Return to Video

เหตุสะเทือนขวัญในวัยเด็ก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพไปชั่วชีวิตได้อย่างไร

  • 0:01 - 0:02
    ช่วงยุค 1990
  • 0:02 - 0:05
    ศูนย์ควบคุมป้องกันโรค (CDC)
    และองค์กรไกเซอร์ เพอมาเนนตะ
  • 0:05 - 0:09
    ได้ค้นพบปัจจัยเสี่ยง
    ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงอย่างเร็วมาก
  • 0:09 - 0:14
    ต่อการเกิดโรค 7 ใน 10 โรค
    ที่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในสหรัฐฯ
  • 0:15 - 0:18
    ถ้าได้รับปัจจัยเสี่ยงนี้มาก
    ก็จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของสมอง
  • 0:18 - 0:22
    ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบฮอร์โมน
  • 0:22 - 0:27
    แม้กระทั่งการอ่าน
    และแปลรหัสดีเอ็นเอของเรา
  • 0:27 - 0:30
    คนที่ได้รับปัจจัยเสี่ยงนี้ในระดับสูงมาก
  • 0:30 - 0:34
    จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและมะเร็งปอด
    มากกว่าปกติสามเท่า
  • 0:34 - 0:39
    และอายุขัยต่างจากผู้ไม่มีปัจจัยเสี่ยง 20 ปี
  • 0:40 - 0:46
    แต่แพทย์ในปัจจุบันก็ไม่ได้รับการฝึก
    ให้คัดกรองและรักษาปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว
  • 0:46 - 0:52
    ปัจจัยเสี่ยงที่ฉันพูดถึงนั้น
    ไม่ใช่ยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีบรรจุภัณฑ์
  • 0:52 - 0:54
    มันคือ เหตุสะเทือนขวัญในวัยเด็ก
  • 0:55 - 0:58
    ทีนี้ ดิฉับพูดถึงเหตุสะเทือนขวัญแบบไหนอยู่
  • 0:58 - 1:02
    ฉันไม่ได้กำลังพูดถึง การสอบตก หรือ
    แพ้การแข่งขันบาสเก็ตบอล
  • 1:02 - 1:07
    กำลังพูดถึง การคุกคามที่รุนแรง
    หรือไม่ก็แผ่กระจายไปมาก
  • 1:07 - 1:11
    จนมีผลถึงร่างกาย
    และเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาของเรา
  • 1:11 - 1:14
    อย่างเช่น การถูกทารุณกรรม การถูกทอดทิ้ง
  • 1:14 - 1:17
    หรือ โตขึ้นมากับพ่อหรือแม่
    ที่มีปัญหาอาการป่วยทางจิต
  • 1:17 - 1:19
    หรือติดสารเสพติด
  • 1:20 - 1:21
    เมื่อก่อน
  • 1:21 - 1:24
    ฉันมองสิ่งเหล่านี้ ในแบบที่ถูกฝึกมา
  • 1:24 - 1:29
    ว่าเป็นปัญหาด้านสังคม --
    ให้ส่งต่อฝ่ายบริการสังคม --
  • 1:29 - 1:33
    หรือไม่ก็มองเป็นปัญหาสุขภาพจิต --
    ให้ส่งต่อหน่วยบริการสุขภาพจิต
  • 1:34 - 1:40
    แล้วบางอย่างก็เกิดขึ้น ทำให้ฉันกลับมาคิดทบทวน
    วิธีปฏิบัติงานทั้งหมดของฉัน
  • 1:40 - 1:42
    เมื่อฉันจบการอบรมแพทย์ประจำบ้าน
  • 1:42 - 1:45
    ฉันต้องการไปทำงานในที่
    ที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นที่ต้องการจริงๆ
  • 1:45 - 1:49
    สถานที่ที่ฉันทำให้เกิดความแตกต่างขึ้นได้
  • 1:49 - 1:52
    ฉันจึงมาทำงานที่ศูนย์การแพทย์แปซิฟิค
    แคลิฟอร์เนีย
  • 1:52 - 1:55
    เป็นโรงพยาบาลเอกชน ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง
    ในรัฐแคลิฟอร์เนียตอนเหนือ
  • 1:55 - 2:00
    และร่วมกันเปิดคลินิค
    แถวเบย์วิว ฮันเตอร์ พ๊อยท์
  • 2:00 - 2:04
    หนึ่งในย่านที่ยากจนที่สุดและขาดแคลน
    บริการที่สุด ในเมืองซานฟรานซิสโก
  • 2:04 - 2:06
    ทีนี้ ก่อนหน้านั้น
  • 2:06 - 2:09
    ทั้งเบย์วิวมีกุมารแพทย์แค่เพียงคนเดียว
  • 2:09 - 2:12
    ดูแลรักษาเด็กกว่า 10,000 คน
  • 2:12 - 2:17
    เราก็เริ่มเปิดร้านหมอ
    และสามารถให้การดูแลรักษาที่มีคุณภาพสูงได้
  • 2:17 - 2:19
    ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีเงินจ่ายหรือไม่
  • 2:19 - 2:23
    มันเยี่ยมมากค่ะ เราตั้งเป้าไปที่ความไม่เท่าเทียมกัน
    ด้านสุขภาพทั่วๆ ไป
  • 2:23 - 2:28
    ได้แก่ การเข้าถึงการรักษา
    อัตราการฉีดวัคซีน การรับรักษาโรคหอบหืด
  • 2:28 - 2:30
    และเราก็ได้จำนวนเข้าเป้าทั้งหมด
  • 2:30 - 2:33
    เรารู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองอย่างมาก
  • 2:33 - 2:37
    แต่แล้ว ฉันก็เริ่มสังเกตเห็นแนวโน้ม
    ที่ทำให้ไม่สบายใจ
  • 2:37 - 2:41
    เด็กจำนวนมากถูกนำมาที่นี่ด้วยโรค ADHD
  • 2:41 - 2:44
    หรือโรคสมาธิสั้น
  • 2:44 - 2:48
    แต่เมื่อฉันได้ตรวจดูประวัติและร่างกาย
    อย่างตลอดถ้วนทั่ว
  • 2:48 - 2:52
    สิ่งที่พบ คือ คนไข้ส่วนมากของฉัน
  • 2:52 - 2:55
    ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่า เป็นโรค ADHD
  • 2:55 - 3:01
    เด็กๆ ส่วนใหญ่ที่ฉันตรวจ
    เคยประสบเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่รุนแรงมาก
  • 3:01 - 3:04
    จนรู้สึกเหมือนว่ามีอย่างอื่นแฝงอยู่
  • 3:04 - 3:08
    เหมือนกับว่าฉันพลาดสิ่งสำคัญบางอย่างไป
  • 3:10 - 3:13
    ค่ะ ก่อนที่จะมาเป็นแพทย์ประจำบ้าน
    ฉันได้ทำปริญญาโท ด้านสาธารณสุข
  • 3:13 - 3:16
    และสิ่งหนึ่งที่เขาสอน ในคณะสาธารณสุข
  • 3:16 - 3:18
    ก็คือ ถ้าคุณเป็นแพทย์
  • 3:18 - 3:22
    และคุณตรวจเด็ก 100 คน
    ที่ทุกคนดื่มนํ้าจากบ่อเดียวกัน
  • 3:22 - 3:25
    แล้วเด็ก 98 ในนั้น เป็นโรคท้องร่วง
  • 3:25 - 3:28
    คุณต้องเลือกเอาว่าจะเขียน
    ใบสั่งยาปฏิชีวนะ
  • 3:28 - 3:32
    ชุดแล้วชุดเล่า
  • 3:32 - 3:38
    หรือไม่คุณก็เดินไปดู และบอกว่า
    "อะไรอยู่ในบ่อกันล่ะเนี่ย?"
  • 3:38 - 3:42
    ฉันจึงเริ่มอ่านทุกอย่าง ที่จะหยิบฉวยได้
  • 3:42 - 3:44
    เกี่ยวกับการที่เด็กจะรับพิษภัยเข้าไป
  • 3:44 - 3:48
    ที่จะมีผลกระทบ ต่อพัฒนาการทางสมอง
    และร่างกายของเด็ก
  • 3:48 - 3:52
    แล้ววันหนึ่ง เพื่อนร่วมงานก็เดินเข้ามา
    ในที่ทำงาน
  • 3:52 - 3:56
    บอกว่า "หมอเบริก คุณเห็นนี่หรือยัง?"
  • 3:57 - 4:01
    ในมือเขา มีหนังสือรายงานการวิจัย
  • 4:01 - 4:04
    ชื่อว่า "การศึกษาประสบการณ์
    ในวัยเด็กที่เป็นพิษภัย"
  • 4:05 - 4:12
    วันนั้น ได้เปลี่ยนวิธีปฏิบัติงานการแพทย์
    และในที่สุด ก็เปลี่ยนงานอาชึพของฉัน
  • 4:12 - 4:15
    "การศึกษาประสบการณ์ในวัยเด็กที่เป็นพิษภัย"
  • 4:15 - 4:18
    เป็นสิ่งที่ทุกคนจำเป็นต้องรู้จัก
  • 4:18 - 4:23
    เขียนโดย ดร. วินซ์ เฟลิตติ จากไกเซอร์
    และ ดร. บ๊อบ แอนดา จาก CDC
  • 4:23 - 4:31
    และด้วยกัน เขาถามพวกผู้ใหญ่ 17,500 คน
    เกี่ยวกับประวัติของการรับพิษ
  • 4:31 - 4:36
    ที่พวกเขาเรียกว่า "ประสบการณ์ในวัยเด็ก
    ที่เป็นพิษภัย" หรือ เอซ (ACE)
  • 4:37 - 4:41
    เรื่องเหล่านั้นรวมถึง การข่มเหงทางร่างกาย
    ทางอารมณ์ และทางเพศ
  • 4:41 - 4:45
    การถูกทอดทิ้งทางร่างกาย หรือทางอารมณ์
  • 4:45 - 4:48
    การป่วยทางจิต การติดสารเสพติด
    การต้องขัง ของพ่อแม่
  • 4:48 - 4:51
    การแยกทางหรือหย่าร้างกัน ของพ่อแม่
  • 4:51 - 4:53
    หรือความรุนแรงในครอบครัว
  • 4:53 - 4:58
    ทุกๆ คำตอบที่บอกว่า ใช่ ได้คะแนนไป
    หนึ่ง คะแนนเอซ
  • 4:58 - 4:59
    แล้วสิ่งที่พวกเขาทำนั้น
  • 4:59 - 5:04
    ก็คือ เอาคะแนนเหล่านี้มาทำสหสัมพันธ์
    กับผลที่ได้เกี่ยวกับสุขภาพ
  • 5:05 - 5:08
    สิ่งที่พวกเขาพบนั้น น่าประหลาดใจ
  • 5:08 - 5:09
    มีอยู่สองอย่าง
  • 5:09 - 5:13
    อย่างแรก คะแนนเอซนั้น เป็นเรื่องปกติธรรมดา
    อย่างไม่น่าเชื่อ
  • 5:13 - 5:20
    67% ของประชากร มีอย่างน้อยที่สุด
    หนึ่งคะแนนเอซ
  • 5:20 - 5:26
    และ 12.6% หรือ หนึ่งในแปดมีคะแนนเอซ
    สี่หรือมากกว่า
  • 5:27 - 5:29
    อย่างที่สอง ที่พวกเขาพบ
  • 5:29 - 5:32
    ก็คือ มีความสัมพันธ์ของการตอบสนองกับ
    บริมาณพิษที่ได้รับ
  • 5:32 - 5:37
    ระหว่างคะแนนเอซ และผลลัพธ์ต่อสุขภาพ
  • 5:37 - 5:41
    คะแนนเอซยิ่งสูงเท่าไหร่
    ผลลัพธ์ต่อสุขภาพก็ยิ่งแย่ลงเท่านั้น
  • 5:41 - 5:44
    สำหรับคนที่มีคะแนนเอซ สี่หรือมากกว่านั้น
  • 5:44 - 5:48
    จะมีความเสี่ยงต่อโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • 5:48 - 5:52
    ถึงสองเท่าครึ่ง
    เมื่อเทียบกับผู้ที่คะแนนเอซเป็นศูนย์
  • 5:53 - 5:56
    สำหรับโรคตับอักเสบ
    ความเสี่ยงก็เป็นสองเท่าครึ่งด้วยเหมือนกัน
  • 5:56 - 6:00
    สำหรับโรคความซึมเศร้า เป็นสี่เท่าครึ่ง
  • 6:00 - 6:03
    พฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสิบสองเท่า
  • 6:03 - 6:06
    คนที่มีคะแนนเอซเป็นเจ็ดหรือมากกว่านั้น
  • 6:06 - 6:11
    มีความเสี่ยงสามเท่าที่จะเป็นมะเร็งปอด
  • 6:11 - 6:15
    และความเสี่ยงสามเท่าครึ่ง
    ที่จะเป็นโรคภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • 6:15 - 6:18
    หรือฆาตกรหมายเลขหนึ่ง ในสหรัฐอเมริกา
  • 6:19 - 6:22
    ค่ะ แน่นอนคะ เรื่องนี้มีเหตุมีผล
  • 6:22 - 6:27
    บางคนดูข้อมูลนี้ แล้วก็พูดว่า "เถอะน่า
  • 6:27 - 6:31
    คุณมีชีวิตเยาว์วัยที่แย่
    คุณก็น่าจะดื่มเหล้าและสูบบุหรี่
  • 6:31 - 6:34
    และทำสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด
    ที่จะทำลายสุขภาพของคุณเอง
  • 6:34 - 6:38
    นี่ไม่ได้เป็นวิทยาศาสตร์หรอก
    มันเป็นเพียงแค่พฤติกรรมที่ไม่ดีเท่านั้น
  • 6:38 - 6:44
    แต่กลับเป็นว่า เรื่องนี้มันตรงกันเปี๊ยบ
    ที่วิทยาศาสตร์จะเข้ามา
  • 6:44 - 6:48
    ขณะนี้ เราเข้าใจดีกว่า ที่เคยเข้าใจมาก่อน
  • 6:48 - 6:52
    ว่าพิษภัยที่ได้รับมา ตอนยังเยาว์วัยนั้น
  • 6:52 - 6:55
    กระทบกระเทือนต่อสมอง และร่างกายของเด็ก
  • 6:55 - 6:58
    อย่างเช่น ใจกลางของสมองส่วนที่
    เกี่ยวกับอารมณ์และแรงจูงใจ
  • 6:58 - 7:00
    ศูนย์กลางของความพึงพอใจ และรางวัลตอบแทน
  • 7:00 - 7:03
    ซึ่งเกี่ยวพันกับ การติดยึดกับวัตถุ
  • 7:03 - 7:05
    มันกีดกั้นการทำงานของ
    คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า
  • 7:05 - 7:09
    ซึ่งจำเป็นสำหรับ การควบคุมแรงผลักดัน
    และการทำงานขั้นสูงของสมอง
  • 7:09 - 7:12
    เป็นพื้นที่ส่วนที่สำคัญยิ่ง ต่อการเรียนรู้
  • 7:12 - 7:13
    และในการตรวจด้วยเครื่อง MRI
  • 7:13 - 7:17
    เราเห็นความแตกต่างที่สามารถวัดได้
    ใน อะมิกดะลา ของสมอง
  • 7:17 - 7:20
    หรือศูนย์กลางของการตอบสนอง
    ต่อความกลัวของสมอง
  • 7:20 - 7:24
    จึงมีเหตุผลทางประสาทวิทยาอย่างแท้จริง ว่า
  • 7:24 - 7:27
    ทำไมคนที่รับพิษภัยมา ในระดับที่สูง
  • 7:27 - 7:31
    จึงน่าจะมีส่วนในพฤติกรรมความเสี่ยงที่สูง
  • 7:31 - 7:32
    และนั่นเป็นสิ่งสำคัญ ที่เราควรจะรู้
  • 7:32 - 7:38
    แต่กลับเป็นว่า แม้ว่าคุณไม่ได้มีส่วน
    ในพฤติกรรมความเสี่ยงสูงก็ตาม
  • 7:38 - 7:43
    คุณก็ยังคงน่าจะ พัฒนาไปเป็นโรคหัวใจ
    หรือไม่ก็มะเร็ง
  • 7:44 - 7:50
    เหตุผลในเรื่องนี้ก็คือ มันไปสัมพันธ์กับ
    แกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล
  • 7:50 - 7:54
    หรือ ระบบตอบสนองต่อความเครียด
    ของสมองและร่างกาย
  • 7:54 - 7:57
    ที่ควบคุมการตอบสนองว่า จะสู้หรือจะหนี
  • 7:57 - 7:59
    มันทำงานได้อย่างไรหรือ
  • 7:59 - 8:03
    ค่ะ ลองจินตนาการว่า
    คุณกำลังเดินอยู่ในป่าและคุณก็เห็นหมี
  • 8:03 - 8:07
    ทันใดนั้น "ไฮโปทาลามัสของคุณ
    ก็ส่งสัญญาณไปที่พิทูอิทารีของคุณ
  • 8:07 - 8:10
    ซึ่งจะส่งสัญญาณไปที่ต่อมอะดรีนัลของคุณ
    ที่บอกว่า
  • 8:10 - 8:13
    "ปล่อยฮอร์โมนความเครียด
    อะดรีนาลีน คอร์ติซอล มาเร็วๆ
  • 8:13 - 8:16
    หัวใจของคุณจึงเริ่มเต้นแรง
  • 8:16 - 8:18
    ม่านตาคุณก็ขยายขึ้น ทางเดินหายใจก็เปิด
  • 8:18 - 8:24
    และคุณก็พร้อมที่จะ ต่อสู้กับหมีตัวนั้น
    หรือไม่ก็วิ่งหนีไปให้ไกล
  • 8:24 - 8:27
    และนั่นน่ามหัศจรรย์จริงๆ
  • 8:27 - 8:30
    หากคุณอยู่ในป่า และมีหมีมา
  • 8:30 - 8:33
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:33 - 8:38
    แต่ปัญหาก็คือ
    สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อหมีมาที่บ้านทุกคืน
  • 8:38 - 8:44
    และระบบนี้ก็ทำงานซํ้าแล้วซํ้าเล่า
  • 8:44 - 8:48
    มันเริ่มจากการปรับตัว หรือการรักษาชีวิต
  • 8:48 - 8:53
    จนไปถึงการปรับตัวที่ล้มเหลว
    หรือการทำลายสุขภาพ
  • 8:53 - 8:58
    เด็กๆ จะอ่อนไหวเป็นพิเศษ ต่อการเกิด
    ความเครียดซํ้าๆ นี้
  • 8:58 - 9:01
    เพราะสมองและร่างกายของพวกเขานั้น
    กำลังเพิ่งจะพัฒนา
  • 9:02 - 9:08
    การรับพิษภัยเข้าไปมาก จะไม่กระทบเพียงโครงสร้าง
    และการทำงานของสมองเท่านั้น
  • 9:08 - 9:11
    แต่ยังกระทบถึงระบบภูมิคุ้มกัน
    ที่กำลังพัฒนาอยู่
  • 9:11 - 9:14
    ระบบฮอร์โมนที่กำลังพัฒนาอยู่
  • 9:14 - 9:19
    และแม้กระทั่งวิธี
    ที่ดีเอ็นเอของเราถูกอ่านและถอดความ
  • 9:20 - 9:25
    ดังนั้น สำหรับดิฉันแล้ว ข้อมูลนี้
    ทำให้ต้องโยนการฝึกปฏิบัติเก่าๆ ทิ้งไปเลย
  • 9:25 - 9:29
    เพราะเมื่อเราเข้าใจกลไกของโรคนั้นแล้ว
  • 9:29 - 9:34
    เมื่อเรารู้ ไม่ใช่แค่เส้นทางไหนที่เสีย
    แต่ยังรู้วิธีการอย่างไรด้วย
  • 9:34 - 9:38
    ในฐานะเป็นแพทย์
    มันเป็นหน้าที่ของเราที่จะใช้วิทยาศาสตร์นี้
  • 9:38 - 9:41
    เพื่อการป้องกัน และการรักษา
  • 9:41 - 9:43
    และนั่นแหละเป็นสิ่งที่เราทำ
  • 9:43 - 9:47
    ในซานฟรานซิสโก เราจึงสร้าง
    ศูนย์ความสุขสมบูรณ์ในวัยเด็กขึ้นมา
  • 9:47 - 9:52
    เพื่อป้องกัน คัดกรอง และรักษา
    ผลกระทบของเอซ และความเครียดที่เป็นพิษ
  • 9:52 - 9:57
    เราเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการคัดกรอง
    เด็กๆ ทุกคนของเราอย่างเป็นกิจวัตร
  • 9:57 - 9:58
    ทางด้านสรีรร่างกายตามปกติ
  • 9:58 - 10:03
    เพราะรู้ดีว่า ถ้าคนไข้ของฉัน
    มีคะแนนเอซ 4 คะแนน
  • 10:03 - 10:08
    เธอก็มีความเสี่ยงจะเป็นโรคไวรัสตับ
    หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้ถึงสองเท่าครึ่ง
  • 10:08 - 10:10
    เธอน่าจะซึมเศร้า ได้ถึงสี่เท่าครึ่ง
  • 10:10 - 10:15
    และเธอก็น่าจะพยายามปลิดชีวิตตนเอง
    ได้ถึง 12 เท่า
  • 10:15 - 10:17
    ของคนไข้ของฉัน
    ที่มีคะแนนเอซเป็นศูนย์คะแนน
  • 10:17 - 10:20
    ฉันรู้ถึงสิ่งเหล่านั้น
    เมื่อเธออยู่ในห้องตรวจกับฉัน
  • 10:20 - 10:23
    สำหรับคนไข้ที่มีผลการกลั่นกรองเป็นบวก
  • 10:23 - 10:28
    เรามีทีมงานการรักษา จากสาขาวิชาต่างๆ
    ที่มาทำงานเพื่อลดพิษภัยเหล่านั้น
  • 10:28 - 10:34
    และรักษาอาการโดยวิธีที่ดีที่สุด รวมถึง
    การไปเยี่ยมเยียนที่บ้าน การประสานการดูแล
  • 10:34 - 10:38
    การดูแลสุขภาพจิต โภชนาการ
  • 10:38 - 10:43
    การให้การบำบัดโรคแบบองค์รวม
    และใช่ค่ะ การให้ยาเมื่อจำเป็น
  • 10:43 - 10:47
    แต่เรายังให้ความรู้แก่พ่อแม่อีกด้วย
    เรื่องผลกระทบของเอซ และความเครียดที่เป็นพิษ
  • 10:47 - 10:53
    วิธีเดียวกับคุณจะให้ เพื่อให้ปิดซ่อน
    ปลั๊กไฟ หรือสารพิษตะกั่วไว้
  • 10:53 - 10:57
    และเราก็ให้การดูแลเฉพาะราย สำหรับคนไข้
    ที่เป็นโรคหอบหืด และโรคเบาหวาน
  • 10:57 - 11:01
    ในแบบที่เห็นความสำคัญว่า
    พวกเขาอาจต้องการ การรักษาที่แรงกว่านี้
  • 11:01 - 11:06
    เมื่อพิจารณาถึง การเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมน
    และภูมิคุ้มกันของพวกเขา
  • 11:06 - 11:10
    ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นที่เหลืออยู่
    เมื่อคุณเข้าใจวิทยาศาสตร์เรื่องนี้
  • 11:10 - 11:13
    ก็คือ คุณก็อยากจะขึ้นไปตะโกน
    อยู่บนยอดหลังคา
  • 11:13 - 11:17
    เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่แค่เป็นปัญหา
    แต่เฉพาะเด็กๆในเบย์วิวเท่านั้น
  • 11:17 - 11:21
    ฉันได้คาดการณ์ไว้ว่า ทันทีที่คนอื่นๆ
    ได้ยินเรื่องนี้
  • 11:21 - 11:24
    ก็น่าจะมี การคัดกรองเกิดขึ้นเป็นกิจวัตร
    มีทีมให้การรักษาจากหลายสาขาวิชา
  • 11:24 - 11:29
    และก็น่าจะมี การเร่งรีบให้มีระเบียบปฏิบัติ
    ในการรักษาทางการแพทย์ที่ได้ผลที่สุด
  • 11:29 - 11:33
    ค่ะ นั่นไม่ได้เกิดขึ้น
  • 11:33 - 11:36
    และนั่นเป็นการเรียนรู้ที่ใหญ่ยิ่งของฉัน
  • 11:36 - 11:41
    สิ่งที่ฉันเคยคิดว่า เป็นแค่เพียงการปฏิบัติ
    ทางการแพทย์ที่ดีที่สุด
  • 11:41 - 11:44
    ตอนนี้ฉันเข้าใจแล้วว่า เป็นการ
    เคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลง
  • 11:45 - 11:47
    จากคำพูดของ ดร. โรเบิร์ท บล็อก
  • 11:47 - 11:51
    ประธานสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา
  • 11:51 - 11:54
    "ประสบการณ์พิษภัยในวัยเด็กนั้น
  • 11:54 - 11:59
    เป็นการคุกคามทางสุขภาพต่อสาธารณชน
    ที่ใหญ่ยิ่ง ที่ไม่ได้มีการพูดถึงกันมาก่อน
  • 11:59 - 12:01
    ที่ชาติเราเผชิญอยู่ ทุกวันนี้"
  • 12:01 - 12:06
    และสำหรับคนเป็นจำนวนมากแล้ว
    นั่นเป็นการคาดการณ์ที่น่ากลัว
  • 12:06 - 12:12
    ขอบเขตและขนาดของปัญหานั้น
    ดูจะใหญ่มาก จนรู้สึกท่วมท้น
  • 12:12 - 12:14
    ที่จะคิดว่า เราจะเข้าไปจัดการกับมัน
    ได้อย่างไร
  • 12:14 - 12:19
    แต่สำหรับฉันแล้ว แท้จริงแล้ว
    ความหวังอยู่ที่นั่น
  • 12:19 - 12:22
    เพราะว่า เมื่อเรามีกรอบที่ถูกต้อง
  • 12:22 - 12:27
    เมื่อเราเห็นและรู้ว่า
    มันจะเป็นวิกฤติด้านสุขภาพของสาธารณชน
  • 12:27 - 12:32
    แล้วก็นำเอาเครื่องไม้เครื่องมือที่ถูกต้องมาใช้
    และได้วิธีการแก้ปัญหามาแล้ว
  • 12:32 - 12:36
    ตั้งแต่เรื่องบุหรี่ จนถึงพิษจากสารตะกั่ว
    จนถึงไวรัสเอชไอวี หรือไวรัสเอดส์
  • 12:36 - 12:41
    สหรัฐฯ นั้นจริงๆ แล้ว มีผลงานในอดีตที่ดีเด่น
  • 12:41 - 12:43
    ในเรื่องของการเข้าไปแก้ปัญหา
    ด้านสุขภาพของสาธารณชน
  • 12:43 - 12:49
    แต่หากจะนำความสำเร็จแบบเดียวกันนั้น
    มาใช้กับเอซ และความเครียดที่เป็นพิษ
  • 12:49 - 12:54
    กลับจะต้องใช้ความมุมานะ และข้อผูกมัด
  • 12:54 - 12:58
    และเมื่อฉันดูการขานรับของประเทศเรา
    จนถึงเดี๋ยวนี้แล้ว
  • 12:58 - 12:59
    ฉันก็สงสัยว่า
  • 12:59 - 13:03
    ทำไมเราจึงไม่สนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง
  • 13:03 - 13:07
    อย่างที่รู้กัน ในตอนแรกฉันคิดว่า
    เราเห็นเป็นเรื่องเล็กไม่สำคัญ
  • 13:07 - 13:09
    เพราะว่า มันไม่ได้เกี่ยวกับเรา
  • 13:09 - 13:12
    มันเป็นปัญหาของเด็กๆ พวกนั้น ในละแวกนั้น
  • 13:12 - 13:16
    ซึ่งก็แปลก เพราะข้อมูลไม่ได้บอกอย่างนั้น
  • 13:16 - 13:21
    การศึกษาวิจัยเรื่องเอซแต่เริ่มแรกนั้น
    กระทำกับประชากร
  • 13:21 - 13:23
    ที่ 70% เป็นคนผิวขาว
  • 13:23 - 13:26
    70% ศึกษาในระดับอุดมศึกษา
  • 13:26 - 13:30
    แต่แล้ว ยิ่งฉันได้พูดกับผู้คนทั้งหลาย
  • 13:30 - 13:34
    ฉันก็เริ่มจะคิดว่า บางทีฉันคงทำงาน
    จากข้างหลังมาโดยตลอด
  • 13:35 - 13:41
    และถ้าฉันจะถามว่า มีใครกี่คนในห้องนี้
  • 13:41 - 13:45
    ถูกเลี้ยงดูมากับคนในครอบครัว
    ที่เป็นโรคทางประสาท
  • 13:46 - 13:48
    พนันได้เลยว่า จะมีไม่กี่คนที่ยกมือ
  • 13:48 - 13:54
    แต่ถ้าฉันถามว่า กี่คนมีพ่อหรือแม่
    ที่ดื่มเหล้ามากเกินไป
  • 13:54 - 13:58
    หรือที่เชื่ออย่างจริงจังว่า ถ้าหย่อนยาน
    เรื่องไม้เรียว คุณก็จะทำให้เด็กเสียคน
  • 13:59 - 14:02
    พนันได้เลยว่า จะมีอีกไม่กี่คน ที่ยกมือ
  • 14:02 - 14:07
    กระทั่งในห้องนี้ เรื่องนี้ก็เป็นปัญหา
    ที่กระทบเราหลายคน
  • 14:07 - 14:11
    และฉันก็เริ่มเชื่อว่า เราเห็นปัญหาไม่สำคัญ
  • 14:11 - 14:13
    เพราะว่า มันก็เกิดขึ้นกับเราด้วย
  • 14:13 - 14:16
    บางที่ มันน่าจะง่ายกว่านี้ ที่จะมองมัน
    โดยใช้รหัสอื่น
  • 14:16 - 14:19
    เพราะว่า เราไม่ต้องการเห็นมัน
  • 14:19 - 14:21
    เราจะรู้สึกกระอักกระอ่วน
  • 14:22 - 14:28
    แต่โชคดี ดวามก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
    และพูดตรงๆ ความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ
  • 14:28 - 14:32
    ทำให้ทางเลือกที่มีนั้น น้อยลงๆทุกวัน
  • 14:34 - 14:35
    วิทยาศาสตร์นั้น ชัดเจน
  • 14:36 - 14:41
    พิษภัยในวัยเยาว์ มีผลกระทบที่รุนแรง
    ต่อสุขภาพ ไปตลอดชีวิต
  • 14:42 - 14:47
    ในวันนี้ เราเริ่มจะเข้าใจ วิธีที่จะยับยั้ง
    ไม่ให้มันลุกลามออกไป
  • 14:47 - 14:51
    จากพิษภัยในวัยเด็ก ไปเป็นโรคภัย
    และการเสียชีวิตไปอย่างเร็วไว
  • 14:51 - 14:53
    30 ปีจากนี้ไป
  • 14:53 - 14:56
    เด็กที่มีคะแนนเอซสูง
  • 14:56 - 14:59
    ที่อาการแสดงออกทางพฤติกรรมของเขา
    เรายังมองไม่ออก
  • 14:59 - 15:02
    ที่การจัดการรักษาโรคหอบหืดของเขานั้น
    ยังไม่เชื่อมต่อกัน
  • 15:02 - 15:05
    และที่จะพัฒนาไป เป็นความดันสูง
  • 15:05 - 15:08
    และโรคหัวใจ หรือมะเร็ง ตั้งแต่อายุยังน้อย
  • 15:08 - 15:13
    ก็จะเป็นแค่สิ่งผิดปกติ ที่เหมือนๆกับ
    อัตราการตายเมื่ออายุหกเดือน จากโรคเอดส์
  • 15:13 - 15:17
    คนก็จะเห็นสถานการณ์นั้น
    และบอกว่า "มันเกิดอะไรขึ้นเนี่ย"
  • 15:18 - 15:21
    สิ่งนี้รักษาให้หายได้ค่ะ
  • 15:21 - 15:24
    สิ่งนี้เราเอาชนะมันได้
  • 15:24 - 15:28
    สิ่งสำคัญที่สุดสิ่งเดียว
    ที่จำเป็นสำหรับเรา ในวันนี้
  • 15:28 - 15:31
    คือ ความกล้า ที่จะมองเห็นปัญหาซึ่งๆ หน้า
  • 15:31 - 15:36
    แล้วก็บอกว่า นี่เป็นปัญหาอย่างแท้จริง
    และนี่เป็นปัญหาของเราทุกคน
  • 15:36 - 15:41
    ฉันเชื่อว่าปัจจุบัน เราเป็นการเคลื่อนไหว
    เพื่อการเปลี่ยนแปลง
  • 15:41 - 15:42
    ขอบคุณค่ะ
  • 15:42 - 15:46
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เหตุสะเทือนขวัญในวัยเด็ก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพไปชั่วชีวิตได้อย่างไร
Speaker:
นาดีน เบิร์ก แฮร์ริส (Nadine Burke Harris)
Description:

เหตุสะเทือนขวัญในวัยเด็ก ใช่ว่าโตขึ้นมาแล้วจะทำใจได้ พญ. นาดีน เบิร์ก แฮร์ริส กุมารแพทย์ อธิบายว่าความเครียดที่เกิดซํ้าแล้วซํ้าเล่า จากการถูกทารุณกรรม ทอดทิ้ง และการที่พ่อแม่มีอาการป่วยทางจิตหรือติดยาเสพติดในวัยเด็ก ส่งผลกระทบจริงและเห็นได้ชัดต่อพัฒนาการทางสมอง และมีผลต่อเนื่องตลอดช่วงชีวิต ถึงระดับที่ผู้ที่ประสบเหตุสะเทือนขวัญในวัยเด็กมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและมะเร็งปอดมากกว่าปกติสามเท่า
การนำเสนอนี้เป็นการเรียกร้องด้วยหัวใจให้แพทย์กุมารเวชหันมาเผชิญหน้ากับประเด็นการป้องกันและรักษาเหตุสะเทือนขวัญ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
15:59

Thai subtitles

Revisions Compare revisions