Return to Video

First and second ionization energy | Atomic structure and properties | AP Chemistry | Khan Academy

  • 0:00 - 0:02
  • 0:02 - 0:04
    ในวิดีโอที่แล้ว เราได้พูดถึงแต่
  • 0:04 - 0:05
    พลังงานไอออไนเซชันอันดับหนึ่ง
  • 0:05 - 0:07
    ในวิดีโอนี้ เราจะเปรียบเทียบ
  • 0:07 - 0:09
    พลังงานไอออไนเซชันอันดับหนึ่งและสอง
  • 0:09 - 0:12
    และเราจะใช้ลิเธียมเป็นตัวอย่าง
  • 0:12 - 0:13
    ในวิดีโอที่แล้ว เรา
  • 0:13 - 0:16
    รู้แล้วว่าลิเธียมมีเลขอะตอมเป็น 3
  • 0:16 - 0:18
    มันจึงมีโปรตอน 3 ตัวในนิวเคลียส
  • 0:18 - 0:21
    ในอะตอมลิเธียมที่เป็นกลาง จำนวนอิเล็กตรอน
  • 0:21 - 0:22
    เท่ากับจำนวนโปรตอน เราจึง
  • 0:22 - 0:25
    รู้ว่ามีอิเล็กตรอน 3 ตัวในลิเธียมตรงนี้
  • 0:25 - 0:29
    การจัดอิเล็กตรอนคือ 1s2 2s1
  • 0:29 - 0:31
    เรามีอิเล็กตรอน 2 ตัวใน 1s ออร์บิทัล
  • 0:31 - 0:33
    เราก็ลงมือใส่อิเล็กตรอน
  • 0:33 - 0:36
    2 ตัวใน 1s ออร์บิทัลอย่างนั้นได้
  • 0:36 - 0:37
    แล้วเรามีอิเล็กตรอนอีกหนึ่งตัว
  • 0:37 - 0:40
    และอิเล็กตรอนนั้นจะอยู่ใน
    ชั้น 2s ออร์บิทัลอย่างนี้
  • 0:40 - 0:44
    นั่นคือภาพง่ายๆ
  • 0:44 - 0:46
    สำหรับอะตอมลิเธียมเป็นกลาง
  • 0:46 - 0:48
    ถ้าเราให้พลังงานมากพอ เราก็เอา
  • 0:48 - 0:50
    อิเล็กตรอนตัวนอกนี้ออกได้
  • 0:50 - 0:52
    เราก็ดึงอิเล็กตรอนนั้นออกไป
  • 0:52 - 0:57
    และเราเรียกมันว่า
    พลังงานไอออไนเซชันอันดับหนึ่ง
  • 0:57 - 1:00
    เพื่อดึงอิเล็กตรอนนั้นออกไป เราใช้
  • 1:00 - 1:04
    ประมาณ 520 กิโลจูลต่อโมล
  • 1:04 - 1:06
    และเมื่อเราดึงอิเล็กตรอนนั้นออกไป
  • 1:06 - 1:10
    เราจะไม่ได้มีอะตอมลิเธียม
    ที่เป็นกลางอีกต่อไป จริงไหม?
  • 1:10 - 1:12
    เรามีลิเธียมไอออนเพราะเรายังมี
  • 1:12 - 1:15
    ประจุบวก 3 ในนิวเคลียส
  • 1:15 - 1:18
    แต่เรามีประจุลบแค่ 2 ตัวตรงนี้
  • 1:18 - 1:21
    เรามีอิเล็กตรอนแค่ 2 ตัว
    เพราะเราดึงตัวหนึ่งออกไป
  • 1:21 - 1:23
    3 ลบ 2 ให้ค่าเป็นบวก 1
  • 1:23 - 1:27
    นี่คือลิเธียม บวก 1 แคทไอออน
  • 1:27 - 1:29
    และการจัดอิเล้กตรอนจะเป็น
  • 1:29 - 1:35
    1s2 เพราะเราเสียอิเล็กตรอน
    ใน 2s ออร์บิทัลไป
  • 1:35 - 1:36
    แล้วเราก็ทำต่อได้
  • 1:36 - 1:39
    เราให้พลังงานอีก
    และดึงอิเล็กตรอนอีกตัวออกไป
  • 1:39 - 1:43
    สมมุติว่าคราวนี้เราดึงอิเล็กตรอนตัวนี้ออกไป
  • 1:43 - 1:46
    โอเค เราจะเอาอิเล็กตรอนตัวที่สองออกไป
  • 1:46 - 1:48
    เราจะไม่เรียกค่านี้ว่าพลังงานไอออไนเชชัน 1
  • 1:48 - 1:51
    เราจะเรียกมันว่าพลังงานไออไนเซชัน 2
  • 1:51 - 1:53
    เพราะพลังงานนี้เอา
    อิเล็กตรอนตัวที่สองออกไป
  • 1:53 - 1:58
    และค่านี้ปรากฏว่าเท่ากับ 7,298 กิโลจูล
  • 1:58 - 1:59
    ต่อโมล
  • 1:59 - 2:02
    และถ้าเรานำอิเล็กตรอนตัวที่สองนั้นออกไป
  • 2:02 - 2:05
    เราจะยังคงมีประจุบวก 3 ตัวในนิวเคลียส
  • 2:05 - 2:08
    แต่เรามีประจุลบแค่ 1 ตัวตอนนี้
  • 2:08 - 2:10
    มันมีอิเล็กตรอนแค่ตัวเดียว มันจึงไม่ใช่
  • 2:10 - 2:12
    ลิเธียมบวก 1 แคทไอออนอีก
  • 2:12 - 2:15
    ตัวนี้คือลิเธียมบวก 2 แคทไอออน
    เพราะ 3 ลบ 1
  • 2:15 - 2:16
    เป็นบวก 2
  • 2:16 - 2:20
    นี่คือลิเธียมบวก 2 ตรงนี้ และการจัดอิเล็กตรอน
  • 2:20 - 2:25
    จะมีอิเล็กตรอนแค่ตัวเดียวใน 1s ออร์บิทัล
    ได้ 1s1
  • 2:25 - 2:27
    เราจึงเห็นได้ว่า พลังงานไอออไนเซชัน
  • 2:27 - 2:29
    อันดับหนึ่งต่างจาก
  • 2:29 - 2:35
    พลังงานไอออไนเซชันอันดับสองมาก
    คือ 520 กับ 7,298
  • 2:35 - 2:38
    ลองดูว่าเราอธิบาย
  • 2:38 - 2:41
    ความแตกต่างระหว่างพลังงานไอออไนเซชัน
  • 2:41 - 2:42
    มหาศาลได้ไหม
  • 2:42 - 2:44
    เราจะใช้ปัจจัยสามอย่างที่เรา
  • 2:44 - 2:46
    พูดถึงไปในวิดีโอที่แล้วกัน
  • 2:46 - 2:50
    ปัจจัยแรกที่เราพูดถึงคือประจุนิวเคลียร์
  • 2:50 - 2:54
    ซึ่งหมายถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส
  • 2:54 - 2:58
    ถ้าเราดูอะตอมลิเธียมที่เป็นกลาง
  • 2:58 - 3:00
    ประจุบวก 3 ตัวในนิวเคลียส
  • 3:00 - 3:01
    ประจุบวกนั้นคือสิ่งที่
  • 3:01 - 3:06
    ดึงดูดอิเล็กตรอนนี่ตรงนี้
  • 3:06 - 3:08
    ถ้าเราดูที่ลิเธียม บวก 1
  • 3:08 - 3:10
    แคทไอออน สถานการณ์คล้ายกัน
  • 3:10 - 3:13
    เรายังคงมีโปรตอน 3 ตัวในนิวเคลียส
  • 3:13 - 3:15
    ประจุบวกนั้นคือสิ่ง
  • 3:15 - 3:19
    ที่ดึงดูดอิเล็กตรอนนี้เช่นกัน
  • 3:19 - 3:21
    และเนื่องจากมีโปรตอนเท่ากัน
  • 3:21 - 3:24
    เราจึงต้องคิดถึงประจุนิวเคลียสยังผล
  • 3:24 - 3:26
    แทนที่จะนับจำนวนโปรตอน
    ในนิวเคลียสอย่างเดียว
  • 3:26 - 3:29
    ก่อนที่เราจะทำ เราต้องพิจารณา
  • 3:29 - 3:30
    ผลของการกีดกันจากอิเล็กตรอน
  • 3:30 - 3:33
    ลองพูดถึงการกีดกันจาก
    อิเล็กตรอนเป็นอย่างต่อไป
  • 3:33 - 3:37
    electron shielding หรือเรียกว่า
    electron screening
  • 3:37 - 3:41
    electron shielding/ screening
  • 3:41 - 3:44
    เมื่อเราพูดถึงการกีดกันจากอิเล็กตรอน
  • 3:44 - 3:46
    เราจะคิดถึงอิเล็กตรอนชั้นในตรงนี้
  • 3:46 - 3:48
    กลับไปที่อะตอมลิเธียมที่เป็นกลาง
  • 3:48 - 3:52
    อิเล็กตรอนชั้นในสองตัวนี่ตรงนี้
  • 3:52 - 3:56
    จะผลักอิเล็กตรอนชั้นนอกตัวนี้
  • 3:56 - 3:59
    ตัวนี้จะผลักตัวนี้เช่นกัน
  • 3:59 - 4:03
    เราคิดว่าพวกมันเป็นฉากกั้นอิเล็กตรอน
  • 4:03 - 4:08
    สีบานเย็นไม่ให้รู้สึกแรงของประจุบวก 3 เต็มๆ
  • 4:08 - 4:11
    ในนิวเคลียสเพราะ
    อิเล็กตรอนผลักอิเล็กตรอนตัวอื่น
  • 4:11 - 4:15
    และวิธีคำนวณผลของประจุนิวเคลียร์ --
  • 4:15 - 4:17
    เราทำไปแล้วในวิดีโอก่อน
  • 4:17 - 4:19
    เช่นกัน -- วิธีคำนวณ
  • 4:19 - 4:22
    ประจุนิวเคลียร์ยังผล คือนำจำนวนโปรตอนมา
  • 4:22 - 4:24
    คือบวก 3 แล้วจากนั้น คุณก็ลบ
  • 4:24 - 4:26
    จำนวนอิเล็กตรอนที่กั้น
  • 4:26 - 4:29
    ในกรณีนี้ มันคืออิเล็กตรอนสองตัวนี้
  • 4:29 - 4:30
    ใน 1s ออร์บิทัล
  • 4:30 - 4:34
    3 ลบ 2 ให้ประจุนิวเคลียร์ยังผล
  • 4:34 - 4:35
    เป็นบวก 1
  • 4:35 - 4:37
    แล้วอิเล็กตรอนสีบานเย็นไม่
  • 4:37 - 4:41
    รู้สึกถึงประจุนิวเคลียร์บวก 3
  • 4:41 - 4:44
    มันจะรู้สึกถึงแค่ประจุนิวเคลียร์ยังผล
  • 4:44 - 4:49
    มีค่าประมาณบวก 1 เพราะค่าจริงคือประมาณ 1.3
  • 4:49 - 4:51
    เมื่อคุณคำนวณซับซ้อนขึ้น
  • 4:51 - 4:57
    ผลของการกีดกั้นจากอิเล็กตรอน
  • 4:57 - 4:59
    คือลดประจุนิวเคลียร์โดยรวม
  • 4:59 - 5:01
    ที่อิเล็กตรอนสีบานเย็นนี้รู้สึก
  • 5:01 - 5:04
    แล้วเมื่อเราไปยังอิเล็กตรอนตัวนี้
  • 5:04 - 5:07
    ผมกำลังพูดถึงอิเล็กตรอนตัวนี้สีบานเย็น
  • 5:07 - 5:11
    สำหรับลิเธียม บวก 1 แคทไอออน
  • 5:11 - 5:12
    มันไม่ใช่สถานการณ์เดิม จริงไหม?
  • 5:12 - 5:14
    มันไม่ได้มีการกีดกั้นจากอิเล็กตรอนขนาดนั้น
  • 5:14 - 5:17
    อิเล็กตรอนนี่ตรงนี้อาจผลักนิดหน่อย
  • 5:17 - 5:19
    แต่มันไม่มีอิเล็กตรอนชั้นใน
  • 5:19 - 5:22
    ที่ผลักอิเล็กตรอนสีบานเย็น
  • 5:22 - 5:25
    และด้วยเหตุนั้น อิเล็กตรอนสีบานเย็น
  • 5:25 - 5:29
    จะรู้สึกถึงประจุบวก 3 นี้
  • 5:29 - 5:32
    รู้สึกถึงประจุบวก 3 ของนิวเคลียสมากกว่ามาก
  • 5:32 - 5:33
    เพราะฉะนั้น มันจะ
  • 5:33 - 5:36
    มีแรงดึงดูดมากกว่าที่ดึง
  • 5:36 - 5:39
    อิเล็กตรอนนี้สีบานเย็นเข้าหานิวเคลียสนี้
  • 5:39 - 5:41
    เพราะฉะนั้น คุณต้องใช้พลังงานมากขึ้น
  • 5:41 - 5:43
    เพื่อดึงอิเล็กตรอนตัวนี้ออกไป
  • 5:43 - 5:45
    ผลของการกีดกั้นจากอิเล็กตรอน
  • 5:45 - 5:48
    บอกคุณว่าอิเล็กตรอนตัวที่สอง
  • 5:48 - 5:50
    เอาออกยากกว่าตัวแรก เราจึง
  • 5:50 - 5:53
    พบว่าพลังงานไอออไนเซชันเพิ่มขึ้น
  • 5:53 - 5:56
    จากตัวที่หนึ่งไปตัวที่สอง
  • 5:56 - 5:57
  • 5:57 - 6:00
    ปัจจัยสุดท้ายที่เราพูดถึง คือระยะห่าง
  • 6:00 - 6:04
    ระยะห่างของอิเล็กตรอนสีบานเย็น
  • 6:04 - 6:06
    จากนิวเคลียส
  • 6:06 - 6:09
    ทางซ้าย เหมือนเดิม
    กลับไปยังอะตอมลิเธียมที่เป็นกลาง
  • 6:09 - 6:14
    อิเล็กตรอนนี้อยู่ในชั้นพลังงานที่สอง
  • 6:14 - 6:18
    มันห่างกว่าเทียบกับอิเล็กตรอนนี้
  • 6:18 - 6:22
    อิเล็กตรอนนี้อยู่ในชั้นพลังงานแรก ใน 1s2
  • 6:22 - 6:26
    ระยะนี่ตรงนี้ น้อยกว่าระยะทางซ้าย
  • 6:26 - 6:28
    และเนื่องจากระยะนั้นสั้นกว่า
  • 6:28 - 6:31
    อิเล็กตรอนสีบานเย็นนี้รู้สึก
  • 6:31 - 6:34
    ถึงแรงดึงดูดจากนิวเคลียสมากกว่า
  • 6:34 - 6:35
    เหมือนเดิม มันคือกฎของคูลอมบ์
  • 6:35 - 6:38
    เพราะฉะนั้น มันจึงมีแรงดึงดูดเพิ่มขึ้น
  • 6:38 - 6:43
    เพราะฉะนั้น คุณใช้พลังงาน
    ดึงอิเล็กตรอนออกมากกว่า
  • 6:43 - 6:46
    มันใช้พลังงานเพื่อดึงอิเล็กตรอนตัวที่สอง
  • 6:46 - 6:48
    มากกว่าตัวแรก นั่นคือ
  • 6:48 - 6:51
    สาเหตุที่เราเจอพลังงานไอออไนเซชันเพิ่มขึ้น
  • 6:51 - 6:54
    ระยะห่างบอกว่า เนื่องจากอิเล็กตรอนนี้ใกล้กว่า
  • 6:54 - 6:56
    มันจึงต้องใช้พลังงาน
    ดึงอิเล้กตรอนออกไปมากกว่า
  • 6:56 - 6:59
    และนั่นคือสาเหตุอีกอย่างที่เลข
  • 6:59 - 7:01
    พลังงานไอออไนเซชันที่สอง
  • 7:01 - 7:02
    มากกว่าอันดับหนึ่งมากๆ
  • 7:02 - 7:04
    มันใช้พลังงานมากกว่ามาก
  • 7:04 - 7:06
    เวลาดึงอิเล็กตรอนตัวที่สองออกไป
  • 7:06 - 7:10
    และนั่นอธิบายว่าทำไม
    เราจึงเห็นลิเธียมกลายเป็นบวก 1
  • 7:10 - 7:14
    แคทไทอออน เพราะมันไม่ได้ใช้พลังงานมาก
  • 7:14 - 7:17
    เวลาดึงอิเล็กตรอนหนึ่งตัวออกไป
    เทียบกับการดึงสองตัว
  • 7:17 - 7:19
    ไปเป็นลิเธียม 2 บวก
  • 7:19 - 7:22
    และนี่คือวิธีบอกอย่างหนึ่งว่า
    ไอออนจะเกิดขึ้นไหม
  • 7:22 - 7:27
    ดูพลังงานไอออไนเซชัน
    และเมื่อคุณเจอค่ากระโดด
  • 7:27 - 7:33
    มันจะบอกใบ้คุณว่า ไอออนไหนเกิดขึ้นง่ายกว่า
  • 7:33 - 7:34
Title:
First and second ionization energy | Atomic structure and properties | AP Chemistry | Khan Academy
Description:

more » « less
Video Language:
English
Team:
Khan Academy
Duration:
07:35

Thai subtitles

Revisions