Return to Video

อารมณ์ของคุณเปลี่ยนแปลงรูปร่างของหัวใจคุณได้อย่างไร

  • 0:01 - 0:03
    ไม่มีอวัยวะอื่นใด
  • 0:03 - 0:07
    อาจเป็นไปได้ว่าไม่มีวัตถุอื่นใด
    ในชีวิตมนุษย์
  • 0:07 - 0:11
    ที่ชุ่มฉ่ำไปด้วยอุปมาอุปมัยและความหมาย
    เท่าเทียมกับหัวใจมนุษย์
  • 0:11 - 0:13
    ต่อเนื่องมาตลอดประวัติศาสตร์
  • 0:13 - 0:16
    หัวใจเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตด้านอารมณ์ของเรา
  • 0:17 - 0:21
    ผู้คนจำนวนมากพิจารณาเห็นว่า
    หัวใจเป็นที่อยู่ของวิญญาณ
  • 0:21 - 0:23
    เป็นคลังอารมณ์ความรู้สึก
  • 0:23 - 0:30
    คำว่า “อารมณ์" (emotion) มีรากคำส่วนหนึ่ง
    มาจากคำกริยาภาษาฝรั่งเศส “emouvoir”
  • 0:30 - 0:32
    แปลว่า “แหย่ กระตุ้น”
  • 0:32 - 0:37
    และบางทีก็สมเหตุสมผลที่ว่า
    อารมณ์น่าจะเชื่อมต่อกับอวัยวะหนึ่ง
  • 0:37 - 0:39
    ซึ่งมีลักษณะพิเศษจากการเคลื่อนไหว
    ที่ไม่หยุดนิ่งของมัน
  • 0:40 - 0:41
    แต่อะไรคือการเชื่อมต่อนี้หรือ
  • 0:41 - 0:45
    มีสิ่งที่เชื่อมต่อจริง ๆ หรือเป็นเพียงแค่การเปรียบเทียบ
  • 0:45 - 0:47
    ในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจ
  • 0:47 - 0:53
    ผมมาที่นี่ในวันนี้เพื่อบอกคุณว่า
    การเชื่อมต่อที่ว่านี้มีอยู่จริง
  • 0:53 - 0:55
    อารมณ์ซึ่งคุณจะได้เรียนรู้
  • 0:55 - 1:01
    สามารถและมีผลกระทบทางกายภาพ
    โดยตรงต่อหัวใจของมนุษย์
  • 1:02 - 1:04
    แต่ก่อนที่เราจะไปถึงเรื่องนี้
  • 1:04 - 1:06
    เรามาคุยกันเล็กน้อย
    เกี่ยวกับหัวใจในเชิงอุปมาอุปไมย
  • 1:07 - 1:11
    ความหมายเชิงสัญลักษณ์ของหัวใจ
    ยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้
  • 1:11 - 1:17
    ถ้าเราถามผู้คนว่าภาพใด
    ที่พวกเขาเห็นว่าสัมพันธ์กับความรัก
  • 1:17 - 1:21
    ไม่ต้องสงสัยเลยว่าหัวใจวาเลนไทน์
    น่าจะมาเป็นอันดับแรก
  • 1:22 - 1:25
    รูปหัวใจที่เรียกกันว่า คาร์ดิออยด์ (cardioid)
  • 1:25 - 1:26
    พบได้ทั่วไปตามธรรมชาติ
  • 1:27 - 1:31
    พบได้ในใบไม้ ดอกไม้และเมล็ดของพืชหลายชนิด
  • 1:31 - 1:33
    รวมทั้งดอกซิลเฟียม (silphium)
  • 1:33 - 1:37
    ซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อการคุมกำเนิดในยุคกลาง
  • 1:37 - 1:40
    และบางที่น่าจะเป็นเหตุผลว่า
    ทำไมรูปหัวใจจึงถูกนำมาสัมพันธ์
  • 1:40 - 1:43
    กับเพศสัมพันธ์และความรักเชิงโรแมนติก
  • 1:44 - 1:45
    ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลใดก็ตาม
  • 1:45 - 1:50
    รูปหัวใจเริ่มปรากฎในภาพวาดของคู่รัก
    ในศตวรรษที่ 13
  • 1:50 - 1:54
    เมื่อเวลาผ่านไปภาพหัวใจเหล่านั้นเริ่มเป็นสีแดง
  • 1:54 - 1:56
    เป็นสีของเลือด
  • 1:56 - 1:57
    เป็นสัญลักษณ์ของความหลงใหล
  • 1:58 - 2:00
    ในโบสถ์โรมันคาทอลิก
  • 2:00 - 2:04
    รูปหัวใจเริ่มเป็นที่รู้จักว่าเป็น
    หัวใจที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูคริสต์
  • 2:05 - 2:08
    ถูกประดับตกแต่งด้วยหนาม
    และทอแสงสีละเอียดอ่อน
  • 2:08 - 2:12
    รูปหัวใจกลายเป็นเครื่องหมาย
    ของความรักที่มีต่อศาสนา
  • 2:12 - 2:17
    ความสัมพันธ์ระหว่างหัวใจและความรักนี้
    คงอยู่เหนือความทันสมัย
  • 2:17 - 2:22
    เมื่ออดีตทันตแพทย์บาร์นี คลาร์ก (Barney Clark)
    ผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจล้มเหลวระยะสุดท้าย
  • 2:22 - 2:28
    ได้รับหัวใจเทียมถาวรเป็นคนแรก
    ในรัฐยูทาห์ในปี ค.ศ 1982
  • 2:28 - 2:33
    ภริยาของเขาวัย 39 ปีซักถามแพทย์ว่า
  • 2:34 - 2:36
    “เขาจะยังคงรักฉันไหมคะ”
  • 2:37 - 2:40
    ในปัจจุบัน เรารู้ว่าหัวใจนั้น
    ไม่ได้เป็นแหล่งกำเนิดของความรัก
  • 2:40 - 2:42
    หรืออารมณ์อื่นใดก็็ตาม
  • 2:42 - 2:44
    คนสมัยก่อนเข้าใจผิด
  • 2:44 - 2:46
    แต่แล้ว เราก็มาเข้าใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆว่า
  • 2:47 - 2:51
    ความสัมพันธ์ระหว่างหัวใจและอารมณ์
    เป็นความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้ง
  • 2:51 - 2:54
    หัวใจอาจไม่ใช่ต้นกำเนิดของความรู้สึกของเรา
  • 2:54 - 2:56
    แต่มีการตอบสนองอย่างมากต่อความรู้สึกเหล่านั้น
  • 2:56 - 2:59
    ในแง่หนึ่ง ข้อมูลความรู้สึกของเรานั้น
  • 2:59 - 3:01
    ถูกเขียนไว้ในหัวใจของเรา
  • 3:02 - 3:07
    ตัวอย่างเช่นความกลัวและความเศร้า
    สามารถก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บเบื้องต้นของหัวใจได้
  • 3:07 - 3:11
    เส้นประสาทซึ่งควบคุมกระบวนการทำงาน
    เหนือจิตใต้สำนึกต่าง ๆ เช่น การเต้นของหัวใจ
  • 3:11 - 3:13
    สามารถรู้สึกถึงความเศร้า
  • 3:13 - 3:18
    และกระตุ้นปฏิกิริยาตอบสนองสถานการณ์กดดัน
  • 3:18 - 3:22
    ที่จะไปกระตุ้นหลอดเลือดให้หดตัว
  • 3:22 - 3:23
    ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
  • 3:23 - 3:26
    และความดันโลหิตขึ้นสูง
  • 3:26 - 3:28
    มีผลให้เกิดความเสียหาย
  • 3:28 - 3:29
    พูดอีกอย่างหนึ่งคือ
  • 3:29 - 3:32
    ยิ่งชัดเจนขึ้นเรื่อยๆว่า
  • 3:32 - 3:37
    หัวใจของเรานั้นอ่อนไวเป็นพิเศษ
    ต่อระบบทางอารมณ์ของเรา
  • 3:37 - 3:40
    จะบอกว่าอ่อนไหวต่อหัวใจที่เรานึกถึงก็ได้
  • 3:40 - 3:45
    มีความผิดปกติทางหัวใจที่เป็นที่รู้จักเป็นครั้งแรก
    เมื่อราวสองทศวรรษที่แล้ว
  • 3:45 - 3:50
    ที่เรียกกันว่า “ takotsubo cardiomyopathy ”
    หรือ “ อาการหัวใจสลาย ”
  • 3:50 - 3:56
    เมื่อหัวใจไม่ตอบสนองต่อความเครียด
    หรือความโศกเศร้าที่รุนแรง
  • 3:56 - 4:00
    อย่างเช่นหลังจากการเลิกรา
    หรือการตายของคนที่เรารัก
  • 4:00 - 4:04
    อย่างที่ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็น
    หัวใจเศร้าสร้อยที่อยู่ตรงกลาง
  • 4:04 - 4:07
    ดูจะแตกต่างอย่างมาก
    จากหัวใจปกติที่อยู่ทางซ้ายมือ
  • 4:07 - 4:08
    มันหดตัวลง
  • 4:08 - 4:13
    และค่อยๆพองออก
    เป็นรูปหม้อ takotsubo อย่างชัดเจน
  • 4:13 - 4:14
    ที่แสดงอยู่ทางขวามือ
  • 4:14 - 4:18
    หม้อญี่ปุ่นที่มีฐานกว้างและคอขวดแคบ
  • 4:18 - 4:21
    เราไม่ทราบแน่ชัดว่าทำไมอาการนี้จึงเกิดขึ้น
  • 4:21 - 4:23
    และอาการที่ว่านี้มักจะหายไปภายในไม่กี่สัปดาห์
  • 4:24 - 4:25
    อย่างไรก็ตาม ในระยะอาการขั้นรุนแรง
  • 4:26 - 4:28
    มันสามารถเป็นสาเหตุของโรคหัวใจล้มเหลว
  • 4:28 - 4:30
    อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
    ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต
  • 4:30 - 4:32
    และอาจถึงตายได้
  • 4:32 - 4:37
    ตัวอย่างเช่น สามีของคนไข้สูงอายุของผม
  • 4:37 - 4:39
    ได้จากไปเมื่อไม่นานมานี้
  • 4:39 - 4:43
    แน่นอนครับ เธอโศกเศร้าเสียใจแต่ก็ทำใจได้
  • 4:44 - 4:45
    เธออาจจะรู้สึกโล่งใจขึ้นมานิดหน่อย
  • 4:45 - 4:48
    มันเป็นการเจ็บป่วยที่ยาวนานมาก
    เขาเป็นโรคภาวะสมองเสื่อม
  • 4:48 - 4:52
    แต่หนึ่งสัปดาห์หลังจากงานศพ
    เธอมองดูภาพของเขา
  • 4:52 - 4:54
    และน้ำตาก็ไหลอาบหน้า
  • 4:55 - 5:00
    แล้วก็เกิดอาการเจ็บหน้าอก
    และพร้อมกันนั้นก็มีอาการหายใจขัด
  • 5:00 - 5:03
    เส้นเลือดดำที่คอโป่งขยายออกมา เหงื่อท่วม
  • 5:03 - 5:06
    อาการเหนื่อยหอบที่เห็นได้ชัดเจน
    ขณะที่เธอกำลังนั่งลงบนเก้าอี้
  • 5:06 - 5:10
    ทั้งหมดเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจล้มเหลว
  • 5:11 - 5:13
    เธอถูกส่งเข้าโรงพยาบาล
  • 5:14 - 5:18
    ที่ผลอัลตราซาวด์ยืนยัน
    ตามที่เราสงสัยอยู่แล้วว่า
  • 5:18 - 5:24
    หัวใจของเธอหดน้อยกว่าครึ่ง
    ของขนาดตามปกติของมัน
  • 5:24 - 5:29
    และได้โป่งพองออกเป็นรูปหม้อ takotsubo
  • 5:29 - 5:31
    แต่การทดสอบอื่นๆก็ไม่มีอะไรผิดปกติ
  • 5:31 - 5:33
    ไม่มีอาการของเส้นเลือดอุดตันที่ไหนเลย
  • 5:34 - 5:39
    สองสัปดาห์หลังจากนั้น
    สภาพอารมณ์ของเธอก็คืนสู่ปกติ
  • 5:39 - 5:43
    ยืนยันด้วยผลอัลตราซาวด์
  • 5:43 - 5:44
    หัวใจเธอก็เป็นปกติเหมือนกัน
  • 5:45 - 5:51
    อาการหัวใจสลาย
    ถูกนำมาสัมพันธ์กับสถานการณ์กดดันมากมาย
  • 5:51 - 5:53
    รวมทั้งการพูดในที่สาธารณะ
  • 5:53 - 5:56
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:59 - 6:03
    (เสียงปรบมือ)
  • 6:05 - 6:08
    การทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว การเสียพนัน
  • 6:08 - 6:10
    แม้กระทั่งการฉลองวันเกิดที่เจ้าตัวไม่รู้มาก่อน
  • 6:10 - 6:12
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:12 - 6:16
    แม้กระทั่งถูกนำไปสัมพันธ์
    กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในวงกว้าง
  • 6:16 - 6:19
    เช่น หลังจากความหายนะทางธรรมชาติ
  • 6:19 - 6:21
    ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ 2004
  • 6:21 - 6:27
    แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ได้ทำลายล้างตำบลหนึ่ง
    บนเกาะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
  • 6:27 - 6:31
    มากกว่า 60 คนเสียชีวิตและหลายพันคนบาดเจ็บ
  • 6:31 - 6:34
    เมื่อติดตามความหายนะในเรื่องนี้
  • 6:34 - 6:39
    นักวิจัยได้พบว่าผลจากอาการหัวใจสลาย
  • 6:39 - 6:44
    ได้เพิ่มสูงขึ้น 24 เท่า ในตำบนนั้น
    หนึ่งเดือนหลังจากเกิดแผ่นดินไหว
  • 6:44 - 6:47
    เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน
    ในปีก่อนหน้านั้น
  • 6:48 - 6:51
    ตำแหน่งที่อยู่อาศัยในเหตุการณ์เหล่านี้
  • 6:51 - 6:54
    สัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างมาก
    กับความรุนแรงของแผ่นดินไหว
  • 6:54 - 6:58
    ในเกือบทุกกรณี เป็นผู้ป่วยที่อาศัยอยู่
    ใกล้กับศูนย์กลางของแผ่นดินไหว
  • 6:59 - 7:05
    ที่น่าสนใจคือ เราพบอาการหัวใจสลาย
    หลังจากเหตุการณ์น่ายินดีเช่นกัน
  • 7:05 - 7:08
    แต่หัวใจมีปฏิกิริยาที่แตกต่างออกไป
  • 7:08 - 7:12
    โดยโป่งพองขึ้นในช่วงกลาง
    ไม่ใช่ในตอนท้าย
  • 7:12 - 7:18
    สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
    ถึงส่งผลต่อสภาพหัวใจนั้น
  • 7:18 - 7:19
    ยังคงเป็นความลึกลับ
  • 7:20 - 7:24
    แต่ปัจจุบัน บางทีเพื่อเป็นการสรรเสริญ
    นักปรัชญาโบราณของเรา
  • 7:24 - 7:30
    เราสามารถพูดได้ว่า แม้ว่าอารมณ์
    ไม่ได้ถูกบรรจุไว้ภายในหัวใจของพวกเรา
  • 7:30 - 7:35
    แต่หัวใจที่มีความรู้สึกนั้นมีส่วนทับซ้อน
  • 7:37 - 7:39
    กับหัวใจทางชีววิทยา
  • 7:39 - 7:42
    ในแบบที่น่าประหลาดใจและลึกลับซับซ้อน
  • 7:43 - 7:47
    กลุ่มอาการโรคหัวใจ
    ซึ่งรวมถึงการเสียชีวิตอย่างกระทันหัน
  • 7:47 - 7:52
    ได้รับการรายงานมาตลอดว่าเกิดขึ้นกับบุคคล
    ที่ประสบกับการรบกวนด้านอารมณ์ที่รุนแรง
  • 7:52 - 7:54
    หรือประสบความไม่สงบในหัวใจ
  • 7:55 - 7:57
    ในปี ค.ศ 1942
  • 7:57 - 8:02
    นักสรีรวิทยามหาวิทยาลัยฮาวาร์ด
    วอลเตอร์ แคนนอน (Walter Cannon)
    ตีพิมพ์บทความชื่อว่า การตายแบบวูดู (Voodoo Death)
  • 8:02 - 8:06
    ซึ่งเขาอธิบายกรณีการตายจากความตื่นกลัว
  • 8:06 - 8:08
    ในผู้คนที่เชื่อว่าพวกเขาถูกสาป
  • 8:08 - 8:13
    เช่น จากหมอผี
    หรือจากผลของการกินผลไม้ต้องห้าม
  • 8:13 - 8:18
    ในหลายๆกรณี ผู้เป็นเหยื่อนั้นสูญสิ้นความหวัง
    เสียชีวิตทันที ณ ที่นั้น
  • 8:19 - 8:24
    สิ่งที่เหมือนกันในกรณีเหล่านี้คือ
    ผู้เป็นเหยื่อเชื่ออย่างหมดหัวใจว่า
  • 8:24 - 8:27
    มีอำนาจจากภายนอก
    ที่สามารถเป็นเหตุให้พวกเขาถึงแก่ความตายได้
  • 8:27 - 8:30
    และทำให้พวกเขาไร้พลังที่จะต่อสู้
  • 8:30 - 8:34
    การขาดการควบคุมที่ตัวเองสำเหนียกรู้นี้เอง
    ที่แคนนอน ได้ตั้งสมมุติฐานไว้
  • 8:34 - 8:37
    ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาทางกายภาพ
    ที่ไม่อาจประเมิณได้
  • 8:37 - 8:41
    ในหลอดเลือดที่ถูกทำให้บีบรัดจนถึงขนาดที่
  • 8:42 - 8:45
    ปริมาณเลือดลดลงอย่างรุนแรง
  • 8:45 - 8:46
    ความดันโลหิตตกฮวบลง
  • 8:46 - 8:48
    หัวใจอ่อนลงอย่างรุนแรง
  • 8:48 - 8:52
    และส่งผลให้เกิดความเสียหาย
    ต่ออวัยวะอย่างรุนแรงจากการขาดออกซิเจน
  • 8:54 - 8:56
    แคนนอนเชื่อว่าการเสียชีวิตแบบวูดูนั้น
  • 8:57 - 9:01
    ถูกจำกัดไว้เฉพาะคนพื้นเมือง
    หรือ “ คนไร้อารยะ ”
  • 9:02 - 9:06
    แต่ตลอดมาหลายปี
    พบว่าการเสียชีวิตประเภทนี้เกิดขึ้น
  • 9:06 - 9:09
    ในทุกลักษณะต่อคนสมัยใหม่ด้วย
  • 9:10 - 9:16
    ในปัจจุบัน การเสียชีวิตจากความเศร้าพบเห็นได้
    ในคู่สามีภรรยาและในญาติพี่น้อง
  • 9:16 - 9:20
    อาการใจสลายเป็นอันตรายถึงตายได้
    ทั้งตามจริงและในเชิงอุปมา
  • 9:21 - 9:24
    ความสัมพันธ์เหล่านี้เป็นจริง
    แม้กระทั่งกับสัตว์
  • 9:25 - 9:31
    ในงานวิจัยที่น่าทึ่งงานหนึ่งในปี ค.ศ 1980
    ที่เผยแพร่ในวารสาร “ Science ”
  • 9:31 - 9:35
    นักวิจัยได้ให้อาหารคอเลสเตอรอลสูง
    กับกระต่ายที่ขังไว้ในกรง
  • 9:35 - 9:38
    เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของมัน
    ต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • 9:39 - 9:44
    เป็นที่น่าประหลาดใจเมื่อพบว่า
    กระต่ายบางตัวมีโรคมากกว่าตัวอื่น
  • 9:44 - 9:46
    แต่พวกเขาอธิบายไม่ได้ว่าเป็นเพราะอะไร
  • 9:46 - 9:52
    กระต่ายเหล่านั้นได้รับอาหาร สภาพแวดล้อม
    และมียีนตามพันธุกรรมที่คล้ายกันอย่างมาก
  • 9:52 - 9:54
    พวกเขาคิดว่ามันอาจจะมีบางสิ่งที่เกี่ยวข้อง
  • 9:54 - 9:58
    กับความถี่ที่นักเทคนิคห้องปฏิบัติการ
    มีปฏิสัมพันธ์กับกระต่ายเหล่านั้น
  • 9:58 - 10:00
    พวกเขาจึงทำการวิจัยซ้ำ
  • 10:00 - 10:03
    โดยแบ่งกระต่ายออกเป็น 2 กลุ่ม
  • 10:03 - 10:05
    ทั้งสองกลุ่มได้รับอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง
  • 10:06 - 10:10
    แต่ในกลุ่มหนึ่งนั้น
    กระต่ายถูกนำออกมาจากกรง
  • 10:10 - 10:14
    จับอุ้ม ลูบหัวลูบหาง พูดคุยด้วย เล่นด้วย
  • 10:14 - 10:17
    และในอีกกลุ่มหนึ่งนั้น
    กระต่ายคงอยู่ในกรงของพวกมัน
  • 10:17 - 10:19
    และถูกทิ้งไว้ตามลำพัง
  • 10:19 - 10:23
    ครบหนึ่งปี ในการตรวจวิเคราะห์ซาก
  • 10:23 - 10:28
    นักวิจัยพบว่า กระต่ายในกลุ่มแรก
  • 10:28 - 10:30
    ที่มีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์
  • 10:30 - 10:36
    เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดแดงหัวใจ
    น้อยกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง 60 เปอร์เซนต์
  • 10:36 - 10:41
    ถึงแม้ว่าจะมีระดับคอเลสเตอรอล ความดันโลหิต
    อัตราการเต้นหัวใจที่คล้ายคลึงกัน
  • 10:42 - 10:48
    ในปัจจุบัน การให้การดูแลรักษาหัวใจ
    ได้กลายเป็นเรื่องของนักปรัชญาน้อยลง
  • 10:48 - 10:53
    นักปรัชญาผู้พินิจพิเคราะห์
    ความหมายเชิงอุปมาอุปไมยของหัวใจ
  • 10:53 - 10:57
    มาเป็นงานหลักของแพทย์อย่างผม
  • 10:57 - 10:59
    โดยใช้เทคโนโลยี
    ที่แม้กระทั่งศตวรรษที่แล้วนั้น
  • 10:59 - 11:02
    ถูกพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องต้องห้าม
    เพราะสถานภาพของหัวใจในขณะนั้น
  • 11:03 - 11:04
    ถูกยกย่องอย่างสูงสุด
  • 11:04 - 11:08
    ในกระบวนการที่ว่านั้น
    หัวใจได้ถูกแปรเปลี่ยนไป
  • 11:08 - 11:14
    จากการเป็นวัตถุที่เกือบจะเหนือธรรมชาติ
    ที่เปี่ยมไปด้วยอุปมาอุปไมยและความหมาย
  • 11:14 - 11:18
    ไปเป็นเครื่องจักรกล
    ที่เราสามารถเข้าไปจัดการและควบคุมได้
  • 11:19 - 11:21
    แต่นี่แหละเป็นกุญแจสำคัญ
  • 11:21 - 11:25
    การเข้าไปจัดการเหล่านี้
    ขณะนี้เราเข้าใจแล้ว
  • 11:25 - 11:29
    ต้องได้รับการเสริมเพิ่มเติม
    ด้วยความเอาใจใส่ทางอารมณ์
  • 11:30 - 11:33
    ที่เราเชื่อกันว่ามีอยู่ในหัวใจ
    มานานหลายพันปีมาแล้ว
  • 11:34 - 11:37
    ตัวอย่างเช่น ลองพิจารณาบทความเรื่อง
    Lifestyle Heart Trial
  • 11:37 - 11:42
    ที่พิมพ์เผยแพร่ในวารสารของอังกฤษ
    ชื่อว่า The Lancet ในปี ค.ศ 1990
  • 11:42 - 11:46
    ผู้ป่วยโรคหัวใจระยะกลางหรือรุนแรง 48 คน
  • 11:46 - 11:49
    ได้รับการสุ่มให้มีการรักษาแบบปกติ
  • 11:49 - 11:54
    หรือมีไลฟ์สไตล์ที่เข้มงวดที่รวมถึง
    การรับประทานอาหารมังสวิรัติไขมันต่ำ
  • 11:54 - 11:56
    การออกกำลังกายแอโรบิคสม่ำเสมอ
  • 11:56 - 11:58
    กลุ่มช่วยเหลือทางจิตสังคม
  • 11:58 - 12:00
    และคำแนะนำด้านการจัดการเรื่องความเครียด
  • 12:00 - 12:04
    นักวิจัยได้พบว่า
    ผู้ป่วยกลุ่มวิถีการดำเนินชีวิต
  • 12:04 - 12:10
    มีการลดลงของคราบไขมันในหลอดเลือดหัวใจ
    เกือบจะ 5 เปอร์เซ็นต์
  • 12:10 - 12:12
    ในทางกลับกัน คนป่วยที่มีการรักษาปกติ
  • 12:12 - 12:16
    มีคราบไขมันในหลอดเลือด
    มากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ใน 1 ปี
  • 12:16 - 12:19
    และเพิ่มขึ้น 28 เปอร์เซ็นต์ใน 5 ปี
  • 12:19 - 12:23
    พวกเขายังมีอาการโรคหัวใจ
    มากกว่าเกือบสองเท่า
  • 12:23 - 12:26
    อย่างเช่น หัวใจวาย
    หรือได้รับการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ
  • 12:26 - 12:28
    และการเสียชีวิตที่สืบเนื่องกับหัวใจ
  • 12:28 - 12:30
    เอาหละ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ
  • 12:31 - 12:36
    ผู้ป่วยบางคนในกลุ่มที่มีการรักษาปกติ
    นำแผนควบคุมอาหารและการออกกำลังกายมาปฏิบัติ
  • 12:36 - 12:40
    แผนปฏิบัติเหล่านี้เคร่งครัดพอ ๆ กับ
    ของกลุ่มที่มีไลฟ์สไตล์เข้มงวดอีกกลุ่ม
  • 12:41 - 12:43
    โรคหัวใจของพวกเขาก็ยังคงมีอยู่
  • 12:45 - 12:50
    อาหารและการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวนั้น
    ไม่เพียงพอที่จะทำให้โรคหัวใจลดน้อยลง
  • 12:51 - 12:54
    การติดตามผลทั้งสองครั้ง
    ใน 1 ปี และใน 5 ปี
  • 12:55 - 12:57
    การจัดการความเครียดนั้นมีผลอย่างมาก
  • 12:58 - 13:00
    ต่อการรักษาอาการของโรคหัวใจ
  • 13:00 - 13:01
    ยิ่งกว่าการออกกำลังกาย
  • 13:02 - 13:06
    ไม่ต้องสงสัยเลย งานวิจัยนี้และงานวิจัยอื่น
    ที่คล้ายคลึงกันนั้นมีน้อย
  • 13:06 - 13:09
    และแน่นอนครับ แม้จะมีความสัมพันธ์
    แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นสาเหตุ
  • 13:09 - 13:13
    เป็นไปได้อย่างแน่นอนว่า
    ความเครียดนำไปสู่นิสัยที่ไม่ดี
  • 13:13 - 13:17
    และนั่นเป็นเหตุผลที่แท้จริง
    ของความเสี่ยงโรคหัวใจที่เพิ่มขึ้น
  • 13:17 - 13:20
    แต่ก็เหมือนกับความสัมพันธ์
    ระหว่างการสูบบุหรี่และโรคมะเร็งปอด
  • 13:20 - 13:23
    เมื่องานวิจัยจำนวนมากเหลือเกิน
    แสดงให้เห็นสิ่งเดียวกัน
  • 13:23 - 13:27
    และเมื่อมีกลไก
    ที่จะอธิบายความสัมพันธ์ด้านสาเหตุ
  • 13:27 - 13:31
    ก็ยากที่จะปฏิเสธว่ามีสาเหตุจริง ๆ อยู่
  • 13:32 - 13:35
    สิ่งที่แพทย์หลายคนได้สรุปคือ
    สิ่งที่ผมได้เรียนรู้ด้วยเหมือนกัน
  • 13:36 - 13:38
    ว่าในช่วงเกือบจะ 2 ทศวรรษของผม
    ในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจ
  • 13:39 - 13:43
    หัวใจเชิงอารมณ์มีส่วนสัมพันธ์
    กับหัวใจในทางชีววิทยา
  • 13:43 - 13:46
    ในแบบที่น่าประหลาดใจและลึกลับซับซ้อน
  • 13:46 - 13:51
    แต่การแพทย์ในปัจจุบันยังคงตีกรอบ
    ความคิดที่ว่าหัวใจเป็นเหมือนเครื่องจักร
  • 13:51 - 13:54
    การสร้างกรอบความคิดนี้ได้มีประโยชน์อย่างมาก
  • 13:55 - 13:58
    การศึกษาศาสตร์ที่เกี่ยวกับหัวใจ
    แวดวงของผม
  • 13:58 - 14:02
    ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเป็นหนึ่งในเรื่องราว
    ความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
  • 14:02 - 14:04
    ใน 100 ปี ที่ผ่านมา
  • 14:05 - 14:11
    การใส่ขดเลือด การกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า
    การกระตุกหัวใจ การผ่าตัดบายพาสหัวใจ
  • 14:11 - 14:12
    การเปลี่ยนหัวใจ - -
  • 14:12 - 14:16
    ทั้งหมดนี้ได้ถูกพัฒนา
    หรือถูกประดิษฐ์ขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
  • 14:16 - 14:18
    อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้
  • 14:18 - 14:24
    ว่าพวกเรากำลังเข้าไปใกล้ขีดจำกัดของสิ่ง
    ที่การแพทย์เชิงวิทยาศาสตร์สามารถทำได้
  • 14:24 - 14:25
    เพื่อที่จะสู้รบกับโรคหัวใจ
  • 14:25 - 14:29
    แท้จริงแล้ว
    อัตราการถดถอยลงของการตายจากโรคหัวใจ
  • 14:29 - 14:32
    ได้ช้าลงอย่างมีนัยสำคัญในทศวรรษที่ผ่านมา
  • 14:33 - 14:36
    เราจำเป็นต้องผลัดเปลี่ยน
    ไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่
  • 14:36 - 14:40
    เพื่อจะยังคงให้เกิดความก้าวหน้า
    ในแบบที่เราคุ้นเคย
  • 14:40 - 14:46
    ในกระบวนทัศน์นี้ ปัจจัยเชิงจิตสังคม
    จำเป็นต้องมาก่อนและส่วนสำคัญ
  • 14:46 - 14:48
    ต่อวิธีที่คิดของเราเกี่ยวกับปัญหาโรคหัวใจ
  • 14:49 - 14:51
    นี่จะเป็นการต่อสู้ที่ยากลำบาก
  • 14:51 - 14:55
    และจะยังหลงเหลือขอบเขต
    ที่ยังไม่ได้ถูกค้นพบอีกมาก
  • 14:56 - 15:01
    สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกายังไม่บรรจุ
    ความเครียดทางอารมณ์ให้เป็นส่วนหนึ่ง
  • 15:01 - 15:05
    ในตัวแปรที่สำคัญ ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
  • 15:05 - 15:10
    บางทีส่วนหนึ่งนั้นอาจเป็นเพราะว่า
    การทำให้คอเลสเตอรอลลดลง
  • 15:10 - 15:12
    ง่ายกว่าการลดความปั่นป่วนทางอารมณ์และสังคม
  • 15:14 - 15:16
    บางทีน่าจะมีวิธีการที่ดีกว่า
  • 15:16 - 15:21
    ถ้าหากเรายอมรับว่าเมื่อเราพูดว่า “ อกหัก ”
  • 15:21 - 15:26
    บางครั้งเรากำลังพูดถึงหัวใจที่แตกออกเป็นเสี่ยง ๆ จริง
  • 15:26 - 15:32
    เราจะต้อง จะต้องเอาใจใส่มากขึ้น
    กับพลังและความสำคัญของอารมณ์
  • 15:32 - 15:34
    ในการดูแลรักษาหัวใจของเรา
  • 15:34 - 15:37
    ความเครียดด้านอารมณ์ที่ผมได้เรียนรู้นั้น
  • 15:37 - 15:40
    มักจะเป็นเรื่องของการมีชีวิตอยู่และการตาย
  • 15:41 - 15:42
    ขอบคุณครับ
  • 15:42 - 15:48
    (เสียงปรบมือ)
Title:
อารมณ์ของคุณเปลี่ยนแปลงรูปร่างของหัวใจคุณได้อย่างไร
Speaker:
ซานดีพ จัวฮา (Sandeep Juahar)
Description:

แพทย์หัวใจและนักเขียน ซานดีพ จัวฮากล่าวว่า “ร่องรอยอารมณ์ของเรานั้น ถูกเขียนไว้ในหัวใจของเรา” ในการบรรยายที่น่าทึ่งนี้ เขานำไปพบกับวิธีการลึกลับที่อารมณ์ของเราส่งผลกระทบต่อสุขภาพของหัวใจของเรา ซึ่งเป็นเหตุให้หัวใจเปลี่ยนรูปร่างไปเมื่อมีปฎิกิริยากับความเศร้าหรือความกลัว หรือเป็นเหตุให้หัวใจสลายไปจริงๆเมื่อต้องเผชิญกับอารมณ์โศกเศร้า และเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการที่เราดูแลรักษาอวัยวะที่สำคัญที่สุดของเรานี้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
16:02

Thai subtitles

Revisions