Return to Video

ทำไมการตีตราว่าเด็ก "มีพรสวรรค์" เป็นสิ่งไม่ดี

  • 0:07 - 0:09
    ตอนที่ฉันอายุ 5 ปี
  • 0:09 - 0:12
    ฉันถูกพาไปยังห้องเล็ก ๆ
    และให้แก้โจทย์ชุดปริศนา
  • 0:12 - 0:15
    ทั้งคุณครูและพ่อแม่ของฉัน
    บอกว่าแค่ทำสนุก ๆ
  • 0:15 - 0:18
    และผลทดสอบนี้ไม่มีความหมายอะไร
  • 0:18 - 0:21
    แต่พ่อแม่ของฉันมีความสงสัย
    และคาดหวังไว้อยู่ลึก ๆ ว่าฉันจะทำได้ดี
  • 0:21 - 0:24
    พวกเขารู้ว่า ถ้าฉันทำได้ดี
    จะทำให้ฉันได้รับโอกาสอะไรบ้าง
  • 0:24 - 0:27
    ฉันเข้าใจบ้างเล็กน้อยว่า
    การทดสอบนี้มีขึ้นเพื่ออะไร
  • 0:27 - 0:31
    แต่ฉันไม่เข้าใจว่าทำไม
    ประโยค รูปทรง และตัวเลขเหล่านั้น
  • 0:31 - 0:33
    จะกำหนดแนวทางการใช้ชีวิตของฉัน
  • 0:33 - 0:37
    8 ปีให้หลัง มีเด็กกลุ่มหนึ่ง
    ที่นั่งรวมกันอยู่รอบ ๆ โต๊ะ
  • 0:37 - 0:39
    ถูกเรียกออกจากห้อง ในขณะที่
    เด็กคนอื่นอยู่ในห้องเรียนตามปกติ
  • 0:39 - 0:41
    เรารู้แค่ว่าถูกเรียกประชุมเฉย ๆ
  • 0:41 - 0:45
    ตั้งแต่ที่ฉันทำผลทดสอบนั้นได้ดี
    เราก็ถูกเรียกประชุมสองสามครั้งต่อสัปดาห์
  • 0:45 - 0:47
    หลายโรงเรียน มีโครงการประเภทนี้
  • 0:47 - 0:50
    แต่โรงเรียนของฉันเรียกว่า Gifted and
    Talented Education
  • 0:50 - 0:54
    คำเรียกซึ่งหมายความว่า เราทำผลทดสอบได้ดี
    และมีความสามารถเกินระดับอายุ
  • 0:54 - 0:56
    แล้วมันหมายความว่าอย่างไร?
  • 0:56 - 0:58
    มันฟังดูเหมือนคุณได้รับของขวัญ
  • 0:58 - 1:01
    ของขวัญนั้นคือ สมองที่พิเศษของคุณ
  • 1:01 - 1:04
    ในวันนั้น ฉันค่อนข้างเกรงกลัว
  • 1:04 - 1:08
    กิจกรรมที่เรากำลังจะทำ
    คือการเขียนบทพูด TED-Ed Talks ของเราเอง
  • 1:08 - 1:10
    และฉันก็ได้ตัดสินใจที่จะทำ
  • 1:10 - 1:13
    เกี่ยวกับปัญหาของกลุ่มที่อัดแน่นไปด้วยการเรียน
    นั่นก็คือ "นักเรียนมีพรสวรรค์"
  • 1:13 - 1:16
    ฉันเตรียมรับผลที่จะเกิดจากการเขียน
  • 1:16 - 1:18
    พอฉันลุกขึ้นอ่านสิ่งที่ฉันเขียน
    ให้ทุกคนในกลุ่มฟัง
  • 1:18 - 1:22
    ฉันเห็นว่าแววตาของหลายคนเป็นประกาย
    และมีความเคลื่อนไหวบางอย่าง
  • 1:22 - 1:25
    พวกเราแบ่งปันเรื่องราว ว่าการเป็น
    เด็กในโครงการพิเศษ
  • 1:25 - 1:27
    ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของพวกเรา
  • 1:27 - 1:29
    พวกเราเล่าถึงการถูกจัดกลุ่ม
    ให้เป็น "เด็กเก่ง"
  • 1:29 - 1:32
    ถูกบังคับให้มีสังคมเฉพาะ
    และถูกเฝ้าจับผิด
  • 1:32 - 1:34
    ถูกบังคับให้ใช้ชีวิต
    ตามที่ตีตราว่า "เด็กพิเศษ"
  • 1:34 - 1:37
    ถึงแม้เราจะไม่เคยรู้สึก
    ว่าเราแตกต่างจากคนอื่นเลย
  • 1:37 - 1:41
    เราพูดคุยกันถึงความคาดหวังที่มีต่อพวกเรา
    ตั้งแต่อายุยังน้อย ความกังวลที่ตามมา
  • 1:41 - 1:43
    และความสมบูรณ์แบบ
    ซึ่งอาจติดตัวเราไปตลอดชีวิต
  • 1:43 - 1:45
    รู้ไหมทำไมความผิดพลาดของเรา
    ถึงใหญ่หลวงนัก
  • 1:45 - 1:48
    เพราะว่าเราถูกมองว่าเป็นเด็กพิเศษ
    ตั้งแต่กำเนิด
  • 1:48 - 1:52
    และควรจะเป็นที่หนึ่งในโครงการพิเศษ
  • 1:52 - 1:55
    อ้างอิงจาก
    สมาคมนักเรียนที่มีพรสวรรค์แห่งชาติ
  • 1:55 - 1:59
    บอกว่านักเรียน 3 ถึง 5 ล้านคน
    ได้รับการศึกษาในโครงการพิเศษ
  • 1:59 - 2:01
    ฉันเข้าสู่ระบบนี้ ตั้งแต่อนุบาล
  • 2:01 - 2:03
    ตั้งแต่เมื่อตอนที่เข้าทดสอบ IQ
  • 2:03 - 2:05
    แต่ทำไมต้องเป็นฉัน?
  • 2:05 - 2:07
    กลายเป็นว่าเรื่องนี้
    เกี่ยวกับตัวฉันเองน้อยมาก
  • 2:07 - 2:11
    แต่มันเกี่ยวกับสภาวะของชีวิตฉันมากกว่า
  • 2:11 - 2:16
    ฉันมีพ่อแม่ที่ดูแลเรื่องอาหารการกิน
    ให้การดูแลสุขภาพที่เหมาะสม
  • 2:16 - 2:19
    เลือกที่อยู่ที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี
    และอ่านหนังสือให้ฉันฟังบ่อย ๆ
  • 2:19 - 2:22
    ดังนั้นเมื่อฉันเข้าเรียนอนุบาล
    ฉันจึงนำหน้าคนส่วนใหญ่ไปแล้ว
  • 2:22 - 2:25
    แล้วเด็ก ๆ ที่ไม่ได้มีพ่อแม่อย่างฉันล่ะ?
  • 2:25 - 2:28
    แล้วเด็ก ๆ ที่เติบโตมาในสภาพแวดล้อม
    ที่ต่างจากฉันโดยสิ้นเชิงล่ะ?
  • 2:28 - 2:32
    กลายเป็นว่า เชื้อชาติและระดับรายได้
    ส่งผลอย่างรุนแรง
  • 2:32 - 2:35
    ต่อการที่เด็กคนหนึ่ง
    ได้เข้าเรียนในโครงการพิเศษ
  • 2:35 - 2:40
    ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย มีเพียง 10% ของ
    นักเรียนแอฟริกัน-อเมริกัน
  • 2:40 - 2:44
    และ 14% ของนักเรียนชาติพันธุ์ละติน
    ที่อ่านหนังสือออกภายในชั้น ป.3
  • 2:44 - 2:46
    ต่อให้เราปรับเปลี่ยนกลุ่มรายได้
  • 2:46 - 2:50
    ก็มีเพียง 14% ของนักเรียนแอฟริกัน-อเมริกัน
    และ 58% ของนักเรียนผิวขาว
  • 2:50 - 2:53
    ที่อ่านได้อย่างคล่องแคล่วภายในชั้น ป.3
  • 2:53 - 2:56
    ในช่วงเวลานี้เองที่เด็ก ๆ
    ควรจัดให้เรียนในโครงการพิเศษ
  • 2:56 - 3:00
    เป็นเวลาที่ความสามารถตั้งแต่เกิดของเด็ก
    กำหนดโอกาสที่พวกเขาจะได้รับ
  • 3:00 - 3:01
    ไปตลอดชั่วชีวิต
  • 3:01 - 3:04
    แต่จะเป็นอย่างไร ถ้าความสามารถ
    ที่คิดว่ามีมาตั้งแต่เกิด
  • 3:04 - 3:08
    เป็นผลที่มาจากสภาวะของชีวิตล่ะ?
  • 3:08 - 3:13
    เป็นเพราะความแตกต่างนี้ ที่ทำให้
    คนที่ล้าหลังเพื่อน ก็ยังคงอยู่ที่เดิม
  • 3:13 - 3:15
    กลายเป็นว่า ตัวฉันในตอนอนุบาล
  • 3:15 - 3:18
    อาจไม่ได้พิเศษกว่าเพื่อนคนอื่น ๆ
  • 3:18 - 3:21
    ฉันเพียงถูกเลี้ยงดูมาใน
    สภาพแวดล้อมที่ดี มีผิวขาว
  • 3:21 - 3:23
    และมีที่บ้านช่วยสอนอ่านหนังสือ
  • 3:23 - 3:25
    แต่จะเป็นอย่างไร
    ถ้าฉันมีผลการเรียนที่ดีในระบบ
  • 3:25 - 3:28
    เพราะพ่อแม่คาดหวังในตัวฉันสูง
  • 3:28 - 3:30
    และผลักดันให้ฉันทำในสิ่งเหล่านั้น?
  • 3:31 - 3:35
    โครงการพิเศษถูกตั้งขึ้นมาด้วยความคิดที่ว่า
    สติปัญญาเป็นสิ่งตายตัว
  • 3:35 - 3:39
    ประมาณ 6% ของนักเรียน
    โรงเรียนรัฐ ถูกจัดเข้าระบบนี้
  • 3:39 - 3:42
    แต่สติปัญญาของคนนั้น
    เสื่อมลงและเพิ่มพูนขึ้นได้
  • 3:42 - 3:45
    ขึ้นกับความท้าทายที่เราแสวงหาได้เอง
  • 3:45 - 3:47
    สติปัญญาสามารถปรากฏได้หลากหลายรูปแบบ
  • 3:47 - 3:49
    สติปัญญาไม่จำเป็นต้องป่าวประกาศให้ใครรู้
  • 3:49 - 3:54
    บ่อยครั้งที่การให้ความสำคัญกับสติปัญญาของเรา
    มักมองข้ามลักษณะสำคัญอื่น ๆ ไป
  • 3:54 - 3:57
    เช่น ความช่างสงสัย ความคิดสร้างสรรค์
    และการฝ่าฟันอุปสรรค
  • 3:57 - 4:00
    และในท้ายที่สุดแล้ว
    การถูกตีตราว่า "มีพรสวรรค์"
  • 4:00 - 4:03
    อาจกลายเป็นการสูญเสียความเชื่อมั่น
    ต่อศักยภาพในการเรียนรู้ของเรา
  • 4:03 - 4:06
    และในท้ายสุด
    นั่นแหละคือตัวกำหนดชีวิตเรา
  • 4:06 - 4:10
    แล้วทำอย่างไรเราจะพัฒนาระบบการศึกษา
    ให้เป็นการศึกษาที่ส่งเสริมนักเรียนทุกคน
  • 4:10 - 4:15
    โดยที่ไม่แบ่งแยกพวกเขา
    ด้วยนิยามสติปัญญาที่คับแคบของเรา?
  • 4:15 - 4:20
    เราต้องเริ่มจากการเชื่อมั่นในนักเรียน
    ด้วยการใช้โครงการขนาดใหญ่
  • 4:20 - 4:22
    ในห้องเรียนโดยอิงตามความสนใจของพวกเขา
  • 4:22 - 4:26
    และให้ความสำคัญกับความสนใจ
    ที่อยู่นอกหลักสูตรขั้นสูง
  • 4:26 - 4:30
    เราควรหยุดการนำเด็กเข้าเรียน
    ในโครงการพิเศษในช่วงชั้นประถมต้น
  • 4:30 - 4:35
    เมื่อความสามารถมีผลกระทบมาก
    จากความแตกต่างของรายได้และสิ่งแวดล้อม
  • 4:35 - 4:37
    เราควรนำเงินไปช่วยกิจกรรมหลังเลิกเรียน
  • 4:37 - 4:41
    ที่จะพาไปสำรวจการประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
    และหัวข้อพิเศษอื่น ๆ
  • 4:41 - 4:47
    ที่สำคัญที่สุด เราควรให้เวลาและพื้นที่
    กับเด็ก ๆ ในการสำรวจออกหาความรู้
  • 4:47 - 4:49
    และสำหรับผู้ปกครองและคุณครู
  • 4:49 - 4:54
    จะเป็นอย่างไร ถ้าเรามีบทบาทในการกระตุ้นความอยากรู้
    ความเห็นอกเห็นใจ และความคิดสร้างสรรค์
  • 4:54 - 4:57
    แทนที่จะมาระบุว่าเด็กคนไหนมีพรสวรรค์?
  • 4:58 - 5:02
    จะเป็นอย่างไร ถ้าเราแสดงให้เด็กเห็น
    ว่าเขาจะเติบโตได้อย่างไร
    แทนการกำหนดให้พวกเขาเป็นอะไร?
  • 5:02 - 5:08
    แทนที่จะนิยามว่าเด็กมีพรสวรรค์คืออะไร
    ทำไมไม่สร้างห้องเรียนสำหรับเด็กทุกคนล่ะ?
  • 5:08 - 5:10
    มีเด็ก ๆ ที่กำลังสับสนในตัวตนของพวกเขา
  • 5:10 - 5:14
    เด็กที่ท้าทายมาตรฐานของเรา
    เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
    เด็กที่มีความฝัน
  • 5:14 - 5:18
    แสดงให้พวกเขาเห็น ว่าพรสวรรค์ของเขา
    สามารถเปลี่ยนแปลงโลกของเราได้เช่นกัน
  • 5:18 - 5:19
    ขอบคุณค่ะ
Title:
ทำไมการตีตราว่าเด็ก "มีพรสวรรค์" เป็นสิ่งไม่ดี
Description:

เมื่อเอวา เอชาร์ด (Ava Echard) อายุ 5 ปี เธอทำข้อสอบที่ทำให้เธอได้เข้าเรียนในโครงการพรสวรรค์และความสามารถพิเศษ แม้การเข้าร่วมโครงการนี้ทำให้เอวาได้รับโอกาสหลายอย่าง แต่ก็ทำให้เธออดสงสัยไม่ได้ว่า อะไรที่ทำให้เธอ "พิเศษ" และเหตุใดจึงระบุความพิเศษนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย ในปัจจุบันที่เธอกำลังเรียนมัธยมปลาย เอวาตั้งข้อสงสัยว่าการตีตราให้เธอเป็นเด็ก "มีพรสวรรค์และความสามารถ" ทำให้เธอได้เปรียบมากกว่าความสามารถตามธรรมชาติเองหรือไม่ ในการพูดครั้งนี้ เอวาอธิบายว่าทำไมโรงเรียนควรพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถตามธรรมชาติกับการเลี้ยงดู และให้ความสำคัญกับการสนับสนุนและส่งเสริมความสามารถที่หลากหลายซึ่งมีอยู่ในตัวนักเรียน

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:22

Thai subtitles

Revisions