Return to Video

Dividing Positive and Negative Numbers

  • 0:01 - 0:05
    วันนี้ เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับการคุณจำนวนบวกกับจำนวนลบกันนะครับ
  • 0:05 - 0:07
    ถ้าเราลองคิดว่าเราหารจำนวนเหล่านี้อย่างไร
  • 0:07 - 0:09
    เดี๋ยวคุณจะเห็นว่า ที่จริงแล้ว..
  • 0:09 - 0:11
    ก็มีวิธีการที่คล้ายกันมาก
  • 0:11 - 0:12
    เช่น ถ้าทั้งสองจำนวนเป็นจำนวนบวก
  • 0:12 - 0:15
    คุณก็จะได้คำตอบเป็นจำนวนบวก แต่ถ้า 1 เป็นจำนวนลบ
  • 0:15 - 0:19
    หรืออีกตัวหนึ่งเป็นจำนวนลบ คุณก็จะได้คำตอบเป็นจำนวนลบ
  • 0:19 - 0:23
    และถ้าทั้งสองจำนวนเป็นจำนวนลบ เครื่องหมายลบก็จะตัดกันออกไป ได้คำตอบเป็นจำนวนบวก
  • 0:23 - 0:26
    เราลองมาทำแบบฝึกหัดกันนะครับ ผมแนะนำให้คุณหยุดวิดีโอ แล้วทำด้วยตัวเองก่อน
  • 0:26 - 0:29
    เสร็จแล้ว ค่อยมาดูว่าคุณได้คำตอบเหมือนกับผมไหม
  • 0:29 - 0:33
    ถ้าแปด (8) หารด้วยลบสอง (-2)
  • 0:33 - 0:36
    สมมติว่า ผมเอา 8 หารด้วย 2 ก็จะได้..
  • 0:36 - 0:40
    สี่ (4) แต่เนื่องจากหนึ่งในจำนวนนี้เป็นจำนวนลบ
  • 0:40 - 0:45
    ตรงนี้ ดังนั้น คำตอบก็จะได้เป็นจำนวนลบ
  • 0:45 - 0:50
    ดังนั้น แปด (8) หารด้วยลบสอง (-2) จะได้ลบสี่ (-4)
  • 0:50 - 0:53
    คราวนี้ -16 หารด้วย 4
  • 0:53 - 0:54
    ตรงนี้ต้องระวังมาก ๆ เลยนะครับ
  • 0:54 - 1:00
    เพราะถ้าผมบอกว่า 16 หารด้วย 4 (จำนวนบวกทั้งคู่) ก็จะได้ 4
  • 1:00 - 1:03
    แต่เนื่องจากจำนวนหนึ่งในนี้เป็นจำนวนลบ
  • 1:03 - 1:05
    จำนวนหนึ่งในนี้เป็นจำนวนลบ
  • 1:05 - 1:09
    ดังนั้น ผมจะได้คำตอบเป็นจำนวนลบ
  • 1:09 - 1:12
    คราวนี้.. ผมเอาลบสามสิบ (-30) หารด้วยลบห้า (-5)
  • 1:12 - 1:17
    ถ้าเอาเลขสามสิบ (30) หารด้วยห้า (5) ก็จะได้หก (6)
  • 1:17 - 1:21
    แต่เนื่องจากผมมีจำนวนลบ หารด้วยจำนวนลบ
  • 1:21 - 1:26
    เครื่องหมายลบจะตัดกันออกไป ดังนั้น ผมจะได้คำตอบคือ หก (6)
  • 1:26 - 1:27
    ซึ่งผมอาจจะเขียนเครื่องหมายบวก (+) ตรงนี้ หรือไม่ต้องเขียนก็ได้
  • 1:27 - 1:30
    นี่คือจำนวนบวกหก (6)
  • 1:30 - 1:34
    จำนวนลบ หารด้วยจำนวนลบ ก็จะเหมือนกับจำนวนลบ คูณกับจำนวนลบ
  • 1:34 - 1:37
    คุณจะได้คำตอบเป็นจำนวนบวก
  • 1:37 - 1:39
    สิบแปด (18) หารด้วยสอง (2)
  • 1:39 - 1:41
    คำถามนี้ต้องคิดหน่อยนะครับ
  • 1:41 - 1:44
    นี่คือสิ่งที่คุณรู้อยู่แล้วก่อนที่จะเรียนเรื่องการหารจำนวนลบ
  • 1:44 - 1:47
    นี่คือจำนวนบวก หารด้วยจำนวนบวก
  • 1:47 - 1:49
    ก็จะได้คำตอบเป็นจำนวนบวก
  • 1:49 - 1:53
    ดังนั้น คำตอบจะได้บวกเก้า (9)
  • 1:53 - 1:56
    คราวนี้..เราลองมาทำโจทย์นี้ดูนะครับ
  • 1:56 - 1:58
    เป็นโจทย์ผสม
  • 1:58 - 2:01
    ที่มีทั้งการคูณ และหารอยู่ด้วยกัน
  • 2:01 - 2:04
    ตรงนี้ วิธีการเขียน
  • 2:04 - 2:06
    เราจะคูณตัวบนก่อน
  • 2:06 - 2:08
    ถ้าคุณไม่คุ้นกับเครื่องหมายจุดเล็ก ๆ นี้
  • 2:08 - 2:10
    นี่เป็นอีกวิธีหนึ่งในการเขียนเครื่องหมายคูณนะครับ
  • 2:10 - 2:12
    ผมจะเขียนเครื่องหมาย "x" เล็ก ๆ ตรงนี้
  • 2:12 - 2:16
    แต่ถ้าคุณเรียนพีชคณิตต่อไป จะนิยมใช้เครื่องหมายจุดมากกว่า
  • 2:16 - 2:17
    เพราะตัวอักษร X จะถูกเอาไปใช้ในกรณีอื่นแทน
  • 2:17 - 2:23
    เราไม่ต้องการให้สับสนกับตัวอักษร X
  • 2:23 - 2:26
    ซึ่งใช้เยอะมากในพีชคณิต
  • 2:26 - 2:28
    นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเราจึงนิยมใช้เครื่องหมายจุดกันมากกว่า
  • 2:28 - 2:31
    ครับ ถ้าลบเจ็ด (-7) คูณกับสาม (3)
  • 2:31 - 2:33
    เป็นตัวบน (เศษ) แล้วเราจะเอาผลที่ได้
  • 2:33 - 2:36
    หารด้วยลบหนึ่ง (-1)
  • 2:36 - 2:38
    สำหรับข้างบนนี้ ลบเจ็ด (-7) คูณกับสาม (3)
  • 2:38 - 2:41
    ถ้าเอา 7 คูณ 3 จะได้ 21
  • 2:41 - 2:45
    แต่เนื่องจากหนึ่งในจำนวนนี้เป็นจำนวนลบ
  • 2:45 - 2:47
    ดังนั้น จะได้คำตอบเป็น -21
  • 2:47 - 2:50
    ก็จะได้ -21 ส่วนด้วย -1
  • 2:50 - 2:52
    ก็คือ -21 หารด้วย -1
  • 2:52 - 2:55
    เครื่องหมายลบตัดกันออกไป ได้เป็นบวก
  • 2:55 - 2:58
    ดังนั้น คำตอบจะเท่ากับ 21
  • 2:58 - 3:00
    เดี๋ยวให้ผมเขียนสรุปทั้งหมดนี่ก่อนครับ
  • 3:00 - 3:03
    ถ้าผมเอาจำนวนบวก หารด้วยจำนวนลบ
  • 3:03 - 3:07
    จะได้จำนวนลบ
  • 3:07 - 3:11
    ถ้าเอาจำนวนลบ หารด้วยจำนวนบวก
  • 3:11 - 3:15
    ก็จะได้จำนวนลบ
  • 3:15 - 3:18
    ถ้าเอาจำนวนลบ หารด้วยจำนวนลบ
  • 3:18 - 3:20
    จะได้จำนวนบวก
  • 3:20 - 3:25
    และถ้าเอาจำนวนบวก หารด้วยจำนวนบวก
  • 3:25 - 3:28
    ก็จะได้จำนวนบวก
  • 3:28 - 3:29
    คราวนี้ เราลองมาทำโจทย์ข้อสุดท้ายกันนะครับ
  • 3:29 - 3:31
    ข้อนี้ เป็นการคูณทั้งหมด
  • 3:31 - 3:32
    ซึ่งน่าสนใจครับ เพราะเราจะคูณตัวเลข
  • 3:32 - 3:35
    3 จำนวน ซึ่งยังไม่เคยทำมาก่อน
  • 3:35 - 3:37
    เราอาจจะคูณจากซ้ายไปขวาตรงนี้
  • 3:37 - 3:39
    ถ้าเราคูณลบสอง (-2) กับ
  • 3:39 - 3:41
    ลบเจ็ด (-7)
  • 3:41 - 3:43
    -2 คูณกับ -7
  • 3:43 - 3:44
    ทั้งสองจำนวนเป็นจำนวนลบ
  • 3:44 - 3:45
    เครื่องหมายลบตัดกัน
  • 3:45 - 3:47
    ตรงส่วนนี้
  • 3:47 - 3:50
    ก็จะได้คำตอบเป็นจำนวนบวกสิบสี่ (14)
  • 3:50 - 3:51
    จากนั้น เราจะคูณ 14
  • 3:51 - 3:55
    กับลบหนึ่ง (-1)
  • 3:55 - 3:58
    ตอนนี้ เราจะคูณจำนวนบวก กับจำนวนลบ
  • 3:58 - 4:00
    ซึ่งหนึ่งในนี้เป็นจำนวนลบ
  • 4:00 - 4:01
    ดังนั้น คำตอบที่ได้จะเป็นจำนวนลบ
  • 4:01 - 4:05
    ก็จะได้คำตอบเท่ากับลบสิบสี่ (-14)
  • 4:05 - 4:06
    คราวนี้ ผมจะให้โจทย์อีกสักสองข้อนะครับ
  • 4:06 - 4:09
    ข้อนี้ เป็นปัญหาที่ต้องคิดหน่อย
  • 4:09 - 4:12
    จะเกิดอะไรขึ้นครับ ถ้าผมให้เลขศูนย์ (0) หารด้วย
  • 4:12 - 4:14
    ลบห้า (-5)
  • 4:14 - 4:17
    ครับ เลขศูนย์หารด้วย -5
  • 4:17 - 4:19
    เลขศูนย์ หารด้วยจำนวนใด ๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์
  • 4:19 - 4:22
    ก็จะได้เท่ากับศูนย์
  • 4:22 - 4:25
    แต่ถ้าเราทำกลับกัน
  • 4:25 - 4:27
    จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราบอกว่า ลบห้า (-5) หารด้วยศูนย์?
  • 4:27 - 4:30
    ครับ เราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณหารจำนวนใด ๆ ด้วยศูนย์
  • 4:30 - 4:32
    เราไม่เคยให้คำจำกัดความไว้
  • 4:32 - 4:35
    ตรงนี้มีข้อถกเถียงกันหลายอย่างว่าจะเขียนอย่างไร
  • 4:35 - 4:38
    ดังนั้น ปกติเราจะบอกว่า "ไม่มีคำจำกัดความ"
  • 4:38 - 4:43
    เราไม่เคยให้คำจำกัดความไว้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นถ้าจำนวนใด ๆ หารด้วยศูนย์
  • 4:43 - 4:46
    เช่นเดียวกัน ถ้าเราเอาเลขศูนย์คูณกับเลขศูนย์
  • 4:46 - 4:50
    ก็ยังไม่มีคำจำกัดความเช่นเดียวกัน
Title:
Dividing Positive and Negative Numbers
Description:

more » « less
Video Language:
English
Duration:
04:52

Thai subtitles

Revisions