Return to Video

เดต์คาส์กับระบบพิกัดคาร์ทีเชียน

  • 0:01 - 0:03
    ภาพนี่ตรงนี้คือภาพของเรอเน่ เดต์คาส์
  • 0:03 - 0:05
    เหมือนเดิม ปราชญ์ผู้ปราดเปรื่องคนหนึ่ง
  • 0:05 - 0:07
    ทั้งในคณิตศาสตร์และปรัชญา
  • 0:07 - 0:09
    และผมว่าคุณคงเห็นเทรนด์บ้างแล้ว
  • 0:09 - 0:13
    ว่านักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่มักเป็นนักคณิตศาสตร์ด้วย
  • 0:13 - 0:15
    และในทางกลับกันด้วย
  • 0:15 - 0:17
    เขาเป็นคนเรียกว่าร่วมสมัยกับกาลิเลโอก็ได้
  • 0:17 - 0:18
    เขาอายุน้อยกว่า 32 ปี
  • 0:18 - 0:21
    แม้ว่าจะตายหลังจากกาลิเลโอตายได้ไม่นาน
  • 0:21 - 0:23
    ชายคนนี้ตายตั้งแต่อายุยังน้อย,
  • 0:23 - 0:25
    กาลิเลโอไปดีตอนอายุ 70
  • 0:25 - 0:28
    แต่เดต์คาส์ตายเมื่อ, แค่ตอนอายุ 54 ปีเอง
  • 0:28 - 0:30
    และเขาอาจเป็นที่รู้จักในโลกสมัยนี้
  • 0:30 - 0:32
    จากคำพูดนี่ตรงนี้
  • 0:32 - 0:33
    คำกล่าวปรัชญาอย่างยิ่ง
  • 0:33 - 0:35
    "ฉันคิดฉันจึงดำรงอยู่"
  • 0:35 - 0:37
    แต่ผมยังอย่างใส่ให้ดู
  • 0:37 - 0:38
    และมันไม่เกี่ยวกับพีชคณิตเลย
  • 0:38 - 0:40
    แต่ผมคิดว่ามันเป็นคำพูดที่เนี๊ยบมาก
  • 0:40 - 0:42
    บางทีคำกล่าวที่ดังน้อยที่สุดของเขา
  • 0:42 - 0:44
    คืออันนี่ตรงนี้
  • 0:44 - 0:46
    ผมชอบมันเพราะมันใช้ได้จริงมาก
  • 0:46 - 0:48
    และมันทำให้คุณรู้ว่ามันสมองยิ่งใหญ่เหล่านี้
  • 0:48 - 0:51
    เสาหลักของปรัชญาและคณิตศาสตร์เหล่านี้
  • 0:51 - 0:52
    ที่สุดแล้ว
  • 0:52 - 0:54
    พวกเขาก็ยังคงเป็นมนุษย์ธรรมดา
  • 0:54 - 0:56
    เขาบอกว่า "คุณแค่สู้ต่อไป
  • 0:56 - 0:58
    คุณแค่สู้ต่อไป
  • 0:58 - 1:00
    ฉันพลาดทุกอย่างที่เป็นไปได้
  • 1:00 - 1:02
    แต่ฉันก็ยังสู้ต่อไป"
  • 1:02 - 1:05
    ซึ่งผมว่าเป็นคำแนะนำให้กับชีวิตที่ดีมากๆ
  • 1:05 - 1:07
    ทีนี้ เขาทำสิ่งต่างๆ มากมาย
  • 1:07 - 1:09
    ทั้งในปรัชญาและคณิตศาสตร์
  • 1:09 - 1:11
    แต่สาเหตุที่ผมพูดถึงเขา
  • 1:11 - 1:12
    ในขณะที่เรากำลังสร้างพื้นฐานเรื่องพีชคณิต
  • 1:12 - 1:15
    คือว่าเขาคือบุคคุล
  • 1:15 - 1:18
    ที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่าง
  • 1:18 - 1:21
    พีชคณิตกับเรขาคณิตได้มากที่สุด
  • 1:21 - 1:22
    ดูด้านซ้ายตรงนี้
  • 1:22 - 1:24
    คุณมีโลกของพีชคณิต
  • 1:24 - 1:26
    เราพูดถึงไปหน่อยแล้ว
  • 1:26 - 1:28
    คุณมีสมการที่ยุ่งกับสัญลักษณ์
  • 1:28 - 1:30
    และสัญลักษณ์เหล่านี้
  • 1:30 - 1:31
    ไว้ใช้เก็บค่า
  • 1:31 - 1:32
    คุณอาจมีอะไรอย่างเช่น
  • 1:32 - 1:37
    y = 2x - 1
  • 1:37 - 1:39
    ซึ่งบอกความสัมพันธ์
  • 1:39 - 1:40
    ว่า x คืออะไร
  • 1:40 - 1:42
    และ y คืออะไร
  • 1:42 - 1:44
    และเราสามารถสร้างตารางขึ้นตรงนี้
  • 1:44 - 1:46
    แล้วเลือกค่า x
  • 1:46 - 1:48
    แล้วดูว่าค่า y จะเป็นอะไร
  • 1:48 - 1:51
    ผมสามารถเลือกค่า x อย่างสุ่มมา
  • 1:51 - 1:53
    แล้วหาว่า y เป็นเท่าไหร่
  • 1:53 - 1:55
    แต่ผมจะเลือกค่าที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา
  • 1:55 - 1:57
    การคิดเลขจะได้ไม่ยุ่งมาก
  • 1:57 - 1:59
    ตัวอย่างเช่น
  • 1:59 - 2:00
    ถ้า x เป็น -2
  • 2:00 - 2:03
    แล้ว y จเเป็น 2 x -2 -1
  • 2:03 - 2:06
    2 x -2 -1
  • 2:06 - 2:10
    ซึ่งก็คือ -4 -1
  • 2:10 - 2:12
    ได้ -5
  • 2:12 - 2:14
    ถ้า x เป็ฯ -1
  • 2:14 - 2:20
    แล้ว y จะเป็น 2 x -1 -1
  • 2:20 - 2:21
    ซึ่งเท่ากับ
  • 2:21 - 2:24
    นี่คือ -2 -1 ได้ -3
  • 2:24 - 2:28
    ถ้า x = 0
  • 2:28 - 2:32
    แล้ว y จะเป็น 2 x 0 - 1
  • 2:32 - 2:35
    2 x 0 ได้ 0 -1 ก็แค่ -1
  • 2:35 - 2:37
    ผมจะทำเพิ่มอีก
  • 2:37 - 2:38
    ถ้า x เป็น 1
  • 2:38 - 2:39
    ผมจะเลือกค่าอะไรก็ได้ตรงนี้
  • 2:39 - 2:40
    ผมบอกได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
  • 2:40 - 2:42
    เมื่อ x เป็นลบสแควร์รูทของ 2
  • 2:42 - 2:45
    หรือเกิดอะไรขึ้นหาก x เป็น -5 ส่วน 2
  • 2:45 - 2:47
    หรือบวก 6 ส่วน 7
  • 2:47 - 2:49
    แต่ผมเลือกแค่เลขเหล่านี้
  • 2:49 - 2:50
    เพราะมันคิดเลขง่ายกว่ามาก
  • 2:50 - 2:52
    ตอนผมหาว่า y จะเป็นเท่าไหร่
  • 2:52 - 2:54
    แต่เมื่อ x เป็น 1
  • 2:54 - 2:57
    y จะเป็น 2(1) - 1
  • 2:57 - 2:59
    2 x 1 ได้ 2 - 1 เป็น 1
  • 2:59 - 3:03
    ผมจะทำอีกตัวนึง
  • 3:03 - 3:05
    ด้วยสีที่ผมยังไม่ได้ใช้
  • 3:05 - 3:06
    ลองดู สีม่วงนี่
  • 3:06 - 3:08
    ถ้า x เป็น 2
  • 3:08 - 3:09
    แล้ว y จะเป็น
  • 3:09 - 3:14
    2(2) -1 (ทีนี้ x เป็น 2)
  • 3:14 - 3:16
    นั่นก็คือ 4 -1, เท่ากับ 3
  • 3:16 - 3:17
    ใช้ได้
  • 3:17 - 3:19
    ผมแค่สุ่มดูความสัมพันธ์นี้
  • 3:19 - 3:22
    แต่ผมบอกว่าโอเค เจ้านี่บรรยายความสัมพันธ์โดยทั่วไป
  • 3:22 - 3:25
    ระหว่างตัวแปร y กับตัวแประ x
  • 3:25 - 3:26
    แล้วผมได้ทำให้มันชัดเจนขึ้นหน่อย
  • 3:26 - 3:28
    ผมบอกว่าโอเค
  • 3:28 - 3:29
    ถ้า x เป็นหนึ่งในค่าเหล่านี้
  • 3:29 - 3:31
    สำหรับค่า x แต่ละค่า
  • 3:31 - 3:33
    ค่า y ที่เข้าคู่กันเป็นเท่าไหร่?
  • 3:33 - 3:35
    สิ่งที่เดต์คาส์สังเกตคือ
  • 3:35 - 3:37
    ว่าคุณสามารถมองเจ้านี่ป็นภาพได้
  • 3:37 - 3:40
    สิ่งที่คุณภาพได้คือจุดแต่ละจุด
  • 3:40 - 3:42
    แต่มันยังช่วงให้คุณเห็น
  • 3:42 - 3:45
    ความสัมพันธ์นี้เป็นภาพได้ด้วย
  • 3:45 - 3:47
    สิ่งที่เขาทำจริงๆ คือ
  • 3:47 - 3:52
    เขาเชื่อมโยงโลกของพีชคณิตที่เต็มไปด้วยสัญลักษณ์นามธรรม
  • 3:52 - 3:55
    เข้ากับเรขาคณิตที่เน้น
  • 3:55 - 3:57
    เรื่องรูปร่าง ขนาด และมุม
  • 3:57 - 4:02
    แล้วตรงนี้ คุณมีโลกของเรขาคณิต
  • 4:02 - 4:04
    และแน่นอนว่ามีผู้คนในประวัติศาสตร์
  • 4:04 - 4:07
    บางทีหลายคนที่ประวัติศาสตร์ได้หลงลืมไป
  • 4:07 - 4:09
    ที่อาจทำเรื่องนี้ด้วย
  • 4:09 - 4:12
    แต่ก่อนยุคเดต์คาส์ เป็นแบบนี้
  • 4:12 - 4:14
    เรขาคณิตคือเรขาคณิตแบบยูคลิด
  • 4:14 - 4:16
    นั่นคือเรขาคณิตแท้ๆ
  • 4:16 - 4:17
    แบบที่คุณเรียนในวิชาเรขาคณิต
  • 4:17 - 4:20
    ตอนอยู่เกรด 8 9 หรือ 10
  • 4:20 - 4:22
    ในหลักสูตรไฮสคูลดั้งเดิม
  • 4:22 - 4:24
    และนั่นคือเรขาคณิตที่ศึกษา
  • 4:24 - 4:28
    ความสัมพันธ์ระหว่างสามเหลี่ยม และมุมของมัน
  • 4:28 - 4:30
    ความสัมพันธ์ระหว่างวงกลม
  • 4:30 - 4:33
    คุณมีรัศมีแล้วก็สามเหลี่ยม
  • 4:33 - 4:36
    อยู่ในวงกลม อะไรพวกนั้น
  • 4:36 - 4:37
    และเราจะลงลึกเรื่องนั้ัน
  • 4:37 - 4:39
    ในชุดวิดีโอเรื่องเรขาคณิต
  • 4:39 - 4:42
    แต่เดต์คาส์บอกว่า เอาล่ะ ผมว่าผมสามารถแสดงเจ้านี่เป็นภาพได้
  • 4:42 - 4:46
    แบบเดียวกับที่ยูคลิดศึกษาสามเหลี่ยมกับวงกลมเหล่านี้
  • 4:46 - 4:48
    เขาบอกว่า 'ทำไมฉันจะทำไม่ได้ล่ะ?'
  • 4:48 - 4:50
    หากเรามองกระดาษแผ่นนึง
  • 4:50 - 4:52
    หากเราคิดถึงระนาบ 2 มิติ
  • 4:52 - 4:53
    คุณอาจมองกระดาษแผ่นนึง
  • 4:53 - 4:55
    วาดเป็นส่วนนึงของระนาบ 2 มิติ
  • 4:55 - 4:57
    เราเรียกมันว่า 2 มิติ
  • 4:57 - 4:59
    เพราะมันมีทิศ 2 ทิศที่คุณไปได้
  • 4:59 - 5:01
    มีทิศขึ้นลง
  • 5:01 - 5:02
    นับเป็นหนึ่งทิศ
  • 5:02 - 5:04
    ขอผมเขียนลงไปนะ ผมใช้สีฟ้าแล้วกัน
  • 5:04 - 5:06
    เพราะเราพยายามมองภาพสิ่งต่างๆ
  • 5:06 - 5:08
    งั้นผมจะใช้สีให้ภาพสวยแล้วกัน
  • 5:08 - 5:11
    คุณก็มีทิศขึ้นลง
  • 5:11 - 5:14
    แล้วก็มีทิศซ้ายขวา
  • 5:14 - 5:16
    นั่นคือสาเหตุที่เขาเรียกว่าระนาบ 2 มิติ
  • 5:16 - 5:18
    หากเรายุ่งกับ 3 มิติ
  • 5:18 - 5:21
    คุณก็จะมีมิติเข้าออกอีกอันนึง
  • 5:21 - 5:23
    และการทำ 2 มิติบนหน้าจอมันง่าย
  • 5:23 - 5:25
    เพราะหน้าจอเป็น 2 มิติ
  • 5:25 - 5:27
    แล้วเขาบอกว่า "เอาล่ะ, คุณก็รู้,
  • 5:27 - 5:29
    มันตัวแปรอยู่สองตัว แล้วก็มีความสัมพันธ์นี้อยู่"
  • 5:29 - 5:32
    ทำไมฉันไม่ลองเขียนตัวแปรตัวแต่ละตัว
  • 5:32 - 5:34
    แทนลงในแต่ละมิติตรงนี้ล่ะ?"
  • 5:34 - 5:38
    โดยวิธีที่ตกลงกันทั่วไปนั้น เราให้ตัวแปร y
  • 5:38 - 5:39
    ซึ่งก็คือตัวแปรตาม
  • 5:39 - 5:40
    ตามที่เราทำมา
  • 5:40 - 5:41
    มันขึ้นอยู่กับว่า x คืออะไร
  • 5:41 - 5:43
    ลองใส่มันตามแกนดิ่ง
  • 5:43 - 5:45
    และใส่ตัวแปรอิสระ
  • 5:45 - 5:46
    อันที่เราเลือกค่าขึ้นมาอย่างสุ่ม
  • 5:46 - 5:48
    เพื่อดูว่า y จะเป็นอะไร
  • 5:48 - 5:50
    ลองใส่มันลงในแกนนอน
  • 5:50 - 5:52
    นั่นคือสิ่งที่เดต์คาส์
  • 5:52 - 5:55
    ผู้ตั้งวิธีการนี้ขึ้นมาใช้ x กับ y ตามนั้น
  • 5:55 - 5:58
    เราจะเห็นต่อไปว่า z ในพีชคณิต, เป็น
  • 5:58 - 6:02
    ตัวแปรไม่ทราบค่าอีกตัวที่คุณจัดการ
  • 6:02 - 6:03
    แต่เขาบอกว่า 'ถ้าเราคิดแบบนี้
  • 6:03 - 6:07
    ถ้าเราใส่ตัวเลขในแต่ละมิตินี้ล่ะก็'
  • 6:07 - 6:09
    งั้นสมมุติว่าในทิศ x
  • 6:09 - 6:15
    สมมุติว่าตรงนี้คือ -3
  • 6:15 - 6:17
    ให้นี่เป็น -2
  • 6:17 - 6:19
    นี่คือ -1
  • 6:19 - 6:21
    นี่คือ 0
  • 6:21 - 6:23
    ผมแค่ใส่ตัวเลขให้ทิศ x
  • 6:23 - 6:25
    คือทิศซ้ายขวา
  • 6:25 - 6:26
    ทีนี้นี่คือบวก 1
  • 6:26 - 6:28
    นี่คือบวก 2
  • 6:28 - 6:30
    และนี่คือบวก 3
  • 6:30 - 6:32
    เราก็ทำแบบเดียวกันทิศ y ได้
  • 6:32 - 6:34
    ลองดู เราก็ไป, นี่
  • 6:34 - 6:40
    ได้เป็น -5, -4, -3
  • 6:40 - 6:42
    ที่จริงผมทำให้เนี๊ยบกว่านี้หน่อย
  • 6:42 - 6:45
    ขอผมลบเจ้านี่หน่อยนะ
  • 6:45 - 6:47
    ขอผมลบอันนี้แล้วก็ขยายอันนี้ลงมาหน่อย
  • 6:47 - 6:49
    ผมจะได้ลงไปถึง -5 ได้
  • 6:49 - 6:51
    โดยไม่ทำให้มันเลอะเทอะมาก
  • 6:51 - 6:53
    ลองลงไปถึงตรงนี้
  • 6:53 - 6:54
    เราก็ใส่ตัวเลขลงไป
  • 6:54 - 6:58
    นี่คือ 1, นี่คือ 2, นี่คือ 2,
  • 6:58 - 7:00
    แล้วนี่ก็เป็น -1
  • 7:00 - 7:02
    -2 และนี่เป็นแค่วิธีตกลงร่วมกัน
  • 7:02 - 7:04
    เราตั้งค่าอีกแบบก็ได้
  • 7:04 - 7:05
    เราอาจเลือก x ไว้ตรงนี้
  • 7:05 - 7:06
    และ y ตรงนี้
  • 7:06 - 7:07
    แล้วให้ทางนี้เป็นทิศบวก
  • 7:07 - 7:09
    ให้ทิศนี้เป็นทิศลบ
  • 7:09 - 7:11
    แต่นี่เป็นข้อตกลลงที่คนใช้
  • 7:11 - 7:12
    เริ่มจากเดต์คาส์
  • 7:12 - 7:18
    -2, -3, -4 และ -5
  • 7:18 - 7:20
    แล้วเขาบอกว่า "ทีนี้อะไรก็ตามฉันก็โยงได้
  • 7:20 - 7:22
    ฉันสามารถโยงตัวเลขแต่ละคู่พวกนี้เข้ากับ
  • 7:22 - 7:25
    จุดในสองมิติได้"
  • 7:25 - 7:28
    ผมสามารถเอาค่าพิกัด x, ผมสามารถหาค่า x
  • 7:28 - 7:30
    นี่ตรงนี้และบอกว่า 'โอเค นั่นคือ -2
  • 7:30 - 7:34
    นั่นก็อยู่ตรงนี้ ในแนวซ้ายขวา
  • 7:34 - 7:35
    ฉันจะไปทางซ้ายเพราะมันเป็นลบ'
  • 7:35 - 7:39
    แล้วมันคู่กับลบ -5 ในแนวดิ่ง
  • 7:39 - 7:41
    ผมก็บอกว่าค่า y เป็น -5
  • 7:41 - 7:46
    แล้วหากผมไปทางซ้าย 2 และลงไป 5
  • 7:46 - 7:49
    ผมจะได้จุดนี่ตรงนี้
  • 7:49 - 7:53
    แล้วเขาบอกว่า 'ค่าสองค่านี้ -2 กับ -5
  • 7:53 - 7:55
    ฉันสามารถแทนมันได้ด้วยจุด
  • 7:55 - 7:59
    ในระนาบนี่ตรงนี้ ในระนาบสองมิติ
  • 7:59 - 8:02
    หรือฉันบอกว่า. จุดนั่นมีพิกัด
  • 8:02 - 8:06
    ซึ่งบอกว่าฉันว่าฉันจะหาจุด (-2,-5) ได้จากไหน'
  • 8:06 - 8:08
    ระบบพิกัดพวกนี้เรียกว่า "พิกัดคาร์ทีเชียน"
  • 8:08 - 8:12
    ตั้งตามเชื่อเรอน่ เดต์คาส์
  • 8:12 - 8:13
    เพราะเขาเป็นคนที่คิดมันขึ้นมา
  • 8:13 - 8:15
    เขาโยงความสัมพันธ์เหล่านี้
  • 8:15 - 8:17
    เข้ากับจุดในระนาบพิกัด
  • 8:17 - 8:19
    แล้วเขาก็บอกว่า 'เอาล่ะ โอเค ลองทำอีกสักอันW
  • 8:19 - 8:21
    มันมีคู่อื่นอีก
  • 8:21 - 8:27
    เมื่อ x เท่ากับ -1, y = -3
  • 8:27 - 8:30
    งั้น x คือ -1, y คือ -3
  • 8:30 - 8:31
    นั่นก็คือจุดนั่นตรงนั้น
  • 8:31 - 8:33
    วิธีการไล่ก็เหมือนเดิม
  • 8:33 - 8:34
    'ตอนคุณเขียนพิกัด,
  • 8:34 - 8:36
    คุณมีพิกัด x ก่อน, แล้วค่อยพิกัด y'
  • 8:36 - 8:38
    นั่นคือสิ่งที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้
  • 8:38 - 8:42
    -1, -3 นั่นก็คือจุดนั่นตรงนั้น
  • 8:42 - 8:45
    แล้วคุณมีจุดเมื่อ x เป็น 0, y เป็น -1
  • 8:45 - 8:48
    เมื่อ x เป็น 0 อยู่ตรงนี้,
  • 8:48 - 8:50
    หมายความว่าผมไม่ได้ไปซ้ายหรือขวา
  • 8:50 - 8:52
    y เป็น -1, ซึ่งหมายถึงผมลงไป 1
  • 8:52 - 8:56
    นั่นก็คือจุดนั่นตรงนั้น (0,-1)
  • 8:56 - 8:57
    ตรงนั้น
  • 8:57 - 8:58
    แล้วผมก็ทำต่อไป
  • 8:58 - 9:03
    เมื่อ x เป็น 1, y เป็น 1
  • 9:03 - 9:09
    เมื่อ x เป็น 2, y เป็น 3
  • 9:09 - 9:11
    ขอผมใช้สีม่วงเหมือนเดิมนะ
  • 9:11 - 9:15
    เมื่อ x เป็น 2, y เป็น 3
  • 9:15 - 9:20
    2,3 แล้วเจ้านี่ตรงนี้สีส้มคือ 1,1
  • 9:20 - 9:22
    และนี่ก็เจ๋งอยู่แล้ว
  • 9:22 - 9:24
    ผมสุ่มค่า x ที่เป็นไปได้ขึ้นมา
  • 9:24 - 9:25
    แต่สิ่งที่เขาค้นพบ
  • 9:25 - 9:27
    คือว่าคุณไม่ได้สุ่มค่า x ขึ้นมาอย่างเดียว
  • 9:27 - 9:29
    แต่ถ้าคุณสุ่มค่า x ขึ้นมาอีก
  • 9:29 - 9:31
    ถ้าคุณเลือกค่า x ทั้งหมดระหว่างนั้น
  • 9:31 - 9:34
    คุณก็จะพลอดเส้นตรงขึ้นมา
  • 9:34 - 9:36
    นั่นคือหากคุณคิดค่า x ที่เป็นไปได้ทุกค่า
  • 9:36 - 9:38
    คุณก็จะได้เส้นตรง
  • 9:38 - 9:44
    นั่นก็ดูใช่นะ.. ตรงนี้
  • 9:44 - 9:47
    และความสัมพันธ์... ความสัมพันธ์ใดๆ, หากคุณเลือกค่า x ใดๆ
  • 9:47 - 9:50
    และหาค่า y มันก็จะแทนจุดหนึ่งจุดบนเส้นตรงนี้
  • 9:50 - 9:52
    หรือวิธีขึ้นอีกอย่างคือว่า
  • 9:52 - 9:54
    จุดใดๆ ใดเส้นตรงนี้แทน
  • 9:54 - 9:57
    คำตอบของสมการนี้ตรงนี้
  • 9:57 - 9:58
    งั้นถ้าคุณมีจุดนี่ตรงนี้
  • 9:58 - 10:01
    ซึ่งดูเหมือนว่าคือ x เท่ากับ 1 ครึ่ง
  • 10:01 - 10:03
    y เป็น 2 ขอผมเขียนลงไปนะ
  • 10:03 - 10:07
    1.5, 2
  • 10:07 - 10:09
    นั่นเป็นคำตอบหนึ่งของสมการนี้
  • 10:09 - 10:13
    เมื่อ x เป็น 1.5, 2 x 1.5 ได้ 3 -1 เป็น 2
  • 10:13 - 10:15
    นั่นก็คือตรงนั้น
  • 10:15 - 10:17
    ทันใดนั้นเขาก็สามารถเชื่อมโยง
  • 10:17 - 10:22
    รอยต่อหรือความสัมพันธ์ระหว่างเรขาคณิตกับพีชคณิตได้
  • 10:22 - 10:27
    ตอนนี้เราสามารถเห็นภาพคู่ x กับ y ทั้งหมด
  • 10:27 - 10:31
    ที่เป็นไปตามสมการนี่ตรงนี้
  • 10:31 - 10:36
    และเขาเป็นผู้สร้างสะพานเชื่อมโยงนี้ขึ้นมา
  • 10:36 - 10:38
    นั่นคือสาเหตุที่ระบบพิกัด
  • 10:38 - 10:42
    ที่เราใช้ระบุจุดเหล่านี้เรียกว่า 'พิกัดคาร์ทีเชียน'
  • 10:42 - 10:45
    และอย่างที่เราจะเห็นต่อไป สมการแบบแรก
  • 10:45 - 10:48
    เราจะศึกษาสมกาารในรูปนี่ตรงนี้
  • 10:48 - 10:50
    และในหลักสูตรพีชคณิตดั้งเดิม
  • 10:50 - 10:52
    มันเรียกว่าสมการเชิงเส้น...
  • 10:52 - 10:55
    สมการเชิงเส้น
  • 10:55 - 10:57
    แล้วคุณอาจบอกว่า คุณก็รู้ นี่เป็นสมการ
  • 10:57 - 10:59
    ฉันเห็นว่านี่เท่ากับนั่น
  • 10:59 - 11:00
    แล้วมันมีเส้นตรงไหน?
  • 11:00 - 11:02
    อะไรทำให้มันเป็นเส้น?
  • 11:02 - 11:04
    การจะเห็นว่าเป็นเชิงเส้น,
  • 11:04 - 11:07
    ผมต้องกระโดดมาที่สิ่งที่เรอเน่ เดต์คาส์ทำ
  • 11:07 - 11:09
    เพราะหากคุณพลอตสมการนี้,
  • 11:09 - 11:10
    โดยใช้พิกัดคาร์ทีเชียน
  • 11:10 - 11:14
    บนระนาบยูคลิด คุณจะได้เส้นตรง
  • 11:14 - 11:15
    ในอนาคตคุณจะเห็นว่า
  • 11:15 - 11:17
    มีสมการแบบอื่นๆ ที่คุณไม่ได้เส้นตรงอีกด้วย
  • 11:17 - 11:21
    คุณจะได้เส้นโค้ง, บางครั้งก็ดูเพี้ยนๆ ประหลาดๆ ด้วย
Title:
เดต์คาส์กับระบบพิกัดคาร์ทีเชียน
Description:

การเชื่อมโยงพีชคณิตกับเรขาคณิต อะไรทำให้สมการเชิงเส้นเป็นเชิงส้น

more » « less
Video Language:
English
Duration:
11:22

Thai subtitles

Revisions