-transfusion-work-bill-schutt

ในปี ค.ศ. 1881 นายแพทย์วิลเลี่ยม ฮัลสเต็ด ได้พยายามช่วยมินนี่ น้องสาวของเขาที่มีภาวะเสียเลือดจากการคลอดลูก โดยเขาได้สอดเข็มเข้าไปที่แขนของเขาอย่างเร่งรีบเพื่อสูบเลือดของเขาและถ่ายมันไปให้กับน้องสาว และภายในเวลาที่สุ่มเสี่ยงนั่น เธอก็เริ่มที่จะฟื้นตัว แล้วอะไรกันที่ทำให้การถ่ายเลือดครั้งนี้สำเร็จได้? บิล ชูทท์ อธิบายถึงประวัติศาสตร์ของกระบวนการช่วยชีวิตนี้

บทเรียนโดย บิล ชูทท์ กำกับโดย Hype CG.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:28
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for How do blood transfusions work?
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for How do blood transfusions work?
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for How do blood transfusions work?
Yanawut Manmana edited Thai subtitles for How do blood transfusions work?
Yanawut Manmana edited Thai subtitles for How do blood transfusions work?
Yanawut Manmana edited Thai subtitles for How do blood transfusions work?

Thai subtitles

Revisions